รีวิวกองทุน KFFVPE-UI: โอกาสในการลงทุนผ่านกองทุนสตาร์ทอัพของคุณมาถึงแล้ว I Finnoventure

เปิดประสบการณ์การลงทุนผ่านกองทุนแบบใหม่ ครั้งแรกในไทยกับกองทุนบริษัทสตาร์ทอัพชั้นนำ หนึ่งเดียวกับรูปแบบการลงทุนในหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ผ่านกองทุนรวม (Private equity fund) ที่สามารถสร้างการเติบโตได้ในระดับสูง จากการลงทุนในธุรกิจที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเติบโต

กองทุน KFFVPE-UI จึงเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมโลกของ “คุณ” และ โลกของ “สตาร์ทอัพ” เข้าด้วยกันผ่านกองทุนรวมแบบพิเศษ (กองทุนปิด) และทำให้คุณกลายเป็น VC ระดับท็อปได้ในทันที 

โปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ เปิดบัญชีลงทุนครั้งแรกกับ FINNOMENA รับหน่วยลงทุน PCASH มูลค่า 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. – 31 พ.ค. 65 คลิก https://finno.me/havefund-promotion

รายละเอียดจะเป็นอย่างไรเราลองมาสำรวจไปพร้อม ๆ กัน

รีวิวกองทุน KFFVPE-UI: โอกาสในการลงทุนผ่านกองทุนสตาร์ทอัพของคุณมาถึงแล้ว I Finnoventure

ทำไมถึงต้องลงทุนสตาร์ทอัพกับ Krungsri Finnovate

Krungsri Finnovate คือ บริษัทที่ลงทุนในสตาร์ทอัพและมีความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างแท้จริงจากการเป็นทั้งศูนย์บ่มเพาะรวมถึงเป็นผู้ช่วยพัฒนาสตาร์ทอัพจนถึงฝั่งฝัน โดย Krungsri Finnovate เป็น CVC (Corporate venture capital) ชื่อดังในไทยที่มีการรวมหัวใจหลักที่ส่งผลให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบไปด้วย ระบบทางธุรกิจ (Ecosystem) การร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ (Partnership) รวมถึงการลงทุน (Investment)

ซึ่งความเชี่ยวชาญดังกล่าวก็ได้สะท้อนผ่านผลตอบแทน (IRR) ที่ 20.8% ซึ่งสูงกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของ VC ทั่วโลกที่ 15.9% ในปี 2019

รีวิวกองทุน KFFVPE-UI: โอกาสในการลงทุนผ่านกองทุนสตาร์ทอัพของคุณมาถึงแล้ว I Finnoventure

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

แนวทางการลงทุนของกองทุน Krungsri Finnoventure PE Fund (KFFVPE-UI)

KFFVPE-UI จะลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพที่มีการเพิ่มทุนในระดับ Series A เป็นต้นไป (ช่วงที่เริ่มเติบโตและมีฐานมาประมาณหนึ่ง) ซึ่งถือเป็นขั้นที่ต่อเนื่องมาจาก Seed หรือช่วงที่สตาร์ทอัพกำลังอยู่ในช่วงแรกและยังไม่มีโมเมนตัมการเติบโตและยังไม่มีความเสี่ยงสูงมากนัก

ดังนั้นการลงทุนในสตาร์ทอัพ Series A เป็นต้นไปจึงถือได้ว่า เป็นการลงทุนในช่วงที่บริษัทมีรากฐานระดับหนึ่งแล้ว ขณะเดียวกันบริษัทก็ยังมีศักยภาพการเติบโตที่สูง

