Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC) ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลก รายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2025 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 11,100 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 370,000 ล้านบาท) เติบโตขึ้น 60% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ราว 10,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 33,000 ล้านบาท)
TSMC Income Statement | Source: App Economy Insights
แม้จะเผชิญกับความไม่แน่นอนจากนโยบายภาษีและมาตรการควบคุมการส่งออกเทคโนโลยีของสหรัฐฯ แต่ TSMC ยังคงรักษาเป้าหมายรายได้และงบลงทุนประจำปีไว้เช่นเดิม โดยตั้งเป้าว่ารายได้จากการผลิตชิปสำหรับงาน AI จะแตะระดับ “โตเท่าตัว” ภายในปีนี้
ด้าน C. C. Wei ซีอีโอของ TSMC กล่าวว่า “เรายังไม่เห็นสัญญาณว่าลูกค้าจะชะลอคำสั่งซื้อ แม้จะมีข่าวเรื่องมาตรการภาษีหรือการควบคุมการส่งออกชิปของสหรัฐฯ” ซึ่งสะท้อนว่าอุปสงค์ชิป AI ยังคงแข็งแกร่ง และลูกค้ารายใหญ่ทั้ง Apple, NVIDIA, AMD และ Qualcomm ยังคงเดินหน้าสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง
ในไตรมาสที่ผ่านมา รายได้จากตลาดจีนลดลงมาอยู่ที่ 7% ของยอดขายรวม จาก 9% ในปีก่อน ขณะที่รายได้จากอเมริกาเหนือกลับเพิ่มขึ้นเป็น 77% จาก 69%
การเปลี่ยนแปลงนี้สอดคล้องกับการออกมาตรการควบคุมการส่งออกของสหรัฐฯ แต่ TSMC ก็ปรับกลยุทธ์โดยการประกาศลงทุนในสหรัฐฯ มูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3.3 ล้านล้านบาท) เพิ่มเติมจาก 65,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2.1 ล้านล้านบาท) ที่ลงทุนในโครงการโรงงานรัฐแอริโซนา เพื่อกระจายฐานการผลิตและลดความเสี่ยงด้านซัพพลายเชน
ทางด้าน CFO อย่าง Wendell Huang เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทวางงบลงทุน (Capital Expenditures) ไว้ระหว่าง 38,000 – 42,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.2 – 1.4 ล้านล้านบาท) และคาดว่ารายได้ในไตรมาสที่ 2 จะอยู่ระหว่าง 28,400 – 29,200 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 946,000 – 972,000 ล้านบาท) เทียบกับ 20,820 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 693,000 ล้านบาท) ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
แม้ภาพรวมยอดขายจะสดใส แต่หุ้น TSMC กลับปรับลดลงกว่า 20% ตั้งแต่ต้นปี ท่ามกลางความกังวลเรื่องนโยบายภาษีของสหรัฐฯ การใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน AI ที่อาจชะลอตัว และการแข่งขันจากสตาร์ทอัพจีนอย่าง DeepSeek ที่เปิดตัวโมเดล AI ราคาถูกจนสร้างแรงกดดันต่อผู้เล่นหลัก
นอกจากนี้ ผู้ผลิตเครื่องจักรผลิตชิปรายใหญ่อย่าง ASML ก็เพิ่งเตือนว่าภาษีนำเข้าสหรัฐฯ เพิ่มแรงกดดันต่อภาพรวมแนวโน้มผลประกอบการในปี 2025 – 2026 แม้ยังยืนยันกรอบเป้ารายได้ทั้งปีไว้เช่นเดิม
Finnomena Funds แนะนำเข้าลงทุนตามการพิจารณา MEVT Call เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว มองตลาดปรับฐานแรง เป็นโอกาสช้อนหุ้น Quality Growth พื้นฐานดี ผ่านกองทุน B-INNOTECH ที่เน้นการทำ Stock Selection ทำให้ PE ต่ำกว่ากลุ่ม และผลตอบแทนชนะตลาดในระยะยาว
กองทุน B-INNOTECH เน้นลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลก โดยคัดเลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีการเติบโตของกำไรที่ดี และมี Valuation ไม่แพงเกินไป เช่น TSMC, Apple, Amazon, Alphabet และ Microsoft ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกเทขายจากความกังวลเรื่องภาษีนำเข้า
โดยปัจจุบันกองทุน B-INNOTECH มีสัดส่วน TSMC ในพอร์ตอยู่ที่ 6.70% (ข้อมูล ณ วันที่ 17/04/2025)
อ้างอิง: Reuters, Financial Times
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
สี จิ้นผิง เคยบอกเอาไว้ว่า การกลับมาของ โดนัลด์ ทรัมป์ เหมือนจีนกำลังเผชิญกับ แรดเทา ที่เป็นภัยคุกคายอยู่ตลอดเวลา หากชะล่าใจ ปล่อยปละละเลย สุดท้ายจะนำมาซึ่งปัญหาลุกลามใหญ่โต และมีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะเกิดสงครามการค้าครั้งใหญ่ที่เข้มข้นกว่าเดิม
วันนี้แรดเทาตัวนั้นกำลังตื่นมาคึกคะนองอีกครั้ง แถมดุดันมากขึ้นด้วยในยุค Trump 2.0 จากนโยบายอันแข็งกร้าวในการตั้งกำแพงภาษี Reciprocal Tariffs ที่มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการบดขยี้จีนให้แหลกเพียงชาติเดียว ล้มล้างระบบการค้าโลกที่มีจีนเป็นศูนย์กลาง
คำว่า ‘แรดเทา’ หรือ The Gray Rhino ถูกนำมาใช้เปรียบเปรยครั้งแรกโดย มิเชล วัคเกอร์ (Michele Wucker) นักวิเคราะห์ชาวอเมริกันผู้เขียนหนังสือ The Gray Rhino ในปี 2016 ซึ่งนิยามว่าแรดเทา คือ การเผชิญกับอันตรายตรงหน้าที่เราพอจะมองเห็นไกล ๆ แต่กลับนิ่งนอนใจกับความเสี่ยงนั้น จนสุดท้ายแรดตัวนั้นกลับวิ่งพุ่งเข้ามาทำร้ายเราอย่างรวดเร็ว กว่าจะไหวตัวทัน ก็ถูกพุ่งชนจนเจ็บเจียนตาย
ในกรณีของจีนกับสหรัฐอเมริกา สี จิ้นผิง หยิบยกคำว่า ‘แรดเทา’ หรือที่ออกเสียงในภาษาจีนว่า ‘ฮุยซีหนิว’ มากล่าวหลายครั้ง ซึ่งมักจะเปรียบเปรยคู่กับคำว่า Black Swan หรือ หงส์ดำ ที่เป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝัน แต่สร้างผลกระทบรุนแรง
สี จิ้นผิง มักย้ำเตือนถึงความเสี่ยงจากปัญหาแรดเทาที่เกิดจาก โดนัลด์ ทรัมป์ โดยพูดมาเสมอว่าจีนจะต้องพร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่มาได้ทุกเมื่อ เช่น ช่วงต้นปี 2018 ที่ทรัมป์เริ่มทำ Trade War กับจีนรอบแรก ผู้นำแดนมังกรกล่าวกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนว่า
เราต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกหลายอย่างที่คาดไม่ถึง มีปัจจัยภายนอกที่อ่อนไหวและซับซ้อน จงอย่าชะล่าใจ ต้องเร่งควบคุมความเสี่ยงอย่างเต็มที่ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี งานหนักของทุกคนคือเราจะต้องเฝ้าระวังอย่างสุดชีวิต เพื่อคอยจับตา ‘หงส์ดำ’ ภัยมืดที่มองไม่เห็น และมุ่งสกัด ‘แรดเทา’ ภัยคุกคามที่จ้องจะพุ่งชนได้ทุกเมื่อ
ในสมัยของ Trump 1.0 สี จิ้นผิง หยิบยกคำว่าแรดเทามาพูดอีกหลายครั้งในหลากวาระ เช่น การประชุมสภาประชาชนปี 2019 และการกล่าวสุนทรพจน์วันขึ้นปีใหม่ 2020 สะท้อนให้เห็นว่านี่เป็นภัยคุกคามใหญ่ที่จีนไม่เคยลืม
แรดเทาตัวนี้ดุดันมากขึ้นในยุค Trump 2.0 เริ่มต้นเปิดฉากด้วยนโยบายอันแข็งกร้าว และการตั้งทีมงานสายเหยี่ยวมารับตำแหน่งสำคัญในรัฐบาล นำโดย
และก็เป็นอย่างที่หลายคนคาด สงครามการค้าระอุเดือด เมื่ออเมริกาประกาศใช้ Reciprocal Tariffs เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2025 ประกาศก้องว่าเป็น Liberation Day วันปลดแอกของชาติ ด้วยการเก็บ Tariff 10% สำหรับทุกสินค้าที่นำเข้าสู่อเมริกา และเพิ่ม Tariff อีก 10-50% สำหรับ 60 ประเทศที่ทรัมป์เรียกว่าเป็นผู้ละเมิดทางการค้าที่สหรัฐฯ ขาดดุลมากที่สุด
สำหรับจีนโดน Tariff ในรอบแรกสูงถึง 34% ก่อนจะเกิดการตอบโต้ไปมารายวัน ทำให้อัตราภาษีล่าสุดที่สหรัฐเรียกเก็บจากจีนพุ่งขึ้นไปถึง 145% แล้ว แม้ว่าทรัมป์จะใจดีชะลอการขึ้นภาษี 90 วันให้ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก แต่ไม่ใช่กับจีน โดยให้เหตุผลว่าการกระทำของจีนที่ตอบโต้อเมริกา ถือเป็นการกระทำที่ไร้ซึ่งความเคารพ
เท่านี้ก็ชัดเจนแล้วว่าเป้าหมายอันแท้จริงของทรัมป์ คือการเตะตัดขาจีน ผ่านการล้มล้างระบบการค้าโลกที่ปัจจุบันมีจีนเป็นศูนย์กลางในฐานะโรงงานโลก
การเดินหมากที่พุ่งเป้าไปแค่จีน ไม่ใช่การต่อสู้ในทุกแนวรบกับชาติอื่น ๆ แถมยังมีท่าทีเป็นมิตรมากขึ้นกับรัสเซียด้วยซ้ำ คำถามคือมีอะไรในใจทรัมป์ ทำไมเขาจึงเลือกยุทธศาสตร์นี้ในการต่อสู้
บทวิเคราะห์จาก BBC โดยจอห์น ซัดเวิร์ธ ผู้สื่อข่าวอาวุโสประจำทวีปอเมริกาเหนือ แสดงทัศนะไว้ว่าสงครามการค้ารอบนี้เป็นการต่อสู้ในดินแดนที่คุ้นเคยของทรัมป์นั่นคือดวลเดี่ยวระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เพราะหากจำกันได้ วาทะกรรมเด็ดที่ส่งให้ทรัมป์คว้าชัยชนะประธานาธิบดีสมัยแรก ก็คือการป่าวประกาศต่อต้านจีน พูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าในเวทีหาเสียงว่า การที่จีนกำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจของอเมริกาถดถอย ส่งผลให้อุตสาหกรรมในประเทศทรุดตัวลง และทำให้ชนชั้นแรงงานของสหรัฐฯ ต้องสูญเสียรายได้และศักดิ์ศรี
สงครามการค้าครั้งนี้อาจมีความหมายมากกว่าตอบโต้ไปมาเพียงอย่างเดียว แต่สำหรับทรัมป์ นี่เป็นเรื่องที่ค้างคาจากในช่วงวาระแรกของดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ
เราไม่มีเวลามากพอที่จะทำสิ่งที่ถูกต้องในตอนนั้น แต่ตอนนี้เรากำลังเร่งทำมันอยู่
