Highlight ของบทความนี้ (คลิกอ่านส่วนที่สนใจได้เลย)


บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป อยู่ประเทศไหน?

หลายคนที่เจอคำถามนี้อาจจะนึกถึง เยอรมนี ที่เป็นเศรษฐกิจพี่ใหญ่ของยุโรป หรือ ฝรั่งเศส ที่มีบริษัทแบรนด์หรูอันดับ 1 อย่าง LVMH … ส่วนบางคนน่าจะนึกไปถึง อังกฤษ ที่เป็นอีกหนึ่งมหาอำนาจด้านการเงิน

แต่คำตอบที่ว่ามาก็ยังไม่ถูก บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปแท้จริงแล้วแฝงกายเร้นลับอยู่ในประเทศเล็ก ๆ เหนือขึ้นไปจากเยอรมนี ทอดตัวอยู่ระหว่างผืนน้ำที่สำคัญสองแห่งคือทะเลเหนือและทะเลบอลติก นี่คือประเทศที่เล็กที่สุดในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ประเทศเขตอบอุ่นตอนเหนือที่มีประชากรเบาบางเพียง 1 ใน 10 ของไทย 

เดนมาร์ก คือบ้านหลังเล็ก ๆ ของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปอย่าง Novo Nordisk บริษัทยาผู้ครอบครองตลาดยารักษาเบาหวานได้เกือบครึ่งโลก เจ้าของผลิตภัณฑ์ปากกาฉีดรักษาเบาหวาน Ozempic® โดยปัจจุบัน Novo Nordisk มีมูลค่าบริษัทไล่เลี่ยกับ Visa, TSMC และ J.P. Morgan

Market Capitalization ของหุ้นยุโรปในดัชนี STOXX 600 | Source: Tradingview as of 21/3/2024

Novo Nordisk จากการปลุกปั้นของศาสตราจารย์รางวัลโนเบล

จุดเริ่มต้นของ Novo Nordisk เริ่มขึ้น 2 ปีหลังจากที่ August Krogh (เอากุสต์ โครก์ห) ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ในปี 1920 จากการค้นพบกลไกควบคุมการสั่งการของหลอดเลือดฝอย เขาได้รับเชิญให้เดินทางข้ามทะเลแอตแลนติกเพื่อไปบรรยายให้กับมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ 

แต่จุดที่ทำให้เรื่องราวของเขาเปลี่ยนไปตลอดกาลคือในทริปนั้นเขาได้แวะขึ้นเหนือไปยังมหาวิทยาโทรอนโต ประเทศแคนาดา ณ ที่แห่งนั้น เขาได้พบนักวิจัย 2 ท่านที่คิดค้นการผลิต Active Insulin ซึ่งช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (พวกเขาได้รับรางวัล Nobel หลังจากนั้น) และยังได้เข้าพบคณะกรรมการอินซูลินของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นผู้ถือสิทธิบัตร ข่าวดีคือ Krogh ได้รับอนุญาตให้กลับไปผลิตอินซูลินในประเทศนอร์ดิก

อีก 1 ปีให้หลัง August Krogh ได้ก่อตั้ง Nordisk Insulinlaboratorium ทว่าต่อมาเกิดความขัดแย้งภายในขึ้นจนทำให้ 2 พนักงานคนสำคัญต้องระเห็จออกไปและก่อตั้งบริษัทซึ่งต่อมามีชื่อว่า Novo Terapeutisk Laboratorium และทั้ง 2 บริษัทนี้ก็ได้ขับเคี่ยวกันต่อไปในอีกหลายทศวรรษต่อจากนั้น

มหกรรมการแข่งขันระหว่างสองบริษัทดำเนินไปต่อเนื่องจนถึงปลายทศวรรษที่ 1980 จนถึงจุดที่ทั้งคู่ตระหนักว่าทั้งคู่ “เป็นบริษัทใหญ่ของเดนมาร์ก แต่เป็นบริษัทเล็กบนเวทีโลก” อ้างอิงจากแถลงการณ์ร่วมในภายหลัง 

เดิมที สองบริษัทต่างดำเนินการภายใต้ตลาดเดียวกัน ใช้ทีมวิจัยและบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ทับซ้อนกัน แถมยังอยู่ห่างกันไม่กี่กิโลเมตร จึงตัดสินใจยุติการแข่งขันอันยาวนาน และควบรวมกันเป็น Novo Nordisk ที่เรารู้จักกัน และขยายไลน์สินค้าออกไปอย่างหลากหลาย

ต่อจากนั้น บริษัทได้ผลิตสินค้าออกมาหลากหลายมากขึ้นตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มโรคเรื้อรังอย่างเบาหวานและโรคอ้วน ไปจนถึงโรคที่พบได้ยากเกี่ยวกับเลือด ต่อมไร้ท่อ และอื่น ๆ 

Novo Nordisk ในปัจจุบัน

Novo Nordisk มีการจ้างพนักงานมากกว่า 47,000 คน ในสํานักงานกว่า 80 แห่งทั่วโลก และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใน 168 ประเทศ โดยแบ่งธุรกิจออกมาได้เป็น 5 ส่วน คือ 

