ทำความรู้จักกับ NDID พร้อมสอนวิธียืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีกับ FINNOMENA

สำหรับการเปิดบัญชีแบบใหม่กับ FINNOMENA ที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค. เป็นต้นไป

ในบทความนี้ FINNOMENA Admin ขอพาไปทำรู้จักกับ “บริการ NDID” บริการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัลที่จะทำให้ชีวิตของทุกคนสะดวกยิ่งขึ้น พร้อมวิธีการยืนยันตัวตนผ่าน NDID เพื่อเปิดบัญชีกับ FINNOMENA แบบ step by step

สารบัญ

NDID คืออะไร?

ทำความรู้จักกับ NDID พร้อมสอนวิธียืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีกับ FINNOMENA

National Digital ID (NDID) Platform คือ Platform กลางของประเทศไทยในการเป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อเชื่อมโยงหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าด้วยกัน

เป็นระบบกลางสำหรับบริหารจัดการ Digital ID เพื่อสนับสนุนกระบวนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เช่น การตรวจพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (e KYC) การลงนามด้วยลายมือชื่อดิจิทัล (e Signature) การให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e Consent) เป็นการสร้างมาตรฐานและยกระดับการทำธุรกรรมต่าง ๆ ให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างระบบ Data Sharing โดยทำหน้าที่เชื่อมต่อข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการ Data Sharing ดังกล่าวต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนจึงจะสามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้

หลักการออกแบบระบบ NDID เป็นแบบ Data Security and Privacy by Design เป็นบริการที่มี ความปลอดภัยสูงด้วยการเข้ารหัสในการรับส่งข้อมูล และระบบไม่มีการรวมศูนย์เก็บข้อมูล ข้อมูลยังคงอยู่กับหน่วยงานที่ดูแลข้อมูลและให้บริการลูกค้า ระบบถูกออกแบบภายใต้แนวคิด Decentralized ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งผู้ดูแลระบบคือ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด จะไม่สามารถเห็นข้อมูลใดๆของลูกค้า ทั้งนี้ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างธนาคารพาณิชย์ไทย บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุน บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเลกทรอนิกส์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทไปรษณีย์ไทย รวมมากกว่า 60 บริษัท ซึ่งแต่ละบริษัทอยู่ภายใต้การกำกับ จึงมั่นใจได้ว่าหน่วยงานที่กำกับและบริษัทเหล่านั้นต้องปฏิบัติตามกฏหมายและกฏเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลอย่างแน่นอน

โดย NDID Platform มีสมาชิกอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

  1. RP (Relying Party): หน่วยงานซึ่งเป็นผู้ให้บริการโดยตรงกับลูกค้า และต้องการระบบยืนยันตัวตน โดยให้บริการลูกค้าได้ทั้ง F2F (Face to Face) และ NonF2F ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องการรับบริการรูปแบบใหม่ เพื่อให้สามารถหาลูกค้าใหม่ได้มากขึ้น พร้อมทั้งช่วยในการลดต้นทุนการบริการ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกัน บริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อ เป็นต้น
  2. IdP (Identity Provider): หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่พิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ขอใช้บริการ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) โดยสามารถออกสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนได้ เช่น Mobile Banking หน่วยงานเหล่านี้ได้แก่ ธนาคาร และบริษัทโทรคมนาคม
  3. AS (Authoritative Source): หน่วยงานที่มีข้อมูลส่วนบุคคลที่น่าเชื่อถือของผู้ขอใช้บริการ เช่น ธนาคาร บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (NDB) และหน่วยงานรัฐ

จุดเด่นของ NDID

  • ลดความยุ่งยาก ซับซ้อนในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนที่เปลืองทรัพยากรเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเวลาและแรงงาน
  • ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้รับบริการสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา และไม่ต้องมีหลาย ID
  • ยกระดับการทำธุรกรรมของประเทศไทยให้มีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากล โดยมีความปลอดภัยสูงกว่าการทำธุรกรรมที่มีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยสำเนาบัตรประชาชน

ข้อควรทราบเกี่ยวกับ NDID Platform

  • NDID Platform ไม่ใช่ระบบเก็บข้อมูลรวมศูนย์ ข้อมูลส่วนบุคคลยังคงเก็บอยู่ที่สมาชิกทั้ง 3 ประเภท คือ RP, IdP และ AS ดังนั้น NDID จึงไม่เห็นข้อมูลการทำธุรกรรม
  • NDID เก็บแค่ข้อมูล Timestamp บนระบบ Blockchain ว่าสมาชิกมีการร้องขอการพิสูจน์และยืนยันตัวตนไปที่ IdP ใด ณ เวลาใด และ AS ใด มีการส่งข้อมูลกลับไปยัง RP เวลาใดเช่นกัน
  • การส่งข้อมูลจาก AS กลับมายัง RP เป็นการส่งนอก NDID Platform แต่รับส่งกันด้วยมาตรฐานที่ NDID เป็นผู้ออกแบบให้ จึงมั่นใจได้ว่า NDID จะไม่เห็นข้อมูลใด ๆ ของลูกค้า

ขั้นตอนการลงทะเบียนรับบริการ NDID

อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่ามีบัญชีธนาคารแล้วจะสามารถใช้ NDID ได้เลย เพราะเราต้องผ่านลงทะเบียน NDID กับธนาคารเพื่อรับบริการ NDID ก่อน ซึ่ง FINNOMENA Admin ก็ได้รวบรวมวิธีการลงทะเบียนรับบริการ NDID ของแต่ละธนาคารมาไว้ให้แล้ว

    • ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) คลิก
    • ธนาคารกรุงเทพ (BBL) คลิก
    • ธนาคารกรุงไทย (KTB) คลิก
    • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) คลิก
    • ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) คลิก
    • ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) คลิก
    • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย (CIMB) คลิก
    • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (GHB) คลิก

วิธีตรวจสอบว่ามี NDID กับธนาคารใด

อ่านมาถึงตรงนี้ก็คงจะมีคำถามว่าแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามี NDID กับธนาคารไหนบ้าง?” ใครที่มีคำถามนี้อยู่ก็ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะ FINNOMENA Admin ได้รวบรวมวิธีการตรวจสอบว่าเรามี NDID กับธนาคารใดมาไว้ให้แล้ว คลิกที่ลิงก์ด้านล่างได้เลย

วิธีตรวจสอบว่ามี NDID กับธนาคารใด

การยืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีกับ FINNOMENA

การยืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ FINNOMENA สามารถทำได้ 2 ช่องทาง ได้แก่

  1. ยืนยันตัวตนผ่าน NDID ที่แอปพลิเคชันธนาคารที่เข้าร่วมเครือข่าย NDID
  2. ยืนยืนตัวตนผ่าน Counter Service ที่ 7-Eleven

ซึ่งจะเลือกยืนยันผ่านช่องทางไหนก็สามารถเลือกได้ตามความสะดวกของแต่ละคนเลย แต่ขอเน้นไว้ว่าให้ เลือกทำเพียงช่องทางเดียวเท่านั้น นะ ซึ่งในบทความนี้ FINNOMENA Admin จะพาไปยืนยันตัวตนผ่าน NDID เพื่อเปิดบัญชีกับ FINNOMENA ส่วนใครที่สะดวกช่องทาง Counter Service ก็สามารถศึกษาขั้นตอนได้โดยการคลิกที่ลิงก์ด้านล่างเลย

ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่าน Counter Service เพื่อเปิดบัญชีกับ FINNOMENA

ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่าน NDID เพื่อเปิดบัญชีกับ FINNOMENA

ก่อนที่จะพาทุกคนไปดูขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่าน NDID เพื่อเปิดบัญชีกับ FINNOMENA แบบ step by step แล้วก็ขอพาทุกคนมาตรวจสอบตัวเองให้พร้อมก่อนด้วย Checklist ทั้ง 5 ข้อ ซึ่งได้แก่

  1. มีบัญชีธนาคาร (ไม่ใช่บัญชีออนไลน์) กับธนาคารที่ต้องการใช้บริการ
    • สำหรับ SCB ต้องเป็นบัญชีที่เปิดตั้งแต่ ก.ย. 62 เป็นต้นไป
  1. เคยเสียบบัตรประชาชนที่สาขาของธนาคารที่ต้องการใช้บริการ
    • สำหรับ KBANK สามารถเสียบบัตรที่ตู้ K-Check ID ได้
    • สำหรับ BBL และ SCB เมื่อเสียบบัตรแล้วจะต้องรอวันถัดไป (ธนาคารอื่นใช้งานได้ทันที)
  1. เคยถ่ายรูปยืนยันตัวตนที่สาขาของธนาคารที่ต้องการใช้บริการ
    • สำหรับ KBANK ต้องถ่ายรูปยืนยันตัวตนที่แอปฯ K PLUS
    • สำหรับ BBL สามารถถ่ายรูปยืนยันตัวตนได้ทั้งที่แอปฯ Bualuang mBanking หรือที่สาขาธนาคาร
  1. มีแอปพลิเคชันธนาคารที่ต้องการใช้บริการซึ่งพร้อมใช้งาน
  2. เคยลงทะเบียน NDID กับธนาคารที่ต้องการใช้บริการ

