ยืดหยุ่นด้วยวิสัยทัศน์
ของนักกลยุทธ์ ด้วย
Krungthai Belief Allocation
Created by:
Krungthai Asset Management
Krungthai Belief Allocation
จุดเด่น
- ไม่พึ่งพาโมเดลที่ซับซ้อนใดๆ เราเลือกใช้ “สามัญสำนึก” และเครื่องมือตัดสินใจที่มนุษย์มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
- จัดสรรเงินลงทุนตามระดับ “ความเชื่อ” บนวิสัยทัศน์ของนักกลยุทธ์
- แสวงหาโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยพื้นฐานความรู้ทางการเงิน ข้อมูลตลาด และวิธีคิดอย่างมีตรรกะในเชิงกลยุทธ์
อัปเดตสถานการณ์และสัดส่วนพอร์ตล่าสุดจากบลจ.
วัตถุประสงค์หลักของการจัดพอร์ตการลงทุน
เอาชนะ SET Index (price return) เพราะน่าจะสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ลงทุนชาวไทยจำนวนมาก ซึ่งมักเปรียบเทียบผลตอบแทนพอร์ตของตัวเองกับ SET Index
สินทรัพย์ที่เลือกลงทุน
กองทุนของ KTAM รอบนี้ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ใน theme “ขุมทรัพย์กับดักหนี้” และอีก 2 กลยุทธ์ใหม่หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
Emerging Markets: KT-EMEQ, KT-INDIA รับแนวโน้มเงินทุนไหลเข้าสู่ Emerging Markets
หนี้ต่อ GDP ของตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets: EM) เฉลี่ยยังต่ำแค่ 50% เศษๆ ประมาณครึ่งหนึ่งของตลาดที่พัฒนาแล้ว (เฉลี่ย > 100%) สหรัฐฯ ติดกับดักหนี้ เฟดจึงต้องกลับมาพิมพ์เงินให้รัฐบาลใช้จ่าย (เรียกสวยๆ ว่าเพิ่มขนาดงบดุล) และคงจะต้องลดดอกเบี้ยลงอีก วิธีดังกล่าวประกอบกับความแตกต่างของระดับหนี้สิน น่าจะส่งผลให้ดอลลาร์กลับไปมีแนวโน้มอ่อนค่า (หลังจากดอลลาร์รีบาวด์แข็งค่าชั่วคราวในช่วงต้นปีนี้ เพราะสถานการณ์ไวรัสกระทบจีนและเอเชียมากกว่าสหรัฐฯ) สวนทางกับสกุลเงินตลาดเกิดใหม่ ซึ่งน่าจะกลับแข็งค่าขึ้น และขับเคลื่อนเงินทุนให้ไหลกลับเข้าสู่ Emerging Markets ในช่วงที่เหลือของปีนี้
Capital Structure Change: KT-JAPAN, KT-ESG ภาวะดอกเบี้ยต่ำยาวนาน ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุน
บริษัทญี่ปุ่นสะสมเงินสดไว้มากและเริ่มนำไปจ่ายปันผล ซื้อหุ้นคืน ควบรวมกิจการกันมากขึ้น ขณะที่เราเริ่มเห็น บจ.ไทย ประกาศซื้อหุ้นคืนเช่นกัน และน่าจะมีมากขึ้นอีกในปีนี้
Low (Yield) for Longer: KT-PIF, KT-PROPERTY พฤติกรรมแสวงหายีลด์ของนักลงทุนทั่วโลก จะยังดำเนินต่อไปอีกนาน
REITs, Property Funds, Infrastructure Funds เป็นที่ต้องการมากขึ้นๆ ทั้งสำหรับนักลงทุนบุคคลซึ่งต้องเผชิญภาวะดอกเบี้ยต่ำเป็นประวัติการณ์ ตลอดจนนักลงทุนสถาบัน อาทิ บริษัทประกัน และ กองทุนบำนาญ ซึ่งต้องแสวงหาสินทรัพย์ลงทุนให้แก่สภาพคล่องที่ถาโถมเข้ามาไม่หยุด จากความต้องการออมที่เพิ่มขึ้นตามแนวโน้มสังคมสูงอายุ ขณะพันธบัตรอายุยาว ซึ่งเป็นสินทรัพย์ลงทุนตัวหลัก มียีลด์ต่ำลงเรื่อยๆ
Higher Debts & Lower Rates: KT-GOLD, KT-PRECIOUS หนี้เพิ่ม + ดอกเบี้ยลด = ราคาทองขาขึ้น
ทองคำและหุ้นกลุ่มโลหะมีค่า ได้ปัจจัยสนับสนุนระยะยาวจากแนวโน้มหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ขณะดอกเบี้ยถูกกดไว้ให้ต่ำยาวนานและปรับตัวขึ้นยาก จึงนับว่าเป็นขุมทรัพย์อันดับต้น ๆ ที่ควรมีไว้ให้มากพอเมื่อมหาอำนาจสหรัฐฯ เข้าสู่วังวนกับดักหนี้
Healthcare: KT-HEALTHCARE โอกาสเปิดกว้างสำหรับหุ้นกลุ่มที่คนทั่วไปมักหลีกเลี่ยงในปีเลือกตั้งสหรัฐฯ
การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา กระตุ้นความใส่ใจสุขภาพ ซึ่งเป็นแนวโน้มระยะยาวอยู่แล้ว ดึงดูดให้นักลงทุนกลับมาสนใจหุ้นกลุ่ม healthcare แม้ความผันผวนคงมาเป็นระยะๆ จนถึงเลือกตั้ง ปธน.สหรัฐฯ เพราะบริษัทกลุ่มนี้มักตกเป็นเป้าโจมตีในการหาเสียง แต่กลับยิ่งเพิ่มโอกาสให้กับผู้จัดการกองทุนเชิงรุก ในการเข้าซื้อหุ้นดีๆ ราคาโดนๆ เพื่อเพิ่มผลตอบแทนในระยะยาว
Pacific Easing: KT-AASIA ไวรัสโคโรนา จุดพลุมหกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจและผ่อนคลายการเงินในภูมิภาคนี้
KT-AASIA มีลักษณะพิเศษคือ master fund ซึ่งเน้นลงทุนหุ้นในภูมิภาคแปซิฟิกเป็นคลาส USD hedged ช่วยลดผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างดอลลาร์สหรัฐฯกับสกุลเงินของประเทศที่เข้าไปลงทุน น่าจะส่งผลดีในปีนี้ เพราะธนาคารกลางใหญ่ๆ ในแปซิฟิกเช่น จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย มีแนวโน้มผ่อนคลายการเงิน CNY, JPY, AUD จึงน่าจะมีแนวโน้มอ่อนค่าลง นอกจากนี้ กองทุนหลักเน้นหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ซึ่งยังล้าหลัง (laggard) ราคาไม่แพง จึงมีโอกาส catch up คือวิ่งไล่ทันหุ้นขนาดใหญ่ เมื่อสภาพคล่องเข้ามาขับเคลื่อนตลาดมากขึ้นในระยะถัดไป
หลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์
เราเชื่อว่า สินทรัพย์เหล่านี้น่าจะได้รับประโยชน์มากที่สุดจาก theme ดังกล่าว โดยแต่ละสินทรัพย์มีปัจจัยเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป ทำให้พอร์ตมีการกระจายความเสี่ยงตามธรรมชาติ
หลักเกณฑ์การคัดเลือกกองทุน
ปรับตัวสอดคล้องกับสินทรัพย์ ปัจจัยถัดมาคือคุณภาพกองทุน เช่นดูจาก Morningstar rating
พอร์ตการลงทุนนี้เหมาะสมกับใคร
ผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง-สูงมาก
ปรับพอร์ตการลงทุนอย่างไร
- Equal Weight ปรับให้สัดส่วนเท่ากันไตรมาสละครั้ง
- Review Port ตรวจสอบกลยุทธ์และราคา อย่างน้อยเดือนละครั้ง
สาเหตุในการปรับพอร์ต
มุมมองเปลี่ยนไป หรือ ราคาเปลี่ยนไป ซึ่งอาจเป็นไปได้สองทางคือ เคยแพงแล้วถูกลงจนน่าซื้อ หรือ เคยถูกแต่แพงขึ้นจนน่าขาย
ความถี่ในการปรับพอร์ตการลงทุน
- Equal Weight ไตรมาสละครั้ง ไม่สร้างภาระ transactions มากเกินไป
- Review เดือนละครั้ง น่าจะเหมาะสมกับความถี่ของกลยุทธ์รายสัปดาห์
เกี่ยวกับ KTAM
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย หรือที่รู้จักกันในชื่อของ KTAM (เคแทม) เริ่มประกอบธุรกิจตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2542 นับอายุก็ 20 กว่าขวบแล้ว มีผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการลงทุนเฉลี่ยกว่า 15 ปี นอกจากผู้จัดการกองทุนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสามารถ มีฝ่ายวิจัยที่ประกอบไปด้วยทีมนักวิเคราะห์มากประสบการณ์ ซึ่งเป็นอิสระจากฝ่ายลงทุน และยังเป็นบริษัทจัดการแห่งเดียวที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจโดยมี ธนาคารกรุงไทย ถือหุ้น 99.99%
KTAM มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ ณ สิ้นปี 2561 อยู่ที่ 7.76 แสนล้านบาท ซึ่งเติบโตค่อนข้างมากในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา และมีกองทุนรวมที่ครอบคลุมอยู่ในทุกประเภทสินทรัพย์ให้นักลงทุนได้เลือกลงทุนไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวม ตราสารทุน ตราสารหนี้ หรือสินทรัพย์ทางเลือก และ KTAM ยังเป็นพันธมิตรกับสถาบันการเงินใหญ่ๆ ระดับโลก ทั้งหมดนี้เพื่อเสริมสร้างความชำนาญและความน่าเชื่อที่พร้อมจะส่งมอบแก่นักลงทุนทุกท่านที่เข้ามาใช้บริการของ KTAM
Krungthai Asset Management
สนใจรับข้อมูลพอร์ตการลงทุนนี้
แนะนำลงทุน: 500,000 บาทขึ้นไป
ลงทะเบียนเรียบร้อย
คุณจะได้รับอีเมล์แนะนำการใช้ FINNOMENA PORT ระหว่างนี้คุณสามารถค้นหาแผนการลงทุน FINNOMENA PORT ที่เหมาะสมกับคุณ
ต่อไปดูรายละเอียดพอร์ต บลจ. อื่นๆ
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | เนื่องจากมีกองทุนที่ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | ผู้ลงทุนสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับการแต่งตั้ง รวมถึง FINNOMENA ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่เบอร์ 02-026-5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”