วันที่ 31 มีนาคม 2016 FINNOMENA จัดงาน “บินให้เป็นเห็นเงินล้าน” ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อแนะนำการใช้ Robo-Advisor (ตอนนั้นใช้ชื่อว่า Wealth Path) ของ FINNOMENA เป็นครั้งแรก

ผ่านมาถึงปี 2020 เรามีแผนการลงทุนหลากหลายมากขึ้นทั้งแผน Private Wealth, Thematic, Guru Port, Fund House Port เพื่อตอบโจทย์นักลงทุนกลุ่มต่างๆ แต่เป้าหมายสำคัญก็ยังคงเป็นการใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนในกองทุนรวมได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และเป็นมืออาชีพมากกว่าเดิมด้วยความรู้การลงทุนส่งตรงถึงมือคุณทุกวัน

บทความนี้เลยอยากจะเล่าเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เรียกว่า “Robo-Advisor” ที่ใช้ในการออกแบบแผน GOAL ซึ่งเป็นแผนที่มีนักลงทุนเลือกลงทุนเป็นจำนวนมาก เพื่อที่นักลงทุนจะได้เข้าใจในสิ่งที่กำลังจะลงทุนและมีความเชื่อมั่นที่จะลงทุนในระยะยาวมากขึ้นครับ

Robo-Advisor คืออะไร?

Robo-Advisor แปลเป็นไทยคือ “ผู้แนะนำการลงทุนอัตโนมัติ” สำหรับ Robo-Advisor ของ FINNOMENA จะมีหน้าตาประมาณนี้

เพียงแค่นักลงทุนป้อนเงินลงทุน เป้าหมายที่ต้องการ และความเสี่ยงที่รับได้ Robo-Advisor จะทำการออกแบบพอร์ตให้นักลงทุนโดยอัตโนมัติ ว่าต้องลงทุนในกองทุนอะไรบ้าง ในสัดส่วนเท่าไรบ้าง นอกจากนั้นจะมีการจำลองเป็นโมเดลให้เห็นภาพ ว่าพอร์ตการลงทุนของเราตอนนี้ยังเป็นไปตามแผนหรือเปล่า ถ้าการลงทุนเริ่มไม่เป็นไปตามแผนจะต้องปรับแผนอย่างไรบ้างเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายในเวลาที่ต้องการเหมือนเดิม โดยทีมงาน FINNOMENA จะมีการแจ้ง Notification ถึงผู้ลงทุนโดยตรงหากมีการปรับพอร์ตการลงทุน เพื่อให้พอร์ตยังทำผลตอบแทนได้ตามสถานการณ์ตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป (ถ้าอ่านถึงตรงนี้แล้วอยากลองสร้างแผนการลงทุนของตัวเองดู สามารถลองสร้างแผนการลงทุนได้ที่นี่)

แผนการลงทุนที่ออกแบบโดย Robo-Advisor จะใช้หลักการลงทุนแบบกระจายสินทรัพย์ (Asset Allocation) ซึ่งทั่วโลกโดยทั่วไปใช้เป็นมาตรฐานในการจัดพอร์ตอยู่แล้ว

ทำไมต้อง Asset Allocation?

สาเหตุที่ต้องจัดพอร์ตแบบ Asset Allocation เป็นเพราะว่าการลงทุนตามแผนของ FINNOMENA เป็นการลงทุนระยะยาว ไม่ใช่การหวังผลตอบแทนสูงๆ ในเวลาสั้นๆ แต่เป็นการค่อยๆ ลงทุนให้ไปถึงเป้าหมายอย่างมั่นคงไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรก็ตาม

การกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ต่างๆ ตอบโจทย์ตรงนี้ เพราะในการลงทุนระยะยาวไม่มีสินทรัพย์ใดที่จะเติบโตตลอดเวลา จะต้องมีการผลัดกันเติบโตตามวัฏจักร การกระจายการลงทุนจะทำให้มีการชดเชยกันระหว่างผลกำไรขาดทุนในสินทรัพย์ต่างๆ และทำให้พอร์ตของเราสร้างผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอในทุกช่วงเวลา ตามภาพด้านล่าง

ภาพนี้แสดงสินทรัพย์ที่ทำผลตอบแทนได้ดีในแต่ละปีเรียงจากมากไปน้อย จะสังเกตว่ามีการเปลี่ยนอันดับขึ้นลงตลอดเวลา แต่มีอันหนึ่งที่สามารถรักษาตำแหน่งอยู่บริเวณกลางๆ ได้ตลอด ในปีที่ดีก็สร้างผลตอบแทนได้พอเหมาะ ในปีที่แย่ก็ไม่ได้ติดลบมากเทียบกับสินทรัพย์อื่น นั่นก็คือช่องสีเทา หรือ Asset Allocation นั่นเอง

