ส่อง 8 'หุ้นเวียดนาม' เสือตัวใหม่แห่งเศรษฐกิจเอเชีย

หลังจากที่เราได้พาไป ส่อง 8 ‘หุ้นเกาหลี’ ยักษ์ใหญ่ แห่งแดนโสมขาว ไปแล้ว วันนี้เป็นคิวของ ‘หุ้นเวียดนาม’ กันบ้าง เวียดนามกลายเป็นอีกหนึ่งเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียที่น่าจับตามอง จากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 

บทความนี้จึงขอชวนทุกคนมาดู 8 หุ้น (บริษัท) เวียดนาม ที่คัดมาเน้น ๆ แล้วว่าแต่ละบริษัทมีความน่าสนใจ และจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เวียดนามกลายเป็นเสือตัวใหม่แห่งเศรษฐกิจเอเชีย

เจาะลึก 8 หุ้นเวียดนาม เสือตัวใหม่แห่งเศรษฐกิจเอเชีย

ส่อง 8 'หุ้นเวียดนาม' เสือตัวใหม่แห่งเศรษฐกิจเอเชีย

Vietcombank (VCB)

ส่อง 8 'หุ้นเวียดนาม' เสือตัวใหม่แห่งเศรษฐกิจเอเชีย

‘Joint Stock Commercial Bank for Foreign Trade of Vietnam’ หรือ ‘Vietcombank’ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 1963 โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการเป็นธนาคารเพื่อการค้าระหว่างประเทศที่ถูกแยกออกจากสำนักแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารรัฐแห่งเวียดนาม เพื่อเป็นธนาคารเฉพาะสำหรับการค้าระหว่างประเทศ ในปี 1990 Vietcombank ได้ขยายบริการจากธนาคารที่มุ่งเน้นด้านการค้าระหว่างประเทศสู่การเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ โดยเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2009 บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ หลังจากประสบความสำเร็จในการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป (IPO) ภายใต้สัญลักษณ์ ‘VCB’ ซึ่งระดมทุนได้กว่า 652 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ปัจจุบัน Vietcombank เป็นสถาบันการเงินที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดในเวียดนาม ด้วยมูลค่าตลาดกว่า 16.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ส.ค. 2565) โดยให้บริการผลิตภัณฑ์ด้านการธนาคารพาณิชย์แก่ลูกค้าบุคคลและลูกค้าองค์กรแบบครบครัน ไม่ว่าจะเป็น ด้านเงินฝาก สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเดบิต/เครดิต รวมถึงบริการซื้อขายหลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังมีบริการที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมต่างประเทศ เช่น การซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การจัดหาเงินทุนเพื่อการค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ ซึ่งปัจจุบัน Vietcombank มีสาขาธนาคารมากกว่า 100 แห่ง ในเวียดนาม

นอกจากการให้บริการด้านการธนาคารแล้ว Vietcombank ยังลงทุนในบริษัทย่อยกว่า 10 บริษัท ซึ่งได้แก่ Vietcombank Financial Leasing ประกอบธุรกิจลิสซิ่ง โดยถือหุ้นในสัดส่วน 100%, Vietcombank Securities ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ โดยถือหุ้นในสัดส่วน 100%, Vietcombank Tower 198 ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยถือหุ้นในสัดส่วน 70%, Vietnam Finance ประกอบธุรกิจบริการทางการเงิน โดยถือหุ้นในสัดส่วน 100%, Vietcombank Laos ธนาคารพาณิชย์ในประเทศลาว โดยถือหุ้นในสัดส่วน 100%, Vietcombank Money ผู้ให้บริการโอนเงิน โดยถือหุ้นในสัดส่วน 87.5%, Vietcombank Remittance ผู้ให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ โดยถือหุ้นในสัดส่วน 100% Vietcombank – Bonday – Ben Thanh ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยถือหุ้นในสัดส่วน 52%, Vietcombank Fund Management บริษัทจัดการกองทุน โดยถือหุ้นในสัดส่วน 51%, Vietcombank – Cardif Life Insurance บริษัทประกันชีวิต โดยถือหุ้นในสัดส่วน 45% และ Vietcombank Bonday ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยถือหุ้นในสัดส่วน 16%

Vingroup (VIC)

ส่อง 8 'หุ้นเวียดนาม' เสือตัวใหม่แห่งเศรษฐกิจเอเชีย

‘Vingroup’ เป็นกลุ่มบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเวียดนาม ด้วยมูลค่าบริษัทกว่า 10.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ส.ค. 2565) ก่อตั้งขึ้นในปี 1993 โดย ‘Pham Nhat Vuong’ มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของเวียดนาม มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองฮานอย Vingroup เป็นกลุ่มบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจครอบคลุมเกือบทุกอุตสาหกรรมในเวียดนาม โดยถูกยกให้เป็นบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล ความยิ่งใหญ่ของ Vingroup คิดเป็น 2.2% ของ GDP เวียดนามเลยทีเดียว โดย Vingroup มีบริษัทย่อยในเครือมากกว่า 20 บริษัท ดังนี้

  • Vinhomes – ดำเนินงานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย บริษัท มีส่วนร่วมในการก่อสร้างและบริหารอาคารที่พักอาศัย สำนักงาน และอาคารพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน อพาร์ตเมนต์ วิลล่า ตลอดจนสำนักงานขาย และให้เช่า นอกจากนี้บริษัทยังมีการลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศเวียดนาม
  • VinBus – ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถโดยสารไฟฟ้า ก่อตั้งขึ้นในปี 2019 โดยมีเป้าหมายคือการมีส่วนร่วมในการสร้างระบบขนส่งสาธารณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและทันสมัย ซึ่งจะช่วยลดมลพิษทางอากาศและลดเสียงรบกวนในเขตเมืองของเวียดนามได้
  • Vincom – ดำเนินธุรกิจในด้านการพัฒนาศูนย์การค้าในประเทศเวียดนาม ก่อตั้งขึ้นในปี 2012 นอกจากนี้ยังให้บริการให้เช่าร้านค้าปลีกในห้างสรรพสินค้า ซึ่งประกอบไปด้วย Vincom Center, Vincom Mega Mall, Vincom Plaza และ Vincom+ 
  • VinFa – ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายยาจากตะวันออกและตะวันตกที่มีคุณภาพดีเพื่อรองรับตลาดในประเทศและการส่งออก นอกจากนี้ยังเน้นไปที่การผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ วัคซีน และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพที่มีเพิ่มมากขึ้น

นอกจากบริษัทที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมี ‘VinFast’ แบรนด์รถยนต์สัญชาติเวียดนามแบรนด์แรกที่ขยายออกสู่ตลาดโลก ก่อตั้งขึ้นในปี 2017 ‘Vinpearl’ โรงแรม 5 ดาว มาตรฐานสากลที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม โดยมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมโรงแรมมากกว่า 18 ปี ปัจจุบันมีโรงแรมที่อยู่ภายใต้การดูแลของ Vinpearl มากกว่า 45 แห่ง ทั่วประเทศเวียดนาม ‘Vinschool’ องค์กรด้านการศึกษาที่ไม่แสวงหากำไร โดยเปิดรับนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น ไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ก่อตั้งขึ้นในปี 2013 และได้กลายเป็นโรงเรียนที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ‘Vinwonder’ สวนสนุกยอดนิยมในเวียดนามที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศจำนวนมากในแต่ละปี โดยถือเป็นหนึ่งในสวนสนุกชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ‘VinMec International Hospital’ โรงพยาบาลชั้นนำของเวียดนาม ก่อตั้งอย่างเป็นทางการในปี 2012 โดยให้บริการด้านสุขภาพที่ครอบคลุมและเป็นมืออาชีพ มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ล่าสุด เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้บริการในทุกด้าน ‘VinUniversity’ มหาวิทยาลัยเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรในเวียดนาม ซึ่งได้รับการอนุมัติจากนายกรัฐมนตรีเวียดนามในปี 2018 ‘VinES’ ผู้เชี่ยวชาญด้าน R&D และผลิตแบตเตอรี่ขั้นสูงสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคมปี 2021

ส่อง 8 'หุ้นเวียดนาม' เสือตัวใหม่แห่งเศรษฐกิจเอเชีย

บริษัทย่อยในเครือ Vingroup
ที่มา: https://bachkhoaland.com/tap-doan-vin-group/

Petrovietnam (GAS)

ส่อง 8 'หุ้นเวียดนาม' เสือตัวใหม่แห่งเศรษฐกิจเอเชีย

‘Vietnam Oil and Gas Group’ หรือ ‘Petrovietnam’ เป็นบริษัทในเวียดนามที่ดำเนินธุรกิจด้านน้ำมันและก๊าซแบบบูรณาการ ก่อตั้งขึ้นในเดือนกันยายนปี 1975 และจดทะเบียนอย่างเป็นทางการในตลาดหลักทรัพย์ Ho Chi Minh Stock Exchange (HOSE) ในปี 2012 ภายใต้สัญลักษณ์หุ้น ‘GAS’ โดยมีรัฐบาลเวียดนามเป็นผู้ถือหุ้นกว่า 95%

ปัจจุบัน Petrovietnam ครอบคลุมการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซทั้งหมดตั้งแต่การสำรวจ การจัดเก็บ การสกัด การกลั่น การจัดจำหน่าย และการขนส่งทางท่อสำหรับก๊าซธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับก๊าซ เช่น ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และคอนเดนเสท รวมถึงดำเนินธุรกิจนำเข้า ส่งออก และซื้อขายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ก๊าซสำหรับอุตสาหกรรมก๊าซ นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานด้านน้ำมันและก๊าซ รวมถึงการผลิตท่อส่งก๊าซ อาคารโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับก๊าซ การติดตั้ง การซ่อมแซมและบำรุงรักษา การดำเนินงานสถานีบริการน้ำมัน ตลอดจนการดำเนินงานคลังสินค้าและท่าเรือ การดำเนินงานที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำเช่นนี้ ทำให้ Petrovietnam กลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม และเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่อันดับสองของเวียดนาม ด้วยมูลค่าบริษัทกว่า 8.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ส.ค. 2565)

Petrovietnam ดำเนินธุรกิจผ่าน 5 ภาคส่วน ดังนี้

  • การสำรวจและการผลิต (Exploration & Production) – การสำรวจและการผลิตน้ำมันและก๊าซถือเป็นหัวใจสำคัญของ Petrovietnam ซึ่งนอกจากเวียดนามแล้ว บริษัทยังมีการดำเนินการสำรวจน้ำมันและก๊าซในต่างประเทศด้วย เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และมองโกเลีย เป็นต้น ด้วยการดำเนินการสำรวจและผลิตน้ำมันและก๊าซที่มีประสิทธิภาพของ Petrovietnam ทำให้เวียดนามกลายเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองน้ำมันมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับที่ 28 ของโลก
  • ปิโตรเคมีและโรงกลั่น (Petrochemical & Refinery) – Petrovietnam มีส่วนสำคัญในการพัฒนาแบบซิงโครนัส (synchronous) โดยเป็นผู้จัดหาผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ปิโตรเลียม ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก และเส้นใย ซึ่งทุกปีรายได้จากภาคการแปรรูปคิดเป็น 20-26% ของรายได้รวมของบริษัท ปัจจุบัน Petrovietnam มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ การตอบสนองความต้องการภายในประเทศ และการส่งออกเชิงรุก
  • อุตสาหกรรมก๊าซ (Gas Industry) – Petrovietnam มุ่งเน้นไปที่การลงทุน การสร้าง และดำเนินการระบบก๊าซด้วยโครงสร้างพื้นฐานแบบซิงโครนัส (synchronous) ตั้งแต่การผลิตก๊าซ การรวบรวม การขนส่ง การแปรรูป การจัดเก็บและการแจกจ่าย โครงการอุตสาหกรรมก๊าซของ Petrovietnam สามารถตอบสนองความต้องการก๊าซที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภครายใหญ่ในประเทศได้ เช่น โรงไฟฟ้า โรงปุ๋ย และโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ก๊าซแรงดันต่ำ ปัจจุบัน Petrovietnam กำลังลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิคเพื่อรองรับการนำเข้าและการบริโภคก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)
  • อุตสาหกรรมไฟฟ้าและพลังงานทดแทน (Power Industry and Renewable Energy) – Petrovietnam เป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่อันดับสองในเวียดนามและเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซรายใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยเป็นผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 4 แห่ง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 2 แห่ง และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 2 แห่ง ซึ่งมีกำลังผลิตติดตั้งรวม 5405 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็น 8% ของกำลังผลิตติดตั้งทั้งหมดของระบบไฟฟ้าของเวียดนาม นอกจากนี้ยังส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาโครงการพลังงานก๊าซ โดยให้ความสำคัญกับการใช้ก๊าซในประเทศและก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ซึ่งมีเป้าหมายที่จะใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่พัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนอย่างแข็งแกร่ง
  • บริการทางเทคนิคด้านปิโตรเลียม (Petroleum Technical Services) – Petrovietnam เป็นผู้สร้างและพัฒนาบริการทางเทคนิคด้านน้ำมันและก๊าซควบคู่ไปกับการบริการประเภทต่าง ๆ เช่น การออกแบบ การก่อสร้าง การบำรุงรักษาและซ่อมแซมแท่นขุดเจาะ การบำรุงรักษาโรงงานน้ำมันและก๊าซ ปัจจุบันรายได้ค่าบริการของ Petrovietnam มากกว่า 60% มาจากสัญญากับลูกค้าต่างประเทศ ซึ่งจะสร้างรายได้อย่างมหาศาลและสร้างฐานการตลาดสำหรับแผนการลงทุนต่างประเทศในอนาคต

Vinamilk (VNM)

ส่อง 8 'หุ้นเวียดนาม' เสือตัวใหม่แห่งเศรษฐกิจเอเชีย

‘Vietnam Dairy Products’ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘Vinamilk’ เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ด้วยมูลค่าบริษัทกว่า 6.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ส.ค. 2565) โดยบริษัทดำเนินการผลิตและจัดจำหน่ายทั้งในรูปแบบค้าส่งและค้าปลีกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับนม ก่อตั้งขึ้นในปี 1976 ในชื่อ ‘Southern Coffee-Dairy Company’ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมีโรงงานทั้งหมด 3 แห่งในเวียดนาม ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น ‘United Enterprises of Milk Coffee Cookies and Candies’ ในปี 1978 และกลายเป็นบริษัท ‘Vietnam Dairy Company’ ในปี 1993 โดยมีการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป (IPO) ในปี 2003 และถูกลิสต์เข้า Ho Chi Minh Stock Exchange (HOSE) ภายใต้สัญลักษณ์หุ้น ‘VNM’ ในปี 2006 ปัจจุบัน Vinamilk มีฟาร์มโคนมทั้งหมด 12 แห่ง และโรงงานที่ทันสมัยกว่า 16 แห่งทั้งในเวียดนามและต่างประเทศ

บริษัทนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่อร่อย มีคุณภาพสูง และมีคุณค่าทางโภชนาการในราคาที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย  ผ่านผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่มีมากกว่า 250 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น นมสด นม UHT นมผง นมข้นหวาน โยเกิร์ตพร้อมดื่ม โยเกิร์ตแบบถ้วย ไอศครีม ชีส อาหารสำหรับเด็ก ผลิตภัณฑ์สำหรับสตรีตั้งครรภ์และทารก ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ใหญ่ นมถั่วเหลือง นมข้าว นมจากพืช กาแฟบรรจุขวด น้ำตาล น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ ภายใต้แบรนด์ของ Vinamilk ซึ่งได้แก่ Vinamilk, Dielac, Vfresh (น้ำผลไม้และนมถั่วเหลือง), Angkormilk และ Ong Tho (นมข้น) นอกจากนี้บริษัทยังให้บริการด้านบรรจุภัณฑ์และโลจิสติกส์ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนด้านเทคนิคสำหรับกระบวนการทำฟาร์มและเพาะพันธุ์อีกด้วย

นอกจากการจัดจำหน่ายในเวียดนามแล้ว ผลิตภัณฑ์ของ Vinamilk ยังถูกส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศด้วย ไม่ว่าจะเป็น ประเทศตะวันออกกลาง กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย และนอกจากธุรกิจในประเทศแล้ว Vinamilk ยังขยายโรงงานไปยังต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ ‘Angkor Milk’ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมรายใหญ่ และเป็นโรงงานโคนมแห่งแรกของประเทศกัมพูชา  ‘Driftwood Dairy’ ผู้แปรรูปนมและผลิตภัณฑ์นมรายใหญ่ของแคลิฟอร์เนีย

Masan Group (MSN)

ส่อง 8 'หุ้นเวียดนาม' เสือตัวใหม่แห่งเศรษฐกิจเอเชีย

‘Masan Group’ ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2004 โดย ‘Nguyen Dang Quang’ มหาเศรษฐีอันดับ 5 ของเวียดนาม ภายใต้ชื่อ ‘Ma San Shipping Corporation’ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น ‘Ma San Group Corporation’ ในเดือนสิงหาคม 2009 และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ได้สำเร็จในวันที่ 5 พ.ย. 2009 ภายใต้สัญลักษณ์หุ้น ‘MSN’ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘Masan Group Corporation’ อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม 2015 และเป็นชื่อบริษัทที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

‘Masan Group’ เป็นกลุ่มบริษัท (Conglomerate) ซึ่งดำเนินธุรกิจเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านบริษัทในเครือ ไม่ว่าจะเป็น ซีอิ๊ว น้ำปลา เครื่องปรุงรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เครื่องดื่มบรรจุขวด เนื้อสัตว์แปรรูป ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ การขุดและแปรรูปแร่ ซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ และยังเป็นผู้ถือหุ้นในธุรกิจธนาคารพาณิชย์อีกด้วย โดยมีการดำเนินธุรกิจผ่าน 5 ภาคส่วน ได้แก่

  • WinCommerce – แพลตฟอร์มร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม โดยดำเนินการผ่านเครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ต WinMart และมินิมาร์ท WinMart+ นอกจากนี้ WinCommerce ยังเป็นเจ้าของ WinEco ซึ่งเป็นแบรนด์ผักและผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามซึ่งมีเฉพาะที่ WinMart และ WinMart+ เท่านั้น
  • Masan Consumer – ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มหลากหลายประเภท ได้แก่ ซีอิ๊ว น้ำปลา เครื่องปรุงรส น้ำพริก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กสำเร็จรูป กาแฟสำเร็จรูป ซีเรียลสำเร็จรูป เครื่องดื่มบรรจุขวด เนื้อสัตว์แปรรูป และเบียร์ โดย ได้ขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่ายในประเทศ เพื่อครองตำแหน่งผู้นำในตลาดอาหารและเครื่องดื่มของเวียดนามผ่านแบรนด์หลักของบริษัท เช่น Chin-su, Nam Ngu, Tam Thai Tu, Omachi และ Kokomi เป็นต้น
  • Masan MEATLife – หนึ่งในแพลตฟอร์มเนื้อสัตว์แบบครบวงจร (Feed-Farm-Food) ที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม โดยมุ่งเน้นที่การขับเคลื่อนผลผลิตในอุตสาหกรรมโปรตีนจากสัตว์ของเวียดนาม ด้วยคุณภาพที่ได้มาตรฐาน และราคาที่คุ้มค่า ส่งตรงความสดใหม่ถึงมือผู้บริโภค เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในการเป็นบริษัทชั้นนำในตลาดเนื้อสัตว์ของเวียดนาม โดยเป็นโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์แห่งแรกและแห่งเดียวในเวียดนามที่ได้มาตรฐาน BRC Global Standard for Food Safety ในปี 2017 ประสบความสำเร็จในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แช่เย็นโดยใช้เทคโนโลยีและมาตรฐานการแปรรูปของยุโรปภายใต้แบรนด์ ‘MEATDeli’
  • Techcombank – ปัจจุบันเป็นหนึ่งในธนาคารพาณิชย์ร่วมทุนรายใหญ่ที่สุดในเวียดนามในแง่ของรายได้จากการดำเนินงาน โดยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการทางการเงินของกลุ่มผู้บริโภคที่เกิดใหม่ของเวียดนาม และองค์กรเอกชนที่กำลังเติบโตผ่านระบบนิเวศที่เน้นผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง
  • Masan High-Tech Materials – หนึ่งในบริษัทด้านทรัพยากรแร่และแปรรูปเคมีที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ปัจจุบันดำเนินโครงการ Nui Phao polymetallic ในเวียดนามเหนือ ซึ่งเป็นเหมืองทังสเตนที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังเป็นผู้ผลิตฟลูออร์สปาร์ (แร่ฟลูออไรต์) และบิสมัทที่มีความสำคัญระดับโลก วัตถุประสงค์ขององค์กรคือการแสดงให้โลกเห็นว่าบริษัทในเวียดนามสามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของตลาดทังสเตนทั่วโลก โดยมุ่งสำรวจโอกาสเพื่อให้องค์กรกลายเป็นธุรกิจทังสเตนปลายน้ำแบบบูรณาการในระดับสากลต่อไป

