รู้จัก TNP: กับการเติบโตแบบเป็นตัวของตัวเอง

ประเด็นกรุงเทพฯ จมน้ำกำลังมาแรง หากเรายกเมืองหลวงไปเหนือจะเจอกับอะไร? ก็ต้องบอกว่าหากยกไปเชียงรายเราคงได้เจอกับ TNP ร้านค้าปลีกและส่งมาเงียบ ๆ แต่โตไม่เบานะแน่ ๆ (ราคาเติบโตถึง 2 เด้ง ในช่วง 3 ปีย้อนหลัง!)

สุดสัปดาห์วันนี้ Mr. Serotonin เลยขอพาทุกคนมาสำรวจค้าปลีกที่อาจจะเรียกได้ว่า “Got a Niche” และมีวิธีในการขายสินค้าในรูปแบบที่โดดเด่นกัน

TNP ทำธุรกิจอะไร?

TNP มีธุรกิจหลักคือการขายสินค้าจำพวกข้าวของเครื่องใช้อุปโภคและบริโภคไม่รวมของสดแบบซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งข้อดีของการเปิดร้านประเภทนี้ก็น่าจะเป็นการที่ร้านไม่ต้องรีบระบายของออกมากนัก เพราะ ไม่ได้ขายของสด จึงอาจทำให้การจัดการสินค้าทำได้ง่ายกว่าหากพูดง่าย ๆ ก็เป็นสินค้าจิปาถะจำพวก ผงซักฟอก จาน ชาม แชมพู สบู่ ยาสีฟัน น้ำ ยา นมผง หรือถ้าพูดแบบเชิงวิชาการหน่อยก็คงเป็นสินค้าพวก Consumer good หรือสินค้าอุปโภคบริโภคนั่นเอง

ต่อมาเราลองมาสำรวจสัดส่วนรายได้ของ TNP กันต่อจะได้รู้ว่ารายได้แบบไหนมีผลต่อการรับรู้เป็นหลัก โดยหลัก ๆ แล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การขายผ่านสาขาและสำนักงานใหญ่ หรือ พูดง่าย ๆ ก็คือแบ่งรายได้เป็น 2 แบบ 1. แบบค้าปลีก 2. แบบค้าส่ง

ถ้าถามว่ารายได้ส่วนไหนมีสัดส่วนมากกว่ากัน จากรายงานประจำปี 2563 รายได้จากสาขา (ค้าปลีก) จะคิดเป็นสัดส่วน 93.60% ของรายได้หมด ในขณะที่อีก 6.40% มาจากการค้าส่งของสำนักงานใหญ่ (ค้าส่ง) นั่นเอง

ดังนั้นในมุมของการรับรู้รายได้ TNP น่าจะรับรู้จากการขยายสาขาร้านค้าปลีกจำพวกซุปเปอร์มาเก็ตเป็นหลัก (สัดส่วนแบบฮาร์ดคอถึง 93.60%) ซึ่งข้อดีของสัดส่วนรายได้เพียว ๆ แบบนี้ก็คือเราน่าจะทำความเข้าใจได้ไม่ยาก อีกทั้งธุรกิจก็เป็นธุรกิจที่ใกล้ตัวเราเห็นทุกวัน แล้วเผลอ ๆ บางคนอาจเข้าร้านประเภทนี้ทุกวันด้วยซ้ำ

