ในสภาวะที่ตลาดยังคงผันผวนไม่แน่นอน เป็นงานหนักของนักลงทุนที่จะต้องค้นหาโอกาสที่สามารถรับมือกับภาวะตลาดเช่นนี้ได้ และจะเลือกสรรแนวทางการปรับพอร์ตการลงทุนอย่างไรให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน สินทรัพย์ที่เป็นโอกาสในการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน ณ ขณะนี้คงหนีไม่พ้นสินทรัพย์จำพวก REITs ที่หลายบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนให้ความสนใจมากขึ้น และอาจเป็นตัวช่วยของนักลงทุนในการบริหารจัดการพอร์ตให้ไม่อยู่ในความเสี่ยงมากจนเกินไป และยังสามารถสร้างโอกาสในการลงทุนได้อีกด้วย
สืบเนื่องจากกำลังอยู่ในช่วงผ่านการระบาดของ COVID – 19 มีการคาดการณ์ว่าภาพรวมของเศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่ภาวะสงครามที่เกิดขึ้นนั้นทำให้เศรษฐกิจมีการชะลอตัวลง ทาง Goldman Sachs US Economics Forecasts มีการปรับลด GDP ในประเทศสหรัฐอเมริกา จากที่คาดว่ามีการเติบโตเกือบ 6% ในปี 2022 อาจเหลือน้อยกว่า 3% ทั้งนี้ หากตัดประเด็นสงครามออกไป การระบาดของ COVID – 19 ก็ยังส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ รวมถึงฝั่งตลาดจีนก็ได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์ครั้งใหญ่
สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ราคาน้ำมันที่มีการปรับเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง ทางฝั่งธนาคารกลางในสหรัฐ ฯ มีนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อที่จะรับมือกับภาวะเงินเฟ้อซึ่งพุ่งทะลุถึง 8 % และไม่มีทีท่าว่าจะปรับลดลงแต่อย่างใด ประกอบกับสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนกินเวลานานกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา FED ได้มีการปรับเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นอีก 0.5% ส่งผลให้ตราสารหนี้ต่าง ๆ ได้รับแรงกดดันและต้องมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
FED ออกนโยบายเพื่อรับมือกับปัญหาเงินเฟ้อโดยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว และการดึงสภาพคล่องออกจากตลาดผ่านการทำ Quantitative Tightening (QT) ถ้าพิจารณาในส่วนของตลาดดอกเบี้ย ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 0.75% และคาดว่าสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 2.5% และในระยะยาวจะอยู่ที่ 3.5%
ทั้งนี้ FED ได้มีการประกาศนโนบายลดงบดุล สืบเนื่องจากสินทรัพย์ประเภทที่มีความเสี่ยงนั้นดูดให้ตัวเงินไหลกลับเข้ามาในระบบ ในช่วงที่ผ่านมา ตลาด S&P สามารถทำ All time high ได้อย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้ตัวเงินไหลไปยังสินทรัพย์ดิจิทัล คริปโตเคอเรนซี่ ฯลฯ เพิ่มมากขึ้น และเกิดสภาพคล่องที่ล้นเกินในระบบ ดังนั้น ทาง FED จึงทำการดูดซับสภาพคล่องโดยการลดงบดุลในเดือนมิถุนายนนี้ ในอัตรา 47.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ / เดือน และเดือนกันยายนเป็นต้นไปในอัตรา 95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ / เดือน และหากยังไม่มีทีท่าว่าอัตราเงินเฟ้อจะว่าจะลดลง ทาง FED อาจมีการออกนโยบายที่เข้มงวดมากขึ้น เป็นเหตุให้ตลาดมีความผันผวนสูง
ในปี 2022 นี้ หากอัตราเงินเฟ้อยังไม่สามารถลดลงไปตามเกณฑ์ที่ FED ได้คาดหวังไว้ (ประมาณ 2%) ก็อาจเป็นสัญญาณได้ว่าเศรษฐกิจมีการชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด กลยุทธ์ ณ ปัจจุบันของนักลงทุนที่สอดรับกับสถานการณ์นี้คือ การปรับพอร์ตการลงทุน และการถือครองเงินสดเอาไว้ เพื่อรอให้ภาพรวมของตลาดมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสิ่งที่ธนาคารกลางให้ความสำคัญมากที่สุดคือ “เงินเฟ้อ” หากพุ่งขึ้นสูงกว่าปัจจุบันอาจทำให้รับมือได้ยาก อย่างไรก็ตาม ธุรกิจหรือหลักทรัพย์ที่เน้นกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง เช่น หุ้นปันผลดี หรือสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ มีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับสภาวการณ์ที่ตลาดมีความผันผวนต่ำ ถึงแม้จะอยู่ในช่วง Stagflation ก็ตาม
หากมองในเชิงวงจรธุรกิจ ณ ปัจจุบันเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงของการชะลอตัว และส่งผลให้สินทรัพย์ประเภทหุ้นนั้นได้รับผลตอบแทนต่ำ ซึ่งสวนทางกับความผันผวนของหุ้นที่มีความผันผวนสูง ดังนั้น การลงทุนในตราสารทุน ณ ปัจจุบันอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก นักลงทุนอาจจะต้องมองหาทางเลือกอื่น ๆ ที่สามารถต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวได้
ทาง LH fund ได้มีการประเมินสถานการณ์และให้คำแนะนำแก่ผู้ลงทุนในส่วนของสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยมากขึ้น ในส่วนของตราสารหุ้นนั้น อาจเป็นกลุ่ม Defensive Stock หรือหุ้นที่มีมูลค่าและเงินปันผลคงที่/ High dividend stock ที่มีเงินปันผลสูง/ สินทรัพย์ทางเลือกประเภท REITs ที่มีรายได้ชัดเจน ซึ่งมาจากการเก็บค่าเช่าในอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าลงทุนนั่นเอง
หากเปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่างหุ้นกับ REITs โดยพิจารณาผลตอบแทนรวม หรือ Total return ทั้งการเปลี่ยนแปลงของราคาและเงินปันผลนั้น จะเห็นได้ว่า REITs มีผลตอบแทนสูงกว่าหุ้น (ใช้ S&P 500 เป็นเกณฑ์) ในช่วงที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับปานกลางถึงสูง หรือมีอัตราเงินเฟ้อตั้งแต่ 2.5% – 6.9% ขึ้นไป
ผลตอบแทนจาก REITs ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในรูปของเงินปันผลระดับสูง เนื่องจาก REITs ได้รับรายได้จากค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในสัญญาเช่าระยะยาวนั้นมีความเกี่ยวโยงกับเงินเฟ้อด้วยเช่นกัน จึงสามารถปรับขึ้นค่าเช่าในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อได้ เป็นเหตุผลว่า สินทรัพย์ REITs สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในช่วงที่เงินเฟ้อพุ่งสูงได้ ประกอบกับโยบายเปิดเมืองเนื่องจากสถานการณ์ COVID – 19 คลี่คลายลง ในหลาย ๆ ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ หรือสิงคโปร์มีการเปิดเมืองและใกล้เข้าสู่สภาวะปกติ ส่งผลให้ราคาเช่าของอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มที่สามารถฟื้นฟูได้เป็นไปในทิศทางที่ดีมากขึ้น
หากพิจารณาในส่วนของราคาหุ้นแล้ว ราคาหุ้น REITs ฝั่งสหรัฐฯ มีการปรับขึ้นมา 20% (เทียบกับช่วง Pre – Covid level) ในช่วงปลายปี 2021 และในกลุ่มที่สร้างผลตอบแทนสูงคือกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างจำกัด อาทิ กลุ่ม Self – Storage ที่ได้รับผลพวงจากการเติบโตของภาคอสังหาฯ ซึ่งราคาปรับตัวสูงมากถึง 70% หรือจะเป็นในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ที่มีการปรับราคาสูงขึ้น 57.3% และในส่วนของ Data Centers จากการเติบโตของธุรกิจ E – Commerce ทำให้ราคาปรับตัวขึ้นมากกว่า 40% เมื่อเทียบกับ REITs โดยรวมที่เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 20% อย่างไรก็ตาม ในภาคส่วนของโรงแรม หรือฝั่งของ Retail มีราคาโดยเฉลี่ยติดลบประมาณ 20% และยังไม่สามารถฟื้นกลับขึ้นมาได้
จะเห็นได้ว่า ทางฝั่งสหรัฐฯ ราคาของหุ้นประเภท REITs กลับไปเทียบเท่าราคาช่วง Pre – Covid แล้ว ในทางกลับกัน ทางฝั่งเอเชียยังอยู่ในช่วง Laggard (ราคาปรับขึ้นไม่มาก) อาทิ ในประเทศไทย สิงคโปร์ โดยเฉพาะในประเทศไทยจะเห็นได้ว่า ผลตอบแทนของ REITs ยังไม่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
