ไขข้อสงสัย! รวม 9 เรื่องต้องรู้ ก่อนลงทุนทองคำที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน!

“ทองคำ” คือสินทรัพย์ยอดนิยมที่เป็นความฝันของคนไทยทั้ง 70 ล้านคน ไม่ว่าใคร ๆ ก็อยากเป็นเจ้าของทองคำแท่งซึ่งเป็นแหล่งสะสมความมั่งคั่งที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก แต่รู้หรือไม่? มีคนซื้อ-ขายทองคำกว่า 99% ไม่รู้ 9 เรื่องนี้!

วันนี้ Finnomena ขอมาแชร์ “9 เรื่องที่ต้องรู้ ก่อนซื้อขายทองคำ” จะมีอะไรบ้าง? ลองมาดูกัน

9 สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนซื้อขายทองคำ | อะไรคือสิ่งที่คนซื้อ-ขายทอง 99% ไม่รู้?

1. ทองคำมักจะราคาขึ้นช่วงต้นเดือนมกราคมและต้นเดือนกรกฏาคม

โดยเฉลี่ยของทุก ๆ ปี ทองคำมักจะราคาขึ้นช่วงต้นเดือนมกราคมและต้นเดือนกรกฏาคม และมักจะราคาลงช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์-ต้นเดือนมีนาคม ดังนั้นถ้าใครคิดจะซื้อทองช่วงที่ดีที่สุดคือเดือนกรกฎาคมและมกราคม นอกจากนั้นราคาทองคำยังไม่ค่อยลงต่ำกว่าราคาของเดือนมกราคม ดังนั้นถ้าปีไหนราคาทองตกลงมาเท่าราคาของเดือนมกราคม โอกาสที่คุณจะซื้อทองแล้วขาดทุนมีน้อยมาก (ข้อมูลจาก BundesBank)

2. ราคาทองไม่ได้อัปเดตตลอดเวลา

ราคาทองนั้นสมาคมไม่ได้อัปเดตตลอดเวลา แต่จะอัปเดตเป็นช่วง ๆ ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงสำหรับคนที่กำลังจะซื้อหรือขายทองคำ พลาดราคาไปชั่วโมงเดียวมีโอกาสขาดทุนหลายหมื่นได้ตามปริมาณการซื้อมากน้อยต่างกันไป ใครอยากดูราคาทองคำที่อัปเดตแบบ Real-Time สามารถเปิดเว็บไซต์ Finnomena แล้วเข้าไปที่หน้า GOLD ได้เลย ติดตามไว้ก่อนซื้อขายทองจะได้ไม่ต้องขาดทุน

3. ทองคำให้ผลตอบแทนดีกว่าพันธบัตรรัฐบาลในช่วงตลาดผันผวน

ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ใช้ในการลงทุนช่วงตลาดผันผวนที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าสินทรัพย์อย่างพันธบัตรรัฐบาลและใกล้เคียงกับหุ้นในระยะยาวเลยทีเดียว ถ้าถือทองคำ 10-20 ปี จะมีโอกาสได้ผลตอบแทนต่อปี 5-10% เลยทีเดียว

4. ควรซื้อทองคำแท่งมากกว่าทองรูปปพรรณ

ถ้าเงินถึง ควรซื้อทองแบบเป็นแท่งมากกว่าแบบที่แปรรูปเป็นเครื่องประดับแล้ว เรียกกันในวงการว่า “ทองรูปพรรณ” การซื้อทองคำแท่งจะโดนค่ากำเหน็จในการแปรรูปที่ต่ำกว่า นอกจากนั้นการเก็บเป็นแท่งยังเก็บง่ายกว่ามากด้วย ด้วยเหตุนี้ทองคำจึงออกมาเป็นรูปแบบของแท่งที่สามารถตั้งซ้อน ๆ กันได้