คำสัมภาษณ์ โดนัลด์ ทรัมป์ หลังเปิดศึกขึ้นภาษีปี 2025
ในอีกมุมมอง ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านจีนศึกษา เคยเขียนบทวิเคราะห์เรื่อง ทรัมป์ 2.0 และจีน ระบุว่าจีนเป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดของทรัมป์ เนื่องจากตอนนี้สหรัฐฯ ไม่ได้แข็งแกร่งพอจะเปิดศึกหลายแนวรบ โดยเฉพาะในสงครามที่ลากยาวมองไม่เห็นทางจบอย่างรัสเซีย-ยูเครน ดังนั้น สหรัฐฯ จึงต้องหันมาโฟกัสที่การจัดการจีน ซึ่งเป็นภัยคุกคามระยะยาวอันดับหนึ่ง
สุนทรพจน์ของทรัมป์ในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรครีพับลิกัน พูดไว้อย่างน่าสนใจว่า ตอนนี้จีนไปลงทุนตั้งโรงงานรถยนต์จำนวนมากในเม็กซิโก แต่ถ้าเขาเป็นประธานาธิบดี โรงงานเหล่านี้จะต้องมาตั้งในสหรัฐฯ เพื่อให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานมหาศาล แสดงให้เห็นว่าทรัมป์ไม่ได้ต้องการจะกีดกันการลงทุนจากจีน และไม่ได้มีความกังวลเรื่องความมั่นคงจากการมาตั้งฐานการผลิตขายรถยนต์จีนให้ผู้บริโภคชาวอเมริกัน ทว่าจุดประสงค์ของเขาคืออยากบีบให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ กลับมาลงทุนตั้งโรงงานในสหรัฐฯ เพื่อให้ประเทศกลับมาได้เปรียบในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอีกครั้ง
จะเห็นว่าทรัมป์มองทุกอย่างเป็นเรื่องของการเจรจา พร้อมที่จะตกลงแลกเปลี่ยนยื่นหมูยื่นแมว สงครามการค้าของทรัมป์จึงมีเป้าหมายเพื่อกดดันให้จีนมานั่งโต๊ะเจรจาและตกลงผลประโยชน์กับสหรัฐฯ ให้ทรัมป์เอาไปคุยโม้โอ้อวดได้ เหมือนตอนรัฐบาลทรัมป์ 1.0 ที่บรรลุข้อตกลงเฟส 1 กับจีน ซึ่งจีนสัญญาจะซื้อสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ จำนวนมหาศาล แต่บังเอิญเกิดโควิดขึ้นเสียก่อน
อย่างไรก็ดี แม้ภาพออกสื่อของทรัมป์จะชัดว่าเขาดุดันต่อจีน แต่ท้ายที่สุดแล้วของบทสรุปก็ยังคาดเดาได้ยาก เพราะทรัมป์เองไม่ได้มีจุดยืนเชิงอุดมการณ์ เขาสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามผลประโยชน์ที่มองว่าจะได้รับ ไม่แน่หากเจรจากันได้ เราอาจเห็น 2 มหาอำนาจของโลก จบด้วยการจับมือคืนดี
เหมือนพล็อตละครหลังข่าวที่แรกพบเกลียดเข้ากระดูก แต่สุดท้ายรักกัน Happy Ending…
คงต้องยอมรับว่า ในรอบนี้ โดนัลด์ ทรัมป์ต้องหยุดมาตรการ Reciprocal Tariff ไว้ 90 วัน เนื่องจากตลาดพันธบัตรสหรัฐใกล้จะพังเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บทความนี้ จะวิเคราะห์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดพันธบัตรสหรัฐ ซึ่งแม้แต่ทรัมป์เห็นแล้วต้องยอมยกธงขาวชะลอมาตรการ Tariff ชั่วคราวก่อน
โดยปกติแล้ว ตลาดพันธบัตรสหรัฐจะมีรูปแบบการใช้อนุพันธ์การเงินในการเทรดบอนด์ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดที่เรียกกันว่า Treasury basis trade
ซึ่ง Treasury basis trade จะมีกลไกเป็นอย่างไร เรามาตามดูกัน
โดยปกติแล้วตราสาร Treasury Futures จะเทรดด้วยค่า premium เมื่อเทียบกับพันธบัตรสหรัฐ ซึ่งจะนำส่งเพื่อให้เป็นไปตามสัญญาอนุพันธ์
โดยค่า premium ที่จ่ายไป เสมือนเป็นค่าความสะดวกสบายในการทำให้นักลงทุนสามารถเข้าหาแหล่งเงินกู้ หรือ leveraged exposure ที่จะลงทุนพันธบัตรสหรัฐให้ได้มูลค่าที่สูงขึ้น (ใช้เงินเอาไปวางไว้เริ่มต้น หรือ initial margin เพียงราว 5-10% ของมูลค่าพันธบัตรสหรัฐที่จะเข้าซื้อ) โดยในตลาดสหรัฐ Asset manager ส่วนใหญ่จะมี position สุทธิ แบบ long บน Treasury Futures
อย่างไรก็ดี ด้วยการจูงใจของ premium ดังกล่าว ได้เปิดโอกาสต่อ hedge fund ในการมี position แบบตรงข้าม ด้วยการขาย Treasury Futures และซื้อพันธบัตรสหรัฐเพื่อปิดความเสี่ยง เพื่อที่จะสามารถทำกำไรจากสเปรด 2-3 basis point (0.02-0.03%) ซึ่งปราศจากความเสี่ยง โดยปกติแล้ว ด้วยกำไรที่น้อยขนาดนี้ ไม่ได้เป็นสิ่งที่จูงใจ ทว่าเนื่องจากพันธบัตรสหรัฐมีสถานะปราศจากความเสี่ยง จึงสามารถนำไปใช้หลักประกันในการกู้เงินเพื่อมาลงทุนเพิ่มอีกหลายสิบเท่า
ยกตัวอย่าง หากคุณซื้อพันธบัตรสหรัฐ $10 ล้าน และขาย Treasury Futures ด้วยมูลค่าเท่ากัน คุณจะสามารถใช้พันธบัตรดังกล่าวเป็นหลักประกัน เพื่อหาเงินกู้ระยะสั้น $9.9 ล้าน ในตลาด Repo market ซึ่งคุณสามารถนำเงินดังกล่าวไปซื้อพันธบัตรสหรัฐอีก $9.9 ล้าน และขาย Treasury Futures ด้วยมูลค่าเท่ากัน
โดยปัจจุบัน ตลาด Futures Market ของตราสารพันธบัตรสหรัฐ มีขนาดไม่ต่ำกว่า $8 แสนล้าน
สำหรับในโลกแห่งความเป็นจริงในอุตสาหกรรมนี้ โดยปกติ สามารถกู้เพิ่มได้ 50 เท่า หรือ อาจสูงไปถึง 100 เท่าก็ได้ จากหลักประกันหรือพันธบัตรสหรัฐที่มีอยู่ในมือ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง คือ แค่มีเงิน $10 ล้าน สามารถซื้อพันธบัตรสหรัฐได้ถึง $1 พันล้าน จากการกู้เงินระยะสั้นในตลาด Repo
ปัญหาคือ ทั้งตลาด Treasury Futures และ Repo Market ต้องการมูลค่าหลักประกันที่สูงขึ้นมาก หากตลาดพันธบัตรมีความผันผวนสูง โดยหาก Hedge Fund ไม่สามารถนำหลักประกันใหม่มาเพิ่มเติมได้ ก็ต้องขายพันธบัตรสหรัฐที่วางไว้อยู่ทิ้งไป โดย ณ ขณะนี้ ตลาดพันธบัตรสหรัฐอาจจะยังไม่ได้ถึงจุดดังกล่าว ทว่าในเดือนมีนาคม 2020 ได้เคยเกิด doom loop ที่การขายพันธบัตรสหรัฐทำให้ความผันผวนของตลาดสูงขึ้นไปเรื่อยๆจนมีการขายพันธบัตรต่อไปเรื่อยๆ
ทว่าข่าวร้ายคือวิกฤตของตลาดพันธบัตรสหรัฐในรอบนี้ ที่ทำให้ทรัมป์ต้องหยุดการขึ้น reciprocal tariff ชั่วคราว 90 วัน คือ สิ่งที่เรียกว่า Swap Spread trade
โดย Swap Spread หมายถึง ส่วนต่างระหว่าง อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) ของตราสาร Interest Rate Swap กับ อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรสหรัฐ ณ อายุสัญญาเดียวกัน ทั้งนี้ ปกติแล้ว จะมีค่าติดลบ เนื่องจากหลังวิกฤตซับไพร์ม ได้มีการเพิ่มความเข้มข้นของกฎระเบียบทางการเงินของสถาบันการเงิน จึงทำให้ต้นทุนของอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรสหรัฐ สูงกว่า อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) ของตราสาร Interest Rate Swap ซึ่งมีกฎเกณฑ์กำกับที่อ่อนกว่ามาก
ทั้งนี้ ในโลกแห่งความเป็นจริงในอุตสาหกรรมนี้ โดยปกติ สามารถกู้เพิ่มได้ 50 เท่า หรือ อาจสูงไปถึง 100 เท่าก็ได้จากหลักประกันหรือพันธบัตรสหรัฐที่มีอยู่ในมือเช่นกัน
อย่างไรก็ดี เมื่อทรัมป์เข้ารับตำแหน่งผู้นำสหรัฐในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้มีการคาดการณ์ว่าจะมีการลดความเข้มข้นของกฎระเบียบทางการเงินของสถาบันการเงิน จึงทำให้มีการคาดหมายว่าระดับ Swap Spread จะมีค่าเป็นลบน้อยลง ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นในช่วงที่ทรัมป์ขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้นำในช่วงแรกต้นปีนี้ จึงทำให้ Hedge Fund หันมาเก็งกำไรถือครองพันธบัตรสหรัฐในปริมาณมากขึ้น เนื่องจากคาดว่าจะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำลงจากการลดความเข้มข้นของกฎระเบียบทางการเงินของสถาบันการเงินของทรัมป์
จนกระทั่งมาถึงนโยบาย tariff ของทรัมป์ ที่สร้างความผันผวนให้กับตลาดพันธบัตรสหรัฐเป็นอย่างมาก จนระดับ Swap Spread กลับไปมีค่าติดลบมากกว่าก่อนที่ทรัมป์จะขึ้นมาอีก จนทำให้เกิดการเรียก margin call ของหลักประกันพันธบัตรสหรัฐ จนระดับ Swap Spread มีค่าติดลบมากขึ้นไปเรื่อยๆ หรือที่เรียกกันว่า doom loop จนต้องมีการขายพันธบัตรสหรัฐในตลาดกันยกใหญ่ในช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาเพื่อการนี้ นอกจากนี้ บรรดาธนาคารกลางและบริษัทประกันของประเทศหลักของโลกก็พากันเทขายพันธบัตรสหรัฐเช่นกันจากความไม่แน่นอนของนโยบายของทรัมป์ที่มีอยู่สูงมาก
ข่าวร้ายคือ Treasury basis trade และ Swap Spread trade ยังคงยังไม่จบง่ายๆในวิกฤตรอบนี้ที่มาจากความไม่แน่นอนของนโยบาย ซึ่งจะคงมีอยู่ต่อไปจากการตัดสินใจในอนาคตของโดนัลด์ ทรัมป์
ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ, CFP
MacroView, macroviewblog.com
ในช่วงที่โลกยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ นักลงทุนอินเดียกำลังหันกลับมามอง “บ้านตัวเอง” อีกครั้ง แทนที่จะกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดโลกที่ยังคงผันผวน
ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ความผันผวนในตลาดการเงินโลกทวีความรุนแรงขึ้นจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ โดยเฉพาะเมื่อประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แสดงท่าทีดุดันและคาดเดาได้ยากผ่านนโยบายภาษี ทำให้นักลงทุนทั่วโลกรวมถึงในอินเดีย ต่างเริ่มมองหาตลาดที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้น้อยลง
