เปิดบ้าน Morgan Stanley: รวมกองทุนไทยที่ลงทุนใน Morgan Stanley

สารบัญ

กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทความซีรีส์ “เปิดบ้านกองทุน” บทความที่เราจะพาทุกคนไปเปิดบ้านกองทุนต่างประเทศทั่วโลกว่ามีกองทุนไทยไหนบ้างที่ไปลงทุนในกองต่างประเทศนั้น ๆ โดยบทความนี้จะเปิดบ้านกองทุนต่างประเทศที่เป็นกองแม่ (Master Fund) ของกองทุนยอดนิยมหลาย ๆ กอง นั่นคือ “Morgan Stanley”

ก่อนที่จะไปดูว่ามีกองทุนไทยไหนบ้างที่มีนโยบายลงทุนใน Mongan Stanley เรามาดูประวัติความเป็นมาของ Morgan Stanley กันสักหน่อยนะ

ประวัติความเป็นมาของ Morgan Stanley

Morgan Stanley Investment Management เป็นบริษัทย่อยของ Morgan Stanley Group ก่อตั้งขึ้นในปี 1975 ในเมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้บริการทางด้านการลงทุนและการบริหารความเสี่ยงที่หลากหลาย โดยมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างโซลูชันการจัดการการลงทุนที่ครอบคลุมต่อลูกค้าทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าบุคคล สถาบัน บริษัท ตลอดจนหน่วยงานรัฐบาล ทั้งในประเทศและทั่วโลก มาเป็นเวลายาวนานกว่า 40 ปี

Morgan Stanley มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การจัดการ (AUM) สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564 รวมทั้งหมดแล้วกว่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ Morgan Stanley กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การจัดการสูงสุดเป็นอันดับ 19 ในบรรดาบริษัทจัดการกองทุนทั่วโลก

กองทุนไทยที่ลงทุนใน Morgan Stanley

ได้รู้ประวัติความเป็นมาของ Morgan Stanley กันไปคร่าว ๆ แล้ว ทีนี้มาดูกันดีกว่าว่า “มีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Morgan Stanley”

K-USA-A

▶︎ K-USA-A(A), K-USA-A(D), K-USA-SSF, KUSARMF

เปิดบ้าน Morgan Stanley: รวมกองทุนไทยที่ลงทุนใน Morgan Stanley

กองทุน K-USA-A หรือ K USA Equity Fund จากบลจ.กสิกรไทย (KAsset) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Morgan Stanley US Advantage Fund เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

กองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทในสหรัฐอเมริกาที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงเป็นหลัก โดยมีนโยบายเลือกหุ้นแบบ Bottom-Up ไม่ได้อิงตามดัชนี

ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุน K-USA-A:

กองทุน K-USA-A จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน โดยป้องกันไม่น้อยกว่า 75% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ (ยกเว้น KUSARMF ที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยป้องกันประมาณ 50-100% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ)
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐฯ และหมวดอุตสาหกรรม Information Technology และ Communication Services

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน K-USA-A:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.2840%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย:
    • K-USA-A(A) และ K-USA-A(D): 1.50%
    • K-USA-SSF: ยกเว้น
    • KUSARMF: ไม่มี
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม:
    • K-USA-A(A), K-USA-A(D) และ K-USA-SSF: 1.3789%
    • KUSARMF: 1.3466%

ข้อมูลจาก K-USA-A Fund Factsheet ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน K-USA-A:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท (ทุกชนิด)

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน K-USA-A กองทุนคุณภาพดี ตัวแทนการลงทุนในชาติอเมริกา

KFGBRAND

▶︎ KFGBRAND-A, KFGBRAND-D, KFGBRANSSF, KFGBRANRMF

เปิดบ้าน Morgan Stanley: รวมกองทุนไทยที่ลงทุนใน Morgan Stanley

กองทุน KFGBRAND หรือ Krungsri Global Brands Equity Fund จากบลจ.กรุงศรี (KrungsriAsset) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Morgan Stanley Investment Fund – Global Brands Fund (Class Z) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

กองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก ซึ่งประสบผลสำเร็จหรือมีชื่อเสียงใน Brand โดยพิจารณาจาก Intangible Assets เช่น การมีเครื่องหมายการค้าเป็นที่รู้จักทั่วโลก การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์สินค้า หรือกลวิธีการจัดจำหน่าย เป็นต้น

ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุน KFGBRAND:

กองทุน KFGBRAND จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน (โดยปกติกองทุนจะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ)
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐฯ และหมวดอุตสาหกรรม Healthcare, Information Technology และ Consumer Staples 

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน KFGBRAND:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.6955%
  • ค่าธรรมเนียมการขายและ Switching-in:
    • KFGBRAND-A และ KFGBRAND-D: 1.50%
    • KFGBRANSSF และ KFGBRANRMF: ไม่เรียกเก็บ
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม:
    • KFGBRAND-A และ KFGBRAND-D: 0.8918%
    • KFGBRANSSF: 0.8881%
    • KFGBRANRMF: 0.8962%

ข้อมูลจาก KFGBRAND Fund Factsheet ณ วันที่ 30 ก.ค. 2564

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน KFGBRAND:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป:
    • KFGBRAND-A, KFGBRAND-D และ KFGBRANRMF: 2,000 บาท
    • KFGBRANSSF: 500 บาท

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน KFGBRAND-A เพราะ “มูลค่า” ให้คุณได้มากกว่าผลตอบแทน

PRINCIPAL GBRAND-A

เปิดบ้าน Morgan Stanley: รวมกองทุนไทยที่ลงทุนใน Morgan Stanley

กองทุน PRINCIPAL GBRAND-A หรือ Principal Global Opportunity Fund  จากบลจ.บลจ.พรินซิเพิล (Principal) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Morgan Stanley Investment Funds – Global Brands Fund ชนิดหน่วยลงทุน (Share Class) Z ในสกุลเงิน USD เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

กองทุนหลักมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวผ่านการลงทุนในหุ้นของบริษัทต่างๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก โดยเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ประสบผลสําเร็จหรือมีชื่อเสียงโดยพิจารณาจาก intangible assets (เช่น มีเครื่องหมายการค้าที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์สินค้า หรือกลวิธีการจัดจําหน่าย เป็นต้น) ภายใต้แฟรนไชส์ธุรกิจที่แข็งแกร่ง

ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุน PRINCIPAL GBRAND-A:

กองทุน PRINCIPAL GBRAND-A จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากความผันผวนของผลการดำเนินงาน (SD): 15-25%
  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐฯ และอังกฤษ และหมวดอุตสาหกรรม Consumer Staples และ Information Technology

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน PRINCIPAL GBRAND-A:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.537%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย:  1.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 2.054%

ข้อมูลจาก PRINCIPAL GBRAND-A Fund Factsheet ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน PRINCIPAL GBRAND-A:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

SCBEUROPE(A)

เปิดบ้าน Morgan Stanley: รวมกองทุนไทยที่ลงทุนใน Morgan Stanley

กองทุน SCBEUROPE(A) หรือ SCB Europe Active Equity จากบลจ.ไทยพาณิชย์ (SCBAM) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Morgan Stanley Investment Funds – Europe Opportunity ชนิดหน่วยลงทุน (share class) Z Accumulation สกุลเงินยูโร (Euro) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

กองทุนหลักมีวัตถุประสงค์สร้างผลตอบแทนระยะยาวจากการลงทุนในตราสารทุนและ depositary receipts (รวมถึง American Depositary Receipts (ADRs) และ European Depositary Receipts (EDRs)) ของบริษัทที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป

ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุน SCBEUROPE(A):

กองทุน SCBEUROPE(A) จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากความผันผวนของผลการดำเนินงาน (SD): 15-25%
  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม Consumer Discretionary 

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน SCBEUROPE(A):

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.07%
  • ค่าธรรมเนียมการขายและ Switching-in: 1.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.16737% (ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น)

ข้อมูลจาก SCBEUROPE(A) Fund Factsheet ณ วันที่ 13 ก.ค. 2564

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน SCBEUROPE(A):

