Quantable Podcast EP7 :  “ความมีวินัย และสม่ำเสมอคือหัวใจสำคัญของการลงทุน”

ต่อเนื่องจากบทความก่อนหน้าที่เราอธิบายถึงข้อเสียของการตัดสินใจช้าในการเข้าลงทุน ซึ่งต่อให้มีกลยุทธ์ที่ดีแค่ไหน แต่เมื่อมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นแล้วเรา Take Action ช้าเกินไป ไม่ว่าจะซื้อหรือจะขาย ก็ทำให้ผลลัพธ์ในการลงทุนของเราแย่ลงเช่นเดียวกัน ในบทความนี้เราจะมาแชร์ต่อว่าถ้าหากเราไม่มีวินัยในการลงทุนหรือไม่มีความสม่ำเสมอในการลงทุน ช่วงไหนอารมณ์ดีก็เข้าตลาด ช่วงไหนอารมณ์ไม่ดี ไม่ว่าง ก็พักการลงทุนไปเฉยๆ จะมีความแตกต่างกับผู้ที่ลงทุนต่อเนื่องสม่ำเสมออย่างไร

สินทรัพย์ที่ดี มีอนาคตมักจะเติบโตในระยะยาว

ในระยะสั้นๆสินทรัพย์แต่ละชนิดอาจจะมีความผันผวนขึ้นลงบ้าง บางครั้งอาจลงแรงบ้าง แต่ถ้ามันมีอนาคต มีโอกาสในการเติบโต ท้ายที่สุดสินทรัพย์นั้นมักจะปรับตัวสูงขึ้นได้ในระยะยาว นั่นทำให้การเปลี่ยนแปลงของราคาจะเป็นบวกมากกว่าลบ พูดง่ายๆคือ ใน 365 วัน สินทรัพย์นั้นจะราคาขึ้นมากกว่าราคาลง ไม่ว่าเราจะใช้วิธีการลงทุนแบบไหนก็จะสามารถสร้างกำไรได้โดยมีข้อแม้ว่า เราจะต้องถือครองสินทรัพย์นั้นๆเอาไว้ แต่อาจจะลดพอร์ตลงบ้างถ้าความผันผวนสูงหรือมีแนวโน้มขาลงระยะสั้น ก็จะสามารถทำให้พอร์ตของเราปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ผลตอบแทนที่ร้อนแรงของ Bitcoin

เราจึงขอหยิบสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงอย่าง Bitcoin ที่ราคาตอนนี้เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 Bitcoin ไปแล้ว มาทดสอบอะไรให้นักลงทุนหลายท่านได้ดูกัน แต่ก่อนอื่นเราไปดูผลตอบแทนรายเดือนของ Bitcoin กันดีกว่าว่าย้อนหลังไปสัก 6 ปีจะเป็นอย่างไร

ากภาพด้านบนคือผลตอบแทนรายเดือนตั้งแต่ มกราคม 2015 จนถึง ธันวาคม 2020 ทุกคนจะสังเกตุเห็นว่าแม้ผลตอบแทนรายปีของ Bitcoin จะสูงแค่ไหนแต่ระหว่างก็มีการติดลบให้เห็นตลอดทาง (ช่องสีแดงคือเดือนที่ติดลบ ยิ่งลบมากสียิ่งเข้มมาก) อย่างที่เรากล่าวไปข้างต้นว่าถ้าสินทรัพย์ใดมีการเติบโต นักลงทุนมอบ Value ให้กับมัน ในท้ายที่สุดมันก็จะสามารถให้ผลตอบแทนที่เป็นบวกกับพอร์ตเราได้ จากข้อมูลตรงนี้ เดือนที่ให้ผลตอบแทนติดลบ (พูดง่ายๆคือลงนั่นแหละ555) คือเดือนมกราคม มีนาคม กันยายน สังเกตุได้จากช่อง Avg. ซึ่งคือค่าเฉลี่ยในแต่ละเดือนของข้อมูล แต่ผมไม่ได้มาใบ้ว่าให้หลีกเลี่ยงเดือนเหล่านั้นเพื่อให้ผลตอบแทนของพอร์ตดีขึ้นนะครับ เพราะนี่คือข้อมูลในอดีต เหตุการณ์ในอนาคตไม่มีใครสามารถบอกได้หรอกครับ แต่เราจะมาชี้ให้เห็นว่าในแต่ละปีที่เราลงทุนไป ถ้าเราพลาดหรือละเลยการลงทุนในเดือนใดๆก็ตาม แล้วเดือนนั้นกลับให้ผลตอบแทนที่สูงมากๆ ผลลัพธ์ของพอร์ตเราจะยังคงดีอยู่หรือไม่ โดยเราแบ่งสมมติฐานดังต่อไปนี้ครับ

  1. ตัดเดือนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในปีนั้น ออกไป 1 เดือน
  2. ตัดเดือนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในปีนั้น ออกไป 2 เดือน

เรามาดูกันครับว่าหน้าตาพอร์ตและตารางผลตอบแทนรายเดือน โดยเฉพาะค่าเฉลี่ยในแต่ละเดือนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

ตัดเดือนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในปีนั้น ออกไป 1 เดือน

เมื่อเราทำการตัดเดือนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในปีนั้นออกไปสักหนึ่งเดือน ประมาณว่าเราอาจจะขี้เกียจไม่ยอมลงทุน มีสัญญาณแล้วไม่ยอมเข้าซื้อ ไปพักร้อน ไปทะเล ว่ายน้ำ ดูภูเขา หรืออะไรก็ตามแต่ ทำให้เราพลาดผลตอบแทนเดือนนั้นไป เราจะสังเกตุเห็นว่าค่าเฉลี่ยผลตอบแทนรายเดือนในบางเดือนลดลงพอสมควร ยกตัวอย่างเช่นเดือนธันวาคม จากตารางที่หนึ่งจะได้อยู่ที่ 20.67 แต่พอเราพลาดโอกาสไป 2 ครั้งก็ทำให้ค่าเฉลี่ยผลตอบแทนเดือนธันวาคมลดลงมาอยู่ที่ 7.99 เท่านั้นเอง หรือหากต้องการเห็นภาพให้ชัดเจนขึ้นเราก็นำมาพล็อตเป็นกราฟใต้ตารางให้ดูง่ายขึ้นครับ

ตัดเดือนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในปีนั้น ออกไป 2 เดือน

ตัดหนึ่งเดือนก็หนักแล้ว ทีนี้เราขอตัดเพิ่มอีกหนึ่งเดือนแล้วกันประมาณว่าพักร้อนนานไปหน่อย ไม่ยอมเข้าลงทุน ไม่ดูตลาด แต่ดันโชคร้ายเป็นเดือนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด 2 เดือนในปีนั้นๆครับ

ยิ่งเราไม่มีความสม่ำเสมอในการลงทุนมากแค่ไหน เลือกที่จะตามใจมากกว่าตามแพลน ผลลัพธ์ก็จะยิ่งห่างจากสิ่งที่ควรจะได้ พูดง่ายๆคือถ้าสินทรัพย์นั้นให้ผลตอบแทนโดยรวมสูง เราอาจจะเก็บเกี่ยวจากมันได้แค่บางส่วนเท่านั้นเองครับ จากรูปนี้ค่าเฉลี่ยผลตอบแทนโดยรวมก็ลดน้อยลง ตารางด้านล่างก็ผันผวน แถมเติบโตช้าอีกด้วย คือจาก 100 โตไปเป็น 280 และพอร์ตผันผวนหรือมี Drawdown ที่สูงมากด้วย

วินัยการลงทุนคือสิ่งที่สำคัญที่สุด

ในวันที่เราเข้าลงทุน เราไม่มีทางรู้เลยว่าผลลัพธ์ของเรา เงินของเราจะเป็นอย่างไรในอนาคต เราวิเคราะห์ได้ คาดการณ์ได้ แต่ไม่มีทางฟันธงได้ ฉะนั้นกฎของความโชคดีในการลงทุน คือ Take Action เมื่อเราเห็นว่าอยู่ในช่วงที่เหมาะสม เมื่อมันคุ้มค่า เราต้องเอาตัวเองเข้าไปอยู่ตรงจุดนั้น มีคำๆนึงที่ฟังทีไรก็จี๊ดทุกทีคือ “ไม่ว่าเราจะซื้อหรือไม่ซื้อมันก็ตาม ถ้ามันจะขึ้นมันก็ขึ้นอยู่ดี” จากรูปนี้จะสังเกตุได้ว่าการตัดผลตอบแทนออกไปแค่ 1-2 เดือนเท่านั้นกลับส่งผลกระทบต่อพอร์ตและการเติบโตของเงินเรามากมายเหลือเกิน จาก 100 โตเป็น 800 , 500 , 300 ตามลำดับ ซึ่งถือเป็น Error จากความไม่มีวินัย ไม่มีความสม่ำเสมอ ที่ราคาแพงมากครับ

สิ่งที่เราต้องการจะสื่อสารออกไปจากบทความนี้รวมถึงบทความก่อน คือต้องการนำเสนอว่าวินัยการลงทุน มีผลต่อพอร์ตของเรามากแค่ไหน ไม่ว่าใครจะพูดอย่างไร ให้ข้อมูลดีหรือไม่ดีแค่ไหน สุดท้ายคนที่ตัดสินใจลงทุนก็คือตัวเราเอง เราสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้จากการเปลี่ยนตัวเองให้ดีขึ้น มีหลักการ มีความสม่ำเสมอ แล้วผลลัพธ์ที่ดีจะเกิดขึ้นแน่นอนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยครับ

พิเศษ! ดาวน์โหลดการทดสอบ “Gold Calendar effect” ที่คุณต้องพูดถึงในรายการ คลิกที่นี่

ZIPMEX


ติดตาม FINNOMENA Podcast ได้ทุกช่องทางที่คุณมี

App Spotify
https://finno.me/spotify

App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast

Apple podcast
https://finno.me/applepodcast

App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud

Podbean
https://finno.me/podbean

Youtube
https://finno.me/youtubepodcast