Highlight (คลิกอ่านหัวข้อที่สนใจได้เลย)
ความฝันที่จะรวยทางลัดนั้นมีมานานตั้งแต่ก่อนที่อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราเสียอีก คำพูดหวานหูอย่าง “อยากเป็นเศรษฐี ฟังทางนี้” หรือ “วิธีสร้างเงินล้าน แบบไม่ต้องทำงาน” ยังคงเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดผู้คนให้หลงใหลและคล้อยตามไปกับคำโฆษณาชวนเชื่อ
แม้ว่าเรื่องราวการหลอกลวงทางการเงินจะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ดูเหมือนมนุษย์เราก็ยังคงหลงกลกับมันได้เสมอ ความโลภและความต้องการที่จะรวยเร็ว ทำให้หลายคนอาจละเลยที่จะพิจารณาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน
วันนี้ Finnomena จะพาทุกท่านย้อนกลับไปในอดีตเพื่อทำความรู้จักกับ “Charles Ponzi” ผู้ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของ “แชร์ลูกโซ่” หรือ “Ponzi Scheme” กลโกงที่ทำให้ผู้คนสูญเสียเงินทองจำนวนมหาศาล และยังคงเป็นบทเรียนสำคัญที่เตือนใจเราถึงภัยอันตรายของความโลภ
Charles Ponzi เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 1882 ในเมืองลูโก ประเทศอิตาลี ชื่อเต็มคือ Carlo Pietro Giovanni Guglielmo Tebaldo Ponzi เขาเติบโตมาในครอบครัวชนชั้นกลางและได้รับการศึกษาที่ดี แต่ด้วยความทะเยอทะยานและความฝันที่จะร่ำรวย เขาตัดสินใจย้ายไปยังสหรัฐอเมริกาในปี 1903 เมื่ออายุได้ 21 ปี
Ponzi มาถึงบอสตันด้วยเงินติดตัวเพียง 2.5 ดอลลาร์ หลังจากที่เขาใช้เงินเกือบหมดระหว่างการเดินทาง เขาทำงานหลายอย่างเพื่อเลี้ยงชีพ เริ่มแรกเขาทำงานล้างจานในร้านอาหาร และได้ก้าวขึ้นมาเป็นพนักงานบริการ แต่สุดท้ายก็ถูกไล่ออกเพราะโกงเงินทอนลูกค้า
ในเวลาต่อมา Ponzi ได้ย้ายไปแคนาดาและได้มีโอกาสทำงานเป็นผู้ช่วยในธนาคารชื่อว่า Banco Zarossi ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะเขาได้พบว่าธนาคารของเขาให้ดอกเบี้ยลูกค้าสูงถึง 6% ซึ่งสูงกว่าตลาดในเวลานั้นถึง 2 เท่า
แต่จริง ๆ แล้ว มันคือการนำเงินฝากของลูกค้ารายใหม่ มาจ่ายให้กับผู้ฝากรายเก่า ซึ่งสุดท้ายธนาคารต้องปิดกิจการไป และเจ้าของหนีไปต่างประเทศพร้อมกับเงินของเหยื่อจำนวนมหาศาล
ประสบการณ์นี้อาจเป็นแรงบันดาลใจให้เขาคิดแผนการฉ้อโกงของตัวเองในภายหลัง
ในปี 1919 Ponzi กลับมาที่บอสตันและเริ่มธุรกิจที่เรียกว่า “Securities Exchange Company” โดยอ้างว่าสามารถทำกำไรมหาศาลจากการซื้อขาย International Reply Coupons (IRCs) ซึ่งเป็นคูปองที่ใช้แลกเป็นแสตมป์เพื่อส่งจดหมายระหว่างประเทศ
Ponzi อ้างว่าเขาสามารถซื้อ IRCs ในประเทศที่มีค่าเงินอ่อนแอ และขายในประเทศที่มีค่าเงินแข็งกว่า ทำให้เข้าทำกำไรสูงถึง 400% ภายในเวลาเพียง 90 วัน โดยเขาสัญญาว่าจะให้ผลตอบแทน 50% แก่นักลงทุนภายใน 45 วัน หรือ 100% ภายใน 3 เดือน
แต่ความจริงแล้ว แผนการของ Ponzi เป็นเพียงการนำเงินจากนักลงทุนรายใหม่มาจ่ายผลตอบแทนให้กับนักลงทุนรายเก่า โดยไม่มีการลงทุนจริง วิธีการนี้กลายเป็นที่รู้จักในเวลาต่อมาว่า “แชร์ลูกโซ่” หรือ “Ponzi Scheme”
แผนการของ Ponzi ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ด้วยสัญญาผลตอบแทนที่สูงลิ่ว นักลงทุนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาลงทุนกับเขา ทั้งคนธรรมดา นักธุรกิจ หรือแม้แต่ผู้พิทักษ์กฎหมายอย่างเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ยังหลงเชื่อ
ในช่วงรุ่งเรืองที่สุด เขาสามารถระดมทุนได้มากถึง 1 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 33 ล้านบาท) ต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นเงินจำนวนมหาศาลในสมัยนั้น เขาใช้ชีวิตอย่างหรูหรา ซื้อคฤหาสน์ รถยนต์ราคาแพง และเครื่องประดับมีค่า
อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของ Ponzi เริ่มดึงดูดความสนใจจากสื่อมวลชนและทางการ นักข่าวเริ่มสงสัยในความเป็นไปได้ของผลกำไรที่เขาอ้าง และเริ่มสืบสวนธุรกิจของเขา
ในเดือนกรกฎาคม 1920 หนังสือพิมพ์ Boston Post เริ่มตีพิมพ์บทความวิพากษ์วิจารณ์ธุรกิจของ Ponzi อย่างหนัก ทำให้นักลงทุนเริ่มตื่นตระหนกและพากันมาไถ่ถอนเงินลงทุนคืน
วันที่ 10 สิงหาคม 1920 เป็นวันที่แผนการของ Ponzi พังทลาย เมื่อทางการเข้าตรวจสอบบัญชีของเขาและพบว่าเขามีหนี้สินมากกว่า 7 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 230 ล้านบาท) นำไปสู่การจับกุม Charles Ponzi ในข้อหาฉ้อโกงทางไปรษณีย์
ผลกระทบจากการล่มสลายของแชร์ลูกโซ่ของ Ponzi ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจของบอสตัน โดยธนาคารหลายแห่งถึงกับล้มละลาย นักลงทุนสูญเสียเงินออมทั้งชีวิต และความเชื่อมั่นในระบบการเงินถูกทำลายลงอย่างหนัก
Ponzi ถูกตัดสินจำคุก 5 ปี แต่ได้รับการปล่อยตัวหลังจากรับโทษไปเพียง 3 ปีครึ่ง หลังจากนั้นเขาพยายามหนีไปยังฟลอริดาและทำการฉ้อโกงอีกครั้ง แต่ก็ถูกจับได้อีก สุดท้าย Ponzi ถูกเนรเทศกลับอิตาลีในปี 1934
Charles Ponzi เสียชีวิตในปี 1949 ด้วยวัย 66 ปี ในสภาพยากจนและถูกลืมเลือน แต่ชื่อของเขากลับกลายเป็นคำที่ใช้เรียกการฉ้อโกงประเภทนี้ เพราะเขาเป็นคนที่ทำให้ “แชร์ลูกโซ่” โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์
เรื่องราวของ Charles Ponzi เป็นบทเรียนสำคัญเกี่ยวกับความโลภและความเสี่ยงของการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงเกินจริง ซึ่งยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนถึงปัจจุบัน
อ้างอิง: Thai PBS, The Money Coach
หัวใจสำคัญของการจัดพอร์ตสไตล์ Jet – Contrarian Investor ผ่าน FundTalk The Contrarian Portfolio คือการกระจายจัดพอร์ตให้ใกล้เคียงกับ Market Cap ของหุ้นแต่ละประเทศในโลก
สัดส่วนการลงทุน FundTalk The Contrarian Portfolio
ศึกษารายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
หมายเหตุ: พอร์ตนี้ไม่ได้อยู่ใน Model Port ของ Finnomena Funds
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
Finnomena Funds มองเห็นโอกาสการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ REIT ไทย ที่พื้นฐานกำไรยังอ่อนแอ และมีอัตราการเติบโตอยู่ในระดับต่ำ โดยปัจจุบัน PRINCIPAL IPROP-R มีสัดส่วนการลงทุนใน REIT ไทยมากกว่า 45% จึงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนทั้งหมดในพอร์ต RIS และนำให้ไปลงทุนกองทุน KKP MP แทนเพื่อรอโอกาสการลงทุนในอนาคตต่อไป
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 10/10/2024
SETPREIT ปรับตัวขึ้นมาได้ดีในเดือน สิงหาคม 2567 ถึงปัจจุบัน (10 ตุลาคม 2024) อย่างไรก็ดี กำไรบริษัทจดทะเบียนในภาพรวมของ SETPREIT มีการถูกปรับประมาณการลดลง และในระยะกลางถึงระยะยาว อัตราการเติบโตของ SETPREIT ยังต่ำเมื่อเทียบกับ REIT โลก สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างยังคงกดดันหุ้นไทยในระยะยาว ทำให้ปรับตัวขึ้นของ SETPREIT น่าจะเป็นจังหวะที่ดีในการลดสัดส่วน REIT ไทยในพอร์ต RIS
Finnomena Funds จึงแนะนำลดสัดส่วนการลดทุนใน PRINCIPAL IPROP-R ลงทั้งหมด โดยนำเข้าไปลงทุนในกองทุนตราสารหนี้รัฐบาล KKP MP แทน
KKP MP มีนโยบายลงทุนเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV ในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารหนี้ที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน หรือพันธบัตร หรือตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังหรือหน่วยงานภาครัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน และ/หรือในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด
Source: https://bank.kkpfg.com/ as of 17/09/2024
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่างๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
พอร์ต Next-Generation Global Growth (GGG) เป็นพอร์ตการลงทุนแบบ Fully Invested หรือลงทุนในหุ้น 100% ตลอดเวลา แต่ควบคุมความเสี่ยงด้วยการกระจายการลงทุนในหลากหลายธีม ซึ่งจะถูกจัดหมวดหมู่เป็น 4 มิติการเติบโต (The Four Dimensions of Growth)
The Four Dimensions of Growth
Source: Finnomena Funds as of 8/10/2024
และนำทุกธีมมาจัดสัดส่วนด้วย Minimum Volatility Optimization ทำให้การปรับสัดส่วนพอร์ต GGG จะมีขั้นตอนหลักสามขั้นตอนด้วยกัน
ขั้นตอนแรก คือการคัดเลือกธีมหุ้นที่เชื่อว่าจะมีโอกาสเติบโต โดยทบทวนสมมติฐานการเติบโตของธีมทั้งหมดในหน้าพอร์ตเก่า ว่าแต่ละธีมยังคงมีโอกาสในการเติบโตหรือไม่ ประกอบกับค้นหาธีมใหม่ที่เชื่อว่ามีโอกาสเติบโตได้ โดยแต่ละธีมจะมีการใช้ MEVT (Macro-Earnings-Valuation-Technical) Framework เข้ามาช่วยตัดสินใจ เพื่อให้สามารถประเมินโอกาสการเติบโตได้อย่างเป็นระบบ โดยในขั้นตอนนี้เราจะคัดเลือกธีมการลงทุนให้เหลือ 8-10 ธีม
