บทความนี้ เป็นบทความตอนแรกของซีรี่ย์ “10 ข้อควรรู้ : กองทุนรวม” ซึ่งผมตั้งใจรวบรวมเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ของการลงทุนในกองทุนรวมประเภทต่างๆ ที่ได้รับคำถามมาตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยผมจะคัดมาประเภทละ 10 เรื่อง ซึ่งเห็นว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และใครที่จะลงทุนในกองทุนประเภทนั้นๆ ควรจะรู้เอาไว้ก่อน จะได้ใช้ประโยชน์จากมันได้เต็มที่ และไม่เข้าใจผิดในหลายๆ เรื่อง
โดยผมจะพยายามเขียนให้สั้น กระชับที่สุด หากมีตัวอย่างประกอบ ก็จะพยายามแสดงให้ดูด้วย เบื้องต้นคาดว่าน่าจะกระจายเขียนได้ประมาณ 10 บทความ
ในตอนแรกนี้เรามาเริ่มกันในภาพใหญ่ก่อน โดยจะยังไม่แยกประเภทกองทุนลงไป มาเริ่มกันเลยนะครับ
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
นั่นเพราะ บลจ. ไม่ได้เก็บรักษาเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนที่ตนบริหารไว้กับ บลจ. เอง แต่ทรัพย์สินทั้งหมดจะถูกเก็บรักษาโดย “ผู้ดูแลผลประโยชน์” ซึ่งมักเป็นสถาบันการเงินอื่น เช่น กองทุน KFLTFDIV ซึ่งบริหารโดย บลจ.กรุงศรี มีธนาคารซิตี้แบงก์ เป็นผู้รักษาผลประโยชน์ของกองทุน ตามที่ปรากฎใน Fund Factsheet ดังรูป
ที่มา : หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญของกองทุน KFLTFDIV ณ วันที่ 31 ส.ค. 2560
กรณีที่ บลจ. ที่บริหารกองทุนประสบปัญหาทางการเงิน จนถึงขั้นเลิกกิจการ ล้มละลาย หรือประสบเหตุสุดวิสัยอื่นๆ ทรัพย์สินทั้งหมดของกองก็จะยังอยู่ภายใต้การดูแลของผู้รักษาผลประโยชน์ และสามารถดำเนินการจัดสรรคืนให้กับผู้ถือหน่วยที่เข้ามาลงทุนในกองทุนนั้นๆ ได้ต่อไป
แต่ยังไงเสียการที่ทรัพย์สินยังอยู่ ก็ต้องดูด้วยนะครับว่าทรัพย์สินนั้นอยู่ในรูปแบบไหน ถ้าอยู่ในรูปของหุ้น แล้วในช่วงนั้นหุ้นตกพอดี มูลค่าทรัพย์สินก็ยังสามารถลดลงได้ และในทางกลับกันก็สามารถเพิ่มขึ้นได้ถ้าหุ้นขึ้นครับ
นักลงทุนหลายคนกระจายการลงทุนไปในกองทุนรวมหลายกองมาก บางคนถือกองทุนมากกว่า 20-30 กองในพอร์ต เหตุผลหนึ่งก็เพราะต้องการกระจายความเสี่ยง แต่จริงๆ แล้วกองทุนทุกกองมีการกระจายความเสี่ยงมาให้แล้วระดับหนึ่ง ตัวอย่างเช่น
ดังนั้น การที่นักลงทุนกระจายถือกองทุนหลายๆ กองทุน โดยเฉพาะกองทุนประเภทเดียวกันมากเกินไป เช่นถือกองทุนหุ้นไทย 5 กอง อาจไม่ได้เพิ่มประโยชน์ด้านกระจายความเสี่ยงได้มากมายนัก และยังอาจเสียประโยชน์เมื่อเทียบกับการการ Focus เลือกกองทุนที่ดีเพียงไม่กี่กอง
