ปัญหาใหญ่ของผู้มีรายได้ทุกคนคงหนีไม่พ้นการต้องจ่ายภาษีเป็นจำนวนมาก กองทุนลดหย่อนภาษีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ตัวผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ต้องซื้อกองทุนลดหย่อนเหล่านี้ทุกปี …. ไม่ใช่ไม่อยากจ่ายภาษี แต่ถ้ามันมีวิธีลดหย่อนได้ทำไมจะไม่ทำ?
หลังจากที่ LTF หมดสิทธิ์ลดหย่อนภาษีแล้ว กลายเป็น SSF แทน เลยทำให้หลาย ๆ คนอาจจะงงนิดหน่อย วันนี้ผมเลยอยากสรุปข้อมูลทั้งหมดที่ผมหามา Cross-Check เรียบร้อยแล้วว่าข้อมูลอัปเดตล่าสุดแน่นอนในแต่ละส่วน
SSF หรือ Super Savings Fund คือกองทุนรวมประเภทหนึ่ง ซึ่งมีสิทธิพิเศษมากกว่ากองทุนรวมทั่วไปตรงที่รัฐบาลอนุญาตให้สามารถนำจำนวนเงินที่ซื้อกองทุน SSF มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ครับ
ในความเป็นจริง SSF และ RMF (Retirement Fund) ถือเป็นกองทุนรวมตระกูลลดหย่อนภาษีทั้ง 2 ประเภท แต่มันมีความแตกต่างหลัก ๆ อยู่ตรงเงื่อนไขระยะเวลาตอนที่ขายกองทุนได้ ส่วนที่เหลือคล้าย ๆ กับ SSF ผมสรุปข้อแตกต่างของทั้ง 2 กองทุนให้ในตารางด้านล่างนี้ครับ
เปิดบัญชีกองทุนรวมกับ FINNOMENA ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. – 30 เม.ย. 64 รับฟรี! หน่วยลงทุน K-Cash 100 บาท และ ส่วนลด Shopee Code 100 บาท เพียงใส่ #FUNDSHOP100 ช่อง referral code ตอนเปิดบัญชีบนแอป FINNOMENA รายละเอียด คลิก: https://finno.me/shop200
SSFX เป็นกองทุนลดหย่อนภาษีที่เรียกได้ว่า “เฉพาะกิจ” ซื้อได้ตั้งแต่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2563 เข้าไปซื้อตอนนี้ก็ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีไม่ได้แล้ว ถ้าซื้อ SSFX ไปจนปีนี้คุณไม่ต้องจ่ายภาษีแล้วก็ไม่ต้องซื้อ SSF แล้วครับ … แต่ !!! ถ้าคุณยังต้องจ่ายภาษีอยู่ การซื้อ SSF เพิ่มเติมจะช่วยให้คุณลดหย่อนภาษีเพิ่มได้ โดยไม่ต้องไปคิดวงเงินที่ซื้อ SSFX เพราะวงเงินมันแยกกัน เอาเป็นว่าถ้ายังมีภาษีที่ต้องจ่ายหลังจากหักค่าลดหย่อนจาก SSFX แล้ว และยังอยากลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมก็ซื้อ SSF โลด ไม่ต้องกังวลกับ SSFX ที่ซื้อไปแล้วครับ
โดยสรุปแล้วผมว่า 99% ของคนที่หลุดเข้ามาอ่านบทความ และอ่านมาถึงตรงนี้ได้ ผมว่า … คุณคือคนที่มีรายได้ถึงระดับที่ต้องจ่ายภาษี คุณต้องการลดหย่อนภาษี คุณอาจจะมีการลดหย่อนด้วยวิธีอื่น แต่คุณก็ยังอยากลดหย่อนเพิ่มเติม และที่สำคัญคือคุณมีเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายสามารถลงทุนระยะยาว 10 ปีได้ แบบนี้ต้องซื้อ SSF แล้วครับ !