ถ้าตรวจสอบตัวเองแล้วมีครบถ้วนทั้ง 3 ข้อก็สามารถยืนยันตัวตนผ่าน NDID เพื่อเปิดบัญชีกับ FINNOMENA ได้แล้ว โดยการยืนยันตัวตนผ่าน NDID ของธนาคารต่าง ๆ เพื่อเปิดบัญชีกับ FINNOMENA มีขั้นตอนดังนี้

กรณีดาวน์โหลดหรืออัปเดตแอปพลิเคชันก่อนวันที่ 23 ธ.ค. 2564

ทำความรู้จักกับ NDID พร้อมสอนวิธียืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีกับ FINNOMENA

กรณีดาวน์โหลดหรืออัปเดตแอปพลิเคชันตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 2564 เป็นต้นไป

ทำความรู้จักกับ NDID พร้อมสอนวิธียืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีกับ FINNOMENA

ทำความรู้จักกับ NDID พร้อมสอนวิธียืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีกับ FINNOMENA

ทำความรู้จักกับ NDID พร้อมสอนวิธียืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีกับ FINNOMENA

ขั้นตอนการใช้บริการ NDID

ไม่ว่าจะคุณจะใช้งานแอปพลิเคชันของธนาคารใดอยู่ FINNOMENA Admin ก็ได้รวบรวมขั้นตอนการใช้บริการ NDID ของแต่ละธนาคารมาไว้ให้แล้ว

  • ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) คลิก
  • ธนาคารกรุงเทพ (BBL) คลิก
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) คลิก
  • ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) คลิก
  • ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKPB) คลิก
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย (CIMB) คลิก
  • ธนาคารออมสิน (GSB) คลิก
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (GHB) คลิก
  • ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) คลิก

คำถามที่อาจพบ

  • Q: การยืนยันตัวตนผ่าน NDID และ Counter Service เพื่อเปิดบัญชีกับ FINNOMENA มีค่าใช้จ่ายหรือไม่?
    • A: ไม่มีค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ช่องทาง
  • Q: สามารถมี NDID หลายธนาคารได้หรือไม่?
    • A: มีหลายธนาคารได้
  • Q: ธนาคารที่ใช้สำหรับการยืนยันตัวตนผ่าน NDID กับธนาคารที่ใช้สำหรับอนุมัติหักบัญชีธนาคารอัตโนมัติ (ATS) ต้องเป็นธนาคารเดียวกันหรือไม่?
    • A: ไม่จำเป็นต้องเป็นธนาคารเดียวกัน
  • Q: สามารถยืนยันตัวตนผ่านทั้ง NDID และ Counter Service 2 ช่องทางเลยได้หรือไม่?
    • A: ไม่ได้ ต้องเลือกช่องทางใดช่องทางหนึ่ง 
  • Q: หลังจากที่ยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชันของแต่ละธนาคารเสร็จ ระบบจะสลับเข้าแอปพลิเคชั่น FINNOMENA เพื่อทำรายการต่อโดยอัตโนมัติหรือไม่?
    • A: ไม่ ต้องทำการกดเข้าแอปพลิเคชั่น FINNOMENA อีกครั้งเพื่อทำรายการต่อ
  • Q: สามารถยืนยันตัวตนผ่าน NDID หรือ Counter Service ก่อนการเปิดบัญชีได้หรือไม่?
    • A: ไม่ได้
  • Q: หากยืนยันตัวตนผ่านช่องทางใดช่องทางหนึ่งไม่ผ่าน สามารถยืนยันตัวตนผ่านอีกช่องทางหนึ่งได้หรือไม่?
    • A: สามารถทำได้ เช่น ในกรณีที่ยืนยันตัวตนผ่าน NDID ไม่ผ่าน สามารถเปลี่ยนไปยืนยันตัวตนผ่าน Counter Services ได้

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ผ่านทางช่องทาง Live Chat บนแอปพลิเคชัน FINNOMENA หรือ LINE “@FINNOMENAPORT” หรือโทร 02 026 5100