มีเงิน 500,000 บาท จัดพอร์ตยังไงให้ชนะสมรภูมิเงินเฟ้อ

สำหรับเศรษฐกิจโลกในช่วงนี้ เกือบทุกประเทศทั่วโลกต้องประสบกับปัญหา “ภาวะเงินเฟ้อ” ที่ดูท่าจะทวีความรุนแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ธนาคารกลางหลายประเทศเดินหน้าคุมเข้มนโยบายการเงินและปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ ส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกได้รับผลกระทบกันทั่วหน้าจากความกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession)

ท่ามกลางความไม่แน่นอนนี้ ส่งผลให้หลายคนคงรู้สึกสับสนกับตลาดช่วงนี้ ไม่รู้ว่าจะจัดพอร์ตการลงทุนอย่างไรดี บทความนี้เราจึงขอนำตัวอย่างการจัดพอร์ตที่จะเสริมสร้างเกราะป้องกันให้คุณและช่วยให้คุณสามารถสู้กับเงินเฟ้อได้มาฝากกัน

จัดพอร์ตบนสมรภูมิเงินเฟ้ออย่างไรดี?

“ปัญหาเงินเฟ้อ” เป็นปัญหาเศรษฐกิจที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น สหรัฐฯ ที่กำลังดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มข้นเพื่อสกัดปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวเลขที่แสดงถึงอัตราเงินเฟ้อ ในเดือน ก.ค. 2565 แตะระดับ 8.5% โดยล่าสุดในการประชุมนโยบายการเงินครั้งที่ 5 ของปี 2565 ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ก็ได้ประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% เป็นรอบที่ 2 ของปี สู่ระดับ 2.25-2.50%

ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของประเทศอังกฤษในเดือน มิ.ย. 2565 พุ่งสูงถึง 9.4% ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 40 ปี โดยเป็นผลมาจากราคาอาหารและพลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ต้องคุมเข้มนโยบายทางการเงิน และเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยคาดการณ์ว่าเงินเฟ้ออังกฤษจะพุ่งทะลุ 11% ในปีนี้ 

ด้านประเทศไทยของเรา ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือน ก.ค. 2565 พุ่งสูง 7.61% โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นมาจากสินค้ากลุ่มพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงถึง 33.82% ซึ่งในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งล่าสุด ณ วันที่ 10 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 0.50% ต่อปี เป็น 0.75% ต่อปี เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อ โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ถึงเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบเกือบ 4 ปี ของประเทศไทย ในขณะที่กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 อยู่ที่ 5.50-6.50% จากประมาณการเดิมที่ 4.00-5.00% เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ รวมถึงการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหน่วยเงินด้านเศรษฐกิจของไทย

สถานการณ์เงินเฟ้อแต่ละประเทศดูน่าเป็นห่วงแบบนี้ แล้วเราจะลงทุนอย่างไรดี จึงจะสามารถเอาชนะกับเงินเฟ้อได้? วันนี้เราขอแนะนำให้ได้รู้จักกับพอร์ต ‘All Weather Inflation Guard (AWIG)’ ซึ่งเป็นพอร์ตการลงทุนระยะยาว เพื่อตอบสนองต่อสภาวะเงินเฟ้อโดยเฉพาะ เน้นลงทุนในพันธบัตรเป็นกลยุทธ์หลัก และลงทุนในหุ้นด้วยสัดส่วนปานกลาง พร้อมควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าพอร์ตอื่น ๆ ของ ดร. Andrew Stotz โดยมีการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงไปยังพันธบัตร หุ้นทั่วโลก สินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำ เป็นพอร์ตที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเอาชนะเงินเฟ้อ และต้องการผลตอบแทนที่มากกว่าการฝากเงิน

กลยุทธ์การลงทุนของพอร์ต AWIG

กลยุทธ์การลงทุนของพอร์ต AWIG จะอ้างอิงจากโมเดล “FVMR Framework” โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • Fundamental (พื้นฐานของสินทรัพย์) เช่น เทรนด์การเติบโตของผลกำไร ศักยภาพการทำกำไร
  • Valuation (มูลค่าของสินทรัพย์) เช่น Price to Book, PE to EPS Growth (PEG)
  • Momentum (โมเมนตัมของสินทรัพย์) ดูแนวโน้มการทำกำไร ราคาสินทรัพย์ เพื่อป้องกันการเผชิญ Value Trap
  • Risk (ความเสี่ยง) เช่น ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risk) ความเสี่ยงของตลาด (Market Risk)