  • ผลิตภัณฑ์รักษาเบาหวาน เช่น Ozempic®
    74% ของรายได้ – 173,466 ล้านโครเนอ 
  • ผลิตภัณฑ์รักษาโรคอ้วน เช่น Saxenda®
    18% ของรายได้ – 41,632 ล้านโครเนอ
  • ผลิตภัณฑ์รักษาโรคที่พบได้ยากเกี่ยวกับเลือด
    5% ของรายได้ – 11,776 ล้านโครเนอ
  • ผลิตภัณฑ์รักษาโรคที่พบได้ยากเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ
    2% ของรายได้ – 3,836 ล้านโครเนอ
  • ผลิตภัณฑ์รักษาโรคที่พบได้ยากอื่น ๆ
    1% ของรายได้ – 1,551 ล้านโครเนอ

 

สัดส่วนรายได้ของ Novo Nordisk ปี 2023 | Source: Novo Nordisk – Investor Presentation Full year 2023

ปีที่ผ่านมา Novo Nordisk มีรายได้สูงถึง 232,261 ล้านโครเนอ เติบโต 31% จุดที่เป็นไฮไลต์คือการเติบโตของกำไรที่สูงแม้ทุ่มงบทำ R&D เพิ่มขึ้น 35% จากปีก่อนหน้า

  • กำไรขั้นต้น 196,496 ล้านโครเนอ (โต 32%)
  • กำไรจากการดำเนินงาน 102,574 ล้านโครเนอ (โต 37%)
  • กำไรสุทธิ 83,683 ล้านโครเนอ (โต 51%)

 

ธุรกิจที่เป็นแรงส่งสำคัญของ Novo Nordisk ในปีที่ผ่านมามี 2 ส่วนคือ

  • ยารักษาเบาหวานชนิด GLP-1 ซึ่งเป็นรายได้หลักเติบโตขึ้น 50%
  • ผลิตภัณฑ์รักษาโรคอ้วน เติบโต 154% จนกลายมาเป็นอีกช่องรายได้ที่มีนัยสำคัญ (จากเดิมคิดเป็นรายได้ไม่ถึง 10% แต่ตอนนี้เป็นรายได้เกือบ 20% ของบริษัทแล้ว)

ผลประกอบการของ Novo Nordisk ปี 2023 | Source: Novo Nordisk – Annual Report 2023

ทางเลือกการลงทุน สำหรับผู้ที่สนใจ Novo Nordisk

สำหรับผู้ที่สนใจการลงทุนในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปอย่าง Novo Nordisk ทาง Finnomena Funds แนะนำกองทุนหุ้นยุโรป 2 กองทุน ได้แก่ ABEG และ ONE-EUROEQ เพื่อรับโอกาสในช่วงเงินเฟ้อขาลงและการเข้าสู่ช่วงการลดดอกเบี้ยของยุโรป ซึ่งช่วยหนุนเติบโตของบริษัทจดทะเบียนในภูมิภาค

ABEG

สำหรับผู้ที่สนใจการลงทุนในระยะสั้นตามกรอบ Mr.Messenger Call เราขอแนะนำกองทุน ABEG เพื่อลงทุนตามโมเมนตัม รับดัชนีตลาดหุ้นยุโรปทำจุดสูงสุดใหม่ และเกิดสัญญาณปรับตัวเป็นขาขึ้นต่อเนื่อง 

โดย ABEG คือกองทุนรวมหุ้นยุโรปบริหารโดย adrdn Investment ที่เน้นส่งเสริมบริษัทที่มีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมหรือสังคม แต่กองทุนหลักไม่ได้มีนโยบายการลงทุนที่จัดเป็นประเภทการลงทุนที่ยั่งยืน กองทุน ABEG จะมีความกระตุ้นมากกว่า ONE-EUROEQ 

📍 มีสัดส่วนการลงทุนใน Novo Nordisk 7.75% (อันดับ 2 ของพอร์ต)

สัดส่วนการลงทุนของกองทุนหลัก | Source: Fund Fact Sheet as of 29/2/2024

 

*ข้อมูลบริษัทอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต และการลงทุนของกองทุน ABEG มิได้ลงทุนในบริษัทข้างต้นนี้เสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทใด จะเข้าเงื่อนไขตรงกับนโยบายของกองทุน

ONE-EUROEQ

อีกหนึ่งกองทุนที่เราแนะนำคือ ONE-EUROEQ สามารถลงทุนได้ทั้งระยะสั้นตามกรอบ Mr. Messenger Call และลงทุนระยะยาวตามกรอบ MEVT Call ซึ่งการลงทุนระยะยาวจะจับโอกาสเข้าลงทุนในช่วงที่ราคาหุ้นยุโรปยัง laggard มูลค่าน่าสนใจ แต่เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตจากเงินเฟ้อที่คลายตัวและการลดดอกเบี้ย

ONE-EUROEQ คือกองทุนรวมหุ้นยุโรป ที่บริหารจัดการโดย ELEVA Capital ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความชำนาญในการลงทุนในหุ้นยุโรป มีกระบวนวิเคราะห์หุ้นลักษณะ Bottom up โดยลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพการเติบโตระยะยาวและมีความสามารถในการแข่งขัน

📍 มีสัดส่วนการลงทุนใน Novo Nordisk 5.88% (อันดับ 1 ของพอร์ต)

สัดส่วนการลงทุนของกองทุนหลัก | Source: Fund Fact Sheet as of 31/1/2024

*ข้อมูลบริษัทอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต และการลงทุนของกองทุน ONE-EUROEQ มิได้ลงทุนในบริษัทข้างต้นนี้เสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทใด จะเข้าเงื่อนไขตรงกับนโยบายของกองทุน

Finnomena Funds แนะนำ ทยอยสะสม ONE-EUROEQ

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/


อ้างอิง

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299