คำถามต่อไปก็คือแล้ว TNP จะสู้กับพวกร้านค้าปลีกเบ็ดเสร็จเจ้าใหญ่ ๆ ยังไง คำตอบก็คือ TNP อาศัยความเข้าใจในคนพื้นที่ท้องถิ่นว่าต้องการสินค้าแบบไหน บริการยังไง ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเด่นที่น่าสนใจ โดยมีตัวอย่างตามรายงาน เช่น มีพนักงานบริการดีช่วยหยิบสินค้า แนะนำสินค้า มีบริการขนของส่งที่รถลูกค้าซึ่งไม่น่าจะหาได้ง่าย ๆ ตามร้านค้าปลีกทั่วไป (ยังไงทางที่ดีในจุดนี้อย่าลืมลงพื้นที่ไปสำรวจด้วยตัวเองนะครับ ผมเองยังไม่เคยไปอ่านมาจากรายงานอีกที) อีกทั้งยังมีความเข้าใจในสินค้าที่คนท้องที่ใช้งานและมีส่วนช่วยในการบริหารจัดการสินค้าในคลัง ซึ่งถือว่ามีความพิเศษอย่างมาก 

เรื่องแบบนี้ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็ทำได้ เพราะ อย่างที่เราเคยเห็นในอดีตอย่าง Walmart ที่เข้ามาเจาะระแวกบ้านเราก็ไม่ได้ตอบโจทย์หรือ Fit in กับวัฒนธรรมการซื้อคนไทยจนต้องยอมถอยออกไป ซึ่งผู้บริหารของ TNP บางท่านมีประสบการณ์ทำธุรกิจด้านค้าปลีกในเชียงรายและจังหวัดใกล้เคียงกว่า 27 ปี ส่งผลให้เข้าใจความต้องการของลูกค้าเป็นอย่างดี สิ่ง ๆ นี้จึงอาจเป็นสิ่งที่ทำให้ TNP มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในแง่ของข้อดี แต่ในมุมของการเติบโตให้ยิ่งใหญ่นอกเหนือ Circle of competence ก็อาจจะต้องจับตามองต่อไป 

ปัจจุบัน TNP มีกี่สาขาแล้วเป็นรูปแบบไหน?

ปัจจุบันมีจำนวนสาขาทั้งหมด 36 สาขา เป็นร้านค้าปลีกแบบซุปเปอร์มาเก็ตทั้งหมด 35 สาขา และมีศูนย์ค้าส่ง 1 สาขา โดยอยู่ในเชียงรายเป็นหลักซึ่งโอกาสเติบโตที่อาจต้องเอาคิดในอนาคตก็อาจจะรวมจังหวัดบ้านใกล้เรือนเคียงมาด้วยถ้าอิงจากความเชี่ยวชาญที่ Claim ไว้ ดังนั้นโอกาสจึงไม่น่าจะจบแค่นี้ เพราะ น่าจะยังขยายสาขาไปยังพื้นที่ใกล้เคียงได้ต่อไป

ข้อมูลเชิงตัวเลขและงบการเงินของ TNP

มาเริ่มกันที่รายได้จากสาขาต่าง ๆ กันก่อน เพราะ น่าจะเป็นตัวดันการเติบโตของ TNP

รู้จัก TNP: กับการเติบโตแบบเป็นตัวของตัวเอง

ภาพแสดงการเติบของรายได้จากการขายและ SSSG ที่มา: คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการสำหรับไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564

จากภาพข้างต้นเราสังเกตจะเห็นได้ว่าหลัก ๆ แล้วการเติบโตของยอดขาย TNP มาจากการขยายสาขาเป็นหลัก (หากดูจากภาพรวมรายปีแท่งสีส้มมาโหดมาก) ในขณะที่ยอด SSSG (Same Store Sales Growth หรือ การเติบโตของยอดขายในสาขาเดิม) อาจจะไม่โดดเด่นมากนัก 

เราจึงอาจจะพอสรุปได้ว่าหาก TNP มีการขยายสาขารายได้ก็น่าจะโตต่อและสามารถสร้างมูลค่าต่อไปได้ ซึ่งถ้ามองในแง่ดีการรับรู้รายได้ก็น่าจะลดความซับซ้อนลงไปได้ครับ (อาจจะดูยอดการเติบโตของสาขาเป็นหลัก) แต่หากการขยายสาขาชะลอตัวเราก็อาจจะต้องจับตามองกันครับ

