เลือกอะไรดีระหว่าง RMF vs ประกันแบบบำนาญ เพื่อเกษียณ

ตัวแทนประกันบอกว่าซื้อประกันบำนาญเพื่อเกษียณ พนักงานธนาคารบอกว่า ซื้อ RMF เพื่อเกษียณ จะเชื่อใครดี แต่เอาไงดีนะ???

ก่อนที่เลือกซื้อสินค้าทางการเงินอะไร จะต้องเขียนการเงินสำหรับการเกษียณก่อน ผมขอทบทวนขั้นตอน ดังนี้

  • ต้องการเกษียณอายุเท่าไร และ อายุขัยเท่าไร
  • ต้องการเงินใช้หลังเกษียณเท่าไร (ก่อนคิดเงินเฟ้อ)
  • คำนวณเงินที่ควรจะต้องมี ณ วันเกษียณ
  • จัดพอรต์การลงทุน อาจจะใช้ กฏของ 100
    คือ 100 – อายุ = %สัดส่วนในการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง
  • คำนวณเงินที่จะต้องลงทุนต่อปี

เราลองมาเปรียบเทียบกันว่าจะเหมือนและแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ผมบอกได้เลยว่า ไม่มีแบบไหนดีกว่าแบบไหน  มีแต่แบบไหนเหมาะกับเราอย่างไร

5 ข้อหลักในการเปรียบเทียบ

1) การลดหย่อนภาษี

RMF

สามารถนำไปหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้พึงประเมิน แต่เมื่อรวมกับ ประกันแบบบำนาญและกองทุน กบข  จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ประกันแบบบำนาญ

สามารถนำไปหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้พึงประเมิน และสูงสุดได้ไม่เกิน 200,000 บาท แต่เมื่อรวมกับ ประกันแบบบำนาญและกองทุน กบข จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท

2) ความคุ้มครอง

RMF

ไม่มี

ประกันแบบบำนาญ

มีแต่ไม่มาก

3) ผลตอบแทนและความเสี่ยง

RMF

ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนเช่น อาจจะเน้นลงทุนหุ้น หรือ ลงทุนในตราสารหนี้  หรืออาจจะผสม

ประกันแบบบำนาญ

ผลตอบแทนต่ำและความเสี่ยงขึ้นกับ บ.ประกัน โดยทั่วจะเทียบเท่ากับลงทุนในความเสี่ยงต่ำ

4) การมีรายได้สม่ำเสมอ

RMF

จะต้องบริหารจัดการเงิน RMF หลังอายุ 55 ปีเอาด้วยตัวเอง

ประกันแบบบำนาญ

จะทยอยรับเงิน เหมาะกับคนที่ต้องการรายได้ที่ชัดเจนอย่างสม่ำเสมอ  โดยไม่ต้องเสียเวลาบริหารการลงทุนในตอนเกษียณอายุแล้ว โดยจะมีรายได้ตราบเท่ายังมีชีวิตอยู่

5) ความมั่งคั่งเพิ่ม

RMF

ถ้า RMF ลงทุนในหุ้น จะให้ผลตอบแทนที่มาก ขนาดที่ความเสี่ยงจะมากตามไปด้วย

ประกันแบบบำนาญ

จะมีการันตี รายได้สม่ำเสมอ ไม่ได้เน้นความมั่งคั่งเพิ่ม

โดยสรุปคือ

สิ่งที่เหมือนกันคือ ลดหย่อนภาษีได้เหมือนกันคล้ายกัน

สิ่งไม่เหมือนกันคือ RMF มีนโยบายการลงทุนหลากหลาย ขึ้นกับนโยบายการลงทุน มีโอกาศเพิ่มความมั่งคั่ง แต่มีโอกาศเกิดความไม่แน่น ของผลตอบแทนหลังเกษียณได้

ประกันแบบบำนาญ แหล่งรายได้ที่มีความแน่นอน จะการันตีเงินได้ ในช่วงหลังเกษียณให้กับคุณ

ข้อแนะนำในการเลือก อาจจะเลือกประกันแบบบำนาญในสัดส่วนของตราสารหนี้จะได้เพื่อให้มีความแน่นนอนของรายได้หลังเกษียณ และ ลงทุนใน RMF ในสัดส่วนของหุ้น เพื่อเพิ่มเติมความมั่งคั่ง

 “จงวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณไว้เป็นเป้าหมายหลักของชีวิตคุณ”

จงอย่ารอให้ลูกหลานเลี้ยง 
จงอย่ารอให้รัฐบาลเลี้ยง
จงอย่าคิดว่าเก็บเงินแค่ 10% จะเพียงพอ
จงอย่ากลัวการลงทุน
จงอย่ากลัวการทำประกันสุขภาพ

และสุดท้าย จงเปลี่ยนทัศคติของคุณใหม่ “ จาก เกษียณเริ่มเมื่อไรก็ได้ เป็น เกษียณต้องเริ่มเดี๋ยวนี้”

sompoj patsuwan
สมพจน์ พัดสุวรรณ