ปรับพอร์ตใหญ่รับปี 2024

ปรับพอร์ตใหญ่รับปี 2024

FINNOMENA Investment Outlook 2024 ในภาพรวมเรามีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นกับสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะหุ้นสหรัฐฯ (กลุ่ม laggard) หุ้นยุโรป และหุ้นในประเทศตลาดเกิดใหม่ เนื่องจากเราเชื่อว่าสถานการณ์เงินเฟ้อในปัจจุบันได้กลับตัวเป็นขาลงแล้ว ทำให้ตลาดมีความคาดหวังว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2024 (อ้างอิงจาก CME Fed Watch Tool) และมีมุมมองเชิงลบโดยเปรียบเทียบต่อ Magnificent 7 ที่ปรับตัวขึ้นแรงในปี 2023 หุ้นญี่ปุ่นที่เรายังกังวลต่อท่าทีของ BOJ ที่อาจจะใช้นโยบายทางการเงินที่ตึงตัวขึ้นหลังจากนี้ และทองคำที่ราคาได้รับปัจจัยหนุนไปแล้วจากปัจจัยทางด้านภูมิรัฐศาสต์ส่งให้ราคาทองคำใกล้ทำระดับสูงสุดตลอดกาล

FINNOMENA FUNDS Investment Team จึงแนะนำปรับพอร์ตการลงทุนหลัก All Balance, GAR, GCP และ GIF โดยในรอบนี้จะเป็นการปรับเพื่อให้น้ำหนักการลงทุนสอดคล้องกับมุมมองการลงทุนปี 2024 ที่ได้เผยแพร่ไปในช่วงกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา

รูปที่ 1: มุมมองการลงทุนในปี 2024
Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 15/01/2024

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นตอบรับความคาดหวังการลดดอกเบี้ยซึ่งตลาดคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม โดยเฉพาะหุ้นเติบโตขนาดใหญ่และกลางที่มีความอ่อนไหวต่อดอกเบี้ยนโยบาย ต่างปรับตัวขึ้นหลังจากเห็นท่าทีของ Fed ที่ผ่อนคลายลงในการประชุมเดือนธันวาคม โดยเราแนะนำกองทุน KFUS-A ซึ่งลงทุนในกองทุนหลัก Baillie Gifford Worldwide US Equity Fund เน้นลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง และสามารถสร้างการเติบโตได้ยาวนาน กระจายลงทุนในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมสุขภาพ หุ้นกลุ่มซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์ ผู้ให้บริการคลาวด์ เป็นต้น

รูปที่ 2: EPS Revision ของ KFUS-A เทียบกับกองทุนอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกัน
Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 15/01/2024

โดยกองทุนนี้มีค่า beta อยู่ที่ 1.3 แปลว่าในช่วงที่เป็นขาขึ้น กองทุนดังกล่าวจะสามารถทำผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาด นอกจากนี้ KFUS-A ยังเป็นกองทุนที่มีการปรับประมาณการการเติบโตของ EPS ของหุ้นในพอร์ตขึ้นสูง เนื่องจากหุ้นบางตัวในพอร์ตเริ่มมีกำไรเกิดขึ้น และยังสามารถรักษาการเติบโตได้ต่อเนื่อง

รูปที่ 3: Valuation ตลาดหุ้นยุโรป เทียบกับตลาดหุ้นโลก
Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 15/01/2024

