ปรับพอร์ต FINNOMENA

ถึงเวลาปรับพอร์ตรูปที่ 1: Inverted yield curve และ Maximum drawdown ของดัชนี S&P 500 | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 28/08/2023

การเกิด Inverted Yield Curve หรือ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาวต่ำกว่าพันธบัตรระยะสั้น ซึ่งสะท้อนถึงความกังวลเศรษฐกิจถดถอยในอนาคต มักตามมาด้วยการปรับตัวลงของตลาดหุ้น ซึ่งในรอบนี้เกิดขึ้นมานานกว่า 13 เดือน พร้อมกับการปรับตัวลงของดัชนี S&P500 ซึ่งปรับตัวลงนานกว่า 1 ปี โดยมี Max Drawdown มากกว่า -27% โดยมีความแตกต่างจากวิกฤติครั้งก่อนหน้าที่ตลาดหุ้นจะปรับตัวลงหลังจากเกิด Inverted yield curve ไปก่อนระยะหนึ่ง ทำให้เป็นข้อบ่งชี้สำคัญว่าตลาดหุ้นได้มีการ Price in ความกังวลเศรษฐกิจถดถอยไปมากแล้ว

ถึงเวลาปรับพอร์ต

รูปที่ 2: คาดการณ์กำไรต่อหุ้นของดัชนี S&P 500 | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 28/08/2023

ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ยังออกมาดีกว่าคาดเป็นส่วนใหญ่ และมุมมองของผู้บริหารที่ระบุถึงโอกาสการขยายตัวของผลประกอบการในอนาคต ส่งผลให้เริ่มเห็นการปรับคาดการณ์กำไรเพิ่มขึ้นในปีนี้ สะท้อน Sentiment เชิงบวกมากขึ้น

รูปที่ 3: 12M Forward PE ของดัชนี S&P 500 | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 28/08/2023

จนกระทั่งเดือนสิงหาคม ดัชนี S&P 500 ได้ปรับตัวลง 2% หลังจากข่าวความกังวลในการปรับอันดับเครดิตธนาคารพานิชย์สหรัฐฯ โดย Fitch และ Moody’s อีกทั้งความกังวลเรื่องวกฤติอสังหาฯ ของจีนที่ยังไม่จบ และตลาดจับตาดูทิศทางนโยบายทางการเงินในการประชุม Jackson Hole ทำให้ ดัชนี S&P500 มี Valuation ที่ถูกลงสู่ระดับ FWD P/E 20.19 เท่า แม้เหนือค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 17.01 เท่าแต่ยังต่ำกว่าระดับ 1 S.D. ที่ 20.32 เท่า บ่งชี้ถึง valuation ที่สมเหตุสมผลมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า

ปรับพอร์ต

รูปที่ 4: ผลการดำเนินงานของ The Magnificent 7 และดัชนี S&P 500 | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 28/08/2023

การปรับตัวขึ้นของดัชนี S&P 500 ในปีนี้ ได้รับอานิสงค์จากหุ้น The Magnificent 7 (Apple, Microsoft, Alphabet, Amazon, META, Tesla และ Nvidia) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่าง The Magnificent 7 และดัชนี S&P 500 จะเห็นว่าผลการดำเนินงานที่ปรับตัวขึ้นมาสูงมาพร้อมกับความเสี่ยงที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน เราจึงแนะนำการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ที่มีสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มนี้น้อย

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 5: ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ และอัตราการเช่าซ้ำของผู้เช่าใหม่ | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 28/08/2023

ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ ปัจจัยหลักที่สร้างแรงกดดันให้ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นมาสู่ระดับสูงสุดในรอบ 17 ปี มีแนวโน้มปรับตัวลงสู่กรอบเป้าหมาย อีกทั้งเงินเฟ้อด้านที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นเงินเฟ้อฝั่ง service ที่ขยายตัวขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา เริ่มปรับตัวลงมา

ถึงเวลาปรับพอร์ต

รูปที่ 6: อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐ และคาดการณ์การเปลี่ยนแปลง | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 28/08/2023

หลังการสัมมนาที่ Jackson Hole นักลงทุนคาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้ ที่ระดับ 5.25-5.50% ปรับขึ้นจากผลสำรวจก่อนการประชุมและเดือนก่อนหน้า สะท้อนว่าตลาดได้ price in ข้อมูลการขึ้นดอกเบี้ยไปบางส่วนแล้ว

ถึงเวลาปรับพอร์ต

รูปที่ 7: สถิติผลตอบแทนของตราสารหนี้โลกหลัง Fed หยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ย |Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 28/08/2023

สถิติผลตอบแทนโดยเฉลี่ยเมื่อเข้าลงทุนหลังจาก Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 7% เป็นปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้การลงทุนในตราสารหนี้โลกมีความน่าสนใจ

FINNOMENA FUNDS Investment Team จึงแนะนำปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ และหุ้นโลก หลังจากการปรับตัวลงของตลาดและทำให้ valuation ตึงตัวน้อยลงกว่าช่วงก่อนหน้า เพื่อรับโอกาสการสร้างผลตอบแทนจาก Sentiment ที่ดีมากขึ้น ทั้งในพอร์ต GAR และ GIF เพื่อเพิ่มโอกาสการไปถึงเป้าหมายของพอร์ตการลงทุน

และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้โลก เมื่อแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยสรัฐฯ ใกล้สิ้นสุดในพอร์ต GCP และ RIS เพื่อเพิ่มผลตอบแทนส่วนเพิ่มแทนกองทุนตราสารหนี้ไทย และเพิ่มกระแสเงินสดในพอร์ต RIS โดยยังเน้นคุมความเสี่ยงและความผันผวนของทั้งสองพอร์ตให้อยู่ในระดับต่ำ

อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้ว่าจะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2023 แต่ยังมีความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัวในปี 2024 อยู่ เราจึงแนะนำเข้าลงทุนในกองทุนที่มีการควบคุมความเสี่ยงที่ดี อย่าง AFMOAT-HA และ ABGDD-R เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนบนความเสี่ยงที่เหมาะสม

AFMOAT-HA

ถึงเวลาปรับพอร์ต

รูปที่ 8: สัดส่วนการลงทุนใน MOAT ETF | Source: FINNOMENA FUNDS, VanEck as of 29/08/2023

AFMOAT-HA มีนโนบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน VanEck Morningstar Wide Moat ETF (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว และมีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% และกองทุนมุ่งหวังให้ผลกระกอบการ เคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก โดยกองทุนหลักใช้กลยุทธ์การบริหารกองทุนเชิงรับ (Passive management strategy)

ABGDD-R

ถึงเวลาปรับพอร์ต

รูปที่ 9: สัดส่วนการลงทุนในกองทุน ABGDD-R | Source: FINNOMENA FUNDS, Aberden as of 29/08/2023

ABGDD-R มีนโยบายลงทุนผ่านกองทุนหลัก abrdn SICAV I – Global Dynamic Dividend Fund Z Gross MInc USD ที่เน้นลงทุนในหุ้นทั่วโลกที่มีรายได้และกำไรมั่นคง สามารถจ่ายปันผลได้สม่ำเสมอ และเลือกลงทุนแบบ bottom-up โดยกระจายการลงทุนใน 80-100 หลักทรัพย์ โดยมีประวัติปันผลในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา 5-7% ต่อปี และสามารถรักษา Drawdown ได้ต่ำกว่าหุ้นโลกสม่ำเสมอตั้งแต่จัดตั้ง

UGIS-N

ถึงเวลาปรับพอร์ต

รูปที่ 10: สัดส่วนการลงทุนใน PIMCO GIS Income fund | Source: FINNOMENA FUNDS, VanEck as of 29/08/2023

UGIS-N กองทุนหลัก PIMCO GIS Income Fund บริหารการลงทุนแบบ Active บนตราสารหนี้ที่หลากหลาย ทั่วโลก ทั้งพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ของธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น, ตราสารหนี้ภาคเอกชน และอื่น ๆ เพื่อสร้างผลตอบแทนจากรายได้สม่ำเสมอแบบ Income Fund ส่งผลให้สามารถสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าดัชนีเปรียบเทียบอย่างตราสารหนี้ทั่วโลก และกลุ่มเดียวกันได้อย่างสม่ำเสมอ เหมาะสมแก่การถือครองในระยะยาว

FINNOMENA FUNDS Portfolio Recommendation

ถึงเวลาปรับพอร์ต

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน KFAFIX-A 10% 
  • แนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุน AFMOAT-HA 10%

Valuation ที่ตึงตัวน้อยลงของหุ้นสหรัฐฯ และ Sentiment เชิงบวกมากขึ้น หนุนให้การเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ มีความน่าสนใจ อย่างไรก็ตามความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัวยังคงอยู่ 

FINNOMENA FUNDS Investment Team จึงแนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน AFMOAT-HA ในพอร์ต GAR เพื่อรับโอกาสการลงทุนบนกองทุนรวมหุ้นสหรัฐฯ ที่มีปราการสูง ซึ่งช่วยควบคุมความผันผวนของพอร์ตการลงทุนได้

ถึงเวลาปรับพอร์ต

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน KKP S-PLUS 10% 
  • แนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุน ABGDD-R 10%

Valuation ที่ตึงตัวน้อยลงของหุ้นสหรัฐฯ และ Sentiment เชิงบวกมากขึ้น หนุนให้การเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นโลกฯ มีความน่าสนใจ อย่างไรก็ตามความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัวยังคงอยู่ และเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การจ่ายกระแสเงินสดที่ 3-5% ต่อปีของ GIF

FINNOMENA FUNDS Investment Team จึงแนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน ABGDD-R ในพอร์ต GIF เพื่อสร้างผลตอบแทนทั้งในรูปแบบของกระแสเงินสดจาก Auto-Redeem และการเติบโตของเงินต้นในระยะยาว พร้อมความเสี่ยงด้านการปรับตัวลงที่กองทุนสามารถควบคุมได้ดี

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน KKP S-PLUS 10% 
  • แนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุน UGIS-N 10%

การชะลอตัวลงของเงินเฟ้อภาคบริการสหรัฐฯ โดยเฉพาะเงินเฟ้อฝั่งที่อยู่อาศัย ทำให้เงินเฟ้อโดยรวมปรับตัวลงใกล้กรอบเป้าหมาย ส่งผลให้ขาขึ้นของดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่ใกล้สิ้นสุดเป็นผลดีต่อการลงทุนในตราสารหนี้โลก

FINNOMENA FUNDS Investment Team จึงแนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน UGIS-N ในพอร์ต GCP เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนในการลงทุนตราสารหนี้โลกเมื่อปัจจัยกดดันด้านนโยบายทางการเงินผ่อนคลายลงอีกระดับผ่านกองทุนตราสารหนี้โลกที่มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะกับสถานการณ์ ซึ่งเหมาะกับนักลงทุนที่ไม่ต้องการความผันผวนสูงอย่าง GCP

ถึงเวลาปรับพอร์ต

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน KKP S-PLUS 17% 
  • แนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุน UGIS-A 17%

การชะลอตัวลงของเงินเฟ้อภาคบริการสหรัฐฯ โดยเฉพาะเงินเฟ้อฝั่งที่อยู่อาศัย ทำให้เงินเฟ้อโดยรวมปรับตัวลงใกล้กรอบเป้าหมาย ส่งผลให้ขาขึ้นของดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่ใกล้สิ้นสุดเป็นผลดีต่อการลงทุนในตราสารหนี้โลก

FINNOMENA FUNDS Investment Team จึงแนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน UGIS-A ในพอร์ต RIS เพื่อสร้างผลตอบแทนทั้งในรูปแบบของกระแสเงินสดจาก Auto-Redeem และการเติบโตของเงินต้นในระยะยาวรับปัจจัยบวกดอกเบี้ยใกล้สิ้นสุด

ศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/ 

FINNOMENA FUNDS investment Team


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะสั้นเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

iran-israel-war