อย่างไรก็ตาม การกระจายความเสี่ยงก็มีหลายระดับ ได้แก่ 1) กระจายหลายตราสารในสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน 2) กระจายข้ามประเภทสินทรัพย์ และ 3) กระจายข้ามประเทศ ดังนั้น ถ้าเราต้องการกระจายความเสี่ยงที่มากขึ้น ก็ควรพิจารณากระจายให้ถูกต้อง ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็น Over-Diversified ไป คือ ถือกองเยอะ ดูแลไม่ไหว และไม่ได้ส่งผลดีต่อพอร์ตแบบมีนัยยะอะไร
ราคา NAV ของกองทุนเป็นเพียงตัวเลขสำหรับใช้อ้างอิง ในการคำนวณจำนวนหน่วยลงทุนที่ได้รับในการซื้อขายเท่านั้น ไม่สามารถใช้บอกความถูกแพงของกองทุนรวมได้
โดยทั่วไปจะกำหนดให้วันแรกของการจัดตั้งกองทุนมี NAV เริ่มต้นที่ 10 บาท ในเวลาต่อมาหากกองทุนมีผลกำไรเพิ่มขึ้น เช่น +10% ราคา NAV ก็จะเพิ่มเป็น 11 บาท และถ้ากองทุนมีผลกำไรสะสมเพิ่มขึ้นๆ เรื่อยๆ NAV ก็อาจมีราคาสูงขึ้นได้ เช่น กองทุน ABG มี NAV = 120 บาท และ BERMF มี NAV = 101 บาท เป็นต้น แต่การที่ NAV สูงขึ้น ไม่ได้แปลว่ากองทุนนั้นแพงแล้ว เพราะผู้จัดการกองทุนสามารถปรับเปลี่ยนหุ้นในกองทุนได้ตลอดเวลา และกอง NAV สูงก็สามารถเปลี่ยนไปถือหุ้นที่ไม่แพงได้
ดังนั้น เราจึงไม่สามารถบอกได้ว่ากองที่ NAV สูงคือแพง เพราะต้องดูพอร์ตของกองด้วยว่าถือหุ้นอะไร ในทางกลับกัน เราก็บอกไม่ได้อีกว่ากองที่ NAV ต่ำคือถูก เพราะถ้าเปิดพอร์ตดูแล้ว กองนั้นถือแต่หุ้นแพงๆ (เช่นหุ้นที่ P/E สูง) ก็อาจจะแปลว่ากองแพงแล้วก็เป็นได้
การจะเลือกกองจึงควรพิจารณาปัจจัยอื่น เช่น นโยบายการลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต ความสม่ำเสมอของผลกำไร ความเสี่ยง ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆ ฯลฯ แต่ไม่ใช่ NAV แน่นอน
หลายคนลงทุนก็อยากให้เงินโตแบบทบต้น ซึ่งหากไปดูนิยามของ “ดอกเบี้ยทบต้น” ก็คือการที่เรานำกำไรที่ได้รับจากปีก่อนหน้า ไปลงทุนต่อ (Re-invest) เพื่อให้กำไรของปีก่อน กลายเป็นฐานทุนหรือเงินต้นของปีถัดไป เช่น ปีแรกลงทุน 1 ล้านบาท ได้กำไรมา 10% คือ 1 แสนบาท หากนำไปลงทุนต่อ ปีต่อไปมูลค่าพอร์ตก็จะเริ่มต้นที่ 1.1 ล้านบาท
หากยังคงได้กำไร 10% เหมือนเดิม ปีนี้กำไรจะไม่ใช่แค่ 1 แสนแล้ว แต่จะได้เป็น 1.1 แสนบาท เพราะแม้กำไรหน่วยเป็น % จะมีค่าเท่าเดิม แต่เพราะฐานทุนใหญ่ขึ้นจากกำไรของปีก่อนหน้าที่นำมารวมกับเงินต้นก้อนแรก ทำให้กำไรหน่วยเป็นบาทปีถัดไปใหญ่ขึ้น ซึ่งหากลงทุนแบบนี้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เงินก็จะโตได้เร็ว โดยเฉพาะในปีหลังๆ ที่ฐานทุนใหญ่ขึ้นมากแล้ว
