เรียนรู้การบริหารเงิน จากละคร "เมีย 2018"

คุณเรียนรู้อะไรบ้าง จากละครเมีย 2018 ?

วิธีการจัดการสามี !! เป็นมนุษย์เมีย 2018 ต้อง “สตรอง” แค่ไหน!!

ผมเป็นอีกคนที่ติดตามดู ละครเรื่องนี้ แม้จะไม่ได้เป็นแฟนพันธ์แท้ หลังจากดูแล้ว ผมขอแชร์บทเรียนเรื่องการเงินจากละคร “เมีย 2018” เริ่มจาก…

1) ธาดาบริหารเงินฉุกเฉินผิดพลาด

“กันยา” ได้ก่อเรื่องในงานปีใหม่ ตบตีกับน้องฟ้าใส ทำให้ Boss ใหญ่ตัดสินใจไล่ธาดาออก ทำให้ “ธาดา” ที่โดนไล่ออกจากงาน กำลังหาที่อยู่ใหม่ และกลุ้มใจมาก เพราะเงินสดติดตัว 2 แสนกว่าบาท!!

แสดงให้เห็นว่า “ธาดาไม่ได้วางแผนเงินสดสำรองฉุกเฉินเลย”

อะไรคือ เหตุการณ์ฉุกเฉินบ้าง

เจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ อุบัติเหตุของสินทรัพย์ (เช่น ไฟไหม้บ้าน ท่อประปาแตก) และการตกงาน

การเจ็บป่วยและอุบัติเหตุต่างๆ สามารถจะโอนความเสี่ยงไปประกันได้ แต่ความเสี่ยงในการตกงาน ควรจะมีเงินสดอย่างน้อย 3-6 เดือน เท่าของรายจ่ายต่อเดือน เช่น มีรายจ่ายต่อเดือน 100,000 บาท ควรจะมีเงินสดขั้นต่ำ 300,000 บาท

ตัวเลข 3-6 นำมาจาก ระยะเวลาที่สามารถหางานใหม่ได้ ดังนั้นถ้าอายุมากขึ้นเช่น 50 ปี การหางานใหม่ก็จะนานขึ้น อาจจะมากกว่า 3-6 เดือน แปลว่าเงินสดสำรองฉุกเฉินก็ควรมากขึ้นตาม

2) ธาดาบริหารหนี้สินระยะสั้นผิดพลาด

หลังจาก ธาดาตกงาน กันยาก็ยังคงใช้บัตรเครดิตของธาดา รูดซื้อของ ธาดาพลาดการบริหารจัดการหนี้ระยะสั้น ไม่ได้จำกัดวงเงินในบัตรเครดิต ธาดาควรจะมีตรวจสอบ อัตราส่วนเกี่ยวกับสภาพคล่องและหนี้สินดังนี้

  • เงินสด / หนี้สินระยะสั้น (หนี้บัตรเครดิต + หนี้ที่มีอายุผ่อนชำระ ไม่เกิน 1 ปี) > 1

ถ้าธาดามีเงินสด 200,000 หนี้บัตรเครดิตจะต้องไม่เกิน 200,000

  • อัตราส่วนการชำระคืนหนี้ ที่ไม่เกี่ยวกับการจดจำนอง (ไม่รวมหนี้ผ่อนบ้าน) < 15-20%

ถ้าธาดามีเงินเดือน 200,000 บาทต่อเดือน ธาดาควรจะผ่อนชำระหนี้ต่างๆ (ไม่รวมผ่อนบ้าน) ไม่ควรเกิน 15-20%  คือมากที่สุด 60,000 บาทต่อเดือน

3) อรุณา ไม่มีแผนสำหรับ Worst Case ของชีวิตคู่


ข้อมูลจาก https://themomentum.co/momentum-feature-divorce-not-fail/

จะเห็นว่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2549-2559 ที่ผ่านมามีคู่สามีภรรยาจดทะเบียนสมรสลดน้อยลงทุกปี แต่กลับมีคู่แต่งงานที่ตัดสินใจเซ็นใบหย่าเพิ่มสูงขึ้นสวนทางกันทุกปี อัตราการหย่าร้างใน พ.ศ. 2559 เพิ่มขึ้นจาก
พ.ศ. 2549 ถึง 33%

ในอดีตผู้หญิงส่วนใหญ่จะต้องเป็นแม่บ้านเลี้ยงลูก อยู่บ้านให้คุณสามีเป็นหัวหน้าครอบครัว พอเกิดปัญหาขึ้นก็ก้าวออกไปใช้ชีวิตด้วยตัวเองไม่ได้ จึงต้องทนอยู่ในสถานะดังกล่าว

แน่นอนไม่มีใครอยากจะแต่งงาน แล้วจะต้องหย่าจากกัน อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างก็เกิดขึ้นได้ ถ้าผู้หญิงจะต้องลาออกมาเป็นแม่บ้านอย่างเดียว จะต้องคุยเรื่องการเงินกับผู้ชายให้ชัดเจน และควรจะมีงานที่ทำเสริมด้วย Worst Case ของชีวิตคู่ไม่ใช่มีแค่ การหย่าร้าง แต่รวมไปถึงการเสียชีวิตของผู้ชายด้วย ก็ควรจะมีการทำประกันเพื่อจัดการความเสี่ยงตรงนี้ไว้ด้วย

4) ความรักและเงินตรา ต้องเป็นศีลเสมอกัน

จากหลักธรรมของคู่ชีวิต พระพุทธเจ้าได้แนะนำว่า คู่ชีวิตควรจะมี ศีลเสมอกัน

“ผู้มีศรัทธาเสมอกัน”
“มีศีลเสมอกัน”
“มีจาคะเสมอกัน”
“มีปัญญาเสมอกัน”

ผมขอเพิ่มเติมอีกข้อ คือ “มี Mindset การเงินเสมอกัน”

Mindset การเงินเสมอกัน มิใช่มีรายได้ มีสถานะการเงินระดับเดียวกัน แต่ต้องการวิธีคิดและบริหารการเงินเหมือนกัน ผมมีเคล็ดลับง่ายๆ เพื่อช่วยให้คุณคุยเรื่องการจัดการเงิน ในครอบครัว

  • Share ความผิดพลาดที่เจ็บปวดเรื่องเงินในอดีต
  • ถามเกี่ยวกับความหวังและความฝันของการดำเนินชีวิตของคุณและคู่รักของคุณ
  • แบ่งปันเป้าหมายทางการเงินในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวของคุณและคู่รักของคุณ
  • อภิปรายเกี่ยวกับงบประมาณที่ใช้ร่วมกันหรือแผนการใช้จ่ายเพื่อจัดการการเงินรายวัน
  • กำหนดแผนการเงินของแต่ละคน รวมไปถึงอนาคตถ้าจะต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน

ดูละครแล้ว ต้องย้อนกลับมาดูตัวเอง…

ถ้าคุณเป็น อรุณา จะจัดการเรื่องเงินอย่างไร?
ถ้าคุณเป็น ธาดา จะจัดการเรื่องเงินอย่างไร?

เพราะทุกอย่างล้วนไม่แน่นอน…

ซักวันเหตุการณ์เหล่านี้อาจจะเกิดกับคุณได้ จะต้องเรียนรู้และหาทางป้องกันไว้…

– WealthGuru –