เจาะลึกมหาอำนาจแห่งนวัตกรรมการแพทย์

บทความโดย : ณัฐกฤติ เหล่าทวีทรัพย์ ผู้อำนวยการอาวุโส ที่ปรึกษาการลงทุนทิสโก้เวลธ์ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) และ วรสินี เศรษฐบุตรผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุน และสื่อสารการตลาด สายธุรกิจธนบดี ธนาคารทิสโก้

มหาอำนาจแห่ง ธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์ไม่ใช่ฉายา ที่ สหรัฐอเมริกาและ จีนจะได้มาแบบง่าย ๆ อะไรที่ทำให้ทั้งสองประเทศ ก้าวขึ้นสู่จุดที่ควรค่าแก่การยอมรับ บทความนี้มีคำตอบ

ในช่วงปลายปี 2020 จนถึงไตรมาส 2/2021 เศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัวค่อนข้างชัดเจน ตลาดหุ้นถูกขับเคลื่อนจากความหวังด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ก็ใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond yield) ระยะยาว ปรับตัวขึ้นเร็วกว่าระยะสั้น Yield curve ชันขึ้นแบบ Bear steepening ซึ่งตลาดหุ้นมักจะให้ผลตอบแทนสูงมาก

แต่งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา เพราะหลังจากไตรมาส 2 ของปีนี้ เศรษฐกิจโดยรวมทั่วโลกน่าจะผ่านจุดสูงสุด และเข้าสู่โหมดที่เรียกว่า ชะลอตัวลง” …ถ้าเป็นแบบนี้ สหรัฐฯ กับ จีนจะมีสถานการณ์เป็นอย่างไร ?

เจาะลึกเศรษฐกิจ จีนสหรัฐฯ มหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลก

ในสภาวการณ์นี้ ทั้งสหรัฐฯ และจีน ซึ่งนับว่าเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลก ก็มีทิศทางชะลอตัวทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกับประเทศอื่น โดยจะเห็นได้จากคาดการณ์ของ  Bloomberg Consensus และ TISCO Economic Strategy Unit (TISCO ESU) ที่ระบุว่า 1

สหรัฐฯ : ซึ่งเป็นประเทศที่มีส่วนแบ่งใน GDP โลก 24% นั้น คาดการณ์ว่าไตรมาส 2/2021 จะขยายตัวสูงที่ 8.1% และหลังจากนั้นจะเริ่มชะลอตัวลงในไตรมาส 3/2021 อยู่ที่ 7% และไตรมาส 4/2021 อยู่ที่ 4.6%

จีน : ซึ่งมีส่วนแบ่งใน GDP โลก 16% ในไตรมาส 2/2021 ขยายตัวไปอยู่ที่ 7.9% หลังจากนั้นในไตรมาส 3/2021 คาดการณ์ว่าจะเริ่มขยายตัวลดลงมาอยู่ที่ 5.2% และ ไตรมาส 4/2021 อยู่ที่ 5.6%

ไม่ใช่เพียงตัวเลขคาดการณ์ GDP เท่านั้น คุณณัฐกฤติ เหล่าทวีทรัพย์ ผู้อำนวยการอาวุโส ที่ปรึกษาการลงทุนทิสโก้เวลธ์ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) อธิบายเพิ่มว่า ยังมีสัญญาณที่สะท้อนถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งพบได้จากหลายประเด็น

ยกตัวอย่างเช่น การปรับตัวเพิ่มขึ้นของ Bond yield อายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ราว 1.4-1.5% ซึ่งแสดงถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านการลดการอัดฉีดสภาพคล่องจากมาตรการทางการเงินเชิงปริมาณ (QE) เรียบร้อยแล้ว โดยหลังจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ต่อไปอีกว่า ช่วงปี 2022 Fed อาจมีการทยอยปรับลด QE อย่างต่อเนื่อง จากระดับปัจจุบันที่ 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จนเหลือศูนย์ ในไตรมาส 1/2023

นอกจากนี้ยังมีประเด็นด้าน ข้อมูลตัวเลขภาคการผลิต (ISM) ของสหรัฐในเดือนมี.. ซึ่งทำจุดสูงสุดในรอบเกือบ 40 ปี  และกำลังเริ่มตัวปรับลดลง ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่สะท้อนถึงการปรับตัวลดลงทางเศรษฐกิจเช่นกัน