ขั้นตอนถัดมา คือการคัดเลือกกองทุนที่เหมาะสมของแต่ละธีม โดยเราจะทำการสำรวจกองทุนหุ้นต่างประเทศในตลาดกองทุนไทย ที่มีนโยบายการลงทุนสอดคล้องกับธีมการลงทุนที่เราได้คัดเลือกไว้ และเลือกกองทุนที่มีผลตอบแทนโดดเด่นในระยะยาวเป็นกองทุนสำหรับพอร์ต GGG
ขั้นตอนสุดท้าย คือนำกองทุนทั้งหมดที่คัดเลือกแล้ว มาจัดเป็นพอร์ตด้วยการทำ Minimum Volatility Optimization ซึ่งเป็นกระบวนการจัดพอร์ต โดยใช้ข้อมูลการเคลื่อนไหวของมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุน นำมาคำนวณเป็นความผันผวนของกองทุน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation coefficient) ระหว่าง 2 กองทุนคู่ใดคู่หนึ่ง และใช้หลักการจัดพอร์ตโดยให้น้ำหนักกับคู่กองทุนที่มีค่า correlation coefficient ต่ำ เพื่อให้ความผันผวนของ 2 กองทุนหักล้างซึ่งกันและกัน นำไปสู่ความผันผวนรวมของพอร์ตที่ลดลง ในขณะที่พอร์ตยังมีการเติบโตจากธีมการลงทุนที่คัดเลือกมาแล้ว
สำหรับรอบการปรับพอร์ต GGG ในครึ่งหลังของปี 2024 เราได้มีการทบทวนธีมการลงทุนของหน้าพอร์ตปัจจุบันเล็กน้อย และได้มีการปรับกลยุทธ์การลงทุนของหลายธีมด้วยกัน โดยสามารถสรุปได้ดังนี้
ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Finnomena Funds ได้ทำการขายหุ้นกลุ่ม semiconductor ออกจากพอร์ต GGG จากปัจจัยด้าน valuation โดยในขณะนั้นเรามองว่าราคาของหุ้นในกลุ่ม semiconductor ปรับตัวขึ้นเร็วเกินกว่าการปรับประมาณการกำไรของนักวิเคราะห์ รวมถึงยังมีความไม่แน่นอนในความต้องการชิปในท้องตลาด แต่ในปัจจุบัน หลังจากที่นักวิเคราะห์ได้มีการปรับประมาณการหุ้นในกลุ่มดังกล่าวขึ้น ประกอบกับความต้องการชิปในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
Finnomena Funds แนะนำเพิ่มสัดส่วนกองทุนหุ้น semiconductor อีกครั้ง ผ่านกองทุน KKP SEMICON-H ซึ่งลงทุนใน iShares Semiconductor ETF (SOXX) โดยล่าสุด ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนดังกล่าว กลับมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับระดับที่เราได้ทำการขายออกไปเมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ธีม China Tech ซึ่งลงทุนในหุ้นจีน ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงหรือตลาดหลักทรัพย์ภายในประเทศสหรัฐอเมริกา (ADR) โดยจะเป็นหุ้นที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นหลัก ตั้งแต่ต้นปี 2024 ที่ผ่านมา ภาพรวมหุ้นจีนมีการปรับตัวขึ้นเป็นระยะ ๆ เนื่องจากทางการจีนมีการออกนโยบายกระตุ้นเรื่อย ๆ โดยล่าสุด ทาง PBoC ได้ประกาศลด Reserve Requirement Ratio (RRR) สำหรับธนาคารพาณิชย์จีน, ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Reverse Repo, และจัดตั้ง swap program เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถเพิ่มสภาพคล่องจาก PBoC ปัจจัยเหล่านี้เป็นนโยบายกระตุ้นด้านการเงินของธนาคารกลางจีน ซึ่งส่งผลให้ดัชนีหุ้นจีน ทั้ง CSI300, HSI และ HSCEI ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี Finnomena Funds มีมุมมองต่อแรงหนุนดังกล่าวว่าอาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น การกระตุ้นผ่านนโยบายการเงิน ถึงแม้จะสามารถช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดทุนภายในประเทศจีน แต่อาจไม่ได้แก้ไขปัญหาใหญ่ที่เศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญอยู่ นั่นคือปัญหาเรื่องอสังหาริมทรัพย์ที่ยังดำเนินต่อเนื่องมาสักระยะ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่ปัจจุบันอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ
Finnomena Funds จึงยังคงมีมุมมองเชิงลบต่อตลาดหุ้นจีน และเนื่องจากในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งกองทุน Invesco China Technology ETF (CQQQ) และ KraneShares CSI China Internet ETF (KWEB) ซึ่งเป็นสองกองทุนหลักของกองทุน BCAP-CTECH ปรับตัวขึ้นตาม sentiment ของตลาดหุ้นจีน เราจึงแนะนำขายหุ้นจีนออกจากพอร์ตลงทุน GGG
GGG Optimized Portfolio
Source: FINNOMENA Funds as of 08/10/2024
หลังจากคัดเลือกธีมการลงทุนและกองทุนสำหรับแต่ละธีม เราได้ทำการจัดพอร์ตด้วยแนวคิด Minimum Volatility Optimization และได้หน้าพอร์ตใหม่ดังนี้
GGG Portfolio Allocation
Source: Finnomena Funds as of 08/10/2024
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
Finnomena Funds มองเห็นโอกาสในการปรับลดสัดส่วนหุ้นจีน หลังจากดัชนีปรับตัวขึ้นมากกว่า 20% ในช่วง Golden Week (23 กันยายน – 8 ตุลาคม 2024) โดยเศรษฐกิจจีนยังคงเปราะบาง และมาตรการกระตุ้นอาจไม่เพียงพอที่จะฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ นอกจากนี้ Valuation ของหุ้นจีนไม่ได้อยู่ในโซนราคาถูกอีกต่อไป
คำแนะนำ: ปรับลดสัดส่วน K-CHINA-A(A) ออก 10% และนำเงินลงทุนไปเพิ่มในกองทุน KKP GINFRAEQ-H 5% และ UOBSA 5%
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 09/10/2024
จีนกำลังเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างหลายประการ ซึ่งอาจใช้เวลานานในการแก้ไข เช่น ปัญหาหนี้สินที่สูงเกินกว่า 290% ของ GDP จำนวนประชาชนที่ผ่านจุดสูงสุดในปี 2020 ที่เริ่มมีแนวโน้มขาลง และปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 09/10/2024
จากปัญหาดังกล่าว นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า GDP ของจีนในปี 2024 จะเติบโตต่ำกว่า 5% โดยปัจจุบันการประมาณการถูกปรับลดเหลือเพียง 4.8% ซึ่งสอดคล้องกับการกระตุ้นจากทางการที่ดำเนินการในระดับต่ำและล่าช้ากว่าที่คาด ส่งผลให้ความเชื่อมั่นและการบริโภคฟื้นตัวช้า
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 09/10/2024
ในส่วนของภาพรวมการปรับประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในจีน พบว่า All China ถูกปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้น ในขณะที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนในดัชนี CSI 300 กลับถูกปรับประมาณการลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแรงกดดันต่อการบริโภคและความเชื่อมั่นที่ฟื้นตัวช้าในจีนแผ่นดินใหญ่ จากการกระตุ้นที่มีมาไม่มากพอ
ส่งผลให้ MSCI China ปัจจุบันซื้อขายอยู่ที่ Valuation 11.7 เท่า ซึ่งตรงกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ในขณะที่ดัชนี CSI 300 ปัจจุบันซื้อขายที่ Valuation 14.1 เท่า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี กว่า +1 SD
คำแนะนำ: ปรับลดสัดส่วน K-CHINA-A(A) ออก 10%
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 17/09/2024
ในการประชุม FOMC วันที่ 17-18 กันยายนที่ผ่านมา กรรมการ FOMC มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5% มาอยู่ที่กรอบ 4.75-5.00% และมีแนวโน้มจะใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง โดยหากอ้างอิง Median Dot Plot การประชุมที่เหลืออีก 2 ครั้งในปีนี้ Fed มีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.5% มาอยู่ที่กรอบ 4.25-4.50% และอาจปรับลดลงไปที่ 3.25-3.50% ภายในปี 2025
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 17/09/2024
Finnomena Funds ได้วิเคราะห์ผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยพบว่าในบริบทการลงทุนปัจจุบัน กลุ่ม Utility และ Global Infrastructure ซึ่งมีความสัมพันธ์สูงกับกลุ่ม Utility จะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการลดดอกเบี้ยครั้งนี้
คำแนะนำ: สะสมกองทุน KKP GINFRAEQ-H 5%
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 09/10/2024
ประเทศอินเดีย ไต้หวัน และกลุ่มอาเซียน ประกาศ PMI ภาคการผลิต ที่ยังคงแข็งแกร่ง โดยอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งสะท้อนถึงโอกาสการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งสามภูมิภาคนี้มีสัดส่วนการลงทุนในกองทุน UOBSA มากกว่า 60%
ในขณะเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบดัชนี MSCI Asia ex Japan กับ MSCI ACWI (หุ้นโลก) ในด้านราคา, EPS, และ PE จะพบว่า MSCI Asia ex Japan ปรับตัวขึ้นได้อย่างโดดเด่น พร้อมกับการปรับเพิ่ม EPS มากกว่าหุ้นโลก นอกจากนี้ Valuation ของ MSCI Asia ex Japan ยังคงถูกกว่าหุ้นโลกที่ -1.5 S.D.
คำแนะนำ: สะสมกองทุน UOBSA5%
KKP GINFRAEQ-H ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Lazard Global Listed Infrastructure Equity Fund (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV ในรอบปีบัญชี กองทุนหลักมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active management) และมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) ที่ 94.65% โดยมีดัชนีชี้วัดดังนี้:
Source: https://bank.kkpfg.com/ as of 09/10/2024
UOBSA ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน United Asia Fund Class T SGD Acc โดยมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก กองทุนหลักใช้กลยุทธ์การบริหารกองทุนเชิงรุก (active management) โดยมีดัชนีชี้วัดคือ MSCI AC Asia (ex Japan) Net TR USD ที่ปรับค่าให้อยู่ในสกุลเงินบาท โดยเปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
Source: https://www.uobam.co.th/ as of 09/10/2024
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
วันนี้ (10 ตุลาคม 2024) ดัชนี HSCEI หรือหุ้น H-Share ของจีน และดัชนี Hang Seng (HSI) ของฮ่องกงปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 3% หลังจาก หลาน โฟอัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเตรียมแถลงข่าวในวันเสาร์ที่ 12 ตุลาคมนี้ ส่งผลให้นักลงทุนคาดหวังว่ามีโอกาสที่รัฐบาลจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมในการแถลงครั้งนี้ ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นจีนในวันนี้
นอกจากนี้ยังมีความคืบหน้าจากธนาคารกลางจีน (PBoC) ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Swap Program ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทางการจีนประกาศเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2024 โดยโครงการนี้จะเปิดโอกาสให้บริษัทหลักทรัพย์ กองทุน และบริษัทประกันสามารถเข้าถึงสภาพคล่องจากธนาคารกลางได้มากขึ้น ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนจะเริ่มเปิดรับคำขอจากบริษัทหลักทรัพย์ กองทุน และบริษัทประกัน ตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป ซึ่งบริษัทเหล่านี้สามารถใช้โครงการดังกล่าวในการเข้าถึงเงินสดหรือสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงได้ โดยจะต้องมีหลักทรัพย์มาค้ำประกัน และขนาดของโครงการ Swap Program นี้อยู่ที่ 500,000 ล้านหยวน และสามารถขยายวงเงินเพิ่มเติมได้ในอนาคตหากมีความจำเป็น
Finnomena Funds มองว่าตลาดหุ้นจีนได้อานิสงส์จากการออกมาตรการกระตุ้นออกมาอย่างต่อเนื่องซึ่งสะท้อนว่ารัฐบาลจีนยังคงมุ่งมั่นในการกระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูความเชื่อมั่น แต่เรามองว่าให้ใช้จังหวะนี้ทยอยลดสัดส่วนหุ้นจีน เนื่องจากจีนยังเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้าง และการปรับตัวขึ้นครั้งนี้ทำให้ Valuation ของตลาดหุ้นจีนไม่ได้อยู่ในโซนถูก
เราจึงแนะนำทยอยลดสัดส่วนหุ้นจีนในกองทุน B-CHINE-EQ, MEGA10CHINA-A และ SCBCHAA ตามมุมมองของ Finnomena Funds และสำหรับมุมมองของ FundTalk Call แนะนำขายในกองทุน UOBSGC
จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า บริษัท Alimentation Couche-Tard ของแคนาดา ได้ยื่นข้อเสนอเข้าซื้อกิจการฉบับแก้ไขต่อ Seven & i Holdings เจ้าของแบรนด์ 7-Eleven ของญี่ปุ่น โดยข้อเสนอนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดิม 22% เป็นประมาณ 47,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หากการซื้อขายนี้เกิดขึ้นจริง จะทำให้การเข้าซื้อกิจการ 7-Eleven กลายเป็นการซื้อกิจการบริษัทญี่ปุ่นโดยต่างชาติที่มีมูลค่าสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
ตามรายงานของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ข้อเสนอใหม่นี้มีมูลค่า 18.19 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น ซึ่งเพิ่มขึ้นจากข้อเสนอเดิมที่ถูกปฏิเสธที่ 14.86 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น หรือประมาณ 38,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้าน Seven & i ระบุในแถลงการณ์ว่า ข้อเสนอใหม่เป็นการเจรจาแบบส่วนตัวและไม่มีผลผูกพัน โดยบริษัทจะเก็บการเจรจาเป็นความลับตามที่ Couche-Tard ร้องขอ
Manoj Jain ผู้ก่อตั้งร่วมและ CIO ของ Maso Capital กล่าวว่า “ข้อเสนอที่เพิ่มขึ้นจาก Couche-Tard น่าสนใจกว่าข้อเสนอเดิมมาก ถึงแม้ว่าจะมีข้อกำหนดและกฎระเบียบที่ต้องพิจารณา แต่คณะกรรมการบอร์ดของ Seven & i ควรตรวจสอบว่าข้อตกลงนี้สามารถดำเนินไปได้หรือไม่”
เมื่อมีรายงานดังกล่าว ราคาหุ้นของ Seven & i ปรับตัวสูงขึ้นเกือบ 12% ก่อนจะลดช่วงบวกลง จนปิดที่ระดับ 2,335 เยน (15.7 ดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 4.7% ซึ่งบ่งชี้ว่านักลงทุนบางส่วนยังไม่มั่นใจว่าข้อตกลงนี้จะเกิดขึ้นจริง
เมื่อเดือนที่แล้ว Seven & i ระบุว่าข้อเสนอซื้อกิจการเบื้องต้นของ Couche-Tard เป็นการ “ประเมินมูลค่าบริษัทที่ต่ำเกินไป” และย้ำว่าบริษัทมีแผนที่จะเพิ่มมูลค่ากิจการด้วยตนเอง โดยกลยุทธ์นี้หมายความว่าบริษัทต้องแสดงให้เห็นถึงแผนการสร้างผลตอบแทนที่ดีขึ้นสำหรับนักลงทุน
ในขณะเดียวกัน กลุ่มนักวิจารณ์ของ Seven & i รวมถึงนักลงทุนต่างชาติอย่าง ValueAct Capital และ Artisan Partners มองว่า บริษัทควรให้ความสำคัญกับธุรกิจหลักคือร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น ซึ่งมีสาขากว่า 80,000 แห่งทั่วโลก มากกว่าธุรกิจอื่น เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต, ธนาคาร, ร้านอาหาร Denny’s และ Tower Records
นอกจากนี้ Seven & i กำลังพิจารณาขายหุ้นบางส่วนในธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งอาจหมายความว่าบริษัทกำลังเร่งแผนการนำธุรกิจดังกล่าวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ตามที่เคยประกาศไว้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
สุดท้าย Seven & i ยังพิจารณาเปลี่ยนชื่อเพื่อสะท้อนถึงการเน้นย้ำธุรกิจร้านสะดวกซื้อซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัทมากยิ่งขึ้น
ที่มา: https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?ref=A&id=TEdXRVUzcnhqbkk9
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปี โดยคาดการณ์ว่าในปี 2024 นี้จะติดลบถึง 20% สาเหตุหลักมาจากหลายปัจจัย ทั้งปัญหาการปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่สูง ปัญหาน้ำท่วม และการแข็งค่าของเงินบาท
สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างหนักต่อยอดขายและยอดโอนของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่ฟื้นตัว แม้ว่าในไตรมาสที่ 4 จะมีสัญญาณที่ดีขึ้นมาบ้าง เนื่องจากมีคอนโดมิเนียมกำลังก่อสร้างมูลค่าสูงถึง 86,052 ล้านบาท และจะค่อย ๆ ทยอยออกมาสู่ตลาดมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถ้าหากคอนโดมิเนียมดังกล่าวไม่สามารถขายได้ ก็จะส่งผลให้ปริมาณสินค้าคงเหลือในตลาดอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้นอีก
ทำให้ผลกระทบที่ตามมาอาจรุนแรงถึงขั้นเกิด “Domino Effect” หากไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ผู้ประกอบการอาจประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจนไม่สามารถชำระเงินกู้หรือลงทุนในโครงการใหม่ได้
เพื่อแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว กลุ่มผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ไทยได้เสนอแนวทางดังนี้
นอกจากนี้ ยังมีความหวังในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล เช่น การขยายเส้นทางรถไฟฟ้าไปยังภูมิภาคต่าง ๆ และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ในต่างจังหวัดและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมนี้
