5 อุตสาหกรรมหลักที่จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ Russia และ Ukraine โดยตรง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเศรษฐกิจโลกในยุคปัจจุบันได้เชื่อมโยงหมด ความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย และ ยูเครน จึงได้กลายเป็นประเด็นที่ทั่วโลกต่างจับตามองกันอย่างใกล้ชิด สาเหตุจากความขัดแย้งและนโยบายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะกระทบต่อประเทศอื่น ๆ ถึงแม้จะอยู่กันคนละมุมโลก
ยิ่งเป็นรัสเซีย ที่ครองครอบครองทรัพยากรธรรมชาติคิดเป็นจำนวน 1 ใน 3 ของทั้งโลก และ ยูเครนที่ถือว่าเป็นแหล่งผลิตอาหารรายใหญ่ ผลกระทบต่อตลาดสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดจึงย่อมได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย
ในวันนี้เราจะมาส่อง 5 Sectors ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบกันครับ!!

1. พลังงาน

ด้วยพื้นที่ที่กว้างใหญ่ไพศาลของรัสเซีย ทำให้ไม่แปลกใจเลยว่าผู้คนจะขนานนามว่ารัสเซียเป็น “อภิมหาอำนาจพลังงานของโลก” จากสาเหตุที่รัสเซียเป็นผู้ครอบครองทรัพยากรธรรมชาติโลกถึง 30% โดยรัสเซียมีแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของโลก และครอบครองแหล่งสำรองน้ำมันรายใหญ่อันดับ 8 ของโลก ด้วยการส่งออกน้ำมันถึง 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และส่งออกก๊าซธรรมชาติไปที่ยุโรปมากถึง 33% และส่งออกถ่านหิน 47% ของก๊าซธรรมาติและถ่านหินที่ยุโรปใช้ในปัจจุบันเลยทีเดียว
ทำให้ถ้ารัสเซียหันมาใช้มาตราการณ์คว่ำบาตรตอบโต้ เช่น งดส่งออกน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน จะส่งผลกระทบต่อปริมาณสำรองทั่วโลกและส่งผลต่อราคาน้ำมันและก๊าซเป็นอย่างมาก ซึ่งจะมาซ้ำเติมสถานการณ์เงินเฟ้อในปัจจุบันเข้าไปอีก

2. อาหาร

รัสเซียและยูเครนส่งออกข้าวสาลีมากกว่า ¼ ของทั้งโลก และแค่ยูเครนประเทศเดียวส่งออกน้ำมันดอกทานตะวันเกือบครึ่งของโลก โดยที่สินค้าโภคภัณฑ์ทั้ง 2 นี้ เป็นปัจจัยหลักในการทำอาหาร ทำให้ถ้าเกิดการขัดขวางการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวระหว่างสงคราม จะส่งผลกระทบต่อประเทศผู้นำเข้าเป็นอย่างมาก
โดยประเทศ เช่น ตุรกี และอียิปต์ พึ่งพาข้าวสาลีจากรัสเซียและยูเครนเกือบ 70% ของการนำเข้าข้าวสาลีทั้งหมดในประเทศ
ซึ่งถึงแม้ว่าประเทศอื่น ๆ จะเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและรีบเร่งผลิตสินค้ามาทดแทน เพื่อลดผลกระทบแต่อย่างไรก็ตามเราก็ต้องคำนึงด้วยว่ารัสเซียเองก็เป็นผู้ส่งออกหลักสำหรับวัตถุดิบที่ใช้ทำปุ๋ย โดยรัสเซียผลิตปุ๋ยถึง 50 ล้านตันต่อปี คิดเป็น 13% ของทั่วโลก ทำให้การคว่ำบาตรจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตทั่วโลกบ้างอยู่ดี

