ไม่มีบทความ |
“Hello! IPO รายการที่จะพาทุกคนพบกับกองทุนเปิดใหม่แกะกล่องประจำสัปดาห์ พร้อมแนะนำกองทุน IPO ที่น่าสนใจ”
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast
ที่ Franklin Templeton นั้น เรามีทีมการลงทุนกระจายอยู่ทั่วโลก แต่ละคนก็มีวิธีแนวทางที่ต่างกันไปก็จริง ถึงอย่างนั้น หากหนึ่งปีก่อนหน้านั้นมีใครถามว่าเราคาดการณ์อนาคตอย่างไร ก็คงไม่มีใครคาดว่าโควิด-19 จะมาเป็นตัวสร้างความผันผวนให้กับตลาดในช่วงต้นปี 2020 เป็นแน่ หรือแม้กระทั่งว่าตลาดหุ้นจะฟื้นตัวเร็วมาก และสามารถแตะจุดสูงสุดตลอดกาล (All-Time High) ในอีกหนึ่งปีต่อมา
คำถามต่อไปคือ แล้วจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อไปล่ะ? แม้ว่าตอนนี้ตลาดหุ้นจะสดใส แต่ก็ต้องอย่าลืมว่าโรคระบาดก็ยังคงอยู่ และประชากรอีกจำนวนมากที่ยังรอคอยวัคซีนอยู่ นี่จึงเป็นตัวสร้างแรงกดดันในแง่ของสุขอนามัยโลก และระบบเศรษฐกิจโดยรวม
บทความนี้เราจะขอมาแชร์ 4 อย่างที่เรากำลังจับตามอง ซึ่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
มูลค่าของหุ้นโลกนั้นดูเหมือนว่าจะสะท้อนข้อสันนิษฐานที่ว่าหลาย ๆ ภูมิภาคของโลกจะกลับมาเปิดประเทศในปีนี้ และการเติบโตของ GDP จะกลับมาฟื้นตัวเมื่อการบริโภคกลับมาดีขึ้น จากการวิเคราะห์ของเรา เราเห็นว่ามีความต้องการบริโภคที่สะสมมาจากช่วงก่อนหน้า (Pent-Up Demand) สูงในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ก็ยังมีจำนวนเงินกระตุ้นเศรษฐกิจอีกมหาศาลในระบบการเงิน
คาดการณ์การเติบโตของ GDP ในแต่ละภูมิภาค
ที่มา: Franklin Templeton Investment Institute, IMF, WEO
ข้อมูล ณ มกราคม 2021
ถึงอย่างนั้น เราก็เชื่อว่าการมาถึงของวัคซีนจะเป็นตัวกำหนดอัตราการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แม้ว่าการแจกจ่ายวัคซีนจะช้ากว่า และมีประสิทธิภาพน้อยกว่าที่เราหวังไว้ก็ตาม แต่เราก็ยังเชื่อว่าผลลัพธ์และประสิทธิภาพจะเพิ่มขึ้นตามมาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้
สัดส่วนประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีน เมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมด
ที่มา: Franklin Templeton Investment Institute, Bloomberg
ข้อมูล ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2021
คำถามที่นักลงทุนทั่วโลกถามเราคือ “ตลาดหุ้นแพงไปหรือยัง?” โดยรวมแล้ว เรายังเชื่อว่า P/E ของหุ้นโลกนั้นยังสมเหตุสมผล เมื่อเทียบกับในอดีตและเทียบกับสินทรัพย์อย่างตราสารหนี้ ดังที่แสดงในภาพด้านล่าง
P/E แบบปรับเงินเฟ้อ (Cyclically-Adjusted P/E Ratio, CAPE) ของ S&P 500
ที่มา: Franklin Templeton Investment Institute, S&P/Robert Shiller, Macrobond
ข้อมูล ณ มกราคม 2021