หลายคนเข้าใจว่า การจะได้ผลลัพธ์แบบนี้ เมื่อลงทุนกองทุนรวมแล้วได้กำไรมา 10% จะต้องขายกำไรนั้นออกมาก่อน แล้วค่อยนำกำไรนั้นไปลงทุนต่อในกองทุนเดิม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง และยังเป็นการสิ้นเปลืองค่าธรรมเนียมการซื้อขายกองทุนอีกด้วย
อันที่จริงเพียงถือกองทุนเดิมไว้เฉยๆ โดยไม่ต้องทำอะไร หากกองทุนนั้นโตต่อ เงินเราก็จะโตต่อแบบทบต้นโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว เช่น ถ้าปีแรกซื้อกองทุนไป NAV 10 บาท ได้กำไรมา 10% NAV จะกลายเป็น 11 บาท ต่อให้เราไม่ขายกำไรออกมา ปีต่อไปถ้ากองทำกำไรได้อีก 10% NAV ก็จะโตต่อจาก 11 บาท กลายเป็น 12.1 บาทอยู่แล้ว จะเห็นว่ามีเศษ 0.1 บาทเพิ่มมา ซึ่งเป็นผลจากการโตทบต้นมาจากปีแรก
ดังนั้น การที่จะขายกำไรออกมานั้น จึงควรทำเพราะวัตถุประสงค์อื่นมากกว่า เช่น ขายเพื่อเปลี่ยนไปยังกองทุนอื่นที่มีโอกาสจะกำไรมากกว่า เป็นต้น นั่นคือเปลี่ยนกองได้ แต่ต้องอย่านำเงินออกมาจากพอร์ตเพื่อใช้จ่าย เพราะถ้าทำแบบนั้น พอร์ตก็จะไม่โตแบบทบต้น หรือหากคิดว่ากองทุนเดิมที่ลงทุนอยู่ มีโอกาสเติบโตไปในระยะยาวอยู่แล้ว จะไม่เปลี่ยนกองเลยก็ได้เช่นกัน
การจะได้กำไรจากกองทุนรวมนั้น หลักๆ มีอยู่ 3 วิธีคือ
ผู้ลงทุนสามารถเลือกกองทุนที่มีนโยบายการจ่ายผลตอบแทนให้เหมาะสมกับตัวเองได้ โดยเฉพาะในกองทุนใหม่ๆ ที่มักมีการออกกองที่นโยบายการลงทุนเหมือนกัน แต่มีวิธีจ่ายผลตอบแทนต่างกัน เช่น กองทุน KT-CLMVT-A และ KT-CLMVT-D ซึ่งทั้งสองกองทุนมีนโยบายการลงทุนในหุ้นกลุ่มประเทศ CLMV และประเทศไทยเหมือนกัน ต่างกันที่กอง KT-CLMVT-A ไม่จ่ายเงินปันผล แต่กอง KT-CLMVT-D จ่ายเงินปันผล
อย่างไรก็ตามแม้จะเลือกกองที่จ่ายเงินปันผล หรือขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติแล้ว แต่ปริมาณเงิน และจังหวะเวลาที่มีการจ่ายผลตอบแทนนั้น อาจไม่สอดคล้องกับความจำเป็นในการใช้เงินของเรา ก็อาจจำเป็นต้องสั่งขายกองด้วยตัวเอง เพื่อนำผลตอบแทนมาใช้จ่ายเพิ่มเติมอยู่ดี นักลงทุนบางท่านจึงตัดปัญหาด้วยการเลือกกองที่ไม่ต้องจ่ายกระแสเงินสดออกมา แต่ใช้วิธีสั่งขายกองด้วยตัวเองตามปริมาณ และจังหวะเวลาที่ต้องการเลย ก็ไม่ผิดอะไรเช่นกัน
หากคุณคิดจะลงทุนเพิ่มในกองทุนรวม นี้คือสิ่งที่คุณไม่อยากพลาด! สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่อรับโพยกองทุนเด็ดที่แนะนำ อัพเดททุกเดือนจาก FINNOMENA