นโยบายการลงทุนของกองทุน KFFVPE-UI 

ลงทุนในหุ้น ตราสารที่เกี่ยวกับหุ้น และเงินกู้แปลงสภาพ (Convertible debt) เน้นลงทุนใน 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเงิน (Financial tech) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) และยานยนต์ (Automotive) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเงินลงทุนที่ได้รับชำระแล้วจากผู้ลงทุนอาจนำไปลงทุนชั่วคราวในสินทรัพย์สภาพคล่องระยะสั้นเพื่อรอลงทุนในกิจการ Start-up และ/หรือเพื่อใช้ชำระค่าธรรมเนียมใด ๆ หนี้สิน ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ หรือนำไปจัดสรรให้กับผู้ลงทุนตามดุลยพินิจของผู้จัดการหน่วยลงทุน โดยกองทุนมีความเสี่ยงระดับ 8+

รีวิวกองทุน KFFVPE-UI: โอกาสในการลงทุนผ่านกองทุนสตาร์ทอัพของคุณมาถึงแล้ว I Finnoventure

ลงทุนใน 3 ธีมธุรกิจหลักที่มีโอกาสเติบโตสูงในอาเซียน

รีวิวกองทุน KFFVPE-UI: โอกาสในการลงทุนผ่านกองทุนสตาร์ทอัพของคุณมาถึงแล้ว I Finnoventure

หลัก ๆ แล้วหมวดหมู่ธุรกิจหลักที่กองทุนลงทุนมี ดังนี้

  • ธุรกิจฟินเทค (Fintech) – หนึ่งในธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูงในอาเซียนจากการใช้อินเทอร์เน็ตในระดับสูง แต่การเข้าถึงบริการทางการเงินยังอยู่ในระดับที่ไม่สูง ชี้ให้เห็นถึงโอกาสเติบโต
  • ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) – กลุ่มประเทศในอาเซียนรวมถึงไทยมีการใช้โซเชียลมีเดีย และพัฒนาการทางด้านอีคอมเมิร์ซที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยชี้ให้เห็นถึงโอกาสเติบโตที่แข็งแกร่ง
  • ธุรกิจยานยนต์ (Automotive) – กลุ่มประเทศในอาเซียนยังมีอัตรายานยนต์ต่อคนในระดับที่ต่ำ หากเทียบกับระดับโลก ชี้ให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตได้อีกมาก

*ทางกองทุนจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงธีมหลักที่ลงทุน

บริษัทในพอร์ตการลงทุนของ Krungsri Finnovate ที่น่าจับตามองและมีโอกาสเข้ามาอยู่ในกองทุน

รีวิวกองทุน KFFVPE-UI: โอกาสในการลงทุนผ่านกองทุนสตาร์ทอัพของคุณมาถึงแล้ว I Finnoventure

รีวิวกองทุน KFFVPE-UI: โอกาสในการลงทุนผ่านกองทุนสตาร์ทอัพของคุณมาถึงแล้ว I Finnoventure