หมายเหตุ: เป็นมุมมองกองทุนของ BuffettCode ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับ FINNOMENA นะครับ
ใครอยากทราบกองทุน SSF RMF แนะนำโดย FINNOMENA คลิกที่นี่ครับ
จากข้อมูลของ MorningStar ณ ตอนนี้เรามี SSF อยู่ทั้งสิ้น 114 กอง (ข้อมูลอัปเดตวันที่ 3 มีนาคม 2564) ซึ่ง SSF แต่ละประเภทมีจุดเด่น และสิ่งที่น่าสนใจแตกต่างกันไป การจะบอกแบบฟันธงว่าใครควรลงทุนแบบไหนคงไม่ได้เพราะแต่ละคนมี “วัตถุประสงค์” ในการลงทุนแตกต่างกัน ดังนั้นผมจะขอแยกข้อมูลของ SSF แต่ละประเภทมาอธิบายไว้ในแต่ละข้อแบบนี้ครับ
ถ้าคุณเป็นคนที่ซื้อ SSF เพราะต้องการลดหย่อนภาษีเป็นหลัก ไม่ได้แคร์มากมายว่าผลตอบแทนต้องโตเท่านู้นเท่านี้ นอกจากนั้นคุณยังเป็นคนที่กลัวขาดทุนด้วย ถ้าเป็นแบบนี้คุณจะเหมาะกับ SSF สายตราสารหนี้ครับ เพราะกองทุนตราสารหนี้เหล่านี้ค่อนข้างมีความผันผวนต่ำ สิ่งที่ต้องระวังคืออาจจะต้องดูเครดิตเรทติ้งดี ๆ เลือกกองตราสารหนี้ที่เป็น Investment Grade (IG) เป็นหลัก
กองที่ผมชอบที่สุดคือกอง K-FIXEDPLUS-SSF เพราะมีสัดส่วนของเงินฝากประจำ พันธบัตรและตราสารหนี้รัฐบาล กระทรวงการคลังค้ำประกันสูงกว่ากองอื่น ๆ แบบมีนัย ซึ่งส่งผลให้ความเสี่ยงน้อยลงมาก (ค่าความเสี่ยงของกองทุนอยู่ในระดับ 4)
นอกจากนั้นถ้าคุณกลัวมาก ๆ ๆ ๆ ๆ ไม่เอาความเสี่ยงเลย ตราสารหนี้ก็ยังรู้สึกว่าเสี่ยง งั้นผมขอแนะนำกองที่ลงทุนในตราสารเงิน KFCASHSSF ซึ่งลงทุนหลักในพันธบัตรรัฐบาลของธนาคารแห่งประเทศไทย 95.8% (ค่าความเสี่ยงของกองทุนอยู่ในระดับ 1 ปลอดภัยกว่านี้ไม่มีอีกแล้วจ้า
แต่ถ้าคุณเป็นสายผลตอบแทน ลดหย่อนภาษีแล้วก็คาดหวังผลตอบแทนด้วย แบบนี้เลือกหลากหลายเลยครับ ขั้นแรกคุณต้องดูก่อนว่าคุณอยากลงทุนในไทยหรือต่างประเทศ?
ถ้าคุณเป็นคนที่เล่นหุ้น มีหุ้นไทยอยู่เยอะ ผมอยากแนะนำให้กระจายความเสี่ยงลงทุน SSF ที่ลงทุนในต่างประเทศครับ ลงทุนกองหุ้นต่างประเทศมีข้อดีคือได้ลงทุนในธุรกิจที่ไม่มีในตลาดหุ้นไทย ซึ่งแต่ละบริษัทโหด ๆ ทั้งนั้น กองหุ้นต่างประเทศที่ผมชอบในแต่ละหมวดก็จะมี …
ผมขอไม่อธิบายลงลึกในกองทุนแต่ละกองนะครับ แต่เชื่อว่าข้อมูลตรงนี้น่าจะให้ไอเดียได้ระดับนึงสำหรับคนที่ต้องการซื้อ SSF เพื่อผลตอบแทนระยะยาว
ถ้าคุณกลัวความเสี่ยงแต่ก็ยังอยากได้ผลตอบแทน …. การซื้อกองทุนรวมมีข้อดีอย่างหนึ่งคือไม่จำเป็นเสมอไปที่เราต้องเลือกที่จะ “เสี่ยง” หรือ “ไม่เสี่ยง” เพราะกองทุนรวมบางกองมีการรวมเอาสินทรัพย์หลาย ๆ อย่างไว้ในกองเดียว เช่นมีทั้งหุ้น ตราสารหนี้และกองทุนอสังหาฯ เป็นต้น เราเรียกกองทุนประเภทแบบนี้ว่า “กองทุนรวมผสม” ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่อยากเดินทางสายกลาง ไม่เสี่ยงเกินไป แต่ก็ได้ผลตอบแทนที่ไม่ขี้เหร่นัก
ถ้าจะเลือกกองทุนผสมผมอยากให้เน้นเป็นกองทุนผสมที่ผสมจริง ๆ คือไม่เพียงแค่ผสมประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุนแต่ควรจะต้องผสมภูมิภาคด้วย คือลงทุนไปหลาย ๆ ประเทศ ในหมวดนี้กองแนะนำขอยกให้ KKP SG-AA-SSF ซึ่งเป็นกองที่เปิดมาแล้วระยะหนึ่ง มี Performance ให้เห็นชัดเจนดี มีการกระจายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
ส่วนอีกกองที่อาจจะเป็นม้ามืดคือ UROCK-SSF ของ UOB กองเพิ่งตั้งมาไม่นาน แต่เห็นไส้ในมีกองที่ผมชอบ UGQG ซึ่งลงทุนใน Apple, Microsoft, Amazon อยู่ด้วย และกองนี้ไม่มีหุ้นไทย ถ้าใครหุ้นไทยเยอะอยู่แล้วก็อาจจะลองพิจารณาดูได้ครับ
หากคุณคิดจะลงทุนเพิ่มในกองทุนรวม นี้คือสิ่งที่คุณไม่อยากพลาด! สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่อรับโพยกองทุนเด็ดที่แนะนำ อัพเดททุกเดือนจาก FINNOMENA
กดที่นี่เพื่อรับโพยกองทุนคำถามโลกแตกของการเลือก SSF อีกคำถามคือจะเอาแบบปันผลหรือไม่ปันผลดีนะ? จริง ๆ ทั้ง 2 ทางเลือกมีข้อดีข้อเสียต่างกันพอสมควร
ไม่ต้องจ่ายภาษีปันผลครับ ส่วนใหญ่อยู่ประมาณ 10% นอกจากนั้นยังได้เก็บเงินและผลกำไรไปลงทุนต่อได้เต็ม ๆในกอง SSF เดิม เรียกได้ว่าถ้าเลือกกองมาดีแล้วผลตอบแทนที่ได้น่าจะดีกว่าเอาปันผลออกมาระดับหนึ่งเลยครับ
สิ่งที่ผมเห็นชัดที่สุดคือการได้เงินกลับคืนมาก่อนส่วนหนึ่งครับ ต้องอย่าลืมว่า SSF เป็นการลงทุนระยะยาว 10 ปี กว่าจะได้เงินคืนคืออีก 10 ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้นจะดีกว่าไหมถ้าเลือกแบบปันผลและได้เงินกลับมาบางส่วนก่อน 10 ปี? แต่แน่นอนก็ต้องแลกมาด้วยภาษีที่ต้องจ่าย และถ้าเอาเงินมาไม่รู้จะไปทำอะไรไปฝากออมทรัพย์ผมก็อยากแนะนำว่าอย่าเอาแบบปันผลเลยครับ ถ้าไม่ได้ต้องการใช้เงินจริง ๆ เอาเงินไปลงทุนต่อดีกว่า
ข้อดีก็ประมาณนี้ ส่วนข้อเสียก็ตรงข้ามกับข้อดีที่เขียนไปครับ ลองพิจารณากันดู ซึ่งถ้าใครอยากได้กอง SSF แบบปันผลผมรวบรวมรายชื่อมาให้ไว้แล้วครับ มีทั้งหมด 7 กองคือ LHSMARTDSSF-SSF, LHPROPA-DSSF, KFDIVSSF, SCBDV-SSF, SCBLT1-SSF, MPDIVSSF และ I-SEQS-DSSF
ถ้าถามคำถามนี้ก็ต้องบอกตรง ๆ ว่าผมเอียงไปทางลงทุนหุ้นต่างประเทศมากกว่าครับ เพราะนักลงทุนไทยส่วนใหญ่มักจะมีหุ้นไทยอยู่แล้ว คนเล่นกองทุน 95% ทุกคนมีพอร์ตหุ้น ดังนั้นก็ควรจะกระจายความเสี่ยงไปลงต่างประเทศด้วย เรื่องความเสี่ยงประเทศไทยมีหลายเรื่องด้วยกัน ที่เห็นไม่ค่อยชัดมีเยอะผมไม่ขอพูดถึง 555
แต่ที่เห็นชัด ๆ คือสินทรัพย์ในการลงทุนบ้านเราไม่ค่อยหลากหลายเหมือนต่างประเทศ หุ้นหลาย ๆ ตัวที่บ้านเราบอกว่าแข็งแกร่งแล้ว ใหญ่แล้ว พอไปเทียบกับตลาดหุ้นโลกกลายเป็นกระต่ายน้อยท่ามกลางเสือสิงห์กระทิงแรด หุ้น Technology ดี ๆ หุ้นแบรนด์ดัง ๆ หุ้นธุรกิจ Model ใหม่ ๆ กอง Infrastructure จี๊ด ๆ กองทุน Data Center โหด ๆ ประเทศไทยไม่มีกับเขาครับ
กองที่อยากแนะนำถ้าเป็นหุ้นก็ตามที่ผมเขียนไปแล้วใน SSF สายลุยข้างบน แต่ถ้าไม่เอาหุ้นล่ะ? งั้นผมขอแนะนำกองในตำนานกองนี้ครับ PRINCIPAL IPROPEN-SSF ปกติจะลงกองนี้ต้องลงกองทุนรวมธรรมดาไม่ก็ RMF ตอนกองนี้ประกาศออก SSF ผมดีใจมาก เพราะมันหมายความว่าผมสามารถลงทุนในพวกกองทุนอสังหาฯ กอง Infrastructure ดี ๆ ในเอเชียได้แล้วโดยไม่ต้องซื้อ RMF แล้วรอถึงอายุ 55 ถึงจะขายได้
อย่างไรก็ตาม คนที่สนใจซื้อต้องรู้นะครับว่ากองนี้มันไม่ได้ลงทุนในกองอสังหาฯ ที่เหมือนกับ PRINCIPAL iPROP เป๊ะ ๆ PRINCIPAL IPROPEN-SSF เน้นลงทุนใน ETF อสังหาฯ ของออสเตรเลีย และญี่ปุ่น มีหมดทั้งออฟฟิศ ศูนย์การค้า คลังสินค้า และโรงแรม แต่ถ้าอยากได้แบบกอง PRINCIPAL iPROP แบบเป๊ะ ๆ เลยต้องไปลง PRINCIPAL IPROPRMF ครับ
การลงทุนทุกอย่างมีเงื่อนไขและข้อยกเว้นที่ต้องศึกษาครับ แม้ผมเองจะไม่ค่อยอินกับ SSF หุ้นไทย (เพราะส่วนตัวก็มี LTF หุ้นไทยเยอะอยู่แล้ว) แต่ก็อาจจะมีเพื่อน ๆ หลายท่านที่เพิ่งซื้อ SSF ไม่ได้ลงทุนเองนอกเหนือจากกองทุนลดหย่อนเลย และเชื่อว่าในระยะยาวอย่างน้อย ๆ 10 ปีประเทศไทยยังเติบโตได้ ถ้าเงื่อนไขแบบนี้ SSF หุ้นไทยจะดูเหมาะสมกับความต้องการมากครับ กองหุ้นไทยที่ผมอยากแนะนำมี 2-3 กองด้วยกัน
ข้อสังเกตถ้าอยากลงทุน SSF หุ้นไทยคือ ทุก ๆ คนคงรู้กันอยู่แล้วว่าที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยไม่ค่อยดี เราเจอกับความท้าทายหลากหลายมาก ๆ เมื่อต้นปีโดนเรื่อง COVID-19 เข้าไปอีก ผมว่าการลงทุนในหุ้นไทยตอนนี้ไม่ใช่การคาดหวังการเติบโตแต่เป็นการคาดหวังการฟื้นตัวในระยะยาว 5-10 ปี ดังนั้นถ้าเข้าไปลงทุนตอนนี้ก็ต้องรอกันหน่อยครับ แล้วอย่าไปอิง Performance ย้อนหลังมาก เพราะตัวเลขมันจะไม่สวยแน่ ๆ และการลงทุนเป็นเรื่องของมุมมองในอนาคต ถ้าคุณมองว่าดีก็สามารถลงทุนได้ครับ
การลงทุนและลดหย่อนภาษีถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ยังมีบางกรณีที่อาจจะไม่ควรซื้อ SSF และเงื่อนไขที่เราต้องมั่นใจว่าไม่ได้ทำผิดเงื่อนไขด้วยเช่นกัน
เนื่องจากการซื้อ SSF สามารถเปลี่ยนกองทุนได้ในกรณีที่เราไม่พอใจในผลตอบแทน การจัดการหรืออะไรก็ตาม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งอาจมีค่าธรรมเนียม และมีช่วงระยะเวลาในการสับเปลี่ยนระดับหนึ่ง ถ้าคุณสับเปลี่ยนข้าม บลจ.
ดังนั้นเพื่อความสะดวกสบายในการสับเปลี่ยน การซื้อ SSF ของ บลจ. ที่มีกองทุนหลากหลายจะทำให้ได้เปรียบกว่า SSF ของ บลจ. ที่มีกองทุนน้อย ๆ ไม่หลากหลาย
ในจำนวน บลจ. ทั้งหมดผมชอบของ Krungsri มากที่สุด เพราะมีกอง SSF ที่ลงทุนในตราสารเงิน ตราสารหนี้ ตราสารทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมไปถึงกอง Asset Allocation และกองทุนแบบปันผล
นอกจากนี้ FINNOMENA ก็มีเปิดบัญชีให้ซื้อกองทุนประหยัดภาษีทั้ง SSF RMF ได้ด้วย ช่วยเลือกกองเด็ด ๆ มาให้ด้วย กดเปิดจากที่บ้าน ทีเดียวซื้อได้หมด ไม่ต้องส่งเอกสาร สับเปลี่ยนกองทุนได้อีกด้วยนะ
สำหรับลูกค้าใหม่ อ่านวิธีเปิดบัญชีซื้อกองทุน Tax Saving เพิ่มเติม คลิก
สำหรับลูกค้าเก่า เปิดแอปพลิเคชั่น แล้วเลือกสร้างแผน “Tax Saving” ได้เลย
เปิดบัญชีกองทุนรวมกับ FINNOMENA ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. – 30 เม.ย. 64 รับฟรี! หน่วยลงทุน K-Cash 100 บาท และ ส่วนลด Shopee Code 100 บาท เพียงใส่ #FUNDSHOP100 ช่อง referral code ตอนเปิดบัญชีบนแอป FINNOMENA รายละเอียด คลิก: https://finno.me/shop200
จากข้อมูลที่ผมสรุปมาให้ทั้งหมดจะเห็นว่าการลงทุนใน SSF จะว่าง่ายมันก็ง่าย จะว่ายากมันก็อยาก ขึ้นอยู่ที่ความต้องการของแต่ละคน และความจริงจังในการลงทุน แต่ที่แน่ ๆ เลยคือเงื่อนไขของกองมันยุบยิบมาก ๆ ทำเอาหลาย ๆ คนกลัวและมึนงงกันไป โดยเฉพาะเพื่อน ๆ ที่เพิ่งเคยลดหย่อนภาษีเป็นครั้งแรก ผมหวังว่าข้อมูลครั้งนี้จะมีประโยชน์กับเพื่อน ๆ ทุกคน ลงทุนและลดหย่อนภาษีกันอย่างถูกต้องนะครับ ^_^
May the Tax “Not” be with you.
Happy Investing krub.
BuffettCode
Jessada Sookdhis
Investment Analyst (IA)
ตรวจทานบทความ
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพก่อนตัดสินใจลงทุน | ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน และจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับภายในกำหนดเวลา มิฉะนั้นจะต้องชำระเงินเพิ่ม และ/หรือเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน I สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
หากคุณคิดจะลงทุนเพิ่มในกองทุนรวม นี้คือสิ่งที่คุณไม่อยากพลาด! สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่อรับโพยกองทุนเด็ดที่แนะนำ อัพเดททุกเดือนจาก FINNOMENA
กดที่นี่เพื่อรับโพยกองทุนArticle, ASP-SME-SSF, Basic, BEQSSF, I-SEQS-DSSF, K-CHANGE-SSF, K-FIXEDPLUS-SSF, KFCASHSSF, KFDIVSSF, KFGBRANSSF, KKP SET50 ESG-SSF, KKP SG-AA-SSF, Knowledge, LHPROPA-DSSF, LHSMARTDSSF-SSF, Long Content, MPDIVSSF, ONE-ALLCHINA-ASSF, ONE-UGG-ASSF, Picture Slide, PRINCIPAL IPROPEN-SSF, PRINCIPAL TDIF-SSF, SCBDV-SSF, SCBLT1-SSF, SCBS&P500-SSF, SSF, SSF-RMF-General, UROCK-SSF, กองทุนประหยัดภาษี, กองทุนรวมลดหย่อนภาษี, กองทุนลดหย่อนภาษี, ประหยัดภาษี, ลดหย่อนภาษี
นักลงทุนผู้หลงไหลในหุ้นเติบโต ชื่นชอบการศึกษากลยุทธทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และพัฒนาการของบิสสิเนสโมเดลใหม่ๆ