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

PRINCIPAL GOPP-A

เปิดบ้าน Morgan Stanley: รวมกองทุนไทยที่ลงทุนใน Morgan Stanley

กองทุน PRINCIPAL GOPP-A หรือ Principal Global Opportunity Fund  จากบลจ.บลจ.พรินซิเพิล (Principal) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Morgan Stanley Investment Funds Global Opportunity Fund เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

กองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้น รวมถึงตราสารที่เทียบเท่าหุ้น (ADRs และ GDRs) ของบริษัททั่วโลกที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวอย่างยั่งยื่น มีข้อได้เปรียบในการแข่งขัน โดยจะเข้าลงทุนในบริษัทดังกล่าวในระดับราคาที่เหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทนั้น ๆ

ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุน PRINCIPAL GOPP-A:

กองทุน PRINCIPAL GOPP-A จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากความผันผวนของผลการดำเนินงาน (SD): 15-25%
  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในอเมริกาเหนือ

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน PRINCIPAL GOPP-A:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.603%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย:  1.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 2.237%

ข้อมูลจาก PRINCIPAL GOPP-A Fund Factsheet ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน PRINCIPAL GOPP-A:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

SCBAOA

เปิดบ้าน Morgan Stanley: รวมกองทุนไทยที่ลงทุนใน Morgan Stanley

กองทุน SCBAOA หรือ SCB Asia Opportunity Fund จากบลจ.ไทยพาณิชย์ (SCBAM) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Morgan Stanley Investment Fund – Asia Opportunity Fund ชนิดหน่วยลงทุน (share class) Z Accumulation สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

กองทุนหลักมีวัตถุประสงค์สร้างผลตอบแทนระยะยาวจากการลงทุนในตราสารทุนและ depositary receipts (รวมถึง American Depositary Receipts (ADRs) และ Global Depositary Receipts (GDRs)) ของผู้ออกในทวีปเอเชียไม่รวมประเทศญี่ปุ่น และลงทุนในหุ้น China A-Shares ผ่าน Stock Connect

ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุน SCBAOA:

กองทุน SCBAOA จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากความผันผวนของผลการดำเนินงาน (SD): 10-15%
  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศจีน และหมวดอุตสาหกรรม Consumer Discretionary และ Financials

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน SCBAOA:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.61% 
  • ค่าธรรมเนียมการขายและ Switching-in: 1.605%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.72%

ข้อมูลจาก SCBAOA Fund Factsheet ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน SCBAOA:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน TMBAGLF และ SCBAOA: 2 เสือในใต้หล้าของกองทุนหุ้นเอเชีย

K-ASIACV

เปิดบ้าน Morgan Stanley: รวมกองทุนไทยที่ลงทุนใน Morgan Stanley

กองทุน K-ASIACV หรือ K Asia Controlled Volatility Fund จากบลจ.กสิกรไทย (KAsset) มีนโยบายลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป (Fund of Funds) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ซึ่งกองทุนรวมต่างประเทศมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้น และ/หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน และ/หรือตราสารแห่งหนี้ และ/หรือหลักทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ที่จดทะเบียนหรือซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศในภูมิภาคเอเชีย หรือมีการดำเนินธุรกิจหรือตั้งถิ่นฐานหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในภูมิภาคเอเชีย โดยลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศกองทุนใดกองทุนหนึ่งโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกินร้อยละ 79 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ

กองทุนต่างประเทศที่ K-ASIACV ลงทุน:

  1. Morgan Stanley Investment Funds Asia Opportunity Fund: มีนโยบายลงทุนในหุ้น ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ (Depositary Receipt) (รวมถึง ADRs และ GDRs) ที่ผู้ออกตราสารมีภูมิลำเนาอยู่ในภูมิภาคเอเชีย (ยกเว้นประเทศญี่ปุ่ น) และลงทุนในหุ้นจีน A-Shares ผ่าน Stock Connect
  2. LO Funds – Asia High Conviction, (USD), N: มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนและหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน (ไม่ได้จำกัดแค่ใบสำคัญแสดงสิทธิ) ที่ออกโดยบริษัทที่มีภูมิลำเนาหรือดำเนินธุรกิจทั้งโดยตรง และโดยอ้อมในภูมิภาคเอเชีย ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น โดยอาจลงทุนไม่เกินร้อยละ 15 ของพอร์ตการลงทุนในหุ้นจีน A-Shares ผ่าน Stock Connect

ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุน K-ASIACV:

กองทุน K-ASIACV จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากความผันผวนของผลการดำเนินงาน (SD): 15-25%
  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน (ป้องกันความเสี่ยงประมาณ 50-100% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ)
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศจีน และหมวดอุตสาหกรรม Consumer Discretionary, Financials และ Information technology

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน K-ASIACV:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.2840%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย: 1.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.3482%

ข้อมูลจาก K-ASIACV Fund Factsheet ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน K-ASIACV:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

K-GINFRA

เปิดบ้าน Morgan Stanley: รวมกองทุนไทยที่ลงทุนใน Morgan Stanley

กองทุน K-GINFRA หรือ K Global Infrastructure Equity Fund จากบลจ.กสิกรไทย (KAsset) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Morgan Stanley Investment Funds – Global Infrastructure Fund ชนิดหน่วยลงทุน (share class) Z Accumulation สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

กองทุนหลักมีนโยบายมุ่งลงทุนในตราสารแห่งทุนของบริษัทรวมถึงทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trusts: REITs) ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก

ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุน K-GINFRA:

กองทุน K-GINFRA จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากความผันผวนของผลการดำเนินงาน (SD): 10-15%
  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน (ป้องกันความเสี่ยงไม่น้อยกว่า 75% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ)
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐฯ และหมวดอุตสาหกรรม Oil & Gas Storage & Transportation และ Communications

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน K-GINFRA:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.2840%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย: 1.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.4564%

ข้อมูลจาก K-GINFRA Fund Factsheet ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน K-GINFRA:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

SCBUSAA

เปิดบ้าน Morgan Stanley: รวมกองทุนไทยที่ลงทุนใน Morgan Stanley

กองทุน SCBUSAA หรือ SCB US Active Equity Fund จากบลจ.ไทยพาณิชย์ (SCBAM) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Morgan Stanley Investment Funds – US Growth Fund ชนิดหน่วยลงทุน (share class) Z Accumulation สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

กองทุนหลักมีวัตถุประสงค์สร้างผลตอบแทนระยะยาวจากการเติบโตของเงินต้นในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เน้นลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุนของบริษัทในประเทศสหรัฐฯ ที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพ และอาจมีการลงทุนเสริมในหลักทรัพย์นอกประเทศสหรัฐฯ ทั้งนี้ กองทุนหลักอาจลงทุนในหุ้นจีน China A-Shares ได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 10 ของสินทรัพย์สุทธิ ผ่านระบบ Stock Connect

ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุน SCBUSAA:

กองทุน SCBUSAA จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากความผันผวนของผลการดำเนินงาน (SD): 15-25%
  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐฯ และหมวดอุตสาหกรรม Information Technology และ Communication Services

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน SCBUSAA:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.61%
  • ค่าธรรมเนียมการขายและ Switching-in: 1.605%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.73%

ข้อมูลจาก SCBUSAA Fund Factsheet ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน SCBUSAA:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

และทั้งหมดนี้ก็เป็นกองทุนไทยที่ลงทุนใน Morgan Stanley สำหรับสาวกบ้านอื่น ๆ ก็อย่าเพิ่งน้อยใจกันไปเพราะเรามีบทความเปิดบ้านอื่นเอามาฝากเรื่อย ๆ อีกแน่นอน รอติดตามได้เลย

อ่านบทความเปิดบ้านอื่น ๆ

เปิดบ้าน Baillie Gifford มีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Baillie Gifford

เจาะลึก ARK ผู้นำ ETF แห่งทศวรรษ

— planet 46. 

อ้างอิง


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม  ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”