จากการรายงานของ Reuters และ Bloomberg พบว่านักลงทุนในอินเดียเริ่มหันมาโฟกัสหุ้นในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่พึ่งพาปัจจัยภายใน เช่น หุ้นกลุ่มบริโภคพื้นฐาน และธนาคาร
ขณะเดียวกัน กองทุนรวมหุ้นภายในประเทศยังได้รับกระแสเงินลงทุนจากนักลงทุนรายย่อยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยเดือนละราว 3,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 100,000 ล้านบาท) แม้จะต่ำกว่าจุดสูงสุดเล็กน้อย แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงหลายปีก่อน สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น
ตลาดหุ้นอินเดียเองก็ยืนหยัดได้ดีท่ามกลางแรงกดดันจากภายนอก โดยดัชนี BSE Sensex และ Nifty 50 ปรับตัวค่อนข้างนิ่งในช่วงที่ตลาดหุ้นหลายประเทศในเอเชียเผชิญแรงขาย เช่น ฮ่องกงที่ดัชนีลดลงกว่า -10% และเวียดนามที่ร่วงเกิน -7% ในช่วงเวลาเดียวกัน สะท้อนว่านักลงทุนบางส่วนอาจมองว่าอินเดียเป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกน้อยกว่า
ด้านบริษัทวาณิชธนกิจอย่าง Jefferies ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันวิเคราะห์ตลาดชั้นนำจากสหรัฐฯ ได้ปรับมุมมองต่อหุ้นอินเดียขึ้นเป็น “Overweight” พร้อมชี้ว่าตลาดหุ้นอินเดียมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากสงครามภาษีน้อยกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศยังเติบโตต่อเนื่อง มีพื้นฐานแข็งแกร่ง และไม่พึ่งพาการค้ากับสหรัฐฯ หรือจีนในระดับที่สูง
อีกด้านหนึ่ง ค่าเงินรูปีอินเดียก็เคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพในช่วงที่ข่าวภาษีของสหรัฐฯ เริ่มสงบลง นักวิเคราะห์มองว่า เงินรูปีได้รับแรงหนุนจากปัจจัยภายใน เช่น คาดการณ์ฤดูฝนที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ย และระดับเงินเฟ้อในประเทศที่ลดลงแตะจุดต่ำสุดในรอบ 5 ปี
เมื่อรวมภาพทั้งหมดเข้าด้วยกัน เทรนด์ “กลับบ้าน” ของนักลงทุนอินเดียกำลังสะท้อนให้เห็นถึงการปรับมุมมองของนักลงทุนในอินเดีย ที่เริ่มให้น้ำหนักกับความมั่นคงและเสถียรภาพภายในประเทศมากขึ้น ในช่วงที่ความไม่แน่นอนจากนอกประเทศยังคงกดดัน
Finnomena Funds แนะนำเข้าลงทุนตามการพิจารณา MEVT Call เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว โดยเป็นจังหวะสะสมหุ้นอินเดีย ผ่านกองทุน B-BHARATA และ TISCOINA-A หนุนโดยโครงสร้างเศรษฐกิจ ประมาณการกำไรเริ่มมีเสถียรภาพ รวมถึงสัญญาณ Technical และ Fund Flow เริ่มเป็นบวก
อ้างอิง: Reuters, Yahoo Finance, MarketScreener
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
วันนี้ (16 เมษายน 2025) ดัชนี HSCEI (หุ้นจีน H-Share) ปรับตัวลงกว่า 3.1% หลังประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เพิ่มแรงกดดันต่อจีน โดยเรียกร้องให้ “จีนเป็นฝ่ายเริ่มต้นการเจรจา” เพื่อคลี่คลายความขัดแย้งด้านการค้า ท่ามกลางบรรยากาศความตึงเครียดที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากการตอบโต้กันด้วยมาตรการภาษี
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2025 รัฐบาลจีนได้ประกาศเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ จากเดิม 84% สู่ระดับ 125% ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2025 นอกจากนี้ทรัมป์ได้มีคำสั่งให้รัฐมนตรีพาณิชย์สหรัฐฯเปิดสอบสวนแร่ธาตุหายาก เพื่อตรวจสอบว่า การนำเข้าแร่ธาตุสำคัญจากต่างประเทศส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติหรือไม่ โดยอาจนำไปสู่การเก็บภาษีนำเข้าฉบับใหม่ถ้าหากพบว่ามีภัยคุกคามต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยจีนเป็นผู้จัดหากว่า 70% ของแร่หายากที่สหรัฐฯ นำเข้า และถูกระบุเป็นเป้าหมายหลักในนโยบายนี้ นอกจากนี้คำสั่งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ในขณะที่จีนตอบโต้ด้วยการจำกัดการส่งออกแร่หายากบางรายการ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานใน สหรัฐฯ ทั้งนี้การสอบสวนจะเสร็จสิ้นภายใน 270 วันและจะรายงานต่อทรัมป์ตามลำดับ
อย่างไรก็ดีสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานตัวเลข GDP ขยายตัว 5.4% YoY ใน 1Q2025 ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 5.2% ขณะที่ตัวเลขอื่น ๆ ทั้งยอดค้าปลีก (Retail Sales)เพิ่มขึ้นจาก 4.0 YoY ในเดือนกุมภาพันธ์สู่ระดับ 5.9% YoY ในเดือนมีนาคม ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ที่ 4.2% และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Investment) เพิ่มขึ้นจาก 4.1% YoY ในเดือนมกราคมสู่ระดับ 4.2% ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ที่ 4.1% รวมทั้งดัชชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เพิ่มขึ้นแรงจาก 5.9% YoY ในเดือนกุมภาพันธ์ สู่ระดับ 7.7% YoY ในเดือนมีนาคม ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 5.9%
Finnomena Funds มองว่าการประกาศเลื่อนการขึ้นภาษี 90 วัน เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2025 เป็นไปในทิศทางที่เราคาดไว้ในรายงานฉบับก่อนว่า การขึ้นภาษีของทรัมป์มีเป้าหมายเพื่อการ “เจรจา (make deal)” มากกว่าการจะต้องการเก็บภาษีในระดับสูงสุดตามที่เคยประกาศไว้ในวันที่ 2 เมษายน เราเริ่มเห็นแรงต้านจากสังคมในสาธารณะต่อนโยบายการค้าของทรัมป์ ทั้งจากคะแนนนิยมของทรัมป์ที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง จนไปถึงความขัดแย้งที่เริ่มเกิดขึ้นภายในระหว่างผู้สนับสนุนและทีมงานของทรัมป์เอง
อย่างไรก็ตามแม้สหรัฐฯ กับจีนยังคงระดับภาษีตอบโต้ในระดับสูง ซึ่งไม่ยั่งยืนและจะสร้างอันตรายทางเศรษฐกิจกับทุกฝ่าย เราเชื่อว่าสุดท้ายแล้วทั้งสองฝ่ายจะนำไปสู่การเจรจา เช่นเดียวกับทิศทางที่มีการเลื่อนการขึ้นภาษีกับประเทศอื่น ๆ
เราจึงปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยงได้ หลังจากที่เราแนะนำ Wait and See เพื่อเตรียมลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2025
จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
แม้ว่าโรงเรียนจะสอนความรู้หลายด้าน แต่เรื่องการเงินที่สำคัญในชีวิตประจำวันมักถูกมองข้าม ทำให้หลายคนต้องเรียนรู้เองในภายหลัง ควบคู่ไปกับการเผชิญความท้าทายในการใช้ชีวิตจริง การขาดความรู้ทางการเงินอาจนำไปสู่ปัญหา และการได้รับการสอนตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจเป็นวิธีสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี จะมีเรื่องอะไรบ้าง ไปดูกันครับ
สอนให้รู้จักการจดบันทึกรายรับรายจ่าย วางแผนการเงินรายเดือน และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมใช้เงินเกินตัว จะช่วยสร้างพื้นฐานการเงินที่มั่นคงในระยะยาว
เมื่อเริ่มทำงาน เงินเดือนแรกคือโอกาสสำคัญในการสร้างนิสัยทางการเงิน การแบ่งเงินเป็นสัดส่วนสำหรับใช้จ่าย ออม และลงทุนตั้งแต่แรกเริ่มช่วยป้องกันการใช้เงินเกินตัว
การตั้งเป้าหมายการออม เช่น การซื้อบ้าน ท่องเที่ยว หรือเกษียณ ช่วยให้มีแรงจูงใจและแผนการเงินที่ชัดเจน
เรียนรู้พื้นฐานการลงทุน เช่น หุ้น กองทุนรวม รวมถึงความเสี่ยงและผลตอบแทน เพื่อให้เงินเติบโต มากกว่าการฝากเงินไว้เฉย ๆ
แยกแยะระหว่าง “หนี้ดี” และ “หนี้เสีย” ได้ และพร้อมเรียนรู้วิธีบริหารหนี้ เช่น ชำระหนี้ให้ตรงเวลา และหลีกเลี่ยงการสะสมหนี้
การปลูกฝั่งเรื่องของดอกเบี้ยทบต้น ที่สามารถทำให้เงินออมเติบโตได้อย่างมหาศาล
เข้าใจเรื่องระบบภาษีและสิทธิประโยชน์ เช่น การลดหย่อนภาษีผ่านกองทุน หรือประกันชีวิต จะช่วยให้คุณประหยัดเงินได้มากขึ้น รวมถึงสอนขั้นตอนยื่นภาษีด้วย
สอนให้ไม่ควนมองข้ามเรื่องการทำประกันสุขภาพ/ชีวิต เพราะมันช่วยลดความเสียหายทางการเงินเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
เรียนรู้วิธีป้องกันการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ เช่น แชร์ลูกโซ่ หรือการลงทุนที่ดูดีเกินจริง รวมถึงวิธีตรวจสอบแหล่งลงทุนเพื่อป้องกันการโดนหลอก
แม้การเกษียณจะดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่การเริ่มออมและลงทุนเพื่อเตรียมเงินเกษียณตั้งแต่เริ่มทำงานจะช่วยให้คุณมีชีวิตที่สบายและมั่นคงในอนาคต
FinSpace
ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/finspace.co/posts/pfbid0JPQPTB4XaxL9Bj2GcHVsqa63GsjoJ6CoVY88HZ9tjJKmeokkXmSHarVDx1zZwmmml
รวบรวมความคิดเห็นของบุคคลระดับโลกต่อเหตุการณ์ขึ้นภาษีสงครามการค้า Trump Tariffs ปี 2025 แต่ละคนมีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไรบ้าง สรุปมาให้แล้ว
นโยบายของเราจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง อดทนไว้ มันไม่ง่าย ผลลัพธ์สุดท้ายคือประวัติศาสตร์ ทำให้อเมริกากลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง !!!