  • Flash Express – สตาร์ทอัพมาแรงแห่งยุคในจังหวะเวลาที่อีคอมเมิร์ซกำลังเติบโต ซึ่งการส่งสินค้าเปรียบเหมือนสะพานเชื่อมที่สำคัญระหว่างผู้เล่นในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ การขนส่งจึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจหลักที่น่าจะเติบโตได้ดี อีกทั้งยังมีสตอรี่อันโดดเด่นจากคุณคมสันต์ แซ่ลี นักธุรกิจหนุ่มยุคใหม่วัย 29 มากความสามารถผู้มีประสบการณ์พลิกธุรกิจเกือบล้มละลายให้กลับมามีกำไรได้ ก่อนกลายมาเป็นผู้นำธุรกิจโลจิสติกส์ที่สามารถขับเคี่ยวกับบริษัทชั้นนำในตลาดตอนนี้ได้
  • Grab – แพลตฟอร์มผู้เชื่อมทุกอย่าง ทำได้ตั้งแต่ ส่งอาหาร ส่งของ เรียกรถ ซึ่งแพลตฟอร์มรวมบริการต่าง ๆ ถือได้ว่ามาแรงและมีการแข่งขันสูงมาก ชี้ให้เห็นถึงโอกาสเติบโตในระดับสูงจนมีผู้เล่นรายใหญ่มาขับเคี่ยวมากมาย
  • FINNOMENA – หนึ่งในสตาร์ทอัพ Digital Wealth Platform ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกทั้งด้านกองทุนและหุ้น รวมถึงบทความให้ความรู้จากกูรูชั้นนำต่าง ๆ มากมาย
  • SBITO – ผู้ให้บริการโบรคเกอร์ซื้อขายหุ้น มีจุดเด่นอย่างค่าธรรมเนียมที่ต่ำและไม่มีขั้นต่ำ หรือซื้อขายเท่าไรจ่ายตามจริงเท่านั้น
  • Wisesight – ในยุคที่ข้อมูลและโซเชียลมีเดียเป็นมากกว่าทุกสิ่ง Wisesight คือ ผู้นำข้อมูลดังกล่าวมาตกผลึก วิเคราะห์และกลั่นกรอง ให้ธุรกิจต่าง ๆ ได้เข้าใจและได้ข้อมูลสำคัญพิเศษในหลายแง่มุมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา โดยมีตัวอย่างข้อมูลที่มีความจำเป็นต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมผู้บริโภค คู่แข่งและอื่น ๆ

บริษัท ข้างต้นเหล่านี้คือบริษัทที่ทาง Krungsri Finnovate มองเห็นโอกาสและได้เข้าลงทุนมาก่อนหน้า และอยู่ในพอร์ตการลงทุนของบริษัท

บางบริษัทในนี้ถือได้ว่ามีโอกาสสูงมากที่จะเข้ามาอยู่ในพอร์ตของกองทุน KFFVPE-UI อีกทั้งยังมีบริษัทอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมากมายที่มีความเป็นไปได้ที่จะเข้ามาอยู่ในพอร์ตการลงทุนของกองทุน KFFVPE-UI 

หากนักลงทุนท่านใดสนใจคว้าโอกาสลงทุนในบริษัทที่มีคุณภาพและคว้าโอกาสเติบโตในระดับที่สูงมากตั้งแต่ต้น กองทุนนี้ถือได้ว่าเป็นโอกาสที่นักลงทุนไม่ควรพลาด

รีวิวกองทุน KFFVPE-UI: โอกาสในการลงทุนผ่านกองทุนสตาร์ทอัพของคุณมาถึงแล้ว I Finnoventure

นโยบายต่าง ๆ และค่าธรรมเนียมของกองทุน KFFVPE-UI

นโยบายการจัดสรรผลตอบแทน

รีวิวกองทุน KFFVPE-UI: โอกาสในการลงทุนผ่านกองทุนสตาร์ทอัพของคุณมาถึงแล้ว I Finnoventure

ที่มาภาพ: เอกสารนำเสนอการขายกองทุน KFFVPE-UI 

เนื่องจากโมเดลการจัดสรรผลตอบแทนการลงทุนค่อนข้างจะซับซ้อน ผู้เขียนจึงขอสรุปออกมาให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ดังนี้