กดที่นี่เพื่อรับโพยกองทุนหลายท่านเมื่อลงทุนกองทุนรวม มักจะสังเกตเห็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ชัดๆ เพียงแค่ตอนที่สั่งซื้อหรือขายเท่านั้น เช่น สั่งซื้อกองทุนไป 1 ล้านบาท โดนหักค่าธรรมเนียม Front-end Fee ไปเลย 1% หรือ 10,000 บาท ทำให้เหลือเงินเข้าไปลงทุนเพียง 990,000 บาท จะเห็นส่วนต่างได้ชัดเจน
แต่ในความเป็นจริงกองทุนรวมมีการคิดค่าใช้จ่ายที่มากกว่านั้นด้วย ซึ่งเรียกว่า “ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุน” หรือ ก็คือเก็บจากเงินของเราที่ค้างอยู่ในกองทุนทั้งหมดนั่นเอง ตัวอย่างเช่น กองทุน K-MIDSMALL มีค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เรียกเก็บจากกองทุนเท่ากับ 2.1833% ต่อปี ดังตาราง
ที่มา : หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญของกองทุน K-MIDSMALL ณ วันที่ 31 ส.ค. 2560
เจ้าค่าใช้จ่ายตัวนี้เรียกกันในทางเทคนิคว่า Total Expense Ratio (TER) จะค่อยๆ ถูกตัดออกจากมูลค่าพอร์ตของเราวันละนิดๆ โดยที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน เพราะเราไม่เห็นว่ามีเงินไหลออกจากพอร์ตเราเลย ซึ่งสาเหตุที่ไม่เห็นก็เพราะราคา NAV ที่ประกาศออกมาในแต่ละวันนั้น ได้มีการหักค่าใช้จ่ายนี้ออกไปเรียบร้อยแล้ว เราจึงเห็นมูลค่าพอร์ตสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายเสมอ
การที่ไม่เห็น ทำให้หลายคนมองข้ามปัจจัยสำคัญไป เพราะค่าธรรมเนียมนี้จะมีผลต่อผลตอบแทนของกองทุนตรงๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีกองทุนสองกองที่ผู้จัดการกองทุนฝีมือดีพอๆ กัน ทำผลตอบแทนก่อนหักค่าธรรมเนียมนี้มาได้เฉลี่ย 15% ต่อปี แต่กองแรกมี TER 1.5% ผลตอบแทนสุทธิจะเหลือถึงเราประมาณ 15-1.5 = 13.5% ส่วนอีกกองมี TER = 2.0% ผลตอบแทนสุทธิจะเหลือประมาณ 15 – 2 = 13%
ส่วนต่างเล็กๆ เพียง 0.5% ต่อปี นั้น หากลงทุนสั้นๆ จะไม่เห็นผลเท่าไร แต่ถ้าลงทุนระยะยาวให้ทบต้นไปหลายๆ ปี เช่นเป็น 10-20 ปี ส่วนต่างเมื่อคิดเป็นตัวเงินอาจมีค่าหลายแสนหรือเป็นหลักล้านบาทได้
ดังนั้น สิ่งที่ไม่เห็น ไม่ได้แปลว่าไม่มี และสิ่งเล็กๆ อาจสำคัญมากกว่าที่คิด ในการคัดเลือกกองทุนนั้นนอกจากดูผลตอบแทนแล้ว จึงควรพิจารณาค่าธรรมเนียมให้ครบทุกตัวด้วย ไม่ใช่ดูแค่ค่าธรรมเนียมที่เกิดตอนซื้อ/ขาย เท่านั้น
ต่อเนื่องจากข้อ 6 คือพอเข้าใจเรื่องค่าธรรมเนียมกองทุนมากขึ้น หลายท่านก็มักจะพยายามหาผลตอบแทน “สุทธิ” ที่ตนจะได้รับหลักหักค่าธรรมเนียมทุกอย่าง ซึ่งบางทีก็หักมากเกินไปจนผิด ดังนั้นเราต้องรู้ก่อนว่าในรายงานผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุน ที่แสดงเป็นผลตอบแทนย้อนหลัง เช่น 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี และ 5 ปีนั้น มีการหักค่าธรรมเนียมอะไรไปแล้วบ้าง จะได้ไม่หักซ้ำซ้อน
