มีเงิน 500,000 บาท จัดพอร์ตยังไงให้ชนะทุกสภาวะตลาด

ต้องยอมรับเลยว่าตลาดการเงินในช่วงนี้เจอมรสุมอย่างหนักจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่สถานการณ์เริ่มรุนแรงขึ้นทุกที การเดินหน้านโยบายการเงินแบบเข้มงวดของธนาคารสหรัฐฯ (Fed) ที่ส่งสัญญาณในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังกลับมาวิกฤตอีกครั้งในหลาย ๆ ประเทศ

ความอลหม่านของสถานการณ์โลกทำให้สินทรัพย์ทางการเงินผันผวนกันทั่วหน้า หุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง ราคาน้ำมันและทองคำปรับตัวขึ้นท่ามกลางความไม่แน่นอน ส่งผลให้หลาย ๆ คนรู้สึกสับสนกับตลาดช่วงนี้ ไม่รู้ว่าจะจัดพอร์ตการลงทุนอย่างไรดี บทความนี้เราขอนำตัวอย่างการจัดพอร์ตที่จะช่วยให้คุณสามารถเอาชนะได้ในทุกสภาวะตลาดมาฝากกัน

จัดพอร์ตอย่างไรให้ชนะทุกสภาวะตลาด

หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า ‘อย่าเก็บไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว’ หากพูดในความหมายของโลกการลงทุน ประโยคนี้ก็หมายความว่า ‘การกระจายความเสี่ยง’ นั่นเอง คงไม่มีสินทรัพย์ใดที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในทุกช่วงเวลา และเราก็ไม่อาจรู้อนาคตแน่นอนได้ว่าโลกจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง บางคนพอร์ตมีแต่สินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นอยู่เต็มพอร์ต แต่พอเกิดขึ้นสถานการณ์ที่ทำให้หุ้นปรับตัวลดลงกลายเป็นว่าเปิดพอร์ตมาแดงแจ๋ติดดอย  หรือบางคนพอร์ตมีแต่สินทรัพย์เสี่ยงต่ำ ในช่วงที่ตลาดขึ้นก็อาจจะเสียโอกาสที่จะทำให้พอร์ตของเราเติบโตไปได้อีก

ดังนั้น ‘Asset Allocation’ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการลงทุน หากคุณกำลังมองหาพอร์ตการลงทุนที่จะช่วยให้คุณสามารถเอาชนะได้ในทุกสภาวะตลาดได้ วันนี้เราขอแนะนำให้ได้รู้จักกับพอร์ต ‘All Weather Strategy (AWS)’ ซึ่งเป็นพอร์ตการลงทุนที่ทางทีมงานของ ดร. Andrew Stotz จับมือร่วมกับทีมงาน FINNOMENA Investment Team สรรค์สร้างขึ้นมา โดยมีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาวให้ได้มากที่สุด สัดส่วนหุ้นในพอร์ตสามารถปรับเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 25-85% ตามสถานการณ์ พร้อมลดความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นด้วยการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ทั้งตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำ เพื่อช่วยปกป้องพอร์ตในสภาวะตลาดผันผวน นอกจากนี้ ยังเน้นลงทุนในกองทุน Passive Index ที่มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำและสมเหตุสมผล ไม่ฉุดรั้งผลตอบแทนระยะยาวของนักลงทุน

จุดเด่นพอร์ต All Weather Strategy

  • ใช้ ‘FVMR Framework’ เป็นกลยุทธ์ในการลงทุน ซึ่งประกอบไปด้วย Fundamental (พื้นฐานของสินทรัพย์), Valuation (มูลค่าของสินทรัพย์), Momentum (โมเมนตัมของสินทรัพย์) และ Risk (ความเสี่ยง)
  • กระจายการลงทุนไปทั่วโลก ไม่จำกัดเพียงแค่ในประเทศไทย
  • มีการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์หลายประเภท ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำ เพื่อช่วยลดความผันผวน พร้อมเฟ้นหาโอกาสลงทุนใหม่ ๆ ตามสภาวะตลาดอยู่เสมอเพื่อให้ผลตอบแทนเติบโตอย่างสม่ำเสมอ
  • สร้างผลตอบแทนระยะยาวจากหุ้น และจำกัดการขาดทุนในช่วงที่ตลาดหุ้นพักฐาน
  • ใช้หลักการวิเคราะห์ทั้งเชิงประมาณ (Quantitative) ที่ใช้สูตรและโมเดลทางคณิตศาสตร์ และเชิงคุณภาพ (Qualitative) ที่ใช้ประสบการณ์และความรู้ของทีมงาน เพื่อให้ได้พอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมที่สุด
  • ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาท และไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมในการจัดพอร์ตลงทุน