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2025 ยังคงเผชิญกับความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา โดยเฉพาะปัญหาเรื่องกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากราคาบ้านปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่รายได้ของประชาชนไม่เติบโตตามราคาบ้าน
ทั้งนี้ การตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงินในการประชุมวันที่ 16 ตุลาคมนี้ จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่อาจกำหนดทิศทางของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในอนาคตอันใกล้
แม้ว่าการเมืองจะมีความชัดเจนและมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่จะช่วยหนุนความเชื่อมั่นให้ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวเพียงช่วงสั้น ในระยะยาวยังต้องติดตามนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจเชิงโครงสร้าง
ทั้งนี้ SETPREIT ซึ่งเป็นตัวแทนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์, REIT, กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ปรับตัวขึ้นมาได้ดีในเดือนสิงหาคม 2024 จนถึงปัจจุบัน (10 ตุลาคม 2024)
อย่างไรก็ดี กำไรบริษัทจดทะเบียนของ SETPREIT ถูกปรับประมาณการลดลง ส่วนภาพการเติบโตในระยะกลางถึงยาวยังต่ำเมื่อเทียบกับ REIT โลก ดังนั้น จึงแนะนำทยอยลดสัดส่วน REIT ไทย
อ้างอิง: Morning Brief by Finnomena, กรุงเทพธุรกิจ
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
TMBAM Quality Mega Theme เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO)
ในช่วงเดือนที่ผ่านมาตัวเลขภาคแรงงานสหรัฐฯ มีการชะลอตัวลงชัดเจน ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงตั้งแต่ต้นเดือน พร้อมกับปรับคาดการณ์ว่าเฟดมีโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกันยายนที่ 0.5% เพิ่มมากขึ้น ขณะที่เฟดเองก็ได้ตัดสินใจประกาศลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก 0.5% ตามที่ตลาดคาดไว้ พร้อมกับบอกว่าการลดดอกเบี้ยขนาดใหญ่ในรอบนี้เป็นการทำเพื่อรับประกันว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะเกิด soft landing และ Fed ไม่ได้ behind the curve อย่างไรก็ตามถ้อยแถลงของพาวเวลล์ประธานเฟดมีการแสดงถึงความกังวล Recession ออกมาบ้างโดยเฉพาะการพูดถึงสัญญาณการชะลอตัวลงของตลาดแรงงาน ขณะที่ Dot Plot ของเฟดส่งสัญญาณการลดดอกเบี้ยที่น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ทั้งในปีนี้และปีหน้า ซึ่งหมายถึงโอกาสที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยมากกว่าที่คาด และเฟดยังมีโอกาสที่จะ behind the curve ซึ่งทำให้เราต้องจับตาประเด็นดังกล่าวต่อไป ทำให้เรามีมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ จากมุมมองต่อการลดดอกเบี้ยของ Fed และตัวเลขเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวได้
ในฝั่งของญี่ปุ่น นายอูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ได้กล่าวในการปราศรัยว่า ธนาคารกลางยังคงเดินหน้าสู่การขึ้นอัตราดอกเบี้ย หากข้อมูลเศรษฐกิจและเงินเฟ้อยังคงเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตามท่าทีของ อูเอดะ ได้เปลี่ยนแปลงไปหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดดอกเบี้ย 0.5% โดยออกมาระบุว่า BOJ จะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าจะมั่นใจว่าสหรัฐฯ จะสามารถบรรลุภาวะ soft landing ได้ ทำให้โดยรวมเราประเมินว่าคำพูดของผู้ว่าการ BOJ แสดงถึงท่าทีที่ต้องการขึ้นดอกเบี้ยต่อในระยะกลางถึงยาว แต่ในปีนี้ BOJ น่าจะตัดสินใจบนข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มากกว่า ทำให้โดยรวมเรายังคงระมัดระวังการลงทุนในญี่ปุ่น เนื่องจากมีแนวโน้มที่ดอกเบี้ยจะตึงตัวต่อในปีหน้า และค่าเงินเยนอาจแข็งค่าส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยว
ในด้านเศรษฐกิจของไทยยังคงทรงๆ จากเดือนก่อนหน้า โดยนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลชุดใหม่มีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะนโยบายดิจิตอลวอลเล็ตซึ่งน่าจะช่วยให้การบริโภคของไทยเติบโตได้ดีขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี นอกจากนี้เองตลาดยังได้แรงหนุนจากการเปิดขายกองทุนวายุภักษ์ที่ทำให้ตลาดทุนกลับมาคึกคักอีกครั้ง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไทยโดยรวมยังคงอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายของแบงก์ชาติที่ 2% ส่งผลให้รัฐบาลยังคงออกมากดดันให้มีการลดดอกเบี้ยอยู่เป็นระยะๆ ประกอบกับการแข็งค่าอย่างรวดเร็วของค่าเงินบาทยังเป็นอีก 1 ปัจจัยที่ ธปท. ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะมีโอกาสกระทบการส่งออกและท่องเที่ยวของประเทศ โดยรวมไทยมีโมเมนตั้มที่เริ่มดูดีขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจและการได้นายกฯ คนใหม่ที่เร็วกว่าที่คาด ประกอบกับ sentiment เชิงบวกเริ่มกลับเข้ามาในตลาดทุน ทำให้เราชื่นชอบตลาดหุ้นไทยในระยะสั้นๆ
ในฝั่งของตราสารหนี้ เราคาดว่า Fed จะทยอยลดดอกเบี้ยต่อเนื่องไปยังปีหน้า รวมถึงการเริ่มต้นของวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงอาจส่งผลให้ธนาคารกลางอื่นทั่วโลกเริ่มมีการลดดอกเบี้ยฯ ตามอีกเช่นกัน ซึ่งตราสารหนี้ประเภทพันธบัตรรัฐบาลจะได้ประโยชน์ในส่วนนี้ นอกจากนี้เองจากมุมมองที่ว่าเฟดยังมีโอกาสทำ soft landing ได้อยู่ ทำให้ตราสารหนี้ภาคเอกชนในระดับที่ลงทุนได้ (IG) ก็ได้รับอานิสงค์นี้ตามไปด้วย อย่างไรก็ตามเรามองว่าตลาดค่อนข้างรับข่าวการลดดอกเบี้ยของเฟดไปเยอะแล้ว ทำให้เราปรับมุมมองกลับมาเป็นกลางต่อตราสารหนี้
ที่มา: บลจ.อีสท์สปริง วันที่ 7 ตุลาคม 2024
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ Finnomena สำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน
โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน Finnomena Port และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notificationในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก
1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น 2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT |
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนการลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า นายหลัน ฝออัน (Lan Fo’an) รัฐมนตรีคลังจีน เตรียมแถลงมาตรการเศรษฐกิจเพิ่มเติมในวันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านนโยบายการคลัง และตอบคำถามจากสื่อมวลชน โดยนักลงทุนคาดหวังว่าจีนจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หลังจากที่ตลาดเผชิญกับแรงเทขายอย่างหนัก เนื่องจากผิดหวังจากการแถลงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา
“ตลาดยังคงเผชิญความผันผวน เนื่องจากนักลงทุนมีความรู้สึกทั้งผิดหวังและคาดหวังว่ารัฐบาลจีนจะประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ ซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมั่นและการจ้างงาน เรื่องนี้เป็นสิ่งเร่งด่วนที่ผู้บริหารต้องพิจารณา แม้ว่าจีนจะได้ดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินและการพัฒนาที่อยู่อาศัยในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนควรมองในแง่ดีอย่างระมัดระวัง” ฟิโอนา หลิม (Fiona Lim) นักกลยุทธ์สกุลเงินอาวุโสจาก Malayan Banking กล่าว
ดัชนี CSI300 ของจีนลดช่วงลบลงหลังจากมีรายงานข่าวดังกล่าว ในขณะที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อิงกับพันธบัตรรัฐบาลจีน อายุ 30 ปี ปรับตัวลดลง 0.8% เนื่องจากคาดการณ์ว่าจีนอาจประกาศมาตรการกระตุ้นการคลังในการแถลงข่าววันเสาร์ ขณะเดียวกัน ค่าเงินหยวนในตลาดต่างประเทศ (the offshore yuan) แข็งค่าขึ้น 0.2%
นักลงทุนในตลาดหุ้นคาดหวังว่ารัฐบาลจะเพิ่มการใช้จ่ายทางการคลังเพื่อหยุดยั้งการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจกระทบต่อเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ 5% ในปีนี้ โดยมีความหวังว่าการประกาศของกระทรวงการคลังจะช่วยเรียกคืนความเชื่อมั่น หลังจากตลาดผิดหวังจากการแถลงของคณะกรรมการปฏิรูปและการพัฒนาแห่งชาติจีน (NDRC) เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ที่ไม่มีการประกาศมาตรการสำคัญเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากผ่านช่วงวันหยุดยาว
ที่มา: https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?ref=FR&id=dXRVbmh1QmFyc1U9
*ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย กองทุนรวมที่เสนอขายผู้ลงทุนสถานบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ตลาดหุ้นจีนร่วงลงอย่างหนักในเช้าวันนี้ (9 ตุลาคม 2024) หลังจากคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน (NDRC) ได้เปิดเผยร่างมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่กลับไม่มีการประกาศมาตรการสำคัญเพิ่มเติมตามที่นักลงทุนคาดหวัง ส่งผลให้ดัชนี CSI 300 ร่วงลงกว่า 5% ในช่วงเปิดตลาด
การเปลี่ยนแปลงรายวันของดัชนี HSCEI | Source: Bloomberg, as of 9/10/2024
จากกราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงรายวันของดัชนี Hang Seng China Enterprises Index (HSCEI) ตั้งแต่ปี 2008 ถึง 2024 ซึ่งสามารถเห็นเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นล่าสุดได้อย่างชัดเจน
โดยดัชนีหุ้นฮ่องกงที่ลดลงมากกว่า 10% ในวันเดียวนั้น ถือเป็นการลดลงที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกในปี 2008 แม้ว่าจะมีช่วงที่ตลาดผันผวนสูงอยู่บ้าง เช่น ในปี 2015 และ 2020 แต่ไม่มีครั้งใดที่มีการลดลงในวันเดียวรุนแรงถึงขนาดนี้
เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลอย่างมากของนักลงทุนต่อเศรษฐกิจจีนและตลาดหุ้นฮ่องกง หลังจาก NDRC ได้ประกาศร่างมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่กลับไม่มีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ใหม่ใด ๆ ที่เป็น “รูปธรรม”
โดยไฮไลท์สำคัญของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ NDRC ประกาศ มีดังนี้
นักลงทุนส่วนใหญ่ได้แสดงความผิดหวังต่อมาตรการดังกล่าว โดย อี้ หวัง หัวหน้าฝ่ายการลงทุนเชิงปริมาณ (Quantitative Investment) ที่ CSOP Asset Management Ltd. กล่าวว่า
“ตลาดหุ้นจีนกำลังอยู่ในภาวะผันผวน เนื่องจากนักลงทุนกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนว่าจะเชื่อมั่นในความคาดหวังสำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือจะให้ความสำคัญกับสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริงมากกว่า นักลงทุนต้องการเห็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เช่น ผลประกอบการของบริษัท แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจต้องใช้เวลาพอสมควร กว่าจะเห็นผลลัพธ์ของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสะท้อนไปยังผลประกอบการ”
นอกจากนี้ ข้อมูลการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว Golden Week จากกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของจีน ยังบ่งชี้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในจีนยังคงซบเซา แม้จะมีการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นถึง 10.2% เมื่อเทียบกับปี 2019 แต่กลับมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพียง 7.9%
แม้ว่ารัฐบาลจีนจะพยายามใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนมองว่าอาจยังไม่เพียงพอ เนื่องจากปัญหาหนี้สินของภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงเป็นความท้าทายสำคัญ และความต้องการบริโภคภายในประเทศก็ยังคงซบเซา
MEVT Call แนะนำขายกองทุน K-CHINA-A(A), MEGA10CHINA-A และ B-CHINE-EQ เชื่อว่าการ Rebound ที่เกิดขึ้นในหุ้นจีนเป็นเพียงการฟื้นตัวชั่วคราวจากมาตรการกระตุ้นในช่วง Golden Week หากหุ้นจีนต้องการกลับมาทำผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว จีนจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการคลังที่มีความเข้มข้นมากขึ้น
อ่านคำแนะนำ MEVT Call เพิ่มเติมได้ที่: https://www.finnomena.com/opportunity-hub/investment-call/mevt/china-oct-2024
FundTalk Contrarian Call แนะนำทยอยลดสัดส่วนหุ้นจีน Greater China ผ่านกองทุน UOBSGC ที่กระจายการลงทุนในหุ้นจีน ฮ่องกง และไต้หวัน เนื่องจากตลาดหุ้นจีนที่พุ่งขึ้นแรง ถือเป็นโอกาสในการขาย
อ่านคำแนะนำ FundTalk Contrarian Call เพิ่มเติมได้ที่: https://www.finnomena.com/opportunity-hub/investment-call/fundtalk/greaterchina-jul-2024
อ้างอิง: Bloomberg, The Edge Malaysia
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
หมายเหตุ: บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นในทุกวันจันทร์ ดังนั้นบทความบางส่วนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้
WEEKLY TONE: BUY WEEK
ด้วยการที่สัปดาห์นี้ทั้งสองตัวชี้วัดอย่าง Core CPI และ Core PPI ได้มีการคาดการณ์ตัวเลขออกมา ซึ่งถ้าหากตัวเลขนั้นคล้อยไปกับการประมาณการณ์ของตลาด ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะให้ผลดีต่อตลาดสินทรัพย์ทางเลือกอย่างคริปโทฯ และด้วยการที่ตลาดคริปโทฯ นั้นได้มีแรงซื้อเข้ามาจาก BTC และ ETH spot ETF ทำให้ตลาดโดยรวมนั้นมีสัญญาณในการขึ้นเพิ่มขึ้น สัปดาห์นี้จึงเป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ที่สามารถเปิดความเสี่ยงในตลาดคริปโทฯ และด้วยการที่เหรียญ Altcoins นั้นได้มีการปรับตัวลงในช่วงเวลาที่ผ่านมาค่อนข้างมาก จึงเริ่มทำให้เห็นถึงการ Rebound ทำให้ Altcoins จึงเป็นอีกหนึ่งกลุ่มเหรียญที่มีแนวโน้มที่จะสามารถเปิดความเสี่ยงได้ รวมไปถึงเหรียญที่มี Market Cap สูง ๆ ที่ราคานั้นยังไม่ได้ขยับไปไกลมาก
Core CPI หรือ Core Consumer Price Index จะสามารถใช้ชื่อเรียกอีกอย่างได้คือ Core Inflation Rate หรือแปลว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ที่หักสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงานออก เนื่องจากเป็นหมวดที่มีความเคลื่อนไหวขึ้นลงตามฤดูกาล และอยู่นอกเหนือการควบคุมของนโยบายการเงิน เหลือแต่รายการสินค้าที่ราคาเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Core CPI MoM มีแนวโน้มที่จะคงที่ที่ 0.2%
Source : https://tradingeconomics.com/united-states/core-inflation-rate-mom
ตีความอย่างไรต่อตลาด
การคาดการณ์ในส่วนของ Core CPI ที่คงที่เท่าเดิมนั้นแสดงให้เห็นถึงการที่อัตราเงินเฟ้อนั้นกำลังอยู่ในช่วงคงที่หรือกำลังลดลงอย่างช้า ๆ ทำให้การตัดสินใจในการลดอัตราดอกเบี้ยของ FED หรือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม เป็นรายงานการจ้างงานที่ถูกปล่อยออกมาเป็นระยะ ๆ โดยทั่วไปจะออกในวันศุกร์แรกของทุกเดือน และมีผลกระทบมากต่อดอลลาร์ของสหรัฐฯ ตลาดหุ้น และตลาดหลักทรัพย์ Current Employment Statistics (CES) จากหน่วยงานสถิติแรงงานของกรมแรงงานของสหรัฐ ทำการสำรวจประมาณ 141,000 ธุรกิจ หน่วยงานรัฐบาล และ 486,000 ธุรกิจส่วนตัว เพื่อให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการจ้างงาน ชั่วโมงทำงาน และรายได้ของคนงานในกลุ่มที่ไม่ใช่ภาคเกษตร
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Core PPI MoM มีแนวโน้มที่จะลดลงจาก 0.3% เป็น 0.2%
Source : https://tradingeconomics.com/united-states/core-producer-prices-mom
ตีความอย่างไรต่อตลาด