– Donald Trump –
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
ยังไม่เจอเหตุผลว่าการขึ้นภาษีการค้า จะทำให้เศรษฐกิจถึงขั้น Recession ได้
– Scott Bessent –
รัฐมนตรีคลังสหรัฐอเมริกา
โลกธุรกิจคือเกมแห่งความเชื่อมั่น แต่ทรัมป์กำลังสูญเสียความไว้ใจจากผู้นำธุรกิจทั่วโลก มาตรการภาษีที่รุนแรงและไม่สมดุล กำลังพาเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ฤดูหนาว
– Bill Ackman –
ผู้จัดการกองทุน Hedge Fund ชื่อดัง
ต้องรีบแก้ปัญหานโยบายภาษีโดยเร็ว การแตกแยกของพันธมิตรทางเศรษฐกิจ อาจนำอเมริกาไปสู่หายนะ
– Jamie Dimon –
CEO แห่ง JPMorgan Chase
นี่เป็นโอกาสเข้าซื้อ มากกว่าที่จะเทขาย แม้ความผันผวนยังมีในตลาด แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็น Systemic Risk
– Larry Fink –
CEO แห่ง BlackRock
ประเด็นที่ใหญ่กว่า Tariffs คือการล่มสลายของระเบียบโลก ซึ่งเป็น The Big Cycle สู่การเปลี่ยนผ่าน ประเทศมหาอำนาจในแต่ละยุค
– Ray Dalio –
ผู้ก่อตั้ง Bridgewater Associates
Tariff จะทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในระยะสั้น และอาจส่งผลกระทบยืดเยื้อในระยะยาว
– Jerome Powell –
ประธาน Fed
ทองคำสินทรัพย์ที่ดูเหมือนเป็นอมตะในโลกการลงทุน ปลอดภัยในยามวิกฤต และเป็นแหล่งเก็บมูลค่ามานานนับพันปี ว่ากันว่าถ้านึกอะไรไม่ออกให้ซื้อทองเก็บไว้ก่อน เพราะยังไงระยะยาวก็ขึ้นแน่นอน
แต่จริง ๆ แล้ว ทองคำที่เราเรียกว่า “safe haven” หรือ “สินทรัพย์ปลอดภัย” ก็เคยมีช่วงที่ซบเซา ไม่ทำกำไรนานนับ 10 ปีมาแล้วเช่นกัน
บทความนี้จะพาทุกคนย้อนไปดูประวัติศาตร์ทองคำ ตั้งแต่ยุคเริ่มต้น ช่วงเวลาแห่งการตื่นทอง เข้าสู่ทศวรรษที่หายไปของทองคำ จนกระทั่งมาถึงปัจจุบันในปี 2025 นี้ ที่ราคาทองโลกกำลังเดินหน้าสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำ All-Time Hight เกิน 20 ครั้งไปแล้ว
ติดตามราคาทองคำแบบ Real-Time ทั้งทองไทยและทองโลก บนเว็บไซต์ Finnomena ได้แล้ววันนี้ คลิกเลย https://finno.me/gold-web
มนุษย์รู้จักทองคำมาตั้งแต่สมัยก่อนคริสต์กาล โดยช่วงแรกเราใช้ทองคำในฐานะเป็นเครื่องประดับเพื่อบ่งบอกฐานะความร่ำรวย ก่อนที่ในเวลาต่อมาทองคำจะถูกนำมาสร้างเป็นเหรียญโลหะสำหรับใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นช่วงปี 1800 ที่สหราชอาณาจักรได้เริ่มผูกค่าของเงินปอนด์สเตอร์ลิงไว้กับปริมาณทองคำ เกิดเป็นระบบมาตรฐานทองคำ Gold Standard ที่เงินตราทั่วโลกผูกติดกับทองคำ ทำให้ทองคำเลยกลายเป็น backbone ของระบบการเงินมานับตั้งแต่วันนั้น
เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่เหมืองทองคำถูกค้นพบจำนวนมากทั้งในสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้ ซึ่งนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของยุคตื่นทองอย่างแท้จริง
Gold Standard ยกระดับทองคำจากที่เคยเป็นสิ่งบ่งบอกฐานะความร่ำรวยของผู้คน กลายมาเป็นตัวชี้วัดความมั่งคั่งของประเทศชาติ ยุครุ่งเรืองนี้ลากยาวมาเกือบศตวรรษ แม้ในปี 1971 ‘ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกซัน’ จะประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ ถือเป็นจุดสิ้นสุด ของ Gold Standard
ทว่าราคาทองคำก็ยังคงพีคไปอีกเป็น 10 ปี จากวิกฤตน้ำมัน บวกกับเกิดการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ในประเทศอิหร่าน และสหภาพโซเวียตประกาศบุกอัฟกานิสถาน ในปี 1979 ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงไปทั่วโลก ผู้คนย้ายเงินไปไว้ในทองคำอย่างมโหฬาร จนดูเหมือนว่าทองคำจะขึ้นตลอดไป ไม่มีอะไรจะหยุดพี่เขาได้
ระหว่างช่วงปี 1969-1980 ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้น 1,500% ในระยะเวลา 122 เดือน
แต่หลังจากความรุ่งเรืองครั้งนั้น ทองคำกลับเข้าสู่ยุคมืดครั้งแรกที่ยาวนานเกือบ 20 ปี ซึ่งหลายคนอาจจะลืมเลือนไปแล้ว ว่าแม้แต่สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ ก็มีวันที่เงียบเหงาได้เหมือนกัน
ช่วงปี 1980-2000 คือ Lost Decade ครั้งแรกของทองคำ จากจุดพีคที่ 2,000 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ ตกลงมาเหลือไม่ถึง 500 ดอลลาร์ มูลค่าหายไปกว่า 70% ในระยะเวลา 20 ปี
การซึมยาวของทองคำตอนเกิดขึ้นในยุคของประธาน Fed ‘Paul Volcker’ ซึ่งทำในสิ่งที่ท้าทาย ดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด เพื่อหยุดเงินเฟ้อจากวิกฤตราคาน้ำมันดิบ ด้วยการใช้ยาแรงขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปสูงถึง 20% แต่นั่นทำให้เศรษฐกิจสหรัฐกลับมามีเสถียรภาพยิ่งขึ้น และเป็นยุคที่คนหันไป Bull ตลาดหุ้น สวนทางกับทองคำที่เป็น Sideway ตลอดทาง
ประกอบกับตอนนั้นโลกค้นพบแหล่งทองคำใหม่ ๆ ในทวีปอเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย ราคาทองคำจึงเริ่มตกลงมาเรื่อย ๆ
เคราะห์ซ้ำกรรมซัดในช่วงปลายยุค 90 ดันเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง รุกลามทั่วเอเชีย IMF ต้องการใช้เงินจำนวนมากเพื่อไปแก้ปัญหาหนี้สินของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จึงเทขายทองคำออกมาจำนวนมาก และมีธนาคารกลางของหลายประเทศทยอยขายทองคำตาม เช่น สวิตเซอร์แลนด์ขายออกมา 1,400 ตัน อังกฤษ ขาย 400 ตัน ทำให้เวลานั้นราคาทองคำด่ำดิ่งสุด ๆ
เดือนสิงหาคม 1999 ราคาทองลงมาเหลือ 250 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ ต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี
ขาขึ้นสั้น ๆ ของทองคำกลับมาอีกครั้งในปี 2001 จากเหตุการณ์ 9/11 ในสหรัฐอเมริกา และจากนั้นในปี 2004 ก็มีการก่อตั้ง SPDR Gold Trust กองทุนทองที่ใหญ่ที่สุดในโลก
จนมาถึงปี 2011 ราคาทองคำในตลาดโลกก็ทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุดแตะ 1,900 ดอลลาร์ เนื่องจากการเกิดวิกฤตหนี้ยุโรป โดยเฉพาะกรีซที่เกือบล้มละลาย นักลงทุนกลัวว่าเงินยูโรจะพัง บวกกับ Fed อัดฉีดเงินผ่านการทำ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็ยิ่งทำให้ความต้องการทองคำพุ่งขึ้น และกลายเป็นหลุมหลบภัยจากความเสี่ยงของระบบการเงินและความกลัวเงินเฟ้อที่อาจตามมาจากการพิมพ์เงินจำนวนมหาศาล
แต่แล้วในปี 2013 ทุกอย่างพลิกผัน Fed ส่งสัญญาณว่าจะลดการอัดฉีดเงินเข้าระบบ นักลงทุนแตกตื่น เทขายทองคำกันยกใหญ่ ตลอดทั้งปี 2013 ราคาทองคำโลกติดลบ 28% หนักสุดในประวัติศาสตร์ พูดว่าเป็นฟองสบู่แตกของทองคำก็คงไม่ผิดนัก
ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เริ่มฟื้นตัวชัดเจน นักลงทุนเห็นทิศทางดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น สิ่งนี้ยิ่งลดความน่าสนใจของทองคำลงไปอีก บวกกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่ยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในช่วงนั้น ทำให้เราจะเห็นว่าเมื่อมองยาว ๆ
ตั้งแต่ปี 2013-2019 ราคาทองคำไม่ได้ไปไหนไกลเลย แกว่งตัวอยู่แถว ๆ 1,200-1,600 ดอลลาร์ ถือเป็นอีกหน้าหนาวที่ยาวนานของคนถือทองคำ
และแล้วในปี 2020 วัฏจักรขาขึ้นรอบใหม่ของทองคำก็กลับมาอีกครั้ง เมื่อโลกรู้จักกับ COVID ส่งผลให้ตลาดการเงินปั่นป่วน นักลงทุนตื่นตระหนกเทขายสินทรัพย์เสี่ยง และหันมาถือสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ
กลางปี 2020 ราคาทองคำพุ่งทะยานอย่างรวดเร็วทะลุ 2,000 ดอลลาร์ ก่อนจะย่อลงตอนปลายปี 2022 และคืนฟอร์มพุ่งเป็นจรวดอีกครั้งจนมาถึงวันนี้ที่เกิน 3,000 ดอลลาร์ไปแล้ว ส่วนราคาทองคำแท่งในไทยขึ้นสู่ 50,000 บาทแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
สุดท้ายนี้ จะเห็นว่าทองคำมีวัฏจักรของมัน ขึ้นบ้าง ลงบ้าง ซึมบ้าง สลับกันไป และไม่ใช่สินทรัพย์ที่เป็นอมตะแบบที่หลาย ๆ คนคิด ประวัติศาสต์ที่ผ่านมาบอกเราว่าทองคำมีทั้งยุคตื่นทองและยุคมืด
หากบังเอิญเข้าซื้อผิดจังหวะเวลา ก็อาจเจอกับช่วงปรับฐานยาวนานร่วม 10 ปีเหมือนกัน ใช่ว่าซื้อแล้วถือยาวจะกำไรเสมอไป
*ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย กองทุนรวมที่เสนอขายผู้ลงทุนสถานบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
จากบทความ สรุปคำแนะนำลงทุน: สหรัฐฯ เก็บภาษีตอบโต้ ครั้งประวัติศาสตร์! และ อัปเดตคำแนะนำลงทุน: โลกปั่นป่วนด้วยภาษีตอบโต้ของ ‘ทรัมป์’ ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศลดอัตราภาษีนำเข้า (Reciprocal Tariff) ทั้งหมดลงเหลือ 10% และเลื่อนการขึ้นภาษีออกไปอีก 90 วัน (ยกเว้นแคนาดา, เม็กซิโก และจีน) โดย
Finnomena Funds ประเมินว่า การประกาศลดภาษีนำเข้าและเลื่อนมาตรการภาษีบางส่วนออกไปอีก 90 วันโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือทางการเมืองและการเจรจาต่อรอง มากกว่าการมุ่งเก็บรายได้ภาษีอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันเราเริ่มเห็นแรงต้านนโยบายของทรัมป์จากคะแนนนิยมที่เริ่มถดถอย และความเห็นภายในพรรคที่เริ่มแตกต่างมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การ Rollback ภาษีบางส่วน หากสามารถบรรลุข้อตกลงกับบางประเทศได้ในอนาคต หรือเปลี่ยนไปใช้มาตรการภาษีที่มีลักษณะเจาะจงมากขึ้น แทนการใช้มาตรการแบบครอบคลุมในวงกว้าง
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 03/03/2025
จากแรงขายในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ค่า PE Valuation ของหลายตลาดอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย โดยเฉพาะในกลุ่มตลาดหุ้นหลักทั่วโลก ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสนับสนุนสำหรับนักลงทุนที่มีมุมมองระยะกลางถึงยาว
ด้วยปัจจัยดังกล่าว Finnomena Funds จึงปรับคำแนะนำเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากช่วงก่อนหน้านี้แนะนำให้ “Wait and See” เพื่อเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
จัดทำโดยบลป. เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
จากบทความ สรุปคำแนะนำลงทุน: สหรัฐฯ เก็บภาษีตอบโต้ ครั้งประวัติศาสตร์! และ อัปเดตคำแนะนำลงทุน: โลกปั่นป่วนด้วยภาษีตอบโต้ของ ‘ทรัมป์’ ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศลดอัตราภาษีนำเข้า (Reciprocal Tariff) ทั้งหมดลงเหลือ 10% และเลื่อนการขึ้นภาษีออกไปอีก 90 วัน (ยกเว้นแคนาดา, เม็กซิโก และจีน) โดย
Finnomena Funds ประเมินว่า การประกาศลดภาษีนำเข้าและเลื่อนมาตรการภาษีบางส่วนออกไปอีก 90 วันโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือทางการเมืองและการเจรจาต่อรอง มากกว่าการมุ่งเก็บรายได้ภาษีอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันเราเริ่มเห็นแรงต้านนโยบายของทรัมป์จากคะแนนนิยมที่เริ่มถดถอย และความเห็นภายในพรรคที่เริ่มแตกต่างมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การ Rollback ภาษีบางส่วน หากสามารถบรรลุข้อตกลงกับบางประเทศได้ในอนาคต หรือเปลี่ยนไปใช้มาตรการภาษีที่มีลักษณะเจาะจงมากขึ้น แทนการใช้มาตรการแบบครอบคลุมในวงกว้าง