มีเงิน 500,000 บาท จัดพอร์ตยังไงให้ชนะทุกสภาวะตลาด

สัดส่วนการลงทุนของพอร์ต All Weather Strategy

มีเงิน 500,000 บาท จัดพอร์ตยังไงให้ชนะทุกสภาวะตลาด

สัดส่วนการลงทุนของพอร์ต AWS แบ่งตามประเภทสินทรัพย์
ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2565 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

อย่างที่บอกไปว่าพอร์ต ‘All Weather Strategy’ จะเน้นกระจายความเสี่ยงผ่านการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภททั่วโลก โดยเน้นลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้น ด้วยสัดส่วน 45% ผ่านกองทุน K-EUX เป็นตัวแทนหุ้นยุโรปในสัดส่วน 5% กองทุน SCBS&P500 เป็นตัวแทนหุ้นสหรัฐฯ ในสัดส่วน 25% กองทุน K-JPX เป็นตัวแทนหุ้นญี่ปุ่นในสัดส่วน 5% กองทุน TISCOAP เป็นตัวแทนหุ้นเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) ในสัดส่วน 5% และกองทุน TISCOGEM เป็นตัวแทนของหุ้นตลาดเกิดใหม่ในสัดส่วน 5%

สำหรับตราสารหนี้ พอร์ต AWS ลงทุนด้วยสัดส่วน 5% โดยเลือกใช้กองทุน TMBTM เป็นตัวแทนตราสารหนี้ภาครัฐ และสัดส่วนที่เหลืออีก 50% จะกระจายการลงทุนไปในสินค้าโภคภัณฑ์และทองคำ โดยลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ด้วยสัดส่วน 25% ผ่านกองทุน SCBCOMP ในสัดส่วน 20% กองทุน PRINCIPAL GCF ในสัดส่วน 5% และกองทุน TMBGOLDS ที่เป็นตัวแทนของทองคำในสัดส่วน 25%

เจาะลึกกองทุนในพอร์ต All Weather Strategy

SCBS&P500

สัดส่วนการลงทุน 25%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน iShares Core S&P 500 ETF เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน SCBS&P500 จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี S&P 500 โดยมีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี S&P 500 

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนี (Passive Management)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศสหรัฐฯ  และหมวดอุตสาหกรรม Information Technology, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งหมด โดยคิดเป็น 96.59% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ)

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 1.00% / Front-end Fee และ Switching-in – 0.50% / Back-end Fee และ Switching-out – ยกเว้น / รวม 1.11%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

K-EUX

สัดส่วนการลงทุน 5%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน iShares EURO STOXX 50 UCITS ETF (DE)เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน K-EUX จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักเป็นกองทุน ETF ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นเยอรมัน XETRA ซึ่งมีนโยบายการลงทุนให้ผลตอบแทนเป็นไปตามดัชนีหุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดมากที่สุด 50 ตัวแรกในกลุ่มประเทศ Eurozone หรือดัชนี EURO STOXX 50

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนี (Passive Management)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศฝรั่งเศส และเยอรมัน และหมวดอุตสาหกรรม Consumer Discretionary, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ไม่น้อยกว่า 75% ของเงินลงทุนต่างประเทศ)

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 0.5350% / Front-end Fee และ Switching-in – ยกเว้น / Back-end Fee และ Switching-out – 0.15% / รวม 0.8231%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

K-JPX

สัดส่วนการลงทุน 5%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน NEXT FUNDS TOPIX Exchange Traded Fund (JPY) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน K-JPX จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักเป็นกองทุน ETF ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นญี่ปุ่น ซึ่งมีนโยบายการลงทุนให้ผลตอบแทนเป็นไปตามผลตอบแทนของดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่น TOPIX

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนี (Passive Management)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศญี่ปุ่น, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน ไม่น้อยกว่า 75% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ)

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 0.5350% / Front-end Fee และ Switching-in – ยกเว้น / Back-end Fee และ Switching-out – 0.15% / รวม 0.9747%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

TISCOAP

สัดส่วนการลงทุน 5%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน Lyxor MSCI AC Asia Pacific Ex Japan UCITS ETF เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน TISCOAP จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักเป็นกองทุน ETF ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (Singapore Exchange Limited: SGX) มีนโยบายการลงทุนในหุ้นเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี MSCI AC Asia-Pacific Ex Japan Net Total Return