ข้อดีของ Asset Allocation ตรงนี้แหละที่เหมาะกับการวางแผนลงทุนเพื่อพิชิตเป้าหมายในระยะยาวของเรา เปรียบเสมือนการวิ่งมาราธอนที่ไม่ช้าเกิน ไม่เร็วเกิน ก้าวผ่านแต่ละปีอย่างมั่นคง

Black-Litterman Model หัวใจของ FINNOMENA Robo-Advisor

จากที่เกริ่นไว้ตอนต้นว่า Robo-Advisor จะมีการจัดพอร์ตให้ผู้ลงทุนโดยอัตโนมัติตามเงินลงทุน เป้าหมาย และความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนได้เลือกไว้

แล้วสัดส่วนของสินทรัพย์ต่างๆ ได้มาจากไหน?

สัดส่วน Asset Allocation ที่พอร์ตแนะนำถูกคำนวณโดยใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์ผสานกับมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน วิธีการนี้เรียกว่า Black-Litterman Model ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจที่อยู่เบื้องหลัง Robo-Advisor ของ FINNOMENA

ถามว่า Black-Litterman Model หน้าตาเป็นอย่างไร…

Black-Litterman Model เป็นสูตรคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน พัฒนาโดย Fischer Black และ Robert Litterman ซึ่งทั้งสองทำงานอยู่ที่ Goldman Sachs วาณิชธนกิจที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก พื้นฐานของโมเดลนี้คือการเอาผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์ (Expected Return), ความเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กันของแต่สินทรัพย์ (Covariance/Correlation) และมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ (Confident of Investment View) มาคำนวณรวมกันเป็นสัดส่วนของสินทรัพย์นั้นๆ ที่ควรมีในพอร์ต

Black-Litterman Model พัฒนาขึ้นเพื่อกลบจุดด้อยของ Modern Portfolio Theory

รากฐานของ Black-Litterman Model พัฒนามาจาก Modern Portfolio Theory (MPT) ซึ่งคิดค้นโดยนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล Harry Markowitz

แต่ทฤษฎีของ Markowitz นั้นใช้ตัวแปรหลักๆ เพียง 2 ตัวคือ Expected Return และ Correlation เท่านั้น สำหรับค่า Correlation ของแต่ละสินทรัพย์ยังพอจะคำนวณได้ แต่ Expected Return ของแต่ละสินทรัพย์นั้นคำนวณได้ค่อนข้างยาก หากจะใช้เพียงข้อมูลย้อนหลังเพียงอย่างเดียว

Black-Litterman Model ไม่เชื่อว่าข้อมูลย้อนหลังจะทำนายผลตอบแทนในอนาคตได้ เหมือนกับที่เราไม่เคยเห็นวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดซ้ำเดิม โมเดลใหม่จึงถูกพัฒนาขึ้นโดยนำมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนเข้ามาถ่วงน้ำหนักในการคำนวณด้วย

สิ่งที่ได้จาก Black-Litterman Model คือสัดส่วนการลงทุนที่ดีที่สุด

ถึงแม้ว่าจากโมเดลเราจะได้สัดส่วนการลงทุนในพอร์ตที่เหมาะสมตามแต่ละความเสี่ยงและผลลัพธ์ที่คาดหวัง แต่โมเดลก็คำนวณได้เพียงแค่สัดส่วนที่ดีที่สุดเท่านั้น โมเดลไม่ได้เลือกกองทุนที่ดีที่สุดเข้ามาด้วย

FINNOMENA จึงต้องมีการพาร์ทเนอร์กับหลาย บลจ. ทั่วประเทศ (ปัจจุบัน FINNOMENA สามารถซื้อขายได้ทั้งหมด 19 บลจ.) เพื่อที่จะได้มีตัวเลือกเพื่อคัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดจากกองทุนทั้งหมดได้จริงๆ ไม่ใช่การจัดพอร์ตโดยใช้ความลำเอียง

สนใจลงทุนระยะยาวด้วย Robo-Advisor

ทั้งหมดที่เล่ามาก็เป็นที่มาของ Robo-Advisor ของ FINNOMENA ครับ สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนเพื่อเป้าหมายในระยะยาว สามารถเปิดบัญชีลงทุนกับ FINNOMENA ได้ที่ เปิดบัญชีลงทุน หรือลองสร้างแผนการลงทุนดูก่อนได้ที่ สร้างแผนการลงทุน

อย่างไรก็ตามการลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน ผู้ลงทุนต้องศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ

เขียนโดย FINNOMENA Admin

References:

https://www.diva-portal.org/smash/get/diva2:954194/FULLTEXT01.pdf
https://en.wikipedia.org/wiki/Black%E2%80%93Litterman_model
https://en.wikipedia.org/wiki/Efficient_frontier
https://www.finnomena.com/z-admin/blacklitterman1/
https://novelinvestor.com/asset-class-returns/