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 03/03/2025
จากแรงขายในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ค่า PE Valuation ของหลายตลาดอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย โดยเฉพาะในกลุ่มตลาดหุ้นหลักทั่วโลก ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสนับสนุนสำหรับนักลงทุนที่มีมุมมองระยะกลางถึงยาว
ด้วยปัจจัยดังกล่าว Finnomena Funds จึงปรับคำแนะนำเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากช่วงก่อนหน้านี้แนะนำให้ “Wait and See” เพื่อเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
Source: kasikornasset.com as of 11/04/2025
Source: aberdeeninvestments.com as of 11/04/2025
Source: am.kkpfg.com as of 11/04/2025
จัดทำโดยบลป. เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
เมื่อคืนวันที่ 11 เมษายน 2025 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P500) และ ดัชนี NASDAQ 100 ปรับตัวลงแรงกว่า -3.46% และ -4.19% ตามลำดับ หลังจากเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2025 ตลาดหุ้นสหรัฐฯได้ปรับตัวขึ้นแรงกว่า ขึ้นแรงกว่า 9.51% และ 12.02% ตามลำดับ การปรับตัวลงในวันนี้ส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสาน โดยตลาดหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX) ปรับตัวลง -3.73% และตลาดหุ้นเกาหลี (KOSPI) -0.85% ด้านตลาดหุ้นเวียดนาม (VN Index) ปรับตัวขึ้น +2.39% และดัชนี HSCEI หรือ หุ้นจีน H-Shares +1.01%
ความผันผวนในตลาดวันนี้เกิดขึ้นหลังจาก โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศ “ลด” อัตราภาษีนำเข้าลงมาอยู่ที่ระดับ 10% และ “เลื่อน” กำหนดการขึ้นภาษีตามที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ออกไปเป็นระยะเวลา 90 วัน โดยมาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ ยกเว้นแคนาดา เม็กซิโก และจีน โดยคงอัตราภาษีนำเข้าสำหรับแคนาดาและเม็กซิโกไว้ที่ 25% และเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าจากจีนขึ้นเป็น 145%
การประกาศเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าจากจีน เป็นผลต่อเนื่องมาจากการตอบโต้ด้านภาษีของจีน โดยหลังจากที่ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้า และสกอตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ออกมาให้สัมภาษณ์ว่านานาประเทศไม่ควรตอบโต้มาตรการดังกล่าว แต่รัฐบาลจีนกลับประกาศขึ้นอัตราภาษีตอบโต้กับสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอีก 50% จาก 34% สู่ระดับ 84% ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.เป็นต้นไป
ในยุโรป ได้มีการระงับแผนการเก็บภาษีตอบโต้ต่อสหรัฐฯ เป็นเวลา 90 วัน ในขณะที่ประเทศในเอเชียอื่น ๆ เริ่มเข้าสู่กระบวนการเจรจาทางการค้า โดยล่าสุด เวียดนามได้มีการหารือร่วมกับนายสก็อตต์ เบสเซนต์ เพื่อหาแนวทางความร่วมมือด้านการค้าเพิ่มเติม ขณะที่เกาหลีกำลังพิจารณานำเข้า LNG พร้อมส่งทีมเจรจาไปยังสหรัฐฯ ในขณะที่จีนก็มีการตอบโต้ในรูปแบบอื่น โดยล่าสุดได้ประกาศจำกัดจำนวนภาพยนตร์จากสหรัฐฯ ที่อนุญาตให้เข้าฉายในประเทศ
Finnomena Funds มองว่าการประกาศเลื่อนการขึ้นภาษี 90 วัน เป็นไปในทิศทางที่เราคาดไว้ในรายงานฉบับก่อนว่า การขึ้นภาษีของทรัมป์มีเป้าหมายเพื่อการ “เจรจา (make deal)” มากกว่าการจะต้องการเก็บภาษีในระดับสูงสุดตามที่เคยประกาศไว้ในวันที่ 2 เมษายน เราเริ่มเห็นแรงต้านจากสังคมในสาธารณะต่อนโยบายการค้าของทรัมป์ ทั้งจากคะแนนนิยมของทรัมป์ที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง จนไปถึงความขัดแย้งที่เริ่มเกิดขึ้นภายในระหว่างผู้สนับสนุนและทีมงานของทรัมป์เอง
อย่างไรก็ตามแม้สหรัฐฯ กับจีนยังคงระดับภาษีตอบโต้ในระดับสูง ซึ่งไม่ยั่งยืนและจะสร้างอันตรายทางเศรษฐกิจกับทุกฝ่าย เราเชื่อว่าสุดท้ายแล้วทั้งสองฝ่ายจะนำไปสู่การเจรจา เช่นเดียวกับทิศทางที่มีการเลื่อนการขึ้นภาษีกับประเทศอื่น ๆ
เราจึงปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยงได้ หลังจากที่เราแนะนำ Wait and See เพื่อเตรียมลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2025
จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
บอกเล่าประสบการณ์การมีผู้แนะนำการลงทุนจาก Finnomena Funds โดย คุณณัฏฐ์วรรณ สิริวรรณสถาพร
ก่อนใช้บริการผู้แนะนำการลงทุนจาก Finnomena Funds คุณณัฏฐ์วรรณเล่าว่า ตอนนั้นลงทุนอย่างไม่ค่อยมีความรู้ ความเข้าใจในสถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตที่เศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การลงทุนที่ผ่านมามีความผันผวนสูง พอร์ตขาดทุนมาโดยตลอด
“รู้สึกสับสน กังวล ไม่รู้ข่าวสารเชิงลึก ทั้งทางเทคนิคและแนวโน้มของกองทุนที่ลงทุนไปว่าจะไปทิศทางใดในอนาคต นอกจากนี้เวลาเกิดวิกฤตก็ไม่กล้าตัดสินใจจะ cut loss กองทุนที่ขาดทุน จึงขาดทุนมากขึ้นเรื่อย ๆ และไม่กล้าซื้อถัวเฉลี่ยเพื่อให้กองทุนที่ลงทุนไปกลับมาเท่าทุนหรือมีกำไรในภาวะที่ตลาดขาขึ้น”
คุณณัฏฐ์วรรณประทับใจในบริการผู้แนะนำการลงทุนจาก Finnomena Funds ตรงที่ผู้แนะนำการลงทุนมีความรู้และความเข้าใจในกองทุน เข้าใจภาวะเศรษฐกิจไทยและต่างประเทศเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ คุณณัฏฐ์วรรณก็สามารถติดต่อ สอบถามการลงทุนจากผู้แนะนำการลงทุนได้ตลอดเวลา ทำให้มีความเชื่อมั่นและความสบายใจในการลงทุน
สำหรับเคสที่คุณณัฏฐ์วรรณประทับใจ คือตอนที่ได้รับคำแนะนำให้กระจายความเสี่ยง โดยจัดพอร์ตกองทุนต่าง ๆ ทั่วโลกให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมในพอร์ตการลงทุน เช่น แนะนำสับเปลี่ยนกองทุนหุ้นจีนที่ตลาดขาขึ้นช่วงหนึ่งเพื่อลดสัดส่วนหุ้นจีนที่มากเกินไป ไปเข้ากองทุนอเมริกาที่ตลาดกำลังเป็นขาขึ้น
ผู้แนะนำการลงทุนยังได้แนะนำคุณณัฏฐ์วรรณให้ลงทุนใน GURUPORT ซึ่งช่วยให้การลงทุนเป็นเรื่องสะดวกและมีระบบมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่รับได้ในระยะยาว
“พอมีผู้แนะนำการลงทุนจาก Finnomena Funds ก็รู้สึกมั่นใจและสบายใจในการลงทุนมากขึ้น มีเวลาไปทำอย่างอื่น ไม่ต้องคอยกังวลเรื่องพอร์ต เพราะถ้ามีการปรับ ผู้แนะนำจะแจ้งให้ทราบทุกครั้ง คอยเตือนเวลาลืม
ชีวิตง่ายขึ้น เวลาจะลงทุนเพิ่มก็จะสอบถามผู้แนะนำการลงทุนถึงสถานการณ์ปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร กองทุนไหนน่าสนใจ แล้วค่อยไปศึกษาเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจต่อไป”
สัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ กับการมีผู้แนะนำการลงทุนจาก Finnomena Funds คอยอยู่เคียงข้าง ดูรายละเอียดและลงชื่อรับบริการได้ที่ https://www.finnomena.com/wealth-connect/
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน l สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00 -17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @Finnomenaport
แม้ว่าดัชนี SET Index จะปรับลดลงต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา แต่หุ้นในกลุ่ม SETHD (SET High Dividend) ยังคงโดดเด่นกว่าตลาดโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 31/03/2025
โดยหุ้นในกลุ่ม SETHD มีประมาณการกำไรที่แข็งแกร่งกว่าอย่างชัดเจน ด้วย EPS ปัจจุบันที่สูงถึง 121.7 บาท เทียบกับตลาดโดยรวมที่มี EPS เพียง 95.1 บาท
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 31/03/2025
ไม่เพียงแค่กำไรปัจจุบันเท่านั้น แนวโน้มในอนาคตของ SETHD ยังดูสดใสกว่า เห็นได้จากประมาณการ EPS ในปีหน้าที่คาดว่าจะเติบโตถึง 127.3 บาท ในขณะที่ค่า P/E ของกลุ่มนี้ยังอยู่ในระดับน่าสนใจที่ 9.1 เท่า ซึ่งต่ำกว่าตลาดโดยรวมที่ 12.1 เท่า สะท้อนว่านักลงทุนสามารถซื้อหุ้นใน SETHD ได้ในราคาที่สมเหตุสมผลกว่า
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 31/03/2025
จุดเด่นสำคัญของ SETHD ที่ไม่อาจมองข้ามคือผลตอบแทนเงินปันผลที่สูงถึง 5.9% เทียบกับตลาดโดยรวมที่ให้ผลตอบแทนเพียง 4.4% ซึ่งในสภาวะที่ตลาดยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน การลงทุนในหุ้นที่มีเงินปันผลสูงอย่างกลุ่ม SETHD จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการสร้างกระแสรายได้ที่สม่ำเสมอ พร้อมรับโอกาสการเติบโตในอนาคต
*หมายเหตุ ราคาและสัดส่วนทางการเงิน ณ วันที่ 8 เมษายน 2025
บริษัทเดินเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (เรือคอนเทนเนอร์)
P/E 4.86 เท่า P/BV 0.33 เท่า ราคาปัจจุบัน 21.20 บาท
พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะคอนโดและบ้านแนวราบ (แสนสิริ)
P/E 4.86 เท่า P/BV 0.51 เท่า ราคาปัจจุบัน 1.39 บาท
พัฒนาโครงการบ้านจัดสรรและคอนโด (ศุภาลัย)
P/E 5.02 เท่า P/BV 0.58 เท่า ราคาปัจจุบัน 15.90 บาท
ขนส่งน้ำมันทางเรือ และบริการเรือสนับสนุนในอุตสาหกรรมพลังงาน
P/E 6.33 เท่า P/BV 1.15 เท่า ราคาปัจจุบัน 5.40 บาท
บริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในเครือ ปตท.
P/E 5.92 เท่า P/BV 0.88 เท่า ราคาปัจจุบัน 97.50 บาท
ธนาคารและบริการทางการเงิน เน้นสินเชื่อเช่าซื้อ
P/E 11.31 เท่า P/BV 1.81 เท่า ราคาปัจจุบัน 96.25 บาท
พัฒนาอสังหาฯ บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม คอนโด
P/E 5.38 เท่า P/BV 0.62 เท่า ราคาปัจจุบัน 7.30 บาท
กลั่นน้ำมัน และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี (ไทยออยล์)
P/E 5.27 เท่า P/BV 0.32 เท่า ราคาปัจจุบัน 21.50 บาท
พัฒนาโครงการอสังหาฯ และถือหุ้นในโรงแรม-ศูนย์การค้า (แลนด์แอนด์เฮ้าส์)
P/E 9.26 เท่า P/BV 0.99 เท่า ราคาปัจจุบัน 4.18 บาท
ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (กสิกรไทย)
P/E 8.12 เท่า P/BV 0.69 เท่า ราคาปัจจุบัน 149.50 บาท
ธนาคารและธุรกิจตลาดทุน (เกียรตินาคินภัทร)
P/E 9.30 เท่า P/BV 0.73 เท่า ราคาปัจจุบัน 52.00 บาท
ถ่านหิน พลังงานไฟฟ้า และก๊าซธรรมชาติ
P/E – P/BV 0.37 เท่า ราคาปัจจุบัน 4.30 บาท
พัฒนาโครงการบ้าน คอนโด และลงทุนใน LH, HMPRO (ควอลิตี้เฮ้าส์)
P/E 7.95 เท่า P/BV 0.57 เท่า ราคาปัจจุบัน 1.45 บาท
ธนาคารรัฐวิสาหกิจ (กรุงไทย)
P/E 7.68 เท่า P/BV 0.77 เท่า ราคาปัจจุบัน 21.20 บาท
ธุรกิจน้ำมัน ก๊าซ พลังงาน และเคมีภัณฑ์ (ปตท.)
