ในวันที่มืดแปดด้านยามวิกฤติเช่นนี้ หากคุณมองไม่เห็นโอกาส จะดีแค่ไหนกันหากมี indicators ชี้วัด พร้อมเสิร์ฟโอกาสให้คุณเข้าซื้อยามตลาดส่งสัญญาณกลับตัว โดยสรุปในวันนี้เราจะมาเผย COVID-19 INVESTMENT WAR ROOM ที่พัฒนาโดยทีมงาน FINNOMENA พร้อมกับไขข้อสงสัยแบบเจาะลึกว่าทำไมกองตราสารหนี้ถึงลงในช่วงนี้ รวมถึงบทวิเคราะห์เชิงลึกในเรื่องของสงครามราคานํ้ามัน
โดย LIVE ในวันนี้ถือว่าเข้มข้น และผมชอบมากๆเป็นการส่วนตัว หากพร้อมแล้วอ่านไปพร้อมๆกันได้เลยครับ!
หากคุณติดตามชายผู้นี้มาก่อนหน้า คุณคงจะจำได้ว่า Ray Dalio เคยประกาศไว้ว่า “หากเราย้อนไปดูประวัติศาสตร์โรคระบาดไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจเกิดภาวะถดถอย” แต่ครั้งนี้ผลลัพธ์ได้แตกต่างออกไป โดยกองทุนของเขาทำผลตอบแทน -20% ใน 3 เดือน แต่อย่างไรก็ตามเฮียแกได้บอกใบ้ไว้ว่าในตอนนี้ เขาได้เปลี่ยนไป short หุ้นยุโรปไว้ ตัวอย่างเช่น หุ้น SAP
และเพิ่มเติมเล็กๆน้อยๆ JP Morgan และ Goldman Sach ปัจจุบันมีมุมมองตลาดว่ากำลังเป็นช่วงขาลง (Bear market)
ภาพด้านบนเป็นภาพแสดง Credit spread duration หรือหากพูดง่ายๆสั้นๆก็คือตัวที่ใช้วัดส่วนต่างความเสี่ยงในตราสารหนี้ โดยหากเศรษฐกิจดีคนมีความมั่นใจกับหุ้นกู้บริษัท เพราะ มีพื้นฐานธุรกิจที่ดี คนก็จะเข้าไปซื้อส่งผลให้ราคาขึ้น ส่วนต่าง (Spread) ก็จะลดลง จึงทำให้ผลตอบแทน (Yield) ลง แต่หากเศรษฐกิจไม่ดี จนมีการเทขายออกมาจากตราสารหนี้บริษัทดังกล่าวก็จะส่งผลให้ราคาลงส่วนต่างความเสี่ยง (Spread) ก็จะขึ้น ส่งผลให้ผลตอบแทน (Yield) ขึ้น อันเป็นผลมาเนื่องจากการเทขาย
โดยสถานการณ์ในปัจจุบันถือว่าไม่สู้ดีนักหลังจากตัว spread ที่ว่าดีดตัวขึ้นอย่างรุนแรงภายในสัปดาห์เดียวเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงการเทขายอย่างหนักในระยะเวลาสั้นๆ ด้วยเหตุนี้เองจึงส่งผลให้กองทุนตราสารหนี้ทั้งสั้นและยาวแทบทุกตัวนั้นติดลบ
ภาพด้านบนแสดงถึงเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield curve) ของพันธบัตรรัฐบาล ที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา หลังจากส่งสัญญาณติดลบมาก่อนหน้าช่วงที่ตลาดหุ้นอึมครึม แต่ครั้งนี้แตกต่างจากครั้งอื่นๆตรงที่ การดีดตัวขึ้นของ Yield curve เกิดจากสภาพคล่องของเงินดอลลาร์ที่ขาดแคลน
โดยอาจเกิดจากการที่นักลงทุนนำเงินมาหลบภัยในพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นกันมากขึ้น (Yield ตัวระยะสั้นจึงลดลงเป็นผลจากการเข้าซื้อ จึงทำให้ Yield curve กลับตัวขึ้นมาได้)
ส่งผลให้เงินที่หมุนในระบบเศรษฐกิจลดลง เพราะ ความกังวลในเรื่องภาวะถดถอย และความเสี่ยง หนี้สูญ (Default) ทำให้นักลงทุนในตราสารหนี้บริษัทต่างๆถอนทุนออกทาง Fed จึงต้องแก้เกมด้วยการอัดเงินเข้ามาอุ้มบริษัทต่างๆเอาไว้
ช่วงที่ผ่านมา Fed มีการลดดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง แต่กลับกันตัวตราสารหนี้ yield กลับดีดขึ้น มาจากการที่นักลงทุนเทขาย ส่งผลให้ราคาลงมาซะอย่างนั้นทั้งๆที่ควรจะขึ้นหากมีการลดดอกเบี้ย โดยหากทาง Fed ต้องการจะดึงเงินทุนกลับเข้าตราสารหนี้อาจจะต้องมีการลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีกหรือเปล่า? แต่ปัจจุบัน Fed ก็แทบจะเรียกได้ว่าไม่เหลือดอกเบี้ยให้เล่นแล้วโดยเหลือเพียงแค่ 0.25% เท่านั้น น่าเป็นห่วงมากๆครับ