รูปที่ 4: สัดส่วนการลงทุนของ ONE-EUROEQ
Source: ELEVA Capital as of 30/11/2023

ด้านหุ้นยุโรป มีระดับ valuation ที่ถูกกว่าหุ้นโลกมากถึงระดับ -2 S.D. และ Fwd 12 month PE ของหุ้นยุโรป ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีของตัวเองที่ 13 เท่า ใกล้กับจุดต่ำสุดที่ 12.1 เท่า ประกอบกับถูกปรับประมาณการเติบโตของ EPS ที่สูงกว่าหุ้นโลก เราจึงแนะนำเข้าลงทุนในหุ้นยุโรป โดยผ่านกองทุน ONE-EUROEQ ซึ่งลงทุนในกองทุนหลัก Eleva European Selection Fund โดยมีผู้จัดการกองทุนที่เชี่ยวชาญในการลงทุนในหุ้นยุโรปอย่าง Eric Bendahan ที่เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทและผู้จัดการกองทุนตั้งแต่จัดตั้งเมื่อราว 9 ปีที่ผ่านมา และสามารถสร้างผลตอบแทนชนะดัชนีเปรียบเทียบได้สม่ำเสมอตั้งแต่จัดตั้ง

รูปที่ 5: คาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทย
Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 15/01/2024

ด้านตัวเลขเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยภาพรวมนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าในปี 2024 GDP จะขยายตัวขึ้น 3.5% ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาขยายตัวขึ้นถึง 2.8% และอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะคงที่เฉลี่ยราว 2.45% และมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลงมาตลอดปี 2023

รูปที่ 6: สถิติตัวเลขนักท่องเที่ยวรายประเทศรายเดือน
Source: FINNOMENA Funds, Macrobond as of 15/01/2024

ตัวเลขนักท่องเที่ยวไทยรายเดือนฟื้นตัวหลังจากเปิดประเทศในปี 2022 เป็นต้นมา โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยที่ 28 ล้านคนในปี 2023 แต่ยังน้อยกว่าตัวเลขที่รัฐบาลคาดที่ 40 ล้านคนต่อปี ทั้งนี้ภาครัฐออกมาตรการในการกระตุ้นจำนวนนักท่องเที่ยว เช่น การเว้นวีซ่านักท่องเที่ยวจีนถาวร เพื่อกระตุ้นการเดินทางเข้ามาของคนจีนให้ใกล้เคียงกับระดับช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด คาดว่าการท่องเที่ยวจะเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวต่อเนื่องในปีนี้

รูปที่ 7: เปรียบเทียบผลการดำเนินงานและความเสี่ยงของกองทุน ASP-SME-A และ TISCOHD-A
Source: FINNOMENA FUNDS, Morningstar as of 15/01/2024

ทั้งนี้ เรายังมองว่าการลงทุนในหุ้นไทยยังต้องเลือกลงทุนแบบ selective buy ในหุ้นที่มีความสามารถในการแข่งขันและอุตสาหกรรมยังสามารถขยายตัวได้ การลงทุนในหุ้นไทยขนาดกลางถึงเล็กที่มีผู้จัดการกองทุนที่มีความสามารถในการเลือกหุ้นได้ดีสม่ำเสมอ ซึ่งเราแนะนำกองทุน ASP-SME-A

รูปที่ 8: ระดับ valuation เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเองย้อนหลัง 10 ปี ของดัชนีตลาดหุ้นหลัก
Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 15/01/2024

เมื่อพิจารณาด้าน valuation ของตลาดหุ้นทั่วโลก จะพบว่าตลาดหุ้นจีน เวียดนาม ยุโรป ไทย และละตินอเมริกา ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว 10 ปีของตนเอง ซึ่งบ่งบอกความ laggard ตลาดหุ้นโลกและสหรัฐฯ ที่มี valuation เหนือค่าเฉลี่ยระยะยาวของตนเองหลังจากฟื้นตัวขึ้นในปีที่ผ่านมา ทำให้ตลาดหุ้นยุโรป ที่มีปัจจัยหนุนจากแรงกดดันด้านนโยบายทางการเงินที่ลดลง และตลาดหุ้นไทยที่มีปัจจัยสนับสนุนด้านการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นสองตลาดที่มีความน่าสนใจลงทุน

รูปที่ 9: ค่าใช้จ่ายในการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทไทยและดอลลาร์สหรัฐฯ
Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 15/01/2024

ยุคดอกเบี้ยสูงของสหรัฐฯ แม้ผลตอบแทนใน USD จะดูน่าดึงดูด แต่จากค่าใช้จ่ายการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging Cost) บนคู่สกุลเงิน USDTHB ที่สูงถึงระดับประมาณ 3% ดังนั้นการลงทุนในกองทุนรวมที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจะทำให้ผู้ลงทุนได้ผลตอบแทนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่า เมื่อพิจาณาว่าการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้โลกกองทุนหลักที่เราแนะนำ PIMCO GIS Income สามารถสร้างอัตราผลตอบแทนดอกเบี้ยในระดับ 6-7% ในสกุลเงิน USD แต่เมื่อป้องกันความเสี่ยงเป็นค่าเงินบาท อัตราผลตอบแทนดอกเบี้ยในสกุลเงินบาทจะเหลือเพียง 3-4% ดังนั้นจึงแนะนำให้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุนที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงินเพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบันสามารถลงทุนได้ผ่านกองทุน KFSINCFX-A ที่จัดตั้งในช่วงปลายปี 2023 ที่ผ่านมา

รูปที่ 10: ค่า Correlation 5 ปี ของ PIMCO GIS แบบป้องกันความเสี่ยงค่าเงินและไม่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน เมื่อเทียบกับ MSCI ACWI, Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 15/01/2024

อย่างไรก็ดี นักลงทุนหลายท่านอาจจะกังวลต่อความผันผวนที่เพิ่มขึ้นจากผลของการเคลื่อนไหวของ USDTHB ในกองทุนที่ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน (unhedged) แต่หากพิจารณาในแง่ของความสัมพันธ์ของผลตอบแทน (return correlation)  ของการลงทุนกองทุนตราสารหนี้โลกกับหุ้นโลกพบว่ากองทุน PIMCO GIS Income แบบไม่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน USDTHB จะมีค่า Correlation ที่ต่ำกว่าแบบป้องกันความเสี่ยงค่าเงินเมื่อเทียบกับดัชนีหุ้นโลก (MSCI ACWI) ซึ่งหมายถึงว่าในการจัดพอร์ตโดยภาพรวมแล้ว การลงทุนแบบ Unhedge บ้างในการจัดพอร์ตที่มีหุ้น จะช่วยลดความผันผวนพอร์ตในภาพรวมไม่ได้ 

รูปที่ 11: ราคาทองคำและเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่ปี 2022
Source: FINNOMENA FUNDS, Investing.com as of 15/01/2024

ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่รุนแรงขึ้น หนุนราคาทองคำได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น ตอกย้ำความเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe haven assets) เมื่อเกิดความไม่สงบ โดยการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำครั้งนี้ได้สะท้อนความกังวลด้านความขัดแย้งไปพอสมควร จึงทำให้ Upside จากการถือครองทองคำเริ่มจำกัด แนะนำให้ลดสัดส่วน

All Balance

รูปที่ 12: สัดส่วนการลงทุนในพอร์ต All Balance Source: FINNOMENA FUNDS as of 15/01/2024

  • แนะนำ ลดสัดส่วน KKP GNP-H  5%
  • แนะนำ ลดสัดส่วน KFAFIX-A  15% (ทั้งหมด)
  • แนะนำ ลดสัดส่วน TMBPIPF  15% (ทั้งหมด)
  • แนะนำ ลดสัดส่วน SCBGOLDH  10% (ทั้งหมด)
  • แนะนำ เพิ่มสัดส่วน KFUS-A 5%
  • แนะนำ เพิ่มสัดส่วน ONE-EUROEQ 5%
  • แนะนำ เพิ่มสัดส่วน ASP-SME-A 5%
  • แนะนำ เพิ่มสัดส่วน KFSINCFX-A 30%

 

ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับออก

 

FINNOMENA FUNDS Investment Team มีคำแนะนำปรับพอร์ต All Balance โดยอิงมุมมองการลงทุน FINNOMENA Investment Outlook 2024: มุมมองการลงทุนปี 2024 “A Year of Two Halves” จากธีมการลงทุนหลักของเราที่มีมุมมองเชิงบวกกับหุ้นเติบโตสหรัฐฯ จากปัจจัยกดดันด้านดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลง หลังเงินเฟ้อปรับตัวลงเข้าใกล้เป้าหมายของ Fed ตลาดหุ้นยุโรปถูกปรับประมาณการกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นมากกว่าหุ้นโลก ขณะที่ดัชนี STOXX600 ยังมี valuation ที่ถูกกว่าหุ้นโลกที่ระดับ -2 S.D. ด้านหุ้นไทยมีปัจจัยหนุนจากตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่คาดว่ากลับมาฟื้นตัว แม้จำนวนนักท่องเที่ยวยังฟื้นตัวช้ากว่าที่ตลาดคาดในปีที่ผ่านมา ด้าน valuation ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตัวเองในรอบ 10 ปี จาก Forward 12 m PE ที่ 14.2 เท่าจึงทำให้หุ้นไทยมีความน่าสนใจ FINNOMENA FUNDS Investment Team จึงแนะนำปรับสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 60% จากเดิมที่มีอยู่ 50% โดยลดสัดส่วนกองทุนหุ้นโลก และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเติบโตสหรัฐฯ หุ้นยุโรปและหุ้นไทยขนาดกลางเล็กเพิ่มขึ้น

ด้านตราสารหนี้โลกมีอัตราผลตอบแทนอยู่ในระดับสูงจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย ประกอบกับแนวโน้มเงินเฟ้อที่ชะลอตัว รวมถึงท่าทีที่ผ่อนคลายลงของธนาคารกลาง ส่งผลให้การถือครองตราสารหนี้โลกมีอัตราผลตอบแทนที่น่าดึงดูด

FINNOMENA FUNDS Investment Team จึงยังแนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้โลกชนิดไม่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงินอย่างกองทุน KFSINCFX-A ซึ่งลงทุนในกองทุน PIMCO GIS Income โดยมีไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้นักลงทุนลดค่าใช้จ่ายจากธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน และได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเต็มเม็ดเต็มหน่วย

รวมทั้งลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอย่างทองคำออกทั้งหมดหลังราคาปรับตัวขึ้นใกล้แตะระดับ All time high และแนะนำลดการลงทุนในกองทุน REIT ไทยเนื่องจากโอกาสที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะลดดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว (เป็นบวกกับ REIT) นั้นน้อยกว่าในต่างประเทศ และมองเห็นถึงโอกาสของการฟื้นตัวในหุ้นไทยที่ดีกว่ากองทุน REIT

GAR

รูปที่ 13: สัดส่วนการลงทุนในพอร์ต GAR Source: FINNOMENA FUNDS as of 15/01/2024

  • แนะนำ ลดสัดส่วน AFMOAT-HA 10%
  • แนะนำ ลดสัดส่วน LHTPROP 5% (ทั้งหมด)
  • แนะนำ ลดสัดส่วน SCBGOLD 5% (ทั้งหมด)
  • แนะนำ ลดสัดส่วน UGIS-N 20% (ทั้งหมด)
  • แนะนำ เพิ่มสัดส่วน KFUS-A 10%
  • แนะนำ เพิ่มสัดส่วน ONE-EUROEQ 10%
  • แนะนำ เพิ่มสัดส่วน ASP-SME-A 5%
  • แนะนำ เพิ่มสัดส่วน KFSINCFX-A 15%

 

ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับออก

 

FINNOMENA FUNDS Investment Team มีคำแนะนำปรับพอร์ต GAR โดยอิงมุมมองการลงทุน FINNOMENA Investment Outlook 2024: มุมมองการลงทุนปี 2024 “A Year of Two Halves” จากธีมการลงทุนหลักของเราที่มีมุมมองเชิงบวกกับหุ้นเติบโตสหรัฐฯ จากปัจจัยกดดันด้านดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลง หลังเงินเฟ้อปรับตัวลงเข้าใกล้เป้าหมายของ Fed ตลาดหุ้นยุโรปถูกปรับประมาณการกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นมากกว่าหุ้นโลก ขณะที่ดัชนี STOXX600 ยังมี valuation ที่ถูกกว่าหุ้นโลกที่ระดับ -2 S.D. ด้านหุ้นไทยมีปัจจัยหนุนจากตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่คาดว่ากลับมาฟื้นตัว แม้จำนวนนักท่องเที่ยวยังฟื้นตัวช้ากว่าที่ตลาดคาดในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ valuation ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตัวเองในรอบ 10 ปี จาก Forward 12 month PE ที่ 14.2 เท่า

FINNOMENA FUNDS Investment Team จึงแนะนำปรับสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นไปที่ระดับ 85% จากเดิมที่ 70% โดยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเติบโตสหรัฐฯ หุ้นยุโรป และหุ้นไทยขนาดกลางเล็ก และขายทำกำไรบางส่วนในกองทุน AFMOAT-HA

ด้านตราสารหนี้โลกที่มีอัตราผลตอบแทนสูงจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย ประกอบกับแนวโน้มเงินเฟ้อที่ชะลอตัว รวมถึงท่าทีที่ผ่อนคลายลงของธนาคารกลาง ส่งผลให้การถือครองตราสารหนี้โลกมีความน่าสนใจมากขึ้น FINNOMENA FUNDS Investment Team จึงยังแนะนำการลงทุนในตราสารหนี้โลก แต่ต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับที่สูงถึง 3% ต่อปี เราจึงแนะนำปรับสัดส่วนการลงทุนจาก UGIS-N เข้าลงทุนใน KFSINCFX-A ซึ่งลงทุนในกองทุน PIMCO GIS Income โดยมีนโยบายไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้นักลงทุนลดค่าใช้จ่ายจากธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน และได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเต็มเม็ดเต็มหน่วย

รวมทั้งลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอย่างทองคำออกทั้งหมดหลังราคาปรับตัวขึ้นใกล้แตะระดับ All time high และแนะนำลดการลงทุนในกองทุน REIT ไทยเนื่องจากโอกาสที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะลดดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว (เป็นบวกกับ REIT) นั้นน้อยกว่าในต่างประเทศ และมองเห็นถึงโอกาสของการฟื้นตัวในหุ้นไทยที่ดีกว่ากองทุน REIT

GCP

รูปที่ 14: สัดส่วนการลงทุนในพอร์ต GCP Source: FINNOMENA FUNDS as of 15/01/2024

  • แนะนำ ลดสัดส่วน KFAFIX-A  25% (ทั้งหมด)
  • แนะนำ ลดสัดส่วน SCBGOLDH  5% (ทั้งหมด)
  • แนะนำ ลดสัดส่วน LHTPROP 5% (ทั้งหมด)
  • แนะนำ เพิ่มสัดส่วน KFSINCFX-A 35%

 

ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับออก

 

FINNOMENA Funds Investment Team มีคำแนะนำปรับพอร์ต GCP โดยอิงมุมมองการลงทุน FINNOMENA Investment Outlook 2024: มุมมองการลงทุนปี 2024 “A Year of Two Halves” จากธีมการลงทุนหลักของเราที่มีมุมมองเชิงบวกกับตราสารหนี้โลกที่มีอัตราผลตอบแทนสูงจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย ประกอบกับแนวโน้มเงินเฟ้อที่ชะลอตัว รวมถึงท่าทีที่ผ่อนคลายลงของธนาคารกลาง ส่งผลให้การถือครองตราสารหนี้โลกมีอัตราผลตอบแทนที่น่าดึงดูดกว่าตราสารหนี้ไทย อีกทั้งยังคาดหวังผลตอบแทนส่วนเพิ่มจาก Capital gain หาก Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ย  FINNOMENA Funds Investment Team แนะนำปรับสัดส่วนการลงทุนจาก KFAFIX-A เข้าลงทุนใน KFSINCFX-A ซึ่งลงทุนในกองทุน PIMCO GIS Income ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน 