P/E 4.86 เท่า P/BV 0.33 เท่า ราคาปัจจุบัน 30.50 บาท
บริษัทแม่ของธนาคารธนชาตเดิม (ทุนธนชาต)
P/E 10.32 เท่า P/BV 0.81 เท่า ราคาปัจจุบัน 49.00 บาท
ธุรกิจโรงไฟฟ้าในและต่างประเทศ (ราช กรุ๊ป)
P/E 12.10 เท่า P/BV 0.58 เท่า ราคาปัจจุบัน 24.20 บาท
ผลิตและจำหน่ายยางมะตอย
P/E 15.89 เท่า P/BV 1.44 เท่า ราคาปัจจุบัน 14.20 บาท
พัฒนาเขตอุตสาหกรรม-คลังสินค้า-โลจิสติกส์
P/E 10.14 เท่า P/BV 1.62 เท่า ราคาปัจจุบัน 2.46 บาท
ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (ธนาคารกรุงเทพ)
P/E 5.91 เท่า P/BV 0.48 เท่า ราคาปัจจุบัน 134.50 บาท
บริหารหนี้ด้อยคุณภาพ (บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์)
P/E 12.40 เท่า P/BV 0.45 เท่า ราคาปัจจุบัน 5.90 บาท
ธนาคาร TMB Thanachart หลังควบรวม
P/E 8.77 เท่า P/BV 0.79 เท่า ราคาปัจจุบัน 1.87 บาท
ผลิตและจัดจำหน่ายยาและอาหารเสริม (Mega We Care)
P/E 12.88 เท่า P/BV 2.67 เท่า ราคาปัจจุบัน 28.25 บาท
ร้านขายวัสดุก่อสร้างและของใช้ในบ้าน (HomePro)
P/E 17.14 เท่า P/BV 4.12 เท่า ราคาปัจจุบัน 8.60 บาท
บริหารหนี้และติดตามหนี้ (JMT Network)
P/E 11.53 เท่า P/BV 0.72 เท่า ราคาปัจจุบัน 11.90 บาท
จำหน่ายสินค้าไอทีและมือถือ (Banana, BaNANA Outlet)
P/E 13.45 เท่า P/BV 5.03 เท่า ราคาปัจจุบัน 17.80 บาท
พลังงานทดแทน เช่น โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์-ลม (ในเครือ บมจ.บางจาก)
P/E 10.74 เท่า P/BV 0.64 เท่า ราคาปัจจุบัน 6.10 บาท
ผู้ให้บริการมือถือ AIS
P/E 23.34 เท่า P/BV 8.32 เท่า ราคาปัจจุบัน 270.00 บาท
กลั่นน้ำมันและธุรกิจพลังงาน (บางจากฯ)
P/E 77.08 เท่า P/BV 0.86 เท่า ราคาปัจจุบัน 36.25 บาท
โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
P/E 4.86 เท่า P/BV 0.33 เท่า ราคาปัจจุบัน 42.25 บาท
รายการหุ้นในกลุ่ม SETHD ที่นำเสนอนี้ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจในการวางกลยุทธ์การลงทุนในระยะยาว อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรพิจารณารวมถึงศึกษาปัจจัยพื้นฐานและแนวโน้มตลาดอย่างละเอียด เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความท้าทาย และเปิดโอกาสในการสร้างผลตอบแทนในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
Definit SET Select พลิกกลยุทธ์ลงทุนหุ้นไทย ช่วยคัดเลือกหุ้นไทยเน้น ๆ ไม่เกิน 20 ตัว พิจารณา 3 ปัจจัย
Earnings หุ้นที่ถูกปรับประมาณการกำไรขึ้น
Valuation หุ้นที่มูลค่าถูกกว่าอุตสาหกรรม
Technical หุ้นที่มีโมเมนตัมเชิงบวกของราคาในระยะสั้น
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | การลงทุนอาจมีการกระจุกตัวสูงทั้งในรายหุ้นและรายอุตสาหกรรม
ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ดี บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด (บริษัท) ไม่สามารถยืนยันหรือรับรองความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ บทวิเคราะห์ในเอกสารนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงหลักเกณฑ์ทางวิชาการเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์ และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ การตัดสินใจซื้อหรือขาย หลักทรัพย์ใดใดของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลมาจากวิจารณญาณของผู้อ่าน โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใด ๆ กับ บริษัท
ช่วงที่ผ่านมา โลกการลงทุนเผชิญแรงสั่นสะเทือนจากความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้าของสหรัฐฯ เมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าแบบสูงลิ่ว เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2025 ทำให้ตลาดหุ้นหลายแห่งทั่วโลกปรับตัวลงแรง
แต่เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2025 ทรัมป์ตัดสินใจ “กลับลำ” ลดและเลื่อนการเก็บภาษีออกไปอีก 90 วัน ยกเว้นจีน ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวทันที และอาจกลายเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุน
ตลาดหุ้นเวียดนาม (VN30) ประสบกับการปรับฐานที่รุนแรงถึง -15% หลังจากเหตุการณ์วันที่ 2 เมษายนที่สร้างความกังวลเกี่ยวกับการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ ทำให้เกิดแรงกดดันต่อหุ้นเวียดนามที่ได้รับผลกระทบสูงจากนโยบายนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อความกังวลเริ่มคลี่คลายในช่วงวันที่ 9 เมษายน 2025 ตลาดหุ้นเวียดนามก็เริ่มฟื้นตัว โดยมีการปรับตัวขึ้นถึง 6.9% ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการตอบสนองในเชิงบวกต่อข่าวดีจากสหรัฐฯ
ในขณะที่ Valuation ของตลาดหุ้นเวียดนามในตอนนี้ถือว่าถูกมาก ๆ ด้วยระดับ 12-M Forward P/E อยู่ที่ 7.3 เท่า ซึ่งถือว่าอยู่ที่ระดับประมาณ -2 S.D. ในรอบ 10 ปี ซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ราคาหุ้นในปัจจุบันอาจต่ำกว่าความเป็นจริงและอาจมีโอกาสในการเติบโตในอนาคต
ในอีกด้าน หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีทั่วโลกก็เคลื่อนไหวอย่างผันผวนในช่วงที่ผ่านมา แม้จะไม่ใช่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาษีนำเข้า แต่ก็ถูกกดดันจากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย (Recession Fear) และแรงขายในตลาดพันธบัตร
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นเทคโนโลยียังไม่ได้เปลี่ยนแปลง และยังคงเป็นธีมการเติบโตที่สำคัญของโลกในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาว่า Nasdaq 100 ยังคงซื้อขายที่ Forward P/E ประมาณ 23.2 เท่า ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย 10 ปีที่ผ่านมา
ท่าที “กลับลำ” ของโดนัลด์ ทรัมป์เรื่องการเก็บภาษีนำเข้า อาจไม่ใช่แค่ความพยายามบรรเทาความตึงเครียดระยะสั้น แต่สะท้อนแนวโน้มของ “การเจรจา” มากกว่า “การเผชิญหน้า” ในการจัดการนโยบายการค้า ซึ่งส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกเริ่มตอบสนองในเชิงบวกมากขึ้น
แม้จะยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าความผันผวนจะสิ้นสุดลง แต่การเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐฯ อาจช่วยเปิดโอกาสให้บางสินทรัพย์เริ่มฟื้นตัว นักลงทุนจึงอาจใช้ช่วงเวลานี้ทบทวนโอกาสในสินทรัพย์ที่ราคาย่อแรงเกินพื้นฐาน โดยไม่ลืมประเมินความเสี่ยงอย่างรอบด้าน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนอย่างมากในเดือนมีนาคม โดยฟื้นตัวได้ช่วงสั้นๆ กลางเดือนหลังการประชุม Fed ที่คงอัตราดอกเบี้ยและยืนยันคาดการณ์การลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ ก่อนจะกลับมาปรับตัวลงแรงในช่วงที่เหลือของเดือน ปิดท้ายเดือนด้วยผลตอบแทนติดลบ (MSCI WORLD -4.64%) ปัจจัยกดดันหลักมาจากความกังวลที่ทวีความรุนแรงขึ้นเกี่ยวกับสงครามการค้าภายใต้การนำของ ปธน. ทรัมป์ ซึ่งประกาศใช้และขู่จะใช้มาตรการภาษีศุลกากรเพิ่มเติมหลายรายการ ทั้งกับยานยนต์, อินเดีย, และประเทศที่ซื้อน้ำมันจากเวเนซุเอลา ส่งผลให้ความคาดหวังเงินเฟ้อของผู้บริโภคสหรัฐฯ พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 32 ปี ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงตามตลาดโลก ส่วนตลาดหุ้นจีนเผชิญความผันผวนจากทั้งความหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและแรงกดดันจากสงครามการค้า ในทางกลับกัน ตลาดหุ้นอินเดียได้รับความสนใจมากขึ้นจากข่าวความคืบหน้าในการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ
หุ้นจีนในกลุ่มเทคโนโลยียังคงได้รับความสนใจจากกระแส AI ที่ต่อเนื่องมาจากต้นปี แม้จะมีความผันผวนเพิ่มขึ้น การประชุมใหญ่ NPC ในช่วงต้นเดือนมีนาคม รัฐบาลจีนได้ตั้งเป้าหมายการเติบโต GDP ไว้ที่ 5% พร้อมส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการขาดดุลงบประมาณที่สูงขึ้นและการออกพันธบัตรพิเศษ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจเดือนกุมภาพันธ์ที่ออกมายังคงอ่อนแอ โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาด สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ยังเปราะบางและแรงกดดันจากภาวะเงินฝืด นอกจากนี้ ความตึงเครียดทางการค้ากับสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ด้วยเหตุนี้ แม้เราจะยังคงมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นจีนกลุ่ม H-share จากน้ำหนักหุ้นเทคโนโลยีและบทบาทในดัชนี EM แต่แนะนำให้นักลงทุนใช้ความระมัดระวัง ทยอยสะสมผ่านกลุ่มหุ้นเอเชียโดยรวม หรือพิจารณาหุ้นเอเชียแบบ Low Volatility เพื่อกระจายความเสี่ยงจากสงครามการค้าที่อาจรุนแรงกว่าคาด
สงครามการค้าและสงครามรัสเซีย-ยูเครน ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่สร้างความผันผวนในตลาดการลงทุน ในเดือนมีนาคม ปธน. ทรัมป์ยังคงเดินหน้ากดดันทางการค้าอย่างหนัก โดยประกาศขึ้นภาษีนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วน 25%, เตรียมเก็บภาษีตอบโต้อินเดีย, และเก็บภาษีประเทศที่ซื้อน้ำมันจากเวเนซุเอลา ซึ่งน่าสังเกตว่ามาตรการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อบริษัทสหรัฐฯ เองด้วย (เช่น ผู้ผลิตรถยนต์ที่มีฐานในเม็กซิโก หรือผู้นำเข้าน้ำมันเวเนซุเอลา) ทำให้อาจเป็นกลยุทธ์เพื่อกดดันคู่ค้าก่อนเส้นตายการเจรจาภาษีศุลกากรในเดือนเมษายน ขณะเดียวกัน การเจรจาสันติภาพรัสเซีย-ยูเครนมีความคืบหน้า โดยมีการตกลงหยุดยิงเหนือน่านน้ำทะเลดำภายใต้การไกล่เกลี่ยของสหรัฐฯ ที่ซาอุดีอาระเบีย แต่ผลลัพธ์สุดท้ายยังคงคาดเดาได้ยาก เรายังเชื่อว่าทรัมป์ต้องการให้สงครามยุติโดยเร็วเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง แต่ท่าทีที่ไม่แน่นอนและความขัดแย้งที่ฝังลึกอาจทำให้การเจรจาไม่ราบรื่นนัก ด้วยความไม่แน่นอนที่สูงในระยะสั้น เรายังแนะนำเพิ่มสัดส่วนสินทรัพย์ปลอดภัยที่มักทำผลงานได้ดีในช่วงตลาดกังวล ได้แก่ ทองคำ, หุ้นกลุ่มการแพทย์ และตราสารหนี้ที่มีกลยุทธ์ลดความผันผวน
แนวโน้มดอกเบี้ยทั่วโลกยังคงแตกต่างกัน ในการประชุมเดือนมีนาคม Fed ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยและยังคงส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ แม้จะปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อขึ้นเล็กน้อยก็ตาม อย่างไรก็ตาม การทวีความรุนแรงของสงครามการค้าทำให้ตลาดและผู้บริโภคกังวลเรื่องเงินเฟ้อมากขึ้น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield) มีความผันผวนสูง ขณะที่ธนาคารกลางอื่นๆ เช่น ECB และ BoJ ต่างแสดงความกังวลต่อผลกระทบจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ และดำเนินนโยบายการเงินด้วยความระมัดระวังมากขึ้น (ECB ชะลอการลดดอกเบี้ย, BoJ กังวลเงินเฟ้อในประเทศ) เมื่อรวมกับสมมติฐานของเราที่ว่าสงครามการค้าอาจไม่ยืดเยื้อจนกระทบเงินเฟ้อสหรัฐฯ รุนแรงในระยะยาว เราจึงยังมองเห็นโอกาสในตลาดหุ้นภูมิภาคอื่นนอกเหนือจากสหรัฐฯ และแนะนำให้นักลงทุนใช้จังหวะย่อตัวเพื่อกระจายการลงทุน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตราสารหนี้โลก โดยเฉพาะที่กระจุกตัวในสหรัฐฯ ยังคงเผชิญความผันผวนของ Yield จากความกังวลเงินเฟ้อ เราจึงแนะนำกองทุนที่มีกลยุทธ์ Absolute Return เช่น ES-ALPHABONDS เพื่อช่วยลดความผันผวนของพอร์ตลงทุน
ภาพรวมการลงทุนประจำเดือนเมษายน 2025 คาดว่าตลาดหุ้นโลกจะยังคงเผชิญกับความผันผวนในระดับสูงต่อไป โดยเฉพาะจากความไม่แน่นอนของสงครามการค้าที่ ปธน. ทรัมป์ ที่ประกาศใช้มาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้เพิ่มเติม รวมถึงการเจรจาสันติภาพรัสเซีย-ยูเครนที่ยังดำเนินอยู่ เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นสหรัฐฯ ในระยะกลางถึงยาว ภายใต้สมมติฐานว่าท้ายที่สุดทรัมป์จะดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยไม่ทำให้เงินเฟ้อเร่งตัวรุนแรงจนควบคุมไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอน แนะนำกระจายการลงทุนไปยังกลุ่ม Defensive เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน เช่น ES-HEALTHCARE , ES-GINFRA ขณะที่ในฝั่งของตราสารหนี้ยังเป็นสินทรัพย์ที่ช่วยกระจายการลงทุนเช่นกัน อย่างไรก็ตามหลัง bond yield ปรับตัวลงมาค่อนข้างเร็ว เราจึงแนะนำกองทุนที่มีกลยุทธ์ยืดหยุ่นและมี Credit Rating สูงอย่าง ES-GINCOME และ ES-ALPHABONDS รวมถึงแนะนำกระจายการลงทุนในทองคำที่อาจได้รับประโยชน์จากความผันผวนที่เกิดขึ้นอย่าง ES-GOLD
