แจ้งเตือน

7 สิ่งที่ต้องรู้ ลงทุนเวียดนาม ปี 2023

fruhling

เหนือน่านฟ้าแห่งหนึ่ง เครื่องบินโดยสารสีฟ้าน้ำทะเลแล่นลง ณ สนามบินของเมืองเมืองหนึ่งซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก เมืองแห่งนี้มีตึกสูงชะลูดอยู่บางตา ทว่าเต็มไปด้วยอาคารราชการ ชื่อของที่แห่งนี้คือ วอชิงตัน ดี.ซี. ศูนย์กลางอำนาจของมหาอำนาจโลกเบอร์ 1 และเที่ยวบินที่ว่านี้คือเที่ยวบินของ Vietnam Airlines ที่นำพานายกรัฐมนตรีของเวียดนามคนปัจจุบันมาสู่การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ เมื่อ 10 เดือนก่อน

ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่การประชุมระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ กับนายกรัฐมนตรีเวียดนามและผู้นำจากชาติสมาชิกของอาเซียนอื่น ๆ ในวันนั้น แต่เป็นทริปการเดินทางสู่ฝั่งชายตะวันตกของอเมริกาที่ห่างออกไปเกือบ 3 พันไมล์ ในอีก 4 วันให้หลัง

ปลายทางของการเดินทางครั้งนี้คืออาคารขนาดยักษ์รูปวงแหวนแห่งหนึ่งซึ่งเป็นเสมือนบ้านของคนทำงานระดับยอดของยอดมนุษย์ในด้าน IT ชื่อของอาคารหลังนี้คือ Apple Park และสถานที่ที่นายกรัฐมนตรีเวียดนามกำลังเหยียบอยู่คือพื้นที่หนึ่งของเมืองซานฟรานซิสโกที่ได้รับการขนานนามไปทั่วโลกในชื่อ “ซิลิคอน วัลเลย์”

บริษัทกว่า 30 แห่งและแรงงานกว่า 160,000 คน ในประเทศเวียดนาม มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแข็งขันกับการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ให้กับ Apple จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมนายกรัฐมนตรีเวียดนามถึงได้กลายเป็นแขกคนสำคัญของ Tim Cook ซีอีโอของ Apple ในการพบกันหนนี้ 

สื่อหลายสำนักยังรายงานอีกว่า ในวันเดียวกัน ผู้นำเวียดนามได้เข้าพูดคุยเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับผู้นำแห่งโลกเทคโนโลยีรายอื่นในซิลิคอน วัลเลย์ ทั้ง Google, Microsoft และ Intel

เส้นทางจาก White House ถึง Apple Park ของผู้นำเวียดนาม ทำให้เราได้เห็นเรื่องราวอย่างหนึ่ง นั่นคือ บทบาทที่แข็งแกร่งและน่าสนใจของเวียดนามในสนามเศรษฐกิจโลก ซึ่งก่อนหน้านี้ ดาวรุ่งจากอาเซียนก็ได้พิสูจน์ตัวเองให้เราเห็นไปแล้วหนหนึ่ง ด้วยการเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่เศรษฐกิจยังเดินหน้า แม้ประเทศเกือบทั้งหมดจะหมอบราบจากโควิด-19 

แต่คำถามที่สำคัญก็คือ จากนี้ เวียดนามจะเป็นอย่างไรต่อไป? เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น เรามาลองดูเรื่องราวปัจจุบันของเวียดนามที่น่าจับตาในปี 2023

เวียดนาม ปี 2023 กับ 7 เรื่องราวที่น่าสนใจ

1. การเติบโตของดาวรุ่งเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2023

เวียดนามจบปี 2022 ได้อย่างสวยงามด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่า 8% ซึ่งมากกว่าก่อนโควิดระบาดในปี 2019 (7.4%) และยังมากกว่าการเติบโตเฉลี่ยในปี 2016-2019 ที่ 7.1%  นับเป็นการฟื้นตัวที่ก้าวกระโดดจากปี 2020 และ 2021 ที่โต 2.9% และ 2.6% ตามลำดับ แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าจำนวนนี้ส่วนหนึ่งเป็นการเติบโตจากฐานที่ต่ำในช่วงการระบาดของโควิด-19

ในปี 2023 เวียดนามจะยังเติบโตในระดับสูงที่ 6.3% และในปี 2024 จะเติบโตได้ราว 6.5% จากการคาดการณ์ขององค์กรด้านเศรษฐกิจระดับโลกอย่าง World Bank ถือว่าชะลอตัวลงมาบ้างจากปัจจัยที่หลากหลายเกี่ยวกับสถานการณ์โลกในปัจจุบัน 

ตัวเลขการเติบโตระดับนี้ ส่วนหนึ่งมาจากเครื่องจักรเศรษฐกิจสำคัญของประเทศอย่างการส่งออก ซึ่งก็ได้อานิสงส์จากการที่บริษัทระดับโลกเข้ามาลงทุนขยายฐานการผลิตเข้ามาในเวียดนามเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น Apple ที่ผู้นำเวียดนามได้เดินทางไปเยือนถึงสำนักงานใหญ่ในซานฟรานซิสโกด้วยตัวเองเมื่อปีก่อน

2. โปรเจ็กต์ของบริษัทดัง ที่จะเกิดขึ้นในเวียดนาม ปี 2023

ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา หลายคนน่าจะได้ยินข่าวที่บริษัทใหญ่ ๆ เข้าไปลงทุนในดาวรุ่งทางเศรษฐกิจอย่างเวียดนามอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อสหรัฐฯ และจีนยังคงขัดแย้งกันแม้ตัวประธานาธิบดีจะเปลี่ยนจากโดนัลด์ ทรัมป์ เป็น โจ ไบเดน ก็ตามที ซึ่งก็ทำให้หลาย ๆ บริษัทพยายามกระจายความเสี่ยงใน supply chain ของตัวเองออกจากจีนไปยังประเทศอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง และประเทศที่ได้รับอานิสงส์มหาศาลก็คือเวียดนาม

ในปี 2023 ทางด้านของ Apple ตัดสินใจที่จะย้ายการผลิต MacBook มายังเวียดนาม จากที่ได้ย้ายฐานการผลิต AirPods และ iPad มาแล้วก่อนหน้านี้ ในขณะที่ Samsung เองก็จะเริ่มผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในเวียดนามในปีนี้เช่นกัน 

ที่น่าสนใจที่สุดก็คือ เมื่อไม่นานมานี้ ผู้บริหารระดับสูงจาก 52 บริษัทชั้นนำในสหรัฐฯ ได้เข้าร่วม Business trip ที่นำโดยอดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำเวียดนาม เพื่อเดินทางไปศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายธุรกิจในเวียดนาม โดยมีการยืนยันว่าตัวแทนจากบริษัทใหญ่ ๆ อย่าง Netflix และ Boeing ได้เข้าร่วมการเดินทางครั้งนี้  จากการรายงานของ CNN ซึ่งข่าวนี้เป็นเครื่องยืนยันชั้นดีว่าประเทศแห่งนี้ได้รับความไว้วางใจจากตัวแสดงทางเศรษฐกิจชั้นนำ และเหตุผลหนึ่งที่เวียดนามสามารถดึงดูดผู้เล่นเหล่านี้ได้คือความสามารถในการค้าขายกับนานาประเทศได้ค่อนข้างอิสระ เนื่องจากมีข้อตกลงการค้าเสรีที่ทำร่วมกับประเทศชั้นนำมากมาย

3. ข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามมี ในปี 2023

แผนที่แสดงประเทศที่ลงนามในข้อตกลง CPTPP, Source: trade.gov.tw as of 24/03/2023

ความเคลื่อนไหวของเวียดนามในเวทีระหว่างประเทศโดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจถือว่าร้อนแรงไม่น้อย เพราะที่ผ่านมามีการเชื่อมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ลดกำแพงทางการค้าลง และเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงตลาดต่าง ๆ ในโลกได้อย่างต่อเนื่อง

ตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา เวียดนามลงนามในข้อตกลงทางการค้า (Free Trade Agreement: FTA) ร่วมกับเขตเศรษฐกิจชั้นนำเอาไว้หลายฉบับ เช่น CPTPP กับประเทศรอบมหาสมุทรแปซิฟิก (เชื่อมทวีปเอเชียกับทวีปอเมริกาเหนือและใต้), EVFTA กับ 27 ประเทศในสหภาพยุโรป, UKVFTA กับสหราชอาณาจักรหลังทำ Brexit, RCEP กับกลุ่มอาเซียนและประเทศข้างเคียง คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ 

โดยในปี 2023 ข้อตกลง EVFTA จะเริ่มมีผลบังคับใช้ และในปีเดียวกันเวียดนามก็มีการเจรจา FTA กับประเทศอื่นเพิ่มเติม เช่น อิสราเอล (Vietnam-Israel FTA) ไปจนถึงประเทศในยุโรปที่ไม่ได้อยู่ในสหภาพยุโรป 4 ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ (Vietnam-EFTA) 

และนอกจากปัจจัยเชิงโครงสร้างอย่าง FTA จะเป็นบวกต่อเวียดนามแล้ว ปัจจัยเฉพาะหน้าอย่างสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน เช่น การเปิดเศรษฐกิจของจีน ก็ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหนุนต่อเวียดนามในปีนี้อีกด้วย

แผนที่แสดงประเทศที่ลงนามในข้อตกลง RCEP, Source: ambsingapore.esteri.it as of 24/03/2023

4. เวียดนาม จีน ในปี 2023

การที่รัฐบาลจีนยอมผละมือออกจากนโยบายโควิดเป็นศูนย์ในช่วงต้นปี 2023 หลังจากเคยยึดถือมายาวนานสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับหลายประเทศ แต่หนึ่งในประเทศที่ได้รับอานิสงส์ตรงนี้อย่างใหญ่หลวงคือเวียดนาม ทั้งจากการท่องเที่ยวและการส่งออก

GDP ของเวียดนาม 16.5% ในปี 2020 มาจากการส่งออกไปจีน เป็นรองแค่สหรัฐฯ ที่เป็นเจ้าของสัดส่วนตรงนี้ถึง 25.6% แต่จุดที่น่าสนใจก็คือ ในช่วงปี 2015-2020 การส่งออกจากเวียดนามไปสหรัฐฯ เติบโตเกือบ 120% ในขณะที่การส่งออกจากเวียดนามไปจีนเติบโตได้เกือบ 200% จากข้อมูลของ OEC world แต่ไม่ว่าจะส่งออกไปประเทศไหน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นโอกาสของธุรกิจในเวียดนามที่มีศักยภาพระดับโลกทั้งสิ้น และในปี 2023 ก็มีธุรกิจสัญชาติเวียดนามให้จับตาดูไม่น้อย

5. ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของธุรกิจเวียดนาม ปี 2023

เอาเข้าจริงแล้ว มีธุรกิจ made in Vietnam ที่น่าสนใจอยู่หลายเจ้าด้วยกัน แต่หนึ่งในบริษัทที่น่าจับตาคือ VNG ที่มีดีกรีเป็นถึงสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นตัวแรกของประเทศเศรษฐกิจดาวรุ่งแห่งนี้และยังเป็นเจ้าของ Zalo ที่เป็นทั้งแอปฯ ส่งข้อความและแอปฯ รับชำระเงินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวเวียดนามอย่างขาดไม่ได้พอ ๆ กับที่ LINE และ แอปฯ ธนาคารสำคัญต่อชีวิตของคนไทย (แต่จุดที่ต่างกันเล็กน้อยคือเวียดนามสามารถผลิตแอปฯ เหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง)

โดย Nikkei Asia สำนักข่าวด้านการเงินที่น่าเชื่อถือ รายงานว่า VNG อาจเข้า IPO ในปีนี้ แถมยังมีรายงานว่าทางบริษัทหมายตาที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดสหรัฐฯ อีกด้วย และนอกจากนี้ Nikkei Asia ยังจัดให้ VNG เป็น 1 ใน 10 บริษัทเอเชียที่น่าจับตาในปี 2023

อีกหนึ่งดาวเด่นที่น่าจับตาคือ VinFast ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าล้วนของเวียดนาม ที่เมื่อปี 2 ปีก่อน มีข่าวว่าได้รับใบอนุญาตทดสอบรถยนต์ไร้คนขับในแคลิฟอร์เนียและมีแผนตั้งโรงงานและศูนย์บริการในสหรัฐฯ และในปี 2023 ทาง VinFast ได้ส่งมอบรถ SUV ล็อตแรกจำนวน 45 คันให้กับลูกค้าชาวอเมริกันแล้วเป็นที่เรียบร้อย และคาดว่าจะส่งมอบได้ 999 คันภายในสิ้นปี จากการรายงานของ Nikkei Asia

แต่นอกจากธุรกิจเหล่านี้ ยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมของเวียดนามที่น่าสนใจโดยเฉพาะเมื่อวัดกันในแง่ของการส่งออก ถ้าจะลองคิดดูง่าย ๆ ว่ามีอุตสาหกรรมไหนอีกบ้างที่น่าสนใจ ให้เราลองพลิกฉลากตรงคอเสื้อหรือรองเท้าที่เราใส่มาดู ก็มีโอกาสสูงเลยทีเดียวที่จะพบกับคำว่า “Made in Vietnam”

ทำความรู้จัก 10 บริษัทดาวเด่นของเวียดนาม

6. อุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ของเวียดนามในปี 2023

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา Alibaba.com ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่น่าสนใจในปี 2023 ของเวียดนาม ซึ่งสรุปแล้วอุตสาหกรรมที่น่าจับตามีดังนี้

  • ไฮเทค: เป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงหลังโดยมีบริษัทชั้นนำเช่น Samsung ไปจนถึง Apple ขยายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศ โดยในกรณีของ Samsung แล้ว สินค้าราว 1 ใน 3 ถูกผลิตในเวียดนามก่อนจะถูกส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ต่อไป
  • สิ่งทอ: เวียดนามเป็น “บ้าน” ของอุตสาหกรรมนี้มาช้านาน โดยมีโรงงานผลิตสิ่งทอกว่า 6 แห่งทั่วประเทศและมีแรงงานในอุตสาหกรรมนี้กว่า 2.5 ล้านคน (2.5% ของประชากรทั้งหมด)
  • กาแฟ: เวียดนามเป็นผู้ผลิตกาแฟอันดับ 2 ของโลก ตามหลังแค่เพียงบราซิลเท่านั้น
  • อีคอมเมิร์ซ: เวียดนามเป็นประเทศที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากเศรษฐกิจที่พุ่งทะยานซึ่งผลักให้สัดส่วนชนชั้นกลาง (ที่มาพร้อมการบริโภค) ขยายตัว นอกจากนี้ สัดส่วนการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและความเป็นเมืองที่สูงขึ้นก็เป็นอีกปัจจัยหนุนอุตสาหกรรมนี้
  • ยานยนต์: นอกจากจะมีแบรนด์ยานยนต์ไฟฟ้าเป็นของตัวเองแล้ว เวียดนามยังเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญของแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก โดยคาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์และส่งมอบได้ราว 1.7-1.85 ล้านคันในปี 2035

และแน่นอนว่าเมื่อภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจเบ่งบานก็ทำให้ภาพในตลาดหุ้นเวียดนามดูมีความเป็นไปได้ที่จะเติบโตตามไปด้วยแม้ว่าในปี 2022 จะเป็นปีที่ตลาดหุ้นเวียดนามร่วงลงไปไม่น้อยก็ตาม

7. ตลาดหุ้นเวียดนาม ปี 2023 

ข้อมูลจาก Bloomberg ระบุว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นเวียดนาม VN30 ปรับตัวลดลงกว่า 42% จากจุดสูงสุดในช่วงเมษายน ปี 2022 ส่งผลให้มูลค่า (valuation) ของตลาดหุ้นเวียดนามอยู่ในระดับที่น่าสนใจ จากการกดดันของปัจจัยลบมาตลอดทั้งปี 2022 ทำให้ในปัจจุบันหุ้นเวียดนามมี Valuation ที่ระดับ PE 9 เท่า ซึ่งถือว่าถูกเมื่อเทียบกับอดีต และถูกเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่น ๆ อาทิ ตลาดหุ้นไทยที่ PE 17 เท่า

อ่านบทความ “MEVT Call : เวียดนาม ถูกและดี มีอยู่จริง!”

แถมข้อที่ 7+1: ข้อสังเกตของการลงทุนในเวียดนาม ปี 2023

อย่างที่ได้พูดถึงไปก่อนหน้านี้ World Bank ประเมินว่าเวียดนามจะเติบโตได้ถึง 6.3% ในปีนี้ อย่างไรก็ตาม World Bank อธิบายว่า เศรษฐกิจเวียดนามอาจต้องเจอกับแรงต้านอยู่บ้างจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ในปัจจุบัน เช่น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และความขัดแย้งรัสเซียยูเครน สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จีน และประเทศในยุโรป 

ประเด็นก็คือ ประเทศเหล่านี้นี่เองที่เป็นจุดหมายปลายทางสำคัญของการส่งออกของเวียดนาม และการส่งออกก็เป็นแรงขับสำคัญของเศรษฐกิจเวียดนาม และประเด็นเหล่านี้ก็อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุนและผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง

MEVT Call : PRINCIPAL VNEQ-A

สำหรับใครที่สนใจลงทุนไปกับโอกาสเติบโตของเศรษฐกิจดาวรุ่งอย่างเวียดนาม กองทุน PRINCIPAL VNEQ-A คือหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจ 

กองทุนนี้เป็นกองทุนความเสี่ยงสูง (ระดับ 6) มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือมีธุรกิจหลักในประเทศเวียดนามที่เชื่อว่ามีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต รวมทั้งตราสารทุนอื่นใดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องและ/หรือที่ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ/หรือกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟตราสารทุนต่างประเทศ ที่เน้นลงทุนในตราสารทุนประเทศเวียดนาม โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

หากต้องการศึกษากองทุน PRINCIPAL VNEQ-A เพิ่มเติม สามารถเข้าถึงหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญได้ ที่นี่ 

คัดเลือกกองทุนอย่างเมพ ด้วยจังหวะขั้นเทพกับ “MEVT Call”
👉 ลงทุนใน MEVT Call คลิก >>> https://finno.me/mevt-web

อ้างอิง

https://www.worldbank.org/en/news/press-release/2023/03/13/vietnam-s-economy-forecast-to-grow-by-6-3-in-2023-world-bank-report-says
https://www.worldbank.org/en/country/vietnam/publication/taking-stock-vietnam-economic-update-march-2023
https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG?locations=VN
https://asia.nikkei.com/Spotlight/Supply-Chain/Apple-to-start-making-MacBooks-in-Vietnam-by-mid-2023
https://asia.nikkei.com/Business/Business-Spotlight/10-Asian-companies-to-watch-in-2023
https://asia.nikkei.com/Business/Tech/Semiconductors/Samsung-to-begin-making-semiconductor-parts-in-Vietnam-in-2023
https://seller.alibaba.com/businessblogs/px0023nrl-vietnam-outlook-2023-economic-prospects-in-the-post-pandemic-era
https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-03-02/vietnam-electric-car-startup-plans-u-s-factory-2022-rollout
https://edition.cnn.com/2023/03/21/business/us-asean-business-council-vietnam-intl-hnk/index.html
https://www.ft.com/content/1d450e55-27fc-449b-ac98-3aa830ad6b97
https://www.vietnam-briefing.com/doing-business-guide/vietnam/why-vietnam/vietnam-s-international-free-trade-and-tax-agreements

คำเตือน 

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

ปรับพอร์ต Growth Momentum AI รับไตรมาส 2 ปี 2023: ปรับพอร์ตลุยกระแสการกลับมาของกลุ่มเทค

Deepscope
ปรับพอร์ต GMAI

คำอธิบายประกอบการจัดพอร์ต GMAI ล่าสุด (รอบ 26 มี.ค. 65)

GMAI ปรับพอร์ตรอบใหม่ คัดเลือก 5 กองทุนโมเมนตัมเด่น ทีมงาน Deepscope GURUPORT จึงแนะนำปรับสัดส่วนการลงทุนและ Rebalance ตามคำแนะนำด้านล่างนี้

ประเด็นทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ

  • กองทุนกลุ่มเทคโนโลยีทั่วโลกมีผลตอบแทนเฉลี่ยสูงที่สุด YTD ที่ +12.9%
  • กองทุนกลุ่มหุ้น Europe และ US ก็ทำผลตอบแทนได้ดีเช่นเดียวกัน
  • การลงทุนในต่างประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นกว่าปี 2022
  • ตลาดมีมุมมองในด้านบวกต่อกลุ่มเทคโนโลยี และการลงทุนในต่างประเทศ
  • ปัญหา Silicon Valley Bank (SVB) ได้รับการแก้ไขเบื้องต้นไปแล้ว คาดว่าจะลดผลกระทบระยะยาวลงได้
  • จีนมุ่งสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น เซมิคอนดัคเตอร์ และพลังงานสะอาด

กองทุนจาก GMAI

จากประเด็นข้างต้น ทำให้ AI ของพอร์ต GMAI คัดเลือกกองที่ลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยี ต่างประเทศ และเซมิคอนดัคเตอร์เข้ามาสำหรับการลงทุนรอบไตรมาส 2 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

  1. TNEXTGEN-A: กองนี้ค่อนข้างชัดเจนที่เชื่อมโยงมาจากประเด็นน่าสนใจข้างต้น ลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยี มีโมเมนตัมการเติบโตที่ดี และมีโอกาสสร้างผลตอบแทนสูง
  2. KFGTECH-A: ลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีทั่วโลก ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงกลับมาเติบโต 
  3. LHSEMICON-A: ลงทุนกลุ่มเซมิคอนดัคเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนนึงของการเติบโตของกลุ่มเทคโนโลยี และการที่ทางการจีนประกาศสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้ น่าจะส่งผลในเชิงบวกต่อการลงทุน
  4. LHINNO-A: ลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีเช่นกัน มีโมเมนตัมการเติบโตที่ดี คาดหวังการทำผลงานได้ดีต่อเนื่อง 
  5. PRINCIPAL GCLOUD-A: เน้นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม Cloud Computing ซึ่งเป็น infrastructure หลักของการเติบโตของเทคโนโลยี และการก้าวกระโดดของอุตสาหกรรม AI ที่เป็นประเด็นร้อนแรงตั้งแต่เริ่มปี 2023 เป็นต้นมา

 

พอร์ต GMAI

ที่มา: Deepscope (วันที่ 30 มีนาคม 2023)

(ทุกกองทุนมีสัดส่วน 20% เท่ากัน)

ล้วงลึกทุกกองทุน จากพลัง AI ที่ไร้ขีดจำกัด ด้วยพอร์ต Growth Momentum AI (GMAI) โดย Deepscope

ดูรายละเอียดพอร์ต >>> https://finno.me/guruport-deepscope


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน  | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

Global Aggressive Hybrid ปรับพอร์ตประจำเดือน มี.ค. 2023: เน้นการผสมผสานระหว่าง Defensive Sector และ Growth Sector

WealthGuru
Global Aggressive Hybrid ปรับพอร์ตประจำเดือน มี.ค. 2023: เน้นการผสมผสานระหว่าง Defensive Sector และ Growth Sector

Global Aggressive Hybrid Blend ระหว่าง Defensive และ Growth 

  • เงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่อง

ปรับพอร์ต WealthGuru มี.ค. 2023 Global Aggressive Hybrid ปรับพอร์ตประจำเดือน มี.ค. 2023: เน้นการผสมผสานระหว่าง Defensive Sector และ Growth Sector

Figure 1  จาก tradingeconomics.com วันที่ 23-Mar-2023

  เงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่องแต่ยังคงสูงอยู่ อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อการบริการยังคงมีอยู่

  • ดอกเบี้ยใกล้ถึงจุด Peak แล้ว

Fed เพิ่งประกาศขึ้นดอกเบี้ยไป 0.25% ตามคาดหมาย โดยใน Dot plots ซึ่งเป็นการคาดการณ์ดอกเบี้ยนโยบายในอนาคตของสมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินแต่ละท่านระบุว่า ค่า median ของการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed อยู่ที่ 5.1% (เท่ากับการคาดการณ์จากการประชุมครั้งที่แล้ว) นั่นหมายความว่าหลังจากมีการขึ้นดอกเบี้ยในเดือน มี.ค. Fed น่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ย 25 bps อีกเพียงหนึ่งครั้งในปี 2023 นี้ โดยจะไม่มีการลดดอกเบี้ยในปีนี้แต่อย่างใด

ในส่วนของอัตราการเติบโตเศรษฐกิจในรอบนี้ Fed ประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะชะลอตัวลงค่อนข้างชัดเจนในปีนี้ ในการฟื้นตัวของปีหน้าก็ดูเหมือนจะช้ากว่าในการประมาณการรอบเดือนธันวาคมด้วย ส่วนเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงและลงช้า ตัวเลขเงินเฟ้อแบบ PCE inflation (เป็นประเภทเงินเฟ้อที่ Fed เน้นใช้ประเมิน) น่าจะเห็นตัวเลขเข้าใกล้ 2% ในปี 2024-25

มุมมองการเติบโตเศรษฐกิจและเงินเฟ้อดังกล่าวน่าจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ Fed คาดว่าการลดดอกเบี้ย จะเริ่มมีขึ้นในปี 2024 ต่อเนื่องถึง 2025 (โดยคาดว่าในสองปีนี้จะมีการลดดอกเบี้ยทั้งหมด 200 bps จาก 5.1% ในปลายปี 2023 ลงไปเหลือ 3.1% ในปี 2025)

ที่มาของข้อมูล: SCBCIO วันที่ 23 มี.ค. 2023

  • Global Sector 

Global Aggressive Hybrid ปรับพอร์ตประจำเดือน มี.ค. 2023: เน้นการผสมผสานระหว่าง Defensive Sector และ Growth Sector

Figure 2  seeking alpha วันที่  23-Mar-2023

Global Sector ที่ outperform ตั้งแต่ต้นปีคือ Technology และ รองลงมาคือ Consumer Discretionary และ Industrial ตามลำดับ ในขณะที่ กลุ่ม Defensive Sector เช่น Consumer Staples, Healthcare และ Utilities กลับ underperform กว่าตลาด

มาดูที่กองทุนในประเทศไทย

Global Aggressive Hybrid ปรับพอร์ตประจำเดือน มี.ค. 2023: เน้นการผสมผสานระหว่าง Defensive Sector และ Growth Sector

Figure 3 Finnomena วันที่ 23-mar-2023

    ผลตอบแทนแบบ YTD  กองทุน SCBSEMI(A), K-USXNDQ-A(A) และ T-PREMIUM BRAND ซึ่งเป็น sector แบบ Growth ส่วน Defensive Sector ส่วนใหญ่จะ underperform ตลาด

Global Aggressive Hybrid ปรับพอร์ตประจำเดือน มี.ค. 2023: เน้นการผสมผสานระหว่าง Defensive Sector และ Growth SectorFigure 4 Morningstar วันที่ 31-Jan-2023

เราจะเห็นการทำ Sector Rotation จากเดิม Defensive Sector ที่เคยแข็งแกร่งกว่าตลาดในปี 2022 ไปยัง Growth Sector ในปี  2023  จากรูปด้านบน Defensive Sector เช่น Consumer Staple และ Healthcare มี Valuation ที่แพงกว่า Growth Sector เช่น Consumer Cyclical และ Technology

  • Factor Investing

ปรับพอร์ต WealthGuru มี.ค. 2023

Figure 5 MSCI วันที่ 23-Mar-2023

 Factor ที่เป็น Quality outperform ที่สุด โดยรองลงมาจะเป็น Growth และ Value ตามลำดับ

  • Portfolio

กลยุทธ์ที่อยากให้เป็นตอนนี้คือ เน้นการผสมผสาน ระหว่าง Defensive Sector และ Growth Sector

Global Aggressive Hybrid ปรับพอร์ตประจำเดือน มี.ค. 2023: เน้นการผสมผสานระหว่าง Defensive Sector และ Growth Sector

  • ลดสัดส่วนใน TISCOGC ที่เป็น Consumer Staple จากเดิม 15% เป็น 10% แล้วนำมาเพิ่มให้ SCBSEMI(A) จากเดิม 5% เป็น 10%
  • ย้ายเงินจาก KKPMP 10% เข้าลงทุนใน B-INNOTECH 10%

สัดส่วนของ Sector จะมี Growth Sector 30% และมี Defensive Sector อีก 30%

WealthGuru

*สนใจลงทุนในพอร์ต Global Aggressive Hybrid พอร์ตกองทุนที่จัดโดย WealthGuru ซึ่งลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการให้เงินสร้างความมั่งคั่งในอนาคต สามารถสร้างแผนได้ที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-wealthguru-hybrid-create/

โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน FINNOMENA PORT และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก

1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น
2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ

หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

Krungsri The Masterpiece อัปเดตมุมมองประจำเดือนเมษายน 2023: ตราสารหนี้ได้รับผลกระทบเชิงบวก

บลจ.กรุงศรี

มุมมองตลาดปัจจุบัน

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลว่าเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่คาด หลังเงินเฟ้อชะลอตัวลงน้อยกว่าที่คาด  อย่างไรก็ดี การที่เฟดและธนาคารกลางยุโรปเร่งขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาคธนาคารของสหรัฐและยุโรปบางแห่งเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง และนำไปสู่การล่มสลายของ Silicon Valley Bank (SVB) และ Signature Bank ของสหรัฐ และการเข้าซื้อ Credit Suisse ของ UBS Bank

ทั้งนี้ ถึงแม้รัฐบาล ธนาคารกลาง และภาคธนาคารชองสหรัฐและยุโรป ต่างร่วมมือกันในการสกัดวิกฤตความเชื่อมั่นในภาคการเงินเพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลาม  อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้ฝากเงินที่มีต่อภาคธนาคารสหรัฐและยุโรปยังคงเปราะบาง  ในขณะที่เฟดและธนาคารกลางยุโรปยังคงเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพของเงินเฟ้อ

สำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวลดลง ทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลก จากความกังวลว่าปัญหาในภาคการเงินของสหรัฐและยุโรปอาจเป็นสัญญาณถึงจุดเริ่มต้นของวิกฤตการเงินรอบใหม่ ถึงแม้ ธปท. และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องต่างระบุว่า ระบบธนาคารของไทยมีความแข็งแกร่งก็ตาม  อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมีขึ้นในเดือน พ.ค. เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่งและสามารถรองรับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้

ในส่วนของตราสารหนี้ได้รับผลกระทบเชิงบวกจากการที่เฟดมีแนวโน้มยุติวงจรดอกเบี้ยขาขึ้นในเร็วๆนี้ รวมถึงได้แรงหนุนจากความต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ

ทั้งนี้ คาดว่าในระยะสั้น ตลาดหุ้นจะยังคงได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของภาคการเงินของสหรัฐและยุโรป และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนฯ อย่างไรก็ดี การปรับตัวลงของตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมาอาจเป็นการปรับลดลงมากเกินไป เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานโดยรวมของเศรษฐกิจโลกยังคงมีความแข็งแกร่งมากพอ  ดังนั้น พอร์ตการลงทุนจึงยังคงเน้นลงทุนในกลุ่มหุ้น defensive และลงทุนในหุ้นจีนซึ่งจะได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศและความคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน

พอร์ตการลงทุน

ที่มา: เอกสารอัปเดตพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 29 มีนาคม 2023

 

ที่มา: เอกสารอัปเดตพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 29 มีนาคม 2023

กองทุนแนะนำสำหรับการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์/ภูมิภาค

กองทุนตราสารหนี้ในประเทศ

KFAFIX-A:

  • กองทุนกลุ่มตราสารหนี้ระยะกลาง – ยาว ยังคงจะเผชิญกับความผันผวนและมีแรงกดดันในระดับสูงต่อไปในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 จากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะทยอยปรับขึ้นอย่างค่อยเป็ยค่อยไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสู่ระกับ 75% – 2.25%  ในขณะที่ความไม่แน่นอนด้านจุดสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯยังคงมีอยู่ ดังนั้นเพื่อรองรับความผันผวนดังกล่าว ทำให้กองทุนที่มีการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนยังคงสามารถลดความผันผวนของตลาดลงได้บ้าง โดยคาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนยังคงมีความน่าสนใจสำหรับเงินลงทุนระยะยาวที่ไม่ต้องการสภาพคล่องในระยะสั้น อาทิเช่น กองทุน KFAFIX-A ขั้นต่ำ 1 ปีขึ้นไป โดยปัจจุบันกรอบ Duration เฉลี่ยของกองทุน KFAFIX-A = 1.6 – 3.0 ปี

กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ

KF-SINCOME/ KF-CSINCOM:

  • กองทุนปรับลดสัดส่วนในเงินสดลงพร้อมทั้งเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเครดิตที่มีสภาพคล่องสูง และยังคงมั่นใจว่าการลงทุนใน non-agency MBS จะส่งผลดีต่อการลงทุนเนื่องจากพื้นฐานที่แข็งแกร่งของภาคอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ

กองทุนตราสารทุนในประเทศ

KFDYNAMIC

  • กองทุนที่เน้นการเฟ้นหาหุ้นที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละภาวะตลาด มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนดีในระยะกลางถึงยาว ตามผลการดำเนินของบริษัทฯที่กองทุนคัดเลือกลงทุน

กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ Developed Market Equity

KFGBRAND-A/KFGBRAND-D:

  • กองทุนมีการลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพสูง มีรายได้และกำไรเติบโตสม่ำเสมอ ทำให้กองทุนมีความผันผวน และการปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาด ซึ่งเป็นการลงทุนที่เหมาะกับภาวะที่ตลาดยังคงมีความผันผวน

KF-EUROPE/ KFHEUROP-A:

  • ตลาดยุโรปยังคงมีความผันผวนโดยปรับตัวลงในเดือนที่ผ่านมา หลังตลาดกลับมาคาดการณ์แนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED และ ECB ทั้งนี้ ตลาดมองว่าทาง ECB ยังคงเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเพื่อชะลออัตราเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี ภาพเศรษฐกิจยุโรปที่ออกมาดีกว่าคาดและการเปิดประเทศของจีนมีโอกาสจะเป็นแรงส่งให้กับตลาดยุโรปในช่วงต้นปีนี้

KFACHINA-A :

  • ตลาดจีนปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมาหลังจากรับข่าวดีเรื่องการเปิดเมืองและการผ่อนคลายนโยบาย Zero-Covid โดยการปรับลดลงครั้งนี้อาจเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว เนื่องจากภาพการบริโภคในจีนยังส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องประกอบกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัว ซึ่งทางรัฐบาลจีนกลับมาให้ความสำคัญกับการเติบโตของเศรษฐกิจอีกครั้งในปีนี้ ทั้งนี้สำหรับตลาดจีน ต้องระวังความเสี่ยงเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจะกลับมากดดันตลาดต่อเนื่อง

KFHHCARE :

  • ในช่วงที่ผ่านมา กลุ่ม Healthcare ได้รับแรงหนุนจากความเป็นอุตสาหกรรมเชิงรับ ทำให้มีความผันผวนน้อยกว่าตลาดโดยรวม โดย Healthcare เป็นอุตสาหกรรมที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง และกำไรสุทธิมีความมั่นคง ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน

KFUSINDX :

  • กองทุนลงทุนในกองทุนต่างประเทศ iShares Core S&P 500 ETF โดยเน้นลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี S&P 500 Index เพื่อมุ่งหวังผลตอบแทนของกองทุน

 

ที่มา: เอกสารอัปเดตพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 29 มีนาคม 2023

คำเตือน  ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน  ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้   กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น   กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้  (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย  เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร  0 2657 5757

4 อาวุธลับ ค้นหาสินทรัพย์เด็ดทุกสถานการณ์

NM
หลายคนเข้าใจเป็นอย่างดีว่า “การลงทุนเป็นสิ่งสำคัญ” แต่สิ่งที่เบรกให้นักลงทุนหลาย ๆ คนยังไม่เริ่มต้นลงทุน นั่นอาจเป็นเพราะ “ความกลัว” ทั้งกลัวการขาดทุน กลัวโดนหลอก หรือจับจังหวะเข้าซื้อไม่ถูก ความกลัวเหล่านี้อาจมีสาเหตุมาจากยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่มากพอ ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นลงทุนยังไง ไม่รู้ว่าต้องดูข้อมูลส่วนไหนบ้าง …

เคล็ดลับในการเลือกสินทรัพย์ลงทุน

สำหรับนักลงทุนมือใหม่ หรือคนที่กำลังจะลงทุน ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกสินทรัพย์ลงทุน เพื่อให้ลงทุนได้ถูกที่ถูกเวลา เปรียบเสมือนเป็นอาวุธลับที่ใช้ค้นหาสินทรัพย์เด็ด โดยแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้

1.Fundamental (ปัจจัยพื้นฐาน)

ป็นวิธีการวิเคราะห์หลักทรัพย์แบบหนึ่ง เพื่อหามูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์ (Intrinsic Value) โดยใช้ปัจจัยพื้นฐานในการวิเคราะห์ ทั้งนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และตัวบริษัททั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา เช่น ผลการดำเนินงาน ฐานะทางการเงินของบริษัท รวมทั้งอัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ ซึ่งการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนี้จะทำให้เราสามารถประเมินมูลค่าในระยะยาวที่ควรจะเป็นได้ และบอกได้ว่าราคาของสินทรัพย์นั้นแพงเกินไป หรือถูกเกินไป โดยสามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่

  • Macro (ปัจจัยมหภาค)

เป็นการศึกษาถึงเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมหรือภาพใหญ่ ๆ โดยที่ให้ความสำคัญไปกับภาพรวมของตัวแปรต่าง ๆ เช่น เงินเฟ้อ นโยบายการเงินและการคลัง ประชากรศาสตร์ การเมืองระหว่างประเทศ และอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนทิศทางเศรษฐกิจ เพื่อหาโอกาสการลงทุนที่เหมาะสม

  • Earnings (กำไร)

เป็นการวิเคราะห์การเติบโตของกำไร แนวโน้มการปรับประมาณการกำไร และงบดุลของบริษัทจดทะเบียนนั้น ๆ เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจว่าดีหรือแย่ ซึ่งจะสนับสนุนปัจจัยการลงทุนในแง่อื่น ๆ เช่น เชิง valuation และ fund flow เป็นต้น

