Quantable Researcher Podcast Ep24 : เข้าซื้อด้วยวิธีไหน ให้ออกด้วยวิธีนั้น พิสูจน์แนวคิดนี้กันใน Quantable Researcher

มีสิ่งหนึ่งที่หลายคนถูกสอนตาม ๆ กันมาเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการพิจารณาเข้าลงทุน คือหากเข้าซื้อด้วยแนวคิดไหน ควรพิจารณาออกด้วยแนวคิดนั้น เช่น การซื้อเพราะปัจจัยพื้นฐานดี เวลาจะขายก็ควรใช้ปัจจัยพื้นฐานในการวิเคราะห์ หรือการจะเข้าซื้อด้วยเทคนิคอล เวลาออกก็ต้องใช้เทคนิคอล จะใช้ปัจจัยพื้นฐานไม่ได้ เพราะผิดหลักการ ฟังดูก็เหมือนจะ Make Sense ดี จึงไม่มีใครสงสัยและหาคำตอบกันเท่าไหร่ อีกคำสอนหนึ่ง อันนี้ระบุเจาะจงลงไปอีก นั่นก็คือ หากเข้าซื้อด้วยเครื่องมือชนิดไหน เวลาขายก็ไม่ควรใช้เครื่องมือชนิดอื่น เช่นจะซื้อหุ้นกลุ่มโรงแรมด้วยการใช้ MACD ตัดศูนย์ เวลาจะขายออกก็ต้องใช้ MACD เช่นกัน จะใช้เส้นค่าเฉลี่ยหรือเครื่องมือไม่เหมาะสมเพราะมีแนวคิดคนละอย่างกัน ก็ฟังดู Make Sense อีกนั่นแหละ

แต่สำหรับ Quantable EP นี้ของเราจะมาพิสูจน์ในเบื้องต้นกันว่าแนวคิดนี้ ใช้ได้จริงหรือบางทีอาจจะมีอะไรที่ดีกว่าก็ได้

เข้าด้วยเครื่องไหน ไม่จำเป็นต้องออกด้วยเครื่องนั้น

หากจะลงในรายละเอียดให้ลึกจริง ๆ เกี่ยวกับการใช้เทคนิคอล เครื่องมือที่ต่างชนิดกันสามารถมาใช้ร่วมกันได้ ใช้พร้อมกันได้ และใช้สลับกันได้ แม้แต่ละตัวจะคำนวณแตกต่างเพราะมีวิธีคิดที่ไม่เหมือนกัน แต่ทั้งหมดก็เพื่อวัดและจับพฤติกรรมบางอย่างของสินทรัพย์ชนิดนั้น นั่นทำให้เราคิดว่าในตอนที่ราคามีสัญญาณซื้อหรือ Buy Signal กับตอนที่มีสัญญาณขายหรือ Sell Signal ราคาสินทรัพย์อาจมีพฤติกรรมที่ไม่เหมือนเดิม แม้กระทั่งอาจมี Anomaly บางอย่างในแต่ละรอบของราคาที่เปลี่ยนไป นั่นทำให้การใช้เครื่องมือคนละชนิดกันระหว่างตอนซื้อกับตอนขาย น่าจะพอทำได้ ไม่เลวร้ายอะไร ซึ่งจากการตั้งข้อสังเกตตรงนี้จึงเป็นที่มาของสมมติฐานต่อไปนี้ครับ

Buy Signal ด้วยการทะลุกรอบราคา Donchian Channel 20 Day

เราจะซื้อ Bitcoin ด้วยสัญญาณจากกรอบราคา Donchian 20 วัน ช่วงเวลาที่ทดสอบตั้งแต่ 1/1/2015 -14/6/2021 น้ำหนักการลงทุนคือ 100% ใน Bitcoin ไม่ได้มีการกระจายพอร์ต เอาแบบตัวเดียวเน้น ๆ กันไปเลย ส่วนสัญญาณขายจะใช้ 4 สัญญาณง่าย ๆ