ที่มา: บลจ.อีสท์สปริง วันที่ 8 เม.ย. 2025
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ Finnomena สำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน
โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน Finnomena Port และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notificationในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก
1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น 2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT |
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนการลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
อัปเดตคำแนะนำการลงทุนจาก Finnomena Funds (10 เมษายน 2025) ปรับโหมดเข้าลงทุนหลังทรัมป์เลื่อนการขึ้นภาษีทั้งโลกยกเว้นจีน
ตลาดหุ้นเวียดนาม (VN30) ปรับฐานรุนแรง -15% หลังเหตุการณ์วันที่ 2 เมษายน 2025 จนถึงวันที่ 9 เมษายน 2025 เนื่องเวียดนามเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบสูงหากสหรัฐฯ มีการเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้า โดยจากความกังวลที่เริ่มคลี่คลาย ทำให้ในวันนี้ (10 เมษายน 2025) ตลาดหุ้นเวียดนามฟื้นตัว 6.9% ขณะที่ระดับ Valuation ของตลาดหุ้นถูกมากๆ อยู่ที่ 12-m forward P/E 7.3 เท่า หรือที่ระดับประมาณ -2 S.D. ในรอบ 10 ปี
เรามองว่าที่ผ่านมาตลาดหุ้นเวียดนามตอบรับเชิงลบมาก และความตึงเครียดที่เริ่มผ่อนคลายลง จึงเป็นโอกาส “เข้าลงทุน” ในหุ้นเวียดนามผ่านกองทุน PRINCIPAL VNEQ–A และกองทุน KKP VGF-UI*
กองทุน PRINCIPAL VNEQ–A เป็นกองทุนความเสี่ยงสูง (ระดับ 6) มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือมีธุรกิจหลัก ในประเทศเวียดนามที่เชื่อว่ามีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต รวมทั้งตราสารทุนอื่นใดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องและ/หรือที่ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ/หรือกองทุนรวม โดยปัจจุบันกองทุน PRINCIPAL VNEQ–A ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
กองทุน KKP VGF-UI* เป็นกองทุนความเสี่ยงสูงมากอย่างมีนัยสำคัญ (ระดับ 8+) โดยกองทุนหลักจดทะเบียนในประเทศเวียดนามและมีการบริหารแบบ Active Management ซึ่งสามารถลงทุนในหุ้นรายตัวโดยไม่มีข้อจำกัด Foreign Ownership Limit ทีมบริหารกองทุนเป็นคนเวียดนามช่วยทลายข้อจำกัดด้านภาษาทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มากขึ้น โดยปัจจุบันกองทุน KKP VGF-UI* ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
*กองทุนนี้เป็นกองทุนที่เสนอขายให้ผู้ลงทุนประเภทผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra-Accredited Investor) ตามคำนิยามของสำนักงาน ก.ล.ต. จึงไม่ถูกจำกัดกรอบนโยบายการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป ดังนั้น กองทุนนี้จึงอาจมีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนมากกว่ากองทุนที่เสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไป และเหมาะกับผู้ลงทุนที่ยอมรับผลขาดทุนและความเสี่ยงระดับสูงได้เท่านั้น ทั้งนี้กองทุนหลักมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นในประเทศเวียดนาม โดยในกรณีสถานการณ์เชิงลบอย่างมากที่สุดที่อาจเกิดขึ้น (worst case scenario) กองทุนนี้อาจสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมดที่ลงทุนในกองทุนหลักที่เน้นลงทุนในหุ้นในประเทศเวียดนามดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลกระทบทางลบต่อการลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนนี้ โดยผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนนี้อาจสูญเสียเงินลงทุนทั้งจำนวนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนลงทุนในกองทุนนี้ ทั้งนี้ผู้ลงทุนควรพิจารณาความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องจากการลงทุนในกองทุนนี้อย่างละเอียดและขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้แนะนำการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
หลังจากการประกาศขึ้นภาษีนำเข้าในวันที่ 2 เมษายน 2025 หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ เมื่อมองผ่านดัชนี Nasdaq 100, หุ้นเทคโนโลยีจีน, และหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ทั่วโลก เช่น TSMC, Samsung, ASML ต่างปรับตัวลงแรงในช่วงวันที่ 3-4 เมษายน อย่างไรก็ดี หุ้นกลุ่มนี้สามารถปรับตัวขึ้นได้แรงในคืนวันที่ 9 เมษายน 2025 หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศลดและเลื่อนการเก็บภาษีนำเข้า
เรามองว่าปัจจัยพื้นฐานของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยียังไม่ได้เปลี่ยนแปลง หุ้นเหล่านี้ยังมีการเติบโตของกำไรตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และเมื่อดูระดับ valuation หลังจากการปรับฐานในช่วงก่อนหน้านี้ ดัชนี Nasdaq 100 ในปัจจุบันมีค่า Forward P/E อยู่ที่ 23.2 เท่า อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่แพงเกินไป
จึงมีคำแนะนำ “ทยอยสะสม” กองทุน B-INNOTECH ซึ่งเป็นกองทุน F-Pick ในหมวดกองทุนหุ้นเทคโนโลยี โดยกองทุนดังกล่าวลงทุนในกองทุนหลัก Fidelity Funds – Global Technology Fund ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลก เน้นลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีการเติบโตของกำไรที่ดี และมี valuation ที่ไม่แพงเกินไป
กลยุทธ์การเลือกหุ้นดังกล่าวทำให้กองทุนมีความผันผวนที่ต่ำ ผลตอบแทนของกองทุนเมื่อวัดตั้งแต่ต้นปี (YTD) ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นมีความผันผวน กองทุนทำผลตอบแทนได้ -4.2% ในขณะที่ดัชนีชี้วัดทำผลตอบแทนได้ -11.6% และดัชนีหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ อย่าง Nasdaq 100 ทำผลตอบแทนได้ -8.8% ผลตอบแทนแสดงถึงความสามารถในการรับมือกับสภาวะตลาดผันผวนได้เป็นอย่างดี
กองทุนมีสัดส่วนลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลก นำโดย TSMC ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปที่มีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมากที่สุดแห่งหนึ่ง รวมถึงหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ขนาดใหญ่อย่าง Apple, Amazon, Alphabet และ Microsoft ซึ่งหุ้นกลุ่มนี้ถูกแรงเทขายในช่วงก่อนหน้านี้จากความกังวลเรื่องผลกระทบของภาษีนำเข้าต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท อย่างไรก็ดี หลังจากที่มีการประกาศลดและเลื่อนภาษีนำเข้า หุ้นกลุ่มนี้ก็กลับมาทำผลตอบแทนเป็นบวกได้อีกครั้ง
คำเตือน: เอกสารฉบับนี้จัดทําขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จํากัด และ/หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด ข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ จัดทําโดยอาศัยข้อมูลที่จัดหามาจากแหล่งที่เชื่อหรือควรเชื่อว่ามีความน่าเชื่อถือและ/หรือถูกต้อง อย่างไรก็ตามบริษัทไม่ยืนยัน และไม่รับรองถึงความครบถ้วนสมบูรณ์หรือถูกต้องของข้อมูลดังกล่าว และไม่ได้ประกันราคาหรือผลตอบแทนของหน่วยลงทุนที่ปรากฏข้างต้น แม้ว่าข้อมูลดังกล่าวจะปรากฏข้อความที่อาจเป็น หรืออาจตีความว่าเป็นเช่นนั้นได้ บริษัทจึงไม่รับผิดชอบต่อการนําเอาข้อมูล ข้อความ ความเห็น และหรือบทสรุปที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ไปใช้ไม่ว่ากรณีใดๆ บริษัทรวมทั้งบริษัทที่เกี่ยวข้อง ลูกค้า ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทต่าง ๆ อาจจะทําการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ที่ปรากฎในเอกสารฉบับนี้ได้ทุกเวลา ข้อมูล และความเห็นที่ปรากฎอยู่ในเอกสารฉบับนี้ มิได้ประสงค์จะชี้ชวน เสนอแนะ หรือจูงใจให้ตัดสินใจลงทุน หรือซื้อ หรือขายหน่วยลงทุนที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ และข้อมูลอาจมีการแก้ไขเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ผู้ลงทุนควรใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบในการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อหรือขายหลักทรัพย์ บริษัทสงวนลิขสิทธิ์ในข้อมูลที่ปรากฎในเอกสารนี้ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ ทําซ้ำ ดัดแปลง นําออกแสดง ทําให้ปรากฏหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ซึ่งข้อมูลในเอกสารนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากบริษัท เป็นการล่วงหน้า การกล่าวคัด หรืออ้างอิงข้อมูลบางส่วนตามสมควรในเอกสารนี้ ไม่ว่าในบทความ บทวิเคราะห์ บทวิจัย หรือในเอกสาร หรือการสื่อสารอื่นใดจะต้องกระทําโดยถูกต้อง และไม่เป็นการก่อให้เกิดการเข้าใจผิดหรือความเสียหายแก่บริษัท ต้องรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในข้อมูลของบริษัท และต้องอ้างอิงถึงฉบับที่และวันที่ในเอกสารฉบับนี้ของบริษัทโดยชัดแจ้งการตัดสินใจลงทุน หรือซื้อ หรือขายหน่วยลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ท่านควรทําความเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อลักษณะของหน่วยลงทุนแต่ละประเภท และควรศึกษาข้อมูลของบริษัทที่ออกหน่วยลงทุนและข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องก่อนการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อหรือขายหน่วยลงทุน
ท่ามกลางความไม่แน่นอนของตลาดหุ้นไทย นักลงทุนหลายคนอาจตั้งคำถามว่า ถึงเวลาต้อง “ตัดขาดทุน” (Cut Loss) แล้วหรือยัง? ‘เซียนมี่’ – ทิวา ชินธาดาพงศ์ นายกสมาคมนักลงทุนประเทศไทย และหนึ่งในนักลงทุนเน้นคุณค่า (VI) ชื่อดังชี้ว่า ตลาดหุ้นไทยใกล้แตะจุดต่ำสุดและมีโอกาสฟื้นตัวแรง แต่สิ่งสำคัญคือต้องมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อก้าวผ่านช่วงเวลาแห่งความผันผวนนี้ไปให้ได้
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 Definit by Finnomena ได้จัดงานสัมมนาพิเศษ “ยังควรสู้อยู่ในหุ้นไทย หรือไปลงหุ้นนอกหลังจากนี้” โดยภายในงาน เซียนมี่ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับแนวโน้มตลาดหุ้นไทย พร้อมแนะนำกลยุทธ์เลือกหุ้น และสร้างพอร์ตเพื่อโอกาสเติบโตระยะยาว ด้วยการกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม
เซียนมี่มองว่า การที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา อาจเกิดจากปัจจัยที่หลายคนมองข้าม เช่น ประเด็นทางการเมือง ซึ่งนักลงทุนต่างชาติให้ความสำคัญ หากสถานการณ์นี้คลี่คลายอาจเป็นแรงส่งให้ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวยังมีความไม่แน่นอน ดังนั้น นักลงทุนควรมีสัดส่วนการลงทุนที่สมดุลระหว่างหุ้นไทยและต่างประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยง
ทั้งนี้ โดยส่วนตัวแล้วเซียนมี่จัดสรรพอร์ตการลงทุนระหว่างหุ้นไทยและหุ้นจีนในสัดส่วน 50/50 ซึ่งช่วยให้สามารถรับมือกับความผันผวนของแต่ละตลาด และยังมีโอกาสได้รับประโยชน์จากการเติบโตของทั้ง 2 ประเทศ
เมื่อถูกถามถึงการ “ตัดขาดทุน” เซียนมี่ให้คำแนะนำว่า ก่อนจะขายหุ้นไทย นักลงทุนควรหา “ตัวเลือกที่ดีกว่า” ให้เจอก่อน เพราะการขายหุ้นด้วยอารมณ์เพียงอย่างเดียวไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดี หากไม่มีแผนรองรับว่าเงินที่ได้จากการตัดขาดทุนจะนำไปลงทุนอะไรต่อ เงินดังกล่าวอาจไม่ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
“ถ้าไม่รู้ว่าขายไปแล้วจะเอาเงินไปทำอะไรต่อ ผมแนะนำว่าอย่าเพิ่งขาย” นายกสมาคมนักลงทุนประเทศไทยกล่าว
เซียนมี่ยังแนะนำเพิ่มเติมอีกว่า การนำเงินปันผลจากหุ้นไทยไปลงทุนในต่างประเทศก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ช่วยเปิดโอกาสการลงทุนในต่างประเทศ พร้อมทั้งกระจายความเสี่ยงไปในตัว
เซียนมี่ระบุว่า โลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี AI หรือแนวโน้มเศรษฐกิจที่ผันผวน เขามองว่าประเทศที่เคยถูกมองว่ามีอนาคต อาจไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป ในขณะที่บางประเทศที่เคยถูกมองข้าม อาจกลายเป็นศูนย์กลางการเติบโตในอนาคต