  • Valuation (มูลค่า)

เป็นการวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน ว่ามีความน่าสนใจมากเพียงใด เพื่อนำไปสู่การเข้าลงทุนในระดับราคาที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการขาดทุนได้

2. Technical (ปัจจัยทางเทคนิค)

เป็นการวิเคราะห์หลักทรัพย์วิธีหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับราคา ทั้งปริมาณการซื้อขาย และช่วงเวลาการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือนำดัชนีมาวิเคราะห์ ต้องอาศัยเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอย่าง Indicator ในการดูทิศทาง เพื่อคาดการณ์แนวโน้มของราคา แล้วหาจังหวะในการเข้าซื้อ-ขาย (Timing) รวมทั้งอาจใช้เพื่อดูการเคลื่อนไหวที่เป็นวัฏจักรระยะยาวได้อีกด้วย

จะเห็นได้ว่า เคล็ดลับในการค้นหาสินทรัพย์เด็ด ! เพื่อลงทุนให้ถูกที่ถูกเวลา ขจัดความกลัวในการลงทุนนั้น สามารถใช้ 4 อาวุธลับอย่าง Macro, Earning, Valuation และ Technical ได้ทุกสถานการณ์ แต่จะต้องมีเวลาในการศึกษา ทำความเข้าใจ เพื่อให้ตัวเรานั้นเชี่ยวชาญเสียก่อน แต่หากใครที่อยากลงทุนแล้ว แต่ไม่มีเวลาหรือไม่อยากดูเอง ทาง FINNOMENA ก็มีตัวช่วยคัดเลือกกองทุนอย่างเมพ ด้วยจังหวะขั้นเทพ กับ MEVT Call (เมพคอล) ที่จะช่วยคัดเลือกกองทุนและจับจังหวะการลงทุนให้เช่นกัน

MEVT Call ตัวช่วยคัดเลือกกองทุนอย่างเมพ ด้วยจังหวะขั้นเทพ

MEVT Call (เมพคอล) คือ คำแนะนำการคว้าโอกาสลงทุนรูปแบบใหม่จาก FINNOMENA Investment Team ที่จะช่วยนักลงทุนเฟ้นหากองเด็ด ด้วย 4 อาวุธลับอย่าง Macro, Earning, Valuation และ Technical ที่เน้นทั้งปัจจัยพื้นฐานมาผสมผสานกับการใช้เครื่องมือ Indicator ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค เพื่อให้เหมาะกับทุกสถานการณ์ตลาด

อ่านเพิ่มเติม MEVT Call คืออะไร https://www.finnomena.com/z-admin/mevt-call/

คัดเลือกกองทุนอย่างเมพ ด้วยจังหวะขั้นเทพกับ “MEVT Call”
👉 ลงทุนใน MEVT Call คลิก >>> https://finno.me/mevt-web


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

ปรับพอร์ต Optimal Megatrend Opportunities ประจำเดือนมีนาคม: เอา Lithium ออกไปใส่ Semiconductor ต่อเลย

BottomLiner
OMO

จากที่ราคา Lithium ตกลงอย่างชัดเจน ซึ่งร่วงลงมากว่า 55% แล้วตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2022 ซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ที่ข่าวออกมาบอกว่าเจอเหมือง Lithium ขนาดใหญ่หลายจุด ซึ่งจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะ Lithium จริง ๆ แล้วไม่ใช่แร่ที่หายาก แต่เพียงแค่ก่อนหน้านี้ไม่ได้มีคนขุดกันมากนัก และบริษัทหลายแห่งพยายามจะลงทุนในการขุดเหมือง Lithium เพิ่ม นอกจากนี้ ฝั่งรถยนต์ EV ปลายน้ำความต้องการซื้อก็ไม่ได้เพิ่มตาม ทำให้ Supply จะตาม Demand ทัน

นอกจากนี้ ทางรัฐบาลจีนยังคิดที่จะเข้ามาควบคุมราคา Lithium กับ Battery เนื่องจากมองว่ามีราคาที่แพงเกินไป ทำให้บริษัทรถยนต์ EV ที่ขาดทุนอยู่จะพังลงมาได้ ซึ่งเป็นผลกระทบต่อตลาดแรงงานสูงมาก รัฐบาลจีนจึงไม่ยอมตรงนี้แน่

ซึ่งจะเกิดผลกระทบกับหุ้นในอุตสาหกรรมการขุดเหมือง Lithium

ปรับพอร์ต Optimal Megatrend Opportunities

Source: Tradingeconomics

Bottomliner มองว่าควรต้องเปลี่ยนกองทุน UEV ออก เนื่องจากหุ้น Top Holding นั้นมีอุตสาหกรรมเหมือง Lithium กว่า 20% และหันกลับเข้ามาเพิ่มฝั่ง Semiconductor มุ่งเข้าสู่กระแส AI เพิ่มอีก

ในช่วงการปรับพอร์ต OMO ครั้งล่าสุดของเราได้เพิ่มกองทุน Semiconductor เข้าไป 10% เหตุจากการที่รัฐบาลจีนเริ่มเปิดประเทศในตอนนั้น ทำให้ความต้องการใช้งานใน Semiconductor เพิ่มขึ้น เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่ ใช้ Semiconductor เป็นรายใหญ่ของโลก

พร้อมกับเทรนด์ใหม่ในการใช้ AI ที่ฮิตสุด ๆ อย่าง ChatGPT จึงทำให้บริษัทต่าง ๆ ในหลายอุตสาหกรรมหันมาเร่งพัฒนาระบบ AI สำหรับใช้ในองค์กรตัวเองบ้าง ยกตัวอย่าง Amazon, Facebook แม้จะปลดพนักงานไปหลายหมื่นคนแต่กลับจ้างและลงทุนเพิ่มในแผนกที่เกี่ยวกับ Cloud, AI, data center แถมการเปิดตัว ChatGPT ช่วยให้คนทั่วไปเข้าถึงและนำ AI มาใช้ได้จริง

ส่งผลให้การเติบโตของอุตสาหกรรม AI นั้นบูมขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นแรงผลักให้อุตสาหกรรม Semiconductor ที่จำเป็นต้องใช้ในการประมวลผล หรือทำ Machine Learning นั้นมีความต้องการเพิ่มขึ้นอีก

ล่าสุด demand ของชิพ CPU, GPU, Memory ใน data center เริ่มฟื้นตัวแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามี Demand ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจริง ๆ

จากที่กล่าวไปข้างต้น ส่งผลให้ ETF กลุ่ม Semiconductor อย่าง SOXX (iShares Semiconductor ETF) ยืนแข็ง +24.77% Year to Date เหนือดัชนีตลาด Nasdaq ที่ขึ้นมา +13.89% Year to Date ได้

จากภาพรวมทั้งหมด Bottomliner มองว่า กลุ่ม Semiconductor ถือเป็นกลุ่มหนึ่งที่เราเลือกใส่ในกองทุน OMO ถูก และมีพื้นฐานที่ดีในการถือฝ่าตลาดช่วงนี้ไปได้ดีครับ

สรุปแล้วจากมุมมองของเราจึงเลือกที่จะย้ายการลงทุนจากกองทุน UEV 12% ไปที่ KKP SEMICON-H กลายเป็น 22%

ปรับพอร์ต Optimal Megatrend Opportunities

ลงทุนใน Megatrend เด่น กับกองทุนที่ใช่ พร้อม Optimize ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับ โดย BottomLiner

ดูรายละเอียดพอร์ต >>> https://finno.me/guruport-bottomliner

Bottomliner


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด มหาชน หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

ปั้นพอร์ตเติบโตอย่างมั่นคง พร้อมเฟ้นหาโอกาสในทุกช่วงเวลา กับ Quantum Global Opportunity (QGO) by Quantum Wealth

Quantum Wealth
Quantum Global Opportunity

ปัจจุบันเราอยู่ในโลกที่มีข้อมูลเข้ามาไม่หยุดหย่อน เทคโนโลยีเร่งตัวให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การลงทุนก็เช่นกัน การจัดพอร์ตระยะยาวเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีนั้น ระหว่างทางอาจจะมีปัจจัยต่าง ๆ มากระทบอย่างรุนแรงและสร้างความเสียหายจากการถือโดยไม่ action ใดใด ความผันผวนระยะสั้นเป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดา

เราจึงได้ใช้แนวทางวิเคราะห์ Quantitative Data เข้ามาช่วยเสริมมุมมองและปรับพอร์ตในระยะสั้น-กลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเรามองเห็นว่าในทุก ๆ สภาวะตลาด จะมีสินทรัพย์ที่สามารถปรับตัวขึ้นมาได้เสมอ ดังนั้น การเฟ้นหาสินทรัพย์ที่ยัง undervalue และมี upside จากปัจจัยตลาดที่ต่างกัน จึงเป็นกุญแจที่สำคัญในการบริหารพอร์ตการลงทุน

ปั้นพอร์ตเติบโตอย่างมั่นคง พร้อมเฟ้นหาโอกาสในทุกช่วงเวลา Quantum Global Opportunity

👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/quantum-wealth-ws

Quantum Global Opportunity

แนะนำตัว Quantum Wealth

บริษัท หลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน ควอนตัม มเว็ลธ์ จำกัด หรือ Quantum Wealth (QTW) เกิดจากการรวมตัวกันของ Private Bankers ที่มีประสบการณ์ดูแลพอร์ตการลงทุนให้ลูกค้าที่มีสินทรัพย์สูง (มากกว่า 30 ล้านบาท) มากว่า 15 ปี ร่วมกับ Full-Time Trader และทีมงานที่เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ภาพ Global Macro และคอยติดตามเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในตลาด จึงเห็นโอกาสการลงทุนอยู่เสมอและเน้นบริหารพอร์ตแบบ Active Management บนข้อมูล Data Analytic เป็นแนวทางผสมผสานกับกลยุทธ์การบริหารพอรต์การลงทุนระยะยาวให้สามารถมองหาโอกาสทำกำไรได้ในทุกช่วงเวลา ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่จำกัด

Quantum Global Opportunity

ที่มา: Quantum Wealth ณ เดือนมีนาคม 2023

นำทีมโดย

  • คุณปุณยวีร์ จันทรขจร – CIO ( Chief Investment Officer) Full-time trader ประสบการณ์ลงทุน 15 ปี, วิทยากรตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย, ผู้ก่อตั้งบริษัท Data Driven ผลิตเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลและกลยุทธ์ต่างๆ ที่ช่วยบอกทิศทางการลงทุนได้อย่าง
    มีประสิทธิภาพ
  • คุณธีรธันย์ วชิรทวีพัฒน์ – CO-CEO ( Co-Chief Executive Officer) ประสบการณ์การลงทุน 15 ปี ทั้งในสถาบันการเงินจากต่างประเทศและธนาคารชั้นนำในไทย ดูแลพอร์ตการลงทุนให้แก่ลูกค้ากลุ่ม Private Banking โดยเน้นเรื่องของความสมดุลและกระจายความเสี่ยง อย่างเหมาะสม
  • คุณลิส เชียCEO (Chief Executive Officer) ประสบการณ์การลงทุน 15 ปี จาก Proprietary Trader ใน Wall Street สหรัฐอเมริกา และหัวหน้าฝ่ายลงทุนหลักทรัพย์ต่างประเทศ รวมทั้งดูแลพอร์ตลูกค้าสถาบันในสิงคโปร์และลูกค้ากลุ่ม Private Banking ในประเทศไทย โดยเน้นการมองหาโอกาสทำกำไรและจังหวะสำคัญในการลงทุน

 

ที่มา: Quantum Wealth ณ เดือนมีนาคม 2023

จุดเด่นและกลยุทธ์ของพอร์ต

กลยุทธ์เป็นการผสมผสานระหว่างการจัดพอร์ตเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาวสำหรับลูกค้าผู้มีสินทรัพย์สูง (High Net Worth) ในแนวทาง Private Banking ควบคู่กับการ action อย่างรวดเร็ว เมื่อเห็นโอกาสการลงทุนและคุ้มค่าความเสี่ยงจาก Data และมุมมองของ Trader ที่ประสบความสำเร็จ ทำให้พอร์ตการลงทุน Quantum Global Opportunity (QGO) มีจุดเด่นและกลยุทธ์ในการ บริหารพอร์ตในสินทรัพย์ต่าง ๆ ดังนี้

  1. Mean Reversion Play เลือกกองทุนหรือสินทรัพย์ที่ยังมีราคาถูก (undervalue) มี upside สูง และมีอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังสูงเมื่อเทียบกับความเสี่ยง ซึ่งเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีอัตรา discount สูง โดยรอทำกำไรในจังหวะที่สินทรัพย์ที่เลือกลงทุนกลับขึ้นไปในบริเวณที่สูงกว่าหรือเท่ากับค่าเฉลี่ยราคาที่เหมาะสม
  2. Inverse Correlation Strategy เน้นการกระจายลงทุนในกองทุนที่มีสหสัมพันธ์ (correlation) ต่างกัน หรือกองทุนที่เป็น market neutral เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตโดยรวมจากเหตุการณ์ผิดปกติของตลาดโลก
  3. Global Macro Diversification เป็นการ Rebalance position โดยจับสัญญาณตลาดจากภาวะเศรษฐกิจโลกด้วย Momentum Factor Investing ตามระบบ Data Analytics ที่เป็นรูปเเบบเฉพาะของ Quantum Wealth

ที่มา: Quantum Wealth ณ เดือนมีนาคม 2023

สินทรัพย์ที่ลงทุนในพอร์ต

จะผสมผสานระหว่างกองทุนที่ราคาปรับสูงขึ้นได้ตามเงินเฟ้อ เช่น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์, กองทุนรวมที่เป็น safe haven ในแต่ละสถานการณ์ อาทิเช่น ทองคำ, สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ, กองทุนรวมที่ผลตอบแทนไม่ขึ้นอยู่กับตลาด (market neutral) และกองทุนรวมที่เติบโตสูงเมื่อตลาดอยู่ในช่วง bull market เช่น Growth Stock โดยบาลานซ์พอร์ตการลงทุนส่วนหนึ่งด้วยกองทุนรวมตราสารหนี้ เมื่ออัตราผลตอบแทน (yield) ยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจ

Quantum Global Opportunities (QGO) ลงทุนในสินทรัพย์ 6 ประเภท ดังนี้

  • กองทุนรวมหุ้น – ถือเป็นสินทรัพย์ที่สร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้อย่างชัดเจน ด้วยการคัดเลือกหุ้นที่แข็งแกร่งและร่วมเติบโตไปกับบริษัทเหล่านั้น ซึ่งประกอบไปด้วยหุ้นหลายประเภท เช่น หุ้นปันผล, หุ้นเติบโต, หุ้นคุณภาพ
  • กองทุนรวมตราสารหนี้ – ที่ปล่อยกู้ให้บริษัทเอกชนและรัฐบาล ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้น ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยและการปรับขึ้นของราคาตราสารหนี้ 
  • กองทุนรวมทองคำ – เป็นสินค้าโภคภัณฑ์หนึ่งที่นับว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ในเวลาที่มีความผันผวนเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจและยังใช้เป็นทุนสำรองของประเทศตามมาตรฐานสากล ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการปรับขึ้นของราคา
  • สินค้าโภคภัณฑ์และวัตถุดิบต่าง ๆ – เช่น พลังงาน อาหาร โลหะ เหมือง ซึ่งมีความผันผวนสูง และปรับตัวขึ้นจาก demand และ supply ของการบริโภค
  • กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน – เป็นสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน สามารถหาโอกาสลงทุนในภาวะที่ความไม่แน่นอนสูง แต่ก็อาจจะมี upside ที่ค่อนข้างจำกัดเมื่อเทียบกับหุ้น
  • กองทุนรวมที่มุ่งเน้นสร้างผลตอบแทนแบบ Absolute Return (Market neutral) – โดยจัดสรรความเสี่ยงให้เข้าใกล้ศูนย์ เช่น การซื้อหุ้นที่แข็งกว่า sector และขาย short sector เดียวกัน ลงทุนโดยใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลายเข้ามาเพื่อช่วยลดความผันผวนของพอร์ต 

 

ทั้งนี้ เราแบ่งภูมิภาคของหุ้นที่จะลงทุนเป็น 5 ภูมิภาค คือ 1) สหรัฐฯ 2) ประเทศพัฒนาแล้วแถบยุโรป 3) ตลาดเกิดใหม่ 4) เอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) และ 5) ญี่ปุ่น

การแบ่งภูมิภาคจะช่วยให้สามารถคำนึงถึงความเสี่ยงแบบเฉพาะเจาะจงรายภูมิภาค ซึ่งช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เปราะบาง อย่างเช่นกรณีรัสเซียทำสงครามกับยูเครน เป็นต้น นอกจากนี้ เราทำการเจาะลึกไปถึง master fund ของต่างประเทศ เพื่อให้เหมาะสมและใกล้เคียงกับเป้าหมายที่เราต้องการมากที่สุด โดยไม่มี bias ว่าจะต้องเป็นกองทุนของ บลจ. ใด

เกณฑ์การคัดเลือกกองทุน

  1. มุ่งเน้นกองทุนรวมที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นเหนือกว่ากองทุนรวมในประเภทเดียวกัน  เมื่อเปรียบเทียบในหลากหลายช่วงเวลา เช่น 1 ปี, 6 เดือน, 3 เดือน, 1 เดือน และ 1 สัปดาห์ เป็นต้น 
  2. มุ่งเน้นกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ที่ตรงหรือใกล้เคียงกับที่ทาง GURU ต้องการมากที่สุด 
  3. มุ่งเน้นกองทุนที่ไม่มีการจ่ายเงินปันผล เพื่อความง่ายในการติดตาม performance

สินทรัพย์ในพอร์ตการลงทุนปัจจุบัน

(มีนาคม 2023)

ผลการทดสอบย้อนหลัง (Backtest)

ตารางแสดงผลทดสอบย้อนหลังพอร์ต QGO | ที่มา: Quantum Wealth วันที่ 21 มีนาคม 2566

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

รายละเอียดการปรับพอร์ต

ด้วยการบริหารแบบ Active Management จึงมีการติดตามสถานการณ์การลงทุนตลอดเวลา โดยจะพิจารณา Rebalance Portfolio (ปรับสมดุลพอร์ต) ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของตลาด    

พอร์ตนี้เหมาะกับใคร

  • ผู้มีสินทรัพย์สูง (High Net Worth Individual : HNWI) ที่ต้องการผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ทำตามได้ทันที มี Notification ส่งไปหาเวลาต้องปรับพอร์ต หมดปัญหาการดูแลไม่ทั่วถึง
  • ผู้ที่คาดหวังผลตอบแทนเหมาะสมกับความเสี่ยง เน้นสร้างพอร์ตให้เติบโตในระยะยาว
  • ผู้ที่เข้าใจความผันผวนของการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้นเติบโต, High Yield Bond, Alternative Asset 
  • ผู้ที่รับทราบว่าจุดเริ่มต้นการลงทุนที่ต่างกัน มีผลต่อผลตอบแทนที่แตกต่างกัน
  • ผู้ที่เชื่อในหลักการกระจายความเสี่ยง
  • ผู้ที่เข้าใจว่าผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้การันตีผลตอบแทนในอนาคต

มุมมองการลงทุนในปัจจุบัน

เราเเยกสถานการณ์ของตลาดโลกด้วย 2 ปัจจัยหลัก คือ “อัตราดอกเบี้ย” เเละ “ปริมาณสภาพคล่อง”

โดยภาพของอัตราดอกเบี้ยนั้น เรายังคงให้น้ำหนักตามโทนของ FED เป็นหลัก โดยเฉพาะการประชุมในเดือนมีนาคมที่จะให้แนวทางชัดเจนกับภาพการลงทุนหลังจากนี้ตลอดทั้งไตรมาส 2 จากตัวเลข Dot Plot ที่ออกมา เเละการให้น้ำหนักของ FED ต่อการเเก้ปัญหาของสถาบันการเงินหลายเเห่งที่กำลังมีปัญหาอยู่ตอนนี้

ส่วนภาพของสภาพคล่องนั้น เราจะดูปริมาณงบดุลของธนาคารกลางเป็นหลัก ซึ่งล่าสุดมีการดีดตัวขึ้นของงบดุลในช่วงกลางเดือนมีนาคม จากประเด็นของ Silicon Valley Bank ซึ่งไม่ว่าการเพิ่มของงบดุลรอบนี้จะเป็นการทำ QE ในอีกรูปเเบบหนึ่งหรือไม่ เเต่เราคาดการณ์ว่าการทำ QT หรือ Quantitative Tightening ได้จบลงเเล้ว

ภาพโดยรวมจากนี้จึงเป็นการลงทุนในธีมหลักของการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อเหมือนเดิม เเต่มีการผ่อนคลายสภาพคล่องขึ้นอีกมาก ซึ่งถือเป็นผลดีกับสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ทองคำ รวมไปถึงคริปโตเคอเรนซี่ (Tightening Rate while Managing Liquidity)

จากนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ทองคำ เเละคริปโตเคอเรนซี่ จะเป็น Proxy สำคัญในการอ่านภาพ Liquidity ของตลาดจากนโยบายเเละเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนี้ โดยมีดอลลาร์สหรัฐเป็น Hedging Product ที่สำคัญในวันที่ตลาดมีความไม่เเน่นอนสูง

การเน้นอ่านทิศทางของสกุลเงินดอลลาร์จึงเป็นอีกปัจจัยหลักที่จะช่วยเรากำหนด เช่น หากเกิดภาวะดอลลาร์เเข็งค่า เราจะเน้นถือกองทุนรวมที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้หากเกิดวิกฤต อาทิ ทองคำ (SCBGOLDH), พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้น (TUSFIX), Market Neutral fund (SCBGEARA) และตราสารหนี้ (UGIS)

กลับกันหากดอลลาร์ยังคงอ่อนค่า ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุใด เราเชื่อว่าสภาพคล่องจะไหลกลับเข้ามาในสินทรัพย์เสี่ยงเเละทองคำมากขึ้น ซึ่งเราให้ความสนใจตลาดเอเชียมากกว่าภูมิภาคอื่น ทั้งประเทศไทย เวียดนาม เเละจีน โดยอาศัยจังหวะการสะสมหุ้นในช่วงที่ Valuation ต่ำจาก Sentiment ของโลกที่ยังกดดันอยู่ สำหรับกลยุทธ์ Dollar Weak ทำให้เรายังคงให้น้ำหนักในกองทุนฝั่งเอเชีย ซึ่งจะ perform ได้ดี และกองที่เป็นตัวสร้าง alpha ให้แก่พอร์ต ได้แก่ กองทุน ASP-NGF, TMBCOF, MEGA10-A, TSF-A และ ASP-DIGIBLOC

ปั้นพอร์ตเติบโตอย่างมั่นคง พร้อมเฟ้นหาโอกาสในทุกช่วงเวลา Quantum Global Opportunity

👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/quantum-wealth-ws

Quantum Wealth

ขั้นตอนการลงทุนในพอร์ตนี้เป็นอย่างไร?

คุณสามารถลงทุนในพอร์ต Quantum Global Opportunity ผ่าน 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

  1.  เลือกแผนการลงทุน

ศึกษาข้อมูลของแผนการลงทุน ตรวจสอบว่าเหมาะสมกับเป้าหมายการลงทุนของคุณหรือไม่

  1. เปิดบัญชีลงทุน​

สามารถเปิดบัญชีได้ทั้งในเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของ FINNOMENA เอง โดยบัญชีนี้สามารถลงทุนได้กว่า 1,000 กองทุนจาก 21 บลจ.

  1. ลงทุนตามคำแนะนำ

รอรับคำแนะนำจากทางระบบทั้งผ่าน Notification และอีเมลในวันถัดไป และสามารถเริ่มลงทุนตามแผนที่วางไว้ได้ทันที


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน  | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”  

มีเงิน 500,000 บาท จัดพอร์ตยังไงให้ปัง ไม่พัง ได้ตังค์ (ระยะยาว)

Mr. Serotonin

ล้านแรกเค้าว่ายาก 500,000 บาทก็ไม่ง่าย ติ๊ต่างได้เงินห้าแสนมาทั้งทีเก็บไว้เฉยๆ ก็น่าเสียดาย เอาไปลงทุนให้งอกเงยกันดีกว่า แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้จะเริ่มแบ่งสัดส่วนเงินลงทุนยังไง มาหาคำตอบกัน

ทำไมเราถึงต้องลงทุน

มีเงิน 500,000 บาท จัดพอร์ตยังไงให้ปัง ไม่พัง ได้ตังค์ (ระยะยาว)

ยุคนี้เราติดตามข้อมูลข่าวสารกันได้ง่ายมาก และผู้เขียนคิดว่ามีคนจำนวนมากที่ติดอาวุธการลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ขออธิบายเป็นพิธีสักนิดนึงก่อน ว่าทำไมเราถึงต้องลงทุน

เหตุผลง่าย ๆ เลยก็คือเงินฝากไม่ได้ช่วยให้คุณรวยขึ้น อาจจะฟังดูแล้วเจ็บแต่นี่คือเรื่องจริง

จากภาพเราจะเห็นการเปรียบเทียบระหว่างกองทุนตลาดเงิน (เงินฝาก + ตราสารหนี้ระยะสั้น) เส้นสีเขียว ที่อาจตีกลม ๆ ว่าคล้ายลงทุนในเงินฝาก เทียบกับการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้และดัชนีหุ้นสหรัฐฯ S&P 500 เราก็จะเห็นได้ว่า กองทุนตลาดเงินทำผลตอบแทนได้น่าหดหู่มาก ๆ แพ้อัตราเงินเฟ้อ (เส้นสีแดง) หรือราคาของที่แพงขึ้นในทุก ๆ ปีอย่างชัดเจน

หรือจะพูดได้ว่าการลงทุนในเงินฝากอาจจะทำให้คุณจนลงในทุก ๆ วันคงไม่ผิดนัก สังเกตง่าย ๆ ได้เลยก็จากอัตราดอกเบี้ยในยุคนี้ที่เทียบกับช่วงเมื่อ 30-40 ปีที่แล้วที่ดอกเบี้ยเคยแตะ 2 หลักไม่ติด

ทำไมลงทุนแล้วต้องจัดพอร์ต

ถึงจะพูดว่าเงินฝากหรือตลาดเงินมันไม่ไหวแล้ว แต่ในโลกการลงทุนที่เต็มไปด้วยความผันผวน การจัดพอร์ตก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ

เราอาจจะลองจินตนาการ ถ้าเราจัดพอร์ตแบบเน้นหุ้นเติบโตไฟแรงหนัก ๆ ล้วน ๆ แล้วตลาดเกิดร่วงลงมา (คล้าย ๆ ตอนนี้) ซึ่งตอนแรกเราคงคิดว่าถ้าตลาดร่วงลงมาเราทนได้แหละ แต่พอเอาเข้าจริง ๆ ก็ทำใจลำบากมากเพราะ -10% ก็แล้ว -20% ก็แล้ว มันก็ยังมี -30% ให้เห็นอีก ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ มันอาจจะทำให้เราเครียดจนเกินไป และต้องเสียเวลามานั่งเฝ้าจออีก ซึ่งการจัดพอร์ตก็จะช่วยเราได้ในจุดนี้ เพราะ ช่วยลดความผันผวนให้ตอบโจทย์กับตัวเราจริง ๆ

อีกประโยชน์ของการจัดพอร์ตก็คือมันช่วยให้เรามีสินทรัพย์ที่ทำผลงานได้ดีในช่วงหรือยุคนั้นติดพอร์ตมาบ้าง ซึ่งจะช่วยให้เราลงทุนอย่างปลอดภัย ผิดพลาดน้อยและไปสู่เป้าหมายในระยะยาวได้อย่างอุ่นใจมากยิ่งขึ้น เพราะจะให้เราไปเดาดอกเบี้ยขึ้นลงตลาดดีไม่ดีแล้วถูก 100% ก็คงยาก ดังนั้นการจัดพอร์ตยังคงสำคัญเสมอ

ตัวอย่างการจัดพอร์ตแบบสมดุล เน้นสร้างผลตอบแทนระยะยาว

และถ้าถามหาถึงพอร์ตการลงทุนดี ๆ สักพอร์ตที่ช่วยให้เราฝ่าฝันทุกอุปสรรคได้อย่างอุ่นใจ วันนี้เรามีตัวอย่างเป็นชุดกองทุนจากพอร์ต All Balance ของ FINNOMENA ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งพอร์ตการลงทุนที่เราไม่ควรมองข้าม เพราะ พอร์ตเค้าสมดุลจริง ๆ กระจายการลงทุนไปในหลายสินทรัพย์ให้เรามีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวอย่างอุ่นใจ

 

สัดส่วนกองทุนต่าง ๆ ในพอร์ต

พอร์ต All Balance จัดพอร์ตสมดุล สร้างผลตอบแทนระยะยาว

ทำไมสัดส่วนสินทรัพย์ข้างต้นถึงเป็นส่วนผสมที่ลงตัว

  • สัดส่วนสินทรัพย์ข้างต้นถูกรั่นกรองมาจาก Black Litterman Model ที่พิสูจน์มาแล้วว่าหุ้นให้ผลตอบแทนได้ดีที่สุด
  • สัดส่วนสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น ตราสารทางเลือกและตราสารหนี้ ถูกกรั่นกรองแบบพิเศษโดย FINNOMENA Investment Team เพื่อรักษาความผันผวนให้เหมาะสม ในขณะที่พอร์ตการลงทุนยังสามารถสร้างโอกาสทำผลตอบแทนโดยเฉลี่ยต่อปีที่ 8%* ได้
  • สรุปโดยรวมสัดส่วนข้างต้นถูกกลั่นกรองมาจากข้อมูลในอดีตเชิงปริมาณผสานกับข้อมูลเชิงคุณภาพจาก FINNOMENA Investment Team นั่นเอง

*ผลตอบแทนไม่ใช่การการันตี

กองทุน KKP GNP-H (25%)

กองทุนหุ้นทั่วโลก มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มโอกาสการเติบโตในระยะยาวของกองทุน ซึ่งผู้จัดการกองทุนจะเน้เนการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงด้านการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศของโลกในอนาคต

กองทุน B-ASIA (20%)

กองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่ เน้นลงทุนในหุ้นของที่จดทะเบียนในประเทศภูมิภาคเอเชีย รวมถึงจดทะเบียนในประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคเอเชีย แต่ดำเนินธุรกิจหลักในประเทศภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้จะไม่รวมถึงประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

กองทุน PRINCIPAL VNEQ-A (5%)

กองทุนหุ้นเวียดนาม มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือมีธุรกิจหลักในประเทศเวียดนามที่เชื่อว่ามีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต รวมทั้งหุ้นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องหรือที่ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม

และพอร์ต All Balance มีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ 25% ซึ่งลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้โลกที่เปิดโอกาสการลงทุนและช่วยกระจายความเสี่ยงไปในเวลาเดียวกัน

กองทุน KFAFIX-A (15%)

กองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง เน้นลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศในตราสารหน้ี เงินฝาก ตราสารเทียบเท่าเงินฝากที่ออกรับรองรับอาวัล หรือค้ำประกันการจ่ายเงินโดยภาครัฐบาล รัฐวสิาหกิจ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน

กองทุน UGIS-N (10%)

กองทุนตราสารหนี้ทั่วโลกซึ่งมีกองทุนแม่จาก PIMCO ที่ขึ้นชื่อด้านตราสารหนี้ ลงทุนแบบ Active ในตราสารหนี้ทั่วโลก เน้นการปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนขณะเดียวกันยังช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนอีกด้วย

และสัดส่วนที่เหลือของพอร์ต All Balance เข้าลงทุนในตราสารทางเลือก 25% อันประกอบไปด้วย Property Fund & REITs และทองคำ

กองทุน TMBPIPF (15%)

กองทุนรวม Property Fund & REITs ไทยและต่างประเทศ ที่มีกลยุทธ์การลงทุนแบบ Active เน้นการลงทุนในไทยและสิงคโปร์เป็นหลัก เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน และสร้างผลตอบแทนจาก REITs ทั้งจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นและการปันผลที่มีอัตราสูงเมื่อเทียบกับทั่วโลก

กองทุน SCBGOLDH (10%)

ลงทุนใน SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุน ETF ทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยการลงทุนในทองคำอันเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) ช่วยกระจายความเสี่ยงให้พอร์ตการลงทุนในระยะยาวทั้งจากอัตราเงินเฟ้อและความเสี่ยงทั้งทางการเงินและการเมือง

เมื่อได้เห็นรายละเอียดพอร์ตการลงทุนสุดพิเศษแบบเจาะลึกกันไปแล้ว หากใครสนใจลงทุนในพอร์ตนี้ด้วยเงิน 500,000 บาทอย่างที่ว่าไว้ เราแถมให้เลยฟรี ๆ ไม่มีกั๊กกับบริการที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัว ให้คุณมีเพื่อนร่วมเดินทางบนเส้นทางการลงทุนอันแสนยาวไกลอย่างไม่เดียวดาย

รับบริการที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาทเท่านั้น

👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/500k-all-balance-web

คำเตือน : ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม และ/หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง และ/หรือกระจุกตัวในผู้ออก จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก

References

https://www.cnbc.com/2017/05/26/the-upside-of-sitting-in-cash.html

ธีมความยั่งยืน (ESG) เมกะเทรนด์ในบริบทการเมือง

FINNOMENA x Franklin Templeton
ธีมความยั่งยืน (ESG) เมกะเทรนด์ในบริบทการเมือง

ClearBridge Investments: การปรับใช้แนวคิดเรื่องความยั่งยืนเป็นส่วนสำคัญในหลักการบริหารจัดการ โดยการแนะนำทางเลือกการลงทุนให้กับลูกค้า ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้เป็นสิ่งที่ดี ซึ่งแสดงถึงการให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้า

บทสรุป

  • กระแสการพูดถึงแนวคิดความยั่งยืนที่มากเกินไปหลายครั้ง ทำให้เกิดความสับสนต่อสาธารณชนเกี่ยวกับประโยชน์ของการลงทุนด้านความยั่งยืน และเกิดคำถามว่าจริง ๆ แล้ว เราควรใช้หลักการพิจารณาธีมการลงทุนดังกล่าวที่คำนึงถึงการบริหารจัดการที่เหมาะสมในการลงทุนได้อย่างไร เพราะบางครั้ง การตัดผลิตภัณฑ์การลงทุนที่อาศัยการวิเคราะห์ด้านความยั่งยืนประกอบ ทำให้ทางเลือกในการลงทุนในช่วงหลังเกษียณมีจำนวนน้อยลง
  • ClearBridge พบว่า การปรับใช้การวิเคราะห์ด้านความยั่งยืน เข้าไปในการวิเคราะห์ด้านปัจจัยพื้นฐาน ทำให้เราสามารถให้มุมมองในแบบองค์รวมได้มากขึ้น ทั้งมิติด้านความเสี่ยง และโอกาส ซึ่งทำให้เราสามารถเลือกหุ้นที่น่าจะให้ผลตอบแทนได้ดีในระยะยาว
  • เรามองว่า การรับแนวคิดด้านความยั่งยืนเป็นหนึ่งในปัจจัยในการวิเคราะห์ เพื่อบริหารจัดการกองทุนของลูกค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าในระยะยาว ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส และให้ข้อมูลทางเลือกในการลงทุนกับลูกค้าที่สอดคล้องกับเป้าหมาย ความต้องการ และความเชื่อของลูกค้าเป็นสิ่งที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าเอง

ข้อชี้แจงเกี่ยวกับความเข้าใจและความเป็นจริงเกี่ยวกับการลงทุนในธีมความยั่งยืน

หลังจากที่กระแสการลงทุนด้านความยั่งยืนได้รับการตอบรับที่ดี ทั้งจากผลตอบแทนการลงทุน และการสะสมสินทรัพย์ดังกล่าวในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา การลงทุนด้านความยั่งยืนก็เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ (normalization) ทั้งนี้ ในปี 2022 การลงทุนในธีมความยั่งยืนสร้างผลตอบแทนได้ไม่ดีนัก เนื่องจากบริษัทเติบโต (growth companies) หลายบริษัท ที่มีชื่อเสียงด้านธีมความยั่งยืนถูกกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ และภาวะดอกเบี้ยสูง ในทางกลับกัน บริษัทที่ไม่ได้ยึดหลักการความยั่งยืน เช่น บริษัทเกี่ยวกับน้ำมันที่มาจากฟอสซิล กลับทำผลงานได้ดีกว่าค่อนข้างมาก โดยในปี 2022 ดัชนี MSCI KLD 400 ที่ประกอบด้วยบริษัทที่ยึดหลักการธีมความยั่งยืนทำผลงานได้แย่กว่าดัชนี S&P 500 กว่า 300 basis point (3%) (รายละเอียดตามรูปที่ 1) ซึ่งหากเทียบใน 5 ปีก่อนหน้า (2017-2021) ดัชนี KLD 400 กลับทำผลงานได้เหนือกว่าดัชนี S&P 500 สะสมกว่า 12.9% (รายละเอียดตามรูปที่ 2)

ธีมความยั่งยืน (ESG) เมกะเทรนด์ในบริบทการเมือง

ธีมความยั่งยืน (ESG) เมกะเทรนด์ในบริบทการเมือง

ดังนั้น ในบริบทปัจจุบัน ไม่แปลกที่เห็นเงินไหลเข้าการลงทุนในธีมความยั่งยืนเริ่มช้าลง แต่ถ้าพิจารณาในรายละเอียดก็ถือเงินไหลเข้าที่ช้าลงนั้น ถือว่าช้าลงในระดับที่น้อยกว่าเงินที่ไหลเข้ากองทุนอื่น ๆ (รายละเอียดตามรูปที่ 3) โดยถ้าเทียบจากจุดที่เงินไหลเข้าเร็วที่สุดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2021 จนถึงสิ้นปี 2022 เม็ดเงินที่ไหลเข้าการลงทุนในธีมความยั่งยืนลดลง 1.4 เท่า ในขณะที่เม็ดเงินที่ไหลเข้ากองทุนอื่น ๆ ลดลงถึง 3.4 เท่า