โดยค่าธรรมเนียมที่มีการหักออกเรียบร้อยแล้วจากข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลังคือ “ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุน” หรือ TER ตามข้อ 6 และส่วนที่ยังไม่หักคือ “ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วย” หรือค่าธรรมเนียมในการซื้อ/ขายนั่นเอง ดังนั้น ถ้าจะหักเพิ่ม ก็ไม่ต้องนำ TER ไปหักแล้ว แต่ให้หักเฉพาะค่าธรรมเนียมที่เกิดตอนซื้อและขายเป็นพอครับ
นอกจากนั้น ผมยังเคยเห็นบางท่านพยายามนำเงินปันผล หรือเงินที่เกิดจากการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ (Auto Redemption) บวกกลับเข้าไปคิดเป็นผลตอบแทนอีก ซึ่งต้องบอกว่าไม่ต้องทำเองนะครับ เนื่องจากผลตอบแทนที่แสดงในตารางนั้น จะรวมเอาผลตอบแทนส่วนนี้ไว้ด้วยอยู่แล้ว การบวกกลับเข้าไปอีกถือว่าซ้ำซ้อน
หลายท่านอาศัย “ทางลัด” ในการตัดสินใจเลือกกองทุน ด้วยการดูว่ากองไหนคนลงทุนเยอะ ขนาดกองทุน (AUM) ใหญ่ก็น่าจะแปลว่าดี หรือในทางกลับกัน บางท่านก็มองว่าถ้าขนาดกองทุนถ้ายังเล็ก แสดงว่ากองทุนน่าจะบริหารได้คล่องตัวกว่า มีโอกาสที่ขนาดจะเติบโตเป็นกองใหญ่ๆ ได้ จึงเลือกกองทุนที่ขนาดกองเล็กๆ มาลงทุน
ที่ถูกต้องคือ เราไม่สามารถเลือกกองทุนจากปัจจัยเรื่องขนาดกองเพียงอย่างเดียวได้ เพราะในกองทุนขนาดใหญ่ก็มีทั้งที่ดีและไม่ดี เช่นกัน กองทุนขนาดเล็กก็มีทั้งกองที่เก่งและไม่เก่ง ดังนั้นต้องพิจารณาปัจจัยประกอบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น
ขนาดกองทุนอาจมีส่วนบ้างในบางประเภทกองทุน เช่น กองทุนหุ้นขนาดเล็ก หากมีขนาดกองทุนที่ใหญ่เกินไป ก็อาจไม่สามารถลงทุนหุ้นขนาดเล็กได้สะดวก เพราะเราไม่สามารถนำเงินจำนวนมากๆ ไปซื้อหุ้นที่ในแต่ละวันมีปริมาณการซื้อขายนิดเดียวได้ ผู้จัดการกองทุนอาจจำเป็นต้องถือหุ้นใหญ่เข้ามาในพอร์ตบ้าง ซึ่งก็อาจทำให้ผิดวัตถุประสงค์ที่เราเลือกกองนี้ไป และอาจกระทบผลตอบแทนของกองด้วยเป็นต้น
ดังนั้น Size Does Matter, But Not The Only Factor to Consider นะครับ
โดยหากจะลงทุนได้ จะต้องสามารถลงทุนครั้งแรกด้วยเงินลงทุนอย่างน้อย 5 แสนบาทขึ้นไปเท่านั้น (ซึ่งบางกองอาจกำหนดมูลค่าการลงทุนขั้นต่ำสูงกว่านี้อีกได้)
