หลังจากบทความแรก ทุกคนมีความสามารถเก็บเงินสำรองฉุกเฉินได้แล้ว และสามารถใช้ความเก่งของตัวเองหารายได้เข้ามาจากการบริหารรายรับที่ดี และสามารถเก็บเงินเป็น จากการบริหารรายจ่ายได้ดี ส่วนต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กันเลย คือ การปกป้องเงินที่เราหามาได้ ซึ่งบทความนี้จะพูดถึงการวางแผนประกัน ว่าทำอย่างไร ถึงจะเพียงพอและเหมาะสมกับเรา
พอพูดถึงประกันทีไร คนส่วนใหญ่ก็หันหน้าหนี ซึ่งผมเองก็เป็นคนนึงในนั้นที่คิดเหมือนๆ กัน และคิดว่าจะซื้อทำไมมันเป็นภาระ จ่ายตั้งหลายปี จะเคลมเบิกผลประโยชน์สินไหมได้หรือเปล่า? แต่ผมจะบอกอะไรให้ว่า “การมีประกันมากเกินไปมันคือภาระในระยะยาว แต่การไม่มีประกันชีวิตเลยมันคือหายนะ” ที่จะทำให้ล้านแรกของเราพังทลายได้เลยนะครับ
สมมติ การเก็บเงินล้านแรกเปรียบเสมือนการเดินทาง เป้าหมายคือล้านแรก ถ้าเก็บปกติ เก็บเดือนละ 5,000 บาท จะใช้เวลา 11 ปี ถ้าหากผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นได้ประมาณ 8% ต่อปี แต่ถ้าในระหว่าง 11 ปีที่เก็บเงิน คุณดันโชคร้าย ขับรถชนเกิดความเสียหายหลายแสน หรือเจ็บป่วยใหญ่ ค่ารักษาหลายแสน จะทำให้เงินล้านแรกของเราก็จะไปไม่ถึงฝัน ต้องนำเงินเหล่านั้นมาจ่ายค่าเสียหาย ค่ายาและค่ารักษา ดังนั้นการวางแผนประกันที่ดีจากช่วยลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในอนาคตได้
จริงแล้วๆ ประกันคือ สินทรัพย์แห่งความรักหรือความอุ่นใจ เราซื้อไว้เพื่อความสบายใจ ซึ่งหน้าที่หลักของประกันคือ ปกป้องความเสี่ยงและรักษาเงินต้นที่หามาได้ วันนี้ผมมีเทคนิคการเลือกแผนประกัน ตอบโจทย์ 5 ความกังวล เรากังวลเรื่องอะไรก็ควรวางแผนประกันเพื่อช่วยลดภาระความกังวลเหล่านั้นลงไป
ควรวางแผนประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ และประกันชีวิตแบบบำนาญ
ปัจจุบันคนไทยมีปัญหาเรื่องการเก็บเงิน ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่พออายุ 60 ปีเกษียณแล้วเงินเก็บแทบจะไม่มีเลย และรายได้ส่วนใหญ่ยังพึ่งพิงจากลูกหลาน ถ้าวางแผนประกันแบบเก็บเงินอย่างสะสมทรัพย์และบำนาญจะทำให้เรามีมีเงินก้อนใช้อนาคต เพราะฉะนั้น “ถ้าเราไม่มีใครให้รัก ต้องรักตัวเองด้วยนะ”
ควรวางแผนประกันสุขภาพ และประกันเดินทาง
เดี๋ยวนี้ถ้าไม่ได้ทำงานข้าราชการ หรือไม่มีสวัสดิการจากบริษัทที่ดี เจ็บป่วยทีหนึ่ง ถ้าเข้ารักษาโรงพยาบาลเอกชนค่ายา ค่าหมอและค่ารักษา ไม่ต่ำกว่าหลักหมื่นนะครับ อีกทั้งถ้าไปต่างประเทศเกิดอุบัติเหตุใหญ่ขึ้น ค่ารักษาเป็นแสนจนถึงหลักล้าน ซึ่งเบี้ยประกันสุขภาพและเดินทาง ค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับความคุ้มครอง เพราะว่าเดี๋ยวนี้ “หมอรักษาด้วยยา แต่ฆ่าด้วยใบเสร็จ”
ควรวางแผนประกันวินาศภัย รถยนต์ และบ้าน