การคาดการณ์การลดลงของ Core PPI MoM มีแนวโน้มที่จะสร้างแรงซื้อให้กับตลาดสินทรัพย์ทางเลือกอย่างหุ้น และตลาดคริปโทฯ ก็จะได้รับผลพลอยได้ไปด้วย ฉะนั้นการลดตัวลงของ Core PPI เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการมีอิทธิผลต่อตลาดสินทรัพย์ทางเลือก
Initial Jobless Claims หรือ Unemployment Claims คือจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สะท้อนค่าใช้จ่ายของรัฐได้ชัดกว่าอัตราการว่างงาน เพราะยิ่งตัวเลขนี้สูงขึ้นนั่นหมายความว่าค่าใช้จ่ายของภาครัฐ หรือ Government Expenditure ถูกใช้ไปในการช่วยเหลือกลุ่มคนว่างงานมากขึ้น เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะหดตัว และยังแสดงให้เห็นถึงช่องว่างความเหลื่อมล้ำในประเทศอีกด้วย โดยตัวเลขนี้จะมีประกาศทุก ๆ วันพฤหัสบดี
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Unemployment Claims มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจาก 225K เป็น 227K
Source : https://tradingeconomics.com/united-states/jobless-claims
ตีความอย่างไรต่อตลาด
การเพิ่มขึ้นของ Unemployment Claims เป็นการแสดงถึงการที่ผู้คนนั้นตกงานมากเพิ่มขึ้นและ ได้มีคนได้ขอรับสวัสดิการจากรัฐบาลเพิ่มมากขึ้น แต่ด้วยการที่มีการคาดการณ์เพิ่มขึ้นเพียงนิดเดียว อาจไม่มีผลเสียต่อตลาดคริปโทฯ มากมาย
Credit from LayerGG
Key Event ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์และอาจจะทำให้เกิดความผันผวนกับสินทรัพย์ดิจิทัล
7 ตุลาคม
8 ตุลาคม
9 ตุลาคม
11 ตุลาคม
11 ตุลาคม
Source : https://www.coinglass.com/FundingRateHeatMap
ในส่วนของ Funding rate สำหรับอาทิตย์นี้ยังคงตัวเป็นบวก แต่ก็ยังถือว่าเป็นระดับที่ต่ำอยู่ บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาด โดยมีการเปิดสถานะลองมากกว่าสถานะชอร์ต แต่ไม่ได้มีความร้อนแรง หรือการใช้ Leverage มากจนเกินไป แสดงถึงช่องว่างของ Upside ที่ยังคงมีอยู่
Source : https://www.coinglass.com/BitcoinOpenInterest
ในฝั่งของ Bitcoin Open Interest มีการปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ถึงแม้จะยังไม่ได้สูงเท่ากับช่วง All Time High แต่ก็แสดงถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้น หลังจากการย่อตัวลงเพียงเล็กน้อยในช่วงที่มีข่าวเรื่องสงครามตะวันออกกลาง นักลงทุนกลับมาเปิดสถานะมากขึ้น และให้ความสำคัญกับข่าวสงครามเพียงระยะสั้นเท่านั้น
Source : https://farside.co.uk/?p=997
ในส่วนของ Bitcoin ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลออกจาก Spot Bitcoin ETFs รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 274.3 ล้านเหรียญ โดยแรงเทขายส่วนใหญ่มากจาก FBTC และ ARKB เป็นหลัก ในขณะที่ GBTC แทบจะไม่มีแรงขายออกมาแล้ว ทำให้รวมกันกลายเป็นแรงขายสุทธิ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความกังวลด้านสงคราม ที่ส่งผลให้นักลงทุนลดความเสี่ยงลง ไม่ใช่แค่เพียง Bitcoin แต่รวมถึงสินทรัพย์อื่นอย่างตลาดหุ้นด้วย
Source : https://farside.co.uk/?p=1518
ในส่วนของ Ethereum ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลออกทั้งสิ้น 25.4 ล้านเหรียญ ถึงแม้จะเป็นเงินไหลออกสุทธิจากแรงขายของ ETHE แต่นับว่าเริ่มเห็นแรงซื้อเข้ามาจากลูกค้าของ Blackrock แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจของนักลงทุนสถาบันที่เพิ่มมากขึ้น
ถึงแม้ว่าตลาดจะมีการปรับตัวลงจากความกังวลด้านสงครามเมื่อต้นสัปดาห์ก่อน แต่ก็ถือว่าเป็นการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดที่ดี โดย Bitcoin ได้มีการปรับตัวขึ้นจากระดับ $50,000 – $55,000 ไปยืนอยู่ที่ $60,000 กว่า ๆ และข้อมูลในอดีตก็แสดงให้เห็นว่า ความกังวลเรื่องสงครามมักจะส่งผลต่อตลาดในระยะสั้นเท่านั้น และมีการฟื้นตัวที่รวดเร็ว ทำให้การปรับตัวลดลงนับว่าเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าสะสม
หากสังเกตพฤติกรรมของนักลงทุนระยะยาว จะเห็นได้ว่ามีแรงซื้อเข้าสะสมเรื่อย ๆ บ่งบอกถึงความมั่นใจของนักลงทุนต่อตลาด ซึ่งข้อมูลในอดีตก็บ่งชี้ว่าช่วง Accumulation ของนักลงทุนกลุ่มนี้ ตลาดมักจะยังมี Upside ให้เติบโตได้อีก เนื่องจากนักลงทุนกลุ่มนี้ มีความเข้าใจในตลาดและไม่ตอบสนองต่อความผันผวนในระยะสั้น
Source : https://insights.glassnode.com/the-week-onchain-week-40-2024/
ในทางกลับกัน เนื่องจากนักลงทุนระยะสั้นมักจะตอบสนองรุนแรงต่อความผันผวนมากกว่า ทำให้การสังเกตพฤติกรรมดังกล่าวสามารถบ่งบอกถึงทิศทางของตลาดได้เป็นอย่างดี เมื่อพิจารณาจากดัชนีอย่าง Short-Term Holder MVRV ที่มีค่าอยู่ใกล้เคียง 1 หมายความว่า สถานะของนักลงทุนกลุ่มนี้ค่อนข้างจะเป็นกลาง คือไม่กำไรและไม่ขาดทุนมากจนเกินไป ทำให้นักลงทุนกลุ่มนี้ไม่มีความกดดันจากการขาดทุน สามารถตีความได้ว่า ตลาดในปัจจุบันมีความแข็งแรงและไม่ได้รับผลกระทบมากจากข่าวสงคราม
Source : https://insights.glassnode.com/the-week-onchain-week-40-2024/
by Cryptomind Advisory
หลังจากการปรับตัวลงช่วงสัปดาห์ที่แล้ว $BTC ก็ได้มีการ Retrace กลับขึ้นมาอีกครั้งโดยขยับตัวขึ้นไปแบบ Sideway Up หากดูในภาพรวมแล้วการย่อนี้ก็เหมือนการทำ Higher Low แล้ว หากราคาในช่วงสัปดาห์ข้างหน้านั้นสามารถขึ้นไป Break Local High ได้บริเวณแนวต้าน $67,000 ก็จะเป็น Bullish Case ของ $BTC อย่างมาก อย่างไรก็ตามถ้าราคายังผ่านแนวต้านดังกล่าวไม่ได้ ก็อาจจะ Sideway ออกไปก่อนในช่วงสัปดาห์ข้างหน้านี้
แนวต้าน : $67,000 | $72,000 | $76,500
แนวรับ : $61,000 | $56,500 | $52,000
$ETH ในระยะสั้นได้มีการทำ Higher Low ให้เห็นแล้ว ถ้าราคาสามารถขึ้นไป Break แนวต้าน Trendline ขาลงบริเวณราคา $2,700 ได้ ก็จะเป็นการทำ Pattern Inverse H&S ซึ่งจะเป็น Momentum ที่ Bullish อย่างมากกับ ETH ซึ่งอาจสอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของ RSI อีกด้วย อย่างไรก็ตามในกรณีที่ยัง Breakout ไม่ได้ก็อาจจะ Sideway ออกไปก่อนในช่วงข้างหน้า
แนวต้าน : $2,700 | $2,870 | $3,350
แนวรับ : $2,340 | $2,150 | $1,880
by Cryptomind Advisory
ตลาดกำลังมองเห็นโอกาสของเกิด Soft landing ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังจากการลดดอกเบี้ยของ FED ทำให้ตลาดเริ่มเปิดความเสี่ยงมากขึ้น ขณะที่ Bitcoin Dominance ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงมากกว่า 50% ผนวกกับการมาของ Ethereum และ Bitcoin spot ETF / Options และมุมมองเชิงบวกมาก ๆ ต่อตลาดคริปโทฯ โดยรวม ในสหรัฐฯ ในเชิงการเมืองที่อาจจะเห็นภาพชัดเจนในไตรมาสที่ 4 และเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ผันผวนในสัปดาห์นี้ จึงแนะนำให้นักลงทุนถือสัดส่วนของ Bitcoin เอาไว้เพื่อลด Drawdown โดยรวมของพอร์ต และเพิ่มสัดส่วนของ Ethereum ในพอร์ตเพิ่มขึ้น บวกกับถือสัดส่วนของ Altcoins ที่มีพื้นฐานที่ดีรับสัญญาณของ Altcoins season และเก็บ Stablecoin ที่เป็น USD เพื่อใช้เป็นไม้สำรอง
BITCOIN 40%
SELECTIVE LARGE MARKET CAP (30-35%)
SELECTIVE SMALL-MID MARKET CAP ALTCOINS (10-15%)
STABLECOINS 15%
Merkle Capital
ที่มา: https://merkle.capital/articles/Merkle-Weekly-Snapshot-7th-11th-October-2024
คำเตือน
สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ | ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต | ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อเสนอการลงทุนหรือการจัดการใด ๆ ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล | เนื้อหาข้างต้นเป็นการรวบรวมเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลในอดีตอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล
หุ้นจีนพุ่งแรงหลังทางการจีนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่จะไปต่อได้อีกไหมจากตรงนี้? เป็นคำถามหลักในใจนักลงทุนไทยที่ติดหุ้นจีนอยู่ หรือแม้ไม่ได้ลงทุนแล้วหลายท่านก็กลับมาสนใจหุ้นจีนกันอีกครั้ง
