กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ จะมีนโยบายค่าเงินพ่วงติดมาด้วยเสมอ ซึ่งเป็นการบอกว่ากองทุนนั้นมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) หรือไม่

Hedge คือ กองทุนที่มีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน เพื่อช่วยลดความผันผวนของการลงทุน แต่ก็แลกมากับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งสูงต่ำขึ้นอยู่กับช่วงเวลา

Unhedge คือกองทุนที่เปิดรับความเสี่ยงค่าเงิน ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม แต่ก็แลกด้วยความกังวลกับการขึ้น ๆ ลง ๆ ของค่าเงิน ทว่าในอีกทางก็อาจทำกำไรมากขึ้น หากคาดการณ์ค่าเงินถูกทาง

แล้วอย่างงี้ควร Hedge หรือ Unhedge ดีกว่ากัน? โดยเฉพาะในกองทุนตราสารหนี้ ซึ่ง Hedging Cost ค่อนข้างเห็นผลชัดกว่ากองทุนหุ้น

ปัจจุบันดอลลาร์แข็งค่า ทำให้ Hedging Cost สูงกว่า 3% ซึ่งกดดันผลตอบแทนของกองทุน Hedge

ในขณะที่กอง Unhedge กลับได้ประโยชน์จากดอลลาร์แข็งค่า เพราะมีกำไรส่วนเพิ่มเวลาแลกกลับมาเป็นเงินบาท

รีวิวกองทุน KFSINCFX-A

พอดูสถิติย้อนหลังตั้งแต่ปี 2022 เทียบ Hedge vs. Unhedge นั้นเริ่มมีนัยสำคัญกับผลตอบแทนกองทุนชัดเจน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดอลลาร์แข็ง บาทอ่อน ทำให้กองทุน Unhedge (เส้นสีดำ) สร้างผลตอบแทนได้โดดเด่นกว่ากองที่ Hedge (เส้นสีเหลือง)

ปัจจุบัน FINNOMENA FUNDS Investment Team แนะกองทุนตราสารหนี้โลก 2 กองทุน คือ UGIS-N และ KFSINCFX-A ทั้งคู่ลงทุนใน PIMCO GIS Income ที่กระจายลงทุนไปในตราสารหนี้หลายชนิดทั่วโลก

ความแตกต่างคือ UGIS-N ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน (hedge) จึงแนะนำให้กับคนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ ต้องการพักเงิน

แต่สำหรับ KFSINCFX-A ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน (Unhedge) แน่นอนว่าผันผวนสูงกว่า แต่ดีตรงที่ไม่ต้องเสีย Hedging Cost และมีโอกาสทำกำไรเพิ่มขึ้น หากดอลลาร์ยังแข็งค่าต่อในอนาคต

ถ้าใครรับความเสี่ยงได้ (เช่นมีพอร์ตกองหุ้นอยู่แล้วไม่น้อย) หรือโยกเงินลงทุนมาจาก offshore ที่รับความเสี่ยงค่าเงินอยู่แล้ว แนะนำว่า KFSINCFX-A เป็นอะไรที่น่าสนใจทีเดียว เพราะไม่ต้องเสียค่า hedge ปีละ ~3% ถ้าค่าเงินบาทแข็งไม่เกิน ~3% กองนี้ก็ยังคุ้ม เพราะเอาชนะกองที่ hedged ได้อยู่ดี


คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในกรอบระยะเวลาตามวัตถุประสงค์การลงทุนที่แตกต่างกันตามคำแนะนำ | บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

เปิดโหมด Risk-On!