ศึกประชันผลตอบแทนย้อนหลังจากการ DCA: กองทุน Passive V.S. กองทุน Active

ศึกประชัน ผลตอบแทนย้อนหลังจากการ DCA

มีมวยคู่ไหนมาประชันกันบ้าง?

1. กองทุน SET50 กองไหนทำผลตอบแทนได้ดีที่สุด??
2. กองทุนประเภท Passive ปลอดภัยกว่าจริงหรือ??
3. การ DCA เหมาะกับกองทุนประเภทไหน??
4. กองทุนไหน ทำผลตอบแทนได้ดีที่สุด ในยามตลาดเป็นขาขึ้น??
5. กองทุนไหน รักษาความผันผวนได้ดีที่สุด ในยามตลาดเป็นขาลง??

ไปดูข้อสังเกตในแต่ละช่วงระยะเวลาการลงทุน และข้อสรุปในภาพสุดท้ายได้เลยค่ะ

อธิบายกองทุนเพิ่มเติม :

กองทุนประเภท Passive (คาดหวังผลตอบแทนใกล้เคียงตลาด)
▪  SCBSET50 , TMB50, K-SET50 ลงทุนในหุ้น SET50 ให้ผลตอบแทนล้อไปตามดัชนี
JB25 ไม่ได้หุ้นใหญ่สุด25ตัวแรก แต่เป็นการกระจายไปลงทุนในทุกๆ อุตสาหกรรม โดยเลือกเป็นหุ้นใหญ่ 25 ตัว

กองทุนประเภท Active (คาดหวังผลตอบแทนให้ชนะตลาด)
1AMSET50-RA ถือหุ้น25-30ตัว เน้นลงทุนใน SET50 ประมาณ 65% ที่เหลือมีกระจายไปยังหุ้นนอก SET50 และหุ้นเล็ก เพื่อคาดหวังผลตอบแทนให้มากกว่า SET50
BTP ลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่เพียง10ตัว
T-LOWBETA  เน้นลงทุนในหุ้นที่มีความผันผวนต่ำ

หมายเหตุ :
ผลตอบแทนรวมค่าธรรมเนียมแล้ว

ศึกประชันผลตอบแทนย้อนหลังจากการ DCA: กองทุน Passive V.S. กองทุน Active

3-Month Performance ช่วงที่ตลาดเป็นขาลง

ข้อสังเกต :
1. กองทุน SET50 ผลตอบแทนใกล้เคียงกัน
2. ในระยะเวลาสั้นๆเพียง 3 เดือน ผลตอบแทนไม่ได้แตกต่างกันมากนัก
3. มีเพียง T-LOWBETA ที่รักษาความผันผวนได้ดี

ศึกประชันผลตอบแทนย้อนหลังจากการ DCA: กองทุน Passive V.S. กองทุน Active

6-Month Performance : ในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง

ข้อสังเกต :
1. กองทุน SET50 ผลตอบแทนใกล้เคียงกัน
2. จะเห็นว่ากองทุนประเภท Passive Fund (4กองทุนด้านบน) ที่หลายๆคนมองว่าปลอดภัยกว่ากองทุนประเภท Active Fund (3กองทุนด้านล่าง) ยังติดลบมากกว่า

เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนี้?

เพราะนโยบายของกองทุนต่างกันค่ะ

กองทุน Passive Fund จะไม่มีการปรับสัดส่วนการลงทุนตามสภาพเศรษฐกิจเลย เพื่อให้ผลตอบแทนล้อไปกับดัชนี SET50

ในขณะที่กองทุน Active Fund จะมีความยืดหยุ่นมากกว่า
(+) ในช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้น ผู้จัดการกองทุนจะลงทุนในหุ้นแทบจะ 100% เลย
(-) ในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง ผู้จัดการกองทุนจะลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลงมา ทำให้มีโอกาสเจ็บตัวน้อยกว่

ศึกประชันผลตอบแทนย้อนหลังจากการ DCA: กองทุน Passive V.S. กองทุน Active

1-Year Performance ในช่วงที่ตลาดผันผวน ขึ้นแล้วก็ลง

ข้อสังเกต :

1. กองทุน SET50 ผลตอบแทนก็ยังใกล้เคียงกัน
2. T-LOWBETA ดูจะไม่เหมาะกับการ DCA ในช่วงตลาดขาขึ้น แต่ยังไม่ด่วนสรุป ไปดูรูปถัดไปกันค่ะ

ศึกประชันผลตอบแทนย้อนหลังจากการ DCA: กองทุน Passive V.S. กองทุน Active

3-Year Performance ในช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้น

ข้อสังเกต :

1. กองทุน SET50 ผลตอบแทนก็ยังใกล้เคียงกัน
2. JB25 ที่กระจายการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ 25 ตัวใน 8 อุตสาหกรรม ทำผลตอบแทนได้ดี เมื่อลงทุนในระยะเวลาที่ยาวขึ้นมา
3. T-LOWBETA ดูจะไม่เหมาะกับการ DCA ในช่วงตลาดขาขึ้นจริงๆ อาจจะเหมาะกับการลงเงินก้อนในช่วงที่ตลาดเป็นขาลงมากกว่า

ศึกประชันผลตอบแทนย้อนหลังจากการ DCA: กองทุน Passive V.S. กองทุน Active

5-Year Performance

ข้อสังเกต :

1. กองทุน SET50 ผลตอบแทนก็ยังใกล้เคียงกัน
2. BTP ที่ลงทุนในหุ้นใหญ่เพียง 10 ตัว ทำผลตอบแทนได้ดี เมื่อมีระยะเวลาลงทุนในระดับกลาง (3-7 ปี)
3. กองทุนประเภท Active เริ่มนำแบบทิ้งห่าง

ศึกประชันผลตอบแทนย้อนหลังจากการ DCA: กองทุน Passive V.S. กองทุน Active

10-Year Performance

ข้อสรุป :

1. กองทุน SET50 ทำผลตอบแทนได้ใกล้เคียงกันมาตลอด แม้จะหักค่าธรรมเนียมแล้วก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม หากเพื่อนๆสนใจที่จะลงทุนในกองทุนประเภทนี้ ควรเลือกกองทุนที่ค่าธรรมเนียมต่ำที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะยาว

2. ในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง กองทุนประเภท Passive จะทำผลตอบแทนได้แย่กว่า แต่ตลาดมักจะผันผวนในระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้น หากคาดหวังผลตอบแทนเทียบเท่าตลาด กองทุนประเภทนี้ตอบโจทย์ค่ะ

3. ในระยะเวลายาวมากๆ กองทุนประเภท Active ทำผลตอบแทนได้ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด

4. การ DCA เหมาะกับกองทุนที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงในอนาคต แต่ต้องเป็นกองทุนที่มีความผันผวนในตัวสูงเช่นกัน มิเช่นนั้น

5. จะเป็นเหมือน T-LOWBETA ที่รักษาความผันผวนได้ดีที่สุด ในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง ก็ลงไม่มาก แต่ในช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้น ก็ขึ้นไม่มากเช่นกัน ดังนั้นอาจจะเหมาะกับการลงทุนเป็นเงินก้อนในช่วงตลาดขาลงมากกว่า

————-

สามารถหาข้อมูลกองทุนทั่วไทยได้ ฟรี! ที่
https://www.finnomena.com/fund/

Inspired by อ่านข่าวนอก – AKN

ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/getwealthsoontogether/posts/316136918965376


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้

iran-israel-war