ธีมความยั่งยืน (ESG) เมกะเทรนด์ในบริบทการเมือง

การลงทุนในธีมความยั่งยืนเป็นเป้าที่ถูกพูดถึงจากนักการเมืองบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่มองว่าธีมความยั่งยืนเป็นการโฆษณาชวนเชื่อฝั่งเสรีนิยม (liberal agenda) ทั้งนี้ ในช่วงสมัยของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนก่อน ข้อพิจารณาที่เกี่ยวกับการลงทุนด้านความยั่งยืน (ESG factors) ถูกกระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ มองว่าไม่เหมาะสมต่อหลักการบริหารกองทุนบำเหน็จบำนาญ และมีกฎเกณฑ์ใหม่ออกมาว่า ห้ามพิจารณาปัจจัยอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านการเงินสำหรับการเลือกลงทุนของกองทุนเพื่อการเกษียณ ด้วยเหตุนี้เอง กองทุนที่วางแผนสำหรับการเกษียณหลายกองทุน จึงไม่ประสงค์ที่จะใช้ปัจจัยด้านความยั่งยืนประกอบการพิจารณาในการเลือกลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้ลูกค้ามีทางเลือกในการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนน้อยลง

ในเดือนพฤศจิกายน 2022 นโยบายดังกล่าวถูกยกเลิกโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน โดยรัฐบาลประธานาธิบดีไบเดนมองว่าปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และด้านความยั่งยืนนั้น เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ความเสี่ยง และผลตอบแทน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการบริหารจัดการกองทุน อย่างไรก็ดี หลายมลรัฐในสหรัฐฯ ยังมีจุดยืนว่าการลงทุนในธีมความยั่งยืนถูกออกแบบมาเพื่อนัยด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผู้ว่าการรัฐฯ หลายท่านยังมองว่าการลงทุนในธีมความยั่งยืนนั้นเป็นการปลุกระดมด้านทุนนิยมในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งความเห็นทางการเมือง และความเห็นสุดโต่งเหล่านี้ทำให้สาธารณชนสับสนเกี่ยวกับประโยชน์ของการลงทุนในธีมความยั่งยืน และข้อพิจารณาว่าควรนำไปประกอบในการตัดสินใจลงทุนหรือไม่ โดยเรามองว่าการตัดข้อพิจารณาด้านความยั่งยืนออกนั้นเป็นการลดทางเลือกของนักลงทุนที่ต้องการหาแผนการลงทุนเพื่อการเกษียณที่ตอบโจทย์ตนเอง

การวิเคราะห์ด้านความยั่งยืนเป็นหน้าที่ด้านการบริหารจัดการที่ดี

เราหวังว่าจะสามารถคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับคำถามเหล่านี้ได้ อย่างน้อยก็ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาการลงทุนของ ClearBridge และแนวคิดของเราต่อการบริหารจัดการที่ดี ด้วยบริษัทเราเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทที่ยึดมั่นในหลักการการลงทุนอย่างรับผิดชอบ (Principles of Responsible Investment: PRI) ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้องค์การสหประชาชาติ ที่ส่งเสริมการลงทุนในลักษณะดังกล่าว เราเห็นด้วยกับ PRI ที่มองว่าการบริหารจัดการที่ดีและรอบคอบนั้น จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน โดยมี 3 เหตุผลสนับสนุน ได้แก่ (1) ธีมความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของบรรทัดฐานการลงทุน โดยมีองค์กรกว่า 5,000 องค์กรที่ยึดหลัก PRI ซึ่งมีทรัพย์สินภายใต้การบริหารกว่า 121 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ เดือนกันยายน 2022 (2) การพิจารณาด้านความยั่งยืนมีผลต่อผลตอบแทนด้านการเงินอย่างมีนัยสำคัญ โดยเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าการพิจารณาปัจจัยด้านความยั่งยืนมีความจำเป็นต่อกระบวนการตัดสินใจด้านการลงทุนอย่างรอบคอบ และ (3) นโยบายและกฎระเบียบต่าง ๆ เริ่มนำปัจจัยด้านความยั่งยืนเข้ามาพิจารณามากขึ้นเรื่อย ๆ และการไม่คำนึงถึงหลักการความยั่งยืนอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อประเด็นด้านกฎหมาย

ในวารสาร Harvard Law School Forum on Corporate Governance นายมาร์ติน ลิปตัน ทนายหุ้นส่วนแห่งบริษัท Wachtell, Lipton, Rosen & Katz มองว่า “ธีมความยั่งยืนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยการพิจารณาด้านความยั่งยืนไม่ใช่แค่สำคัญด้านธุรกิจเท่านั้น แต่ยังจำเป็นต่อความอยู่รอด ความสามารถในการทำธุรกิจ และการสร้างมูลค่าต่อไปได้ในระยะยาว ซึ่งเป็นหน้าที่อันพึงกระทำของคณะผู้กรรมการบริษัท และคณะผู้บริหารที่มีต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น” โดยในฐานะที่เราเป็นบริษัทผู้จัดการกองทุน เรามองเห็นคล้ายกันว่า การพิจารณาด้านความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารจัดการสินทรัพย์และเงินของลูกค้า เพื่อสร้างมูลค่าให้กับสินทรัพย์และการลงทุนของลูกค้าในระยะยาว

การเพิ่มทางเลือกให้กับนักลงทุนและให้อิสระนักลงทุนเลือก

เราเชื่อว่าการให้ข้อมูลและทางเลือกอย่างโปร่งใสกับลูกค้า ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย ความต้องการ และความเชื่อของลูกค้า เป็นสิ่งที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าเอง โดยเรามองว่าการให้ทางเลือกที่หลากหลายจะทำให้ลูกค้าสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับตน และแนวทางในการจัดสรรเงินลงทุนของลูกค้าได้เหมาะสมที่สุด ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว เราเห็นว่าเป็นสิทธิของลูกค้าในการตัดสินใจที่จะลงทุนในสินทรัพย์ไหน และไม่ลงทุนในสินทรัพย์ไหน ซึ่งเราไม่เห็นด้วยที่จะมองการลงทุนในธีมความยั่งยืนเป็นการปลุกระดมด้านทุนนิยม ในทางกลับกัน เรามองว่าการให้อิสระกับนักลงทุนในการเลือกลงทุนต่างหาก ที่เป็นหลักการที่สำคัญของตลาดเสรี

ในขณะเดียวกัน กระแสของธีมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการฟอกเขียว (greenwashing) โดยเราเชื่อว่ากฎเกณฑ์ใหม่ที่กำกับดูแล และให้ความโปร่งใสกับการลงทุนด้านความยั่งยืนจะเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนในด้านความยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งจะช่วยคุ้มครองนักลงทุนจากการแอบอ้างและการเกาะกระแสการลงทุนด้านความยั่งยืน และในฐานะที่เราเป็นบริษัทที่นำหลักการความยั่งยืนมาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการลงทุนมาเป็นระยะเวลา 35 ปี ภายใต้การบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน และความรับผิดชอบ เรามุ่งมั่นที่จะให้และเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสกับลูกค้า เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถแยกบริษัทที่ยึดหลักการลงทุนอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง จากบริษัทที่อ้างว่าใช้หลักการดังกล่าว หรือใช้น้อยกว่าได้ 

ข้อสงวนสิทธิ์

  1. แฟรงคลิน เทมเพิลตัน (“Franklin Templeton”) ให้บริการการให้คำแนะนำทั่วไปแก่ FINNOMENA ในการออกแบบพอร์ตการลงทุน (Asset Allocations)
  2. แฟรงคลิน เทมเพิลตัน (“Franklin Templeton”) ไม่รับผิดใด ๆ ต่อบุคคลภายนอก ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ บริการ เว็บไซต์ หรือเนื้อหาใด ๆ ที่ได้จัดทำหรือปรากฏในช่องทางต่าง ๆ ของบุคคลภายนอกนั้น อีกทั้ง Franklin Templeton ไม่ได้ให้คำรับรอง รับประกัน หรือเป็นตัวแทน ไม่ว่าจะโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายในเนื้อหาหรือความถูกต้องของข้อมูลในช่องทางต่าง ๆ ของบุคคลภายนอก และไม่รับผิดต่อสิ่งใด ๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้น
  3. ในกรณีที่มีความแตกต่างกันระหว่างเอกสารภาษาอังกฤษกับการแปลเป็นภาษาไทย ให้ยึดถือตามเอกสารภาษาอังกฤษ

แหล่งข้อมูล

https://www.franklintempleton.lu/articles/clearbridge-investments/esg-in-the-political-spotlight

FINNOMENA Market Alert: หุ้นฮ่องกงพุ่ง 3% หลัง BABA ประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่

FINNOMENA Investment Team
FINNOMENA Market Alert: หุ้นฮ่องกงพุ่ง 3% หลัง BABA ประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่

วันนี้ (29 มีนาคม 2023) ตลาดหุ้นฮ่องกง (HSI) ปรับตัวขึ้น 3% นำโดยหุ้น Alibaba (BABA) ปรับตัวขึ้น 15% หลังบริษัทประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่เพื่อเพิ่มมูลค่ากิจการและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดย BABA จะแบ่งธุรกิจเป็น 6 กลุ่มเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหาร และเตรียม IPO ใน 5 กลุ่มธุรกิจ ทั้งนี้การประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจของ BABA เกิดขึ้นภายหลังจากการปรากฏตัวของแจ๊ค หม่าในสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โดย 6 กลุ่มธุรกิจที่ BABA เตรียมแบ่งออกมาได้ 1) Cloud Intelligence Group 2)Taobao Tmall Commerce Group 3) Local Services Group 4) Cainiao Smart Logistics 5) Global Digital Commerce Group และ 6) Digital Media and Entertainment Group

FINNOMENA Investment Team มองว่าการออกมาปรากฏตัวของแจ็ค หม่า พร้อมประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งยิ่งใหญ่ของ BABA ครั้งนี้ เป็นการส่งสัญญาณว่า BABA เตรียมเดินหน้าสู่ตลาดการเงินอีกครั้งซึ่งจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน และทำให้ Sentiment ต่อภาพรวมการลงทุนในตลาดหุ้นจีน และฮ่องกงดูดีขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสะท้อนว่ารัฐบาลจีนอาจมีความเข้มงวดต่อบริษัทเทคโนโลยีจีนน้อยลง แต่อย่างไรก็ดีการกีดกันบริษัทเทคโนโลยีจีนจากรัฐบาลสหรัฐฯ จะยังคงเป็นความเสี่ยงในภาพรวมที่ต้องติดตามต่อไป

เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นจีน All China หลังรัฐบาลจีนผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มโควิด-19 ส่งผลให้ภาคธุรกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น โดยแนะนำทยอยสะสมในกองทุน K-CHINA-A และกองทุน KT-ASHARES-A สำหรับหุ้นจีน A-shares

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน

‘ยิ่งวางแผนเกษียณเร็ว ยิ่งได้เปรียบ’ จริงหรือไม่? มาพิสูจน์กัน!

Finspace
‘ยิ่งวางแผนเกษียณเร็ว ยิ่งได้เปรียบ’ จริงหรือไม่? มาพิสูจน์กัน!

อ่านมาก็เยอะ ศึกษามาก็มาก เกี่ยวกับเรื่องวางแผนเกษียณ มีแต่คนบอกกันว่า “ยิ่งวางแผนเกษียณเร็วเท่าไร ยิ่งได้เปรียบมากเท่านั้น” แต่ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่ามันได้เปรียบยังไง? วันนี้ FinSpace จึงขอพาเพื่อน ๆ มาพิสูจน์ประโยคที่ว่ายิ่งวางแผนเกษียณเร็ว ยิ่งได้เปรียบนั้นจะเป็นจริงตามที่เขาว่ากันไหม ลองมาดูไปพร้อมกันได้เลย!

‘ยิ่งวางแผนเกษียณเร็ว ยิ่งได้เปรียบ’ จริงหรือไม่? มาพิสูจน์กัน!

จากตารางเป็นแบบจำลองการนำเงินไปลงทุนเดือนละ 5,000 บาท หรือปีละ 60,000 บาท ในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 3%, 5% และ 8% ตามลำดับ โดยไม่มีการถอนเงินออก และจะคำนวณผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้น ณ สิ้นปี โดยที่ไม่นับรวมปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจทำให้ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง เช่น เงินเฟ้อ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าหากเราเริ่มลงทุนเร็ว ก็จะยิ่งเหลือเวลาลงทุนก่อนเกษียณมากกว่าคนที่วางแผนเกษียณช้า โดยระหว่างนี้เรายังสามารถศึกษาและลองผิดลองถูกสั่งสมประสบการณ์ลงทุน ปรับแผนเกษียณให้เข้ากับตัวเองได้ ซึ่งหากเราเริ่มลงทุนช้า ก็จะมีเวลาเหลือลงทุนก่อนเกษียณอีกไม่มาก และอาจจะไม่มีเวลาลองผิดลองถูกมากนัก

ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดขึ้นกันอีกสักนิด เช่น ตอนนี้เราอายุ 25 ปี ต้องการเกษียณอายุ 60 ปี แสดงว่าเราเหลือเวลาเก็บเงินลงทุนวางแผนเกษียณอีก 35 ปี ถ้าเรานำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 8% ต่อปี เดือนละ 5,000 บาท หลังเกษียณก็จะมีเงินประมาณ 11.1 ล้านบาท เทียบกับคนที่เริ่มเก็บเงินวางแผนเกษียณอายุ 40 ปี และต้องการเกษียณอายุ 60 ปี ก็จะเหลือเวลาเก็บเงินก่อนเกษียณเพียงแค่ 20 ปีเท่านั้น หากนำเงินไปลงทุนเดือนละ 5,000 บาท ในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ยปีละ 8% เช่นกัน จะทำให้เขามีเงินเก็บหลังเกษียณเพียง 2.9 ล้านบาท

** บทความนี้ใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้เจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน

FinSpace

ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/fast-retirement-planning/

กลยุทธ์การลงทุนหลังธนาคารล้มในปี 2023

DR.JITIPOL PUKSAMATANAN
กลยุทธ์การลงทุนหลังธนาคารล้มในปี 2023

ตลาดการเงินช่วงนี้คงไม่มีเรื่องไหนจะน่ากังวลไปกว่าการปิดตัวของธนาคารหลายแห่งทั้งในฝั่งสหรัฐและยุโรป ไล่ตั้งแต่ Silvergate, Silicon Valley Bank, Signature ไปจนถึงธนาคารเก่าแก่อย่าง Credit Suisse

สิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุน ไม่ใช่แค่ติดตามสถานการณ์ให้ทัน แต่ต้องตีความการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์การเงินต่าง ๆ ให้ออก คิดไว้ก่อนว่าอะไรอาจเกิดขึ้นต่อจากนี้ และเตรียมวางกลยุทธ์ปรับพอร์ตให้พร้อม

เริ่มด้วยการประเมินภาพตลาดในปัจจุบัน

สิ่งที่เห็นคือตลาดเชื่อ 100% แล้วว่าธนาคารกลางต้องลดดอกเบี้ย

จากโอกาสเกิดเศรษฐกิจถดถอยที่กลับมาสูงเกิน 50% กดดันให้ยีลด์ระยะสั้นทั่วโลกปรับตัวลง 25-75bps แต่หุ้นโลกกลับปรับตัวลงไม่มาก

สมการการเงินนี้จะสมดุลได้ ต้องเกิดจากการลดดอกเบี้ยเพื่อเพิ่มเสถียรภาพและพยุงเศรษฐกิจเท่านั้น

แม้การหยุดขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเกิดขึ้นได้ แต่ “ลดดอกเบี้ยเลยหรือไม่” สำหรับผม ต้องวิเคราะห์ว่าการล้มของธนาคารพาณิชย์เหล่านี้ จะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจสหรัฐและทั่วโลกอย่างไร ซึ่งมีทั้งเหตุผลสนับสนุนและคัดค้าน

ฝั่งสนับสนุน มองว่าปัญหาของภาคธนาคารมักจบด้วย เศรษฐกิจถดถอย เงินเฟ้อลดลง หรืออย่างน้อยเฟดก็ควรลดดอกเบี้ยชั่วคราว

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือช่วง Great Depression และ Great Financial Crisis ที่มีธนาคารล้ม นำไปสู่เศรษฐกิจถดถอย ตามมาด้วยเงินเฟ้อที่ลดลง ธนาคารกลางในตอนนั้นจึงลดดอกเบี้ยลงได้

อีกหนึ่งตัวอย่างคือช่วงปี 1987 ในวิกฤติ LTCM เฟดก็สามารถลดดอกเบี้ยนโยบาย จากราว 9% ลงเหลือ 3% ในช่วงปี 1994 ก่อนจะขยับดอกเบี้ยขึ้นในปีถัดมาหลังจากปัญหาคลี่คลาย

ส่วนฝั่งคัดค้าน มองว่าปัญหาครั้งนี้ไม่เหมือนในอดีต และจะไม่ส่งผลกับเศรษฐกิจโดยรวมมากอย่างที่ตลาดกังวล

เพราะปัจจุบัน แนวโน้มเศรษฐกิจในหลายประเทศไม่ได้ส่งสัญญาณการชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญ

เช่นในยุโรปแม้จะมีความกังวลเรื่องวิกฤติพลังงาน แต่เศรษฐกิจกลับขยายตัวได้

ด้านสหรัฐก็ไม่เคยมีครั้งไหนในประวัติศาสตร์ ที่เฟดต้องลดดอกเบี้ยในช่วงที่เงินเฟ้อสูงกว่า 5% พร้อมกับการว่างงานต่ำกว่า 4% เพราะถือเป็นช่วงที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตร้อนแรง

เช่นเดียวกับประเทศจีนที่กำลังจะเปิดการเดินทางเต็มที่ อุปสงค์ของสินค้าพลังงานมีโอกาสกลับเข้าสู่ปรกติ

การลดดอกเบี้ย จึงอาจไม่ใช่นโยบายที่เหมาะสมที่สุด หรือถ้าธนาคารกลางจะหานโยบายรับมือ ก็ควรเป็นนโยบายที่แก้ปัญหาด้านสภาพคล่องและเสถียรภาพเฉพาะจุด

ในมุมมองของผม ผลกระทบของเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะโครงสร้างของเศรษฐกิจโลกตอนนี้ไม่เหมือนครั้งใดในอดีต ผลลัพธ์ หรือการตอบสนองของธนาคารกลาง จึงอาจแตกต่างจากที่เราเคยพบเจอ

อย่างไรก็ดี สำหรับการลงทุน ปัญหาไม่ใช่ว่าเรื่องไหนจะเกิดขึ้นบ้าง แต่เป็นเมื่อไหร่ เราสามารถวางกลยุทธ์เพื่อรับมือไว้ได้ 3 แบบ

กลยุทธ์แรกคือ Bull Steepening Trade ก่อนเฟดลดดอกเบี้ย

ประกอบด้วยกลุ่มการลงทุนที่คาดว่าจะสร้างผลตอบแทนได้ดีในช่วงที่ยีลด์ระยะสั้นปรับตัวลงแต่ยีลด์ระยะยาวยังทรงตัวสูง

กลยุทธ์นี้เป็นการจับจังหวะตลาด เน้นไปที่การถือเงินสด ลดอายุการถือตราสาร และซื้อหุ้นสายวัฏจักร (Cyclical) ขายหุ้นสายตั้งรับ (Defensive) มองว่าในอนาคตดอกเบี้ยจะลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย

กลยุทธ์ถัดมาคือ Position for Recession เตรียมรับแรงกระแทก 

เพราะไม่ว่าเงินเฟ้อจะลดหรือไม่ เฟดจะหยุดขึ้นดอกเบี้ยเมื่อไร ก็อาจไม่สำคัญเท่าการที่ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องเข้มงวดในการให้สินเชื่อหลังจากนี้

เพราะเมื่อปัญหาเกิดบนภาคการเงินโดยตรง ก็เป็นไปได้มากที่ธนาคารที่ยังเหลือรอดจะต้องพยายามทำธุรกิจให้ดูปลอดภัยมากที่สุด ซึ่งจะตามมาด้วยการบริโภคที่ชะลอตัว และเศรษฐกิจถดถอยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐ

ในกรณีนี้ดอลลาร์จะอ่อนค่า สินค้าโภคภัณฑ์สายวัฏจักรจะปรับตัวลงต่อ เงินทุนจะย้ายไปสู่ Safe Haven นอกสหรัฐ และการลงทุนใน Emerging Market จะสร้างผลตอบแทนดีกว่า Developed Market

สุดท้าย กลยุทธ์ระยะยาวคือ Sell the Last Hike, Buy the First Cut

แม้เหตุการณ์ธนาคารล้มอาจนำไปสู่เศรษฐกิจถดถอย แต่ก่อนที่เงินเฟ้อจะลดลงอาจไม่ใช่จังหวะที่ปลอดภัย เช่นในช่วงปี 1970-1980 ครั้งล่าสุดที่เงินเฟ้อสูงเท่าปัจจุบัน ตลาดหุ้นปรับตัวลงต่อในช่วงสามเดือนหลังจากการขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย

ครั้งนี้ก็เช่นกัน ผมมองว่าไม่ต้องรีบร้อน รอได้ถึงการลดดอกเบี้ยครั้งแรก

ส่วนธีมลงทุนจะเป็นการย้ายออกจากหุ้นสหรัฐ เปลี่ยนจากหุ้นเติบโต (Growth) ไปเป็นหุ้นมูลค่า (Value) และเปลี่ยนจากหุ้นใหญ่ไปเป็นหุ้นเล็ก

หลังจากนี้ผมเชื่อว่าเรากำลังจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ อาจได้เห็นธนาคารล้มอีกบ้าง นโยบายการเงินในรูปแบบใหม่ นักลงทุนจึงควรมีสติ ประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ยิ่งในช่วงที่ตลาดผันผวน ยิ่งต้องตอบให้ได้ว่าถ้าตลาดปรับตัวขึ้นหรือลงเราจะปรับพอร์ตอย่างไร

จำไว้เสมอว่าการลงทุนไม่ใช่แค่ซื้อ ถือ หรือขาย แต่เป็น ขั้นตอนการบริหารให้พอร์ตลงทุนของเราผ่านพ้นสถานการณ์ที่ยากลำบากได้อย่างเหมาะสมครับ

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์

ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

Mr.Messenger
ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

นับจากจุดสูงสุดของต้นปี 2023 หุ้นของ Deutsche Bank ต่อไปนี้ขอเรียกว่า DB ปรับตัวลงมาแล้วมากกว่า -30%

เมื่อคืนวันที่ 24 มี.ค. 2566 หุ้น DB ร่วงลงทำจุดต่ำสุดจากวันก่อนหน้า -14.80% แต่ยังมีแรงซื้อกลับบ้างจนราคาปิด -8.53%

ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

ถ้าจะบอกว่า แรงขายที่เกิดขึ้น เป็นแค่ Aftershock ต่อจาก Credit Suisse แต่ไม่มีอะไรมากกว่านั้น ก็ดูจะมองโลกในแง่ดีเกินไปสักหน่อย

แต่ถ้าจะบอกว่า DB คือ โดมิโนตัวต่อไป ก็ต้องบอกว่า หากมองจากราคาหุ้นของเขาในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ธนาคารเขาก็เหมือนจะมีปัญหามาอยู่ก่อนแล้ว เพราะจากจุดสูงสุดที่ €86.23 ต่อหุ้น ที่ตลาดหลักทรัพย์เยอรมัน ล่าสุดเมื่อคืนปิดที่ราคา €8.54 ต่อหุ้น หรือคิดเป็น ติดลบ -90% แสดงว่า ปัญหาของ DB เรื้อรังมายาวนาน คล้ายๆกับ CS เหมือนกัน

และจากบทความที่แล้ว ถ้าคุณได้อ่าน อย่าลืมว่า DB ก็ถือเป็นอีก 1 ใน 9 ธนาคารระดับโลก “Bulge Bracket” เช่นเดียวกัน (อ่านได้ที่ https://www.blockdit.com/posts/641201b25f981ccddeac0943?fbclid=IwAR3xx0cSDqjCymAg9t_La0zWIDg9DOHvuxWxr5bEIGkHqP5wXqIPDAzrfgU)

Deutsche Bank เป็นธนาคารขนาดใหญ่ของประเทศเยอรมนี มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Frankfurt และมีการเปิดสาขาในหลายประเทศทั่วโลก ธนาคารนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2444 (1900) หรือ 123 ปีก่อน

โดย Adelbert Delbrück และหลาย ๆ นักเงินที่มีความรู้ความชำนาญในการเงิน โดยเริ่มต้นธนาคารนี้มีชื่อว่า “Deutsche Bank” เพราะว่าเป็นธนาคารแห่งแรกในเยอรมนีที่มีสมาชิกคือคนเยอรมัน และได้มีการยอมรับว่าเป็นธนาคารแห่งชาติเยอรมนี

หลังจากวิกฤตการเงินโลก (Global Financial Crisis) ในปี 2008 ที่เกิดขึ้น DB เป็นหนึ่งในธนาคารที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะมีปัญหาในการจัดการด้านการเงินของธุรกิจของตนเอง ซึ่งมีการให้สินเชื่อในปริมาณมาก

โดยเฉพาะในตลาดสินเชื่อที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ (subprime loan) ที่เป็นระเบิดลูกสำคัญทำตลาดหุ้นถล่มทลายในช่วงนั้น ทำให้ธนาคารต้องตัดสินใจลดงบการลงทุนในตลาดสินเชื่อดังกล่าวลง

และ DB ก็ต้องเปิดเผยข้อผิดพลาดในด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงของธนาคารออกมา ซึ่งส่งผลให้ธนาคารต้องจ่ายค่าปรับและค่าสินไหมทดแทนสูงในอดีต และมีผลกระทบต่อค่าหุ้นของธนาคารนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

ไปดูกำไรสุทธิของ DB นับตั้งแต่ปี 2008 กัน (ข้อมูลสรุปจาก Statista)

2008 -€3,896 million
2009 €4,958 million
2010 €2,330 million
2011 €4,326 million
2012 €316 million
2013 €681 million
2014 €1,691 million
2015 -€6,772 million
2016 -€1,356 million
2017 -€735 million
2018 €341 million
2019 -€5,265 million
2020 €624 million
2021 €2,510 million
2022 €5,659 million

จะเห็นว่า DB มาเจอขาดทุนหนัก ๆ ก็ปี 2015-2016 ซึ่งช่วงนั้น DB ตกลงร่วมกันกับกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ (US Department of Justice) เพื่อจ่ายค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากคดีเงินฝากของลูกค้า High Net Worth ที่ไปลงทุนใน mortgage-backed securities (MBS) โดยจ่ายค่าปรับเป็นเงินสูงถึง $7,200 million

นักลงทุนทั่วไป รวมถึงผม ได้รู้จัก CoCo Bond ครั้งแรกก็ในปีนั้น เพราะ การที่ DB ถูกปรับหนักขนาดนี้ มันไป trigger ให้นักลงทุนกลัวว่า ธนาคารจะใช้สิทธิแปลงตราสารหนี้ CoCo Bond เป็นหุ้น แต่ก็ผ่านมาได้ ไม่มีการ convert นะครับ

เหตุการณ์นั้น ทำให้ธนาคารต้องปรับตัวด้วยการทำ restructuring plan เพื่อลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจในอนาคต โดยมีการประหยัดทรัพยากรและลดต้นทุนในหลายด้าน เช่น ลดอัตราการจ้างงาน ลดจำนวนสาขา ลดปริมาณการซื้อพื้นที่ใช้สำนักงาน ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ เปลี่ยนแผนกลยุทธ์ในการลงทุน

ซึ่งแผนการในครั้งนั้น ก็นำมาสู่ค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่และทำให้ในปี 2019 ธนาคารขาดทุนสุทธิ -€5,265 million

เอาเข้าจริง ก็เหมือนว่า DB จะทำสิ่งที่ถูกต้อง ไม่มีปัญหาคาราคาซัง เคราะห์ซ้ำกรรมซัดแบบ CS และทำให้ตั้งแต่ปี 2020 จนถึง 2022 ธนาคารกลับมากำไรได้อย่างต่อเนื่อง

แล้วทำไม Deutsche Bank ถึงมาอยู่ใน Spotlight แทน Credit Suisse ในวันนี้?

เพราะ CDS (Credit Default Swap) ของ DB ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนว่านักลงทุนกลัวว่าธนาคารอาจไม่สามารถชำระหนี้ได้ โดยเมื่อคืน CDS หุ้นกู้ Subordinated Bond ของ DB พุ่งขึ้นไปถึง 560 จุด หรือ คิดเป็นโอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้สูงถึง 31% ถึงไม่สูงเท่ากรณีของ CS แต่ก็ใกล้กับตอนเจอโควิด หรือ ตอนจ่ายค่าปรับตอนปี 2016

ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

และไม่ใช่ DB ที่นักลงทุนขายหุ้นกันออกมาตอนนี้ แต่หุ้นธนาคารในยุโรปก็โดนเทกันทุกตัว

ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

อย่างไรก็แล้วแต่ ถ้าไปดูฐานะการเงินของ DB ในตอนนี้ และปัญหาของ DB ที่ถูกแก้ไขในทิศทางที่ถูกต้อง นักวิเคราะห์จาก Autonomous Research ก็ยังออกมายืนยันว่า DB ไม่ใช่ the next CS

ถ้าดูที่ LCR หรือ Liquidity Coverage Ratio ตอนนี้ก็อยู่เกิน 100% ถึงแม้จะต่ำกว่า standard ของแบงก์ในยุโรป แต่ก็อยู่สูงกว่าแทบทุกธนาคารที่อยู่ในสหรัฐฯ

ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

ในฝั่งของเงินสด DB ก็มีเงินสดในงบเยอะกว่าก่อนเกิดวิกฤตปี 2008

ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

ที่น่าห่วงกว่า อาจจะเป็นเหตุการณ์ Bank Run ที่ยังเกิดอยู่กับธนาคารในสหรัฐฯ โดยล่าสุดตัวเลขเงินฝากในธนาคารสหรัฐฯ ที่เฟดสาขาเซนต์หลุยส์ทำข้อมูลไว้ ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง แสดงว่า ไม่ใช่แค่คนแห่ถอนจากแบงก์เล็กเท่านั้น แต่เริ่มมีการโยกเงินฝากออกจากธนาคารไปกระจายความเสี่ยงยังสินทรัพย์อื่นกัน

ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

ซึ่งเขาอาจจะไปหลบความเสี่ยงในทองคำ หลังขึ้นทดสอบ $2,000 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือ แบ่งไปซื้อ Bitcoin เพราะยังอยู่ในระดับต่ำ

ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

หรือ อาจจะกลับไปซื้อหุ้นเทคในสหรัฐฯ เพราะเราก็เริ่มเห็นความเอาไม่ลงของหุ้นเทคหลายตัว หลังเฟดขึ้นดอกเบี้ยเพียงแค่ 0.25% และ dotplot ก็ไม่ได้ขยับ terminal rate ไปไกลกว่าที่นักลงทุนในตลาดคาดหวัง ณ ตอนนี้

สรุปคือ ผมมองว่า DB อาการไม่หนักเท่า CS และมีการปรับโครงสร้างองค์กรมาแล้วก่อนหน้านี้

แต่เราก็เห็นกันแล้วว่า อะไรที่เราไม่รู้ อยู่ดี ๆ มันก็โผล่ขึ้นมาได้อีก

ที่สำคัญคือ ธนาคารกลางทั่วโลก ยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยกันหมดในสัปดาห์ที่ผ่านมา

ECB +50bps
Swiss Central Bank +50bps
Fed +25bps
BOE +25bps
Australian Central Bank +25bps
Norway Central Bank +25bps

ทุกธนาคารกลางข้างบน ยังส่งสัญญาณว่า ดอกเบี้ย จำเป็นต้องขึ้นต่อเพื่อสู้กับเงินเฟ้อ

คุณว่า มันจะมีธนาคารที่ทนไม่ได้กับดอกเบี้ยที่สูงกว่านี้เเพิ่มขึ้นมาตามหลัง SVB , SB และ CS อีกไหม? น่าคิด….

แหล่งที่มาข้อมูล :-
https://www.statista.com/statistics/266513/net-income-of-deutsche-bank/
https://www.db.com/news/detail/20230202-full-year-results-2022?language_id=1
https://www.cnbc.com/2016/12/22/deutsche-bank-reaches-settlement-with-doj-on-mortgages-case.html
https://www.reuters.com/article/us-deutsche-bank-bonds-idUSKCN11Y1RQ
https://www.theguardian.com/business/2019/jul/24/deutsche-bank-posts-worst-quarterly-loss-in-four-years
https://fred.stlouisfed.org/series/DPSACBW027SBOG

Mr.Messenger รายงาน

สำรวจ 5 หุ้นจีน New Economy ที่น่าสนใจในปี 2023

Park Kathawut
China New Economy

ใครที่ติดตามเรื่องราวของประเทศจีน น่าจะพอทราบว่าในช่วง 2 ปีหลังสุด (2021-2022) เศรษฐกิจจีนเจอมรสุมเข้ามากดดันต่อเนื่อง ตั้งแต่ที่รัฐบาลใช้มาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดในหลายธุรกิจ เช่น ธุรกิจกวดวิชา, ธุรกิจเกม, อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ตลอดจนการดำเนินนโยบาย Zero Covid อย่างเข้มข้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงลึกและนานพอสมควร

อย่างไรก็ตาม ว่ากันว่าปี 2023 นี้ ตลาดหุ้นจีนกำลังเปลี่ยนทิศ พลิกเติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยมีสัญญาณทางปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ 

  • China Reopen หรือ การเปิดเมืองของจีน ซึ่งจะตามมาด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และผ่อนคลายนโยบายควบคุมต่าง ๆ
  • การขยายตัวของดัชนี PMI (Purchasing Manager Index) ทั้งภาคการผลิตและบริการ
  • ยอดการปล่อยสินเชื่อใหม่เพื่อธุรกิจจีนที่พุ่งแตะสูงสุดเป็นประวัติการณ์
  • ตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มเห็นแนวโน้มผ่อนคลายดีขึ้น หลังรัฐบาลจีนเข้ามาช่วยปรับโครงสร้างหนี้
  • การประกาศเป้าหมาย GDP ปี 2023 โตกว่า 5% ในพิธีการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) สอดคล้องกับมุมมองนักวิเคราะห์จาก UBS ที่ปรับเพิ่มประมาณการ GDP จีน เติบโต 5.4% จากเดิมอยู่ที่ 4.9%

อีกจุดที่หนุนให้ตลาดหุ้นจีนมีเสน่ห์ นั่นคือแม้ทิศทางการเติบโตสูง แต่ Valuation ยังถือว่าดูดีกว่าหลายตลาดทั่วโลก

China New Economy

ภาพแสดงคาดการณ์ค่าเฉลี่ย EPS Growth ปี 2023-2024 เทียบกับ Forward P/E ใน 12 เดือนข้างหน้า | ที่มา: FINNOMENA, Bloomberg ณ วันที่ 1 มีนาคม 2023

New Economy โอกาสเติบโตครั้งใหม่ของจีน

คำถามคือเมื่อเราเห็นโอกาสในจีนขนาดนี้ แล้วหุ้นกลุ่มไหนล่ะที่จะเป็นหมุดหมายของการเติบโตรอบใหม่ ซึ่งต้องบอกว่าสิ่งที่จีนได้เปรียบประเทศ Emerging Market อื่น ๆ ก็คือการวางแผนเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์มาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง  

จากที่เคยเป็นฐานการผลิตเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันจีนได้พัฒนากลายมาเป็นหนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยีอย่างเต็มตัว พร้อมขึ้นมาเขย่ามหาอำนาจของโลกทางเทคโนโลยีอย่างสหรัฐอเมริกาได้แบบสนุก 

ประกอบกับการที่รัฐบาลจีนเริ่มผ่อนคลายการจัดระเบียบหุ้นเทคโนโลยี และหันมาค่อย ๆ ประคับประคอง เพื่อสร้างการเติบโตอย่างแข็งแกร่งไปพร้อมกับการเปิดประเทศ

ดังนั้น การล็อกเป้าไปที่ “หุ้นกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ (New Economy)” ในบริษัทที่ขับเคลื่อนสินค้าและบริการด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในยุคใหม่ จึงเป็นอะไรที่น่าสนใจมากกว่า และควรคว้าโอกาสนี้เอาไว้ เพราะเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโตเหนือกว่าคู่แข่งอย่างยั่งยืน รวมถึงยังสามารถพัฒนาได้แบบไร้ขีดจำกัด

5 หุ้นจีน New Economy อนาคตไกล

หัวใจของบทความนี้จึงอยากจะพาไปทำความรู้จักกับหุ้นในกลุ่ม New Economy ชั้นนำของจีน ที่สอดรับไปกับการเติบโตแห่งอนาคต ลองมาดูกันว่ามีธุรกิจอะไรบ้าง และจุดเด่นของแต่ละบริษัทอยู่ตรงไหน 

  1. Tencent 

บริษัทเทคโนโลยีที่มีมูลค่ามากที่สุดในจีน ด้วยมูลค่า Market Cap. ถึง 429.51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูล ณ มีนาคม 2023) โดยเป็นเจ้าของแอปพลิเคชันมากมายที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์และความบันเทิงของผู้คนในยุคปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น WeChat, WeTv, JOOX, Shopee และ QQ รวมไปถึงเป็นผู้พัฒนาเกม RoV, PUBG และ Clash of Clan

ความน่าสนใจของ Tencent คือการมีเครือข่ายแอปพลิเคชันจำนวนมาก แทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของคนจีนอย่างแยกกันไม่ออก ทั้งโซเชียลมีเดีย ความบันเทิง สั่งอาหาร ซื้อสินค้าออนไลน์ จองตั๋ว ติดตามข่าวสาร เล่นเกม เป็นต้น แถมยังขยายบริการดังกล่าวไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยด้วย

  1. Alibaba

ยักษ์ใหญ่ E-commerce แห่งเมืองจีนที่ประสบความสำเร็จสุดขีด ไม่ว่าจะเป็นตลาดจีนอย่าง Taobao แพลตฟอร์มค้าปลีกแบบ C2C และ Tmall แพลตฟอร์มค้าปลีกแบบ B2C ตลอดจนตลาดต่างประเทศ เช่น Alibaba.com, Aliexpress และ Lazada 