Hoa Phat Group (HPG)

ส่อง 8 'หุ้นเวียดนาม' เสือตัวใหม่แห่งเศรษฐกิจเอเชีย

‘Hoa Phat’ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตชั้นนำในเวียดนาม ก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม 1992 ในฐานะบริษัทผู้จัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ก่อสร้าง และค่อย ๆ ขยายธุรกิจไปสู่การผลิตและจัดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ ท่อเหล็ก เหล็ก เครื่องทำความเย็น อสังหาริมทรัพย์ และการเกษตร ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2007 Hoa Phat ได้รับการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการในตลาดหลักทรัพย์เวียดนามภายใต้สัญลักษณ์หุ้น ‘HPG’ ปัจจุบัน Hoa Phat มีการดำเนินธุรกิจใน 5 ภาคส่วน ผ่าน 17 บริษัทย่อยในเครือทั่วประเทศ ได้แก่

  1. เหล็กและเหล็กกล้า – ผลิตเหล็กก่อสร้าง เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กเส้น เหล็กม้วน บิลเล็ต ด้วยเทคโนโลยีเตาหลอมแบบปิดที่ทันสมัย
  2. ผลิตภัณฑ์เหล็ก – ผลิตท่อเหล็ก เหล็กชุบสังกะสี ลวดเหล็กรีด ลวดเหล็กอัดแรง และอื่น ๆ โดยให้บริการทั้งตลาดเหล็กในประเทศ รวมถึงส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น ประเทศแคนาดา ญี่ปุ่น และยุโรป
  3. เกษตรกรรม – ดำเนินธุรกิจด้านการเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีก การแปรรูปเนื้อสัตว์ ตลอดจนการผลิตอาหารสัตว์ ปุ๋ย และอุปกรณ์การเกษตร 
  4. อสังหาริมทรัพย์ – พัฒนาและสร้างอาคารที่พักอาศัย โครงการนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงอาคารสำนักงานสำหรับให้เช่าและขาย
  5. เครื่องใช้ในบ้าน – ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องใช้ภายในครัวเรือน เช่น ตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศสำหรับบ้านและสำนักงาน รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ

Hoa Phat Group ประกอบธุรกิจด้านการผลิตเหล็กเป็นหลัก โดยคิดเป็นรายได้และกำไรกว่า 80-90% ของกลุ่มบริษัท ด้วยกำลังการผลิตเหล็กดิบ 8 ล้านตันต่อปี พร้อมกับความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเหล็กยาวนานกว่า 30 ปี ส่งผลให้ Hoa Phat Group ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ในเวียดนามสำหรับตลาดเหล็กก่อสร้าง ท่อเหล็ก และเนื้อวัวออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

FPT Corporation (FPT)

ส่อง 8 'หุ้นเวียดนาม' เสือตัวใหม่แห่งเศรษฐกิจเอเชีย

‘FPT’ ก่อตั้งขึ้นในปี 1988 ภายใต้ชื่อ ‘The Food Processing Technology Company’ โดยเริ่มต้นจากการเป็นบริษัทเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร ซึ่งมี ‘Binh Gia Truong’ เป็นผู้ก่อตั้ง ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น ‘The Corporation for Financing and Promoting Technology’ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า FPT ในปี 1990 และได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการในตลาดหลักทรัพย์ Ho Chi Minh Stock Exchange (HOSE) ภายใต้สัญลักษณ์หุ้น ‘FPT’ ในปี 2006 จนกลายเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามมาถึงปัจจุบัน โดยมีมูลค่าบริษัทกว่า 4.00 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ส.ค. 2565)

FPT ดำเนินธุรกิจผ่าน 3 ภาคส่วน 10 บริษัทย่อยในเครือที่ให้บริการในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งได้แก่

  1. เทคโนโลยี (Technology) – ให้บริการโซลูชันดิจิทัลสำหรับบริการสำหรับการเงินและการธนาคาร และบริการด้านสุขภาพ ผลิตแผงวงจรขนาดเล็ก (microcircuit) ขายปลีกคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปีในเวียดนามและทั่วโลก พร้อมทีมวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมากกว่า 16,000 คน ให้บริการผ่านเครือข่ายสาขาและบริษัทในเครือเพื่อยืนเคียงข้างองค์กรด้วยโซลูชันและบริการที่เหมาะสมที่สุด
  2. โทรคมนาคม (Telecommunication) – ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตชั้นนำของเวียดนาม โดยมุ่งมั่นที่จะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้บริการที่น่าประทับใจให้กับลูกค้า ผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท เช่น FPT Internet ให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยแพ็คเกจที่หลากหลาย, FPT Television ให้บริการโทรทัศน์ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์, iOT/Smart Home เป็นต้น
  3. การศึกษา (Education) – บริษัทได้ขยายธุรกิจไปสู่ภาคการศึกษาอย่างเต็มรูปแบบผ่าน ‘FPT Education’ โดยมีเป้าหมายในการสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสูงออกสู่ตลาดแรงงาน โดยเปิดรับนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ไปจนถึงระดับอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมฝึกอบรมนักศึกษาต่างชาติ และโปรแกรมการฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับองค์กรอีกด้วย

Vietjet Air (VJC)

ส่อง 8 'หุ้นเวียดนาม' เสือตัวใหม่แห่งเศรษฐกิจเอเชีย

‘Vietjet Air’ เป็นสายการบินเอกชนราคาประหยัด (Low Cost Airline) แห่งแรกในเวียดนามที่ได้รับใบอนุญาตบินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ โดยได้รับอนุมัติให้ดำเนินการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเวียดนามในเดือนพฤศจิกายน 2007 และเริ่มให้บริการในเดือนธันวาคม 2011 ก่อนจดทะเบียนอย่างเป็นทางการในตลาดหลักทรัพย์ Ho Chi Minh Stock Exchange (HOSE) ภายใต้สัญลักษณ์หุ้น ‘VJC’ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2017  

เป้าหมายของ Vietjet Air คือการทำให้การขนส่งทางอากาศเป็นที่นิยมมากขึ้นในตลาดเวียดนาม ตลาดภูมิภาค และตลาดทั่วโลก ตามคติพจน์ “Enjoy Flying!” พันธกิจของบริษัทคือการทำให้ลูกค้าพึงพอใจด้วยการเดินทางทางอากาศที่รวดเร็ว ตรงเวลา สะดวกสบาย ปลอดภัย ราคาค่าโดยสารที่ประหยัด พร้อมทั้งการบริการจากพนักงานต้อนรับที่เป็นมิตรใส่ใจและมีคุณภาพ

กิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทแบ่งออกเป็น 5 ส่วนงาน ได้แก่ การขนส่งทางอากาศ การบริการที่เกี่ยวข้องสำหรับลูกค้า กิจกรรมสนับสนุนการขนส่งทางอากาศ การฝึกอบรมพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินและการบิน และการซื้อขายและให้เช่าเครื่องบิน นอกจากนี้ยังให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศของผู้โดยสารและสินค้าผ่านเที่ยวบินที่กำหนด การให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำ และการเช่าพื้นที่เครื่องบินเพื่อการโฆษณา