สำหรับโมเดล FVMR เป็นโมเดลที่ออกแบบโดย ดร. Andrew Stotz และทีมงาน ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีการทดสอบปัจจัยต่าง ๆ ย้อนหลัง เพื่อให้แน่ใจว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่นำมาประกอบการวิเคราะห์ช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้จริงและเข้ากับสถานการณ์ตลาดในแต่ละช่วงเวลา มีการวิจัยและทดสอบอย่างสม่ำเสมอ พร้อมตัดอคติออกจากการวิเคราะห์ในทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี โดยยึดการลงทุนในระยะยาวเป็นหัวใจสำคัญ

จุดเด่นพอร์ต All Weather Inflation Guard (AWIG)

  • ใช้ตราสารหนี้เป็นหัวใจของพอร์ตการลงทุน โดยควบคุมความเสี่ยงของพอร์ตให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าพอร์ตอื่น ๆ ของ ดร. Andrew Stotz
  • ใช้ ‘FVMR Framework’ เป็นกลยุทธ์ในการลงทุน โดยเป็นโมเดลที่ออกแบบโดย ดร. Andrew Stotz และทีมงาน ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
  • มีการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์หลายประเภท ทั้งตราสารหนี้ หุ้นทั่วโลก สินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำ เพื่อช่วยลดความผันผวน
  • เน้นการลงทุนในระยะยาว สู้เงินเฟ้อ โดยมีการปรับพอร์ตการลงทุน (Rebalance) ตามความสมควรและสำคัญ
  • ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาท ในครั้งแรก และ 25,000 บาท ในครั้งถัดไป โดยไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมในการจัดพอร์ตลงทุน

อ่านเพิ่มเติม ตั้งการ์ดรับเงินเฟ้อกับ All Weather Inflation Guard พอร์ตเสี่ยงต่ำในแบบฉบับคุณ Andrew Stotz

มีเงิน 500,000 บาท จัดพอร์ตยังไงให้ชนะสมรภูมิเงินเฟ้อ

สัดส่วนการลงทุนของพอร์ต All Weather Inflation Guard

มีเงิน 500,000 บาท จัดพอร์ตยังไงให้ชนะสมรภูมิเงินเฟ้อมีเงิน 500,000 บาท จัดพอร์ตยังไงให้ชนะสมรภูมิเงินเฟ้อ

สัดส่วนการลงทุนของพอร์ต AWIG ณ เดือนกรกฎาคม 2565
ที่มา: Presentation นำเสนอพอร์ต AWIG

พอร์ต AWIG จะเน้นลงทุนในตราสารหนี้เป็นหลัก ในสัดส่วน 60% โดยเลือกลงทุนในกองทุน K-CBOND ซึ่งลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ ในสัดส่วน 45% กองทุน KTILF ซึ่งลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ ในสัดส่วน 10% และกองทุน TMBTM ที่ลงทุนในตราสารตลาดเงินภาครัฐ ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรที่ออกโดยภาครัฐ ในสัดส่วน 5%

ส่วนตราสารทุน พอร์ต AWIG จะลงทุนในสัดส่วน 30% โดยลงทุนใช้กองทุน B-GLOBAL เป็นตัวแทนของหุ้นโลก ในสัดส่วน 20% กองทุน KFINFRA-A เป็นตัวแทนของหุ้นโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก ในสัดส่วน 5% กองทุน KT-ENERGY เป็นตัวแทนของหุ้นกลุ่มพลังงานทั่วโลก ในสัดส่วน 5%

และสัดส่วนที่เหลืออีก 10% พอร์ต AWIG จะกระจายลงทุนในตราสารทางเลือก โดยจะลงทุนในทองคำ ซึ่งใช้กองทุน TMBGOLDS ในสัดส่วน 5% และลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งใช้กองทุน SCBCOMP ในสัดส่วน 5% เช่นเดียวกัน

เจาะลึกกองทุนในพอร์ต All Weather Inflation Guard (AWIG)

K-CBOND

สัดส่วนการลงทุน 45%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน/รัฐวิสาหกิจ ซึ่งคาดว่าจะให้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ย/กำไรส่วนเกินทุนในระดับสูง โดยกองทุน K-CBOND จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 4

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด และในบางโอกาสอาจสร้างผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีชี้วัด

อายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุน: 1 – 3 ปี (1.78 ปี)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร (Gov.bond/AAA และ AA,A)

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 0.4280% / Front-end Fee และ Switching-in – ยกเว้น / Back-end Fee และ Switching-out – ยกเว้น / รวม 0.6611%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

