Cut Your Losses and Let Your Profits Run เป็นวลีเด็ดที่นักลงทุนมักจะได้ยินต่อๆกันมาตั้งแต่เริ่มต้นศึกษาเรื่องการลงทุน ในความหมายของมันก็คือ การตัดขาดทุนอย่างรวดเร็วเมื่อผิดทางและปล่อยให้กำไรวิ่งไปอย่างต่อเนื่องเมื่อถูกทาง แต่ในการนำมาปฎิบัติจริงนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิดเพราะหลายคนมักจะเกิดเหตุการณ์ประมาณนี้อยู่ตลอดเวลา เช่น
นั่นทำให้ใครที่อยู่ในตลาดมาสักพักหนึ่งมักจะทำตรงกันข้ามก็คือ “ผิดทางก็ถือไว้ ถูกทางก็ขายออกไป” ซึ่งมันคือการ Reverse พฤติกรรมในอดีตที่ทำแล้วสร้างความเจ็บปวดเป็นอย่างมากในการลงทุน แต่บทความนี้ของเราจะมาทดสอบว่า หากเราให้เงินทำงานแบบ Let Profit Run VS เก็บกำไรเข้ากระเป๋าแบบ Take Profit ด้วย Quantitative ที่สามารถวัดได้ ประเมินได้ ที่สำคัญคือตัดอารมณ์ของเราออกไปได้ ในสินทรัพย์ลงทุนที่หลากหลายชนิด เช่น Stock Index, Gold, Silver, Oil, Cryptocurrency แล้วมาตามดูกันครับว่าเราจะมี Information ไหนบ้างที่เป็นประโยชน์กับเพื่อนๆพี่ๆนักลงทุนครับ
ในหัวข้อแรกของเราจะทำการทดสอบเฉพาะสินทรัพย์เสี่ยงแบบเดิมที่มีมาอย่างยาวนาน โดยมีสินทรัพย์ทั้งหมดดังนี้ Dow, Nasdaq, SP500, Cac40, Dax, Hang Seng, Jakarta, Kospi, Nikkei, Sensex, Shenzhen, Set, Crude Oil, Gold, Silver สมมติฐานของเราแบ่งออกเป็นหลายกรณี คือ Let Profit Run และการ Take Profit ที่ 10% 20% 30% 40% 50% ตามลำดับ ส่วนกลยุทธ์ที่ใช้กับการ Setting ค่าต่างๆ จะมีรายละเอียดเบื้องต้นตามหัวข้อด้านล่างนี้ครับ
แต่เราจะยังไม่หยิบสินทรัพย์ทางเลือกใหม่ที่ร้อนแรงอย่าง Cryptocurrency เข้ามารวมด้วยจะได้เห็น Information ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็อยู่ในภาพประกอบด้านล่างนี้เลยครับ
จะสังเกตุได้ว่าการวางเป้าหมายที่จะขายทำกำไรใน Stock Index หรือดัชนีหุ้นของประเทศต่างๆ เป้าหมายที่ให้ผลลัพธ์ดีที่สุดคือ 20% ซึ่งให้ผลที่ใกล้เคียงกับการ Let Profit Run ในมุมของความเสี่ยงก็ไม่แตกต่างกันมาก นั่นทำให้หลายคนที่คาดเดาผลลัพธ์ไปล่วงหน้าทั้งสาย Run Trend กับสาย Take Profit แอบผิดหวังผิดคาดนิดหน่อย (เพราะส่วนใหญ่ก็แอบเชียร์แนวทางตัวเองนั่นแหละ อิอิอิ) สาเหตุเป็นเพราะว่าเราทดสอบกับ Index หรือภาพรวมหุ้นทั้งตลาด แปลว่ามีโอกาสน้อยมากๆที่ตลาดจะปรับตัวสูงขึ้นหลาย % ต่างกับหุ้นรายตัว อีกทั้งเรายังลงทุนเป็นพอร์ตคือมีการกระจายเงินไปในดัชนีหลายๆแห่งทำให้ในแง่ผลตอบแทนโดยรวมอาจจะไม่โดดเด่นมาก มุมของความเสี่ยงก็เช่นเดียวกัน เนื่องจากเราวางกลยุทธ์การขายเอาไว้อย่างชัดเจน ทำให้ทุกๆสมมติฐานของเรามีความเสี่ยงที่จำกัดไว้แล้วระดับหนึ่งครับ
