รวม 'ข้อผิดพลาด' ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่รู้ เมื่อลงทุนด้วยตัวเอง

ในยุคที่เพียบพร้อมไปด้วยข้อมูลข่าวสาร หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า เราสามารถลงทุนได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องปรึกษาใคร หากหมั่นเรียนรู้และติดตามข่าวสาร ก็ไม่พลาดโอกาสทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้ แต่หารู้ไม่ว่าหลาย ๆ สิ่งที่เราทำนั้น บางทีเราอาจจะกำลังเข้าใจผิด ซึ่งอาจจะส่งผลต่อผลตอบแทนโดยรวมก็ได้ ลองมาดูตัวอย่างเหล่านี้ แล้วเช็กว่าเราเคยเจอความคิดแบบนี้ไหม?

รวม 'ข้อผิดพลาด' ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่รู้ เมื่อลงทุนด้วยตัวเอง

สิ่งที่คิด: สิ่งที่เรารู้และเห็นนั้นคือทุก ๆ อย่าง

ความเป็นจริง: เราอาจจะกำลังลำเอียงอยู่หรือเปล่า?

แม้ว่าปัจจุบันจะเป็นยุคที่เราสามารถหาข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็วกว่าแต่ก่อน เพียงแค่หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเข้าอินเทอร์เน็ตหรือโซเชียลมีเดียก็สามารถตอบทุกคำถามคาใจของเราได้แล้ว แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าสารที่เรารับมานั้นเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด? เป็นข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมดหรือไม่? เป็นข้อเท็จจริง หรือ แค่ความเห็น? หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่ามนุษย์เรามีอคติและความลำเอียง ซึ่งในหลาย ๆ ครั้งเราก็คิดไม่ถึงว่าเป็นความลำเอียงที่เราสร้างขึ้นมาจนทำให้ตัดสินใจพลาดไป ตัวอย่างง่าย ๆ อย่างเช่น Confirmation Bias ที่จะเกิดขึ้นเมื่อเรารับรู้ข้อมูลชุดหนึ่ง เราก็จะมีแนวโน้มหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อมาสนับสนุนข้อมูลชิ้นนั้น แทนที่จะหาข้อมูลตรงกันข้ามเพื่อมาหักล้างกัน ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ เพียงแค่ด้านเดียว

รวม 'ข้อผิดพลาด' ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่รู้ เมื่อลงทุนด้วยตัวเอง

สิ่งที่คิด: ลงทุนระยะยาว ไม่ต้องติดตามสถานะพอร์ตบ่อยก็ได้

ความเป็นจริง: รู้ตัวอีกที ก็ติดดอยแล้ว

เรามักจะได้ยินว่า “ลงทุนยาว ๆ ไม่ต้องซื้อขายบ่อย ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในระยะยาว” ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องจริง ระยะเวลาเป็นเพื่อนคนสำคัญในโลกแห่งการลงทุน ยิ่งยาวก็ยิ่งเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าให้เราคงสถานะสินทรัพย์แบบเดิม ๆ ไว้ตลอด หากระยะสั้นเราเห็นว่าสินทรัพย์ไหนกำลังมา หรือกำลังอ่อนแรง เราก็ควรที่แบ่งสัดส่วนไปรับโอกาสตรงนั้น ปรับพอร์ตการลงทุนบ้างเป็นครั้งคราวเพื่อให้ทันกับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในหลาย ๆ ครั้ง หากเราลงทุนเอง เราอาจจะไม่มีเวลามากพอมาติดตามสถานการณ์โลก หรือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ที่จะช่วยให้เรารับโอกาสระยะสั้นได้ ทำให้พลาดโอกาสสร้างผลตอบแทนไปอย่างน่าเสียดาย

รวม 'ข้อผิดพลาด' ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่รู้ เมื่อลงทุนด้วยตัวเอง

สิ่งที่คิด: เรารู้จักตัวเองดีที่สุดแล้ว

ความเป็นจริง: เราอาจจะประเมินตัวเองต่ำ/สูงไป

ประโยค ‘ไม่มีใครรู้จักตัวเราดีเท่าเราเอง’ อาจจะใช้ไม่ได้กับสถานการณ์นี้ เพราะในหลาย ๆ ครั้งเราก็ไม่รู้ตัวว่าเราเสี่ยงได้มาก/น้อยแค่ไหน บางคนบอกว่ารับความเสี่ยงได้มากถึง 20% แต่พอเจอขาดทุนจริง ๆ 2% ก็ไม่สบายใจ ขณะเดียวกัน บางคนยังเหลือระยะเวลาการลงทุนอีกมาก แต่กลับกลัวความเสี่ยง ทำให้ลงทุนแค่ในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำที่ให้ผลตอบแทนไม่สูง พลาดโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย ในอีกด้านหนึ่ง เรื่องเป้าหมายหรือผลตอบแทนด้านการลงทุนก็สำคัญ หากลงทุนเอง เราอาจจะเผลอตั้งเป้าหมายที่ไม่สะท้อนความจริง หรือ เราอาจจะไม่เชี่ยวชาญมากพอ ในการบริหารพอร์ตของเราให้ไปถึงเป้าหมายนั้น ๆ ได้

ซึ่งก่อนจะเริ่มลงทุนอะไร อยากให้ทุกคนลองค้นหาตัวเองดูว่า แท้จริงแล้ว ‘คุณเป็นนักลงทุนสายไหนในโลกการลงทุน’ กันแน่ เพราะถ้าหาตัวเองเจอแล้วจะช่วยให้เห็นภาพตัวคุณบนโลกการลงทุนชัดเจนขึ้น สามารถเลือกสินทรัพย์ที่เหมาะกับสไตล์ และความเสี่ยง รวมทั้งกำหนดเป้าหมายการลงทุนของคุณได้ดียิ่งขึ้น

ค้นหาว่าคุณเป็นนักลงทุนสายไหนได้ที่ เกมทายใจ! คุณคือนักลงทุนสายไหนในโลกการลงทุน?