  1. Donchian Channel 20 วัน
  2. MACD Cross 0
  3. RSI Cross 50
  4. EMA 5 Cross 10

พูดง่าย ๆ คือซื้อสัญญาณเดียวกัน แต่มีสัญญาณขายที่แตกต่างกัน ซึ่งจากที่ดูสัญญาณขายทั้ง 4 บางตัวจะเร็ว บางตัวจะให้สัญญาณที่ช้ากว่าแต่น่าจะเก็บแนวโน้มชุดนั้นได้ยาวกว่า แต่สัญญาณที่ Sensitive กว่าอาจจะมีรอบที่มากกว่า การทบต้นก็เร็วกว่าเพราะเมื่อขายออกมาแล้ว เมื่อมีสัญญาณซื้ออีกจากการทะลุกรอบราคา 20 วันก็สามารถกลับเข้าไปซื้อได้อีกครั้ง โดยที่ผลลัพธ์และคำตอบของคำถามเราอยู่ในตารางด้านล่างนี้แล้ว

Buy Signal ด้วยการทะลุกรอบราคา Donchian Channel 50 Day

เพื่อเป็นการคอนเฟิร์มแนวคิดอีกครั้ง เราจึงมีการทดสอบด้วยสัญญาณซื้อที่ช้าลงไปหน่อย คือระดับราคาสูงสุดในรอบ 50 วัน ส่วนเงื่อนไขอื่น ๆ เหมือนเดิมทุกประการ ลองไปดูผลการทดสอบย้อนหลังกันดูครับ

ภาพประกอบสัญญาณการซื้อขาย

จากภาพประกอบสัญญาณการซื้อขายของแต่ละเครื่องมือจะมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน บางทีเครื่องมือที่ Sensitive ก็จะให้สัญญาณที่เร็วเกินไปหากรอบนั้นราคามีการขึ้นยาว ๆ ทำให้เราจะต้องกลับมาซื้อในราคาที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ และ Reward to Risk ก็จะต่ำลงตลอดทางเช่นเดียวกัน แต่หากใช้เครื่องที่ช้าหน่อย เวลาราคาลงเร็วและรุนแรงอาจจะให้สัญญาณการออกที่ไม่ทันการจนเกิด Max DD% ขนาดใหญ่ขึ้นได้

สรุปผลการทดสอบ

การเข้าด้วยเครื่องมือชนิดหนึ่งและออกด้วยเครื่องมือเดิมหรือเครื่องมือชนิดอื่น ๆ ให้ข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน เพราะในการลงทุนไม่ใช่ทุกคนจะต้องการกำไรสูงสุด (CAGR มากที่สุด) แต่อาจจะมองในเรื่องกำไรต่อความเสี่ยงที่เหมาะสม มองในเรื่องกำไรโดยเฉลี่ย/ขาดทุนโดยเฉลี่ย หรือมองที่ Max DD% นั่นทำให้เราสามารถเลือกเครื่องมือที่น่าจะตอบโจทย์ทางการเงินของเรามากที่สุด เพราะผลจากการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้เครื่องต่างชนิด ไม่ได้เลวร้ายอะไร แต่กลับให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าในบางเรื่อง ขึ้นอยู่กับว่านักลงทุนคนนั้นออกแบบพอร์ตของตัวเองเอาไว้อย่างไรครับ

ทุกคำสอนต้องผ่านพิสูจน์ก่อนนำไปใช้จริงเสมอ

รายการ Quantable ของเราเน้นย้ำอยู่ตลอดเรื่องการพยายามศึกษาและทดสอบทฤษฎีอะไรก็ตามที่ได้ยินได้ฟังต่อ ๆ กันมา เพื่อให้เรามีความเข้าใจอย่างแท้จริงของที่มาจากแนวคิดต่าง ๆ จะได้นำไปต่อยอดได้ ในขณะเดียวความเข้าใจที่ส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น เราจะได้ไม่จำเป็นต้องเอาตัวเข้าแลกกับประสบการณ์ร้าย ๆ ที่ไม่ควรต้องพบเจอ ทั้งยังเลี่ยงได้ด้วยการค้นคว้ามากขึ้นอีกนิดครับ

ZIPMEX


ติดตาม FINNOMENA Podcast ได้ทุกช่องทางที่คุณมี

App Spotify
https://finno.me/spotify

App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast

Apple podcast
https://finno.me/applepodcast

App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud

Podbean
https://finno.me/podbean

Youtube
https://finno.me/youtubepodcast

iran-israel-war