3. การขนส่ง

เป็นที่รู้กันดีว่าการขนส่งทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา ซึ่งเหตุการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครนจะทำให้เหตุการณ์สามารถแย่ขึ้นไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการขนส่งทางทะเลและการขนส่งทางรถไฟ
รถไฟต่างพยายามที่จะเปลี่ยนเส้นทางและหลีกเลี่ยงยูเครน ทำให้บางประเทศอย่าง ลิทัวเนีย ที่ตั้งอยู่กลางทวีปยุโรป ถูกคาดการณ์ว่าจะเจอการจราจรทางรถไฟอย่างมากจากการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย
และรวมถึงการขนส่งทางเรือด้วยเช่นกัน เจ้าของเรือต่างพากันหลีกเลี่ยงเส้นทางการขนส่งผ่าน Black Sea ซึ่งถึงแม้ว่าการขนส่งผ่าน Black Sea จะถือว่าเป็นตลาดที่เฉพาะกลุ่มมาก แต่ถ้ามันถูกขัดขวางโดยกองกำลังของรัสเซีย มันก็จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมการนำเข้าและส่งออกจากยูเครนเหมือนกัน
ยิ่งไปกว่านั้นราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อต้นทุนการขนส่งสินค้าทำให้อัตราค่าขนส่งที่สูงในปัจจุบันสามารถสูงขึ้นไปอีก

4. โลหะ

รัสเซียและยูเครนถือเป็นผู้ผลิตแร่เหล็กต่าง ๆ ในโลกนี้เป็นอันดับต้น ๆ เช่น นิกเกิล ทองแดง และเหล็ก รวมถึงเป็นผู้ส่งออกสำคัญของวัตถุดิบต่างๆด้วย เช่น นีออน แพลเลเดียม และแพลตตินั่ม ทำให้การคว่ำบาตรัสเซียจะส่งผลต่อราคาแร่ต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น แพลเลเดียม ที่ราคาขึ้นมากว่า 80% จากช่วงกลางเดือนธันวาเมื่อปีที่แล้ว รวมถึงราคานิกเกิลและทองแดงก็พากันขึ้นด้วยเช่นกัน
โดยอุตสาหกรรมการบินในทั้งสหรัฐ ยุโรป และอังกฤษ ต่างพึ่งพิงแร่ไทเทเนียมจากรัสเซีย บริษัทต่างๆอย่าง Boeing และ Airbus จึงพยายามที่จะหาทางออกโดยการติดต่อ Supplier เจ้าอื่น ๆ อย่างไรก็ตามสิ่งนี้ก็เป็นไปได้ยากถ้าจะหามาแทนที่การนำเข้าจากรัสเซียได้ทั้งหมด

5. Semiconductor

ปัญหาการขาดแคลนชิพถือเป็นปัญหาที่ใหญ่มากมาตั้งแต่ปี 2021 โดยนักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์ว่าปัญหานี้จะผ่อนคลายลงในปีนี้ แต่เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นการคาดการณ์นี้อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงไป
โดยส่วนนึงในนโนบายการคว่ำบาตรรัสเซียจากสหรัฐจะยกเลิกการนำเข้าชิพจากรัสเซีย แต่รู้หรือไม่ว่ารัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบสำคัญในการทำชิพ เช่น นีออน แพลเลเดียม และแพลตตินั่ม โดยกว่า 90% ของนีออนที่ใช้ในขั้นตอน Chip Lithography (การฉายแสง) มากจากรัสเซียทั้งสิ้น
ซึ่งโรงงานผู้ผลิตชิพในปัจจุบันมีวัตถุดิบเพื่อไว้แค่ประมาณ 2-4 อาทิตย์เท่านั้น ทำให้ถ้าสถานการณ์ในอนาคตยังไม่ดีขึ้น จะส่งผลต่อการผลิตชิพและอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงชิพ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น

ผลกระทบต่อไทย

แม้ไทยจะไม่ใช่ประเทศที่มีความขัดแย้งโดยตรงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เงินเฟ้อ และค่าเงินก็ส่งผลกระทบต่อไทยเช่นกัน
ไทยและรัสเซียมีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งรัสเซียถือเป็นคู่ค้าลำดับที่ 30 ของไทย โดยไทยได้ส่งออกสินค้าไปรัสเซียในปี 2021 ด้วยมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท และนำเข้าสินค้าจากรัสเซียด้วยมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท
สินค้าที่ไทยส่งออกไปรัสเซียส่วนใหญ่จะเป็น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกล ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เป็นต้น ส่วนไทยนำเข้า น้ำมันดิบ ปุ๋ย เหล็ก จากรัสเซียเป็นหลัก ทำให้เราคิดว่าถ้ารัสเซียเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจขึ้นจริงๆ สินค้าข้างต้นก็อาจจะได้รับผลไม่มากก็น้อย

BottomLiner

ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/bottomlinerglobal/posts/5491002534248169