รวม 'ข้อผิดพลาด' ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่รู้ เมื่อลงทุนด้วยตัวเอง

สิ่งที่คิด: ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทเดียวก็ไม่เสียหาย

ความเป็นจริง: เปิดพอร์ตดูอีกที แดงแจ๋ถ้วนหน้า

หลาย ๆ คนก่อนจะก้าวมาในโลกการลงทุนคงจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า ‘อย่าเก็บไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว’ หากพูดให้เข้าใจง่าย ๆ สำหรับการลงทุนแล้วก็คือการ ‘กระจายความเสี่ยง’ นั้นเอง บางคนอาจจะเป็นสาย Solo ลุยเดี่ยวเลย ไม่ง้อใคร มีความมั่นใจสูงมาก เห็นว่าสินทรัพย์ไหนมาแรงเป็นกระแสก็ใส่หนักจัดเต็ม ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้เลยซะทีเดียว แต่เปอร์เซ็นต์ที่จะประสบความสำเร็จจากการลงทุนแบบนี้มีน้อยมาก ๆ แม้ว่าบางคนอาจจะรับความเสี่ยงได้สูงก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงอย่างเดียวเสมอไป ลองหันมาจัดพอร์ตการลงทุนดูบ้าง ลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท หลากหลายระดับความเสี่ยง พอร์ตของเราจะได้เติบโตแบบมีประสิทธิภาพกันไปยาว ๆ 

หากอ่านทั้งหมดแล้วรู้สึกว่า “นี่แหละคือสิ่งที่เราเคยเจอ” ลองมาดูตัวช่วยที่เราอยากแนะนำกันครับ

รวม 'ข้อผิดพลาด' ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่รู้ เมื่อลงทุนด้วยตัวเอง

อยากจัดการกับข้อผิดพลาด? “ที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัว” ช่วยคุณได้

ปัญหาต่าง ๆ ที่เราเผชิญจากการลงทุนด้วยตัวเอง จะถูกแก้ไขได้หากเรามี ‘ที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัว’ ซึ่งเราสามารถไว้ใจได้เพราะพวกเขาคือผู้เชี่ยวชาญที่โดยเบื้องต้นต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตแนะนำการลงทุน ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) และยังต้องผ่านการอบรมจาก FINNOMENA อีกด้วย โดยที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวจะทำให้คุณมองเห็นเป้าหมายการลงทุนของคุณได้ชัดเจนขึ้น ทำความเข้าใจกับสไตล์ของนักลงทุนที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถออกแบบพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมกับทั้งความเสี่ยง และเป้าหมายการลงทุนของเรา นอกจากนี้พวกเขายังคอยติดตามสถานะการลงทุนให้เรา และแจ้งเตือนทันทีหากต้องมีการปรับพอร์ตการลงทุน พร้อมเดินทางไปด้วยกันจนกว่าคุณจะถึงทุกเป้าหมายบนโลกการลงทุน

รวม 'ข้อผิดพลาด' ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่รู้ เมื่อลงทุนด้วยตัวเอง

สรุปง่าย ๆ เลย ที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวจะเข้ามาช่วยเราแก้ปัญหา 4 ข้อนี้

ปัญหา 1: เราอาจจะกำลังลำเอียงอยู่หรือเปล่า?
ที่ปรึกษาการลงทุน: วิเคราะห์อย่างเป็นกลาง แนะนำสิ่งที่ดีที่สุดให้ผู้ลงทุน เป็นเพื่อนคู่คิดบนเส้นทางของการลงทุน

ปัญหา 2: รู้ตัวอีกที ก็ติดดอยแล้ว
ที่ปรึกษาการลงทุน: คอยติดตามสถานการณ์การลงทุน พร้อมแจ้งอัปเดตทันทีหากมีอะไรต้องเปลี่ยนแปลง

ปัญหา 3: เราอาจจะประเมินตัวเองต่ำ/สูงไป
ที่ปรึกษาการลงทุน: มีการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ลงทุนอย่างละเอียด เพื่อเข้าใจระดับความเสี่ยงที่รับได้และเป้าหมายของผู้ลงทุน

ปัญหา 4: พอร์ตแดงแจ๋ เพราะการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทเดียวเป็นเหตุ
ที่ปรึกษาการลงทุน: ช่วยจัดพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมกับสไตล์และความเสี่ยงของผู้ลงทุน

หวังว่าทุกคนจะได้มุมมองเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของการมีที่ปรึกษาการลงทุนนะครับ หากใครสนใจมีที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวร่วมเป็นเพื่อนคู่คิดตลอดการเดินทางบนโลกการลงทุนของคุณ ทางฟินโนมีนามี ‘FINNOMENA Exclusive’ บริการที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัว ให้คำปรึกษาการลงทุนกองทุนรวมแบบเป็นกลาง โดยสามารถรับบริการได้ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ความพิเศษของบริการนี้คือใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียงแค่ 500,000 บาทเท่านั้น ก็สามารถรับคำปรึกษาได้อย่างสบายใจ ไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ แถมมีผู้ดูแลการลงทุนส่วนตัวอีกด้วย

หากสนใจใช้บริการ สามารถกรอกข้อมูลเพื่อรับบริการได้ที่ 

https://finno.me/finnomena-x-fixyourmistakes-web


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

iran-israel-war