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนี (Passive Management)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศจีน และหมวดอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหมวดการเงิน, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ประมาณ 90% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ)

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 1.0700% / Front-end Fee – 1.00% / Back-end Fee – ไม่เรียกเก็บ / Switching-in และ Switching-out – ไม่มี / รวม 1.3570%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

TISCOGEM

สัดส่วนการลงทุน 5%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน Vanguard FTSE Emerging Markets ETF เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน TISCOGEM จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักเป็นกองทุน ETF ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (New York Stock Exchange, “NYSE Arca”) โดยมีวัตถุประสงค์ลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนของกองทุนให้ใกล้เคียงกับ ผลตอบแทนของดัชนี FTSE Emerging Markets All Cap China A Inclusion ซึ่งเป็นดัชนีที่ประกอบ ด้วยหุ้นของบริษัทที่มีมูลค่าตลาดขนาดใหญ่ กลาง และเล็กของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนี (Passive Management)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศจีน และหมวดอุตสาหกรรมเทคโนโลยี, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ประมาณ 90% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ)

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 1.0700% / Front-end Fee – 1.00% / Back-end Fee – ไม่เรียกเก็บ / Switching-in และ Switching-out – ไม่มี / รวม 1.3050%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

TMBTM

สัดส่วนการลงทุน 5%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในตราสารตลาดเงินภาครัฐ ในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน หรือพันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน ทั้งนี้ เงินส่วนที่เหลือ กองทุนจะลงทุนในเงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินหรือบัตรเงินฝากที่ออกโดยสถาบัน การเงินหรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น โดยกองทุน TMBTM จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 1

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากความผันผวนของมูลค่าหน่วยลงทุน โดยกองทุนนี้มี Portfolio Duration เท่ากับ 0.17 ปี (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ม.ค. 2565), ค่าความผันผวนของผลการดำเนินงานกองทุนรวม (SD) ต่อปี น้อยกว่า 5%

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 0.10% / Front-end Fee และ Switching-in – ไม่มี / Back-end Fee และ Switching-out – ไม่มี / รวม 0.2143%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

SCBCOMP

สัดส่วนการลงทุน 20%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน PIMCO Commodity Real Return Fund เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน SCBCOMP จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 8

กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในตราสารอนุพันธ์ รวมถึงสัญญาแลกเปลี่ยนตราสาร (swap agreement) ต่าง ๆ สัญญาฟิวเจอร์ สัญญาออปชั่น ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง และ/หรือ หุ้นกู้อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ จึงเพิ่มศักยภาพในการที่จะลงทุนได้ตามดัชนี รวมถึงดัชนีย่อยต่าง ๆ ที่อ้างอิงกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (ซึ่งอาจไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงดัชนีใดดัชนีหนึ่งภายใต้ตระกูลดัชนีของ Bloomberg Commodity) ตราสารเหล่านี้จะสร้างผลตอบแทนของการลงทุนในการตลาดสินค้าโภคภัณฑ์โดยไม่จำเป็นที่จะ ลงทุนโดยตรงในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ และลงทุนในกลุ่มตราสารหนี้ทั่วโลกที่มีอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ ทั้งนี้ กองทุนอาจจะลงทุนในหุ้น รวมถึงหลักทรัพย์แปลงสภาพของผู้ออกตราสารในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศสหรัฐฯ  และหมวดอุตสาหกรรม Energy และ Agriculture, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งหมด โดยคิดเป็น 93.92% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ) กองทุนนี้มีความเสี่ยงสูงและซับซ้อน ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนการทำธุรกรรม

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 1.61% / Front-end Fee และ Switching-in – 0.5350% / Back-end Fee และ Switching-out – ยกเว้น / รวม 1.73%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

PRINCIPAL GCF

สัดส่วนการลงทุน 5%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน Merrill Lynch MLCX Commodity Enhanced Beta Fund เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน PRINCIPAL GCF จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 8

กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้หรือหุ้น เพื่อสร้างผลการดำเนินงานของกองทุนให้มีมูลค่าใกล้เคียงกับผลตอบแทนจากการลงทุนในดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ Merrill Lynch Commodity Index eXtra 03 (MLCX03 Index) ซึ่งมีโครงสร้างการลงทุนแบบ Umbrella Structure ที่มีเงินทุนผันแปร

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนี (Passive Management / Index Tracking)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน)

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 0.268% / Front-end Fee – 1.07% / Back-end Fee – ไม่เรียกเก็บ / รวม 0.624%

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรก: 1,000 บาท
  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งถัดไป: 1 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

TMBGOLDS

สัดส่วนการลงทุน 25%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในทองคำแท่ง (Gold Bullion) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุน ทั้งนี้ กองทุน SPDR Gold Trust ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสิงคโปร์ ซึ่งบริษัทจัดการจะทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสิงคโปร์ โดยกองทุน TMBGOLDS จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 8

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนี (Passive Management / Index Tracking)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน)

ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 1.1770% / Front-end Fee และ Switching-in – ไม่มี / Back-end Fee และ Switching-out – ไม่มี / รวม 1.3161%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

ผลการดำเนินงานย้อนหลังของพอร์ต AWS

มีเงิน 500,000 บาท จัดพอร์ตยังไงให้ชนะทุกสภาวะตลาด

เปรียบเทียบผลการดำเนินงานพอร์ต AWS และพอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40
ข้อมูล ณ วันที่ 1 มี.ค. 2565 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

แม้ว่าจะเจาะลึกถึงรายละเอียดของกองทุนในพอร์ต All Weather Strategy แบบเน้น ๆ ไปแล้ว แต่ข้อมูลที่หลายคนอยากรู้มากที่สุดคงหนีไม่พ้น ‘ผลการดำเนินงานย้อนหลัง’ อย่างแน่นอน พอร์ต AWS สร้างผลตอบแทนได้มากกว่า 5.2% เมื่อเทียบกับพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 นับจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 นอกจากนี้ยังมีความผันผวนต่ำกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 อีกด้วย โดยผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน พอร์ต AWS ทำไปได้ถึง 0.7% ในขณะที่ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนแบบดั้งเดิม 60/40 ขาดทุนที่ -2.6% ซึ่งนับตั้งแต่จัดตั้ง พอร์ต AWS ขาดทุนน้อยกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 ถึง 80% ใน 10 วันที่หุ้นโลกทำผลงานได้ย่ำแย่ที่สุด

ความเจ๋งของพอร์ตนี้ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ อย่างที่บอกไปว่ากลยุทธ์ของพอร์ตนี้คือมีการปรับพอร์ตเพื่อให้เข้ากับสภาวะตลาดอยู่เสมอ และจะจำกัดการขาดทุนเมื่อตลาดหุ้นโลกปรับตัวลง โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ทีมงานได้มองเห็นถึงโอกาสการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ จึงได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ถึง 20% นั่นคือกองทุน SCBCOMP กองทุนสินค้าโภคภัณฑ์ที่เน้นลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมพลังงาน และลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลง จากความกังวลเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 ที่ผ่านมาจนถึงปี 2565 นี้ ‘น้ำมัน’ กลายเป็นสินทรัพย์ที่มาแรงอย่างต่อเนื่อง พอร์ต AWS จึงได้รับอานิสงค์จากการปรับสัดส่วนลงทุนในครั้งนี้ด้วย

โดยล่าสุดในเดือนมีนาคม 2565 ก็มีการปรับสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลง จาก 65% เหลือ 45% โดยลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นยุโรปเหลือ 5% จาก 25% เป็นผลมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งรัสเซียยูเครน และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในทองคำซึ่งทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย จากเดิม 5% เป็น 25% 

.

ใครอยากลงทุนพอร์ตนี้ด้วยเงินลงทุน 500,000 บาท ตามสัดส่วนที่แนะนำในบทความนี้ แถมยังได้ที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวแบบฟรี ๆ ลองให้ ‘FINNOMENA Exclusive’ บริการที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัว เป็นตัวช่วยให้คุณลงทุนได้อย่างมั่นใจ  ด้วยที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวมากประสบการณ์ที่จะช่วยติดตามสถานะการลงทุน และอัปเดตข่าวสารให้คุณทราบอย่างสม่ำเสมอ พร้อมแจ้งทันทีหากต้องมีการปรับพอร์ตตามสถานการณ์ตลาดเพื่อให้คุณไม่พลาดทุกโอกาสการลงทุน

รับบริการได้ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาท  ใครสนใจรับบริการสุด Exclusive แบบนี้ สามารถกรอกข้อมูลเพื่อขอรับบริการได้เลยที่

https://finno.me/500k-aws-web

อ้างอิง


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน  จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนการลงทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

iran-israel-war