KTILF

สัดส่วนการลงทุน 10%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในตราสารภาครัฐไทยและต่างประเทศ ตราสารหนี้ ตราสารการเงิน หน่วยลงทุนของกองทุนรวม และ/หรือกองทุนรวม ETF ที่มีผลตอบแทนแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อที่เสนอขายทั้งในและ/หรือต่างประเทศ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน KTILF จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 4

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด และในบางโอกาสอาจสร้างผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีชี้วัด

อายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุน: 3 – 5 ปี

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร (Gov/AAA), ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมด/เกือบทั้งหมด)

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 0.321% / Front-end Fee และ Switching-in – ยังไม่เรียกเก็บ / Back-end Fee และ Switching-out – ยังไม่เรียกเก็บ / รวม 0.54195%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

TMBTM

สัดส่วนการลงทุน 5%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในตราสารตลาดเงินภาครัฐ ในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน หรือพันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน ทั้งนี้ เงินส่วนที่เหลือ กองทุนจะลงทุนในเงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินหรือบัตรเงินฝากที่ออกโดยสถาบัน การเงินหรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น โดยกองทุน TMBTM จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 1

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

อายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุน: ต่ำกว่า 3 เดือน

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ:  ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร (Gov.bond/AAA และ AA,A)

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 0.10% / Front-end Fee และ Switching-in – ไม่มี / Back-end Fee และ Switching-out – ไม่มี / รวม 0.2143%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

B-GLOBAL

สัดส่วนการลงทุน 20%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน Wellington Global Opportunities Equity Fund – Class S (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน B-GLOBAL จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญ รวมถึงหลักทรัพย์ต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นตราสารทุน เช่น หุ้นบุริมสิทธิ ใบสําคัญแสดงสิทธิ หุ้นที่เกี่ยวข้องกับกอง REITs และใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (Depository Receipts) ที่ออกโดยบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศสหรัฐฯ, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน)

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 1.1486% / Front-end Fee และ Switching-in – ไม่เกิน 1.00% / Back-end Fee และ Switching-out – ไม่มี / รวม 1.2513 %

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

KFINFRA-A

สัดส่วนการลงทุน 5%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน Credit Suisse (Lux) Infrastructure Equity Fund – Class IB (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน KFINFRA-A จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในตราสารทุนและหลักทรัพย์อื่น ๆ ที่มีลักษณะในทำนองเดียวกันกับตราสารทุนที่ออกโดยบริษัทที่มีกิจการเกี่ยวข้องกับธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ อย่างน้อย 2 ใน 3 ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศสหรัฐฯ และหมวดอุตสาหกรรม Mobility และ Climate Change, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ)

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 0.749% / Front-end Fee และ Switching-in – 1.50% / Back-end Fee และ Switching-out – ยังไม่เรียกเก็บ / รวม 0.9435%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

KT-ENERGY

สัดส่วนการลงทุน 5%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน BGF World Energy Fund เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน KT-ENERGY จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 7

กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัทชั้นนำทั่วโลก ซึ่งมีธุรกิจหลักในการสำรวจ พัฒนา ผลิต และจัดจำหน่ายพลังงาน นอกจากนั้น กองทุนยังอาจลงทุนในบริษัทที่มุ่งเน้นการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศสหรัฐฯ และแคนาดา และหมวดอุตสาหกรรม Integrated และ Exploration and Production, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (ไม่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน)

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 0.93625% / Front-end Fee และ Switching-in – 1.50% / Back-end Fee และ Switching-out – ยกเว้น / รวม 1.25025%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

SCBCOMP

สัดส่วนการลงทุน 5%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน PIMCO Commodity Real Return Fund เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน SCBCOMP จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 8

กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในตราสารอนุพันธ์ รวมถึงสัญญาแลกเปลี่ยนตราสาร (swap agreement) ต่าง ๆ สัญญาฟิวเจอร์ สัญญาออปชั่น ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง และ/หรือ หุ้นกู้อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ จึงเพิ่มศักยภาพในการที่จะลงทุนได้ตามดัชนี รวมถึงดัชนีย่อยต่าง ๆ ที่อ้างอิงกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (ซึ่งอาจไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงดัชนีใดดัชนีหนึ่งภายใต้ตระกูลดัชนีของ Bloomberg Commodity) ตราสารเหล่านี้จะสร้างผลตอบแทนของการลงทุนในการตลาดสินค้าโภคภัณฑ์โดยไม่จำเป็นที่จะ ลงทุนโดยตรงในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ และลงทุนในกลุ่มตราสารหนี้ทั่วโลกที่มีอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ ทั้งนี้ กองทุนอาจจะลงทุนในหุ้น รวมถึงหลักทรัพย์แปลงสภาพของผู้ออกตราสารในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศสหรัฐฯ  และหมวดอุตสาหกรรม Energy และ Agriculture, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งหมด โดยคิดเป็น 93.92% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ)