ในฐานะนักลงทุนมืออาชีพ พวกเราดูหลาย ๆ ปัจจัยเพื่อตัดสินว่าราคาหุ้นนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ อาทิเช่น การเติบโตของกำไรในปัจจุบันและอนาคต ค่า P/E อัตราปันผล อัตราแลกเปลี่ยน และจำนวนหุ้น ขอยกตัวอย่างเป็นการเติบโตของกำไร เราจะเห็นได้ว่ามีการคาดการณ์ว่ากำไรจะฟื้นตัวดีขึ้นในปีนี้ สำหรับหลาย ๆ บริษัทที่อยู่ในประเทศซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่
คาดการณ์การเติบโตของกำไร เทียบกับปี 2019
ที่มา: Franklin Templeton Investment Solutions, MSCI, Bloomberg, Macrobond
อย่างไรก็ดี เราขอแนะนำว่าอย่าปักใจเชื่อการคาดการณ์เหล่านี้มากเกินไปจนกว่าเศรษฐกิจจะกลับมาเปิดอีกครั้ง และกำไรของบริษัทฟื้นตัวดีขึ้นจริง ๆ นี่คือหนึ่งเหตุผลว่าทำไมเราถึงคิดว่าค่า P/E ยังเป็นตัวบ่งชี้มูลค่าหุ้นที่ไม่ค่อยดีนักในสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย
มาตรการกระตุ้นทั้งด้านการเงินและการคลังคือหนึ่งตัวการสำคัญของสภาพคล่องที่เพิ่มปริมาณสูงขึ้นมากทั่วโลก ถึงอย่างนั้น เงินกระตุ้นเหล่านี้กลับไหลไปอยู่ในบัญชีเงินฝากและตลาดหุ้นแทนที่จะเป็นการบริโภค
สัดส่วนมาตรการกระตุ้นของธนาคารกลางแต่ละประเทศ เทียบกับ GDP โลก
ที่มา: Franklin Templeton Investment Solutions, Federal Reserve (Fed) , IMF, RBA, BCB, StatCan, People’s Bank of China (PBoC), Central Bank of Denmark (Danmarks Nationalbank), European Central Bank (ECB), Central Bank of Iceland, RBI, Bank of Japan (BOJ), BNM, BANXICO, RBNZ, Bank of Norway (Norges Bank), QCB, CBRF, SAMA, BOK, Riksbanken, Central Bank of Taiwan, TCMB, Bank of England (BoE), Macrobond
ดังนั้น เราจึงคิดว่ามาตรการกระตุ้นน่าจะเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับการเติบโตของ GDP ของหลาย ๆ ภูมิภาค ถ้ามาตรการกระตุ้นส่งผลให้เศรษฐกิจร้อนแรงได้จริงตอนที่กลับมาเปิดประเทศ เราเชื่อว่านี่จะเป็นผลดีกับหุ้นในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) ซึ่งได้ประโยชน์จากการผลิตและส่งออกวัสดุกับโภคภัณฑ์
อีกหนึ่งผลข้างเคียงของมาตรการกระตุ้นก็คือ บริษัทต่าง ๆ มีการนำเงินสดที่เพิ่มขึ้นใน Balance Sheet ไปซื้อหุ้นคืน จนทำให้ปริมาณของหุ้นลดลง ในขณะที่ความต้องการซื้อหุ้นเพิ่มขึ้น
ถึงแม้ว่ามุมมองต่อหุ้นโลกของเราจะดูสดใส แต่นักลงทุนก็ควรเตรียมตัวสำหรับสถานการณ์ที่ตลาดกลับมาสมดุลมากขึ้น ตอนนี้เราเริ่มเห็นกระแสการเปลี่ยนจากหุ้นเติบโตของสหรัฐฯ (ที่ทำผลงานได้ดีในช่วงปีที่ผ่านมา) ไปสู่หุ้นคุณค่า รวมถึงหุ้นที่มีแนวโน้มได้ประโยชน์หากเศรษฐกิจโลกกลับมาปกติดังเดิม
นอกเหนือไปจากนี้ เราคาดการณ์ว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะอ่อนลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อหุ้นต่างประเทศ ดังที่โชว์ในภาพด้านล่าง เราค่อนข้างชอบตลาดหุ้นเกิดใหม่ ที่ซึ่งดัชนีเริ่มจะสะท้อนการเติบโตของเศรษฐกิจ ในญี่ปุ่นเองนั้น บริษัทต่าง ๆ ก็เริ่มจัดการ Balance Sheet ของตนเองแล้ว
เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของค่าเงินดอลลาร์ กับหุ้นประเทศอื่น ๆ เมื่อดอลลาร์อ่อน ก็มีแนวโน้มว่าเงินจะไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ขึ้น
ที่มา: Franklin Templeton Investment Institute, MSCI, ICE, Macrobond
สุดท้ายแล้ว นักลงทุนอาจจะลองเสาะหาโอกาสใน “ธุรกิจสีเขียว” ดูได้เช่นกัน เนื่องจากรัฐบาลให้การสนับสนุนเงินจำนวนมากขึ้นเข้าไปในกลุ่มพลังงานสะอาด และสถาบันต่าง ๆ ก็เริ่มจริงจังกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศมากขึ้น อย่างไรก็ดี เราคิดว่าเหล่า “ธุรกิจสีเขียว” นั้นก็ต้องพิสูจน์การสร้างกำไรให้ได้เช่นกัน
เนื้อหาต้นฉบับโดย Stephen Dover
Chief Market Strategist and Head of Franklin Templeton Investment Institute
เรียบเรียงโดย FINNOMENA Admin
ข้อสงวนสิทธิ์
แฟรงคลิน เทมเพิลตัน (“Franklin Templeton”) ไม่รับผิดใด ๆ ต่อบุคคลภายนอก ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ บริการ เว็บไซต์ หรือเนื้อหาใด ๆ ที่ได้จัดทำหรือปรากฏในช่องทางต่าง ๆ ของบุคคลภายนอกนั้น อีกทั้ง Franklin Templeton ไม่ได้ให้คำรับรอง รับประกัน หรือเป็นตัวแทน ไม่ว่าจะโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายในเนื้อหาหรือความถูกต้องของข้อมูลในช่องทางต่าง ๆ ของบุคคลภายนอก และไม่รับผิดต่อสิ่งใด ๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้น
ในกรณีที่มีความแตกต่างกันระหว่างเอกสารภาษาอังกฤษกับการแปลเป็นภาษาไทย ให้ยึดถือตามเอกสารภาษาอังกฤษ
แหล่งข้อมูล
ASP-POWER อยู่ในช่วง IPO ระหว่างวันที่ 4-15 มี.ค. 2564 ลูกค้า FINNOMENA สามารถโทรเข้ามาทำรายการซื้อได้ก่อนเวลา 14.00 น. ของแต่ละวันทำการ
ภาพแสดงการคาดการณ์แนวโน้มการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในอนาคต ที่มา: เอกสารการขายกองทุน ASP-POWER (IPO)
ภาพแสดงการคาดการณ์แนวโน้มการการเติบโตของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนในอนาคต ที่มา: เอกสารการขายกองทุน ASP-POWER (IPO)
ภาพแสดงการคาดการณ์การเติบโตของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (เฉลี่ย) ที่มา: เอกสารการขายกองทุน ASP-POWER (IPO)
ASP-POWER ลงทุนในธุรกิจที่ผลิตและใช้ประโยชน์จากพลังงานแห่งอนาคต 3 รูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น
1) iShares Global Clean Energy ETF (ICLN)
กองทุน ETF จากค่าย iShares ที่เน้นลงทุนในพลังงานทางเลือกอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานสะอาดในรูปแบบอื่น ๆ
2) Global X Lithium & Battery Tech ETF (LIT)
ลงทุนแบบจัดเต็มในเทคโนโลยีลิเธียมจากการขุดและการกลั่นแร่ดังกล่าว ไปจนถึงการผลิตแบตเตอรี่
3) KraneShares Electric Vehicles & Future Mobility ETF
เฟ้นหาการลงทุนในบริษัทยานยนต์ไฟฟ้าหรือมีส่วนเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนา ในส่วนของการผลิต เทคโนโลยีไร้คนขับ แบตเตอรี่แบบลิเธียม รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับไฟฟ้า
