พอร์ต GOAL มีอะไร ที่ทำให้คุณต้องประทับใจ?

พอร์ต GOAL ลงทุนในอะไร ทำได้ตามเป้าจริงหรือ !!?

ในปัจจุบันมีเครื่องมือวางแผนทางการเงินมากมายให้ทุกคนได้ใช้ แต่เมื่อใช้แล้ว ก็ยากที่จะติดตาม และไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คุยไว้

ทีมงาน FINNOMENA จึงพัฒนาโมเดลที่จะนำพานักลงทุกไปสู่เป้าหมายได้ตามที่ตั้งใจไว้ โดยจัดสรรเงินลงทุน ลงทุนใน “กองทุนรวม” เป็นพาหนะ ในการนำพานักลงทุนสู่ความสำเร็จ เนื่องจากกองทุนรวม มีผู้จัดการกองทุนช่วยดูแลให้ อีกทั้งโมเดลเอง จะช่วยกระจายความเสี่ยงในการเลือกสินทรัพย์ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงที่สุด ในความเสี่ยงที่ต่ำที่สุด เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

นอกจากนี้ FINNOMENA ยังได้รับรองมาตรฐาน “5 ขั้นมั่นใจลงทุน” ซึ่งเป็นโครงการภายใต้มาตรฐานของ ก.ล.ต. ผู้ลงทุนจึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับบริการด้านการลงทุนที่ครบวงจร โดยผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมจะให้คำแนะนำอย่างดี

พอร์ต GOAL ใช้หลักการอะไร ในการลงทุน?

“History always repeat (somehow) itself” ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเสมอ เพียงแต่วิกฤตแต่ละครั้งจะไม่เกิดขึ้นซ้ำเดิม ที่เหมือนเดิมคือ “มีคนติดดอย” (ซึ่งเราจะต้องหลีกเลี่ยงให้ได้!)

เพราะสัจธรรมของการลงทุนก็คือ “เราไม่รู้ว่าวิกฤต จะมาเมื่อไร ต่อเมื่อเราอยู่ในวิกฤตนั้นแล้ว” จึงเป็นสากลที่จะเน้นการจัดสรรเงินลงทุนแบบผสมผสาน (Asset Allocation) เพื่อกระจายความเสี่ยง และเป็นวิธีที่ต่างประเทศใช้กันมายาวนาน ในประเทศไทยเราเอง ก็เพิ่งเริ่มจริงจังกันไม่นาน โดยการลงทุนแบบผสมผสานจะลงทุนในหลายสินทรัพย์ เช่น หุ้น หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล ทอง น้ำมัน กองทุนอสังหาฯ เป็นต้น โดยคาดหวังว่าเวลาที่หุ้นตก ทองจะขึ้น หุ้นกู้จะขึ้น และชดเชยส่วนที่หายไปได้ ในชีวิตจริง ไม่อาจมีอะไรทดแทนกันได้พอดีพอเหมาะเป๊ะ แต่อย่างน้อย ก็สามารถลดความผันผวนของพอร์ตโดยรวมลงได้

ยกตัวอย่างการผสมแบบง่ายๆ เช่น ตั้งแต่ต้นปี 2019 หากลงทุนในหุ้นไทยอย่างเดียวผ่านกองทุน TMB50 (เส้นสีเทา) จะเผชิญความผันผวนแรง  ในขณะที่ถ้าลงทุนตราสารหนี้อย่างเดียว TMBABF (เส้นสีส้ม) จะไม่เจอความผันผวน แต่สุดท้ายเงินก็งอกเงยเพียงเล็กน้อย ดังนั้นถ้าสมมติว่า ลงทุนในหุ้น 50% และตราสารหนี้ 50% ของเงินลงทุนที่มี (เส้นสีฟ้า) ความผันผวนจากหุ้นจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้อย่างเดียว

เปรียบเทียบผลการดำเนินงานตั้งแต่ต้นปี 2019 (ที่มา: FINNOMENA ข้อมูล ณ วันที่ 11 ก.ย. 2019)

ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

แต่ในชีวิตจริง การผสมหลายสินทรัพย์เข้าด้วยกัน มันไม่ใช่แค่หยิบมารวมๆ กัน คนส่วนใหญ่มักจะอิงกับข้อมูลในอดีต และพยายามผสมผสานออกมาให้ได้พอร์ตที่จะได้ผลตอบแทนสูง ในขณะที่เงินลงทุนแกว่งน้อยที่สุด

พอร์ต GOAL นั้นพิเศษกว่า เพราะพัฒนาจาก Black Litterman Model !!!

แต่การยึดติดกับอดีต บอกว่าหุ้นตัวนี้เคยขึ้น 20% ต่อปี ไม่ได้แปลว่าปีนี้จะขึ้น 20% อีกปีหนึ่ง ทุกอย่างมีช่วงที่ดี และช่วงที่แย่ ผลตอบแทนสินทรัพย์ต่างๆ ล้วนแปรเปลี่ยนไปตามวัฏจักร จึงเป็นเหตุผลที่พอร์ต GOAL เลือกใช้โมเดลยอดนิยมระดับโลก Black Litterman Model ที่สามารถ ผสมมุมมองของคน เข้าไปประมวลผลคู่กับข้อมูลในอดีต เป็นพื้นฐานหลักในการจัดพอร์ต  เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าวิกฤต เกิดขึ้นแต่ละครั้ง ไม่เหมือนกัน จึงต้องอาศัยคนเข้าช่วยคิด เพียงแต่ขึ้นชื่อว่า “คน” นั้นมีการตัดสินใจในการลงทุน อาจประกอบไปด้วยอารมณ์ และวินัยที่น้อยกว่าหุ่นยนต์ จึงต้องหาจุดสมดุลของสองอย่างนี้เข้าด้วยกัน และที่สำคัญ ทีมงาน FINNOMENA ได้ปรับปรุงตัวโมเดลให้เหมาะสมกับการลงทุนของคนไทย

แล้วพอร์ต GOAL เลือกกองทุนตัวอย่างในพอร์ต อย่างไร?

เห็น Black Litterman ดีแบบนั้น แต่ขอบอกว่ามันใช้เพื่อกำหนดน้ำหนักในการลงทุนเท่านั้น สิ่งที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง คือการเลือกกองทุนที่ดี ไม่ใช่แค่เพื่อให้ได้ผลตอบแทนชนะตลาด แต่เพื่อที่จะเพิ่มโอกาสให้ได้ผลตอบแทนมากขึ้นไปอีก !!! ซึ่งพอร์ต GOAL อยู่บนพื้นฐานของการประเมินทั้งเชิงปริมาณที่ดูทั้งผลตอบแทน ความเสี่ยง อัตราส่วนทางการเงิน ค่าธรรมเนียม และเชิงคุณภาพ

หากสนใจลงทุนในพอร์ต GOAL สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://www.finnomena.com/goal/


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน |  ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน