7 ข้อผิดพลาดของการวางแผนประกันภัย

คุณซื้อประกันไปแล้วกลับไม่ตรงกับความต้องการจริง?
คุณซื้อประกันตามแรงเชียร์ แรงขอจากตัวแทน?
คุณเชื่อมั่นในตัวเองมากไปในการเลือกซื้อประกัน?

ในรอบ 3-5 ปีที่ผ่านมา คนซื้อประกันกันมากขึ่้น เติบโตปีละ 10% ต่อปี โดยเฉพาะประกันสุขภาพ มีการเติบโตสูงเนื่องจาก ค่ารักษาพยาบาลแพงมาก แต่อย่างไรก็ตามยังมีคนจำนวนมาก ยังวางแผนประกันภัยผิดพลาด

1) ซื้อประกันช้าเกินไป!!!!!

คนประเภท มั่นใจในตัวเองมากเกินไป คิดว่า ตัวเองยังแข็งแรง ไม่น่าจะเจ็บป่วย หรือ ยังไม่ตาย คิดว่าประกันเป็นการจ่ายทิ้ง เอาเงินไปลงทุนดีกว่า ไม่ได้มองว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ร้ายแรงแล้ว ตัวของพวกเขาจะทำอย่างไร ทุกอย่างในโลกล้วนไม่จีรัง เปลี่ยนแปลงได้เสมอ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นกฎของธรรมชาติ คนกลุ่มนี้ ประมาทมากเกินไป

2) เอาเงินไปลงทุนเองดีกว่า ทำประกันสุขภาพ!!!!!

การประกันสุขภาพคือ การจัดการกับความเสี่ยงในอนาคต ด้านค่าใช้จ่ายสุขภาพ เป็นค่าใช้จ่ายแบบคงที่ เราบริหารจัดการการเงินของเราได้

ถ้าคิดว่าจะเก็บเงินไว้เอง ลงทุนเอง เพื่อจะจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล คุณจะต้องกั้นเงินไว้ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาล และที่สำคัญคุณไม่สามารถลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเช่นหุ้นได้ เพราะถ้าเกิดอะไรขึ้น เงินกองนี้จะต้องพร้อมในการถอนเงินออกมาใช้ ดังนั้นจะต้องเก็บไว้ในรูปของเงินฝากหรือตราสารนี้ ผลตอบแทนไม่เกิน 3% ต่อปีในขณะที่เงินเฟ้อของค่ารักษาพยาบาลอยู่ที่ 8% ต่อไป ลงทุนอย่างไรก็ไม่ทันแน่นอน

3) ซื้อแบบประกันไม่ตรงตามสิ่งที่ควรจะเป็น!!!!!

การประกันคือการปกป้องสินทรัพย์ที่มีค่ามากที่สุด คือ ตัวของคุณ แต่บางคนที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ควรจะมี ทุนประกันเยอะ แต่กลับซื้อประกันแบบออมทรัพย์ซึ่งจะให้ทุนน้อย อาจจะเนื่องจาก ตัวแทนมาขายประกันแบบเงินออม

การวางแผนประกันลำดับแรกคือ คุณจะต้องคิดก่อนว่า ถ้าตัวคุณเองเสียชีวิตไป ใครจะเดือดร้อนเช่น ลูกเมีย ถ้ามีคนเดือดร้อนมาก ให้ทำประกันแบบทุนประกันสูง แต่ถ้าไม่มีคนเดือดร้อนน้อย ก็จึงสามารถทำประกันแบบออมทรัพย์ได้

ลำดับต่อมาคือ คุณต้องคิดว่า ถ้าคุณมีปัญหาด้านสุขภาพ คุณจะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายเป็นค่าหมอ คุณจะต้องดูค่าใช้จ่ายของหมอในปัจจุบัน และดูว่าต้องนี้คุณมี สวัสดิการอะไรบ้าง สิ่งที่คุณมี กับ สิ่งที่ควรจะมีแตกต่างกันอย่างไร ก็ให้ทำประกันสุขภาพในส่วนที่แตกต่างกัน ควรจะทำประกันสุขภาพให้ครอบคุ้มโรงร้ายแรงเช่นมะเร็ง ไปด้วย

4) คิดว่า ประกันออมทรัพย์เป็นการฝากเงิน!!!!!