ด้วยจำนวนเครื่องบินที่ให้บริการมากกว่า 70 ลำ และจุดหมายปลายทางทั้งในประเทศและต่างประเทศมากกว่า 108 แห่ง ทำให้ Vietjet Air กลายเป็นสายการบินเอกชนรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม โดย Vietjet Air ยังคงมีความมุ่งมั่นในการขยายเส้นทางไปยังจุดหมายปลายทางใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมทั้งพัฒนาการบริการ การบิน และระบบที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ใช้บริการมั่นใจได้ว่าจะประทับใจในบริการเมื่อได้ร่วมเดินทางไปกับ Vietjet Air

ลงทุนหุ้นเวียดนามผ่านกองทุนรวม

กองทุนหุ้นเวียดนามในไทย ณ ปัจจุบัน (เดือนสิงหาคม 2565) มีทั้งหมด 14 กองทุนด้วยกัน ซึ่งในบทความนี้เราขอหยิบ 3 กองทุนมาพูดถึง ได้แก่ กองทุน PRINCIPAL VNEQ-A, ASP-VIET และ K-VIETNAM ใครอยากอ่านแบบเต็ม ๆ ทั้ง 14 กองทุนก็สามารถตามเข้าไปอ่านได้ที่ รีวิวกองทุนเวียดนาม ครบจบในที่เดียว!

PRINCIPAL VNEQ-A

นโยบายการลงทุน: ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือมีธุรกิจหลัก ในประเทศเวียดนามที่เชื่อว่ามีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต รวมทั้งตราสารทุนอื่นใดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องและ/หรือที่ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ ทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม และ/หรือตราสารทุนของผู้ประกอบการเวียดนามที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศอื่น และ/หรือกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน และ/หรือกองทุนรวม ETF หุ้นต่างประเทศที่เน้นลงทุนในตราสารทุนประเทศเวียดนาม โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศเวียดนาม, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน)

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 1.605% / Front-end Fee และ Switching-in – 1.50% / รวม – 2.345%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ซื้อกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A คลิก

ASP-VIET

นโยบายการลงทุน: ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือมีธุรกิจหลักในประเทศเวียดนาม ที่เชื่อว่ามีศักยภาพในการเติบโตและ/หรือมีแนวโน้มการเจริญเติบโตในอนาคต รวมทั้งตราสารทุนอื่นใดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องและ/หรือที่ได้รับ ผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือทรัพย์สินส่วนใหญ่ มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม และ/หรือหน่วย CIS ที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุน และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) หุ้นที่เน้นลงทุนในตราสารทุนประเทศเวียดนาม โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุน ASP-VIET จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศเวียดนาม และหมวดอุตสาหกรรม Financials, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน)

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 1.6100% / Front-end Fee และ Switching-in – 1.25% / รวม – 3.20%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ซื้อกองทุน ASP-VIET คลิก

K-VIETNAM

นโยบายการลงทุน: ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเวียดนามและ/หรือที่ดำเนินธุรกิจหรือได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม และ/หรือหุ้นของผู้ประกอบการเวียดนามที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศอื่น รวมทั้งหน่วย CIS หน่วย property หน่วย infra ที่เกี่ยวข้องกับประเทศเวียดนาม และ/หรือกองทุน ETF ที่เน้นลงทุนในหุ้นประเทศเวียดนาม โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุน K-VIETNAM จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศเวียดนาม และหมวดอุตสาหกรรม Financials, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน)

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 1.605% / Front-end Fee และ Switching-in – 1.50% / รวม – 2.1834%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

ซื้อกองทุน K-VIETNAM คลิก

ใครพร้อมจะเติบโตไปกับเศรษฐกิจของเสือตัวใหม่แห่งเอเชียอย่างเวียดนามแล้วก็เปิดบัญชีกับ FINNOMENA เพื่อเริ่มลงทุนได้เลย!

เวียดนามมีศักยภาพการเติบโตในอนาคตที่โดดเด่น รวมไปถึงการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตที่กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลงทุนในรูปแบบเก็งกำไร หรือลงทุนระยะยาว
👉 ลงทะเบียนรับคำแนะนำเพิ่มเติม คลิก >>> https://finno.me/fpick-vietnam-services

— planet 46.

อ้างอิง


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”