นอกจากนี้ ยังได้เชื่อมต่อระบบนิเวศไปสู่กลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ประกอบด้วย ธุรกิจคลาวด์ (Alibaba Cloud), นวัตกรรมทางการเงิน (Ant Financial), การขนส่งและโลจิสติกส์ (Cainiao Network), แพลต์ฟอร์มการตลาดออนไลน์ (Alimama) ตลอดจนแพลตฟอร์มด้านความบันเทิง (YouKu)

  1. Meituan 

แอปพลิเคชัน Food Delivery ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ของชาวจีนที่ครองส่วนแบ่งตลาดในจีนกว่า 60% อีกทั้งยังครอบคุลมไปถึงบริการการเดินทาง, รีวิวร้านอาหาร, แชร์ประสบการณ์ไลฟ์สไตล์, บริการจองโรงแรมที่พักและสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ และผู้ใช้งานสามารถชำระเงินค่าบริการผ่านแอปพลิเคชันได้เลย ทำให้ Meituan โดดเด่นด้วยความเป็น Super App ที่ครบจบในที่เดียว

  1. JD.com

หนึ่งในบริษัท E-commerce ชั้นนำ เจ้าของฉายา Amazon แห่งจีน ด้วยโมเดลธุรกิจที่โดดเด่นในการจัดส่งสินค้าอย่างรวดเร็วภายในวันเดียว จากการลงทุนกับระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะของตัวเอง ขณะเดียวกันยังเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าเอง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตัวสินค้า และมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า

  1. Pinduoduo 

แพลตฟอร์ม E-commerce สำหรับกลุ่มผู้ค้าปลีกรายย่อยที่ต้องการซื้อสินค้าจำนวนมากในราคาย่อมเยา ซึ่ง Pinduoduo ประสบความสำเร็จอย่างมากจากการใช้กลยุทธ์ Group Buying โดยการกำหนดราคาสินค้าให้ถูกลง แล้วให้ผู้คนรวบรวมคนที่ต้องการซื้อสินค้าตัวเดียวกันผ่านสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และกดซื้อพร้อมกันทีเดียว เพื่อที่จะได้สินค้าในราคาที่ถูกลงนั่นเอง ส่วนบริษัทก็ได้ขายของในปริมาณที่มากขึ้นเช่นกัน

สรุปแล้วจะเห็นว่าหุ้นทั้งหมดนี้ ล้วนแต่พยายามพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างฐานลูกค้าและรองรับการมาของระบบเศรษฐกิจใหม่ แม้จะมีช่วงที่หยุดชะงักไปบ้างจากนโยบาย Zero COVID และการควบคุมบริษัทกลุ่มเทคโนโลยีของรัฐบาลจีน แต่เมื่อทุกอย่างส่งสัญญาณผ่อนคลายแบบนี้ เชื่อว่าในระยะยาวหุ้นกลุ่มนี้่จะสร้างโอกาสเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

China New Economy

MEVT Call : K-CHINA-A(A)

ถ้าอยากลงทุนเพื่อเติบใหญ่ไปกับหุ้นจีน New Economy ทาง FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำเข้าลงทุนตาม MEVT Call ไปกับกองทุน K-CHINA-A(A) สอดรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในกรอบระยะเวลา 6-12 เดือน

Macro – ปัจจัยเชิงมหภาค เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากการเปิดประเทศ ปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์ที่คลี่คลายลง หลังจากรัฐบาลจีนเข้ามาช่วยเสริมสภาพคล่อง และการคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากนี้

Earnings – ปัจจัยด้านกำไร เริ่มเห็นสัญญาณการปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้น หลังการเปิดประเทศหนุนการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศ และตลาดยังไม่รับรู้ข่าวดีทั้งหมด เช่น การผ่อนคลายนโยบายกับกลุ่มเทคโนโลยี

Valuation – ปัจจัยด้านมูลค่า อยู่ในระดับค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับตัวเองในอดีตและหุ้นโลก แต่มีแนวโน้มถูกปรับ multiple เพิ่มขึ้นหากมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องหลังจากนี้

Technical – ปัจจัยเชิงเทคนิค นักลงทุนต่างชาติสะสมหุ้นจีนต่อเนื่องตั้งแต่มีแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบาย Zero COVID พร้อมปัจจัยทาง technical analysis ที่มีแนวโน้มการปรับตัวขึ้นของดัชนี

หุ้นจีนลงทุนได้หรือยัง อ่านมุมมองการลงทุนเพิ่มเติมที่ 

 MEVT Call : รักใครให้ซื้อจีน 

สำหรับ K-CHINA-A(A) เป็นกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ เน้นลงทุนในบริษัทจีนที่จดทะเบียนในทุกตลาด (All China) ผ่านกองทุนหลัก JPMorgan Funds – China Fund ด้วยกลยุทธ์ลงทุนแบบ bottom-up stock คัดเลือกหุ้นที่มีศักยภาพเติบโตเหนือกว่าคู่แข่งอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม New Economy ที่ได้ประโยชน์จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจจากรัฐบาลจีน

ดูข้อมูลกองทุน K-CHINA-A(A) เพิ่มเติม และซื้อกองทุน 

China New Economy

ภาพแสดงสัดส่วนพอร์ตการลงทุน JPMorgan Funds – China Fund | ที่มา: JPMorgan Fund Fact Sheet ณ วันที่ 31 มกราคม 2023

คัดเลือกกองทุนอย่างเมพ ด้วยจังหวะขั้นเทพกับ “MEVT Call”
👉 ลงทุนใน MEVT Call คลิก >>> https://finno.me/mevt-web


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT

References

FINNOMENA Weekly Market Insight

J.P. Morgan Asset Management

Bloomberg | China Shakes Up Government, Lashes Out at US: NPC Update

Bloomberg | China Sees ‘Rapid’ Consumer Rebound as UBS Lifts GDP Outlook

Bloomberg | The World’s Greatest Delivery Empire

Companiesmarketcap

Tencent

Alibaba

Meituan 

JD.com

Pinduoduo

News Update: ‘ดอยซ์แบงก์’ หุ้นร่วงแรง -30% จากต้นปี ตลาดกังวลความเสี่ยงใหม่ภาคการเงินยุโรป นักวิเคราะห์เชื่อฐานะ “ยังแข็งแกร่ง” ไม่เหมือน ‘เครดิตสวิส’

THE OPPORTUNITY
‘ดอยซ์แบงก์’ หุ้นร่วงแรง -30% จากต้นปี ตลาดกังวลความเสี่ยงใหม่ภาคการเงินยุโรป นักวิเคราะห์เชื่อฐานะ "ยังแข็งแกร่ง" ไม่เหมือน ‘เครดิตสวิส’

Mr.Messenger เล่าว่า นับจากจุดสูงสุดของต้นปี 2023 หุ้นของ Deutsche Bank หรือ DB ปรับตัวลงมาแล้วมากกว่า -30% โดยถ้าจะบอกว่า แรงขายที่เกิดขึ้น เป็นแค่ Aftershock ต่อจาก Credit Suisse แต่ไม่มีอะไรมากกว่านั้น ก็ดูจะมองโลกในแง่ดีเกินไปซักหน่อย

แต่ถ้าจะบอกว่า DB คือ โดมิโนตัวต่อไป ก็ต้องบอกว่า หากมองจากราคาหุ้นของเขาในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ธนาคารเขาก็เหมือนจะมีปัญหามาอยู่ก่อนแล้ว เพราะจากจุดสูงสุดที่ €86.23 ต่อหุ้น ที่ตลาดหลักทรัพย์เยอรมัน ล่าสุดเมื่อคืนปิดที่ราคา €8.54 ต่อหุ้น หรือคิดเป็น ติดลบ -90% แสดงว่า ปัญหาของ DB เรื้อรังมายาวนาน คล้ายๆกับ CS เหมือนกัน

แล้วทำไม Deutsche Bank ถึงมาอยู่ใน Spotlight แทน Credit Suisse ในวันนี้?

เพราะ CDS (Credit Default Swap) ของ DB ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนว่านักลงทุนกลัวว่าธนาคารอาจไม่สามารถชำระหนี้ได้ โดยเมื่อคืน CDS หุ้นกู้ Subordinated Bond ของ DB พุ่งขึ้นไปถึง 560 จุด หรือ คิดเป็นโอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้สูงถึง 31% ถึงไม่สูงเท่ากรณีของ CS แต่ก็ใกล้กับตอนเจอโควิด หรือ ตอนจ่ายค่าปรับตอนปี 2016
และไม่ใช่ DB ที่นักลงทุนขายหุ้นกันออกมาตอนนี้ แต่หุ้นธนาคารในยุโรปก็โดนเทกันทุกตัว

อย่างไรก็แล้วแต่ ถ้าไปดูฐานะการเงินของ DB ในตอนนี้ และปัญหาของ DB ที่ถูกแก้ไขในทิศทางที่ถูกต้อง นักวิเคราะห์จาก Autonomous Research ก็ยังออกมายืนยันว่า DB ไม่ใช่ the next CS

ถ้าดูที่ LCR หรือ Liquidity Coverage Ratio ตอนนี้ก็อยู่เกิน 100% ถึงแม้จะต่ำกว่า standard ของแบงก์ในยุโรป แต่ก็อยู่สูงกว่าแทบทุกธนาคารที่อยู่ในสหรัฐฯ ในฝั่งของเงินสด DB ก็มีเงินสดในงบเยอะกว่าก่อนเกิดวิกฤตปี 2008

ด้านดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ และประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) มองว่า ช่วงนี้เป็นช่วงอ่อนไหว ทุกข่าวมีความหมาย และนัยยะ เมื่อมีข่าวออกมาเมื่อวานนี้ว่า DB ต้องการที่จะซื้อหุ้นกู้ (Tier 2 Subordinated Debt) กลับก่อนกำหนด 5 ปี (ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ว่าสามารถทำได้)

ซึ่งปกติแล้ว ข่าวแบบนี้จะสะท้อนว่าแบงค์อยู่ในฐานะดี สามารถลดหนี้ได้ แต่ได้กลับกลายเป็นจุดเริ่มของความผันผวนรอบใหม่ ทำให้ทุกสายตา หันไปจับจ้อง DB ถามว่า มีปัญหาอะไรเปล่า CDS ของหุ้นกู้ของ DB ปรับเพิ่มสูงขึ้น

นำมาซึ่งการเทขายหุ้น ทั้งๆ ที่ช่วงที่เกิดปัญหาในสวิส เงินฝากจำนวนหนึ่งได้ไหลไปที่ DB และ DB ก็เพิ่งประกาศกำไรสูงสุดในรอบ 15 ปี ที่ประมาณ 5.5 พันล้านดอลาร์ เพิ่มขึ้นจากประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์ในปีก่อนหน้า

การที่เกิดเช่นนี้ได้ ก็คงเพราะช่วงนี้เป็นช่วงไม่ปกติ เมื่อได้ยินข่าวอะไรที่แปลกออกไป ปัญหาก็สามารถตามมาได้ แม้กระทั่งแบงค์ที่มีฐานะที่ดีพอสมควรเช่น Deutsche Bank ก็สามารถลำบากได้ สะท้อนถึงความอ่อนไหวที่สะสมตัวจาก 1 ปีของ Perfect Storm

จาก 1 ปีของการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของธนาคารกลางต่างๆที่สร้างแรงกดดันในกับระบบการเงินโลกอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

ที่มา:  https://www.blockdit.com/posts/641e5452f87dca16e28d1ade 

https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1059732

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน

ดาวน์โหลดฟรี! Weekly Market Insight ฉบับล่าสุด

FINNOMENA Investment Team
ดาวน์โหลดฟรี! Weekly Market Insight ฉบับล่าสุด (จำนวนจำกัด)

     Weekly Market Insight ประจำสัปดาห์  27/03/66 – 31/03/66

พิเศษ! สำหรับสมาชิก FINNOMENA

ดาวน์โหลดฟรี “มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์”

(ถ้าเปิดจากโทรศัพท์แล้วดูแบบ preview ไม่ได้ ให้กดดาวน์โหลดมุมขวาบน)

เมื่อบริษัท Crypto ล้มละลาย จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? I POCKET MONEY EP68

FINNOMENA CHANNEL
เมื่อบริษัท Crypto ล้มละลาย จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? I POCKET MONEY EP68

รับชมบน YouTube: https://youtu.be/D6SeCbmQlNs

ปี 2022 เป็นอีกปีที่ขรุขระที่สุดของตลาด Crypto โดยเฉพาะประเด็นที่หลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Crypto ไม่ว่ารายเล็กหรือใหญ่ต่างก็จ่อคิวยื่นล้มละลายเป็นแถบ ๆ มาลองดูกันว่าเมื่อบริษัท Crypto ล้มละลายจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในคลิปนี้

ตัวอย่างสถานการณ์ธุรกิจ Crypto ล้มละลาย

Future Trade Exchange (FTX)

  • นับว่าช็อกวงการ Crypto อย่างแรงสำหรับแพลตฟอร์มซื้อขาย Crypto ที่เคยประสบความสำเร็จเป็นอันดับ 2 ของโลก ด้วยมูลค่ากิจการสูงถึง 3.2 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐและฐานลูกค้ามากกว่า 1 ล้านราย
  • ในช่วงต้นปี 2022 ที่เกิดความปั่นป่วนในตลาด Crypto นั้น FTX เพิ่งจะรับบทอัศวินม้าขาวช่วยเหลือธุรกิจ Crypto ที่ได้รับผลกระทบ
  • แต่แล้วไม่กี่เดือนจากนั้น FTX กลับเป็นชนวนปัญหาใหม่ใหญ่กว่าเดิมเสียเอง  
  • จากการที่ Binance ประกาศล้มดีลควบรวมกิจการเข้ากับ FTX ทำให้เห็นถึงความเคลือบแคลงใจในการบริหารธุรกิจของ FTX ที่ Binance อาจได้พบเห็นในช่วงตรวจสอบกิจการ (Due Diligence)
  • นำไปสู่การตั้งข้อสังเกตถึงข่าวลือในช่วงก่อนหน้าที่ว่า FTX นำเงินของลูกค้าไปหมุนเวียนในบริษัทเครือเดียวกันอย่าง Alameda Research อาจเป็นความจริง
  • ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าจนเกิดการระดมถอนเงินออกจากแพลตฟอร์มเป็นมูลค่ามากกว่า 6 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐภายใน 72 ชั่วโมง จน FTX ต้องยื่นล้มละลายในที่สุด 

BlockFi

  • การประกาศยื่นล้มละลายของ FTX นำไปสู่หายนะของธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกันเป็นทอด ๆ ซึ่งรวมถึง BlockFi แพลตฟอร์มกู้ยืม Crypto ชื่อดังที่มี FTX เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่
  • ก่อนนี้ BlockFi ก็เพิ่งได้รับผลกระทบจากการให้กองทุน Crypto Hedge Fund อย่าง Three Arrows Capital (3AC) กู้ยืมเงินแต่แล้วก็ล้มละลายในเวลาต่อมาเช่นกัน 
  • นอกจาก FTX, BlockFi และ Three Arrows Capital ในปีเดียวกันนี้ยังมีอีกหลายธุรกิจที่ล่มสลายเซ่นวิกฤติความเชื่อมั่นใน Crypto ไม่ว่าจะเป็น Voyager Digital และ Celsius Network
  • เห็นได้ว่าด้วยขนาดของตลาด Crypto ที่นับว่ามีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับตลาดการลงทุนอื่น เงินในตลาด Crypto จึงหมุนเวียนในระบบที่มีเจ้าตลาดไม่กี่เจ้า เมื่อเกิดปัญหาในรายหนึ่งขึ้น ก็ย่อมส่งผลกระทบถึงรายอื่น ๆ ล้มทับกันเป็นโดมิโนอย่างรวดเร็ว 

สิ่งที่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อธุรกิจ Crypto ล้มละลาย

  • เมื่อธุรกิจ Crypto อยู่ระหว่างการพิจารณาตามกระบวนการศาลล้มละลาย นักลงทุนจะไม่สามารถถอนเงินออกจากระบบได้ เพื่อให้ธุรกิจที่ยื่นล้มละลายนั้นจัดทำแผน 
  • เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงจะดำเนินการชำระหนี้แก่ลูกหนี้ต่อไป โดยลูกหนี้ที่มีสิทธิรับชำระหนี้ก่อนก็จะได้แก่ลูกหนี้ที่มีหลักประกัน ทำให้กลุ่มลูกหนี้ที่เป็นนักลงทุนส่วนใหญ่จะได้รับชำระหนี้เป็นลำดับท้าย ๆ 
  • นอกจากนี้การชำระหนี้คืนจะมีลักษณะเป็น pro rata เช่น ถ้าบริษัทเป็นหนี้ 100 ดอลล่าร์ แต่มีสินทรัพย์ที่สามารถชำระหนี้คืนได้ 90 ดอลล่าร์ ลูกหนี้แต่ละรายก็จะได้รับชำระหนี้คืนรายละ 90%   
  • นอกจากนี้ด้วยการที่ธุรกิจ Crypto ไม่ได้รับการประกันเงินลงทุนเหมือนอย่างกรณีธุรกิจธนาคารที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของ Federal Deposit Insurance Corporation ทำให้นักลงทุนต้องรับความเสี่ยงด้วยตัวเองหากบริษัท Crypto ที่ได้ฝากสินทรัพย์เอาไว้ล้มละลาย 

กรณีธุรกิจ Crypto ล้มละลายในไทย

  • ถึงแม้ในประเทศไทยจะยังไม่มีกรณีที่ธุรกิจ Crypto ยื่นล้มละลาย แต่แนวทางการคุ้มครองผู้ลงทุนก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน นั่นคือการลงทุน Crypto จะไม่ได้รับการคุ้มครองเงินต้นเหมือนอย่างที่การฝากเงินในธนาคารจะได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ผู้ลงทุนจึงต้องรับความเสี่ยงด้วยตัวเองเช่นกัน 
  • อย่างไรก็ตามนักลงทุนสามารถพิจารณาความน่าเชื่อถือของธุรกิจ Crypto ที่จดทะเบียนในไทยได้จากการเลือกรับบริการผ่านธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งจะได้รับการควบคุมให้ดำรงเงินทุนเพื่อรองรับความเสี่ยง การตรวจสอบการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า การป้องกันการกระทำที่ไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขาย และมีระบบการดำเนินธุรกิจตามมาตรฐานที่ ก.ล.ต. กำหนด โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตจากแอปฯ SEC Check First 

พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website


มือใหม่ห้ามพลาด! คอร์สเรียนพิเศษจาก FINNOMENA U "กองทุนรวม 101 สำหรับมือใหม่"

กองทุน UI คืออะไร? รู้จักโอกาสลงทุนเหนือสินทรัพย์ทั่วไป สำหรับนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ

fruhling

ในภาวะที่สินทรัพย์การลงทุนต่าง ๆ ยังไม่สามารถกลับมาทำผลงานได้ดีเหมือนเคยจากปัจจัยรอบด้านทั้งเงินเฟ้อ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งสูง ทำให้นักลงทุนรู้สึกเหมือนเจออุปสรรคในการเสริมสร้างความมั่งคั่งไม่น้อย 