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 1.61% / Front-end Fee และ Switching-in – 0.5350% / Back-end Fee และ Switching-out – ยกเว้น / รวม 1.73%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

TMBGOLDS

สัดส่วนการลงทุน 5%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในทองคำแท่ง (Gold Bullion) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุน ทั้งนี้ กองทุน SPDR Gold Trust ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสิงคโปร์ ซึ่งบริษัทจัดการจะทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสิงคโปร์ โดยกองทุน TMBGOLDS จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 8

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนี (Passive Management / Index Tracking)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน)

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 1.1770% / Front-end Fee และ Switching-in – ไม่มี / Back-end Fee และ Switching-out – ไม่มี / รวม 1.3161%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

ผลการดำเนินงานย้อนหลังของพอร์ต AWIG

มีเงิน 500,000 บาท จัดพอร์ตยังไงให้ชนะสมรภูมิเงินเฟ้อ

ผลการทดสอบผลการดำเนินงานย้อนหลังของพอร์ต AWS และพอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40
ข้อมูล ณ วันที่ 21 มิ.ย. 2565 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

มาถึงเรื่องที่ทุกคนอยากรู้มากที่สุด นั่นคือ ‘ผลการดำเนินงานย้อนหลัง’ กันบ้าง จากภาพด้านบนเป็นภาพแสดงผลการทดสอบผลการดำเนินงานย้อนหลังของพอร์ต AWIG และพอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40 จะเห็นได้ว่าหากเรานำเงิน 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไปลงทุนในพอร์ต AWIG และพอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40 ในเดือนสิงหาคมปี 2002 ผ่านไป 20 ปี พอร์ต AWIG ทำให้เงินลงทุนของเราเติบโตได้ถึง 192% จาก 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 292 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม 2022 ในขณะที่พอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40 ทำให้เงินลงทุนเติบโตเป็น 237 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเติบโต 137%

มีเงิน 500,000 บาท จัดพอร์ตยังไงให้ชนะสมรภูมิเงินเฟ้อ

กราฟแท่งแสดงผลตอบแทนและความเสี่ยงของพอร์ต AWAF, AWS และ AWIG
ที่มา: Presentation นำเสนอพอร์ต AWIG ณ วันที่ 21 มิ.ย. 2565 

และอย่างที่ได้กล่าวไปในช่วงต้นบทความว่าพอร์ต AWIG เป็นพอร์ตที่ควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าพอร์ตอื่น ๆ ของ ดร. Andrew Stotz จากภาพการแท่งด้านบนที่แสดงถึงผลตอบแทนและความเสี่ยงของพอร์ต AWAF, AWS, AWIG จะเห็นได้ว่าในบรรดาพอร์ตตระกูล All Weather ของ ดร. Andrew ทั้ง 3 พอร์ต พอร์ตที่มีค่าความผันผวน (Volatility) ซึ่งวัดได้จากค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: SD) ต่ำที่สุดคือ พอร์ต AWIG โดยมีค่าความผันผวนที่ 8 ในขณะที่พอร์ต AWAF ซึ่งเป็นพอร์ตที่เน้นลงทุนในหุ้นเป็นแกนหลัก และเป็นพอร์ตที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดในบรรดาพอร์ตตระกูล All Weather มีค่าความผันผวนมากที่สุดที่ 16 โดยพอร์ต AWIG คาดหวังการทำผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 4% (ไม่ใช่การันตี)

.

ใครอยากลงทุนพอร์ตนี้ด้วยเงินลงทุน 500,000 บาท ตามสัดส่วนที่แนะนำในบทความนี้ แถมยังได้ที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวแบบฟรี ๆ ลองให้ ‘FINNOMENA Exclusive’ บริการที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัว เป็นตัวช่วยให้คุณลงทุนได้อย่างมั่นใจ  ด้วยที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวมากประสบการณ์ที่จะช่วยติดตามสถานะการลงทุน และอัปเดตข่าวสารให้คุณทราบอย่างสม่ำเสมอ พร้อมแจ้งทันทีหากต้องมีการปรับพอร์ตตามสถานการณ์ตลาดเพื่อให้คุณไม่พลาดทุกโอกาสการลงทุน

รับบริการได้ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาท  ใครสนใจรับบริการสุด Exclusive แบบนี้ สามารถกรอกข้อมูลเพื่อขอรับบริการได้เลยที่

https://finno.me/guruport-andrew

อ้างอิง


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”