  1. ในช่วงเริ่มแรกกองทุนจะคืนเงินต้นของนักลงทุนทั้งหมดหากการลงทุนประสบความสำเร็จ (จากภาพหากเราลงทุน 100 ล้านบาท จะทยอยจ่ายจนครบก่อนเบื้องต้น)
  2. หลังจากคืนเงินต้นครบทั้งหมด นักลงทุนจะได้ผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (IRR) เฉลี่ย 8% ต่อปี ตามการคำนวณของกองทุน ในขณะที่อีก 2% จะถูกจัดสรรและแบ่งให้กับผู้จัดการ (หรือคิดเป็นส่วนแบ่ง 80% ให้กับนักลงทุน และ 20% ให้กับผู้จัดการ)
  3. หลังจากมอบผลตอบแทนดังกล่าวข้างต้นกองทุนจะทำการแบ่งกำไรจำนวน 20% จากผลตอบแทนที่ได้มอบให้กับนักลงทุน แต่เนื่องจากส่วนที่ได้มอบให้กับนักลงทุนคิดเป็น 8% จากทั้งหมดที่มีการจัดสรรก่อนหน้าที่ 10% (นักลงทุน = 8%, ผู้จัดการ = 2%) การคำนวณผลตอบแทนของขั้นตอนตามตัวอย่างนี้จึงเป็น 20%/80% x (17+36.43) หรือเท่ากับ 13.36 ล้านบาท
  4. สุดท้ายหลังจากการจัดสรรข้างต้นเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อย ผลตอบแทนส่วนเพิ่มทั้งหมดหลังจากนี้จะตกเป็นของนักลงทุน 80% และผู้จัดการหน่วยลงทุนอีก 20% ซึ่งในขั้นตอนนี้นักลงทุนจะได้ผลตอบแทนในระดับที่สูงมาก เพราะ หลังจากนี้จะเป็นช่วงที่นักลงทุนจะได้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มทั้งหมด ถึง 80% จากผลตอบแทนที่ได้ ซึ่งการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพหากเจอผู้ชนะที่แท้จริงเพียงไม่กี่รายก็อาจพานักลงทุนมาถึงจุดนี้ได้อย่างไม่ยากเย็นจากผลตอบแทนในระดับสูงผ่านการลงทุนในช่วงที่ธุรกิจกำลังเติบโต

รู้จักการ Exit ของกองทุน KFFVPE-UI 

การ Exit นั้นเปรียบเสมือนการขายความเป็นเจ้าของเพื่อทำกำไรในวงการสตาร์ทอัพเมื่อบริษัทที่ลงทุนออกดอกผลงดงามให้กับผู้ลงทุน ซึ่งหากจะยกตัวอย่างการ Exit เป็นเคสง่าย ๆ ก็เช่น

รีวิวกองทุน KFFVPE-UI: โอกาสในการลงทุนผ่านกองทุนสตาร์ทอัพของคุณมาถึงแล้ว I Finnoventure

กรณีศึกษา: จากสตาร์ทอัพแห่งหนึ่ง

เมื่อปี 2017 ทาง Krungsri Finnovate ได้เข้าลงทุนในสตาร์ทอัพแห่งหนึ่งนับตั้งแต่ช่วง Series A ซึ่งตามปกติบริษัทจะมีระดับมูลค่าเฉลี่ยอยู่ที่ราว ๆ 22 ล้านเหรียญ ในช่วง Series นี้

หากเราลองจินตนาการว่าบริษัทดังกล่าวสามารถเติบโตและพัฒนาต่อเนื่องไปยัง Series B ที่บริษัทจะมีมูลค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระหว่าง 30 ถึง 60 ล้านเหรียญ หรือไปถึงระดับ Series C ที่มีระดับมูลค่าเฉลี่ย 100 ล้านเหรียญ ผลตอบแทนที่ได้อาจมากถึงกว่า 2 เด้ง และ 5 เด้งตามลำดับ ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการค้นพบเพชรเม็ดงามอย่างหุ้นเติบโตสูง

ข้อสมมติข้างต้น คือ กรณีที่ทาง VC ทำการ Exit จากการลงทุนในแต่ละช่วง Series ตามตัวอย่าง แต่หาก VC สามารถผลักดันให้บริษัท เข้าไปถึงกระบวนการ IPO ได้ ผลตอบแทนที่ได้ก็จะมากกว่า 5 เด้งหรือ 5 เท่าขึ้นไปอีก

ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างที่ชี้ชัดให้เห็นว่าการลงทุนในรูปแบบนี้ หากทาง VC เจอบริษัทผู้ชนะได้เพียงไม่กี่ตัวเราจะได้ผลตอบแทนในระดับก้าวกระโดด และอาจมาถึงจุดที่นักลงทุนสามารถมาถึงการจัดสรรรายได้ในขั้นที่ 4 (ผู้จัดการทรัสต์ 20%, นักลงทุน 80%) ซึ่งเป็นช่วงที่นักลงทุนได้ผลตอบแทนสูงสุดดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้าได้อย่างไม่ยากเย็น โดยหากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อน 10 ปี ทางทีมงาน Krungsri Finnavate ก็อาจทำการ Exit และทำกำไรให้กับนักลงทุนก่อนหน้าได้อย่างงดงาม (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจข้องผู้จัดการทรัสต์)

คาดการณ์ผลตอบแทนกองทุน KFFVPE-UI

รีวิวกองทุน KFFVPE-UI: โอกาสในการลงทุนผ่านกองทุนสตาร์ทอัพของคุณมาถึงแล้ว I Finnoventure

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้

ที่มาภาพ: เอกสารนำเสนอการขายกองทุน KFFVPE-UI 

ผลตอบแทนย้อนหลังภายใต้การบริหารของ KFIN ในช่วงปี 2017-2021 นั้นถือได้ว่าสร้างผลตอบแทนได้มาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับการบริหารการลงทุนในธุรกิจเกิดใหม่ที่มีความเสี่ยงสูง 

และหากนำผลตอบแทนที่ได้ในช่วงที่ผ่านมามาทำการคาดการณ์ไปในอีก 4 ปีข้างหน้า กองทุน KFIN อาจสร้างผลตอบแทนได้สูงถึง 3.02 เท่า – 3.75 เท่า (TVPI*) หรือคิดเป็น 24.2%-38.4% เฉลี่ยต่อปี (IRR) ซึ่งถือได้ว่าสูงกว่าการลงทุนในดัชนีหุ้นทั่วไป

*วิธีที่ใช้วัดผลตอบแทนที่ได้เทียบเงินลงทุน

รีวิวกองทุน KFFVPE-UI: โอกาสในการลงทุนผ่านกองทุนสตาร์ทอัพของคุณมาถึงแล้ว I Finnoventure

 

เงื่อนไขด้านระยะเวลาลงทุนของกองทุน KFFVPE-UI 

  • กองทุนมีอายุการลงทุนที่ 10 ปีและต่ออายุได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี (รวมเป็น 12 ปี) โดยใช้ดุลยพินิจยกเลิกก่อนได้ตามประโยชน์สูงสุด โดยผู้ลงทุนสามารถขายคืนได้ผ่านการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปยังกองทุน KFCASH-A (ไม่จำกัดจำนวนเงินและจำนวนครั้งในการออกจากกองทุน)
  • กองทุนไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนแบบปกติในระหว่างอายุโครงการ และรับซื้อคืนหน่วยลงทุนผ่านการสับเปลี่ยนไปยังกองทุน KFCASH-A
  • กองทุน KFFVPE-UI สามารถขายหรือโอนย้ายไปยังผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth) ท่านอื่นได้

รีวิวกองทุน KFFVPE-UI: โอกาสในการลงทุนผ่านกองทุนสตาร์ทอัพของคุณมาถึงแล้ว I Finnoventure

ค่าธรรมเนียมของกองทุน KFFVPE-UI 

ค่าธรรมเนียมซื้อ

  • ไม่เกิน 3.00% โดยแบ่งตามขนาดเงินลงทุน ดังนี้
    • ต่ำกว่า 10 ล้านบาท: 2.00%
    • 10 ล้านบาทขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท: 1.75%
    • ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป: 1.50%

ค่าธรรมเนียมขาย

  • ไม่เรียกเก็บ

ค่าธรรมเนียมสับเปลี่ยนกองทุน

  • ไม่เกิน 3.00% โดยแบ่งตามขนาดเงินลงทุน ดังนี้
    • ต่ำกว่า 10 ล้านบาท: 2.00%
    • 10 ล้านบาทขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท: 1.75%
    • ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป: 1.50%
  • สับเปลี่ยนออก: ไม่เรียกเก็บ