*กองทุนอาจลงทุนในแต่ละธีมในสัดส่วนเท่า ๆ กัน แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ในอนาคต
สัดส่วนหุ้นหลักกองทุน iShares Global Clean Energy ETF (ICLN) ที่มา: ishares.com วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2021
1.1) PLUG POWER INC
ผู้ให้บริการเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก ผลิตเซลล์พลังงานแบบไฮโดรเจนที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมและสำหรับตลาดพลังงานสะอาด ซึ่งมีสินค้าและบริการหลัก ๆ อย่าง Genkey ที่ช่วยให้คำปรึกษาในการปรับเปลี่ยนในการใช้เซลล์พลังงานทางเลือก, GenDrive เซลล์พลังงานสำหรับพาหนะ, GenFuel ระบบการขนส่งพลังงานแบบไฮโดรเจน, และ GenCare สำหรับให้บริการการดูแลผลิตภัณฑ์จาก GenDrive และ GenFuel
1.2) ENPHASE ENERGY INC
ผู้ให้บริการการจัดการพลังงานทางเลือกตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่การดีไซน์ระบบ การพัฒนา การผลิต ไปจนถึงการขาย อย่างครบครัน ซึ่งมีผลิตภัณฑ์อย่างอุปกรณ์ Microinverter ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้คู่กับแผงโซลาร์เซลล์รูปแบบใหม่ ซึ่งใช้แผงวงจรแบบแยกที่จะช่วยลดการขัดข้อง จากเดิมที่เป็นการต่อรวมกันรวดเดียว
1.3) DAQO NEW ENERGY ADR REPRESENTING
บริษัทผู้ผลิต Polysilicon (ใช้ในแผงโซลาร์เซลล์ แผงวงจรและอุปกรณ์ semiconductor) และ wafer (ซิลิคอนเกรดที่ใช้สำหรับ semiconductor) ในจีนซึ่งใช้เป็นฉนวนสำหรับอุตสาหกรรมมาแรงอย่าง semiconductor และแผงโซลาร์เซลล์ โดยปัจจุบันมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 12,150 เมตริกตันในเขต ซินเจียง
สัดส่วนหุ้นหลักกองทุน Global X Lithium & Battery Tech ETF (LIT) ที่มา: globalxetfs.com วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2021
2.1) ALBEMARLE CORP
บริษัท ผู้ให้บริการระดับโลกในการพัฒนา การผลิต ในส่วนของสารเคมีเฉพาะทาง เช่น ลิเธียม ซึ่งเป็นสารสำคัญที่เปรัยบเสมือนแขนขาของแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนและรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน
2.2) GANFENG LITHIUM CO LTD-A
บริษัทจากจีนที่เน้นวิจัย พัฒนา และผลิต ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับลิเธียมโดยเฉพาะ มีทั้งแบบเป็นสารประกอบ เหล็กลิเธียมไปจนถึงแบตเตอรี่ลิเธียม
2.3) SAMSUNG SDI CO LTD
บริษัท จากเกาหลีชื่อคุ้นหูอย่าง SAMSUNG ที่หันมาทำในส่วนของแบตเตอรี่ที่ทั้งผลิต จัดจำหน่าย แบตเตอรี่มือถือ แบตเตอรี่ยานยนต์ รวมไปถึงอุปกรณ์เก็บพลังงาน ซึ่งจัดจำหน่ายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ
สัดส่วนหุ้นหลักกองทุน KraneShares Electric Vehicles & Future Mobility ETF ที่มา: kraneshares.com วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2021
3.1) NIO INC – ADR
บริษัท ผลิตและจัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากจีน ที่มีระบบไร้คนขับและเทคโนโลยี AI โดยมีสินค้าอย่างรถ SUV 7 ที่นั่งที่เร่งความเร็วถึง 100 กม/ชม. ในเวลา 4.4 วินาที
