RMF, Thai ESG, Thai ESGX ใช้สิทธิยังไงไม่ให้ทับซ้อน? โอกาสลดหย่อนภาษีปี 68 ที่ต้องวางแผนให้ดี

ในปีภาษี 2568 นี้ ถือเป็นปีที่ผู้ลงทุนมีทางเลือกในการวางแผนภาษีผ่านกองทุนส่งเสริมความยั่งยืน อย่าง “กองทุน Thai ESGX” ที่เปิดตัวใหม่พร้อมเงื่อนไขเฉพาะในปีนี้ ควบคู่กับกองทุน Thai ESG และ RMF 

บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจว่าแต่ละกองทุนมีรายละเอียดและเงื่อนไขอย่างไร เพื่อช่วยให้คุณใช้สิทธิได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดการใช้สิทธิซ้ำซ้อน และไม่พลาดโอกาสลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมกับแต่ละคน

RMF, Thai ESG, Thai ESGX ใช้สิทธิยังไงไม่ให้ทับซ้อน? โอกาสลดหย่อนภาษีปี 68 ที่ต้องวางแผนให้ดี

สรุปวงเงินลดหย่อนภาษี ปี 2568

รวมแล้ว ผู้ลงทุนที่สามารถลงทุนได้ครบทุกประเภทและมีฐานภาษีสูง อาจได้วงเงินลดหย่อนภาษีได้รวมสูงสุดถึง 1,400,000 บาท ในปีภาษี 2568

RMF, Thai ESG, Thai ESGX ใช้สิทธิยังไงไม่ให้ทับซ้อน?

เพื่อให้ใช้สิทธิได้ “เต็มวงเงิน” แบบไม่ทับซ้อน ต้องเข้าใจลำดับและเงื่อนไขการลดหย่อน ดังนี้

1. วางแผนจัดพอร์ตแยกตามวงเงิน

หากคุณมีฐานเงินเดือนสูงและต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรพิจารณาจัดสรรเงินลงทุนในกองทุน RMF, Thai ESG และ Thai ESGX แยกกันอย่างชัดเจน เพื่อให้มั่นใจว่าคุณใช้สิทธิในแต่ละวงเงินได้อย่างเต็มที่

แต่หากคุณมีงบประมาณจำกัด อาจต้องพิจารณาเลือกใช้สิทธิระหว่าง Thai ESG (วงเงินปกติ) กับ Thai ESGX (วงเงิน 1 จากเงินลงทุนใหม่) เนื่องจากทั้งสองกองทุนนี้มีเกณฑ์การลดหย่อนภาษีที่เหมือนกันคือ ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน และสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท โดยการลงทุนใน Thai ESGX (วงเงิน 1) จะเป็นเงื่อนไขเฉพาะปี 2568 นี้เท่านั้น

2. ถือ LTF เดิมอยู่? มีสิทธิสับเปลี่ยนไปยัง Thai ESGX (วงเงิน 2)

สำหรับผู้ที่ยังคงถือหน่วยลงทุน LTF เดิมอยู่ โดยไม่มีการขาย/สับเปลี่ยน LTF ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. 2568 เป็นต้นไป สามารถสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF เดิมที่มีทั้งหมดทุกกองทุน ทุก บลจ. เข้ากองทุน Thai ESGX ได้ เพื่อรับสิทธิลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีเงื่อนไขสำคัญ ดังนี้

  • ตรวจสอบสิทธิ LTF ที่สามารถนำมาสับเปลี่ยนได้ ต้องเป็นหน่วยลงทุนที่คุณถือครองอยู่ตามคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ โดยต้องไม่มีการขายหรือสับเปลี่ยน LTF ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. 2568 เป็นต้นไป หากมีการทำรายการดังกล่าวจะไม่สามารถใช้สิทธิได้ (โปรดตรวจสอบข้อมูลจาก บลจ. ที่ถือหน่วยลงทุน หรือจากระบบ FundConnext https://setga.page.link/Bzid)
  • ต้องสับเปลี่ยน LTF “ทั้งหมด” ที่ถืออยู่ในทุก บลจ. มายังกองทุน Thai ESGX ภายในช่วงวันที่ 13 พ.ค. – 30 มิ.ย. 2568 หากสับเปลี่ยนเพียงบางส่วน จะถือว่าผิดเงื่อนไขและเสียสิทธิการลดหย่อนในส่วนนี้ และต้องถือครอง Thai ESGX อย่างน้อย 5 ปีเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ดังกล่าว
  • ส่วนที่เกิน 500,000 บาทจะไม่ได้รับสิทธิ์ลดหย่อนในรอบนี้ แต่ยังต้องถือครองครบ 5 ปีเช่นกัน

 

หากท่านประสงค์จะใช้สิทธิในการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนจากกองทุน LTF ไปยังกองทุน Thai ESGX กรุณาติดต่อบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่ท่านถือหน่วยลงทุนอยู่

3. แนวทางการใช้สิทธิ

แม้จะไม่มีข้อกำหนดแน่นอน แต่ผู้ลงทุนสามารถพิจารณาแนวทางการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีประจำปี 2568 ได้ตามลำดับความเหมาะสม ดังนี้