ในหัวข้อนี้เราจะวางสมมติฐาน กลยุทธ์และการตั้งค่าเหมือนกับในหัวข้อแรกทั้งหมด ต่างกันตรงที่เราใส่สินทรัพย์ดิจิทัลเข้ามาใน Which List อีก 6 ตัวคือ BTC, ETH, XRP, LTC, BCH, USDT แล้วมาทายกันสิครับว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรกันบ้าง
จะสังเกตุได้ว่าเมื่อรวมสินทรัพย์ดิจิทัลเข้ามาด้วยกลยุทธ์ที่เคยดีอย่างการ Take Profit 20% กลับไม่ดีอีกต่อไปแล้ว เมื่อมองในมุมของผลตอบแทน ยิ่งเรา “ลิมิตกำไร” น้อยแค่ไหน พอร์ตเราก็จะโตน้อยเท่านั้น ยิ่งเทียบกับการ Let Profit Run แล้วยิ่งเทียบกันไม่ติดเลยครับ สาเหตุเพราะสินทรัพย์ดิจิทัลในช่วงที่ผ่านมีลักษณะการเคลื่อนไหวที่เป็น Trend ชัดมากๆ คือขึ้นแรง ลงแรง ขึ้นต่อเนื่องด้วย ฉะนั้นการใช้กลยุทธ์แบบขายทำกำไรจึงเหมือนเป็นการชิงสุกก่อนห่าม พูดง่ายๆคือเก็บดอกผลก่อนที่มันจะเติบโตเต็มที่ แต่ถามว่าเป็นเรื่องง่ายหรือไม่ในการจะ Run Trend ก็ต้องบอกแบบไม่ขี้จุ๊ว่า แอบยากอยู่เหมือนกันเพราะถ้าง่ายทุกคนคงรวยกันหมดแล้วเนอะ ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าแบบไหนที่เราสบายใจไม่ว่าจะในมุมของผลตอบแทน ความเสี่ยง หรือความคุ้มค่า เพราะการลงทุนนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในเวลาเดียวกันครับ
มีหลายคนแอบเถียงผมในใจว่า การตั้งกลยุทธ์แบบซื้อตามแนวโน้มอาจไม่ใช่คำตอบและไม่ครอบคลุมรึเปล่า ก็ต้องขอตอบว่าใช่ครับ เพราะเรื่องของการลงทุนมีวิธีอีกหลากหลายมากมาย ทั้งสินทรัพย์และวิธีการแต่ด้วยพื้นที่ที่จำกัดในการนำเสนอ เราจึงหยิบยกบางส่วนที่เป็นที่สนใจส่วนใหญ่มานำเสนอเพื่อหา Information ที่น่าจะเป็นประโยชน์เท่าที่เราสามารถทำได้นั่นเองครับ
อีกหนึ่งแนวทางที่หลายคนก็ทำกันเยอะนั่นคือ ยิ่งราคาสินทรัพย์ลงก็ถือเป็นโอกาสเข้าซื้อลงทุน ในขณะเดียวกันหากผิดทางก็สามารถ “รอ” ได้ พูดง่ายๆคือผิดทางก็ถือต่อทนรับขาดทุนได้นั่นเอง แต่หากกำไรเราจะตั้ง Take Profit ตามที่เราสบายใจ ภาษาที่ใช้เรียกกลยุทธ์นี้คือสายช้อนนั่นเอง ช้อนเก่ง…ซึ่งตรงกันข้ามกับสายสวนแนวโน้มนะครับ ถ้าแนวนั้นอาจจะเรียกว่า Mean Reversion Strategy (บอกใบ้ว่าแนวนี้แอบได้ผลลัพธ์ที่ดีนะครับถ้าเราเชี่ยวชาญมากพอ) ส่วนสายช้อนนี้ออกแนวดูแต่ราคาอย่างเดียว Valuation ค่า Mean และอื่นๆ ไม่ได้วางไว้ แค่ราคาลงแรงเราจะเตรียมเงินเตรียมช้อนไว้รอทันที