สรุป Clubhouse Xiaomi Talk ของทีม BottomLiner

เริ่มต้น: เป็นช่วงเล่างบที่เพิ่งประกาศ

รายได้รวม Xiaomi เติบโต +24% YoY ซึ่งธุรกิจที่โตแรงที่สุดยังมาจากการขายมือถือทั้งจากแบรนด์ Mi และ Redmi ที่จำนวนเครื่องขายได้มากขึ้น 31% YoY (รวมขายได้ 43.4 ล้านเครื่อง) เป็นแบรนด์จีนเบอร์ 1 ไปแล้ว ไล่ตาม Apple, Samsung ใกล้ขึ้นเรื่อย ๆ

และที่น่าสนใจคือตลาดในจีน Xiaomi สามารถพลิกกลับมาเติบโตได้แล้ว ซึ่งในช่วงเทศกาล 11.11 Single day มียอดขายอันดับ 2 เป็นรองเพียง iPhone เท่านั้น

ผู้บริหารให้ความสำคัญกับตลาด Premium มากขึ้น (มือถือราคาเกิน 12,000 บาท) โดยจากตัวเลขในปี 2020 สามารถขายมือถือกลุ่มนี้ได้ 10 ล้านเครื่อง เป็นตัวช่วยเพิ่มราคาขายเฉลี่ยต่อเครื่องได้อย่างมาก พา Gross margin เพิ่มไปด้วย

จากการเก็บข้อมูลยอด Search ใน WeChat ช่วงเปิดตัวมือถือ Mi 11 พบว่ามีการค้นหามากกว่า 200 ล้านครั้งภายในวันเดียว แสดงให้เห็นว่าแบรนด์ Xiaomi เริ่มติดกระแสในจีน

เริ่มบุกตลาดขาย Offline ในจีนมากขึ้นด้วยการเร่งเปิด Mi Store เพิ่มขึ้น 2,200 สาขาภายในเวลาเพียงแค่ 3 เดือน ซึ่งเป้าหมายคือจะต้องมี Mi Store ทุกเมืองในจีน แต่ความลับคือบริษัทใช้การ Partner ให้บริษัทอื่นลงทุนสร้างสาขา ส่วน Xiaomi จะเป็นผู้ควบคุมเทคโนโลยีในสาขาให้สามารถ operate ได้มีประสิทธิภาพ (ได้เงินลงทุนใหม่ฟรี ๆ)

ขณะที่การขายในต่างประเทศก็สามารถโตได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดยุโรปตะวันตกที่คนมีกำลังซื้อสูง ปัจจุบันมี Market share อยู่อันดับที่ 3 แล้ว และมือถือที่ขายได้เยอะในโซนนี้คือแบรนด์ Premium ที่มี Gross margin สูง

ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าการที่ Huawei ถูกแบนเป็นตัวช่วยให้ Xiaomi แย่งตลาดตรงนี้มาได้เยอะมาก

ธุรกิจที่ค่อนข้างโตช้าคือ IoT ยอดขายเพิ่มเพียง 8% YoY ชะลอจากปีก่อนมาก แต่สินค้าที่มีแนวโน้มจะสร้างประโยชน์ให้บริษัทได้มากอย่าง Smart TV ยังคงครองแชมป์ market share อันดับ 1 ในจีนเป็นปีที่สองติดต่อกัน เนื่องจากระบบ Smart TV และ Mi box (กล่องทีวี) สามารถเป็นตัวคุมช่องทางโฆษณา connect TV ได้ในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมี MAU (Monthly active user) 41 ล้านคน เป็นน้อง ๆ Roku ของฝั่งสหรัฐเลย (นักวิเคราะห์ยังแทบไม่พูดถึงเรื่องนี้)

ธุรกิจส่วนสุดท้าย Internet Services ได้ประโยชน์จากการที่ยอดขายมือถือเพิ่มขึ้นหนุนรายได้จากโฆษณาให้โต 23% YoY ดัน Gross margin รวมของธุรกิจนี้ขึ้นมาเป็น 68% และเริ่มมีสัดส่วนใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ

Gross margin รวมทั้งบริษัทอยู่ในช่วงขาขึ้นทีเดียว ล่าสุดเพิ่มมาเป็น 16% ส่วนใหญ่มาจากการขายมือถือราคาแพงได้มากขึ้น และรายได้จากโฆษณาเพิ่มขึ้น

Xiaomi ลงทุนในบริษัทอื่นรวม 310 บริษัท เน้นที่บริษัทสัญชาติจีน ซึ่งเมื่อปีที่แล้วลูก ๆ เหล่านี้มีตัวดังที่เข้า IPO แล้วด้วย เช่น Roborock, Kingsoft Cloud, Xpeng และการที่ตลาดหุ้นจีนกับฮ่องกงพุ่งแรงในไตรมาส 4 ช่วยให้เงินลงทุนของ Xiaomi เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลดีต่อราคาหุ้นด้วย (แต่ตอนนี้หุ้นจีน ฮ่องกงก็ถล่มลงมาค่อนข้างเยอะ)

สถานการณ์คำสั่งแบนเป็นอย่างที่รู้กันคือ ศาลสหรัฐปลดแบนให้ Xiaomi ชั่วคราว และบริษัทกำลังพยายามยื่นเรื่องให้เป็นคำสั่งถาวร

ปัญหาหลักในช่วง 3 เดือนนี้เป็นเรื่องชิปขาดแคลน ซึ่งกระทบทั้งอุตสาหกรรมมือถือ แบรนด์ดังทุกเจ้าทั้ง Apple, Xiaomi, Oppo, Vivo ต่างมีสินค้ามาขายลดลง แต่แน่นอนเรื่องนี้มีคนได้ประโยชน์ถ้าเราหาเจอ

ช่วง Q&A

Question: การแข่งขันจากเครือ BBK Electronics (เจ้าของ Oppo, Vivo, Realme, Oneplus) มองยังไงบ้าง ?

Answer: ตลาดมือถือคงแบ่ง ๆ กันไป แต่ Xiaomi ได้เปรียบในกลุ่มมือถือราคาแพงพอสมควร เพราะวางตัวแบรนด์ให้เด่นในตลาดนี้ตั้งแต่ Huawei โดนแบน เช่นเดียวกับ IoT ที่มี partner เยอะกว่าแบรนด์อื่น

Question: ชิปขาดตลาดแล้วผู้บริหาร Xiaomi บอกว่าส่วนต้นทุนที่ขึ้นมาจะผลักภาระให้ผู้บริโภคจะทำได้ไหม ?

Answer: คิดว่าได้บางส่วนแต่ต้องยอมรับว่าตลาดแข่งขันกันหนัก ราคาอาจขึ้นได้ไม่เยอะ (แต่หลังจาก BottomLiner มาทบทวนเพิ่ม คิดว่ามีโอกาสที่ Xiaomi จะฉวยโอกาสเปิดตัวมือถือราคาแพงช่วงนี้ อาศัยจังหวะที่ตลาดมือถือผลิตไม่ทันทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกไม่มากนัก)

หลังจากนี้มีการถามไปถึงหุ้น Intel, Twitter, หุ้นจีน ซึ่งมีผู้รู้ท่านอื่นเข้ามาช่วยตอบด้วย เพจ BottomLiner ต้องขอขอบคุณสังคมนักลงทุนดี ๆ แบบนี้ด้วยนะครับ

BottomLiner

ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/bottomlinerglobal/posts/4379278235420610