โดยจากภาวะที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลง (ดัชนี ISM สูงกว่า 50 จุดแต่เป็นขาลง) ตลาดหุ้นมักให้ผลตอบแทนลดลง และหุ้นกลุ่ม Defensives หรือ กลุ่มที่ผลประกอบการค่อนข้างเสถียร และไม่แปรผันตามวัฏจักร เศรษฐกิจ ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี (Info Tech) กลุ่มธุรกิจการทางการแพทย์ (Health Care) และกลุ่มสาธารณูปโภค (Utilities) จะเป็นกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาด2

2 มหาอำนาจแห่งนวัตกรรมการแพทย์

องค์การอนามัยโลกได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่าประเทศสหรัฐฯ และจีน มีอัตราการเติบโตของกลุ่มธุรกิจการทางการแพทย์ ในช่วง 5 ปี และ 10 ปีเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก

และทั้งสองประเทศ ยังใช้งบประมาณลงทุนในเรื่องการวิจัยยาใหม่ เป็นอันดับต้น ๆ ของโลกเช่นกัน โดยที่สหรัฐฯ ถือเป็นอันดับ 1 ที่มีเม็ดเงินลงทุนในการวิจัยยาตัวใหม่ ๆ สูงถึงเกือบ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ขณะที่จีนก็กำลังตามมาติด ๆ ด้วยเม็ดเงินลงทุน ส่วนของการวิจัยยากลุ่มใหม่อยู่ที่ 1.3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี4

“คุณณัฐกฤติ”  กล่าวว่า การวิจัยที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลให้ทั้งสองประเทศมีโอกาสเพิ่มตัวยา และวัคซีนใหม่ ๆ ออกสู่ท้องตลาดได้มากขึ้นด้วย โดยจะเห็นได้จากที่ผ่านมา ทั้งสหรัฐฯ และ จีน ถือสิทธิบัตรยาด้านไบโอเทคโนโลยี (Biotechnology) เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก

ซึ่งหากเจาะลึกในรายละเอียดเพิ่มขึ้น จะพบว่าในช่วงเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา (1999-2017) ประเทศจีนมีความก้าวหน้าด้านการสร้างยาชนิดใหม่ออกสู่ตลาดต่อเนื่อง โดยปี 2013 นับเป็นปีที่จีนมีสิทธิบัตรยาใหม่เพิ่มขึ้นสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 7 พันรายการ ขณะที่สหรัฐฯได้ก็เดินหน้าผลิตตัวยาใหม่เช่นกัน  โดยในปี 2017 เป็นปีที่มีสิทธิบัตรยาใหม่เพิ่มขึ้นสูงสุดประมาณ 6 พันรายการ5

ทีนี้ คุณอาจจะยังมีคำถามต่อว่า แล้วกลุ่ม Biotechnology” มีความน่าสนใจแค่ไหนเมื่อเทียบกับกลุ่ม Healthcare ?

ในประเด็นนี้ “คุณณัฐกฤติ” ได้ยกตัวอย่าง อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ระหว่าง Biotech และHealthcare ในสหรัฐฯ ขึ้นมาเปรียบเทียบให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ซึ่งจากข้อมูล จะพบได้ว่ากลุ่มธุรกิจด้าน Biotech มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงถึง 84% มากกว่าเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยอัตราผลตอบแทน Healthcare ทั้งกลุ่ม ซึ่งอยู่ที่ 58%6

…มาถึงตอนนี้ ข้อมูลที่เล่ามาทั้งหมด ทำให้คุณพร้อมที่จะลงลึกกับธุรกิจ Biotechnology ในสหรัฐฯ และจีนแล้วหรือยัง

เจาะธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์ฝั่งสหรัฐฯ

เพื่อให้เห็นภาพของธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์ในสหรัฐฯมากยิ่งขึ้น “คุณวรสินี เศรษฐบุตร” ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุน และสื่อสารการตลาด สายธุรกิจธนบดี ธนาคารทิสโก้ ได้ยกตัวอย่างบริษัทที่น่าสนใจ ซึ่งเคยเป็นกระแสข่าวโด่งดังในช่วงก่อนหน้านี้ ได้แก่

