กองทุน SET50

ใครที่อยากเริ่มต้นลงทุนเพื่อเป็นตัวช่วยให้เงินออมงอกเงยในระยะยาว และต้องการกระจายความเสี่ยงไปกับหุ้นไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งพร้อมกันหลาย ๆ ตัว หลาย ๆ อุตสาหกรรม กองทุน SET50 Index เป็นคำตอบที่เหมาะสมมาก ๆ เพราะเป็นกองทุนดัชนีที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ประกอบในดัชนี SET50 ซึ่งได้รวมหุ้นจำนวน 50 ตัวที่ใหญ่ที่สุดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พูดง่าย ๆ ว่าเป็นตัวแทนหุ้นบิ๊กแคปของตลาดหุ้นไทยนั่นเอง

เป้าหมายของกองทุน SET50 จะมุ่งเน้นสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงไปกับดัชนี SET50 มากที่สุด ไม่ว่าดัชนีจะเคลื่อนไหวอย่างไร หุ้นตกหรือหุ้นขึ้น ปกติแล้วกองทุนเหล่านี้ก็จะเคลื่อนไหวไปตามทิศทางนั้นด้วย 

ข้อดีของกองทุน SET50 คือ กลยุทธ์การลงทุนที่เรียบง่าย ตรงไปตรงมา ด้วยการซื้อขายหุ้นล้อตามดัชนีแบบ Passive Fund จึงทำให้มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำ เหมาะกับมือใหม่ที่กำลังหากองทุนตัวเริ่มต้น และนักลงทุนที่ต้องการเพิ่มความมั่นคงให้พอร์ตในระยะยาว    

รวบรวมกองทุน SET50 ครบจบในที่เดียว

บทความนี้จึงได้สรุปกองทุน SET50 ทุกกองในประเทศไทยที่สามารถลงทุนได้ผ่านแพลตฟอร์ม FINNOMENA FUNDS โดยจัดกลุ่มมาให้เลือกแบบง่าย ๆ ดังนี้

กองทุน SET50 ไม่จ่ายปันผล

  • KT-SET50-A กองทุนเปิดกรุงไทย SET50 ชนิดสะสมมูลค่า (กองทุนแนะนำ FPICK)
  • T-SET50ACC กองทุนเปิดธนชาต SET50 สะสมมูลค่า
  • K-SET50 กองทุนเปิดเค เซ็ท 50
  • SCBSET50 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET 50 INDEX (ชนิดสะสมมูลค่า)
  • PRINCIPAL SET50-A กองทุนเปิดพรินซิเพิล เดลี่ เซ็ท 50 อินเด็กซ์
  • TMB50 กองทุนเปิดทหารไทย SET50

 

กองทุน SET50

กองทุน SET50 แบบจ่ายเงินปันผล

  • T-SET50 กองทุนเปิดธนชาต SET50
  • KT-SET50-D กองทุนเปิดกรุงไทย SET50 ชนิดจ่ายเงินปันผล
  • TMB50DV กองทุนเปิดทหารไทย SET50 ปันผล
  • M-S50 กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี เซ็ท 50

 

กอง set50

กองทุน SET50 แบบลดหย่อนภาษี SSF

  • PRINCIPAL SET50SSF-SSF กองทุนเปิดพรินซิเพิล เซ็ท 50 อินเด็กซ์เพื่อการออม ชนิดเพื่อการออม
  • SCBSET50(SSF) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET50 INDEX (ชนิดเพื่อการออม)

กองทุน SET50 แบบลดหย่อนภาษี RMF

  • SCBRMS50 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET 50 Index เพื่อการเลี้ยงชีพ
  • T-SET50RMF กองทุนเปิดธนชาต SET50 เพื่อการเลี้ยงชีพ
  • KS50RMF กองทุนเปิดเค เซ็ท 50 เพื่อการเลี้ยงชีพ
  • M-S50 RMF กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี เซ็ท 50 เพื่อการเลี้ยงชีพ
  • KTSET50RMF กองทุนเปิดกรุงไทย SET50 เพื่อการเลี้ยงชีพ
  • TMB50RMF กองทุนเปิดทหารไทย SET50 เพื่อการเลี้ยงชีพ

 

กองทุน SET50

ศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ www.finnomena.com/fund

เปรียบเทียบกองทุน SET50

เราสามารถนำกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในดัชนี SET50 มาเปรียบเทียบ ทั้งในแง่ผลการดำเนินงาน พอร์ตการลงทุน และค่าธรรมเนียม ได้ที่เครื่องมือ FINNOMENA FUNDS Compare  

ยกตัวอย่างเช่นกราฟด้านล่างที่เป็นการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุน SET50 ชนิดสะสมมูลค่า ทั้งหมด 6 กองทุน ได้แก่ KT-SET50-A, T-SET50ACC, K-SET50, SCBSET50, SCBSET50, PRINCIPAL SET50-A และ TMB50

กองทุน SET50

กราฟแสดงผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 ปี ข้อมูล ณ 15/08/2023 | Source: www.finnomena.com/fund/compare/

** ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **

กองทุน SET50 ลงทุนในหุ้นอะไรบ้าง?

หุ้นในดัชนี SET50 ล้วนประกอบด้วยบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งมีธุรกิจเป็นที่รู้จักในวงกว้างอยู่แล้ว ปัจจุบันหุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่

1. DELTA หรือ บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านการจัดการระบบกำลังไฟฟ้า และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีฐานการผลิตอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ได้แก่ เอเชีย ยุโรป และอเมริกาใต้

2. AOT หรือ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจท่าอากาศยานของประเทศไทย โดยมีท่าอากาศยานในความรับผิดชอบ 6 แห่ง คือ สุวรรณภูมิ, ดอนเมือง, เชียงใหม่, แม่ฟ้าหลวง เชียงราย, ภูเก็ต และหาดใหญ่

3. PTT หรือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทพลังงานแห่งชาติที่ดำเนินธุรกิจก๊าซธรรมชาติ, ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ, การค้าระหว่างประเทศ และโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงมีธุรกิจที่ลงทุนผ่านบริษัทย่อย ได้แก่ ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม, ธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว, ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น, ธุรกิจน้ำมันและค้าปลีก, ธุรกิจไฟฟ้าและสาธารณูปการ, ธุรกิจถ่านหิน และธุรกิจให้บริการ

4. ADVANC หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม โดยรวมถึงธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และธุรกิจดิจิทัล เซอร์วิส

5. PTTEP หรือ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงธุรกิจขนส่งก๊าซทางท่อในต่างประเทศ

6. GULF หรือ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) Holding Company ที่ประกอบธุรกิจหลักด้านการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียน

7. CPALL หรือ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจร้านสะดวกซื้อภายใต้เครื่องหมายการค้า 7-Eleven และให้สิทธิแก่ผู้ค้าปลีกรายอื่นในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย

8. BDMS หรือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ของประเทศ โดยมีโรงพยาบาลเครือข่าย 6 กลุ่ม คือ กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ, กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช, โรงพยาบาลบี เอ็น เอช, กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท, กลุ่มโรงพยาบาลเปาโล และกลุ่มโรงพยาบาลรอยัล

9. SCC หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) Holding company ใน 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง, ธุรกิจเคมิคอลส์ และธุรกิจแพคเกจจิ้ง

10. SCB หรือ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) Holding Company ที่มุ่งเน้นลงทุนในธุรกิจการเงินและเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด


แหล่งข้อมูล

คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน  จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299