หนึ่งในวิธีการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงคือ การเลือกลงทุนในหุ้นที่สามารถ “เติบโตได้แม้ว่าจำนวนประชากรจะลดลง” เพื่อรับมือกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลกในระยะยาว รวมถึงมองหาบริษัทที่มีศักยภาพระดับโลก (Global Company) และมีผู้บริหารที่ “ลงเรือลำเดียว” กับนักลงทุน
เซียนมี่เน้นย้ำว่า นักลงทุนควรสร้างพอร์ตเพื่อโอกาสเติบโตระยะยาว โดยกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม และเลือกหุ้นที่มีความสามารถในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาว
พร้อมทั้งระบุอีกว่า ตลาดหุ้นไทยอาจมีเสน่ห์ลดน้อยลงสำหรับบางคน แต่เซียนมี่เชื่อว่า หากนักลงทุนมีกลยุทธ์ที่ดี ยังมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เสมอ
นายวศิน ปริธัญ, CFA, Managing Director ของ Definit Investment Advisory Securities (“Definit”) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือฟินโนมีนา (“Finnomena”) ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับแนวทางการลงทุนในปัจจุบัน โดยเน้นว่าหุ้นไทยในเชิงดัชนีอาจจะปรับตัวลดลงต่อเนื่อง แต่หากมองในระดับรายตัวจะพบว่ามีหุ้นที่สามารถทำกำไรได้ทุกเดือนมากถึง 200 – 300 ตัว
“ภาวะตลาดแบบนี้ ถ้าเลือกหุ้นถูกก็สามารถทำกำไรได้”
นายวศินกล่าว พร้อมเห็นด้วยกับเซียนมี่ว่า ไม่ควรขายหุ้นออกไปโดยไม่มีแผน เพราะอาจพลาดโอกาสที่มีอยู่ในตลาดขณะนี้
เพื่อช่วยให้นักลงทุนสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมในสภาวะตลาดที่ไม่แน่นอน “Definit” ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์การลงทุน “Definit SET Select” และบริการ “Stock Health Check” ตรวจสุขภาพพอร์ตหุ้นไทยด้วย DSS Rating ซึ่งใช้กระบวนการคัดเลือกหุ้นโดยอ้างอิงจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่
Definit SET Select ออกแบบให้สามารถปรับพอร์ตได้ทุกเดือน โดยหุ้นในพอร์ตจะมีระยะเวลาถือเฉลี่ย 1-3 เดือน และจะมีการปรับพอร์ตเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในตลาด ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
ด้วยแนวทางการลงทุนที่มีวินัยและยืดหยุ่นตามสภาวะตลาด Definit SET Select จึงเป็นทางเลือกที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถบริหารพอร์ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ บริการ Definit SET Select เป็นบริการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด (เลขใบอนุญาต 0105565129248) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือฟินโนมีนา (“Finnomena”) ดูแลด้านโมเดลและคำแนะนำพอร์ต กับบริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ดูแลด้านบัญชีหุ้นและการบริหารพอร์ต
สามารถลงทะเบียนเพื่อรับบริการและรับข้อมูล Definit SET Select เพิ่มเติมได้ที่ https://www.definitinvestment.com/
ข้อมูลติดต่อ: ฝ่ายสื่อสารการตลาด Finnomena
มะลิลา ใจพันธ์ โทร. 089-874-8982 Email: nim.malila@finbroadcasting.com
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด (Finnomena Funds) ได้รับรางวัล “Best FinTech Distributor” จาก Principal Financial Group ในงานประชุม Strategy and Outlook Annual Conference 2025, Principal Asia Pacific and Middle East ซึ่งจัดขึ้น ณ เมืองโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 26-27 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา รางวัลนี้ตอกย้ำความเป็นผู้นำของ Finnomena Funds ในฐานะผู้ให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนชั้นนำในประเทศไทย
นายชยนนท์ รักกาญจนันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Finnomena Funds เป็นตัวแทนบริษัทฯ เข้ารับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ โดยกล่าวว่า “รางวัลนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของฟินโนมีนาในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่เป็นเลิศแก่ลูกค้าของเรา เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับการยอมรับจาก Principal ในฐานะพันธมิตรที่แข็งแกร่ง โดยฟินโนมีนาจะยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมและส่งมอบบริการที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ลงทุนต่อไป”
รางวัล Best FinTech Distributor Award จาก Principal Financial Group มอบให้กับบริษัทตัวแทนขายหน่วยลงทุนที่ไม่ใช่บริษัทในเครือ โดยพิจารณาจาก “ความเป็นเลิศในการแนะนำกองทุนของ Principal อย่างมีคุณภาพ” ในหลากหลายมิติ ได้แก่
งานประชุม Strategy and Outlook Annual Conference 2025, Principal Asia Pacific and Middle East เป็นเวทีที่ผู้บริหารระดับสูงจาก Principal Financial Group มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาดและทิศทางธุรกิจ การได้รับรางวัล “Best FinTech Distributor Award” ในครั้งนี้สะท้อนถึงความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีระหว่าง Finnomena Funds และ Principal รวมทั้งเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จสำคัญของบริษัทฯ ที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีและบริการด้านการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนในยุคใหม่ พร้อมทั้งย้ำถึงบทบาทสำคัญของบริษัทฯ ในฐานะหนึ่งในผู้นำด้าน FinTech ในการให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนในประเทศไทย
Finnomena Funds มุ่งมั่นที่จะเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้คนไทยเข้าถึงโอกาสการลงทุนที่คัดสรรมาแล้วจากทั่วโลก โดยร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำอย่าง Principal เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนทุกระดับ
อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย … ตลาดก็เช่นกัน
ปี 2025 น่าจะเป็นปีที่แสดงให้เห็นถึงความผันผวนของโลกการลงทุนไม่น้อย เพราะถ้าย้อนไปตั้งแต่ต้นปี เราจะเห็นถึงความไม่แน่นอนที่ปกคลุมตลาดอย่างชัดเจน ความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ที่ปะทุขึ้นมาอีกครั้งหลังสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในหลายประเทศเริ่มชัดเจนขึ้น ทำให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่นักลงทุนทั่วโลก นโยบายภาษี (Tariff) ที่เข้มงวดขึ้นจากการกลับมาของประธานาธิบดี ทรัมป์ กับนโยบาย ‘America First’ ก็เป็นอีกปัจจัยที่สร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดการค้าโลก และส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานในหลายอุตสาหกรรม
ถ้ามองในมุมของการลงทุน ก็ถือว่าตลาดเปลี่ยนแปลงบ่อยจริง ๆ และสิ่งที่นักลงทุนทำได้คือการกระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์ ปรับพอร์ตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับมือความผันผวนที่เกิดขึ้นระหว่างทาง
อีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจคือการลงทุนในพอร์ตโฟลิโอที่มีการจัดพอร์ตเพื่อเอาชนะตลาดทุกสภาวะ อย่างพอร์ต A.Stotz All Weather Strategy
พอร์ต All Weather Strategy โดย Andrew Stotz อดีตนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของประเทศไทย ร่วมกับ Finnomena Funds ใช้ FVMR Framework หรือการวิเคราะห์รอบด้านทั้ง Fundamental, Valuation, Momentum และ Risk ในการวิเคราะห์การลงทุน โดยมุ่งหวังที่จะเพิ่มพูนและปกป้องความมั่งคั่งระยะยาวผ่านการกระจายความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการลงทุนแบบ Passive เพื่อเน้นสะท้อนผลตอบแทนเมื่อเทียบกับตลาด มีการปรับพอร์ตปีละ 2-4 ครั้ง
หัวใจการลงทุนของพอร์ต คือ G-L-D
Andrew Stotz เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง A.Stotz Investment Research ทำงานด้านการลงทุนในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 1992 ในฐานะนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และอาจารย์มหาวิทยาลัย
โดยในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง Head of Research ที่ CLSA ได้รับการโหวตจากผลสำรวจของ Asiamoney Brokers ให้เป็นนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของประเทศไทยประจำปี 2008 และ 2009 รวมถึงได้รับการโหวตให้เป็นนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของเมืองไทยจากรายงานของ All-Asia Research Team ซึ่งจัดทำโดยนิตยสาร Institutional Investor เช่นกัน
พอร์ต All Weather Strategy โดย Andrew Stotz อาจเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ตามแต่ละภาวะตลาด ดังนี้
นอกจากนี้ A.Stotz All Weather Strategy ยังพิจารณาลงทุนใน 5 ภูมิภาค ตามสภาวะตลาด คือ สหรัฐอเมริกา, ประเทศพัฒนาแล้วในยุโรป, ญี่ปุ่น, เอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น จีน และฮ่องกง) และจีน
ปกติแล้วในการจัดพอร์ตการลงทุน จะมีสัดส่วนที่คนนิยมคือแบบ 60/40 หรือการลงทุนในหุ้น 60% ตราสารหนี้ 40% ซึ่งถ้าเทียบกันแล้ว ที่ผ่านมา A.Stotz All Weather Strategy สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่า การกระจายการลงทุนแบบดังกล่าวภายใต้ความผันผวนที่ต่ำกว่า*
ถ้านับตั้งแต่จัดตั้งพอร์ต A.Stotz All Weather Strategy ปรับขึ้นกว่า 49.1% โดดเด่นกว่าพอร์ต 60/40 ที่ปรับตัวขึ้น 27.1%
*ผลงานของพอร์ต 60/40 คำนวนจาก NAV 60% ของ MSCI AC World & KKP PGE-H และ NAV 40% ของ KT-BOND, SCBGLOB โดยจัดเป็นดัชนีชี้วัดของพอร์ตการลงทุนนี้
ผลตอบแทนของ A.Stotz All Weather Strategy เทียบกับพอร์ตการลงทุน 60/40 | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 03/04/2025
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต
นอกจากนี้ หากมองย้อนกลับไป A.Stotz All Weather Strategy ยังมีความผันผวนต่ำกว่า ปรับตัวลงน้อยกว่าในวันที่ตลาดแย่กว่า และทำผลงานในแต่ละเดือนได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับพอร์ตแบบ 60/40
A.Stotz All Weather Strategy มีความผันผวนต่ำกว่า เมื่อเทียบกับพอร์ตแบบ 60/40 | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 03/04/2025
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต
A.Stotz All Weather Strategy ปรับตัวลงน้อยกว่า พอร์ตการลงทุน 60/40 ในวันที่ตลาดแย่กว่า | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 03/04/2025
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต
A.Stotz All Weather Strategy ทำผลงานในแต่ละเดือนได้ดีกว่าถึง 60% เทียบกับพอร์ตแบบ 60/40 | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 03/04/2025
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต
ผลตอบแทนของ A.Stotz All Weather Strategy เทียบกับพอร์ตการลงทุน 60/40 ในทุกช่วงเวลา | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 03/04/2025
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต
มุมมองการลงทุนล่าสุด (03/04/2025) A.Stotz All Weather Strategy กระจายความเสี่ยงผ่านการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภททั่วโลก โดยเน้นลงทุนในหุ้นด้วยสัดส่วน 65% แบ่งเป็นหุ้นยุโรป 25% หุ้นจีน 25% หุ้นสหรัฐฯ 5% หุ้นญี่ปุ่น 5% หุ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่นและจีน 5%
สำหรับตราสารหนี้ พอร์ต AWS ลงทุนด้วยสัดส่วน 25% และสัดส่วนที่เหลืออีก 10% กระจายการลงทุนไปในสินค้าโภคภัณฑ์และทองคำอย่างละ 5%
สัดส่วนการลงทุนล่าสุด | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 03/04/2025
ติดตามมุมมองการลงทุนรายละเอียดการปรับพอร์ตอย่างใกล้ชิดได้ที่
https://www.finnomena.com/tag/guruport-aws/
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ Finnomena
**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย A. Stotz Investment Research ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-aws หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลย
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”