เนื่องจาก FED ไม่ได้มีนโยบายยืดหยุ่นเหมือนที่ผ่านมา ประกอบกับมีการใช้นโยบายที่เข้มงวดโดยการถอนงบดุลออกจากระบบ สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในการลงทุนจึงเป็นเรื่องของ “ความคุ้มค่า” หากประเมินจากผลตอบแทนเงินปันผลระดับสูง (Dividend Yield) REITs ทางฝั่งไทยและสิงคโปร์จะมีความคุ้มค่ามากที่สุด เนื่องจากมีเงินปันผลเกือบ 6% และราคาเทรดอยู่ที่ 1 เท่า ในขณะที่ REITs ทางฝั่งสหรัฐฯ มีผลตอบแทนอยู่ที่ 3% ในขณะที่ราคาเทรดอยู่ที่ 3 เท่า ทาง LH fund จึงมองว่า REITs ในฝั่งสหรัฐฯ มีราคาสูง และมีโอกาสที่ผลตอบแทนจะลดลงมาได้ เนื่องจากการปรับ Bond Yield หรือทาง FED มีการใช้นโยบายปรับดอกเบี้ยที่สูงกว่าตลาดคาดการณ์ไว้ จึงประเมินว่า ในปี 2022 น่าจะเป็นจังหวะที่ดีสำหรับการลงทุนในฝั่ง Asian REITs ที่มีความคุ้มค่าต่อเงินลงทุนมากกว่า
ปัจจัยหลักที่เกื้อหนุนการเติบโตของสินทรัพย์ Asia REITs คือ การเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาในประเทศได้ เช่น ในสิงคโปร์ หรือไทยที่มีการอนุญาตให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าประเทศได้ ประกอบกับปัจจัยสนับสนุนบางส่วนคือ ภาคการท่องเที่ยว โดย IATA มีการประเมินตัวเลขภาคการบินที่จะเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วง Pre – Covid โดยคาดการณ์ว่าทางฝั่งเอเชียที่สถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติ ในช่วงปี 2024
ในปัจจุบัน ประเทศสิงคโปร์มีอัตราการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID – 19 คิดเป็น 93% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และอัตราการป่วยระดับรุนแรงจากการติดเชื้อ COVID – 19 ซึ่งต้องรักษาที่โรงพยาบาลมีจำนวนน้อยกว่า 1% โดยผู้ป่วย 99% สามารถรักษาตามอาการที่บ้านได้ นอกจากนี้ การผ่อนคลายมาตรการ COVID – 19 อย่างการเปิดห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร การอนุญาตให้กลับเข้าไปทำงานในออฟฟิศได้ ส่งผลให้ REITs ที่เกี่ยวข้องกับออฟฟิศ หรือ Retail สามารถฟื้นตัวได้
กองทุน LHPROPIA หรือกองทุนเปิด แอล เอช พร็อพเพอร์ตี้ อินฟรา เฟล็กซิเบิล A เป็นกองทุนรวมประเภท Mixed fund มีนโยบายการลงทุนคือ
ทั้งนี้ จะลงทุนในบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทย ประเทศอื่นในเอเชีย และประเทศออสเตรเลีย ซึ่งจะเน้นไปที่ประเทศสิงคโปร์และประเทศไทยเป็นหลัก หากดู Performance ช่วง 6 เดือนย้อนหลัง จะเห็นว่า สิงคโปร์และไทยทำผลงานได้ค่อนข้างดี
สัดส่วนการลงทุนคือ Singapore REITs 53.80% และ Thai REITs 42.60% โดยในปีนี้หมวดหมู่
หลัก ๆ ที่จะกระจายลงทุนคือ Retail REITs หรือโรงแรมที่ได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศ นอกจากนี้ Thai REITs ยังมีความน่าสนใจสูง ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ราคา Thai REITs มีความคงที่ แต่ในปี 2022 หลังจากเศรษฐกิจกลับมาเป็นบวก Thai REITs มีอัตราการเติบโตสูงถึง 16% – 20% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับ Asian REITs และสิ่งที่จะทำให้อัตราการเติบโตปรับตัวขึ้นสูงคือ Retail REITs ซึ่งปัจจุบันราคายังค่อนข้างนิ่ง แต่มีโอกาสที่ราคาจะปรับเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต
CPN REIT – Retail REITs ไทยที่จะสามารถดัน Performance ของ REITs ให้พุ่งขึ้นได้ โดยทางกองให้น้ำหนักในการลงทุนมากที่สุดคือ CPN REIT ซึ่งกระจายการลงทุนทั้งในส่วนของตัวห้างสรรพสินค้า 85% ออฟฟิศ 10% และโรงแรม 5% การเติบโตที่จะกลับมาในปี 2022 คือ Traffic Recovery (จำนวนผู้ที่มาจับจ่ายใช้สอยในห้างสรรพสินค้า) ที่อยู่ในระดับ 80% อันเป็นตัวกระตุ้นที่จะทำให้ตัวผลตอบแทนของ CPN REIT อาจปรับสูงได้มากกว่า 6% ในปีนี้ ซึ่งกลุ่ม Retail REITs เป็นกลุ่มที่มีผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ยเป็นทุนเดิม
DIF – กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม มีการกระจายการลงทุนทั้งในส่วนของเสาโทรคมนาคม และ Fiber Optic ซึ่งเป็นธุรกิจอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ และมีความเกี่ยวพันกับเงินเฟ้อ ซึ่งสามารถปรับเพิ่มค่าเช่าขึ้นได้ กองทุน DIF ได้รับความสนใจจากต่างประเทศเนื่องจากมี Market cap อยู่ที่หนึ่งแสนห้าหมื่นล้านบาทไทย และมี Dividend Yield ประมาณ 8% นอกจากนี้ DIF ยังคงเป็นที่ชื่นชอบของนักลงทุนสถาบัน และมีสัดส่วนการลงทุนค่อนข้างมาก เนื่องจากมีคุณสมบัติของการเป็นหุ้นที่ดี ทั้งรายได้จากค่าเช่าที่สม่ำเสมอ มีอัตราผลตอบแทนอยู่ในระดับสูง และมีสภาพคล่องสูงมาก
ปัจจัยความเสี่ยง
Business Risk, Credit Risk, Country and Political Risk, Repatriation Risk, Derivative, Market Risk, High Issuer Concentration Risk, Sector Concentration Risk, Country Concentration Risk, Currency Risk
ระดับความเสี่ยง
ระดับ 8 (เสี่ยงสูงมาก)
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาทำการตั้งแต่ 09:00 – 17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโดยตรงกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่เว็บไซต์ www.lhfund.co.th หรือโทร 02 286 3484 หรือ หากท่านใดอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุน คลิกที่นี้ได้เลยครับ https://hubs.la/Q018Snjw0
คำเตือน
US-to-China Rotation ชี้แนวโน้มการลงทุน “จีน” น่าสนใจกว่าสหรัฐ
https://hoonsmart.com/archives/251394
“หุ้นสหรัฐ” ซึ่งเคยสร้างผลตอบแทนโดดเด่นในทศวรรษที่ผ่านมา กำลังเผชิญแรงกดดันจากนโยบายเข้มงวดของเฟดเพื่อคุมเงินเฟ้อ จนระดับราคาหุ้น (P/E) ดิ่งลงครั้งใหญ่นำโดย growth stocks กลุ่มเทคโนโลยี
ยีลด์พันธบัตรพุ่ง หุ้นร่วง credit spreads กว้างขึ้น ดอลลาร์แข็งค่า สภาพคล่องตึงตัวอย่างรุนแรง 2-3 สัปดาห์ก่อนหน้านี้จนเริ่มลามถึงเศรษฐกิจจริง กดดันความสามารถสร้างกำไร (profitability) ของธุรกิจอเมริกันเป็นวงกว้าง
ดอลลาร์พลิกอ่อนค่า dollar Index -1.74% จากจุดพีค 12 พ.ค. สภาพคล่องคืนสู่ตลาด สนับสนุนทฤษฎี peak hawkishness เฟดโชว์ท่าทีเข้มงวดกว่านี้ยากแล้ว
ที่มา: MarketWatch วันที่: 20 พฤษภาคม 2565
สภาพคล่องกลับมาแต่ยังมี Stagflation ต้นทุนพุ่ง-ดีมานด์หด กดแนวโน้มกำไรหมองฉุด S&P 500 เฉียด “หมี” 20 พ.ค. ดัชนีร่วงระหว่างวันจนต่ำกว่าจุดสูงสุดประวัติการณ์เกิน 20% ก่อนรีบาวด์
หุ้นจีนบวกสวนสหรัฐ จากจุดต่ำสุด 26 เม.ย. – 20 พ.ค. CSI 300 +7.76%, iShares MSCI China ETF +6.97% ตรงข้ามกับ S&P 500 -6.56%
ที่มา: MarketWatch วันที่: 20 พฤษภาคม 2565
JPMorgan อัพเกรดวิวหุ้นเทคจีนหลายตัว รวมถึง Tencent, Alibaba, Meituan, NetEase, Pinduoduo จาก underweight เป็น overweight เพียง 2 เดือนหลังแบงก์ใหญ่สุดสหรัฐเคยบอก “ลงทุนไม่ได้” (uninvestable) โดยระบุว่าความเสี่ยงลดลงแล้ว
PBOC ลดดอกเบี้ยระยะยาวแรงกว่าคาด (20 พ.ค.) หุ้นจีนพุ่งรับข่าว
จีนกระตุ้นเศรษฐกิจ พลิกทิศหยวนแข็งค่า หุ้นเด้ง-บอนด์มา พาตลาดจีนคืนชีพ!
ความคาดหวังเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกตะวันตก (สหรัฐและยุโรป) ซึ่งเผชิญปัญหาเงินเฟ้อสูงในช่วงปลายวัฏจักร อาจสวิงไปมาได้อีกหลายรอบ ทำให้ตัดสินใจลงทุนยาก (อ่านเพิ่มเติม “แผนที่กองทุน” KTAM Focus 1 พ.ค.)
https://hoonsmart.com/archives/248168
2 ตลาดหลักโลกตะวันออก: จีน และ ญี่ปุ่น เงินเฟ้อต่ำกว่ามาก น่าลงทุนเพื่อรับโอกาสฟื้นตัวจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงต้นวัฏจักร ทั้งนี้ Belief Allocation ปัจจุบันมีสัดส่วนการลงทุน 2 ตลาดดังกล่าวรวมกันสูงถึง 60% ของพอร์ต
ที่มา: บลจ. กรุงไทย วันที่ได้รับเอกสาร: 24 พฤษภาคม 2022
คำเตือน: ความเห็นส่วนบุคคล ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Krungthai Belief Allocation สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENA สำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Krungthai Belief Allocation คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน
โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน FINNOMENA PORT และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก 1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT |
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด มหาชน หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลเตือน การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ทำลายเศรษฐกิจ และไม่ได้แก้ปัญหาเงินเฟ้อ
โจเซฟ สติกลิตส์ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลประจำปี 2001 กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ต้องการการแทรกแซงจากฝั่งซัพพลายมากกว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ล้มเหลวในการควบคุมเงินเฟ้อ
“การขึ้นดอกเบี้ยไม่สามารถแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ไม่ได้ทำให้จำนวนอาหารเพิ่มขึ้น และมันจะทำให้ทุกอย่างแย่ลงเพราะผู้คนไม่สามารถลงทุนได้” สติกลิตส์กล่าว และเสนออีกทางเลือก
สติกลิตส์แนะว่า สิ่งที่ควรทำคือการแทรกแซงจากฝั่งการผลิต ซึ่งตอนนี้ข้อจำกัดอย่างอุปทานแรงงาน (Labor Supply) ลดลงแล้วจากสิ่งที่ ปธน. ไบเดนพยายามทำคือ เพิ่มสวัสดิการดูแลเด็กมากขึ้น เพื่อให้ผู้หญิงจำนวนมากกลับสู่ระบบแรงงาน
ขณะที่ การผลิตอาหารก็เป็นอีกสิ่งที่สหรัฐฯ และทั่วโลกควรให้ความสำคัญเช่นกัน
สติกลิตส์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ปริมาณอาหารในสหรัฐฯ เกินดุลมาตลอด และเราสามารถกลับไปอยู่ในจุดนั้นได้ หรืออย่างน้อยที่สุดคือ การที่ทั่วโลกทำทุกอย่างที่พอทำได้เพื่อเพิ่มซัพพลาย เพราะเราต้องจัดการกับปัญหาไม่ใช่ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ
“ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาไหน การขึ้นดอกเบี้ยที่ทำลายเศรษฐกิจไม่สามารถแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้”
——————-
รับชมบน YouTube: https://youtu.be/5AOQRwmyx_M
หากเราจะมองหาปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาทองคำ ก็ต้องสังเกตให้เจอว่าความต้องการซื้อและขายทองคำ จะเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ไหนบ้าง คลิปนี้ได้รวบรวม 4 ปัจจัยสำคัญที่ดันราคาทองคำให้พุ่งปรี๊ดในแต่ละช่วงเวลามาให้รับชมกัน
พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ (ราคาปิดวันทำการล่าสุด) Dow Jones ปิดที่ 31,880.24 +618.34 จุด (+1.98%) S&P500 ปิดที่ 3,973.75 +72.39 จุด (+1.86%) Nasdaq 11,535.28 ปิดที่ +180.66 จุด (+1.59%) Small Cap 2000 ปิดที่ 1,792.76 +19.50 จุด (+1.10%) VIX index อยู่ที่ 28.48 (-3.23%)
ตลาดหุ้นยุโรป (ราคาปิดวันทำการล่าสุด) Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3,708.39 +51.36 จุด (+1.40%) Dax เยอรมนี ปิดที่ 14,175.40 +193.49 จุด (+1.38%) CAC 40 ฝรั่งเศส ปิดที่ 6,358.74 +73.50 จุด (+1.17%) FTSE 100 อังกฤษ ปิดที่ 7,513.44 จุด +123.46 จุด (+1.67%)
ตลาดหุ้นเอเชีย (ราคาปิดวันทำการล่าสุด) Nikkei 225 ญี่ปุ่น ปิดที่ 27,001.52 จุด +262.49 จุด (+1.27%) CSI 300 จีน ปิดที่ 4,053.98 จุด -23.62 จุด (-0.58%) Hang Seng ฮ่องกง ปิดที่ 20,470.06 จุด -247.18 จุด (-1.19%) SET Index ไทย ปิดที่ 1,635.28 จุด +12.33 จุด (+0.76%) VN30 เวียดนาม ปิดที่ 1,255.35 จุด -27.16 จุด (-2.12%)
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (เช้าวันที่ 24 พ.ค. 2565) ราคาทองคำ 1,852.91 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Silver ราคา 21.761 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบ WTI 109.83 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Brent 110.35 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ
ราคา Cryptocurrency (เช้าวันที่ 24 พ.ค. 2565) Bitcoin 29,277.9 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Ethereum 1,987.60 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ และ Binance Coin 326.19 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ
สรุปข่าวประจำวัน
หุ้น Didi เตรียมถอนหุ้นออกจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ เหลือแค่จดทะเบียนในจีน โดยมีผลวันที่ 2 มิถุนายน 2022
Morgan Stanley มองว่าหากบริษัทจดทะเบียนถูกหั่นเป้ารายได้ มีโอกาสที่ดัชนี S&P500 จะปรับตัวลดลงอีก 5 – 10% จากระดับปัจจุบัน Forward P/E 12 เดือนของ S&P500 อยู่ที่ประมาณ 16.7 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี ย้อนหลังแล้ว ตามข้อมูลในอดีตพบว่าเมื่อ S&P500 เข้าสู่ Bear market จะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 154 วัน ก่อนที่จะเจอจุดต่ำสุด
Raphael Bostic กรรมการ Fed มองว่า Fed มีโอกาสหยุดขึ้นดอกเบี้ยในเดือนกันยายน ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ และคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายปลายปีจะอยู่ที่ประมาณ 2 – 2.5%
ประธานาธิบดี Joe Biden เตรียมยกเลิกกำแพงภาษีจากจีน ที่มีขึ้นในสมัย Donald Trump ซึ่งจะทำให้ครัวเรือนสหรัฐฯ ประหยัดเงินได้ 800 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อครัวเรือน
สหรัฐฯ ประกาศพร้อมปกป้องไต้หวัน หากถูกจีนรุกราน ซึ่งจีนออกมาตอบโต้ “อย่าเล่นกับไฟ”
ประธานาธิบดี Joe Biden ประกาศจัดตั้งกรอบความร่วมมือ IPEF เพื่อสร้างพันธมิตรในเอเชีย หวังคานอำนาจกับจีน กรอบความร่วมมือนี้จะเน้นในเรื่องเศรษฐกิจดิจิตัล ซัพพลายเชน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และกฎระเบียบของแรงงาน และไทยเองสนใจที่จะเข้าร่วมความร่วมมือนี้ด้วย
จีนเตรียมลดอัตราภาษี 1.4 แสนล้านหยวน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจีน
Airbnb แพลตฟอร์มให้บริการเช่าที่พักอาศัย เตรียมถอนธุรกิจจากจีน ปิดบ้าน-ห้องพัก ในฤดูร้อนนี้ เจอผลกระทบจากการล็อกดาวน์ รวมถึงคู่แข่งในจีน และจะโฟกัสตลาดนอกเอเชีย โดย Airbnb มีสัดส่วนรายได้จากจีนเพียง 1% ราคาหุ้น Airbnb ปรับตัวลดลงประมาณ 30% จากต้นปี แต่ยังสูงกว่าราคา IPO
Zoom ประกาศผลประกอบการดีเกินคาด ส่วนหนึ่งมาจากการลดต้นทุน ทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 16% แต่หากดูระยะยาว ราคาถือว่าลดลงรุนแรงจากระดับประมาณ 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ เหลือประมาณ 90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาเป้าหมายเฉลี่ยของนักวิเคราะห์ยังมีอัพไซด์ประมาณ 60%
เกาหลีใต้สั่งอายัดทรัพย์ของ Luna Foundation Guard หลังจากประสบปัญหาอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา
จีนวิกฤติหนัก ล็อกดาวน์จน Airbnb ยอมแพ้ เตรียมเลิกกิจการ ปิดบ้านและที่พักทั้งหมดในฤดูร้อนนี้ หันไปโฟกัสนักท่องเที่ยวขาออกจากจีนแทน
Airbnb เปิดตัวธุรกิจในจีนแผ่นดินใหญ่อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2016 แต่ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจแบบเดียวกันในจีน นอกจากนี้การระบาดของโควิดทำให้ธุรกิจที่มีค่าใช้จ่ายสูงและมีความซับซ้อนในการดำเนินการอยู่แล้วยิ่งแย่ลง
แม้จะมีความพยายามในการสร้างแบรนด์ในจีน แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รายได้ในจีนคิดเป็นเพียงประมาณ 1% ของรายได้ทั้งหมด
แหล่งข่าวระบุว่า โอกาสที่ยิ่งใหญ่กว่าสำหรับ Airbnb คือ ‘การเดินทางขาออกของนักท่องเที่ยวจีน’ ดังนั้นบริษัทจะไปโฟกัสกับการจัดหาที่พักสำหรับชาวจีนที่เดินทางไปต่างประเทศแทน
หุ้น Airbnb ร่วงแล้วกว่า 30% ในปีนี้ ท่ามกลางแรงเทขายของหุ้นเทคโนโลยี แต่ยังคงสูงกว่าราคา IPO เมื่อปี 2020 ที่ $68 บริษัทเผชิญกับปัญหาหนักในช่วงเริ่มต้นของโควิด จนต้องเลิกจ้างพนักงานประมาณ 25% ในเดือน พ.ค. 2020
ต่อมาในเดือน พ.ย. บริษัทได้เข้าสู่ตลาดหุ้น โดยในหนังสือชี้ชวนกล่าวว่า เจ้าของบ้านในจีนจะใช้กระบวนการทำความสะอาดพิเศษในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิดเพื่อคลายกังวลให้กับลูกค้า
Airbnb เริ่มกลับมาฟื้นตัวหลังผู้คนกลับมาเดินทางอีกครั้ง โดยบริษัทเห็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของการเช่าระยะยาวในปีนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการทำงานแบบไฮบริดที่ผู้คนไม่ต้องเข้าออฟฟิส 100% แล้ว อย่างไรก็ตาม ธุรกิจในจีนฟื้นตัวได้ช้ากว่ามากจากการล็อกดาวน์และนโยบายโควิดเป็นศูนย์
อ้างอิง: https://www.cnbc.com/2022/05/23/airbnb-is-closing-its-domestic-business-in-china-sources-say.html
——————-
ไบเดนเคลื่อนไหวแล้ว! เผยแผนคานอำนาจจีน “Indo-Pacific Economic Framework (IPEF)” เตรียมสร้างสมดุลในเอเชียร่วมกับพันธมิตร
อย่างแรกที่ต้องเข้าใจก่อนคือ IPEF ไม่ใช่ข้อตกลงการค้าเสรี และต่อให้ไบเดนอยากทำก็คงทำไม่ได้ เพราะทั้งฝั่งซ้ายและขวาในสหรัฐฯ ไม่ต้องการข้อตกลงการค้าเสรีเพิ่มแล้ว
นอกจากนี้ IPEF ยังไม่ใช้สนธิสัญญาด้านความปลอดภัย และก็แยกออกจากกลุ่ม Quad หรือภาคี 4 ฝ่ายต้านจีนที่มีสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย และออสเตรเลียเป็นสมาชิก
แล้ว IPEF คืออะไร? IPEF คือ แผนกว้างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อขยายอำนาจ ‘ความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจ’ ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ที่สหรัฐฯ ทำร่วมกับออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
โดย IPEF ต้องการกำหนดกฎเกณฑ์ซึ่งเน้นไปที่ 4 ประเด็น ได้แก่ 1) เศรษฐกิจดิจิทัล 2) ซัพพลายเชน 3) การลดคาร์บอน และ 4) กฎระเบียบของแรงงาน
การจัดการกับ “ปัญหาเงินเฟ้อ” เป็นเรื่องที่ไบเดนมองว่าสำคัญ ซึ่ง IPEF ถูกพัฒนามาเพื่อช่วย ‘ลดต้นทุน’ โดยการทำให้ซัพพลายเชนในระยะยาวมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
อย่างที่รู้ว่าสหรัฐฯ ต้องการหลีกเลี่ยงการทำข้อตกลงทางการค้า แต่ก็ต้องการมีอำนาจมากขึ้นในเศรษฐกิจเอเชียที่มีจีนเป็นผู้มีอำนาจมากสุดในภูมิภาค
เพราะแม้เศรษฐกิจของประเทศพันธมิตรอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จะมีขนาดใหญ่ หรืออินเดียที่อยู่ในกลุ่ม Quad จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ก็ยังไม่สามารถสู้กับจีนได้ นี่จึงทำให้ IPEF เกิดขึ้นมา
ก่อนหน้านี้ (21 พ.ค.) สื่อที่ถูกควบคุมโดยรัฐจีนอย่าง Global Times ออกมาบอกว่า เป้าหมายหลักของไบเดนในการเดินทางไปเกาหลีใต้และญี่ปุ่นคือ การสร้างพันธมิตรทางการเมืองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาต่อต้านจีน
Yuki Tatsumi จาก Stimson Center มองว่า สหรัฐฯ จะพยายามชักชวนพันธมิตรต่างๆ แบบฮาร์ดเซล และไม่ว่าสหรัฐฯ จะเริ่มนโยบายใหม่ยังไง การแข่งขันเชิงกลยุทธ์ระหว่างกับสหรัฐฯ จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ รวมถึง IPEF ที่จะไปเป็นชนวนเร่งแนวโน้มดังกล่าว
——————-
หุ้นบริษัทท็อป โกลฟ และผู้ผลิตถุงมือรายอื่นของมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้น นักลงทุนแห่เดิมพัน หลังเกิดความวิตกเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ทั่วโลก
ช่วงเช้าที่ผ่านมา (23 พ.ค.) หุ้นท็อป โกลฟ ผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่ที่สุดของโลก พุ่งขึ้นถึง 5.5% ขณะที่หุ้นซูเปอร์แม็กซ์ คอร์ป เพิ่มขึ้น 4.9% ส่วนหุ้นฮาร์ทาเลกา โฮลดิงส์ และหุ้นคอสซาน รับเบอร์ อินดัสทรีส์ บีเอชดี ปรับตัวเพิ่มขึ้นเท่ากันที่ 4.1%
นายเคนเนธ เหลียง นักวิเคราะห์ระดับอาวุโสของบริษัทมะละกา ซีเคียวริตีส์ กล่าวว่า นักลงทุนเชื่อมั่นในหุ้นกลุ่มถุงมือยางเพิ่มขึ้น หลังเกิดกระแสข่าวการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงไปทั่วโลก
ขณะนี้มีการรายงานผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในหลายประเทศทั่วยุโรป เช่น อังกฤษ สเปน และโปรตุเกส นอกจากนี้ยังมีการพบผู้ติดเชื้อในแคนาดา ออสเตรเลีย และสหรัฐฯ อีกด้วย ทั้งที่จากเดิมนั้นพบได้ยากนอกเขตแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง
ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์
——————-
BottomLiner
ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/bottomlinerglobal/posts/5705494749465612
ดัชนีตลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาตกกันระเนระนาดอานิสงค์จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางของสหรัฐเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนและสาเหตุอื่น ๆ อีกหลายเรื่องที่ประดังกันเข้ามาพร้อมกันจนบางคนบอกว่าเป็นเหตุการณ์ “Perfect Storm” หรือเรื่องร้ายที่เกิดขึ้นประเภท “หนึ่งในร้อยปี”
การตกลงมาของตลาดหุ้นอเมริกาในรอบนี้ผมคิดว่าเข้าข่ายเป็น “ตลาดหมี” แล้วโดยเฉพาะในตลาดหุ้นแนสแด็กที่เป็นตัวแทนของหุ้นไฮเทคและเป็นหุ้น “เก็งกำไร” สูง ส่วนหุ้น S&P ซึ่งเป็นหุ้นที่เป็นตัวแทนของทั้งประเทศนั้น “หมีก็รออยู่ที่หน้าประตู” แล้ว ในขณะที่หุ้นขนาดใหญ่ของประเทศอย่างดาวโจนส์ซึ่งเป็นบริษัทที่แข็งแกร่งและยิ่งใหญ่ของประเทศและของโลกนั้น ไม่ช้าก็เร็วก็คงจะเป็น “ตลาดของหมี” ในที่สุด
คำถามสำคัญสำหรับนักลงทุนโดยเฉพาะ VI ก็คือ แล้วตลาดหุ้นไทยจะกลายเป็นหมีตามไปหรือไม่? เราควรจะทำอย่างไรกับหุ้นและการลงทุนของเรา ลองมาวิเคราะห์ภาวะตลาดหุ้นกัน มองในแง่ของประวัติศาสตร์ดัชนีตลาดหุ้นของหลาย ๆ ประเทศ ไม่ต้องพูดถึงเหตุการณ์หรือเหตุผลมากมายที่มีคนพูดถึงกันมากแล้ว
ตลาดหุ้นสหรัฐในช่วงตั้งแต่ปี 2009 หลังจากวิกฤติซับไพร์มที่ทำให้ดัชนีหุ้นตกลงมาประมาณ 40% นั้น เริ่มฟื้นตัวขึ้นมาตลอดจนถึงสิ้นปี 2021 โดยที่มีการ “ปรับตัว” หรือหุ้นตกหนักถึงหนักมากเป็นระยะโดยเฉพาะในช่วงต้นปี 2020 ที่เกิดการระบาดของโควิด-19 ที่หุ้นตกหนักถึงกว่า 30% ในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียง 3-4 เดือน
การปรับตัวขึ้นของหุ้นเป็น “ตลาดกระทิง” ตั้งแต่ปี 2009 ถึงสิ้นปี 2021 เป็นเวลาเกือบ 13 ปี นั้น น่าจะเป็นตลาดกระทิงที่รุนแรงและยาวนานมากที่สุดครั้งหนึ่งของตลาดหุ้นอเมริกา เพราะตลาดให้ผลตอบแทนจากดัชนีไม่รวมปันผลถึงปีละกว่า 15% แบบทบต้น โดยที่เหตุผลที่แท้จริงของการปรับตัวขึ้นของหุ้นนั้นน่าจะเป็นเรื่องของสภาพคล่องทางการเงินที่ล้นเหลือจากการทำ QE อย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลงอย่างต่อเนื่องจนแทบจะเหลือ 0 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำเท่า ๆ กันในช่วงเวลาเดียวกัน
เมื่อเป็นกระทิงมานานขนาดนั้น ประวัติศาสตร์ก็มักจะบอกว่ามันจะต้องตามมาด้วย “ตลาดหมี” และนั่นก็เริ่มตั้งแต่ต้นปี 2022 นี้ ที่ดัชนีหุ้นแนสดักตกลงมาอย่างต่อเนื่องถึง 28.3% นับถึงวันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม 2022 เกินกว่า 20% ที่เป็นจุดที่ยอมรับกันว่าเป็น “ตลาดหมี” แล้ว ดัชนีหุ้น S&P ร่วงลงมา 18.7% แม้ว่าจะยังไม่ถึงจุดแต่ดูจากทิศทางแล้วก็คงจะตามไปในไม่ช้า เช่นเดียวกับดัชนีดาวโจนส์ที่ลดลงมา 14.6% เหตุผลก็เพราะว่าปัจจัยที่ทำให้หุ้นตกหนักในช่วงแค่ไม่กี่เดือนนี้ยังคงดำรงอยู่ต่อไปและอาจจะมากขึ้นนั่นก็คือ สภาพคล่องทางการเงินจะลดลงเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยที่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ
มองแบบคนธรรมดา สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนี้และช่วงต่อไปก็คือ “การเก็งกำไร” ของนักลงทุนคงจะหดหายไปมากและจะลดลงเรื่อย ๆ เพราะเงินหายากขึ้นและต้นทุนสูงขึ้น นั่นทำให้หุ้นและตราสารการเงินอื่น ๆ รวมไปถึงทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น เหรียญคริปโตที่มีการเก็งกำไรสุดยอดนั้น ถูกขายทิ้งและทำให้ราคาลดลงอย่างหนัก หุ้นขนาดใหญ่ที่มั่นคงนั้นถูกขายน้อยกว่า การตกลงมาก็น้อยกว่า และแทบจะไม่มีทรัพย์สินกลุ่มไหนเลยที่มีราคาเพิ่มขึ้น
ตลาดหุ้นของจีนนั้นดูเหมือนจะตามตลาดหุ้นสหรัฐ ดัชนีฮั่งเส็งซึ่งเป็นตลาดหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ตกลงมาจากต้นปีประมาณ 11% ดัชนีเซี่ยงไฮ้ซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศจีนตกลงมา 13.4% และดัชนีเซินเจิ้นซึ่งเป็นตัวแทนของหุ้นเท็คจีนตกลงมา 22.6% เข้าข่ายเป็นตลาดหมีไปเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ดัชนีตลาดหุ้นจีนในช่วงประมาณ 13 ปี หลังวิกฤติซับไพร์มนั้นไม่ได้ปรับตัวขึ้นแบบกระทิงแบบอเมริกาและให้ผลตอบแทนแค่ปีละ 4-5% แบบทบต้น และว่าที่จริง ตลาดหุ้นจีนนั้น “แน่นิ่ง” มากว่า 10 ปีเป็น “ทศวรรษที่หายไป” ไปแล้ว ซึ่งก็ตรงกับช่วงเวลาที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงได้รับการแต่งตั้งในช่วงปลายปี 2012 พอดี
ตลาดหุ้นเวียดนามนั้นดูเหมือนว่าจะตามตลาดหุ้นสหรัฐแทบทุกอย่างนั่นก็คือ ดัชนีปรับตัวลดลงถึง 17.3% จากต้นปีใกล้เคียงกับดัชนี S&P มาก นอกจากนั้น ในช่วงก่อนหน้าคือจากปีวิกฤติซับไพร์มจนถึงสิ้นปี 2021 ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นไปแบบ “กระทิงดุ’’ ให้ผลตอบแทนแบบทบต้นปีละ 14.8% เป็นเวลาถึง 13 ปี พอ ๆ กับตลาดหุ้นสหรัฐ สิ่งที่แตกต่างจากสหรัฐก็คือ ปัจจัยที่ทำให้หุ้นตกรอบนี้ของเวียดนามนั้นน่าจะเกิดจากการจับคนปั่นหุ้นและฉ้อโกงของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนซึ่งทำให้นักลงทุนซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นนักเก็งกำไรส่วนบุคคลตกใจและเทขายหุ้นซึ่งก็ไปกระทบถึงการบังคับขายหุ้นที่มีการใช้มาร์จินจำนวนมากที่เกิดขึ้นในช่วงเร็ว ๆ นี้
ตลาดหุ้นไทยนั้นถ้าดูจากดัชนีตลาดดูเหมือนว่าจะไม่ได้เป็นตลาดหมีเลย ดัชนีตั้งแต่ต้นปีลดลงแค่ประมาณ 2.1% อย่างไรก็ตาม ถ้ามองภาพเล็กลงมาโดยเฉพาะในกลุ่มนักลงทุนรุ่นใหม่ที่เน้นเล่นเหรียญดิจิทัลและหุ้นที่เก็งกำไรรุนแรงก็จะพบว่าจำนวนมากขาดทุนหนัก โดยเฉพาะเหรียญดิจิทัลที่บางตัวนั้น “ล่มสลาย” ขาดทุนเกิน 90% และจำนวนมากขาดทุนหลายสิบเปอร์เซ็นต์ในเวลาอันสั้น นอกจากนั้น คนที่กระจายการลงทุนไปลงใน “หุ้นต่างประเทศ” ซึ่งส่วนใหญ่ก็คืออเมริกา จีนและเวียดนาม ต่างก็ “เจ็บหนัก” ไปตามกัน
การที่หุ้นไทยแทบไม่ได้ตกลงมาเลยนั้น ถ้ามองจากประวัติศาสตร์ก็อาจจะบอกว่าเป็นเพราะในช่วงประมาณ 9 ปีที่ผ่านมานั้น ดัชนีตลาดหุ้นไทยแทบจะไม่ไปไหนเลย ใกล้จะเป็น “ทศวรรษที่หายไป” อยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อ “ไม่เคยเป็นกระทิง” ในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา “หมี” ก็มักจะไม่มาเยือน ผมก็ไม่รู้ว่าตลาดหุ้นไทยจะเหมือนประเทศไทยไหมที่ว่านับวันเราจะไม่ค่อยมีความสำคัญและก็ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับโลกเท่าไร และดังนั้น เราก็ไม่ตามโลกมากนัก และนี่ก็อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผมเองก็ยังคงพอร์ตหุ้นไทยไว้อย่างเดิม เน้นที่หุ้นแต่ละตัวเป็นหลัก
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ที่มาบทความ: https://blog.settrade.com/blog/nivate/2022/05/23/2675
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ (ราคาปิดวันทำการล่าสุด) Dow Jones ปิดที่ 31,261.90 +8.77 จุด (+0.03%) S&P500 ปิดที่ 3,901.36 +0.57 จุด (+0.01%) Nasdaq 11,354.62 ปิดที่ -33.88 จุด (-0.30%) Small Cap 2000 ปิดที่ 1,773.27 -2.96 จุด (-0.17%) VIX index อยู่ที่ 29.43 (+0.27%)
ตลาดหุ้นยุโรป (ราคาปิดวันทำการล่าสุด) Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3,657.03 +16.48 จุด (+0.45%) Dax เยอรมนี ปิดที่ 13,981.91 +99.61 จุด (+0.72%) CAC 40 ฝรั่งเศส ปิดที่ 6,285.24 +12.53 จุด (+0.20%) FTSE 100 อังกฤษ ปิดที่ 7,389.98 จุด +87.24 จุด (+1.19%)
ตลาดหุ้นเอเชีย (ราคาปิดวันทำการล่าสุด) Nikkei 225 ญี่ปุ่น ปิดที่ 26,739.03 จุด +336.19 จุด (+1.27%) CSI 300 จีน ปิดที่ 4,077.60 จุด +78.00 จุด (+1.95%) Hang Seng ฮ่องกง ปิดที่ 20,717.24 จุด +596.56 จุด (+2.96%) SET Index ไทย ปิดที่ 1,622.95 จุด +16.97 จุด (+1.06%) VN30 เวียดนาม ปิดที่ 1,282.51 จุด -1.04 จุด (-0.08%)
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (เช้าวันที่ 23 พ.ค. 2565) ราคาทองคำ 1,853.50 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Silver ราคา 21.883 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบ WTI 110.76 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Brent 110.56 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ
ราคา Cryptocurrency (เช้าวันที่ 23 พ.ค. 2565) Bitcoin 30,165 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Ethereum 2,030.29 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ และ Binance Coin 320.09 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ
ภาพรวมสินทรัพย์ทั่วโลกที่ปรับตัวบวกและลบสูงที่สุดในรอบ 1 สัปดาห์ 3 อันดับแรก กลุ่มที่ปรับตัวในทิศทางบวก – หุ้นตลาดเกิดใหม่ (+2.8%), ทองคำ (+1.3%) และหุ้นญี่ปุ่น (+0.7%) ปรับตัวในทิศทางลบ – น้ำมัน (-3.5%), ดัชนี S&P500 (-2.6%), Global REIT และหุ้นตลาดพัฒนาแล้ว (-1.3%)
ภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับตัวบวกที่สุดในรอบ 1 สัปดาห์ 3 อันดับแรก กลุ่มที่ปรับตัวในทิศทางบวก – หุ้นเวียดนาม (+5.9%), หุ้นอินโดนีเซีย (+5.0%) และหุ้นจีน H-Shares (+4.0%) ปรับตัวในทิศทางลบ – ดัชนี Dow Jones (-2.9%), ดัชนี S&P500 และ Nasdaq (-2.6%) และดัชนี MSCI World (-1.3%)
ภาพรวม sector ใน S&P500 ที่ปรับตัวบวกและลบสูงที่สุดในรอบ 1 สัปดาห์ 3 อันดับแรก – Health Care (+0.3%), Utilities และ Materials (+0.1%) ปรับตัวในทิศทางลบ – Consumer Staples (-9.0%), Consumer Discretionary (-5.4%) และ Industrials (-3.5%)
ผลตอบแทนของดัชนี MSCI แบ่งตามสไตล์การลงทุนในรอบ 1 สัปดาห์ – MSCI World Small Cap (+0.2%), MSCI World Value Index (-1.1%), MSCI World Large Cap, MSCI World Growth Index และ MSCI World Momentum Index (-1.6%) และ MSCI World Quality Index (-2.1%)
ผลตอบแทนตามธีมต่างๆ ในรอบ 1 สัปดาห์ – E-sport (+5.8%), Clean Energy (+4.7%), Sustainable Energy (+3.9%), Cybersecurity (+1.5%), Blockchain และ Global Cloud (+0.6%), Semiconductor (-1.1%) และ Global Luxury (-3.4%)
สรุปข่าวประจำวัน
สัปดาห์นี้ติดตามผลประกอบการของ Zoom, Best Buy, Nvidia และ Alibaba เป็นต้น
ธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ย LPR ลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี เร่งฟื้นภาคอสังหาริมทรัพย์ และกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรับมือผลกระทบจาก COVID-19
คาดการณ์ GDP จีน จาก Bloomberg ปี 2022 +4.8% และปี 2023 +5.2%
Zhao Yuanyuan ผู้จัดการกองทุนจีน ซึ่งสร้างผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี +138% มองตลาดหุ้นจีนน่าสนใจมากขึ้น มีโอกาสผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่ยังจับตาปัจจัยต่างๆ อาทิ มาตรการล็อกดาวน์จาก COVID-19 รวมถึงสงครามรัสเซีย – ยูเครน โดยคาดการณ์ว่าจีนน่าจะมีมาตรการคลายล็อกดาวน์ รวมถึงมีการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางการมากขึ้น เน้นลงทุนหุ้นในกลุ่ม Consumer Discretionary และชิ้นส่วนยานยนต์
นักลทุนต่างชาติเข้ามาซื้อหุ้นจีน A-Shares มากที่สุดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021
การปรับประมาณการ EPS หุ้นในดัชนี CSI300 และ MSCI China ยังอยู่ในแนวโน้มการปรับลดลง
รัสเซียประกาศตัดการส่งแก๊ซให้ฟิลแลนด์ เริ่มในวันเสาร์ที่ผ่านมา เชื่อว่าอาจจะมีสาเหตุจากการประกาศเข้า NATO ของฟินแลนด์พร้อมกับสวีเดน
WHO เตือนพบฝีดาษลิงระบาดทั่วโลก ล่าสุดพบแล้ว 15 ประเทศ จำนวนมากกว่า 80 ราย ประเทศที่พบล่าสุด คือ อิสราเอล สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย ส่วนประเทศที่พบก่อนหน้า เช่น แคนาดา สหรัฐฯ และออสเตรเลีย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบเคสที่น่าสงสัยอีกส่วน การระบาดของโรคนี้ติดต่อไม่ได้ง่ายมากนัก อาการป่วยอยู่ระดับปานกลาง การฟื้นตัวทำได้ในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ ส่วนใหญ่โรคนี้พบในทวีปแอฟริกา การพบการระบาดที่กว่างขึ้นทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเข้ามาตรวจสอบ
เบลเยียมประกาศมาตรการควบคุมโรคฝีดาษลิง โดยผู้ที่มีความเสี่ยง ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อจะต้องกักตัวอย่างน้อง 21 วัน
นายกออสเตรเลียคนใหม่ คุณแอนโทนี อัลบาเนซี หัวหน้าพรรคเลเบอร์ ชูนโยบาย “มหาอำนาจพลังงานยั่งยืน” นโยบายอื่นๆ อาทิ เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ แสวงหาพันธมิตรเพื่อประโยชน์ของชาวออสเตรเลีย รวมถึงการเพิ่มงบประมาณด้านกลาโหม
ศรีลังกากำลังเจอวิกฤติเศรษฐกิจ โดยมีการผิดนัดชำระหนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ทางจีนเข้าแทรกแซงการเจรจากับ IMF โดยให้กูเพิ่มได้ แต่ไม่ลดหนี้ให้
คาดการณ์ GDP ของศรีลังกาปี 2022 +2% และปี 2023 +3% อัตราการว่างงานตอนนี้อยู่ที่ 18%
พอร์ต ARKK 5 อันดับแรก คือ Roku, Tesla, Zoom, Exact Sciences และ Block
คริสติน ลาการ์ด ประธาน ECB มอง คริปโทฯ ไร้ค่า ควรถูกกำกับดูแล
ช่วงเวลาที่ตลาดผันผวนและร่วงแรงโดยเฉพาะหุ้นจีน แต่ จ้าว หยวนหยวน สามารถสร้างผลตอบแทนในปีนี้ได้ถึง 138% เธอทำได้อย่างไร?
จ้าว หยวนหยวน วัย 41 ปี จากบลจ. Shenzhen Qianhai JianHong Times เลือกเดิมพันในหุ้นโครงสร้างพื้นฐาน ผู้ผลิตพลังงาน และผู้ผลิตยาโควิด ไปพร้อมกับการใช้ความระมัดระมังต่อสถานการณ์ล็อกดาวน์ในจีนและสงครามในยูเครน
จ้าว กล่าวว่า การระบาดในจีนเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้นและได้เริ่มลงทุนธุรกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัวในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ขณะที่การมองโลกในแง่ร้ายที่สั่นคลอนตลาดใกล้สิ้นสุดลงแล้วจากคำมั่นของรัฐบาลที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมกับการผ่อนคลายล็อกดาวน์
โดย จ้าว ได้ลดสถานะขาย (Short Position) บางส่วนไปตั้งแต่ 2 สัปดาห์ที่แล้ว หลังสัญญาณที่เซี่ยงไฮ้จะกลับสู่สภาวะปกติมีความชัดเจนมากขึ้น และเงินเฟ้อคาดการณ์ของสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดลง
จ้าว กล่าวว่าจีนยุคใหม่กำลังเฟื่องฟู เมื่อประกอบกับการเปลี่ยนแปลงในนโยบายโควิด นี่คือสัญญาณตลาดขาขึ้นที่ดีขึ้น
ผลตอบแทนกองทุนที่พุ่งมาถึง 138% ในปีนี้นั้นโดดเด่นมาก เมื่อเทียบกับการร่วงกว่า 17% ในดัชนี CSI 300 ของจีน ตั้งแต่ต้นปี
Yingfu No.4 เป็นกองทุนอันดับที่ 1 ในกองทุนส่วนบุคคลมากกว่า 20,000 กองทุนบนจีนแผ่นดินใหญ่ในปีนี้ และยังเป็น 1 ใน 10 กองทุนที่มีผลงานดีที่สุดในอดีตตลอด 12 เดือนที่ผ่านมา
แล้วหุ้นกลุ่มไหนที่จะได้รับประโยชน์หลังคลายล็อกดาวน์?
กองทุนได้เพิ่มสถานะซื้อในหุ้นเป็นประมาณ 60% ของเงินลงทุน โดย จ้าว คาดว่า สินค้าฟุ่มเฟือยโดยเฉพาะรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ จะได้รับประโยชน์สูงสุดในการฟื้นตัวของตลาดหลังคลายล็อกดาวน์ โดยเธอยังติดตามข้อเสนอของอียูเกี่ยวกับการแบนน้ำมันรัสเซียเพื่อประเมินผลกระทบของเงินเฟ้อ
จ้าว กล่าวว่า นี่มาถึงจุดที่กำไรของบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากโควิดรวมถึงมูลค่าหุ้นเริ่มฟื้นตัว โดยจะยังคงเพิ่มการลงทุนในสัปดาห์ต่อๆ ไป หากปริมาณการใช้รถบรรทุกในแต่ละวัน และกิจกรรมทางเขตเหนือยังคงส่งสัญญาณบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
——————-
นับตั้งแต่ 13 พฤษภาคมที่ผ่านมา Dollar Index ได้อ่อนค่าลงมาสู่ระดับ 102.78 จุด สอดคล้องกับการปรับตัวลงของพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวลงจากจุดสูงสุดสู่ระดับ 2.785% จากความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ระบุว่าจะยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเป้าหมาย
หนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 1,840 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเป็นระดับของเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน (MA 200) ในช่วงวันพุธ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา สะท้อน Momentum เชิงบวกจากการเข้าซื้อหลังอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (Real Yield) ลดลงจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ลดลงท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง และต้นทุนทางการเงินในการลงทุนทองคำในตลาดโลกอย่างดอลลาร์ปรับตัวลง
FINNOMENA Investment Team มองว่าการปรับตัวขึ้นและสามารถยืนเหนือเส้นแนวต้านได้ในรอบนี้มีนัยสำคัญท่ามกลางปัจจัยแวดล้อมที่สนับสนุน จึงแนะนำลงทุนในรูปแบบเก็งกำไรภายใต้คำแนะนำ Tactical Call
รูปที่ 1 กราฟราคาทองคำ (XAU/USD) และระดับ Upside และ Downside I Source: tradingview as of 23/05/2022
และเมื่อราคาทองคำปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 1,880 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ถึงแม้ราคาทองคำจะกลับลงมาต่ำกว่า 1,880 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อีกครั้ง FINNOMENA Investment Team ก็ยังคงแนะนำให้ชะลอการเข้าซื้อ (หยุดซื้อ) ภายใต้คำแนะนำ Tactical Call เนื่องจากปัจจัยทางเทคนิคอาจเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงที่ให้คำแนะนำครั้งแรก
รูปที่ 2 สัดส่วนการลงทุนของ TMBGOLDS I Source: tmbameastspring.com as of 20/05/2021, Fund Fact Sheet As of 29/04/2022
กองทุนมีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน SPDR Gold Trust (เป็นกองทุนที่ลงทุนในทองคำแท่ง Gold Bullion) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนโดยเฉลี่ยในรอบบัญชี กองทุนมีระดับความเสี่ยงสูงมาก (ระดับ 8) พร้อมด้วยนโยบายการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลพินิจ ซึ่ง TMBGOLDS ยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมขาย, รับซื้อคืน และส่วนต่างจากมูลค่าหน่วยลงทุน (Spread) มีนโยบายลงทุนแบบ Passive ส่งผลให้กองทุนเหมาะสมแก่การเข้าลงทุนเพื่อเก็งกำไรในระยะสั้นตามดัชนีชี้วัด
รูปที่ 3 สัดส่วนการลงทุนของ Jupiter Gold & Silver Fund กองทุนหลัก WE-GOLD I Source: weasset.co.th as of 20/05/2022, Fund Fact Sheet As of 31/03/2022
กองทุนมีนโยบายลงทุนใน Jupiter Gold & Silver Fund (กองทุนหลัก) Class I (USD) เพียงกองทุนเดียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน กองทุนมีระดับความเสี่ยงสูง (ระดับ 7) พร้อมด้วยการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ซึ่งกองทุนหลักมีนโยบายลงทุนแบบ Active สามารถลงทุนได้ทั้งในตราสารทุนที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับการสำรวจ การพัฒนา และการผลิตทองคำและเงิน รวมถึงกองทุนอีทีเอฟที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาทองคำหรือเงิน เพื่อให้ผลการดำเนินงานสูงกว่าดัชนีเปรียบเทียบ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสทำกำไรในระยะสั้น
กองทุนอื่นๆ ที่มีลักษณะการลงทุนในประเภทเดียวกับกองทุน TMBGOLDS
FINNOMENA Investment Team
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT
ดาวน์โหลดฟรี “มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์”
รับชมบน YouTube: https://youtu.be/nQLDctMNu4E
ฉุดไม่อยู่แล้ว สำหรับตลาดการลงทุนที่ไม่เคยหลับใหลอย่าง Cryptocurrency สินทรัพย์ลงทุนน้องใหม่ไฟแรงที่ทำเอานักลงทุนทั่วโลกต้องหันมาให้ความสนใจ คลิปแรกจากรายการ Crypto Day นี้ก็เลยจะมาชวนพูดคุยประเด็นสำคัญที่ต้องรู้ให้ได้ก่อนเริ่มต้นลงทุนใน Crypto
พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website
“มันไร้สาระ และไม่ใช่ความจริงอย่างเด็ดขาด” Elon Musk ออกมาปฏิเสธผ่านทางทวิตเตอร์ หลังมีรายงานข่าวระบุว่า เขาล่วงละเมิดทางเพศพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินส่วนตัวเมื่อปี 2016
ก่อนหน้านี้ (19 พ.ค.) Business Insider รายงานว่า เมื่อปี 2018 SpaceX ได้จ่ายเงิน 250,000 ดอลลาร์ หรือคิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ 8.5 ล้านบาท เปิดปากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่บอกว่าเธอถูก Elon Musk เรียกให้มานวดขณะที่เขาร่างกายเปลือยเปล่า และยังถูกลวนลามด้วยกับจับต้นขา พร้อมบอกว่าจะซื้อม้าให้หากเธอยินยอมที่จะทำอะไรมากกว่านี้
รายงานดังกล่าวของ Business Insider อ้างถึงบุคคลนิรนามที่อ้างว่าเป็นเพื่อนกับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินคนนั้น
“ผมขอท้าทายคนโกหกที่อ้างว่าเพื่อนของเขาเห็นผมเปลือย ให้อธิบายมาแค่สิ่งเดียวว่าผมมีแผลเป็นหรือรอยสักอะไรก็ได้ที่อยู่ในร่มผ้า แต่คงบอกไม่ได้เพราะเรื่องนี้มันไม่เคยเกิดขึ้น” Elon Musk ทวีตปฏิเสธ
ตามรายงานของ Business Insider พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินคนดังกล่าวเชื่อว่าการที่เธอปฏิเสธข้อเสนอของ Elon Musk นั้นบั่นทอนโอกาสของเธอในการทำงานที่ SpaceX เธอจึงตัดสินใจจ้างทนายความในปี 2018 แต่ SpaceX ได้ทำการตกลงนอกศาลเพื่อไม่ให้เธอสามารถพูดถึงเรื่องนี้ได้
Elon Musk ผู้บริหาร Tesla และ SpaceX เพิ่งประกาศไปเมื่อวันพุธ (18 พ.ค.) ที่ผ่านมาว่า เขาจะเลือกลงคะแนนให้ ‘รีพับลิกัน’ แทน ‘เดโมแครต’ โดยเชื่อว่าจะมีกลอุบายที่สกปรกและต่อต้านตัวเขาจะตามมา
Elon Musk กล่าวว่า เรื่องราวของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเป็น “ผลงานชิ้นเอกที่มีแรงจูงใจทางการเมือง” และมีเพื่อขัดขวางการเข้าซื้อ Twitter แต่ไม่มีอะไรที่จะขัดขวางเขาจากจากการต่อสู้เพื่ออนาคตที่ดีและสิทธิในการพูดของพวกคุณ
——————-
ดัชนี Hang Seng ปรับตัวขึ้น 3% นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีหลังจากที่ปรับตัวลงแรงเมื่อวานนี้ หุ้น Xpeng ปรับตัวขึ้น 7.43% และ Baidu ปรับตัวขึ้น 5.02%
ขณะเดียวกันก็มีอีกปัจจัยบวกที่หนุนตลาดหุ้นจีนในภาพรวม โดยธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (LPR) ประเภท 5 ปี ลง 0.15% สู่ระดับ 4.45% เป็นการปรับลดครั้งที่ 2 ของปี ซึ่งนอกจากดัชนี Hang Seng จะได้รับผลบวกในทางอ้อมผ่านภาคอสังหาแล้ว ดัชนี CSI 300 ก็ปรับตัวขึ้น 1.95% รับข่าวเช่นกัน
FINNOMENA Investment Team มองว่าในระยะสั้นตลาดหุ้นจีนยังต้องติดตามสถานการณ์ COVID-19 ในจีนที่อาจกลับมาระบาด กดดันให้ทางการจีนต้องใช้มาตรการเข้มงวดอีกครั้ง พร้อมทั้งติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวการควบคุมบริษัทเทคโลยีของจีนที่เริ่มมีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งด้วยระดับ Valuation และการเติบโตของ EPS ยังมีความน่าสนใจสะสม เมื่อมาตรการ COVID Zero คลี่คลาย
——————-
ย้อนนิดหนึ่งสำหรับคนที่ไม่รู้จัก
SEA Group ประกอบธุรกิจหลัก ๆ ด้วยกัน 3 อย่าง
ณ ราคาหุ้นปัจจุบัน SE ร่วงจากจุดสูงสุดราว ๆ 78% แล้ว จากความกังวลเรื่องการเปิดเมือง จะส่งผลต่อธุรกิจหลักของ SEA อย่าง Garena และ Shopee เพราะ ณ ปัจจุบัน SEA ยังเป็นหุ้นที่ขาดทุนอยู่มาก เพื่อแลกกับการเติบโตของธุรกิจอย่างก้าวกระโดด รวมถึงข่าวร้ายที่โดน India แบนทั้งที่ธุรกิจกำลังไปได้สวย และ Tencent ยักษ์ใหญ่แดนมังกรขายหุ้นไปกว่า แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามบริษัทยังขยายบริการเพิ่มใน 5 ประเทศคือ บราซิล โปแลนด์ เม็กซิโก กัมพูชา และชิลี ในปีที่ผ่านมา
ในงบหากมองแบบ YoY เราจะไม่เห็นผลกระทบชัดเจน แต่ถ้าหากมองแบบ QoQ เราจะเห็นการชะลอตัวในบริการต่าง ๆ ชัดเจนขึ้น
ผู้ใช้งานในไตรมาสนี้ = 615.9 ล้านคน -5% YoY, -5.8% QoQ
ผู้ใช้งานที่มีการใช้จ่าย = 61.4 ล้านคน -23.6% YoY
ผู้ใช้งานยังคงลดลงต่อเนื่อง แต่บริษัทแจ้งว่าเริ่มเห็นการชะลอตัวลงของการลดลงดังกล่าวแล้ว
ทั้งนี้ สัดส่วนของผู้เล่นที่ใช้จ่ายภายในเกมต่อผู้เล่นทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก 8.9% เป็น 10%
ธุรกิจส่วนนี้เป็นธุรกิจส่วนเดียวของบริษัทที่หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วมีกำไร และหากใครติดตามธุรกิจเกม จะทราบกันดีว่า เมื่อเกมไหนเกิดปังขึ้นมา จะสร้างกำไรให้บริษัทได้อย่างมหาศาล ซึ่งบริษัทนำเงินที่ได้จากให้บริการเกมยอดฮิตอย่าง Free Fire, LOL , ROV และอื่น ๆ ไปใช้ Burn Cash เพื่อต่อยอดธุรกิจอย่าง Shopee ความกังวลที่เกิดขึ้นคือเมื่อผู้ใช้งานธุรกิจส่วนนี้ลดลง อาจส่งผลให้บริษัทลำบากในการเพิ่มงบการตลาด และพัฒนาธุรกิจส่วนอื่น ๆ ของบริษัท
ในระยะสั้นบริษัทยังคงออกกิจกรรม ไอเทม ระบบเล่นเกมใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดผู้ใช้งาน ส่วนระยะยาวบริษัทให้ความสำคัญในการพัฒนาเกมใหม่ ๆ เช่นล่าสุดบริษัทเตรียมเปิดตัว Moonlight Blade ที่คนไทยกำลังจะได้เล่นในเร็ว ๆ นี้
คำสั่งซื้อทั้งหมด = 1,900 ล้านครั้ง +71.3% YoY
ยอดขายทั้งหมด (GMV) = 17,400 ล้านดอลลาร์ +53% YoY
ธุรกิจ Ecommerce ทั่วโลกมีรายได้ที่ลดลงจากผลกระทบของการเปิดเมืองและผู้คนกลับไปใช้ชีวิต ซื้อสินค้าผ่านออฟไลน์มากขึ้น
บริษัทกำลัง Focus ในส่วนของ Partner ร่วมกับ Brand อื่นมากขึ้นรวมถึงในหมวด ร้านค้าแบบ “Mall”
บริษัทแจ้งว่าแม้ GMV ของ Shopee ลดลง แต่ยอดขายในส่วนของ Mall และ สินค้า Brand ยังเติบโตราว ๆ 25% YoY
รายได้ 236 Million +359.9% YoY
การใช้จ่ายทั้งหมดในระบบ = 5,100 ล้านดอลลาร์ +70% YoY
ผู้ใช้งาน = 49 ล้านคน +78% YoY
ดูเหมือนจะเติบโตมาก แต่หากมองแบบ QoQ เราจะพบว่าเริ่มชะลอตัวลง
ทั้งนี้สาเหตุหนึ่งมาจากการที่ User ใช้งาน Shopee ลดลง ซึ่ง Shopee เป็นบริการหลักของบริษัทก่อนที่จะ Cross Sale มาบริการอื่น ๆ บน seaMoney ปัจจุบันบริษัทได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์และประกันไปแล้ว 3 ประเทศคือ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และล่าสุดในไตรมาสนี้ มาเลเซีย บริษัท focus ที่การเป็น partner กับสถาบันการเงินในท้องถิ่นแต่ละประเทศเป็นหลัก และกำลังเพิ่มธุรกิจในส่วนการขายประกัน และ wealth management ต่อยอดจากธุรกิจ wallet ที่ทำอยู่
SEA เป็นธุรกิจที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการเปิดเมือง และกำลังเผชิญปัญหาเรื่องเงินสด ทำให้ยังมีความไม่แน่นอนในระยะสั้น หากรอได้ ควรดูแนวโน้มต่อไปก่อนเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจส่วนต่าง ๆ ว่ามีแนวโน้มกลับมาดีขึ้นหรือยัง
ทั้งนี้แนวโน้มจะดูดีขึ้น หากธุรกิจ Entertainment ของบริษัท หยุดหรือชะลอการหดตัวได้ แต่แน่นอนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในธุรกิจเกมและ Ecommerce ไม่ได้เกิดขึ้นกับแค่ SEA บริษัทเดียว เพราะโดนกันทุกเจ้า! และในอุตสาหกรรมนี้ดูเหมือน Winner take most ใครออกนอกวงก่อนแพ้ ต้องรอติดตามดูว่าจะมีบริษัทไหนล้มหายไปจากตลาดไหม รวมถึง SEA จะกลับมาเติบโตได้ดีหรือไม่?
BottomLiner
Peter Smith ซีอีโอของ Blockchain.com เตือนหายนะวงการคริปโทฯ ยังไม่จบ จงทำตัวให้ชินกับมัน แต่เชื่อว่าคริปโทฯ คือสิ่งที่ดีสำหรับเศรษฐกิจ
สำหรับนักลงทุนคริปโทฯ ที่เผชิญกับการร่วงแรงครั้งแรกในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา Peter Smith แนะนำให้ทำความคุ้นเคยกับมัน เพราะความเจ็บปวดกำลังถาโถมเข้ามาอีก อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อว่าในท้ายที่สุดแล้ว คริปโทฯ จะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเศรษฐกิจแบบกระจายอำนาจ
Peter Smith มองว่า บทเรียนในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ตั้งแต่การร่วงแรงของ Bitcoin, ความวุ่นวายใน stablecoin รวมถึงความล้มเหลวของ Luna และ Terra ทำให้นักลงทุนควรกลับไปลงทุนโดยใช้กลยุทธ์ดั้งเดิมอย่าง DCA ด้วยการสะสมสินทรัพย์อย่างช้าๆ เพื่อไม่ให้เงินทั้งหมดหายวับไปจากความผันผวนเพียงครั้งเดียว
“ถัวเฉลี่ยอย่างช้าๆ และพร้อมที่จะถือมันไว้สักระยะหนึ่ง เพราะตอนนี้เรายังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการสร้างระบบการเงินทั้งหมด” ซีอีโอของ Blockchain.com บริษัทที่ก่อตั้งในปี 2011 และหนึ่งในผู้เล่นที่เป็นที่ยอมรับในแวดวงนี้กล่าว
Peter Smith กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนรายย่อยไม่ได้อดทนมากพอกับการเข้ามาและเทขายออกของสถาบัน นี่เป็นผลลัพธ์คลาสสิกในภาวะฟองสบู่ของตลาด
สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ การชะล้างความเสี่ยงและใช้ประโยชน์จากระบบตลาดทั่วโลกทั้งหมด โดย Peter Smith ย้ำมานานว่า มันจะเป็นกระบวนการที่ยาวนานเหมือนกับเรารับเลี้ยงลูกบุตรธรรมแล้วรอเขาเติบโต โดย “ทำลายล้างอย่างสร้างสรรค์” จะทำให้อุตสาหกรรมคริปโทฯ แข็งแกร่งขึ้นในระยะยาว
Peter Smith ทิ้งท้ายว่า ตอนนี้หลายคนคงเจอกับวัฏจักรครั้งที่ 4 หรือ 5 ในอุตสาหกรรมฟินเทค ทุกๆ ครั้งของการร่วงแรงสร้างความเจ็บปวดอยู่มากก็จริง แต่มันจะนำไปสู่อุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งและมีประโยชน์มากขึ้น และในอีก 2-3 ปีข้างหน้า เราจะได้เห็นการเติบโตขั้นพื้นฐานที่แท้จริง
อ้างอิง: https://www.cnbc.com/2022/05/19/theres-more-crypto-destruction-to-come-blockchaincom-ceo.html
——————-
ท่ามกลางความผันผวนของราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ประกอบกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทั่วโลก USDT และ USDC กลายเป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์ที่น่าจับตามองของนักลงทุนคริปโตว่า จะยังเป็น Stablecoin ที่ควรถือไว้หรือไม่ หลังเกิดข่าวเหรียญ UST ร่วงอย่างหนัก
ทั้งนี้ นโยบายการเงินและเศรษฐกิจก็ส่งผลต่อภาพรวมตลาดลงทุนอย่างมาก บทความนี้จะพามาทำความรู้จักว่า USDC และ USDT คืออะร แตกต่างกันอย่างไร พร้อมเจาะประเด็นว่าเหรียญทั้งสองนี้เสี่ยงหรือไม่
USDT คือสกุลเงินดิจิทัลแบบ Stablecoin ที่อยู่บนบล็อกเชน มีชื่อเต็มว่า Tether (USDT) ออกโดยบริษัท Tether จากฮ่องกง USDT มีการอ้างอิงมูลค่าไว้กับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในสัดส่วน 1:1 หมายความว่าทุกครั้งที่มีการออกเหรียญ USDT นั้น ทางบริษัท Tether จะมีการเก็บเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯเอาไว้ในจำนวนเท่ากัน เพื่อให้นักลงทุนที่ถือ Tether (USDT) สามารถแลกเงินกลับเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ ได้เสมอ
USDT เป็นหนึ่งใน Stablecoin ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2021 USDT มีมูลค่าตลาด (Market Capitalization) ถึง $6.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น Cryptocurrency ที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับ 3 ในตลาด เป็นรองแค่บิตคอยน์ และ อีเธอเรียมเท่านั้น
ถึงอย่างนั้น เมื่อ UST เหรียญ Stablecoin หนุนเครือข่าย Terra หลุด Peg เหลือมูลค่าต่ำกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐฯนั้น เช่นเดียวกับราคาเหรียญ LUNA เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2022 หลายคนต่างจับตามองว่าความมั่นคงของเหรียญ USDT จะเป็นอย่างไรต่อไป จะดิ่งไปด้วยหรือไม่ เพราะ USDT ได้หลุด Peg ตามไปแล้ว โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 0.99 ดอลลาร์สหรัฐฯฯ และติดอันดับ 3 ของ CoinMarKetCap เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ปี 2022
USDT จะถูกผลิตออกมาเมื่อมีความต้องการ โดยทาง Tether เจ้าของโทเคนจะผลิตเหรียญเพิ่ม สำรองเงิน USD เอาไว้ และส่ง USDT ไปให้กับผู้ให้บริการเทรดสินทรัพย์หรือ Exchange เพื่อให้นักเทรดสามารถใช้เป็นสกุลเงินคู่ในการเทรดได้แบบง่าย ๆ เพราะการเทียบมูลค่ากับดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเรื่องที่ทุกคนคุ้นชินอยู่แล้ว การวิเคราะห์ข้อมูลหรือราคาต่าง ๆ ก็ทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น
การถือ USDT ยังช่วยให้พอร์ตการลงทุนของเรามีความมั่นคงมากขึ้น ในยามที่ตลาดสกุลเงินดิจิทัลมีความผันผวน สามารถโยกเงินจากสกุลเงินอื่น ๆ มาพักเอาไว้ก่อนได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องถอนออกมาเป็นสกุลเงิน Fiat Currency
เวลาที่นักลงทุนรายใหญ่ เช่น สถาบันการเงินจะมาลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น จะมีการเอาสกุลเงินดอลลาร์ที่มีมาแลกเป็น USDT ก่อนเพื่อเข้าซื้อสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ ดังนั้นหากเราเห็นว่ามีการผลิต USDT ออกมาเป็นจำนวนมากในระยะเวลาสั้น ๆ อาจจะหมายความว่ามีความต้องการเข้าซื้อสกุลเงินดิจิทัล เช่น บิตคอยน์ เป็นจำนวนมากก็ได้
USDC คือสกุลเงินดิจิทัลแบบ Stablecoin ที่ออกมาในปี 2018 โดย Exchange ชื่อดังอย่าง Coinbase และ Circle Internet Financial โดย USDC เป็น ERC-20 ที่อยู่บน Ethereum Blockchain ใช้อ้างอิงมูลค่าของโทเคนกับดอลลาร์สหรัฐฯ ในอัตราส่วน 1:1 ทุก ๆ USDC ที่ถูกผลิตออกมา จะมี 1 ดอลลาร์ที่ถูกเก็บเอาไว้ในบัญชี ซึ่งมีการตรวจสอบเป็นประจำว่ามีการเก็บเงินสำรองไว้จริง ๆ
USDC เป็นหนึ่งในโทเคนดิจิทัลที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มีมูลค่าตลาดประมาณ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นอันดับสองในตลาดโทเคน เป็นรองแค่ USDT เท่านั้น สิ่งที่น่าสนใจก็คือ USDC ยังมีมูลค่าอยู่ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ณ วันที่ 13 พฤษภาคม ปี 2022 ท่ามกลางความผันผวนไม่แน่นอนของเหรียญ Stablecoin อื่นที่หลุด Peg ไปในช่วงเวลาดังกล่าว
Stablecoin เป็นสกุลเงินดิจิทัลประเภทหนึ่งที่มีมูลค่าคงที่ โดยมูลค่าของสกุลเงินแบบนี้จะขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่นำมาอ้างอิง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งสกุลทั่วไป (Fiat currency), สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity), สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) หรืออัลกอริทึมของระบบเองก็ตาม นอกจากการเลือกสินทรัพย์ที่อ้างอิงมูลค่าแล้ว Stablecoin ยังมีการกำหนดอัตราส่วนในการสำรองดังกล่าว เช่น USDT ที่มีการกำหนดอัตราส่วนในการสำรองไว้ที่ 1:1 และผูกมูลค่ากับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า มูลค่าของ Stablecoin แต่ละสกุลนั้น จึงมีแนวโน้มที่จะล้อไปกับสินทรัพย์ที่ใช้อ้างอิงมูลค่าอยู่เบื้องหลัง โดย USDT และ USDC เป็น Stablecoin ที่มีสินทรัพย์ที่นำมาอ้างอิงคือ สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในอัตราส่วน 1:1 กล่าวคือ 1 USD = 1 USDT และ 1 USD = 1 USDC
ถึงอย่างนั้น การลงทุนในตลาดที่มีความผันผวนสูง ย่อมนำมาซึ่งความเสี่ยงสูงเช่นกัน ดังเห็นได้จากความเคลื่อนไหวราคาของ Stablecoin อย่าง UST และ USDT ตามที่กล่าวไปข้างต้น นักลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลและติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อใช้เป็นแนวทางตัดสินใจในการก้าวเข้ามาเล่นตลาดนี้
“แล้ว USDT กับ USDC แตกต่างกันยังไง?” คำถามนี้อาจคล้ายกับการถามว่า อยากทำไข่เจียว ควรทอดไข่ด้วยไข่ไก่เบอร์อะไร เพราะจริง ๆ แล้ว ทั้ง 2 สกุลเงินเป็น Stablecoin เหมือนกัน แต่ก็มีรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างกัน นั่นคือ บริษัทที่สร้างเหรียญ ซึ่งส่งผลให้มีความแตกต่างกันในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
USDT ออกมาเมื่อปี 2014 โดยบริษัท Tether Limited ส่วน USDC นั้นออกมาเมื่อปี 2018 โดยบริษัท Centre ซึ่งก่อตั้งโดยบริษัท Circle และศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่าง Coinbase
USDT ตรวจสอบโดยบริษัทกฎหมายที่มีชื่อว่า Freeh Sporkin & Sullivan LLP โดยไม่ได้ระบุความถี่ในการเข้าตรวจสอบ ซึ่งในข้อนี้ก็ยังมีการตั้งคำถามถึงความถูกต้องของผู้ที่เข้ามาทำการตรวจสอบอยู่
USDC มีการตรวจสอบโดยบริษัท Grant thornton ซึ่งเป็นบริษัท Top 5 ในเรื่องการให้คำปรึกษาและการตรวจสอบบัญชีที่มีชื่อเสียงระดับโลก เข้ามาตรวจสอบเรื่องการสำรองเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทุกเดือน และประกาศลงบนเว็บไซต์ของ Centre
การที่มี Blockchain ที่รองรับที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ผู้ใช้งานมีทางเลือกในการเลือกใช้งาน ซึ่งจะส่งผลต่อความเร็วในการโอนมูลค่าและการนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ
บล็อกเชนที่อยู่เบื้องหลัง USDT: USDT Bitcoin, Ethereum, EOS, Tron, Algorand, SLP, OMG
บล็อกเชนที่อยู่เบื้องหลัง USDC: USDC Ethereum, Algorand, Solana
วันที่ 23 มีนาคม ปี 2021 USDT มีจำนวนเหรียญอยู่ที่ 41.6 ล้านเหรียญ และ USDC มีจำนวนเหรียญอยู่ที่ 10.2 ล้านเหรียญ
ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวล่าสุดของเหรียญทั้งสองมีจำนวน Supply ต่างไปจากเดิม โดย USDT มีจำนวนเหรียญอยู่ที่ 79.2 ล้านเหรียญ และ USDC มีจำนวนเหรียญอยู่ที่ 49.7 ล้านเหรียญ อ้างอิงจาก CoinMarketCap ณ วันที่ 13 พฤษภาคม ปี 2022
เชื่อว่าหลายคนอาจตั้งคำถามว่า Stablecoin อย่าง USDT และ USDC จะเป็นอย่างไรหลังเห็นราคาเหรียญ LUNA และ UST ดิ่งต่ำเป็นประวัติการณ์ ทำให้คนจับตามองว่าสรุปแล้ว เหรียญ USDT และ USDC มีแนวโน้มเสี่ยงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้หรือไม่
จากการรายงานของเว็บไซต์ Barron กล่าวว่า เหรียญ USDT หลุด Peg ถือว่าไม่รุนแรงเหมือนกับเหรียญ UST ถึงอย่างนั้น เหรียญ UST ที่ดิ่งรุนแรงก็ส่งผลกระทบกับ USDT พอสมควร เพราะนักลงทุนสูญเสียความเชื่อมั่นใน Stablecoin ไปแล้ว
ก่อนหน้านั้นกระดานเทรดและนักลงทุนคริปโตบางส่วนยังเชื่อมั่นและถือเหรียญ USDT อยู่ก่อนเหรียญจะหลุด Peg เพราะเห็นว่า Stablecoin ที่อิงมูลค่ากับเงินสกุลดอลลาร์ฯ ในธนาคารหรือคลังการเงินมีความโปร่งใสกว่า Stablecoin หนุนด้วยระบบอัลกอริธึมที่เสี่ยงหลุด Peg มากกว่า อย่างไรก็ดี USDT ก็ได้รับผลกระทบตามที่กล่าวไปข้างต้น
ในขณะเดียวกัน เหรียญ USDC ถือว่ามีความเสี่ยงหากว่ากันตามหลักการลงทุนทั่วไป แม้เหรียญนี้จะมีความผันผวนทางราคาน้อยกว่าเหรียญคริปโตอื่น แต่อาจพบปัญหาที่มาจากหน่วยงานสำนักงาน ก.ล.ต. ของสหรัฐฯ
ทั้งหมดนี้อาจพอสะท้อนคำตอบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวได้ระดับหนึ่ง ถึงอย่างนั้น สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องตระหนักเสมอเมื่อก้าวเข้ามาในตลาดคริปโตหรือตลาดลงทุนอื่นก็คือ การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง ย่อมเกิดความเสี่ยงสูงเสมอ จึงควรหมั่นศึกษาข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ให้ครบถ้วน เพื่อใช้เป็นแนวทางตัดสินใจก่อนลงทุนในสินทรัพย์ใด ๆ ทุกครั้ง
สรุปได้ว่าทั้ง USDC และ USDT ก็คือ Stablecoin ที่มีการผูกมูลค่าโทเคนไว้กับดอลลาร์สหรัฐฯในสัดส่วน 1:1 มีความผันผวนน้อยกว่าสินทรัพย์ดิจิทัลแบบอื่น ๆ แต่แตกต่างกันที่ผู้ที่ออกเหรียญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อนโยบายต่าง รวมไปถึงความถี่และความโปร่งใสในการตรวจสอบการสำรองเงินดอลลาร์สหรัฐฯ นั่นเอง
ที่มาบทความ: https://zipmex.com/th/learn/usdt-vs-usdc/
คำเตือน
การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง อาจสูญเสียเงินลงทุน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจและศึกษาข้อมูล รวมทั้งลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้