ดีกรีความผันผวนของหุ้นจีนนั้นอยู่ในขั้นมหาศาล แค่ระยะเวลาเดือนเดียวดัชนี Hang Seng พุ่งทะยานจากระดับ 17,000 ขึ้นไปแตะ 22,000จุด พร้อมกับดัชนี CSI 300 ที่ทะยานขึ้นเกิน 1,000 จุดไปที่ระดับ 4,200 คิดเป็นการปรับตัวขึ้นราว 30-35% ในทั้งสองตลาด
นักเศรษฐศาสตร์และนักกลยุทธ์การลงทุนทั่วโลกมีทั้งเห็นด้วยและเห็นต่างสำหรับโอกาสการกลับมาของเศรษฐกิจและหุ้นจีน
ส่วนตัวผมเรียกตลาดกระทิงจีนครั้งนี้ว่า “ตลาดกระทิงเซินเจิ้น” มีหลายอย่างที่น่าสงสัยว่าจะไม่ใช่ของจริง แต่ก็มีหลายเหตุผลที่อาจทำให้ตลาดหุ้นจีนเป็นขาขึ้นต่อไปได้
เริ่มต้น มองแบบนักลงทุนช่างสงสัยก่อน
การกระตุ้นครั้งนี้แม้คาดกันว่าจะมีปริมาณเงินก้อนใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อาจไม่ช่วยมากเพราะขนาดเศรษฐกิจจีนใหญ่กว่าเดิมเช่นกัน
ทางการจีนตั้งเป้ากระตุ้นเศรษฐกิจในหลายช่องทาง ทั้งนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง นโยบายภาคอสังหาริมทรัพย์ ไปจนถึงการกระตุ้นตลาดหุ้น นับถึงตอนนี้คาดว่าการกระตุ้นทั้งหมดรวมแล้วจะมีขนาดถึงกว่า 8 ลล.หยวน มากที่สุดในประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ดี ด้วยขนาดของเศรษฐกิจจีนล่าสุดที่มีขนาดถึงที่ราว 130 ลล.หยวน การกระตุ้นครั้งนี้จึงมีขนาดเพียง 6% GDP น้อยกว่าปี 2008 และ 2015 ขณะที่ผลกับเศรษฐกิจคาดว่าจะทำให้ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้นราว 0.5-0.6% ถือเป็นการแก้ตลาดหมี แต่อาจไม่ใช่กระทิงรอบใหม่
ประเด็นต่อมาคือปัญหาในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่อาจไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบหรือหาหน่วยงานรัฐมาซื้อในปริมาณตามข่าว
ไม่ใช่เพราะนโยบายไม่ดี แต่ผมมองว่าขนาดและวิธีการไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
เพราะตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจีน คาดว่าจะมีขนาดถึง 100 ลล.ดอลลาร์ หรือ 700 ลล.หยวน ใกล้เคียงกับมูลค่าของตลาดหุ้นทุกประเทศรวมกัน
แต่ขนาดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับอสังหาฯ โดยตรงกลับมีขนาดไม่ถึง 1 ลล.หยวน ด้วยซ้ำ จึงเป็นเรื่องที่เชื่อได้ยากว่าปัญหานี้ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม
นอกจากนั้น ราคาบ้านในจีนอาจหยุดปรับตัวลงจากการกระตุ้นอารมณ์ตลาดระยะสั้น แต่ถ้ามองในระยะยาว ราคาบ้านในจีนปัจจุบันอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสมด้วย Price to Rent Ratio ที่สูงถึงกว่า 75x เทียบกับค่าเฉลี่ยโลก 20x แม้กำลังซื้อจะกลับมาแต่ท้ายที่สุดก็ยากที่จะยั่งยืน
โดยรวมผมจึงมองว่ามาตรการเศรษฐกิจของจีนครั้งนี้อาจไม่ใช่การกระตุ้น (Stimulus) แต่เป็นการสร้างเสถียรภาพ (Stabilize) ให้กับตามมากกว่า
แต่ก็ใช่ว่าทั้งหมดนี้จะไม่ดี การอัดฉีดด้วยหลากหลายมาตรการ หลายครั้ง รวมกันสามารถปรับอารมณ์ตลาดได้
เห็นได้ชัดจากการปรับตัวขึ้นของตลาด นโยบายแรก ๆ ไม่ค่อยมีผลเท่าไหร่ แต่เมื่อทางการเห็นว่าตลาดไม่ตอบรับ ก็ยิงนโยบายออกมาต่อเนื่องจนกลายเป็นความเชื่อของตลาดว่า ทางการจีนเข้าสู่โหมด “Whatever it takes” หรือจะทำอะไรก็ตามที่ทำให้เศรษฐกิจกลับมาเติบโตได้ตามเป้า
ความหวังนี้ทำให้นักลงทุนเชื่อว่าถ้าเศรษฐกิจไม่ฟื้นการกระตุ้นจะต้องมีต่อไปอีก ทำให้เงินลงทุนเดิมเกิดความฮึกเหิม และเงินลงทุนใหม่อยากเข้าสู่ตลาดเพราะเชื่อว่าผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว
นอกจากนั้น จังหวะการกระตุ้น ถือเป็นเวลาเหมาะสม ไม่ใช่แค่เพราะราคาหุ้นจีนอยู่ในระดับต่ำ แต่หุ้นทั่วโลกแพง และเฟดลดดอกดเบี้ยพอดีด้วย
เปรียบเทียบระดับ P/E ก่อนการกระตุ้นของ MSCI All Country World ที่ราว 20x กับ MSCI China ที่ราว 10x ถือเป็นระดับที่ถูกมากในเชิงเปรียบเทียบ แม้หุ้นจีนจะปรับตัวขึ้นมาแล้วในปัจจุบันก็ยังถือว่าไม่แพงเมื่อเทียบกับหุ้นโลก
ในทางกลับกัน หุ้นโลกปัจจุบันก็กระจุกตัวอยู่ในตลาดสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับราคาที่แพงใกล้จุดสูงสุดตลอดกาล แถมยังมีการเลือกตั้งใหญ่รออยู่ในอีกเดือนข้างหน้า นักลงทุนทั่วโลกจึงมองเป็นโอกาสสำหรับการกระจายการลงทุน
นอกจากนั้น การที่เฟดลดดอกเบี้ยก็เป็นอีกหนึ่งแนวโน้มที่ทำให้เงินทุนไหลออกจากสหรัฐฯ ได้ถูกลง ทางการจีนกระตุ้นเศรษฐกิจได้ง่าย ไม่ต้องกังวลเงินหยวนอ่อนหรือเงินทุนไหลออกมากอีกด้วย เรียกว่าราคาถูก ถูกที่ ถูกเวลา พร้อมกัน
ถึงตรงนี้ถ้าให้สรุปว่า ตลาดกระทิงเซินเจิ้น เป็นของจริงแค่ไหน
ต้องตอบว่าในมุมเศรษฐกิจ เป็นเรื่องยากที่นโยบายเหล่านี้จะสามารถทำให้จีนกลับไปขยายตัวสูงได้อย่างเดิม หรือปัญหาในตลาดอสังหาฯ จะหมดไป
แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าทางการจีนทยอยส่งนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเข้าตลาดต่อเนื่องก็เป็นผลดีกับตลาดหุ้นแน่นอน
สำหรับผม การปรับตัวขึ้นของหุ้นจีน เป็นแค่จุดเริ่มต้นของมุมมองว่าหุ้นจีนลงทุนได้แล้ว ถ้ารับความเสี่ยงได้ไม่สูง อาจเลือกเริ่มที่ H-Share ที่พื้นฐานดีมีโอกาสเห็นนักลงทุนต่างชาติกลับเข้าลงทุน ส่วนถ้ารับความเสี่ยงได้สูง สามารถเลือก A-Share ที่คาดว่าจะได้รับแรงหนุนจากอารมณ์ตลาดของนักลงทุนในประเทศจีนมากที่สุด
ไม่ว่าตลาดกระทิงเซินเจิ้นนี้จะเป็นของจริงหรือไม่ หุ้นจีนก็ควรมีที่ยืนในพอร์ตลงทุนของเราครับ
ขนาดการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนในอดีตตั้งแต่ปี 2008 – 2024
ที่มา: PBOC, Bloomberg, FSS
ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์
YLG เปิดเผยสถิติการลงทุนในทองคำตั้งแต่ปี 2559 โดยพบว่าหากนักลงทุนถือทองคำแบบ Buy and Hold จะได้รับผลตอบแทนสูงถึง 124% ขณะที่การออมทองทุกเดือนให้ผลตอบแทนที่ 63% แนะนำให้ลงทุนทองเพื่อรับนิวไฮในรอบใหม่ โดยมองว่าราคาทองคำอาจแตะระดับสูงสุดที่ 2,700-2,750 ดอลลาร์/ออนซ์
หากนักลงทุนเริ่มออมทองตั้งแต่ปี 2559 เมื่อราคาทองคำในตลาดโลกต่ำกว่า 1,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ จะได้รับผลตอบแทนรวม 63% หากถือยาวจะได้ผลตอบแทนสูงถึง 124% โดยคำนวณจากราคาปัจจุบันที่อยู่ที่ประมาณ 2,650 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ ซึ่งถือว่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับผลตอบแทนจากการฝากเงิน
ปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจากนโยบายการเงินของสหรัฐ โดยเฉพาะการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ล่าสุดลดลง 0.50% ในเดือนกันยายน และมีแนวโน้มว่าจะลดอีก 2% ในอีก 2 ปีข้างหน้า การลดดอกเบี้ยจูงใจให้นักลงทุนหันมาถือครองทองคำแทนการลงทุนในดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนลดลง ขณะที่การออมทองไม่ได้รับผลกระทบจากการลดดอกเบี้ย
อย่างไรก็ตาม แม้ราคาทองคำจะปรับตัวสูงขึ้นใกล้ระดับเป้าหมายที่ YLG ตั้งไว้ที่ 2,700-2,750 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ นักลงทุนที่ต้องการทำกำไรยังมีโอกาสเข้าลงทุน เนื่องจากทองคำมักจะมีการปรับตัวลงก่อนที่จะถึงเป้าหมาย ซึ่งควรติดตามจุดเข้าซื้อที่ 2,600, 2,610 และ 2,620 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์
หากทองคำขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 2,700 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ หรือมากกว่านั้นถึง 2,750 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ หลังจากนั้นอาจมีการปรับฐานใหญ่ลงมาอยู่ที่ระดับ 2,350-2,380 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ ขณะที่ราคาทองในประเทศอาจลดลงต่ำกว่า 40,000 บาทต่อบาททองคำ ไปอยู่ที่ระดับ 38,000-39,000 บาทต่อบาททองคำ ซึ่งจะเป็นจุดที่เหมาะสมในการเข้าซื้ออีกครั้ง
ที่มา: https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?ref=G&id=SWVjTm9NVGJMa0U9