รวมทั้งลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอย่างทองคำออกทั้งหมดหลังราคาปรับตัวขึ้นใกล้แตะระดับ All time high และแนะนำลดการลงทุนในกองทุน REIT ไทยเนื่องจากโอกาสที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะลดดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว (เป็นบวกกับ REIT) นั้นน้อยกว่าในต่างประเทศ และมองเห็นถึงโอกาสของการฟื้นตัวในหุ้นไทยที่ดีกว่ากองทุน REIT

GIF

รูปที่ 15: สัดส่วนการลงทุนในพอร์ต GIF Source: FINNOMENA FUNDS as of 15/01/2024

  • แนะนำ ลดสัดส่วน KKP S-PLUS 10% (ทั้งหมด)
  • แนะนำ ลดสัดส่วน LHTPROP 10% (ทั้งหมด)
  • แนะนำ เพิ่มสัดส่วน UGIS-A 10%
  • แนะนำ เพิ่มสัดส่วน PRINCIPAL IDIV-R 10%

 

ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับออก

 

FINNOMENA Funds Investment Team มีคำแนะนำปรับพอร์ต GIF โดยอิงมุมมองการลงทุน FINNOMENA Investment Outlook 2024: มุมมองการลงทุนปี 2024 “A Year of Two Halves” จากธีมการลงทุนหลักของเราที่มีมุมมองเชิงบวกกับตราสารหนี้โลกที่มีอัตราผลตอบแทที่สูงจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย ประกอบกับแนวโน้มเงินเฟ้อที่ชะลอตัว รวมถึงท่าทีที่ผ่อนคลายลงของธนาคารกลาง ส่งผลให้การถือครองตราสารหนี้โลกที่มีอัตราผลตอบแทนที่ดึงดูดกว่าตราสารหนี้ไทย อีกทั้งยังคาดหวังผลตอบแทนส่วนเพิ่มจาก Capital gain หาก Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ย  จึงทำให้ FINNOMENA Funds Investment Team ปรับลดสัดส่วนการลงทุนจาก KKP S-PLUS เข้าลงทุนใน UGIS-A ซึ่งลงทุนในกองทุน PIMCO GIS Income ที่จ่ายกระแสเงินสดให้กับนักลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และมีความผันผวนที่ต่ำ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พอร์ตการลงทุน GIF สามารถสร้างผลตอบแทนจากกระแสเงินสดได้สูงถึง 4% ตามเป้าหมายในปีที่ผ่านมา

รวมทั้งลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน REIT ไทยเนื่องจากโอกาสที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะลดดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว (เป็นบวกกับ REIT) นั้นน้อยกว่าในต่างประเทศ และมองเห็นถึงโอกาสของการฟื้นตัวในหุ้นไทยที่ดีกว่ากองทุน REIT ประกอบกับ valuation ของ SET Index ที่อยู่ในระดับที่ถูกกว่าค่าเฉลี่ยของตัวเองในรอบ 10 ปี FINNOMENA Funds Investment Team จึงแนะนำสับเปลี่ยนจากกองทุน LHTPROP เข้าลงทุนใน PRINCIPAL IDIV-R แทนทั้งหมด เพื่อรับผลตอบแทนจาก yield ที่มีความสม่ำเสมอมากขึ้น และเปิดโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากการฟื้นตัวของหุ้นไทยในอนาคต

ศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/

FINNOMENA FUNDS Investment Team


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | บทความนี้จัดทำโดยบลป.เดฟินิท จำกัด เพื่อบลน. ฟินโนมีนา จำกัด | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

iran-israel-war