Biogen บริษัทผู้คิดค้นยาอัลไซเมอร์ ที่ชื่อว่า Aduhelm ซึ่งได้รับอนุมัติจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) แล้ว เป็นยาตัวแรกในรอบเกือบ 20 ปี7 ไม่เพียงเท่านี้ Biogen ยังมียาอีกหลายชนิด เช่น ยารักษาหลอดเลือด รวมถึงยาที่เกี่ยวข้องกับประสาทวิทยาอีกมากที่อยู่ในขึ้นตอนทดลอง

นอกจากนี้ ในฝั่งของสหรัฐฯ ยังมีบริษัทที่ชื่อว่า Regeneron ซึ่งเป็นบริษัทที่มีตัวยารักษาเกี่ยวกับโรคตา ความดันตา และเบาหวานขึ้นตา รวมถึงยารักษาเกี่ยวกับโรคผิวหนัง ผื่นคัน โรคหอบหืด ริดสีดวงใจจมูก ซึ่งเป็นที่ต้องการของชาวอเมริกัน และบริษัทนี้ยังเป็นบริษัทยาที่นาย โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ เลือกใช้ในช่วงติดเชื้อโควิดอีกด้วย 8

ธุรกิจเด่นนวัตกรรมการแพทย์ประเทศจีน

ในฟากฝั่งของมหาอำนาจทางซีกโลกตะวันออก อย่างประเทศจีน “คุณวรสินี” ได้ยกตัวอย่างบริษัทที่น่าสนใจ คือ บริษัท Cansino Biologics ผู้ผลิตวัคซีนโควิดแบบเข็มเดียว และแบบชนิดสูดดม ซึ่งจะเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการฉีด เพราะสามารถเข้าไปในเรื่องระบบทางเดินหายใจได้โดยตรง และยังทำให้ใช้ปริมาณวัคซีนน้อยกว่าการฉีดถึง 5 เท่า

นอกจากนี้บริษัทยังมีการพัฒนาวัคซีนอีก 16 ชนิด ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ไข้สมองอักเสบ ปอดอักเสบ และที่สำคัญก็คือ บริษัทนี้มีจุดโดดเด่นในเรื่องสภาพคล่อง เพราะสามารถจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สองแห่ง (Dual Listing) คือ ตลาด A-Share และ H-Share ได้9

อีกบริษัทหนึ่งก็คือ Shenzhen Mindray Bio-Medical Electronic ผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ของจีน ซึ่งมีผลิตภัณฑ์เด่นก็คือ เครื่องช่วยหายใจ “Mindray” ที่ได้รับการยอมรับจนสามารถจำหน่ายในโรงพยาบาลชั้นนำของสหรัฐฯ ได้ โดยปัจจุบัน บริษัทมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ 40% ส่วนอีก 60% ขายในประเทศ10

และทั้งหมดนี้ คือความน่าสนใจของมหาอำนาจแห่งนวัตกรรมการแพทย์ ด้าน Biotech อย่างจีน และสหรัฐฯ มีเหตุผลอะไรอีก ที่จะปล่อยให้ตัวเองตกขบวน

TISCO Advisory

ข้อมูลอ้างอิง

1.Bloomberg Consensus , TISCO Economic Strategy Unit (TISCO ESU)

2.TIPS ฉบับที่ June 2021 Issue o71 หน้า 10

3.The World Health Organization “Growth rate of top 5 largest Healthcare market” , as of 12/31/2018/ update on 04/07/2020 , retrieved 03/31/2021

4.IMS Market Prognosis “Global top 10 Pharmaceutical Spending in 2018” , Retrieved on 03/31/2021

5.World Intellectual Property Organization , as of 12/31/2018, Retrieved on 03/31/2021

6.Ycharts

7.https://www.fda.gov › news-events › press-announcements , June 07, 2021

8.https://www.cnbc.com/2020/11/21/covid-treatment-fda-authorizes-regeneron-drug-used-by-trump.html

9. บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนยูโอบี (ประเทศไทย)

10. บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนยูโอบี (ประเทศไทย)

ที่มาบทความ: https://www.tiscowealth.com/article/chinausinnovativehealthcare.html