3.2) INFINEON TECHNOLOGIES AG
บริษัทเทคโนโลยีจากเยอรมันที่ออกแบบ พัฒนาและผลิต semiconductor สำหรับยานยนต์ อุตสาหกรรมต่าง ๆ และชิปต่าง ๆ
3.3) SOUTHERN COPPER CORP
บริษัท ผู้ผลิตโลหะทองแดงซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับใช้ในการผลิตแบตเตอรี่และมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งการใช้ทองแดงกำลังมีการเติบโตล้อไปกับรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน
ภาพแสดงแนวโน้มความต้องการแร่ทองแดงในรถยนต์ไฟฟ้ารูปแบบต่าง ๆ ที่มา: copperalliance.org วันที่: 17 มิถุนายน 2017
ผลตอบแทนย้อนหลังกองทุน iShares Global Clean Energy ETF (ICLN) ที่มา: ishares.com วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2021 (Fact Sheet 31 ธันวาคม 2020)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ผลตอบแทนย้อนหลังกองทุน Global X Lithium & Battery Tech ETF (LIT) ที่มา: globalxetfs.com วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2021
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ผลตอบแทนย้อนหลังกองทุน KraneShares Electric Vehicles & Future Mobility ETF ที่มา: kraneshares.com วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2021
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ASP-POWER-Sales-kit-IPO-Final2.pdf
https://batteryuniversity.com/learn/archive/is_lithium_ion_the_ideal_battery
https://copperalliance.org/wp-content/uploads/2017/06/2017.06-E-Mobility-Factsheet-1.pdf
https://kraneshares.com/resources/factsheet/2021_01_31_kars_factsheet.pdf
https://www.globalxetfs.com/funds/lit/
https://www.ishares.com/us/literature/fact-sheet/icln-ishares-global-clean-energy-etf-fund-fact-sheet-en-us.pdf
https://www.ishares.com/us/products/239738/ishares-global-clean-energy-etf
https://www.reuters.com/companies/006400.KS
https://www.reuters.com/companies/002460.SZ
https://www.reuters.com/companies/ALB.N
https://www.reuters.com/companies/DQ
https://www.reuters.com/companies/ENPH.OQ
https://www.reuters.com/companies/IFXGn.DE
https://www.reuters.com/companies/NIO.N
https://www.reuters.com/companies/PLUG.OQ
https://www.reuters.com/companies/SCCO.N
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
นาทีนี้คนที่ชอบเล่นหรือซื้อหุ้นดิจิตอลหรือไฮเท็คในต่างประเทศแทบทุกคนน่าจะต้องรู้จัก “ARK ETF” ที่บริหารโดย Cathie Wood นักบริหารกองทุนรวมที่ “ร้อนแรงที่สุด” ในช่วงนี้ เหตุผลก็เพราะว่าผลงานการบริหาร ETF ที่เน้นลงทุนในหุ้นที่เป็นบริษัทไฮเท็คและดิจิตอลที่จะ “เปลี่ยนแปลงโลก” ของเธอหลายกองทุนนั้น ต่างก็สร้างผลงานที่โดดเด่นมากและอยู่ระหว่าง 100 ถึง 200% ต่อปีในปี 2563 ที่ผ่านมา และนั่นทำให้กองทุนที่เป็น ETF ของบริษัท ARK Invest เติบโตขึ้นมหาศาลจากประมาณ 3.5 พันล้านเหรียญหรือ 1 แสนล้านบาทไทย เพิ่มขึ้นเป็น 41.5 พันล้านเหรียญหรือ 1.2 ล้านล้านบาทไทย หรือเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าภายในเวลาเพียงปีเดียว อานิสงส์จากนักลงทุนทั่วโลกรวมถึงไทยที่แห่กันเข้าไปลงทุนใน ETF ของบริษัท
คำเตือนของผมสำหรับคนที่เข้าไปลงทุนใน ETF นี้ก็คือ อย่าคาดหวังว่ามันจะดีเหมือนเดิมหรือแม้แต่จะดีมาก ๆ สำหรับปี 2564 และปีต่อ ๆ ไป เหตุผลเพราะว่าปี 2563 นั้นเป็นปีที่ดีมากสำหรับหุ้นไฮเท็คโดยเฉพาะขนาดเล็กลงมาหน่อยอย่างหุ้นเทสลาที่ ARK ถือไว้มากและหุ้นวิ่งขึ้นมามหาศาลเป็น 10 เท่า เช่นเดียวกับหุ้นไฮเท็ค “เปลี่ยนโลก” อื่น ๆ ที่เติบโตขึ้นอานิสงส์จากโควิด-19 ที่เร่งกระบวนการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการที่สภาพคล่องทางการเงินที่สูงลิ่วทำให้เกิดการเก็งกำไรมหาศาลในตลาดของหุ้นกลุ่มนี้ ผลก็คือ หุ้นใน ETF ของ ARK ทำผลงาน “ทะลุโลก” แต่ทั้งหมดนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอและอย่างรวดเร็วในปีต่อ ๆ ไป เฉพาะอย่างยิ่ง สภาพคล่องทางการเงินที่อาจจะตึงตัวขึ้นเห็นได้จากผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาว 10 ปีของอเมริกาที่เพิ่มขึ้นแรงอย่างน่ากลัวในช่วง 2-3 วันนี้ เนื่องจากคนคาดว่าโควิด-19 กำลังจะผ่านไปและเศรษฐกิจจะกลับมาโตร้อนแรงหลังโควิด ซึ่งจะทำให้หุ้นเศรษฐกิจเก่ากลับมาแต่หุ้นไฮเท็คจะ “ปรับฐาน” จากที่ราคาร้อนแรงเกินไป
อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ ARK ETF อาจจะไม่สามารถสร้างผลงานที่โดดเด่นเหมือนเดิมได้ก็คือการที่มัน “ใหญ่เกินไป” ซึ่งทำให้คนบริหารต้องกระจายการลงทุนและถือหุ้นขนาดใหญ่มากขึ้น ไม่สามารถที่จะเล่นหุ้นตัวเล็กที่มักจะวิ่งได้เร็วและมากกว่า ในกรณีของ ARK เองนั้น ผมเคยฟังการสัมภาษณ์ของ เคที่ วูดแล้วก็รู้สึกว่าเธอ “เล่นหุ้น” ค่อนข้างมาก ความหมายก็คือ ซื้อมา-ขายไปเร็ว มีการ “เก็งกำไร” สูง การซื้อหุ้นตัวเล็กและมีสภาพคล่องต่ำในลักษณะ “Corner” หุ้น เป็นสิ่งที่เธอชอบ เพราะมันสามารถ “ลาก” หุ้นขึ้นไปได้สูงมาก พูดง่าย ๆ สิ่งที่ ARK ทำนั้น คล้าย ๆ กับ “นักลงทุนขาใหญ่” ชอบทำกัน เวลาซื้อหรือขายหุ้นตัวไหนก็จะ “เปิดเผย” ต่อสาธารณะโดยบอกว่าเป็นการแสดงถึงการมี “ธรรมาภิบาลที่ดี” แต่ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นการ “โฆษณา” หุ้น ซึ่งอาจจะทำให้คน “แห่เข้ามาซื้อตาม” ผลก็คือ ราคาหุ้นวิ่งขึ้นมากผิดปกติได้
