5 กลยุทธ์ พร้อมรับมือกับความผันผวน

เวลาหุ้นตก เรามักจะรู้สึกว่ามีแต่ข่าวร้ายเต็มไปหมด สิ่งเหล่านี้อาจจะส่งผลให้เราเกิดความกังวลและความกลัว ส่งผลให้เราเผลอตัดสินใจทำอะไรที่ไม่ทันได้ไตร่ตรองดี ๆ แม้กระทั่งนักลงทุนมือฉมังก็ยังเจอปัญหานี้

ก่อนที่จะตื่นกลัวกันไป อยากให้ทุกคนยึดหลักการลงทุนเหล่านี้ไว้ในใจ และนี่ก็คือ 5 กลยุทธ์ที่อยากให้ทุกคนนึกถึงเวลาเจอตลาดผันผวน

5 กลยุทธ์ พร้อมรับมือกับความผันผวน

1. อย่าทิ้งแผนของตัวเอง

คนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน เริ่มต้นลงทุน กับคนที่กำลังจะเกษียณ อาจมีความรู้สึกต่างกันไปเวลาเจอภาวะตลาดตกแรง สิ่งที่สำคัญก็คือเราควรจะเข้าใจสถานการณ์ของตัวเราเอง รวมถึงแผนการเงินของเราด้วย โดยเราสามารถลองพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน คุยเรื่องระยะเวลาการลงทุน เป้าหมาย และกลยุทธ์ เพื่อให้แน่ใจว่าแผนการลงทุนของเรายังคงดำเนินไปตามแผน

2. ลงทุนต่อไป

การขาดทุนระยะสั้นส่งผลให้เกิดความเครียดได้ แต่อย่านำอารมณ์เหล่านี้มาขับเคลื่อนการตัดสินใจของเรา เพราะมันอาจจะส่งผลเสียกว่าที่เราคิด การจะอยู่กับภาวะตลาดผันผวนได้นั้น เราต้องโฟกัสที่ผลลัพธ์ของการลงทุนระยะยาว มากกว่าราคาขึ้น ๆ ลง ๆ ในแต่ละวัน การที่เรายังคงลงทุนต่อไปนั้นเป็นเรื่องยาก แต่ก็เป็นหนทางนำไปสู่โอกาสต่าง ๆ เช่นกัน

จากตัวอย่างด้านล่าง แสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานของดัชนี S&P 500 ในแต่ละปี แท่งสีฟ้าบอกว่าดัชนีปรับตัวลงจากสุดสูงสุดมากเท่าไรในปีนั้น ๆ ส่วนแท่งสีเขียวแสดงให้เห็นว่าตอนสิ้นปีนั้น ดัชนีสร้างผลตอบแทนได้เท่าไร เราจะเห็นได้ว่า แม้ระหว่างปีจะมีการติดลบของดัชนีบ้าง แต่หากสามารถทนลงทุนไปได้ถึงปลายปี ปีที่ผลตอบแทนเป็นบวกนั้นมีมากถึง 25 ปี จากทั้งหมด 30 ปีของการทดสอบ

5 กลยุทธ์ พร้อมรับมือกับความผันผวน

เปรียบเทียบผลขาดทุนระหว่างปี กับผลตอบแทนปลายปี ของดัชนี S&P 500 ตั้งแต่ปี 1991 – 2020
ที่มา: Franklin Templeton

3. กระจายการลงทุนเข้าไว้

การกระจายการลงทุน และการจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) นั้นถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่เมื่อตลาดเปลี่ยน พอร์ตของเราก็ต้องเปลี่ยนตาม เวลาตลาดผันผวนนี่ละคือโอกาสในการพิจารณาปรับสมดุลสินทรัพย์พอร์ตของเรา และถ้าอยากกระจายความเสี่ยงมากกว่านี้ ก็อาจจะลองใช้กลยุทธ์การ Hedge เพื่อลดความผันผวนได้เช่นกัน

5 กลยุทธ์ พร้อมรับมือกับความผันผวน

เปรียบเทียบผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์ ในแต่ละปี จะเห็นได้ว่าไม่มีสินทรัพย์ใดชนะหรือแพ้ตลอดไป การกระจายความเสี่ยงด้วยการจัดสรรสินทรัพย์นั้นจะช่วยให้ผลตอบแทนของพอร์ตเราไม่เหวี่ยงเกินไป
ที่มา: Franklin Templeton

4. ลงมือจัดการกับความเสี่ยง

ในช่วงเวลาที่ตลาดผันผวนนั้น อย่าทำแค่ตั้งรับเฉย ๆ หรือไหลไปกับตลาด เพราะนี่คือเงินของเรา คืออนาคตของเรา แน่นอนว่าความสบายใจในแผนของเรานั้นเป็นสิ่งสำคัญ แต่เราก็ต้องทราบด้วยว่าเราสามารถทนความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน บางทีระหว่างทางอาจจะต้องมีปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะความเสี่ยงในปัจจุบัน เช่น หากมองว่าช่วงนี้หุ้นผันผวนมาก เกินความเสี่ยงที่รับไหว อาจจะพิจารณาปรับสัดส่วนหุ้นลง แล้วเพิ่มสัดส่วนสินทรัพย์ที่เสี่ยงน้อยลงมา

5. คุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน

ก็เหมือนเวลาที่เราป่วย เราไปหาหมอ เวลาที่เครื่องยนต์เสีย เราไปหาช่าง ดังนั้นถ้าเรากังวลเกี่ยวกับภาวะตลาดผันผวน ก็อย่าลังเลที่จะคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน พวกเขาสามารถให้คำแนะนำแบบมืออาชีพ ช่วยทบทวนแผนการเงินของเรา และช่วยชี้ว่าเราควรจะทำอะไรต่อไปได้

เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินระดับโลก และพอร์ตการลงทุน “สุดเอ็กซ์คลูซีฟ”

ทาง FINNOMENA ได้มีการร่วมมือกับ Franklin Templeton บริษัทจัดการการลงทุนระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดสรรสินทรัพย์มามากกว่า 70 ปี เพื่อออกแบบพอร์ตการลงทุนสุดพิเศษ ที่เหมาะสมกับการลงทุนในทุกสภาวะตลาดอย่างพอร์ต GOR (Global Optimized Return)

พอร์ต GOR เกิดจากการผสมผสานระบบคัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดจาก FINNOMENA รวมถึงเทคโนโลยีและกลยุทธ์จัดพอร์ตการลงทุนระดับโลกจาก Franklin Templeton

ทำให้นักลงทุนสามารถลงทุนสามรถสร้างผลตอบแทนในะระยาวได้อย่างมั่นใจผ่านผู้เชี่ยวชาญ ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์การลงทุนแบบใกล้ชิด เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาสำหรับการติดตามโลกการลงทุนที่มีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ เหมาะสำหรับผู้ที่สามารถลงทุนขั้นต่ำได้ 10 ล้านบาทขึ้นไป

สนใจบริการออกแบบพอร์ตการลงทุน โดยทีมงาน Investment Strategist จาก Franklin Templeton อ่านรายละเอียดได้ที่ https://franklintempleton.finnomena.com/index.html

เนื้อหาต้นฉบับโดย Franklin Templeton

เรียบเรียงโดย FINNOMENA Admin

ข้อสงวนสิทธิ์

1. แฟรงคลิน เทมเพิลตัน (“Franklin Templeton”) ให้บริการการให้คำแนะนำทั่วไปแก่ FINNOMENA ในการออกแบบพอร์ตการลงทุน (Asset Allocations)

2. แฟรงคลิน เทมเพิลตัน (“Franklin Templeton”) ไม่รับผิดใด ๆ ต่อบุคคลภายนอก ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ บริการ เว็บไซต์ หรือเนื้อหาใด ๆ ที่ได้จัดทำหรือปรากฏในช่องทางต่าง ๆ ของบุคคลภายนอกนั้น อีกทั้ง Franklin Templeton ไม่ได้ให้คำรับรอง รับประกัน หรือเป็นตัวแทน ไม่ว่าจะโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายในเนื้อหาหรือความถูกต้องของข้อมูลในช่องทางต่าง ๆ ของบุคคลภายนอก และไม่รับผิดต่อสิ่งใด ๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้น

3. ในกรณีที่มีความแตกต่างกันระหว่างเอกสารภาษาอังกฤษกับการแปลเป็นภาษาไทย ให้ยึดถือตามเอกสารภาษาอังกฤษ

แหล่งข้อมูล

https://www.franklintempleton.com/investor/tools-and-resources/investor-education/market-volatility-resources/five-strategies-to-help-deal-with-market-volatility

https://www.franklintempleton.com/forms-literature/download/INTRA-FL