  • Thai ESGX (วงเงิน 1 – เงินลงทุนใหม่): เนื่องจากเป็นเงื่อนไขเฉพาะในปี 2568 และมีวงเงินแยกต่างหาก ควรพิจารณาลงทุนในส่วนนี้ก่อน หากคุณมีเงินลงทุนใหม่ที่ต้องการใช้ลดหย่อนภาษี
  • Thai ESGX (วงเงิน 2 – สับเปลี่ยน LTF): หากคุณมี LTF เดิมที่มีสิทธิ การสับเปลี่ยนเข้ามายัง Thai ESGX จะเปิดโอกาสให้คุณได้รับวงเงินลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม สูงสุด 500,000 บาท ทยอยลดหย่อน 5 ปี ดังนั้น ควรดำเนินการสับเปลี่ยนให้เป็นไปตามเงื่อนไขภายในระยะเวลาที่กำหนด
  • Thai ESG (วงเงินปกติ): หลังจากพิจารณาสิทธิจาก Thai ESGX แล้ว หากคุณยังมีวงเงินลดหย่อนเหลือ และต้องการลงทุนในกองทุน ESG เพิ่มเติม ก็สามารถพิจารณาลงทุนใน Thai ESG ได้
  • RMF: เป็นกองทุนสำหรับการวางแผนเกษียณระยะยาว ซึ่งสามารถลงทุนได้ทุกปี และมีเงื่อนไขการถือครองที่ยาวนานกว่า ควรพิจารณาลงทุนตามแผนการเกษียณของคุณ โดยคำนึงถึงวงเงินลดหย่อนภาษีที่เหลืออยู่

ตัวอย่างการวางแผนลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษีแบบไม่ทับซ้อน

สมมติคุณมีรายได้ 3,000,000 บาท ต่อปี และมี LTF เดิม มูลค่า 400,000 บาท

RMF, Thai ESG, Thai ESGX ใช้สิทธิยังไงไม่ให้ทับซ้อน? โอกาสทองลดหย่อนภาษีปี 68 ที่ต้องวางแผนให้ดี

ตรวจสอบสิทธิก่อนลงทุน

  • เช็กยอด LTF ที่มีสิทธิ โดยติดต่อ บลจ. หรือจากระบบ FundConnext https://setga.page.link/Bzid
  • วงเงิน 1 (วงเงินใหม่) ต้องลงทุนใน Thai ESGX ภายในช่วง 2 พ.ค. – 30 มิ.ย. 2568 เท่านั้น
  • วงเงิน 2 (สับเปลี่ยน LTF เดิม) ต้องดำเนินการภายในช่วง 13 พ.ค. – 30 มิ.ย. 2568 เท่านั้น 
  • หากลงทุนมากกว่าวงเงินที่ลดหย่อนได้ จะ “ไม่สามารถใช้ลดหย่อนส่วนเกินได้”

สรุปกลยุทธ์วางแผนใช้สิทธิไม่ให้ทับซ้อน

  1. วางแผนกำหนดเงินลงทุน RMF, Thai ESG และ Thai ESGX ให้ชัดเจน โดยพิจารณาจากฐานเงินเดือนและสิทธิลดหย่อนสูงสุดของแต่ละกองทุน
  2. ถ้ามี LTF เดิม อย่าลืมตรวจสอบสิทธิและอาจพิจารณาดำเนินการสับเปลี่ยนมายัง Thai ESGX ทั้งหมด ภายใน 30 มิ.ย. 2568 เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม
  3. พิจารณาลงทุน Thai ESGX ก่อน Thai ESG หากคุณมีเงินลงทุนใหม่ เนื่องจาก Thai ESGX (วงเงิน 1) เป็นสิทธิเฉพาะปี 2568
  4. ตรวจสอบยอด LTF ที่มีสิทธิล่วงหน้า เพื่อให้การสับเปลี่ยนเป็นไปอย่างครบถ้วน
  5. อย่าลืมเช็กเงื่อนไขการถือครอง สำหรับ RMF ต้องถือครองอย่างน้อย 5 ปีเต็มและอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสำหรับ Thai ESG และ Thai ESGX ต้องถือครองไม่น้อยกว่า 5 ปีนับจากวันลงทุน (นับวันชนวัน)

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ สรุปกองทุน Thai ESGX เงื่อนไขพิเศษ โยก LTF เดิม ลดหย่อนภาษี 5 แสนบาท

Finnomena Funds คัดกองทุน Thai ESGX ที่เดียวครบจาก 19 บลจ. ชั้นนำ โอกาสการลงทุนครั้งสำคัญ พร้อมลดหย่อนภาษีเฉพาะปี 2568 ลงทุนภายในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนนี้เท่านั้น

ดูคำแนะนำเพิ่มเติม 👉 https://finno.me/thaiesg-hub-ws


คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน RMF, Thai ESG และ Thai ESGX กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | การใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อกำหนดก่อนตัดสินใจ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ThaiESGX