ทั้งหมดนั้นมาถึงข้อสรุปในการเลือกกองทุนรวมหรือ ETF ข้อแรกของผมก็คือ อย่าซื้อกองทุนรวมที่มีผลงานดีมาก ๆ ในอดีต เพราะประวัติศาสตร์บอกเราว่า กองทุนรวมที่มีผลงานดีในอดีตนั้น มักจะไม่ได้หมายความว่าอนาคตจะดีด้วย และกองทุนที่ผลงานแย่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะแย่ตลอด ตรงกันข้าม กองที่ผลงานในอดีตดี ผลงานในอนาคตก็มักจะแย่ลง และกองทุนที่แย่ โดยเฉลี่ยแล้วในอนาคตก็จะดีขึ้น กลายเป็นว่า ที่ผลงานดีนั้น จริง ๆ ส่วนใหญ่แล้วอาจจะไม่ใช่ “ฝีมือ” ของผู้บริหาร แต่เป็นเรื่องของ “โชค” มากกว่า ในขณะที่ขนาดของกองทุนก็มีส่วนมากที่ทำให้สามารถสร้างผลงานที่ดีมากแบบสุดโต่งได้ และเพราะว่าโชคนั้น มักจะไม่เกิดซ้ำ ๆ ติดต่อกันยาวนาน นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่ากองทุนที่มีผลงานที่ดีในที่สุดก็จะแย่ลงและ “โชค” กลับไปอยู่ในมือของคนที่มีผลงานแย่ในอดีต
วิธีการเลือกกองทุนรวมข้อที่ 2 ก็คือ อย่าเชื่อว่าผู้บริหารกองทุนเป็น “เซียน” ที่จะสามารถสร้างผลตอบแทน “เหนือโลก” ได้ยาวนาน เคที่ วูด เองนั้นเพิ่งจะก่อตั้งและบริหารกองทุนหรือ ETF ของ ARK มาแค่ 7 ปี ซึ่งในแง่ของการลงทุนต้องถือว่าสั้นมากและไม่สามารถที่จะพิสูจน์อะไรได้ ในขณะที่ วอเร็น บัฟเฟตต์ นั้น บริหารเงินลงทุนมากว่า 60 ปี ซึ่งน่าจะต้องถือว่าไม่มีคำว่า “ฟลุ้ก” และแม้แต่บัฟเฟตต์เอง ถ้าศึกษาให้ดีก็จะพบว่า ผลงานการลงทุนในช่วง 30 ปีหลังนั้นก็ไม่ได้น่าประทับใจอะไรและแพ้ดัชนีตลาดด้วยซ้ำ ดังนั้น สำหรับผมแล้ว เคที่ วูด น่าจะยังไม่สามารถถูกบันทึกว่าเป็น “เซียน” ในระดับมือต้น ๆ ของโลกได้ และนี่ก็คือ Dilemma หรือปัญหาของการเลือกผู้บริหารกองทุนที่ว่า ไม่รู้ว่าเป็นเซียนจริงไหม จะรู้ก็ต่อเมื่อเวลามันอาจจะผ่านไปแล้วนานเป็นสิบ ๆ ปีขึ้นไป
ข้อที่ 3 ของกลยุทธ์การเลือกกองทุนรวมสำหรับผม ก็คือ การตั้งสมมติฐานว่า ผู้บริหารกองทุนรวมทั้งหลายนั้น มีฝีมือเท่ากันและเป็นฝีมือระดับ “เฉลี่ย” หรือกลาง ๆ โดยไม่สนใจว่ากองไหนใครบริหารและได้กี่ “ดาว” ดังนั้น เวลาเลือกกองทุนที่จะลงทุนจะต้องดูเรื่องของ “ราคา” หรือค่าธรรมเนียมในการบริหารกองทุนด้วย อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะถ้าค่าบริหารต่างกัน 1-2% แต่สุดท้ายผลงานในระยะยาวก็เท่ากัน กองทุนที่ค่าบริหารต่ำกว่าก็จะให้ผลตอบแทนคิดเป็นเม็ดเงินสูงกว่ามากในช่วงเวลาเป็น 10 ปีขึ้นไป และข้อสรุปของข้อนี้ก็จะนำไปสู่ข้อที่ 4 ที่ว่า
การเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่อิงดัชนีที่มีค่าธรรมเนียมต่ำ เป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีดัชนีหลาย ๆ แบบให้เลือก เช่น ดัชนี “ตลาดหุ้น” เช่น S&P 500 หรือ SET50 หรือดัชนีหุ้นไฮเท็กที่มักอยู่ในตลาด Nasdaq นอกจากนั้นแล้วก็น่าจะมีที่เป็นแบบ Sector เช่นในกลุ่มของหุ้นเกี่ยวกับสุขภาพและดิจิตอล เป็นต้น การลงทุนในหุ้นที่อิงดัชนีนั้นมีข้อดีที่ว่าไม่ต้องมีผู้บริหารที่จะมาเลือกหุ้น ดังนั้น ค่าธรรมเนียมก็จะต่ำและผลงานก็จะอิงกับหุ้นหลัก ๆ ในดัชนีนั้น และทั้งหมดนั้นก็มักจะรวมถึง ETF ที่อิงกับดัชนีด้วย