5. ยิ่งซื้อทองที่มีมูลค่าสูง ยิ่งมีค่ากำเหน็จต่ำลง

ยิ่งซื้อทองที่มีมูลค่าสูง ยิ่งมีค่ากำเหน็จต่ำลง แต่ก็มีข้อเสียคือ แบ่งขายลำบาก หาคนซื้อต่อได้ยาก และมีโอกาสเจอของปลอมสูงขึ้น เนื่องจากคนที่ทำทองปลอมก็มักจะทำออกมาเป็นแท่งขนาดใหญ่เพื่อให้ได้มูลค่ามาก ๆ นั่นเอง นอกจากนั้นการขายทองแท่งใหญ่ ๆ ยังจำเป็นต้องมีการตรวจสอบก่อนซื้อ และแน่นอนตามมาด้วยค่าตรวจสอบ

6. เอาทองคำไทยไปขายต่างประเทศจะโดนกดราคา

เอาทองคำไทยไปขายต่างประเทศจะโดนกดราคา เพราะไม่ได้มาตรฐานตามบ้านเขา ทองไทยบริสุทธิ์ 96.5% ทองต่างประเทศบริสุทธิ์ 99.99% ที่สำคัญถ้าอยากนำไปขายต่างประเทศต้องเป็นแบรนด์ที่ได้รับการรองรับจาก LBMA หรือสมาคมตลาดทองคำแห่งลอนดอน

7. ซื้อทองที่ไหนควรขายที่นั่น

กฎเหล็กในการซื้อ-ขายทองคือซื้อที่ไหนควรขายที่นั่นเพื่อไม่ให้เจอปัญหาการกดราคา

8. ทองคำแท่งเป็นสินค้าต้องห้ามนำออกไปขายต่างประเทศ

ตามหลักการแล้วทองคำแท่งเป็นสินค้าที่ “ต้องห้าม” ในการนำออกไปขายต่างประเทศ แต่ก็มีการนำออกไปกันบ้าง โดยถ้าอยากขายทองในต่างประเทศ ที่ที่ขายง่ายที่สุดคือ China Town ของแต่ละประเทศนั่นเองครับ

9. สามารถลงทุนทองคำแบบดิจิทัลได้แล้ว

ทองลงทุนเป็นทองคำดิจิทัลได้แล้ว คล้าย ๆ กับการซื้อ-ขายสัญญาส่งมอบทองคำ ค่าธรรมเนียมถูกกว่าค่ากำเหน็จเยอะ ทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและลง แถมยังมั่นใจได้ว่าเป็นทองคำแท้ ๆ แน่นอน

ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กับสินทรัพย์ประเภทอื่นต่ำและมีสภาพคล่องสูง จะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ราคาทองคำมักปรับตัวขึ้นสวนทางกับสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ ที่ปรับตัวลดลงท่ามกลางความกังวลของนักลงทุน

นักลงทุนส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ทองคำเป็นสินทรัพย์กระจายความเสี่ยงให้พอร์ตการลงทุน พอร์ตการลงทุนที่มีสัดส่วนทองคำที่เหมาะสมจะทำให้เผชิญความเสี่ยงต่ำกว่าพอร์ตการลงทุนที่ไม่มีทองคำอยู่ ดังนั้นพอร์ตใครที่ยังไม่มีทองคำแนะนำให้มีทองคำติดพอร์ตไว้บ้าง โดยสัดส่วนที่เหมาะสมคือ 5-10% ของพอร์ต

แม้ว่าทองคำจะเหมาะกับการใช้เป็นสินทรัพย์กระจายความเสี่ยง แต่ทองคำก็เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงในตัวเองเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ความเสี่ยงจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ นโยบายการเงินของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ฯลฯ ประโยคที่กล่าวว่า “ทองคำเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย” อาจจะใช้ไม่ได้ในทุกสภาวะตลาด การศึกษาและทำความเข้าใจในสินทรัพย์จึงเป็นสิ่งที่ควรทำก่อนลงทุนในทุกสินทรัพย์

พิเศษ! ติดตามราคาทองคำแบบ Real-Time ทั้งทองไทยและทองโลก บนเว็บไซต์ Finnomena ได้แล้ววันนี้ คลิกเลย https://finno.me/gold-web

Finnomena Admin

 


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต