เปิดโพยกองทุนน่าสะสม

Highlight

MEVT Call FINNOMENA togehter

รูปที่ 1: CITI Economic Surprise Index | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 12/10/2023

CITI Economic Surprise Index ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างตัวเลขเศรษฐกิจจริงกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ ที่อยู่ในแดนบวกบ่งชี้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจดีกว่าคาดการณ์ ขณะที่ CITI Economic Surprise Index ของสหภาพยุโรปและจีน แม้จะอยู่ในแดนติดลบ แต่มีทิศทางที่ฟื้นตัวสู่ระดับใกล้เคียงศูนย์มากขึ้น บ่งชี้ถึงการแย่กว่าคาดที่น้อยลงเรื่อย ๆ 

MEVT Call FINNOMENA togehter

รูปที่ 2: Global Manufacturing PMI | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 12/10/2023

สอดคล้องกับการประกาศ Manufacturing PMI ของทั่วโลก ที่แม้หลาย ๆ ประเทศ อาทิ เวียดนาม เกาหลีใต้ จีน และสหรัฐฯ จะยังต่ำกว่า 50 จุด บ่งชี้ถึงการหดตัว แต่ยังอยู่ในแนวโน้มฟื้นตัวเมื่อเทียบกับช่วง 3 เดือนก่อนหน้า

MEVT Call FINNOMENA togehter

รูปที่ 3: คาดการณ์ GDP จาก IMF และ3 Months Revision | Source: FINNOMENA FUNDS, IMF as of 12/10/2023

สอดคล้องกับการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ที่ระบุว่าการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2023 นั้น ยังมีสหรัฐฯ อินเดีย และจีนที่โดดเด่น โดยเป็นการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2023 2.1%, 6.3% และ 5.2% ตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาการปรับคาดการณ์ขึ้นเมื่อเทียบกับ 3 เดือนก่อนหน้า ที่สหรัฐฯ ถูกปรับคาดการณ์เพิ่มขึ้นทั้งในปี 2023 และ ปี 2024 0.3% และ 0.5% ตามลำดับ สะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

MEVT Call FINNOMENA togehter

รูปที่ 4: Vietnam GDP และประมาณการ | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 05/09/2023

ขณะที่เศรษฐกิจของเวียดนามขยายตัวมากกว่าที่คาด โดย GDP เติบโตขึ้น 5.3% YoY ใน 3Q23 เทียบกับการขยายตัว 4.1% YoY ใน2Q23 โดยปรับตัวขึ้นจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัว 5.1% ในเดือนกันยายน หลังจากหดตัว 0.4% ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกที่ฟื้นตัวขึ้นจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัวขึ้นในไตรมาสถัดไปต่อจากนี้

MEVT Call FINNOMENA togehter

รูปที่ 5: การขาดดุลการคลังของรัฐบาลจีน | Source:  Bloomberg as of 16/10/2023

ด้านจีนยังคงมีมาตรการการเงินเสริมสภาพคล่องอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มาตรการการคลังซึ่งนักลงทุนคาดหวังนั้นยังไม่เกิดขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีมากขึ้นจากรัฐบาลจีน ทั้งความพยายามป้องกันเงินทุนไหลออกไปลงทุนต่างประเทศ การเข้าซื้อหุ้นของกองทุนความมั่งคั่งจีน และการระบุถึงความเป็นไปได้ในการเพิ่มการขาดดุลงบประมาณปี 2023 ด้วยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมอย่างน้อย 1.3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อบรรลุเป้าหมายการเติบโตที่ระดับ 5% หนุนให้มาตรการการคลังมีโอกาสเห็นภาพชัดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจจีนให้น่าสนใจเมื่อเทียบกับทั่วโลก

MEVT Call FINNOMENA togehter

รูปที่ 6: Global CPI % YoY | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 12/10/2023

ด้านเฟ้อที่ต่ำของจีน สามารถกลับมาอยู่ในแดนบวกได้อีกครั้ง 2 เดือนต่อเนื่อง ส่งผลให้ความเป็นไปได้ของปัญหาเงินฝืดลดลง เช่นเดียวญี่ปุ่นเงินเฟ้อยังสูงกว่าเป้าเล็กน้อย ส่งผลให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังสงวนท่าทีต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ สวนทางเงินเฟ้อในฝั่งประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ และยุโรป ที่อยู่ในแนวโน้มลดลง 

MEVT Call FINNOMENA togehter

รูปที่ 7: คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยของ Fed, BoE, ECB และ BoJ | Source : FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 12/10/2023

ส่งผลให้แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลักๆ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ใกล้สิ้นสุด ลดแรงกดดันต่อเศรษฐกิจและตลาดโลกลง
MEVT Call FINNOMENA togehterรูปที่ 8: Global expected EPS growth & EPS revision (%) | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 29/10/2023

ขณะที่เมื่อพิจารณาไปยังคาดการณ์การเติบโตของกำไร และการปรับคาดการณ์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพบว่า

  • ดัชนี S&P 500 ซึ่งเป็นดัชนีขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโต 12% ในปี 2024
  • ดัชนี Nasdaq 100 ซึ่งเป็นดัชนีที่มีสัดส่วนของหุ้นเติบโตและเทคโนโลยีในระดับที่สูง ซึ่งถูกกดดันโดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา เมื่อแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเริ่มชัดเจนมากขึ้น ประกอบกับความสามารถในการลดต้นทุนที่ดีกว่าหุ้นวัฏจักรอื่นๆ จึงถูกปรับเพิ่มคาดการณ์ขึ้นอย่างโดดเด่น
  • เกาหลีใต้ ยังถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโตสูงในปี 2024 จากการผ่านภาวะ Destocking ไปแล้ว ประกอบกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังแข็งแกร่งกว่าคาด และความคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนในอนาคต ซึ่งหนุนให้เกาหลีใต้ซึ่งพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักได้รับอานิสงส์เชิงบวก สอดคล้องกับการปรับคาดการณ์ที่อยู่เหนือตลาดอื่นๆ
  • เช่นเดียวกับ เวียดนาม ที่มีคู่ค้าหลักคือจีน และสหรัฐฯ พร้อมด้วยมาตรการการเงินและการคลังในเชิงผ่อนคลาย ทำให้คาดการณ์การเติบโตของกำไรและการปรับคาดการณ์ยังอยู่ในระดับสูงเหนือตลาดหุ้นอื่นๆ
  • ด้านตลาดหุ้นจีน ยังถูกคาดการณ์เติบโตของกำไรในปี 2024 เหนือค่าเฉลี่ย แต่ภาพมาตรการการคลังที่ยังไม่ชัดเจน ส่งผลให้ยังถูกปรับลดคาดการณ์ลงอย่างต่อเนื่อง

MEVT Call FINNOMENA togehter

รูปที่ 9: Global PE Valuation (10 year percentile) | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 29/10/2023

ด้าน Valuation ตลาดหุ้นผ่อนคลายความตึงตัวลงจากการปรับฐานในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่ถูกปรับคาดการณ์กำไรเพิ่มขึ้น อาทิ

  • ดัชนี S&P 500 ลดลงมาสู่ระดับ 18.0X ใกล้เคียงค่าเฉลี่ย 10 ปี
  • ดัชนี KOSPI เกาหลีใต้ ลดลงมาสู่ระดับ 10.3X ใกล้เคียงค่าเฉลี่ย 10 ปี
  • ดัชนี VN30 ที่ P/E ลดลงมาสู่ระดับ 10.3X และ 8.4X ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีอย่างมีนัยสำคัญ
  • ดัชนี CSI 300 ที่อยู่ระดับ 10.8X ขณะที่ดัชนี MSCI China อยู่ที่ 9.8X ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี ทั้งสองดัชนี

หนุนให้หลายตลาดยังมีความน่าสนใจในการลงทุนจาก Upside ที่เปิดกว้างมากขึ้น พร้อมด้วย Downside ที่จำกัดลงจาก Valuation ที่คลายตัว

FINNOMENA FUNDS Investment Team จึงแนะนำ ทยอยสะสมสินทรัพย์ตาม MEVT Call ดังต่อไปนี้

เปิดโพยกองทุนน่าสะสม

สำหรับนักลงทุนสาย Contrarian หรือนักลงทุนที่ชอบลงทุนสวนตลาด แนะนำทยอยสะสมกองทุน SCBKEQTG ซึ่งลงทุนในหุ้นเกาหลีใต้ผ่าน iShares MSCI South Korea ETF และกองทุน K-CHINA-A(A) ซึ่งลงทุนในหุ้น All China ผ่านกองทุน JPMorgan China Funds จาก Valuation ที่ถูกของทั้งสองตลาด ท่ามกลางภาวะการลงทุนที่นักลงทุนจำนวนมากกังวล แต่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งจากเศรษฐกิจโลกที่แข็งแกร่งกว่าคาดซึ่งจะช่วยหนุนเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าอิเล็คทรอนิคส์จำนวนมาก และการเตรียมพิจารณากระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากทางการจีน ซึ่งจะช่วยหนุนโอกาสการฟื้นตัวของทั้ง 2 ตลาด เมื่อประกอบกับ Valuation ที่ต่ำ ทำให้มี  Upside ที่เปิดกว้างและ Downside ที่จำกัด

เปิดโพยกองทุนน่าสะสม

สำหรับนักลงทุนสาย Trend Following หรือนักลงทุนที่ชอบลงทุนในตลาดหุ้นขาขึ้น แนะนำลงทุนในกองทุน AFMOAT-HA ซึ่งลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ที่มีปราการทางธุรกิจ หรือความได้เปรียบด้านการแข่งขันสูง เพื่อคาดหวังการเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว เพื่อรับโอกาสจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งกว่าคาด พร้อมด้วยนโยบายการเงินที่ใกล้สิ้นสุดวัฏจักรขาขึ้น ลดแรงกดดันต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจลง บน Valuation ของตลาดที่คลายความตึงตัวลงจากการพักฐานช่วงที่ผ่านมา 

อีกทั้งเมื่อพิจารณาในเชิงเทคนิคบน S&P 500 TF Week พบว่าการปรับฐานช่วงที่ผ่านมานั้นมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นการปรับฐานเพื่อกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้ง จากการ False Break ลงต่ำกว่า 4,300 จุด ระหว่างสัปดาห์ แต่สามารถกลับมาปิดเหนือได้ในที่สุด  ซึ่งเป็นระดับ Fibonacci 61.8 ของรอบขาลงเมื่อปี 2022 สอดคล้องกับ TF Day ที่ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาลงมาทดสอบเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน (MA200) แล้วไม่ลดลงต่ำกว่า พร้อมปรับตัวขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 20 วันได้อีกครั้ง บ่งชี้ถึงโอกาสการกลับตัวเป็นขาขึ้นในระยะสั้นและกลางต่อไป

เปิดโพยกองทุนน่าสะสม

สำหรับนักลงทุนระยะยาว (Long Term Investing) แนะนำลงทุนในกองทุน UGIS-N ซึ่งลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก บนธีมหลักคือการสร้างรายได้สม่ำเสมอ (Income Theme) พร้อมด้วยการควบคุมความเสี่ยงอย่างเข้มข้นที่ทำให้กองทุนนี้โดดเด่นเรื่องความผันผวนที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับกองทุนในหมวดเดียวกัน เมื่อประกอบกับอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ทั่วโลกที่สูงในรอบกว่า 20 ปี จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา และแนวโน้มยุติการขึ้นอัตราดอกเบี้ยหนุนใหการลงทุนในตราสารหนี้น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งทั้งในแง่ของการลงทุนเพื่อรับโอกาสระยะกลางจากการยุติการขึ้นดอกเบี้ย และลงทุนระยะยาวตามหลักการกระจายสินทรัพย์ (Asset Allocation) เพื่อกระจายความเสี่ยง

นอกจากนั้นแล้วยังแนะนำทยอยสะสมกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A ซึ่งลงทุนในหุ้นเวียดนาม หนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงในระยะยาว จากการมีโครงสร้างประชากรที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ การเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain ที่สำคัญกับมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างจีนและสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณา Valuation ที่ถูกในปัจจุบัน เมื่อประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการเงินและการคลังที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง หนุนให้เวียดนามเป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าลงทุนเพื่อคาดหวังการเติบโตในระยะยาวอย่างยิ่ง

สรุปมุมมองการลงทุน MEVT CALL แนะนำโดยกูรู FINNOMENA FUNDS Together

เปิดโพยกองทุนน่าสะสม

ศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/ 

FINNOMENA FUNDS Investment Team


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย |  คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในกรอบระยะเวลาตามวัตถุประสงค์การลงทุนที่แตกต่างกันตามคำแนะนำ | บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

iran-israel-war