ผมเห็นบ่อยมากๆ คิดว่าประกันออมทรัพย์เป็นเงินฝาก ส่วนใหญ่เกิดจาก ตัวแทนจาก Bank บอกลูกค้าว่า ให้ย้ายเงินฝาก มาฝากกับประกัน ทำให้ลูกค้าเข้าใจผิดมากๆ ส่วนใหญ่เกิดจากตัวแทนไม่ได้คุณภาพ อยากจะขายของอย่างเดียว

5) พิจารณาเบี้ยประกันเป็นลำดับแรก!!!!!

กลุ่มนี้จะซื้อประกันตามเบี้ยเป็นลำดับแรก แต่ความจริงแล้ว ควรเริ่มจาก สิ่งที่เขาควรจะมีเป็นลำดับแรก เช่น ควรจะมีทุนประกัน 5 ล้าน มีประกันสุขภาพ ครอบคลุมถึงโรงร้ายแรง หลังจากนั้นค่อยมาดูว่า เบี้ยประกันเป็นเท่าไร ถ้าไม่ไหวจริงๆ ค่อยลดผลประโยชน์บ้างตัวออกไป อย่าซื้อประกันตามเบี้ย ซื้อประกันตามผลประโยชน์ที่จะได้

6) ไม่เคยตรวจสอบแผนประกันภัย

อย่าลืมว่าค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลมีแนวโน้มที่แพงขึ้นทุกๆ ปี เฉลี่ยแล้วปีละ 8%ต่อปี แม้ว่าปัจจุบันอาจจะซื้อประกันสุขภาพ ในระดับที่เหมาะสมแล้ว แต่อาจจะไม่พอกับค่ารักษาพยาบาลในอนาคตได้

บางคน ต้องทำประกันมีลูกแค่ 1 คน ต่อมามีลูก 2 คน มีภาระมากขึ้น หรือ บางคนมีรายได้มากขึ้น มีค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัวมากขึ้นตาม

ดังนั้น จึงควรต้องหมั่นตรวจสอบกรมธรรม์ของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อมีโอกาสปรับเพิ่มต่อๆ ไป ให้พอกับภาวะปัจจุบันเสมอ

7) ลืมวางแผนประกันสุขภาพหลังเกษียณอายุ

กลุ่มนี้มักจะเป็นกลุ่มที่มีประกันกลุ่มองค์กรอยู่แล้ว เลยยังไม่คิดที่จะซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติม ซึ่งปัญหาที่จะตามมา คือ เมื่อถึงยามเกษียณอายุ คือ สิ้นสุดการทำงานจากองค์กร!!!!

สวัสดิการที่บริษัทให้มักจะหมดไปด้วย ซึ่งถ้าอยากจะมีสวัสดิการต่อหลังเกษียณก็ต้องหาซื้อใหม่เอง แต่ปัญหาส่วนมากที่ตามมา คือ โอกาสในการซื้อจะยากขึ้น เนื่องจากเมื่อสูงอายุขึ้น ก็มักจะมีโรคประจำตัว ดังนั้น หากพอจะซื้อประกันสุขภาพก่อนตั้งแต่อายุน้อยๆ ก่อนเกษียณได้ก็จะปลอดภัยและ อุ่นใจกว่าในระยะยาว

และที่สำคัญอีกอย่างคือ!!!!! เมื่ออายุมากๆ เบี้ยประกันสุขภาพจะมีค่าเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้ แต่หลังเกษียณแต่กลับต้องมาเจอปัญหาเรื่องเบี้ยประกันสุขภาพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหากจ่ายเบี้ยไม่ไหวก็อาจทำให้ต้องทิ้งแผนคุ้มครองสุขภาพนั้นไปก็ได้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบเบี้ยประกันสุขภาพในอนาคตที่ต้องชำระตั้งแต่วันนี้ เผื่อเตรียมการรับมือโดยอาจจะวางแผนเรื่องการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อเตรียม พร้อมดอกเบี้ยประกันที่ต้องชำระในอนาคตได้

sompoj patsuwan
สมพจน์ พัดสุวรรณ
#wealthguru