แม้จะดูเป็นการกีดกันไปบ้าง แต่ทั้งหลายทั้งปวงก็เป็นความปรารถนาดีของ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ออกกฎนี้ขึ้นมา เพื่อป้องกันไม่ให้นักลงทุนรายย่อยต้องเสียหายหรือรับผลจากการลงทุนที่ซับซ้อน เสี่ยง หรือยากเกินไป เช่น
ซึ่งเมื่อก่อนก็แค่เขียนข้อกำหนดนี้เอาไว้ใน Fund Factsheet เฉยๆ แต่ปัจจุบันก็มีกฎให้ระบุคำว่า “ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย” ต่อท้ายชื่อกองไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นถ้าเห็นชื่อกองลักษณะนี้ก็ไม่ต้องแปลกใจครับ ตั้งใจสร้างพอร์ตให้โต เป็นรายใหญ่เมื่อไรก็ค่อยลงทุนก็แล้วกัน 😛
ไม่นานมานี้ บลจ.บัวหลวง ออกกองทุน B-BHARATA ที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นประเทศอินเดีย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม จนยอดจองซื้อกองทุนช่วง IPO เต็มวงเงินที่ขออนุมัติไว้กับ ก.ล.ต. ซึ่งยิ่งเต็ม คนก็ยิ่งอยากลงเพิ่มขึ้นไปอีก หรือกรณีกองใหม่ๆ บางกองออก IPO มาโดยที่ยังไม่มีพอร์ตและประวัติการลงทุนให้ดูเลย บางคนก็ลังเลว่าจะซื้อดีมั๊ย ไปที่แบงค์พนักงานก็เชียร์จังเลย ตัดสินใจไม่ถูก
อยากบอกว่าทั้งสองกรณี ถ้าเราไม่รีบร้อนมาก หลังจากจบช่วง IPO ไปไม่นาน กองทุนนั้นก็จะเปิดให้ซื้อขายได้ทุกวันทำการเหมือนกองทุนอื่นๆ และราคาที่ได้ ก็มักจะไม่ได้ห่างไกลไปจากราคา 10 บาทช่วงที่ IPO มากนัก เนื่องจากเพิ่งจะผ่านไปไม่กี่วันเท่านั้น หุ้นหรือสินทรัพย์ในพอร์ตของกองทุนราคามักยังไม่เปลี่ยนแปลงเท่าไร ทำให้ NAV ก็แทบไม่เปลี่ยนตามไปด้วย ซึ่งจะไม่เหมือนกับหุ้น IPO ที่ราคาตอนจอง กับราคาในการซื้อขายวันแรกมีสิทธิ์กระโดดต่างกันมากหลายสิบเปอร์เซ็นต์
ดังนั้น การซื้อช่วง IPO อาจจะไม่ได้จำเป็นมากนัก เพราะสามารถรอซื้อหลัง IPO ได้ และถ้าอยากรอดูพอร์ต รอดูผลการดำเนินการสักระยะก่อน ซื้อทีหลังก็จะสบายใจกว่า ส่วนการซื้อกองทุนช่วง IPO อาจมีประโยชน์ในกรณีที่เราตั้งใจลงทุนสินทรัพย์นั้นอยู่แล้ว และ บลจ. มีการลดค่าธรรมเนียมซื้อขายช่วง IPO ลงต่ำเป็นพิเศษ การซื้อได้ช่วงนั้นก็ช่วยให้ประหยัดขึ้นได้บ้างครับ
————–
อ่านซีรีย์บทความ “10 ข้อควรรู้ กองทุนรวม” ตอนก่อนหน้าได้ที่…
10 ข้อควรรู้… ลงทุนกองทุนรวมตลาดเงิน/ตราสารหนี้ระยะสั้น
https://www.finnomena.com/a-academy/10-things-to-know-money-market-fund/
หากคุณคิดจะลงทุนเพิ่มในกองทุนรวม นี้คือสิ่งที่คุณไม่อยากพลาด! สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่อรับโพยกองทุนเด็ดที่แนะนำ อัพเดททุกเดือนจาก FINNOMENA
กดที่นี่เพื่อรับโพยกองทุน