รู้จัก TNP: กับการเติบโตแบบเป็นตัวของตัวเอง

ภาพแสดงการเติบโตของรายได้ย้อนหลังของ TNP ที่มา: FINNOMENA Stock

ทดลองใช้ FINNOMENA Stock ดูงบการเงินย้อนหลัง 10 ปี แบบไม่ต้องโหลดรายงานทีละชุด! ได้ที่ลิ้งก์ด้านล่าง

https://www.finnomena.com/stock

ทางด้านการเติบโตของรายได้โดยเฉลี่ยแล้วก็ถือว่าโตมาเรื่อย ๆ ตลอดประมาณ 10% ต่อปี ในขณะที่อัตรากำไรขั้นต้น (Gross margins) หลังหักต้นทุนอยู่ที่ 13.76% 14.92% 16.24% ในปี 2561 2562 2563 (ตามข้อมูลของ FINNOMENA Stock) โดยการเติบโตของกำไรขั้นต้นนี้มาจากการขยายสาขาที่มากขึ้น จนทำให้ยอดสั่งสินค้าจากซัพพลายเออร์เพิ่มขึ้นไปด้วยจนทำให้ได้ค่าการสนับสนุน (อาจจะเป็นส่วนลดหรือสิทธิพิเศษเพิ่มเติมต่าง ๆ) 

ทาง TNP ใช้รูปแบบการซื้อสินค้าในปริมาณมาก ๆ (เชิงเหมาซื้อเยอะให้ได้ราคาพิเศษอยู่แล้ว) และด้วยปริมาณการซื้อสินค้าที่มากขึ้นตามการเติบโตก็น่าจะช่วยลดต้นทุนในส่วนนี้ลงไป ช่วยดัน SG&A (ต้นทุนการขายและบริหาร) ลงถึงแม้จะเพิ่มขึ้นหากคิดเป็นสัดส่วน โดยคิดเป็น 10.3% 10.2% และ 9.3% ของรายได้รวมในปี 2561 2562 2563 (ข้อมูลจากรายงานประจำปี 2563)

รู้จัก TNP: กับการเติบโตแบบเป็นตัวของตัวเอง

ภาพแสดงสัดส่วนต้นทุนในการจัดจำหน่ายและค่าใช้จ่ายในการบริหารเทียบกับรายได้รวม ที่มา: รายงานประจำปี 2563

เหตุผลต่าง ๆ ข้างต้นก็ได้ส่งผลให้กำไรสุทธิ 3 ปีย้อนหลังของ TNP เติบโตตามไปด้วยไม่ต่างกันตามรายละเอียดดังนี้ (อย่าลืมไป Cross check กันอีกทีนะครับ)

รู้จัก TNP: กับการเติบโตแบบเป็นตัวของตัวเอง

ภาพแสดงการเติบโตของกำไรสุทธิย้อนหลังของ TNP ที่มา: FINNOMENA Stock

ทดลองใช้ FINNOMENA Stock ดูงบการเงินย้อนหลัง 10 ปี แบบไม่ต้องโหลดรายงานทีละชุด! ได้ที่ลิ้งก์ด้านล่าง

https://www.finnomena.com/stock

รู้จัก TNP: กับการเติบโตแบบเป็นตัวของตัวเอง

ภาพแสดงอัตราส่วนทางการเงินย้อนหลังของ TNP ที่มา: FINNOMENA Stock

ทดลองใช้ FINNOMENA Stock ดูงบการเงินย้อนหลัง 10 ปี แบบไม่ต้องโหลดรายงานทีละชุด! ได้ที่ลิ้งก์ด้านล่าง

https://www.finnomena.com/stock

ในแง่ของสัดส่วนด้านสภาพคล่องและหนี้สินก็ถือได้ว่าโดดเด่นโดยมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) อยู่ที่ 0.31 โดยมีอัตราส่วนสภาพคล่องอยู่ถึง 2.2 เท่า ตามการรายงานของปี 2563 ซึ่งถือได้ว่าหากเกิดอะไรไม่คาดฝันขึ้นมาจริง ๆ ก็น่าจะยืนระยะอยู่ได้ อีกทั้งยังมี ROE ที่โดดเด่นถึง 17.91% เหนือกว่าขั้นต่ำตามตำราที่ 15%

