รับชมบน YouTube: https://youtu.be/N1tdT7_q7-U

เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังไม่ทันได้เริ่มวางแผนภาษีกัน คลิปนี้ได้รวบรวม ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสิทธิลดหย่อนภาษีมาให้ชมกันก่อน ใครที่เข้าใจผิดอยู่ จะได้แก้ตัวทันก่อนหมดเวลานะ

เข้าใจผิด: SSF ซื้อแล้วขายคืนได้เมื่อครบ 10 ปีปฏิทิน เช่น ซื้อรายเดือนตลอดปี 2020 จะขายคืนได้พร้อมกันทั้งหมดในปี 2030 

เข้าใจใหม่: SSF ซื้อแล้วขายคืนได้เมื่อครบระยะเวลา 10 ปีเต็ม ในแต่ละครั้งที่ทำรายการซื้อกองทุน 

  • SSF เป็นกองทุนรวมเพื่อการลดหย่อนภาษีชนิดหนึ่ง ซึ่งเปิดให้ได้ลงทุนปี 2563 เป็นปีแรก (แทนที่ LTF) 
  • มีนโยบายการลงทุนให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ 
  • ซื้อแล้วต้องถือหน่วยลงทุนต่อไปอย่างน้อย 10 ปี ถึงจะขายคืนออกมาได้ (แต่ระหว่างทางสับเปลี่ยนเป็นกองอื่นที่เป็น SSF เหมือนกันได้นะ) 
  • ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้แต่ละปี และไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกลุ่มสิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท 
  • กรณีลงทุนผิดเงื่อนไข เช่น ซื้อเกินสิทธิ หรือขายคืนก่อนครบระยะเวลา จะได้รับโทษทางภาษี 
  • การนับระยะเวลาลงทุนของ SSF จะแตกต่างจาก LTF ตรงที่ LTF นับครบ ปีปฏิทิน ทำให้ระยะเวลาที่สั้นที่สุดในการลงทุน LTF อาจเป็น ปี วัน ในขณะที่กองทุน SSF จะนับระยะเวลา 10 ปีเต็ม ๆ ในแต่ละครั้งที่ได้ทำรายการซื้อกองทุน  
  • เช่น ซื้อกอง A-SSF เดือน พ.ย. ปี 2563 จำนวน 1,000 บาท ได้หน่วยลงทุน 100 หน่วย และซื้อกอง A-SSF เดือน ธ.ค. ปี 2563 อีกจำนวน 2,000 บาท ได้หน่วยลงทุน 200 หน่วย ก็จะขายคืนหน่วยลงทุน SSF ได้ไม่เกิน 100 หน่วย ในเดือน พ.ย. 2573 แต่จะยังขายอีก 200 หน่วยไม่ได้ จนกว่าจะถึงเดือน ธ.ค. 2573 
  • อย่างไรก็ตามสังเกตได้ว่า เงื่อนไขสรรพากรไม่ได้ห้ามการถือ SSF เกิน 10 ปี แปลว่าในกรณีตามตัวอย่าง หากขายคืนหน่วยลงทุนทีเดียว 300 หน่วยในเดือน ธ.ค. 2573 ก็ทำได้ 
  • ดังนั้น หากผู้ลงทุนต้องการซื้อกองทุน SSF ด้วยวิธีการทยอยซื้อ (DCA) ก็อาจวางแผนขายคืนหน่วยลงทุนทีเดียวตอนสิ้นปี หรือต้นปีถัดไป เพื่อให้มั่นใจว่าไม่ทำผิดเงื่อนไขการลงทุน

อ่านเพิ่มเติม สรุปเงื่อนไข “SSF” พร้อมกองทุนแนะนำ!

เปิดบัญชีกองทุนประหยัดภาษี SSF RMF กับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนประหยัดภาษีมากกว่า 10 บลจ. คลิก https://finno.me/open-plan

เข้าใจผิด: ซื้อ RMF กองไหน ต้องซื้อกองนั้นไปตลอด ไม่งั้นต้องเริ่มนับระยะเวลาถือกองทุนใหม่ 

เข้าใจใหม่: แม้จะซื้อ RMF คราวละกองกัน แต่ก็นับว่าเป็น RMF เหมือนกัน นับเป็นการใช้สิทธิต่อเนื่องกันตามเงื่อนไขสรรพากรได้ 

  • RMF เป็นกองทุนรวมเพื่อวัตถุประสงค์การเกษียณโดยเฉพาะ ผู้ลงทุนจะต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปีต่อเนื่อง (ปีเว้นปีได้) และจนถึงอายุ 55 ปี 
  • มีนโยบายการลงทุนให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์, ฯลฯ 
  • ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อในแต่ละปี แต่จะซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ต่อปี และไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับสิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท 
  • กรณีลงทุนผิดเงื่อนไข เช่น ซื้อเกินสิทธิ หรือขายคืนก่อนครบระยะเวลา จะได้รับโทษทางภาษี 
  • RMF ไม่ว่ากองไหน จาก บลจ. อะไร ก็นับเป็น RMF เหมือนกันหมด ผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องลงทุนกองเดิมไปตลอด และแม้แต่กองเดิมที่เคยลงทุนมาแล้ว ก็สามารถสับเปลี่ยนไปกองทุน RMF ด้วยกันกองอื่นได้ เพื่อไม่ให้นับว่าเป็นการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกำหนดระยะเวลาตามที่สรรพากรกำหนด

อ่านเพิ่มเติม “RMF” คืออะไร? ทบทวนเงื่อนไขพร้อมกองทุนแนะนำ!

เข้าใจผิด: ประกันบำนาญ ห้ามซื้อเกิน 15% ของเงินได้ หรือห้ามเกิน 200,000 ไม่งั้นจะได้รับโทษทางภาษี 

เข้าใจใหม่: ซื้อเกินได้ โดยไม่มีโทษทางภาษี เพียงแต่ลดหย่อนไม่ได้ 

  • ประกันบำนาญ เป็นประกันชีวิตที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการการันตีเงินบำนาญตอนเกษียณโดยเฉพาะ 
  • เป็นสินค้าการเงินเพียงตัวเดียว ที่ให้เงินบำนาญหลังเกษียณ โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องอาชีพของเจ้าของบัญชี (กอช. อาจให้เงินบำนาญได้ แต่ผู้สมัครจะต้องไม่เป็นสมาชิกระบบบำเหน็จบำนาญอื่น เช่น กบข., ประกันสังคม) 
  • ผู้ซื้อประกันบำนาญจะเริ่มได้รับเงินบำนาญอย่างเร็วสุดตอนอายุ 55 ปี และจะได้รับทุก ๆ ปีจากนั้นจนครบอายุกรมธรรม์ 
  • นำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 200,000 บาท 
  • การซื้อประกันบำนาญด้วยเบี้ยประกันเกิน 15% ของเงินได้ หรือเกิน 200,000 บาท ไม่ทำให้เกิดโทษทางภาษีเหมือนอย่างกรณีซื้อ SSF หรือ RMF เกินสิทธิ เพียงแต่ส่วนที่เกินสิทธิจะนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไม่ได้เพียงเท่านั้น  
  • ในกรณีมีสิทธิลดหย่อนภาษีเพื่อการเกษียณที่ไม่เกินสิทธิของแต่ละรายการ แต่เมื่อรวมกันแล้วเกิน 500,000 ในการกรอกข้อมูลลดหย่อนภาษีจึงอาจใช้วิธีกรอกประกันบำนาญทีหลังสุด เพื่อที่ว่าส่วนที่เกินสิทธิจะได้นับว่าเป็นส่วนของประกันบำนาญ ซึ่งไม่ทำให้ผิดเงื่อนไขที่ทำให้เกิดโทษทางภาษี 
  • นอกจากนี้เบี้ยประกันบำนาญที่เกินสิทธิลดหย่อนในส่วนประกันบำนาญ ยังนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีต่อในส่วนของเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปแทนได้ด้วย ถ้าส่วนของประกันชีวิตที่มีอยู่ยังไม่เต็ม 100,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม ลดหย่อนภาษี: ทุกเรื่องที่ต้องรู้ รวบรวมมาให้แล้ว!

เข้าใจผิด: ประกันสุขภาพตัวไหน ๆ ก็ลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด 

เข้าใจใหม่: อาจมีประกันสุขภาพบางอย่างที่นำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไม่ได้ เช่น ประกันค่าชดเชยรายวันกรณีนอนโรงพยาบาล 

  • ประกันสุขภาพเป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับสุขภาพโดยเฉพาะ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยโรคร้ายแรง ฯลฯ 
  • นำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้ว จะลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท 
  • เบี้ยประกันสุขภาพที่นำมาลดหย่อนภาษีได้จะต้องเป็นส่วนที่ให้ความคุ้มครองต่อไปนี้เท่านั้น 
    • ค่ารักษาพยายาบาล / การชดเชยทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะ จากการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วย 
    • การชดเชยโรคร้ายแรง 
    • การดูแลระยะยาว (Long term care) 
    • ประกันอุบัติเหตุก็นำมาลดหย่อนได้ เฉพาะส่วนที่ให้ความคุ้มครองการรักษาทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก 
  • ดังนั้นประกันสุขภาพที่ไม่เข้าลักษณะให้ความคุ้มครองตามข้างต้น จะไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ เช่น ประกันค่าชดเชยรายวันจากการนอนโรงพยาบาล

อ่านเพิ่มเติม เลือกซื้อประกันอย่างไร? ให้ได้ทั้งคุ้มครอง ทั้งลดหย่อนภาษี

เปิดบัญชีกองทุนประหยัดภาษี SSF RMF กับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนประหยัดภาษีมากกว่า 10 บลจ. คลิก https://finno.me/open-plan

เข้าใจผิด: เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ลดหย่อนได้คนละ 15,000 ดังนั้นถ้าซื้อประกันสุขภาพให้พ่อแม่คนละเล่ม ก็จะลดหย่อนได้รวมกันสูงสุด 30,000 บาท 

เข้าใจใหม่: เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ที่นำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 เป็นโควต้าสำหรับทั้งคุณพ่อและคุณแม่รวมกันแล้ว 

  • นำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท 
  • ไม่พิจารณาอายุของพ่อแม่ว่าจะต้อง 60 ปีเป็นต้นไป แต่พ่อแม่จะต้องมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาท / คน / ปี ถึงจะนำเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่มาลดหย่อนภาษีได้ 
  • เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ที่นำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 เป็นโควต้าสำหรับทั้งคุณพ่อและคุณแม่รวมกันแล้ว

อ่านเพิ่มเติม รวมมิตรสิทธิลดหย่อนภาษีเพื่อการเกษียณ


มือใหม่ห้ามพลาด! คอร์สเรียนพิเศษจาก FINNOMENA U "กองทุนรวม 101 สำหรับมือใหม่"