ข่าวดีคือยังมีสินทรัพย์บางประเภท เช่น สินทรัพย์นอกตลาด (Private Asset) ไปจนถึงสินทรัพย์ที่มีการซื้อขายในตลาดแลกเปลี่ยนอื่น ๆ แต่ไม่ได้เคลื่อนไหวสัมพันธ์กับสินทรัพย์ทั่วไป ที่เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการสร้างผลตอบแทนเหนือตลาด โดยนักลงทุนสามารถเข้าถึงสินทรัพย์เหล่านี้ได้ผ่านกองทุนรวม UI หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra Accredited Investor Mutual Fund) 

กองทุน UI คืออะไร ลงทุนในสินทรัพย์ไหนบ้าง

กองทุน UI หรือ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra Accredited Investor Mutual Fund) เป็นกองทุนสำหรับผู้ลงทุนในกลุ่ม Ultra High Net Worth ตามนิยามของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่มีสินทรัพย์ตามจำนวนขั้นต่ำและมีความรู้หรือประสบการณ์

กองทุน UI คือโอกาสที่หาไม่ได้จากการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วไป เพราะหลายกองทุนมักจะมีการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก เช่น การซื้อขายกรมธรรม์ประกันชีวิต ปริวรรตเงินตรา หุ้นนอกตลาด อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่ REITs นอกเหนือจากสินทรัพย์ทั่วไปอย่างหุ้นหรือตราสารหนี้ ทำให้กองทุน UI เป็นทางเลือกที่ดีในการต่อยอดความมั่งคั่งด้วยการกระจายการลงทุนไปสู่โอกาสใหม่ ๆ ที่หาไม่ได้จากการลงทุนทั่วไป

ทำความรู้จักสินทรัพย์ทางเลือกโดยละเอียดได้ที่
4 สินทรัพย์ทางเลือกมาแรง อยากแซงตลาดต้องรู้จัก

ทำไมกองทุน UI จึงน่าสนใจ

ข้อดีของการลงทุนในกองทุน UI  เพื่อเข้าถึงสินทรัพย์ทางเลือกชนิดต่าง ๆ คือ การได้ผลตอบแทนที่ดีภายใต้ความผันผวนที่ต่ำกว่า เนื่องจากสินทรัพย์หลายชนิดไม่ได้ถูกซื้อขายในตลาดจึงทำให้ราคาเคลื่อนไหวตามปัจจัยพื้นฐาน นอกจากนี้ แม้สินทรัพย์บางชนิดจะถูกซื้อขายในตลาด เช่น สกุลเงิน แต่ก็มีความสัมพันธ์กับสินทรัพย์พื้นฐานที่เป็นลบ (ราคาเคลื่อนไหวสวนทางกัน) จึงช่วยลดความเสี่ยงภาพรวมของพอร์ตการลงทุนได้ดีที่สุด

ข้อดีอีกอย่างของกองทุน UI คือ การช่วยกระจายความเสี่ยง หากลองดูตารางจะเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า สินทรัพย์ทางเลือกเป็นเครื่องมือที่ดีในการกระจายการลงทุนออกจากหุ้นและพันธบัตรเนื่องจากสินทรัพย์ทางเลือกมีความสัมพันธ์ หรือ Correlation กับสินทรัพย์พื้นฐานต่ำ ไปจนถึงเคลื่อนไหวสวนทาง อย่างที่ได้อธิบายถึงสกุลเงินไปแล้วข้างต้น 

ทั้งนี้ Correlation ระหว่างสินทรัพย์สองชนิดจะอยู่ระหว่าง -1 (ขึ้นลงสวนทาง), 0 (ไม่สัมพันธ์กัน) ไปจนถึง 1 (ขึ้นลงเหมือนกัน)

ตารางแสดงผลตอบแทนต่อปีย้อนหลังและ Correlation ต่อสินทรัพย์พื้นฐาน ของกองทุนตัวอย่างที่ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกแต่ละประเภท
Source: FINNOMENA as of 16/3/2023

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

*กองหลักตัวอย่างอาจหมายถึงกองทุนหลักในต่างประเทศหรือกองทุนอื่นที่บริหารจัดการด้วยผู้จัดการกองทุนรายเดียวกันด้วยกลยุทธ์ที่เหมือนหรือใกล้เคียงกับกองทุนหลักที่เข้าไปลงทุน แต่อาจมีผลการดำเนินการที่ยาวกว่าหรือ share class ต่างกัน โดยพยายามคัดสรรตัวอย่างจากทางเลือกที่ให้ track record ของผลตอบแทนในอดีตที่ยาวที่สุด ผลตอบแทนในสกุลเงินของกองทุนหลักตัวอย่าง และยังไม่รวมค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆของระดับกองทุนในไทย

ใครบ้างที่จะซื้อกองทุน UI ได้

กองทุน UI จะช่วยเปิดประสบการณ์การลงทุนเหนือระดับในสินทรัพย์ทางเลือก โดยจะเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะสำหรับนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth) เท่านั้น โดยในกรณีของบุคคลธรรมดา จะต้องเข้าเกณฑ์ ข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้ คือ

  1. รายได้ไม่น้อยกว่า 6 ล้านบาทต่อปี
  2. เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาท 
  3. เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท (ในกรณีที่รวมเงินฝาก)
  4. สินทรัพย์สุทธิไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท

และในกรณีของนิติบุคคล จะต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท หรือ มีเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท (บัญชีหลักทรัพย์) หรือ มีเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท (บัญชีหลักทรัพย์รวมบัญชีเงินฝาก)

นอกจากจะผ่านเกณฑ์เรื่องฐานะการเงินแล้ว ผู้ที่สนใจจะลงทุนในกองทุน UI จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้หรือประสบการณ์มากเพียงพอกับการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก โดยจะต้องเข้าเกณฑ์ ข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้ คือ

  1. มีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในช่วง 2 ปีล่าสุด อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
  2. มีประสบการณ์การทำงานด้านการบริหารการเงินและการลงทุน
  3. มีวุฒิการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ หรือ บริหารธุรกิจ (ในสาขาที่เกี่ยวข้อง)
  4. มีการถือครองหลักทรัพย์ประเภทเดียวกับหลักทรัพย์ที่จะลงทุน
  5. มี IC license หรือ IP license
  6. ได้รับวุฒิบัตรหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง ต่อไปนี้ ได้แก่ CFA, CISA, CAIA และ CFP

ซึ่งหากไม่เข้าตามเกณฑ์ข้อ 1-6 นี้ จะต้องผ่านการบรรยายและแบบทดสอบทุกกองทุนก่อนซื้อตามที่กำหนด จึงจะสามารถลงทุนในกองทุน UI ได้

ทั้งนี้ เนื่องจากกองทุน UI หลายกองทุนจะเป็นกองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือกที่มีความเสี่ยงระดับ 8+ (ความเสี่ยงสูงมากอย่างมีนัยสำคัญ) เนื่องจากมีการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกที่มีความเฉพาะเจาะจงที่ต้องอาศัยความเข้าใจในตัวสินทรัพย์จึงมีการกำหนดเกณฑ์ด้านฐานะการเงินไปจนถึงความรู้และประสบการณ์

มีเยอะขนาดนี้ ซื้อกองทุน UI กองไหนดี

ในปัจจุบัน มีกองทุน UI จากบลจ. ต่าง ๆ ในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 46 กองทุน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2023) โดยแต่ละกองก็มีนโยบายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายแตกต่างกันไปอย่างที่ได้เล่าถึงไปแล้วข้างต้น ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่สนใจสับสนเนื่องจากมีทางเลือกจำนวนมากและแต่ละทางก็ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจเนื่องจากไม่ได้เป็นสินทรัพย์กระแสหลักที่ถูกพูดถึงอย่างแพร่หลาย

FINNOMENA คือผู้เชี่ยวชาญในการคัดเลือกกองทุน UI ซึ่งปัจจุบันมีเสนอขายอย่างหลากหลายในตลาด และด้วยคำแนะนำจาก FINNOMENA Investment Team ที่คัดเลือกกองทุน UI มาให้เป็นพิเศษ คุณจะไม่พลาดทุกโอกาสการลงทุน เสมือนมีทีมผู้เชี่ยวชาญมาคอยดูแลอยู่ข้าง ๆ

ลงทุนกองทุน UI ผ่าน FINNOMENA ดีอย่างไร

  • เลือกสรรมาให้เน้น ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญ จาก FINNOMENA Investment Team
  • ครบทุกสินทรัพย์นอกกระแส ที่ FINNOMENA ที่เดียว
  • คัดคุณภาพอย่างเป็นกลาง จาก 46 กองทุน UI ในไทย

 

เปิดประสบการณ์ลงทุนใน Private Assets สำหรับ
Ultra-Accredited Investors (UIs)
เอกสิทธิ์แห่งการลงทุนที่หาไม่ได้ในสินทรัพย์ทั่วไป

ลงทะเบียนความสนใจ รับคำแนะนำบริการเฉพาะคุณได้ทันที เพียงกรอกข้อมูลให้ครบที่
https://www.finnomena.com/pick-ui-fund/

พิเศษ! ลงทุนกองทุน UI กับ FINNOMENA ตั้งแต่วันนี้ – 31 มีนาคม 2566 สามารถแลกรับส่วนลดค่าธรรมเนียม FINT Cashback สูงสุดถึง 20% 

โดย FINT Cashback จะคืนเงินในรูปแบบของหน่วยลงทุนของกองทุนรวม K-CASH ซึ่งเป็นกองทุนรวมตลาดเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ ขายวันนี้ก็สามารถรับเงินเข้าบัญชีวันพรุ่งนี้ได้เลย (T+1) โดยศึกษาข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่  https://www.kasikornasset.com/th/mutual-fund/fund-template/Pages/K-CASH.aspx

 

ศึกษารายละเอียดและแลก FINT Cashback ได้ที่
https://www.finnomena.com/fint/cashback


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

สรุปกองทุนผลตอบแทนดี และกองทุนยอดนิยมประจำสัปดาห์ (18 – 24 มี.ค. 66)

premiums
สรุปกองทุนผลตอบแทนดี และกองทุนยอดนิยมประจำสัปดาห์ (18 - 24 มี.ค. 66)

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 18 – 24 มี.ค. 2566 มีกองทุนไหนทำผลตอบแทนได้โดดเด่น และเป็นกองทุนยอดนิยมที่มีผู้ค้นหามากที่สุดบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน FINNOMENA บทความนี้จะขอพาผู้อ่านไปดูกันครับ

5 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดีประจำสัปดาห์ (18 – 24 มี.ค. 66)

สรุปกองทุนผลตอบแทนดี และกองทุนยอดนิยมประจำสัปดาห์ (18 - 24 มี.ค. 66)

(ข้อมูลจาก FINNOMENA Fund Filter ณ วันที่ 24 มี.ค. 2566)

1. ASP-DIGIBLOC – กองทุนเปิด แอสเซทพลัส ดิจิทัล บล็อกเชน

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +14.42%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +35.77%

ซื้อกองทุน ASP-DIGIBLOC คลิก

2. SCBBLOC(A) – กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Blockchain (ชนิดสะสมมูลค่า)

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +9.23%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +7.17%

ซื้อกองทุน SCBBLOC(A) คลิ

3. TNEXTGEN-A – กองทุนเปิด ทิสโก้ Next Generation Internet ชนิดผู้ลงทุนทั่วไป

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +8.50%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD):+32.52%

ซื้อกองทุน TNEXTGEN-A คลิก

ดูรายละเอียดกองทุนทั้ง 5 อันดับเพิ่มเติม: ASP-DIGIBLOC, SCBBLOC(A), TNEXTGEN-A, DAOL-CYBER, LHBLOCKCHAIN

หมายเหตุ: ข้อมูลหน่วยราคากองทุน อัปเดตล่าสุด เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2566 ข้อมูลผลตอบแทนบางกองทุนในหน้าจัดอันดับกองทุน อาจมีการแสดงผลตอบแทนที่แตกต่างจากแต่ละหน้ากองทุน เนื่องจากการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน (ซึ่งนับวันที่ในรอบสัปดาห์แตกต่างกัน)

ลงทุนกองไหนดี ? อ่านโพยกองทุน แนะนำกองทุนสำหรับลงทุนระยะยาว 3-5 ปี คลิกhttps://finno.me/cheat-sheet-update

10 อันดับกองทุนที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในรอบสัปดาห์บนแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ FINNOMENA (18 – 24 มี.ค. 66)

สรุปกองทุนผลตอบแทนดี และกองทุนยอดนิยมประจำสัปดาห์ (18 - 24 มี.ค. 66)

(ข้อมูลจาก FINNOMENA Fund Filter ณ วันที่ 24 มี.ค. 2566)

1. PRINCIPAL VNEQ-A : กองทุนเปิดพรินซิเพิล เวียดนาม อิควิตี้ ชนิดสะสมมูลค่า

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: -0.88%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): -2.52%

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุนเวียดนาม ครบจบในที่เดียว!

ซื้อกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A คลิก

2. ONE-UGG-RA : กองทุนเปิด วรรณ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ หน่วยลงทุนชนิดไม่จ่ายเงินปันผล สำหรับผู้ลงทุนทั่วไป

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +2.23%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +10.08%

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน ONE-UGG-RA : กองทุนหุ้นเติบโตทั่วโลก คว้าโอกาสแห่งอนาคต

ซื้อกองทุน ONE-UGG-RA คลิก

3. MEGA10-A : กองทุนเปิด MEGA 10 ชนิดสะสมมูลค่า

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +2.51%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +15.35%

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน MEGA10: โอกาสลงทุนใน 10 บริษัท ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก

ซื้อกองทุน MEGA10-A คลิก

ดูรายละเอียดกองทุนยอดนิยมเพิ่มเติม : PRINCIPAL VNEQ-A, ONE-UGG-RA, MEGA10-A, K-CASHTMBGQG, UGIS-N, K-CHINA-A(A), B-INNOTECH, K-VIETNAM, SCBS&P500

ลงทุนกองไหนดี ? อ่านโพยกองทุน แนะนำกองทุนสำหรับลงทุนระยะยาว 3-5 ปี คลิก: https://finno.me/cheat-sheet-update


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

รู้จัก Bulge Bracket ธนาคารยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลต่อระบบการเงินโลก

Park Kathawut
Bulge Bracket

ธุรกิจธนาคารถือว่ามีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยขับเคลื่อนระบบการเงินให้ก้าวไปข้างหน้า รวมทั้งยังเป็นตัวสะท้อนทิศทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ดังที่เราจะเห็นว่าในหลาย ๆ ครั้ง เมื่อธนาคารเกิดปัญหาหรือมีความเปราะบาง ก็มักจะส่งผลกระทบไปสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ จนลุกลามเป็นวงกว้าง บางครั้งก็บานปลายกลายเป็นวิกฤติการณ์ทางการเงินระดับโลกได้เลย

บทความนี้ จึงอยากจะพาทุกคนไปรู้จักกับกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ระดับโลกที่ถูกเรียกว่า “Bulge Bracket” ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบการเงินโลก ด้วยความแข็งแกร่ง ความเก่าแก่ และความน่าเชื่อถือ ที่สำคัญคือนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ ก็มักจะมีจุดเริ่มต้นมาจาก 1 ใน 9 ของธนาคารเหล่านี้ 

Bulge Bracket

ภาพจาก : BankingPrep

1. JPMorgan Chase

ผู้ให้บริการด้านการเงินการธนาคาร การลงทุน และการบริหารทรัพย์สิน ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งโดย John Pierpont Morgan ตั้งแต่ปี 1871 เดิมใช้ชื่อว่า Drexel, Morgan & Co ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น J.P. Morgan & Co. ในปี 1895 และล่าสุดกับชื่อ JPMorgan Chase ในปี 2000 หลังได้ควบรวมกิจการกับธนาคาร Chase Manhattan

2. Bank of America

เป็นอีกหนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ซึ่งมีรากฐานเดิมมาจากธนาคารแห่งอิตาลี (Bank of Italy) ที่ตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อนที่จะควบรวมกับธนาคารขนาดเล็กหลายแห่งในสหรัฐฯ จนเปลี่ยนชื่อเป็น Bank of America ในที่สุด ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างมาตรฐานการเงินใหม่ให้แก่ประเทศ

3. Citigroup

ธนาคารที่ก่อตั้งโดยกลุ่มพ่อค้าในนิวยอร์ก ตั้งแต่ปี 1812 ซึ่งผ่านร้อนผ่านหนาวมาร่วม 200 ปี ปัจจุบันให้บริการกับลูกค้ากว่า 160 ประเทศทั่วโลก

4. Barclays

สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในสหราชอาณาจักร ก่อตั้งขึ้นในเมืองลอนดอนมาตั้งแต่ปี 1690 และยังเป็นธนาคารแห่งแรกของโลกที่มีการติดตั้งตู้เอทีเอ็ม ในปี 1967 

5. Goldman Sachs

ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1862 ในนครนิวยอร์ก เป็นหนึ่งในกลุ่มธนาคารเพื่อการลงทุนและกลุ่มหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนใหม่ ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง

6. Deutsche Bank

สถาบันการเงินรายใหญ่ที่สุดของประเทศเยอรมนี ถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศเยอรมนีตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา

7. Morgan Stanley

ก่อตั้งโดย Henry Sturgis Morgan ซึ่งเป็นหลานชายของ John Pierpont Morgan ที่แยกตัวออกไปเปิด Morgan Stanley ในปี 1935 และได้เติบโตเป็นเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านการลงทุนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

8. UBS

UBS มาจากคำว่า Union Bank of Switzerland ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งดำเนินธุรกิจมากว่า 161 ปี และเป็นคู่แข่งที่ขับเคี่ยวกับ Credit Suisse มาโดยตลอด กระทั่งล่าสุดที่บริษัทได้ปิดดีลซื้อกิจการคู่แข่งได้สำเร็จ ปิดฉากการแข่งขันอย่างยาวนาน

9. Credit Suisse

เคยเป็นธนาคารอันดับ 2 ของสวิตเซอร์แลนด์ ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 167 ปี อย่างไรก็ดี ช่วงหลังประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง ตลอดจนเผชิญวิกฤตสภาพคล่องครั้งใหญ่ จนต้องได้รับความช่วยเหลือจากคู่แข่งรายสำคัญอย่าง UBS ด้วยการเข้ามาซื้อกิจการ Credit Suisse ที่มูลค่า 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อยุติวิกฤตธนาคารล้ม

Bulge Bracket

ทั้งนี้ หากเจาะลึกลงไปในรายละเอียด จะพบว่ารายได้หลักของแต่ละสถาบันทางเงินจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง  แต่โดยรวมแล้วจะมาจาก 3 ช่องทางหลัก ได้แก่ รายได้จาก Commercial และ Retail Banking ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าธรรมเนียม รายได้จาก Asset & Wealth Management คือค่าธรรมเนียมบริหารจัดการทรัพย์สินและเงินทุนของลูกค้า 

และสุดท้าย รายได้จาก Corporate & Investment Banking หรือวาณิชธนกิจ เป็นรายได้ที่เกิดจากการให้บริการลูกค้าในระดับองค์กร เช่น การนำหุ้นเข้า IPO, การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน, การควบรวมกิจการ (M&A) เป็นต้น ซึ่งงานส่วนนี้มักจะตกเป็นของกลุ่ม Bulge Bracket ด้วยความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากองค์กรต่าง ๆ


Reference

investopedia

bankingprep

MERGERS & INQUISITIONS

Marketwatch