ตัว Yield ก็มีการดีดตัวขึ้นเช่นเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงการเทขาย โดยอาจจะเป็นการขายเพื่อหนีไปถือเงินสดของนักลงทุน
หากคุณคิดจะลงทุนเพิ่มในกองทุนรวม นี้คือสิ่งที่คุณไม่อยากพลาด! สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่อรับโพยกองทุนเด็ดที่แนะนำ อัพเดททุกเดือนจาก FINNOMENA
กดที่นี่เพื่อรับโพยกองทุนในส่วนของ ส่วนต่างผลตอบแทน (Spread) นั้นดีดแรงมาก ถึงแม้จะเป็นตัวที่เป็น Investment grade ก็ตาม (Credit rating มากกว่า BBB) โดย spread อยู่ที่เกือบๆ 500 เลยทีเดียวแสดงให้เห็นถึงแรงเทขายอย่างหนักหน่วง
ตัว Junk bond หรือ High yield นี่ก็แทบกุมขมับกันเลยทีเดียว สถานการณ์หนักหน่วงมากๆ โดย spread ดีดขึ้นมากถึง 2,000 เลยทีเดียว สูงกว่าครั้งวิกฤติ subprime ด้วยซํ้า
และอีกเรื่องที่น่าเป็นห่วงก็คือ ตราสารหนี้ในส่วนของนํ้ามัน หรือ กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มีสัดส่วนอยู่ที่เกือบๆ 20% ของตราสารหนี้ทั่วโลก
ทางด้านของรัสเซีย ค่าเงิน ruble ได้อ่อนตัวลง จึงอาจทำให้รัสเซียได้เปรียบซาอุ ในเรื่องของการขายนํ้ามันได้แพงขึ้นเวลาส่งออก แต่อาจแลกด้วยความเสี่ยงในเรื่องของหนี้ต่างประเทศ ที่มาจากค่าเงินที่อ่อนตัว ทำให้ต้องจ่ายมากกว่าเดิม
ส่วนตัวผมขอเรียกผลงานชิ้นนี้ว่าเป็น indicator ชี้นำจุดเข้าซื้อยามวิกฤติ ที่ได้รวบรวมหลายๆ indicators ที่มีความสำคัญเอาไว้ด้วยกัน ซึ่งผมมองว่ามันเจ๋งมากๆ (ปกติไม่เคยอวยนะครับ ไม่ชอบก็จะเฉยๆหรือบางทีก็หลุดพูดออกมา ฮาๆ) โดยผมจะมาอธิบายการใช้งาน indicators ในส่วนต่างๆให้ทุกคนได้ดูกัน
ในส่วนแรกจะเป็น Global cases per day ของยอดผู้ติดเชื้อ Covid-19 ในประเทศสำคัญๆ โดยสถิติหากจำนวนผู้ติดเชื้อทะลุ 200 รายมีความเป็นไปได้ที่จะพุ่งสูงไป 1,000 ราย แต่ถ้ากราฟผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ อาจเป็นจังหวะที่ดีในการเข้าซื้อหุ้น
ในส่วนนี้จะเป็นการเทียบระยะเวลากับครั้งวิกฤติ subprime ว่าใช้เวลานานแค่ไหนที่ดัชนีสำคัญต่างๆ ลงจากจุดสูงสุดไปจุดตํ่าสุด
พูดง่ายๆก็คือหากเทียบกับวิกฤติ Subprime แล้ว หุ้นลงได้ถึงไหน โดยหากเส้นส้มชนเทาเราอาจจะเริ่มเข้าซื้อได้
*ในเว็บไซต์ก็มีคำอธิบายเพิ่มเติมด้านล่างอีกทีเหมือนกันนะครับ หากอ่านตรงนี้แล้วยังไม่เข้าใจก็ลองเข้าไปอ่านในเว็บไซต์ได้เลย
เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับสรุป LIVE ในวันนี้ จริงๆมันคือของวันพฤหัสบดีแหละแต่เนื่องจากติดปัญหาว่า LIVE โดนลบออกไปเลยเพิ่งได้ปล่อยสรุปออกมาให้ทุกคนดู หวังว่าจะคลายข้อสงสัยเรื่องตราสารหนี้และสถานการณ์ต่างๆให้ทุกคนได้นะครับ
อย่าลืมไปลองเล่น COVID-19 INVESTMENT WAR ROOM กันล่ะ รักษาสุขภาพกันด้วยครับ อยู่บ้านเหงาๆก็มาอ่านบทความ Mr.Serotonin ก็ได้….
กดที่แบนเนอร์ได้ล่างเพื่อเข้าไปทดลองใช้ COVID-19 INVESTMENT WAR ROOM กันได้เลย!
หากคุณคิดจะลงทุนเพิ่มในกองทุนรวม นี้คือสิ่งที่คุณไม่อยากพลาด! สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่อรับโพยกองทุนเด็ดที่แนะนำ อัพเดททุกเดือนจาก FINNOMENA
กดที่นี่เพื่อรับโพยกองทุนAdvance, Article, COVID-19, Long Content, Product Recommend, กองทุนตราสารหนี้, นํ้ามัน, โควิด-19