ในแง่ความถูกแพงปัจจุบัน TNP มีค่า P/E อยู่ที่ประมาณ 23.63 เท่า ซึ่งเทียบกับการเติบโตของกำไรต่อหุ้นเฉลี่ย 5 ปี (ครบรอบระยะเวลามาตรฐานย้อนหลังพอดี) ที่ประมาณ 24% ต่อปี ก็อาจจะถือได้ว่าทรง ๆ ไม่ได้ถูกไม่ได้แพง หากเทียบกับการเติบโตของกำไรที่ค่อนข้างต่อเนื่อง และหากคิดเป็น PEG ก็น่าจะอยู่ที่ราว ๆ 0.98 ซึ่งถ้าเทียบแบบหยาบ ๆ ตามนี้เราอาจจะสรุปได้ว่าไม่ถูกไม่แพงทรง ๆ

ทางด้านวงจรเงินสดก็ถือได้ว่าลดลงเรื่อย ๆ โดยมีสาเหตุมาจากการขยายสาขาได้เพิ่มขึ้นทำให้การขายสินค้าแล้วได้รับเงินกับมือเลยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะ คงไม่มีใครเดินเข้าร้านแนว ๆ ซุปเปอร์มาเก็ตแล้วบอกว่าขอใช้ Buy Now Pay Later ในตอนนี้ (แต่ในอนาคตก็ไม่แน่นะ)

TNP ถือได้ว่าเป็นหุ้นค้าปลีกที่สามารถเติบโตได้ในแบบฉบับของตัวเองผ่านความเข้าใจเฉพาะตัว เข้าตำรา “Got a Niche”  ท่ามกลางกระแสการ Disrupt ของ E-commerce และการเติบโตของอุตสาหกรรมค้าปลีกในระยะยาวที่อาจจะเป็นเครื่องหมายคำถามของใครหลาย ๆ คน อีกทั้งหุ้นตัวนี้ยังช่วยพิสูจน์ให้เห็นว่าการลงทุนอาจไม่ต้องใช้ท่ายากเสมอไป เพราะ หากใครถือหุ้นตัวนี้ตั้งแต่ต้นผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีจะอยู่ที่ 33.33% ต่อปี ซึ่งก็ถือว่าดีพอและส่งให้คุณอยู่ในระดับเดียวกันกับนักลงทุนระดับท็อปได้อย่างไม่ยากเย็นในระดับที่เอาชนะตลาดได้

รู้จัก TNP: กับการเติบโตแบบเป็นตัวของตัวเอง

ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังของ TNP ที่มา: FINNOMENA Stock

ทดลองใช้ FINNOMENA Stock ดูงบการเงินย้อนหลัง 10 ปี แบบไม่ต้องโหลดรายงานทีละชุด! ได้ที่ลิ้งก์ด้านล่าง

https://www.finnomena.com/stock

“คุณไม่ต้องการ IQ ระดับสูงในธุรกิจนี้ คุณต้องการเพียง IQ ที่จะเดินทางจากที่นี่ไปยังโอมาฮ่า” – Warren Buffett

คิดเห็นอย่างไรคอมเมนต์กันมาได้เลยนะครับ

ขอให้ทุกคนโชคดีครับ

Mr. Serotonin

References

https://www.set.or.th/set/pdfnews.do?newsId=16359788922021&sequence=2021117722

รายงานประจำปี 2563 บริษัท TNP


คำเตือน

ผู้ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้