เน้น Absolute Return
ด้วยปัจจัยพื้นฐาน ผ่าน
TISCO Omakase EXTRA FUND
Created by:
TISCO Asset Management
TISCO OMAKASE EXTRA FUND
จุดเด่น
- มุ่งหวังผลตอบแทนคาดหวังในรูปแบบ absolute return 7% ต่อปี ในระยะกลาง-ยาว
- ด้วยเศรษฐกิจโลก และ การลงทุนเข้าสู่ในช่วงของปลายวัฏจักร การวางกลยุทธ์การลงทุนหลังจากนี้จึงต้องใช้ความระมัดระวัง ดังนั้นในบางสภาวะการลงทุนอาจจะลดความเสี่ยงไม่ถือสินทรัพย์เสี่ยงเลยได้
- พอร์ตลงทุนสามารถลงทุนได้ในสินทรัพย์หลากหลาย (unconstrained) ไม่อ้างอิงกับภูมิภาค หรือ sector ใดๆ แต่เราจะพิจารณาในภาวะปัจจุบันสินทรัพย์ หรือกองทุนใดมีความน่าสนใจในการลงทุน
อัปเดตสถานการณ์ล่าสุดจาก บลจ.
วัตถุประสงค์หลักของการจัดพอร์ตการลงทุน
ใช้กลยุทธ์ลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายเพื่อที่จะสร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอ โดยยึดหลักผลตอบแทนต่อความเสี่ยง โดยอิงตามหลักปัจจัยพื้นฐาน การกระจายการลงทุน และการลงทุนอย่างมีวินัย
สินทรัพย์ที่เลือกลงทุน
กองทุนรวมที่สามารถลงทุนได้ (investment universe) อาทิ กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนตราสารทุน กองทุนสินค้าโภคภัณฑ์ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน และกองทุนทางเลือก ทั้งในประเทศและ/หรือ ต่างประเทศ
หลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์
เลือกลงทุนสินทรัพย์โดยอิงตามหลักอัตราผลตอบแทนคาดหวังเมื่อเทียบกับความเสี่ยงไม่สูงเกินไป (risk-adjusted return)
คำแนะนำพอร์ตกองทุน
กลยุทธ์หลักของพอร์ตการลงทุน
วิเคราะห์ลงทุนอิงตามภาวะเศรษฐกิจมหภาค ผลประกอบการ การเคลื่อนไหวของ fund flow
พอร์ตการลงทุนนี้เหมาะสมกับใคร
- ต้องการได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอในระยะยาว
- ผู้ลงทุนที่สามารถรับความผันผวนของราคาที่กองทุนรวมไปลงทุน ซึ่งอาจปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น หรือ ลดลงจนต่ำกว่ามูลค่าที่ลงทุน และ ทำให้ขาดทุนได้
- ผู้ลงทุนควรมีความเข้าใจและสามารถยอมรับความเสี่ยงของการลงทุนในต่างประเทศ และ ความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน
- เข้าใจผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถรับประกันผลตอบแทนในอนาคต
- ภาวะที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นแรง (bull markets) หรือลดลงแรง (bear market) พอร์ตการลงทุนอาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนตามดัชนีอ้างอิงที่นักลงทุนคุ้นเคย
ปรับพอร์ตการลงทุนอย่างไร
สาเหตุในการปรับพอร์ต
- ปัจจัยพื้นฐานเปลี่ยนแปลง
- Valuation สินทรัพย์สูงหรือต่ำเกินไป
ความถี่ในการปรับพอร์ตการลงทุน
- ในสภาวะปกติติดตามการเคลื่อนไหวพอร์ตลงทุนในทุกๆ สัปดาห์ หากไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะยังคงสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์ต่อไป
- กรณีมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญทางด้านพื้นฐาน อาทิ การเปลี่ยนแปลงนโยบายของธนาคารกลางสำคัญๆ และ มีผลต่อสินทรัพย์ที่ลงทุนจะปรับพอร์ตการลงทุนทันที
มุมมองตลาดปัจจุบัน
เศรษฐกิจ
2019 = Synchronized slowdown
เศรษฐกิจโลกในปี 2019 IMF คาดว่าจะเติบโตได้เพียง +3.0% ซึ่งนับเป็นระดับการเติบโตที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2008 กดดันจากภาคการผลิตทั่วโลกที่ได้เข้าสู่สภาวะถดถอย ซึ่งได้รับผลกระทบมาจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ในขณะที่เงินเฟ้อทั่วโลกอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย โดยเงินเฟ้อในประเทศกลุ่ม Emerging markets อยู่ในระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 2009
2020 = Fear of recession is behind us
ในปี 2020 คาดว่าจะไม่เกิดภาวะ “Recession” หรือเศรษฐกิจถดถอย โดยเศรษฐกิจจะเติบโตในอัตราที่เร่งขึ้นและทั่วถึงมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2019 คาด 2020 GDP Growth +3.4%
สำหรับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ถือเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก คาดว่าจะขยายตัวได้ในระดับปานกลางที่ +2.1% หนุนจากการ บริโภคภาคเอกชนที่ยังแข็งแกร่งชดเชยภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนที่อ่อนแอ
ปัจจัยหนุนเศรษฐกิจโลกได้แก่
- สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ คลี่คลาย ประกอบกับสินค้าคงคลังของโลก (Inventory) ที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการต้องเริ่มนำเข้าสินค้า หนุนให้การค้าโลกกลับมาเติบโตได้มากขึ้น
- นโยบายการคลังจะถูกให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว เนื่องจากขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินมีค่อนข้างจำกัด
คาดเศรษฐกิจไทยยังเติบโตในระดับที่ต่ำกว่าศักยภาพ แต่เติบโตดีกว่าปี 2019 คาดว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ จะสามารถพยุงเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวได้
ประเด็นสงครามการค้า
ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2019 การเจรจาการค้ามีพัฒนาการในเชิงบวกมากขึ้น
ในช่วงปลายปี 2019 สหรัฐฯ และจีนได้บรรลุข้อตกลงทางการค้า Phase 1 โดยจะมีการลงนามในเดือนมกราคม 2020 โดยสหรัฐฯ ตกลงที่จะเลื่อนการเก็บภาษีในวันที่ 15 ธันวาคมออกไป และลดอัตราภาษีจากอัตรา 15% เป็น 7.5% สำหรับสินค้านำเข้าจากจีนวงเงิน 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจะมีผลบังคับใช้ภายใน 30 วัน ส่วนจีนตกลงที่จะซื้อสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ ในวงเงิน 4 -5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามที่สหรัฐฯ ต้องการ
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นทรัพย์สินทางปัญญา การถ่ายโอนเทคโนโลยี และบริการทางการเงิน โดยปธน.ทรัมป์ระบุจะมีการเจรจาข้อตกลง Phase 2 ก่อนจะมีการเลือกตั้งปธน.ในเดือน พ.ย. 2020
ในปี 2020 มองว่าสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ จะสงบลงชั่วคราว แต่มีความเสี่ยงที่สหรัฐฯ จะทำสงครามการค้ากับประเทศอื่นๆ
นอกจากจีนแล้ว สหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะประกาศสงครามการค้ากับประเทศในกลุ่มยูโรโซน โดยมีจุดชนวนจากการที่รัฐบาลให้เงินสนับสนุน Airbus ซึ่งเป็นคู่แข่งทางตรงของ Boeing และประเด็นการเก็บ Digital tax นอกจากนี้ข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯ เม็กซิโก และแคนาดา ยังมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้
ในช่วงที่ผ่านมาดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าเมื่อเทียบกับเกือบทุกสกุลเงิน ซึ่งจะทำให้สหรัฐฯ สูญเสียผลประโยชน์ทางการค้า ทำให้สหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะประกาศสงครามการค้ากับประเทศที่ค่าเงินอ่อนค่า ดังเช่นที่สหรัฐฯ ได้ยกเลิกการยกเว้นภาษีเหล็กและอลูมิเนียมกับบราซิล และอาร์เจนตินา
ธนาคารกลาง
ปี 2020 ดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางทั่วโลกมีโอกาสปรับลดลงอย่างจำกัด
เนื่องจากเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลง ประกอบกับเงินเฟ้อที่ทรงตัวในระดับต่ำ ทำให้ในปี 2019 ที่ผ่านมา ธนาคารกลาง 24 แห่งทั่วโลกได้ปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ในปี 2020 มองว่าธนาคารกลางทั่วโลกจะยังคงดำเนินนโยบายผ่อนคลายอยู่ โดยจะมีการเข้าซื้อสินทรัพย์เพิ่มเติม แต่การลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมมีค่อนข้างจำกัด เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกบางส่วนให้ผลตอบแทนติดลบ
The Federal Reserve ได้ลดดอกเบี้ยทั้งสิ้น 3 ครั้งรวม 75 bps ในปี 2019 ทำให้ Fed Fund Rate ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 1.50-1.75% โดยบ่งชี้ว่าเป็นเพียง Mid-cycle adjustment ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของวัฎจักรการลดดอกเบี้ย และ Fed ได้ระบุว่าดอกเบี้ยในระดับนี้เป็นระดับที่เหมาะสมสำหรับเศรษฐกิจ ในปี 2020 คาดว่า Fed จะคงดอกเบี้ยที่ระดับนี้จนถึงอย่างน้อยกลางปี 2020
The European Central Bank ได้ลดดอกเบี้ย 1 ครั้ง -10 bps สู่ระดับ -0.50% และได้ออกมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ ในปี 2020 มองว่า ECB มีขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากตอนนี้ ECB ได้ใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ และมีความสามารถในการซื้อสินทรัพย์ค่อนข้างจำกัด (QE)
ธนาคารในประเทศกลุ่ม Emerging Markets ยังมีความสามารถในการลดดอกเบี้ยอยู่ โดยคาดว่า PBoC จะลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอ และคาดว่าธนาคารกลางอินเดียมีแนวโน้มลดดอกเบี้ยได้อีก หากเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย
ล่าสุด กนง. ปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 1 ครั้ง สู่ระดับ 1.00% เพื่อพยุงเศรษฐกิจไทย
ทองคำ
ปี 2019 ราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้นในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย จากปัจจัยเสี่ยงสงครามการค้า และ การเมืองในหลายประเทศ ในขณะที่ด้านปัจจัยพื้นฐานอุปสงค์จากหลายธนาคารกลางเข้าถือทองคำเพิ่มขึ้น รวมถึง อุปสงค์จากการลงทุนเพิ่มขึ้นจาก Gold-backed ETF
สำหรับปี 2020 เรายังมองว่าทองคำยังมีความน่าสนใจ การเข้าถือครองทองคำในฐานะ “สินทรัพย์ปลอดภัย” จะยังถูกให้ความสำคัญอีกครั้ง แม้ว่าปลายปี 2019 หลายปัจจัยที่เคยสนับสนุนเริ่มคลี่คลาย อย่างไรก็ดี เรามองว่าประเด็นสงครามการค้าเป็นแค่เพียงสงบลงชั่วคราว ยังมีอีกหลายประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อสรุป นอกจากนี้ การที่ธนาคารกลางยังคงดอกเบี้ยต่ำ และ กลับมาทำ QE ล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนทองคำ
ตลาดหุ้น
หุ้นต่างประเทศ
ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2019 ตลาดหุ้นยังปรับเพิ่มขึ้นได้จาก re-rate P/E โดยทั้งปี 2019 MSCI All Country World Index +23% อย่างไรก็ดีเราพบว่าผลดำเนินงานของกำไรบริษัทจดทะเบียนไม่ได้เติบโต ทำให้ผลตอบแทนของตลาดหุ้นมาจาก re-rate P/E หรือ Multiple expansion (การเทรดที่ระดับ Valuation แพงขึ้น) เป็นหลัก หนุนโดยการผ่อนคลายนโบายการเงินของธนาคารทำให้อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกอยู่ในระดับต่ำ
ตลาดหุ้นในช่วงครึ่งปีหลังหนุนจากพัฒนาการเชิงบวกของประเด็นสงครามการค้าทำให้เราเห็น “Sector rotation” หรือการเปลี่ยนกลุ่มการลงทุนจากกลุ่มที่เป็น Yield play (อัตราเงินปันผลสูง) ได้แก่ Utilities, Real estate และ REITs เป็นกลุ่ม Cyclical (หุ้นกลุ่มวัฏจักรที่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงเศรษฐกิจดี)
สำหรับการลงทุนใน 1H20 เรายังประเมินว่าการลงทุนในหุ้นต่างประเทศยังคงจะให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ เมื่อเทียบกับสินทรัพย์อื่น โดยมีปัจจัยบวกและปัจจัยลบ ดังนี้
ปัจจัยสนับสนุน
- ดอกเบี้ยทั่วโลก และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอยู่ในระดับต่ำ
- การเข้าซื้อสินทรัพย์จากธนาคารกลาง ประเมิน Net flow จากธนาคารกลางเป็นบวก
- เศรษฐกิจโดยรวมยังขยายตัวได้ ไม่เกิด Recession
ปัจจัยเสี่ยง
- ความไม่แน่นอนทางการเมือง ได้แก่ ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่จะส่งผลต่อนโยบายภาษีเงินได้ การประท้วงต่อต้านรัฐบาลในฮ่องกง และหลายประเทศทั่วโลก
- การกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับ หลายประเทศ
หุ้นไทย
ในปี 2019 ตลาดหุ้นไทย underperform เมื่อเทียบกับ ตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยปัจจัยกดดันตลาดหุ้นไทยตลอดปี 2019 ได้แก่ (1) เศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวต่อเนื่อง ตัวเลขเศรษฐกิจประกาศออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด (2) ผลดำเนินงานบริษัทจดทะเบียนที่ประกาศออกมาน้อยกว่าตลาดคาดทุกไตรมาส (ส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนมาตรฐานบัญชี) (3) ความไม่แน่นอนทางการเมืองในช่วงไตรมาส 1-2
ปัจจัยสนับสนุน
- เศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัว หนุนจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
- ราคาน้ำมันที่มีเสถียรภาพ หนุนราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน
- มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยเฉพาะการเพิ่มรายได้ประชาชนในชนบท จะหนุนการบริษัทภาคครัวเรือน เป็นผลบวกต่อหุ้นกลุ่มค้าปลีก
- ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจะทรงตัวในระดับต่ำตลอดปี 2020 ทำให้หุ้นไทยมี Earnings yield gap ที่น่าสนใจลงทุน
ปัจจัยเสี่ยง
- เม็ดเงินลงทุนจากสถาบันในประเทศลดลง จากการเปลี่ยนจากกองทุน LTF เป็น SSF
- ภาระหนี้สินภาคประชาชนยังอยู่ในระดับสูง
- ยังมีความเสี่ยงการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ อาจจะฉุดการส่งออกของไทยต่อเนื่อง
เกี่ยวกับ TISCO Asset Management
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2535 ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท โดยมีบริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้น 100% โดยบลจ. ทิสโก้ เป็นหนึ่งในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนชั้นนำของประเทศไทยที่ให้บริการการจัดการลงทุนครบวงจร ทั้งกองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนรวม ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การจัดการรวมกันร่วม 280,000 ล้านบาท และให้บริการกับลูกค้ามากกว่า 700,000 ราย
จากประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจการเงินตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลุ่มทิสโก้ได้สร้างผลงานจนเป็นที่ยอมรับถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน คุณภาพในการให้บริการ ตลอดจนความโปร่งใสในการควบคุมและปฏิบัติงานจนได้รับรางวัลอันทรงคุณค่าและน่าภาคภูมิใจต่างๆ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันมากมาย โดยล่าสุดทางบลจ.ทิสโก้ได้รับรางวัลดังนี้
- รางวัลบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนดีเด่น 2019 (Outstanding Asset Management Company Award 2019) ในงานประกาศรางวัล SET Awards 2019 จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และวารสารการเงินธนาคาร
- Winners of Financial Awards 2019, Best Asset Management Company จาก International Finance
- รางวัลเกียรติคุณ Sustainability Disclosure Award 2019 จาก สถาบันไทยพัฒน์ ร่วมกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- รางวัลกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพยอดเยี่ยม ประเภทตราสารแห่งทุน จาก Morningstar (Thailand) ในงาน Morningstar Thailand Fund Awards 2019
- รางวัล Best Responsible Investor จาก Asia Asset Management สื่อการเงินชั้นนำระดับเอเชีย ในงาน 2019 Best of The Best Awards ในฐานะบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน
- รางวัล Best Provident Fund Provider Thailand 2019 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จาก Global Banking and Finance Review สื่อการเงินชั้นนำระดับโลก
- International Finance Awards 2018, Most Innovative Asset Management Company จาก International Finance
TISCO Asset Management
สนใจรับข้อมูลพอร์ตการลงทุนนี้
แนะนำลงทุน: 500,000 บาทขึ้นไป
ลงทะเบียนเรียบร้อย
คุณจะได้รับอีเมล์แนะนำการใช้ FINNOMENA PORT ระหว่างนี้คุณสามารถค้นหาแผนการลงทุน FINNOMENA PORT ที่เหมาะสมกับคุณ
ต่อไปดูรายละเอียดพอร์ต บลจ. อื่นๆ
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | เนื่องจากมีกองทุนที่ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | ผู้ลงทุนสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับการแต่งตั้ง รวมถึง FINNOMENA ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่เบอร์ 02-026-5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”