เสี่ยเจริญราชา IPO ไทย 2019

เสี่ยเจริญราชา IPO ไทย 2019

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาสำนักข่าวชื่อดัง Bloomberg มีการรายงานถึงดีล IPO ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นสิงคโปร์ในรอบ 8 ปี ที่มีมูลค่าเริ่มแรกสูงถึง 3 แสนล้านบาท 

ซึ่งก็ยังเป็นเจ้าพ่อ IPO ขาใหญ่คนเดิมในไทย อย่างเสี่ยเจริญ

หากพูดถึงเรื่อง IPO ในปีนี้ ถ้าไม่พูดถึงเสี่ยเจริญเจ้าของแบรนด์ดังอย่าง เบียร์ช้าง, หรือแม้แต่นํ้าเปล่าราคาหลักหน่วยที่เด็กอายุหลักหน่วยก็ซื้อได้อย่าง Crystal ก็คงจะไม่ได้

อีกหนึ่ง IPO มูลค่าสุดร้อนแรงแห่งปี

หลังดัน AWC (Asset World Corporation) เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจนติดบนหน้าข่าวอยู่เป็นหลักเดือน ล่าสุดเมื่อเร็วๆนี้ มีข่าวของสุดยอดดีลแห่งตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ที่กำลังจะมีบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ บริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยเข้าทำ ipo ด้วยมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งนับเป็น IPO ที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2011 อีกทั้งยังมีมูลค่ามากกว่า IPO รวมในปู่ SET ตั้งแต่ เดือน ม.ค.- ต.ค. ที่ 64,500 ล้านบาท มากถึง 5 เท่า และหากไม่รวมสุดยอด ipo แห่งปีอย่าง AWC แล้ว ipo ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จะมีมูลค่ามากถึง 18 เท่าของ ipo เกือบทั้งปีของปู่ set เลยทีเดียว

พูดได้ว่าบริษัทเกิดใหม่ของเสี่ยเจริญเพียงบริษัทเดียวก็ออกตัวแรงแซงทั้งตลาดเกิดใหม่ของไทยในปีเดียว

แล้วอะไรที่ทำให้ บริษัทธุรกิจเบียร์เกิดใหม่นี้มีการประเมินมูลค่าในวันแรกที่เข้าตลาดสูงอย่างมาก เราอาจจะเทียบได้จากสินค้ายอดฮิตจากเสี่ยเจริญ

เรามาดูกันว่าสินค้าทำเงินหลักของเสี่ยเจริญมีอะไรบ้าง

เสี่ยเจริญราชา IPO ไทย 2019

  • เบียร์และนํ้า คิดเป็นรายได้เท่ากับ  11.4 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 44.7% ของรายได้ทั้งหมด
  • สุรา  คิดเป็นรายได้เท่ากับ  10.9 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 43% ของรายได้ทั้งหมด
  • เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอลล์ คิดเป็นรายได้เท่ากับ 16.6 ล้านบาท หรือคิดเป็น 6.5% ของรายได้ทั้งหมด
  • อาหาร คิดเป็นรายได้เท่ากับ  14.9 ล้านบาท หรือคิดเป็น 5.8% ของรายได้ทั้งหมด

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าสินค้าอย่างเบียร์และนํ้าเป็นสินค้าทำเงินหลัก มีสัดส่วนรายได้ถึง 44.7% จากรายได้ทั้งหมด นอกจากนั้น ตามผลสำรวจของเครดิตวาระ Market Share เครื่องดื่มประเภทเบียร์ของ ThaiBev ในประเทศไทยนั้นอยู่ที่ราวๆ 40% ซึ่งหากเปรียบเทียบกับคู่แข่งสำคัญอย่าง สิงห์ คอปเปอร์เรชั่น แล้วนั้นก็ถือว่าทำได้ดี อีกทั้งในปี 2018 ThaiBev มีส่วนแบ่งในตลาดเบียร์อาเซียนสูงถึง 24% เลยทีเดียว ภายหลังที่ ThaiBev ทำการ takeover บริษัท ไซ่ง่อน เบียร์ แอลกอฮอล์ เบฟเวอเรจ คอร์เปอเรชั่น หรือ ซาเบโก (Sabeco) 

การ IPO ครั้งนี้จึงเป็นที่น่าจับตามองว่า จะทำให้ธุรกิจโรงบ่มของ ThaiBev เติบโตก้าวกระโดดดังเช่น การ takeover บริษัท ซาเบโก (Sabeco) หรือไม่?

นอกจากนี้หากเทียบสัดส่วนกับรายได้ทั้งหมด เป็นไปได้ว่าเสี่ยเจริญอาจมองเห็นโอกาสจากสินค้าหลักของตน ดังนั้นเราอาจจะได้มีโอกาสเห็นการเทคโอเวอร์จากแบรนด์อื่นๆหรือสินค้าใหม่ๆในกลุ่มเบียร์ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง หากเทียบจากประวัติการ takeover ที่ทำไปแล้วถึง 120,000 ล้านบาท นอกจากนั้นในอนาคตเราอาจจะได้เห็นสุดยอดดีลยักษ์ใหญ่จากเสี่ยเจริญ ซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นแค่การ takeover บริษัทอย่างเดียวอีกต่อไป แต่หากเป็นการ IPO บริษัท ที่แตกออกมาจากสินค้าหลักที่แข็งแกร่ง 

โดยทั้งนี้ ตามรายงานคาดว่าการ IPO ครั้งนี้จะเกิดขึ้นในกลางปี 2563

iran-israel-war