จากการทำวิจัยของเราทั้ง Exclude หรือ Include Crypto เข้าพอร์ตล้วนแต่ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีทั้งสิ้น ยกตัวอย่างให้เห็นภาพตามง่ายๆคือ ราคาสินทรัพย์ลงต่ำสุดในรอบ 1 ไตรมาสเราจะเข้าซื้อทันทีและตั้งเป้าหมายขายทำกำไรตามหัวข้อด้านบนคือ 10-50% สาเหตุที่ตัวเลขออกมาไม่ดีเป็นเพราะว่าช่วงเวลาที่ทำการทดสอบด้วยส่วนหนึ่งคือปี 2015-2020 สินทรัพย์ส่วนใหญ่ลงแรงเหลือเกินยิ่งช่วงปี 2018 (Crypto ลงแรง) และปี 2020 (COVID-19) ที่ลงแรงแทบจะทุกสินทรัพย์เสี่ยง การใช้กลยุทธ์แบบนี้เปรียบเหมือนการทยอยเก็บเหรียญแต่เสียแบงค์ คือเวลาช้อนเข้าไปถ้าถูกทางเราลิมิตกำไร แต่เวลาผิดทางเพราะสินทรัพย์นั้นลงต่อเราจะเสียหายเยอะ กำไรมาสิบรอบหากขาดทุนรอบเดียวก็หมดได้ครับ
ในโลกปัจจุบันที่มีสินทรัพย์ชนิดใหม่เกิดขึ้นมาอยู่แทบจะตลอดเวลา สิ่งที่เราแนะนำมาตลอดก็คือการศึกษาหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เพราะเราไม่มีทางรู้ในวันนี้หรอกว่า สินทรัพย์ไหนจะปังหรือจะแป๊ก สิ่งที่เราทำได้คือติดตามข่าวสาร ศึกษา เปิดใจ เปิดโอกาสให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญคือขยันเพิ่ม Which List เข้ามาด้วยนะครับ ในหัวข้อสุดท้ายเราจะเปลี่ยนสมมติฐานเล็กน้อยเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นกับสิ่งที่ผมต้องการจะสื่อ โดยเราจะเปลี่ยนช่วงเวลาที่ทำการทดสอบเป็นปี 2000-2020 หรือ 20 ปีย้อนหลังโดยใช้กลยุทธ์เดิม สินทรัพย์เดิม (Include Crypto) เพราะสินทรัพย์แต่ละตัวโดยเฉพาะคริปโตถือกำเนิดมาทีหลังแถมมาคนละช่วงเวลาด้วย พูดง่ายๆคือพอร์ตนี้เปิด Which List ไว้สำหรับสินทรัพย์ใหม่อยู่เสมอ ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรตามมาดูกันครับ
การลงทุนคือการวางเงินในวันนี้เพื่อคาดหวังผลลัพธ์ที่ดีในอนาคต ฉะนั้นเราจะต้องคอย Monitor พอร์ตของเราอยู่ตลอด รวมถึงการขยายฐานความรู้ของเราให้มากขึ้นตามไปด้วยเพราะเมื่อโลกเปลี่ยน สินทรัพย์ลงทุนก็อาจจะเปลี่ยน จึงทำเป็นต้องเพิ่มเรดาร์ไว้คอยสอดส่องสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ แล้วคุณจะมีความสุขในการลงทุน ทั้งความสุขเมื่อถึงเป้าหมายและความสุขตลอดการเดินทางบนโลกการเงิน ด้วยการใช้ความรู้ในสาย Quantitative ที่เรานำมาแชร์ครับ
Zipmex
Appendix
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast
Advance, Article, Knowledge, podcast, quantitative, quantitative investing, ทองคำ