หลายคนอยากจะมีอิสระภาพทางการเงิน แต่พอพูดถึงเรื่องเกษียณ หลายคนมองข้ามไป หรือ ถ้าพูดถึงเรื่องเกษียณ หลายคนบอกว่า โอ้ยยย ยังอีกไกล

แต่จริงๆแล้ว…

ถ้าคุณจะเกษียณได้ คุณจะต้องมีอิสระภาพทางการเงิน
ถ้าคุณเกษียณโดยไม่มีอิสระภาพทางการเงิน
ชีวิตหลังเกษียณจะพบกับความยากลำบาก

ยาพิษทั้ง 6 คืออะไร?
พวกมันคือ ความเสี่ยง หรือ Risk ที่จะทำให้คุณมีปัญหาและอุปสรรค สำหรับชีวิตหลังอิสระภาพทางการเงิน! สำหรับชีวิตหลังเกษียณสุข! …เรามาดูยาพิษแต่ละตัวว่ามีอะไรบ้าง

ยาพิษตัวที่ 1 ความเสี่ยงอายุยืนยาว (Longevity Risk)

ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ระยะเวลาที่เขาจะมีชีวิตอยู่ ดังนั้นยิ่งอายุยาวนาน ยิ่งจะต้องใช้เงินมากขึ้น นี้คือความเสี่ยงที่เรียกว่า longevity risk ยิ่งอายุยืนยาว ยิ่งจะต้องใช้เงินมากขึ้น

ยาพิษตัวที่ 2 ความเสี่ยงโดนให้ออกจากงานก่อนวัย (Forced Retirement Risk)

ความเสี่ยงจากการโดนให้ออกจากงานก่อนวัย เช่นต้องโดนเข้า program early retirement ให้ออกจากงานในวัยอายุ 50 ปี ทั้งๆที่เราตั้งใจว่าจะเกษียณอายุ 55 ปี การที่ต้องเกษียณก่อนวัย ทำให้เราจะต้องเกษียณเงินมากขึ้น

ยาพิษตัวที่ 3 ความเสี่ยงที่จะเจออัตราเงินเฟ้อ (Inflation risk)

เงินเฟ้อจะทำให้มูลค่าเงินในอนาคตลดน้อยลง เช่น เงิน 1 ล้านบาทในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเท่ากับ เงิน 7แสนกว่าบาทในปัจจุบัน ดังนั้นถ้ายิ่งเราออมเงินโดยการฝาก Bank เพียงอย่างเดียว ซึ่งให้ดอกเบี้ยน้อยมากแค่ 1.x % เท่านั้น จะทำให้เงินที่เราเก็บไว้ใช้ยามเกษียณจะมีมูลค่าลดลง

ยาพิษตัวที่ 4 ความเสี่ยงผลตอบแทนในการลงทุน (Investment risk)

การลงทุนทั้งก่อนเกษียณและหลังเกษียณ มีความสำคัญไม่แพ้กัน ก่อนเกษียณเราจะเน้นลงทุนแบบเชิงรูก เร่งให้เกิดความมั่งคั่ง แต่หลังเกษียณ จะต้องเป็นเชิงรับมากขึ้น เนื่องจากถ้าพลาด จะไม่มีเงินเติมเข้ามาใหม่แล้ว ดังนั้นผลตอบแทนหลังเกษียณถ้าไม่แน่นนอน มีปัญหาหา เงินที่เราใช้ก็จะน้อยลงไปด้วย

ยาพิษตัวที่ 5 ความเสี่ยงในการใช้ชีวิต (Consumption risk)

จะเป็นเรื่องของ life style ที่ใช้เงินหลังจากเกษียณ ยิ่งมี Life style บริโภคนิยมหลังเกษียณมากเท่าไร ก็จะต้องเก็บเงินมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นถ้าเรามี Life style พอเพียง หลังจากเกษียณเราก็จะใช้เงินน้อยลงเป็นเงาตามตัว

ยาพิษตัวที่ 6 ความเสี่ยงค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพหลังเกษียณ (Health Expense Risk )

เป็นการยากมากที่เราจะคำนวณค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะการใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยใน ความเสี่ยงนี้ถือเป็นความเสี่ยงที่รุนแรงที่สุด เพราะเป็นการยากในการวางแผนค่าใช้จ่ายในอนาคต ยิ่งเงินเฟ้อของค่ารักษาพยาบาลสูงถึง 5-7% มากกว่าเงินเฟ้อทั่วไป

ผมย้ำอีกครั้งว่าสิ่งที่คุณควรจะทำคือ

“ จงวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณ
ไว้เป็นเป้าหมายหลักของชีวิตคุณ”

จงเปลี่ยนทัศนคติของคุณใหม่
“ จาก เกษียณเริ่มเมื่อไรก็ได้ เป็น เกษียณต้องเริ่มเดี๋ยวนี้”

sompoj patsuwan
สมพจน์ พัดสุวรรณ
#wealthguru