อุบัติเหตุบนท้องถนน หรือในตัวบ้าน เราไม่สามารถรู้เลยว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ จริงๆ แล้วโอกาสเกิดความเสี่ยงน้อยมากๆ ถ้าแต่เกิดแล้วความเสียหายที่เกิดขึ้นจะแพงมาก เงินเก็บที่มีอาจหายไปหมดได้เลยนะ เราไม่รู้ว่าวันไหน จะมีคนมาขับรถชนรถเรา, เราขับไปชนรถเขา หรือ บ้านจะเกิดไฟไหม้ ถ้าเกิดขึ้นทีตัวบ้านและเฟอร์จะเสียหายขนาดไหน ดังนั้นควรจะพิจารณาทำประกันวินาศภัยไว้ด้วยนะครับ เพื่อคุ้มครองสินทรัพย์ที่เรามี
หากคุณคิดจะลงทุนเพิ่มในกองทุนรวม นี้คือสิ่งที่คุณไม่อยากพลาด! สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่อรับโพยกองทุนเด็ดที่แนะนำ อัพเดททุกเดือนจาก FINNOMENA
กดที่นี่เพื่อรับโพยกองทุนควรวางแผนประกันทุพพลภาพและเงินชดเชยรายได้ และโรคร้ายแรง
ถ้าเกิดเหตุกาณ์โชคร้ายมากๆ และร้ายแรงที่เข้ามาในชีวิต คือ อุบัติเหตุหนัก จนทุพพลภาพ หรือโรคร้ายแรง เพราะว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ ไม่แน่นอน ไม่มีใครแข็งแรงไปตลอดชีวิต ใช่ไหมครับ ถ้าเกิดขึ้นมาจริงๆ จะทำให้มีผลกระทบต่อการทำงานของเราแน่นอน นอกจากค่ารักษาที่ต้องจ่ายแล้ว เราอาจจะต้องหยุดงานทำให้รายได้เราหายไป ดังนั้นเราควรวางแผนเงินชดเชย หรือการได้รับเงินก้อนหรือเงินชดเชย ถ้าเกิดเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นด้วยครับ
ควรวางแผนประกันชีวิตแบบตลอดชีพหรือประกันชีวิตแบบควบการลงทุน
สุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้อันอื่นเลย คือ ถ้าเกิดเราโชคร้ายที่สุดของชีวิต และไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น คือ การจากไปก่อนคนที่เรารัก บางคนหมดอนาคตกับคนที่บอกรักเรา แต่จริงๆแล้วคนที่เรารักหรือรักเรามากที่สุดคือ พ่อแม่ และลูกใช้ไหมครับ และบางคนเป็นผู้นำครอบครัวหรือกำลังเริ่มเป็น ถ้าเกิดจากไปก่อนครอบครัวจะสามารถอยู่ได้ไหม? ลูกจะเรียนจบไหม? หรือมูลค่าหนี้สินที่มีอยู่ ใครต้องผ่อนต่อ? ดังนั้นเราควรจะมีทุนประกันให้เหมาะสมกับสิ่งเหล่านี้ด้วยนะครับ และข้อดีของประกันแบบนี้คือความคุ้มครองสูงและเบี้ยค่อนข้างถูก
ถ้าเรากังวลอะไรก็ควรพิจารณาทำแบบประกันอันนั้นเป็นลำดับแรกก่อนครับ ภายใต้งบประมาณที่เหมาะสม ซึ่งตามหลักการวางแผนการเงินแล้ว แผนประกันความเสี่ยงควรจะเริ่มอย่างน้อย 1-2 เงินเดือนและข้อดีของการวางแผนประกันให้ถูกต้องแบบภาพรวม คือ
ดังนั้น ล้านแรกไม่ยาก สามารถทำได้แน่นอน ถ้าไม่ลืมวางแผนป้องกันความเสี่ยง เพื่ออุดรูรั่วทางการเงินและคุ้มครองคนที่เรารักกันนะครับ
Preecha Manop
สร้างแผนลงทุนด้วยแอป LINE ได้ง่ายๆ ผ่านมือถือ คลิกเลย!
https://www.finnomena.com/line/intro
หากคุณคิดจะลงทุนเพิ่มในกองทุนรวม นี้คือสิ่งที่คุณไม่อยากพลาด! สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่อรับโพยกองทุนเด็ดที่แนะนำ อัพเดททุกเดือนจาก FINNOMENA
กดที่นี่เพื่อรับโพยกองทุนArticle, Basic, Short Content, ไอเดียสร้างเงินล้าน