อ่านคำแนะนำ MEVT Call เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/opportunity-hub/investment-call/mevt/gold-jul-2024
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
ฟินโนมีนา ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการลงทุนครบวงจรชั้นนำของประเทศไทย ได้เข้าร่วมงานลงทุนนอก 2024 ณ ไอคอนสยาม เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2024 ที่ผ่านมา หนึ่งไฮไลต์สำคัญคือ Workshop หัวข้อ “Contrarian Investing: ลงทุนกองทุนอย่างไรให้ WIN RATE สูง” โดย นายเจษฎา สุขทิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Finnomena Group
ลงทุนนอก 2024 เป็นงานสัมมนาที่รวบรวมนักลงทุนผู้มีประสบการณ์และผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนต่างประเทศมาแบ่งปันความรู้และมุมมองเกี่ยวกับโอกาสการลงทุนในตลาดโลก โดยมีธีมหลักอยู่ที่การค้นหาหุ้นที่มีราคาต่ำแต่มีศักยภาพเติบโตสูง (Deep Value) และการลงทุนในธุรกิจแห่งอนาคต (Exponential Growth)
ในงานนี้ ฟินโนมีนาได้เข้าร่วมและนำเสนอแนวคิดการลงทุนสไตล์ Contrarian โดย นายเจษฎา สุขทิศ กล่าวว่า “การลงทุนสไตล์ Contrarian เป็นการลงทุนทวนกระแสตลาด เน้นการค้นหาสินทรัพย์ดีราคาถูก ซึ่งมีโอกาสที่จะฟื้นตัวและเติบโตในอนาคต ต้องอาศัยทั้งความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการวิเคราะห์สินทรัพย์และตลาด ซึ่งใน Workshop ครั้งนี้ ผมได้นำเสนอแนวทางในการจัดพอร์ตการลงทุนแบบ Contrarian ที่เหมาะสม รวมถึงเทคนิคในการคัดเลือกกองทุนที่มีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่ดี”
นอกจาก Workshop ดังกล่าว ฟินโนมีนายังได้นำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุน อาทิ โพยกองทุนลดหย่อนภาษีที่คัดสรรมาอย่างดี เพื่อช่วยให้เลือกลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สไตล์การลงทุน 5 รูปแบบซึ่งครอบคลุมทุกความต้องการของนักลงทุน ตั้งแต่การลงทุนระยะสั้น-กลาง-ยาว ไปจนถึงการจัดพอร์ตเพื่อกระจายความเสี่ยงและวางแผนการลงทุน แพลตฟอร์มการลงทุน ที่ใช้งานง่าย สะดวกสบาย และมีเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจลงทุน
ฟินโนมีนายังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการลงทุนที่ครบวงจรเพื่อทำให้การลงทุนเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน ช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงโอกาสการลงทุนที่หลากหลายและสร้างพอร์ตการลงทุนที่ตรงกับเป้าหมายทางการเงินผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัยและทีมงานผู้เชี่ยวชาญ
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
ฟินโนมีนา (Finnomena) บริษัทผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการลงทุนชั้นนำของไทย ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่กิจระดับประเทศด้วยการคว้ารางวัลชนะเลิศ ฝั่งนวัตกรรมแห่งชาติด้านเศรษฐกิจ ประเภทวิสาหกิจขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลาง จากงาน National Innovation Awards 2024 (NIA) เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2024 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ
National Innovation Awards (NIA) หรือ รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ จัดขึ้นโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมในประเทศไทย มุ่งเน้นผลงานนวัตกรรมที่โดดเด่น มีศักยภาพในการสร้างคุณค่าหลากหลายด้าน รางวัลอันทรงเกียรตินี้เป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นของฟินโนมีนาในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการเงินในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการให้บริการด้านการลงทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนยุคใหม่
นายกสิณ สุธรรมมนัส Chief Strategy Officer ของ Finnomena กล่าวว่า “การได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติในครั้งนี้ ถือเป็นความภาคภูมิใจของทีมงานฟินโนมีนาเป็นอย่างยิ่ง รางวัลนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของเราในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และเป็นแรงผลักดันให้เราเดินหน้าพัฒนาแพลตฟอร์มของเราให้ดียิ่งขึ้นต่อไป เรามุ่งหวังเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการลงทุน ผ่านการพัฒนาแพลตฟอร์มการลงทุนที่ใช้งานง่าย สะดวกสบาย และมีประสิทธิภาพ ช่วยให้นักลงทุนทุกระดับสามารถเข้าถึงโอกาสทางการลงทุนได้อย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ เรายังมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและแนะนำการลงทุนอย่างใกล้ชิด”
จุดเด่นของฟินโนมีนา ได้แก่ แพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ที่จะให้บริการครอบคลุมทุกขั้นตอนของการลงทุน ตั้งแต่การเปิดบัญชี การลงทุน และการติดตามผล มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนทุกกลุ่ม รวมไปถึงการมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำการลงทุนอย่างมืออาชีพ ปัจจุบันฟินโนมีนามีสมาชิกมากกว่า 650,000 คน มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของทุกกองทุนทุกประเภทที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการ (Asset Under Management: AUM) ประมาณ 45,000 ล้านบาท จากนักลงทุนมากกว่า 150,000 ราย
ธนาคารกลางโลกคาดการณ์ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนจะอ่อนแอลงอีกในปี 2568 แม้รัฐบาลจีนจะได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชั่วคราวเมื่อไม่นานมานี้ก็ตาม โดยความอ่อนแอของเศรษฐกิจจีนจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียอย่างมีนัยสำคัญ
ธนาคารโลกระบุในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจประจำครึ่งปีที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอลงแตะระดับ 4.3% ในปี 2568 จากระดับ 4.8% ในปี 2567 ซึ่งจะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
ธนาคารโลกกล่าวว่า “การเติบโตของเศรษฐกิจจีนได้เอื้อประโยชน์ต่อประเทศเพื่อนบ้านมานานถึง 30 ปี แต่ขนาดของแรงขับเคลื่อนนี้กำลังลดลงในขณะนี้” พร้อมเสริมว่า “นโยบายด้านการคลังของจีนที่เพิ่งส่งสัญญาณเมื่อไม่นานมานี้อาจช่วยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่ในระยะยาว การเติบโตของเศรษฐกิจจีนจะขึ้นอยู่กับการปฏิรูปโครงสร้างในระดับที่ลึกขึ้น“
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ทางการจีนได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้ที่ประมาณ 5% แต่การบรรลุเป้าหมายดังกล่าวดูเหมือนจะห่างไกลเมื่อพิจารณาจากข้อมูลเศรษฐกิจในเดือนสิงหาคม ที่แสดงให้เห็นว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงและตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงทรุดตัว โดยในช่วงปลายเดือนกันยายน รัฐบาลจีนได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายรายการ ซึ่งส่วนใหญ่เน้นไปที่นโยบายการเงิน รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นอกจากนี้ รายงานของธนาคารโลกยังระบุว่า เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกอาจได้รับผลกระทบจากการไหลออกของเม็ดเงินด้านการค้าและการลงทุน รวมถึงความไม่แน่นอนในนโยบายทั่วโลกด้วย
ชมรมหุ้นกู้ – รายการที่จะพาผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุยถึงข่าวในวงการหุ้นกู้ หุ้นกู้ออกใหม่ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นกู้ พร้อมคลินิกหุ้นกู้ ให้นักลงทุนได้สอบถามความเห็นที่เป็นกลางตามหลักสากล และวิธีลงทุนในหุ้นกู้ได้อย่างถูกต้อง!
ติดตามรายการชมรมหุ้นกู้ได้ทุกวันอังคาร เวลา 19.00 น. ที่ Youtube & Facebook Finnomena