ค่าธรรมเนียมการจัดการ

  • ปีที่ 1-5: 2.50% ต่อปี ของเงินเรียกลงทุนทั้งหมด
  • ปีที่ 6 เป็นต้นไป: 2% ของ NAV (ไม่รวมกำไรขาดทุนปีก่อนหน้ามาทบ หรือ 20 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าแบบใดจะสูงกว่า)

รีวิวกองทุน KFFVPE-UI: โอกาสในการลงทุนผ่านกองทุนสตาร์ทอัพของคุณมาถึงแล้ว I Finnoventure

สรุป: กองทุน KFFVPE-UI พิเศษกว่ากองทุนอื่น ๆ อย่างไร

  • KFFVPE-UI เป็นกองทุนที่ลงทุนใน Private equity หรือหุ้นที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ (บริษัท สตาร์ทอัพต่าง ๆ ) ซึ่งมีโอกาสเติบโตในระดับที่สูงกว่าหุ้นที่ถูกซื้อขายในตลาด จากการที่บริษัทนั้นอยู่ในช่วงเริ่มต้นหรือช่วงที่สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
  • มีโมเดลการจัดสรรผลตอบแทนที่หวือหวาและแตกต่างกับกองทุนอื่น ๆ ทั่วไป
  • หากต้องการขายคืนต้องสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปยังกองทุน KFCASH-A ก่อน
  • สามารถขายให้กับผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษเท่านั้น (Ultra High Net Worth) ทั้งนี้คุณสมบัติของผู้ลงทุนเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ ก.ล.ต. โดยมีเงินลงทุนขั้นต่ำครั้งแรกอยู่ที่ 1,000,000 บาท
  • เป็นกองทุนแบบปิด (ไม่รับเงินลงทุนเพิ่ม) ที่จะมีการเสนอขายครั้งเดียวในช่วงวันที่ 13-21 ธันวาคม 2564

กองทุน KFFVPE-UI ถือเป็นกองทุนรูปแบบใหม่ในวงการกองทุนรวมไทยที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพที่มีการคัดสรรอย่างเข้มข้น โดยหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนสตาร์ทอัพในไทย

หากคุณพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนในบริษัทชั้นนำที่มีศักยภาพเติบโตสูงตั้งแต่เริ่มแรก KFFVPE-UI คือสะพานเชื่อมสำคัญให้กับ “คุณ” และ “โอกาส” ในฝันของคุณ

กองทุน KFFVPE-UI จะมีการ IPO ในวันที่ 16-22 ธันวาคม 2021

สร้างแผนและเปิดบัญชีกองทุนรวมกับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนกว่า 1,000 กอง จาก 22 บลจ. ครอบคลุมทุกบลจ. ในประเทศไทย สร้างแผนและเปิดบัญชี คลิกhttps://finno.me/open-plan

References

เอกสารเสนอการขายกองทุน KFFVPE-UI

รีวิวกองทุน KFFVPE-UI: โอกาสในการลงทุนผ่านกองทุนสตาร์ทอัพของคุณมาถึงแล้ว I Finnoventure

รีวิวกองทุน KFFVPE-UI: โอกาสในการลงทุนผ่านกองทุนสตาร์ทอัพของคุณมาถึงแล้ว I Finnoventure

คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนนี้ไม่ถูกจำกัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น และผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนนี้ในช่วงเวลา 12 ปีได้ ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก  |  กองทุนนี้เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน  |  บลน.ฟินโนมีนา จำกัด ในฐานะผู้แนะนำการลงทุนกอง KFINNOVENTURE กองทุนนี้มีลงทุนใน FINNOMENA ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใน บลน.ฟินโนมีนา จำกัด | กองทุนนี้ห้ามขายให้ผู้ลงทุนรายย่อย เป็นกองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษเท่านั้น | กองทุนนี้มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน | กองทุนนี้อยู่ระหว่างการขอพิจารณาอนุมัติและจัดตั้งกองทุนรวมจากสำนักงาน ก.ล.ต. | บลน.ฟินโนมีนา จำกัด ในฐานะผู้แนะนำกองทุนรวม KFFVPE-UI กองทุนรวมนี้ มีบริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ในฐานะผู้จัดการกองทรัสต์ และมีการลงทุนใน บริษัท ฟินโนมีนา จำกัด (FINNOMENA) ซึ่งผู้จัดการทรัสต์ และ FINNOMENA เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บลน.ฟินโนมีนา จำกัด |บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ในฐานะผู้จัดการทรัสต์ อาจมีการลงทุนหรือทำสัญญาหรือเข้าทำธุรกรรมเพื่อ ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท อิควิตี้ทรัสต์ Iในกิจการเป้าหมาย หรือกิจการ Startup ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับผู้จัดการทรัสต์ หรือบริษัทในเครือกลุ่มธนาคารกรุงศรี อยุธยา จำกัด (มหาชน) | บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด (ผู้จัดกำรทรัสต์) อาจมีการลงทุนในกิจการเป้าหมาย หรือกิจการ Startup อยู่ก่อนวันปิดรับการลงทุน  (Warehoused Investments) ซึ่งการลงทุนนั้นอาจมีลักษณะที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลยุทธ์การลงทุนของ ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท  อิควิตี้ ทรัสต์ I (“PE ทรัสต์”) และผู้จัดการทรัสต์อาจโอนการลงทุนดังกล่าวนั้นมายัง PE ทรัสต์ก่อนหรือภายหลังวันปิดรับการลงทุน  (Closing) และถือว่า Warehoused Investments ที่โอนมานี้ถือเป็นเงินลงทุนที่ได้รับชำระแล้วในส่วนของผู้จัดการทรัสต์ มูลค่าของ  Warehoused Investments ที่โอนมาจะเท่ากับราคายุติธรรมของ Warehoused Investment บวกด้วยยอดเงินส่วนเพิ่มที่กำหนดโดย  ผู้จัดการทรัสต์ ซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจำกกำรเข้าซื้อ ถือครอง และการโอนส่วน Warehoused Investment นี้ตาม  มาตรฐานการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมในลักษณะเดียวกันจะพึงกระทำ | ผู้จัดการทรัสต์อาจจัดให้มีการลงทุนร่วมในกิจการเป้าหมายเดียวกับ PE ทรัสต์ แก่ผู้ลงทุนรายอื่นใดหรือบุคคลที่สาม (Co-investment) โดยการลงทุนร่วมนี้อาจกระทำการเข้าลงทุนหรือถอนการลงทุนในเวลาเดียวกัน รูปแบบหรือวิธีเดียวกันกับ PE ทรัสต์ ผู้ลงทุนร่วม (Co-investor)  จะถูกจัดสรรยอดลงทุน ค่ำใช้จ่าย ภาระผูกพันต่างๆ ตำมสัดส่วนที่เข้าลงทุน |การกระทำดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ซึ่งผู้ลงทุนของกองทุนรับทราบและตกลงยินยอมในการกระทำที่อาจก่อให้เกิด  ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ดังกล่าว และกองทุนไม่สามารถรับรองว่าผลตอบแทนจากการลงทุนของ ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท อิควิตี้ ทรัสต์ I จะคล้ายหรือเหมือนกับผลตอบแทนของการลงทุนอื่นใดที่ผู้จัดการทรัสต์เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด หรือทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทรัสต์ หรือให้  คำแนะนำ หรือเป็นที่ปรึกษา หรือให้บริการอื่นใด I สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

iran-israel-war