ส่งออกแย่!! หนี้ต่อครัวเรือนพุ่งสูง!! จับตาท่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หลังเงินบาทแข็งค่าอย่างรุนแรง

ในวันพุธที่ 18 ธันวาคม 2562 จะมีการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ขึ้นซึ่งจะเป็นการกำหนดนโยบายของประเทศ เรามาดูกันว่าการประชุมกนง. ของทาง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะมีท่าทีหรือทิศทางเป็นอย่างไร โดยเราคาดการณ์จากสถานการณ์โลก ณ ปัจจุบันและสรุปการประชุมรอบที่แล้วของ กนง. 

อ่านรายงานต้นฉบับของ ธปท. ได้ที่นี่ 

ซึ่งยังเป็น Mr. Serotonin คนเดิมที่จะมาสรุปให้ทุกคนเข้าใจแบบง่ายๆ บวกกับทิศทางที่น่าจะเป็นไปของนโยบาย กนง. ในอนาคต

ก่อนอื่นเรามาดูสรุปคร่าวๆของการประชุมรอบที่แล้วกันก่อนเลย!!

ปัญหาหลักๆ

  • เงินบาทแข็งค่าแบบสุดจัด
  • งบเหลือๆ แนวโน้มเกินดุลในระดับสูง
  • ตลาด risk on มากขึ้น ทาง กนง. กังวลว่า จะเป็นการที่นักลงทุนประเมินความเสี่ยงตํ่ากว่าที่ควรจะเป็น (พูดง่ายๆ ก็เม่าแห่กันเข้ากองไฟกันช่วงนี้ ระวังๆ กันหน่อย)
  • ประเทศคู่ค้าเศรษฐกิจชะลอตัว นโยบายทางการเงินจำกัดมากขึ้นเนื่องจากหลายๆ ประเทศกระสุนทางเงินอย่างอัตราดอกเบี้ยนับวันมีแต่จะน้อยลง อาจต้องพึ่งการคลังในการกระตุ้นมากขึ้น ตัวอย่างง่ายๆ ก็เช่น อย่างที่ลุงตู่แจกเงิน
  • ส่งออกหดตัว เลยลามมาตลาดแรงงาน ผลมาจากการกีดกันทางการค้า
  • ภาคเอกชน (พวกเราชาวบ้าน) รายได้ + การจ้างงานลดลง หนี้ต่อครัวเรือนสูงขึ้น ใครเอาตังค์ไปกู้ผ่อน iPhone ก็เพลาๆ หน่อยนะช่วงนี้ เอาเงินมาลงกับ FINNOMENA ก็ได้ เพิ่ม Cash flow 
  • การลงทุนภาคเอกชน อันนี้ทรงดี ทางรัฐสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานรัวๆ อย่างเช่น รถไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยให้ต่างประเทศย้ายฐานการผลิตเข้ามาในไทย
  • อัตราเงินเฟ้อตํ่าเตี้ยเรื่ยดิน ตํ่ากว่าประมาณการเดิมและตํ่ากว่าเป้าหมาย (อันนี้ไม่ดีนะ เราควรจะรู้สึกว่าของแพงขึ้นทีละนิด จะได้รีบซื้อกระตุ้นเศรษฐกิจ)

ต่อมาเรามาดูกันบ้างว่าสถานการณ์โลกในตอนนี้มีอะไรคืบหน้าไปบ้าง

  • เรื่อง Brexit ทางอังกฤษได้นายกเป็น Boris Johnson คนเดิม ที่จะนำอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป ถือว่าผ่อนคลายความกังวลไปได้บ้างสำหรับเรื่องนี้ เพราะทิศทางชัดเจนขึ้น สังเกตจากเงินปอนด์แข็งค่าขึ้น
  • เรื่อง Trade war ที่เป็นเหมือนตลกซิตคอม ตบมุกกันไปกันมา จนตลาดงงๆ ไปตามๆ กันว่าข้อตกลงทางการค้าเฟสแรกมันอย่างไรกันแน่ มันผ่านแน่ไหม?

การแก้ปัญหาหลักๆ ของการประชุมรอบที่แล้ว

  • รอบที่แล้วหลักๆ ทาง กนง. สนับสนุนให้ ธปท. ผ่อนคลายกฎเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงินให้เงินไหลออกง่ายขึ้น เพื่อที่จะได้ลดการแข็งค่าของเงินบาท เนื่องจากในช่วงนี้เกิดเงินทุนไหลเข้าประเทศไทยจำนวนมาก หรือที่ช่วงหนึ่งสื่อต่างๆ ประโคมข่าวกันว่าเงินบาทไทยจะเป็น safe haven ตัวใหม่นั่นเอง 
  • นอกจากนั้นยังมีรายงานจากการประชุมออกมาว่า บัญชีเดินสะพัดในประเทศมีแนวโน้มอยู่ในระดับที่สูงเลยทีเดียว หรือเกินดุล (Surplus) นั่นเอง เราเชื่อว่ามาถึงจุดนี้หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่า งบเกินดุลเหล่านั้นหายไปไหนกันแน่? ทางเราขอไม่พูดถึงเรื่องนี้ละกัน… นอกจากนั้นทาง กนง. ยังแนะนำให้ลงทุนในโครงการที่มีการนำเข้าสินค้าทุนสูงเพื่อที่จะสร้างสมดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลนั่นเอง
  • มีการลดดอกเบี้ยจาก 1.50% เป็น 1.25% โดยหวังว่าจะลดการแข็งค่าของค่าเงินบาท ซึ่งทำให้ส่งออกดีขึ้น

ทิศทางที่น่าจะเป็นไปของกนง. ในรอบนี้

  • ข้อมูลจากทางเว็บไซต์ investing.com มีการคาดการณ์ว่าทาง ธปท. จะมีการปรับเพิ่มดอกเบี้ยจาก 1.25% เป็น 1.50%

มาถึงจุดนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่า เงินบาทแข็งค่าขนาดนี้ทำไมถึงปรับดอกเบี้ยขึ้น…

ถ้าย้อนไปดูการประชุมของกนง. รอบที่แล้ว การลงมติลดดอกเบี้ยของ กนง. มีความเห็นที่ 3:2 เสียงให้ลดดอกเบี้ย โดย 3 เสียงเห็นควรว่าควรลด และ 2 เสียงเห็นว่าไม่ควรลด เพราะไม่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจมากนัก ทั้งสองท่านมองว่าปัญหามาจากการที่เงินทุนภายนอกไหลเข้าประเทศเป็นหลัก รวมถึงความกังวลเรื่องดอกเบี้ยที่เหลืออยู่น้อยนิดสำหรับการใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ จึงมีความเป็นไปได้ว่ามุมมองเหล่านี้อาจจะสนับสนุนเรื่องการขึ้นดอกเบี้ย เพราะไม่ได้ส่งผลกระทบในเชิงบวกมากนัก

และมุมมองนี้ก็ดูเหมือนจะเป็นจริง เมื่อล่าสุดหลังจากการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบที่แล้วค่าเงินบาทต่อดอลลาร์ยังแข็งค่าเหมือนเดิมโดยอยู่ในกรอบระยะ 30.10 ถึง 30.40 บาทต่อดอลลาร์

หรือเราจะมาถึงยุคที่นโยบายทางการเงินดีดเศรษฐกิจไม่ขึ้นแล้ว?

มุมมองนี้มาจากหนังสือ Principles for Navigating: Big Debt Crises ของ Ray Dalio เจ้าของกองทุนระดับโลกอย่าง Bridgewater Associates ว่าในอนาคตการกระตุ้นแต่เพียงนโยบายทางการเงินอาจจะไม่เพียงพอ เนื่องจากจำนวนหนี้ในระบบทุนนิยมปัจจุบันที่มีอยู่มาก รวมถึงหนี้อื่นๆ อย่างเช่น หนี้นอกระบบหรือหน่วยงานปล่อยกู้สีเทาอื่นๆ ที่ทางธนาคารกลางไม่สามารถควบคุมได้เนื่องจากอยู่นอกระบบและการรายงาน นอกจากนั้นการกระตุ้นทางนโยบายทางการเงินนี้ทำให้เงินทุนวนอยู่เพียงแต่ในตลาดทุน ซึ่งไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการกระตุ้นทางการคลังที่กระตุ้นเศรษฐกิจจากรากหญ้าที่ได้ผลมากกว่า นอกจากนั้นยังเป็นเหตุผลว่าทำไมนายทุนถึงมีแต่รวยขึ้นๆ และทำไมคนที่เกิดในครอบครัวที่ฐานะไม่ดีถึงยังวนอยู่ในฐานรายได้เท่าเดิม

ทาง Mr. Serotonin ก็ขอจบการสรุปและการคาดการณ์ไว้เพียงเท่านี้ หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์และเข้าใจสิ่งที่ได้สรุปให้ฟังกันไป…

 

Sources:

https://www.investing.com/economic-calendar/thai-interest-rate-decision-478

https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyComittee/ReportMPC/Minute_N2/MPC_Minutes_72562_vr484bxv.pdf

 

iran-israel-war