คนอาจจะมีความรู้สึกว่าการลงทุนในกองทุนรวมหรือ ETF ที่อิงดัชนีนั้น จะทำผลงานที่ดีได้อย่างไร? เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผลตอบแทนที่ได้ก็เป็นแค่ “ผลตอบแทนเฉลี่ย” ของหุ้นในดัชนี โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่ “ดีเลิศ” ก็เป็นไปไม่ได้ แต่ข้อถกเถียงของผมก็คือ การทำได้เท่าค่าเฉลี่ยในตลาดหุ้นที่มีประสิทธิภาพสูงมากนั้น ก็เป็นสิ่งที่ดีพอแล้ว ผมยังจำได้ถึงหนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “Average is the New Awesome” หรือ “การทำได้เท่าค่าเฉลี่ยก็คือสิ่งที่ยอดเยี่ยมใหม่ในภาวะปัจจุบัน” อย่าลืมว่าในวงการนักลงทุนนั้นเต็มไปด้วย “เซียน” หรืออย่างน้อยก็คนเรียนจบมหาวิทยาลัยดัง ๆ ของโลก ถ้าเราทำได้ดีในระดับกลาง ๆ เราก็สุดยอดแล้ว อย่างไรก็ตาม การทำผลตอบแทนได้ดีนั้น ไม่ใช่แค่ทำให้ได้เท่าค่าเฉลี่ย แต่เราต้องทำได้เท่าค่าเฉลี่ยในตลาดหุ้นหรือในเซ็กเตอร์ที่ดีหรือให้ผลตอบแทนสูงในระยะยาวด้วย ดังนั้น สิ่งที่ผมคิดว่านักลงทุนต้องทำที่เลี่ยงไม่ได้ก็คือ หาตลาดและ/หรือภาคอุตสาหกรรมที่ดี ซึ่งแน่นอนรวมถึงกลุ่มดิจิตอล ไฮเท็ค และอื่น ๆ ที่ดีหรือมีโอกาส “เปลี่ยนโลก” ได้ในราคาที่ “ไม่แพง” เสร็จแล้วก็เลือกลงทุนในกองทุนรวมหรือ ETF ที่อิงกับดัชนีนั้น
ในอดีตผมเองไม่เคยคิดที่จะลงทุนในกองทุนรวมเลยยกเว้นกองทุนที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ แต่ในช่วงปีที่แล้วที่ผมเพิ่มการลงทุนในตลาดหุ้นเวียตนามเนื่องจากเห็นถึงศักยภาพของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นที่น่าจะกำลัง “Takeoff” หรือโตก้าวกระโดด และพบว่ามี ETF ที่เน้นในกลุ่มหุ้นที่ผมอยากลงทุนซึ่งก็คือหุ้นกลุ่มที่ผมคิดว่าจะเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ผมจึงเลือกที่จะลงทุนใน ETF นั้นแทนที่จะเลือกลงทุนเอง นอกเหนือจากนั้นก็คือ ในฐานะที่เป็นชาวต่างชาติ ผมไม่ต้องจ่ายราคาหุ้นที่เป็น Premium ในหุ้นหลาย ๆ ตัวที่ผมอยากซื้อด้วย
สำหรับคนที่อยากลงทุนในหุ้นยุคใหม่ที่จะ “เปลี่ยนโลก” การลงทุนใน ETF แบบ ARK นั้นก็ต้องเข้าใจว่า ETF ตัวนี้ไม่ได้อิงกับดัชนีที่เป็นแนว Passive แต่เป็นแนว Active Fund ที่ผู้บริหารเลือกหุ้นเอง มีการซื้อขายและเปลี่ยนตัวหุ้นตลอดเวลาในแนวของ Hedge Fund ซึ่งมีความเสี่ยงสูงและทุกอย่างขึ้นอยู่กับผู้บริหาร ดังนั้น เราจะต้องมั่นใจว่า เคที่ วูด นั้นเป็น “เซียนตัวจริง” และคุ้มค่าที่จะ “จ้าง” ให้บริหารเงินของเราในธุรกิจและอุตสากรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็วและไม่แน่นอนมาก ๆ และอยู่ในช่วงเวลาที่หุ้นร้อนแรงและมีราคาสูง “เหนือโลก” ในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะชักจูงให้คนลงทุนในหุ้นกลุ่มไฮเท็คหรือดิจิตอล “อิงดัชนี” ในช่วงที่คนกำลังสนใจหรือคลั่งไคล้ที่จะทำกำไรเป็นร้อยหรือหลายสิบเปอร์เซ็นต์ในปีเดียวอย่างที่เกิดขึ้นกับ ARK ETF ที่บริหารโดย เคที่ วูด
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ที่มาบทความ: https://blog.settrade.com/blog/nivate/2021/03/01/2471
ทองคำทำจุดต่ำสุดรอบ 7 เดือน เข้าสู่ขาลงแล้วจริงหรือ แนะเป็นโอกาสลงทุนทองถูก
คุณธีรรัฐ จุฑาวรากุล กรรมการผู้จัดการบริษัท อินเตอร์โกลด์ โกลด์เทรด จำกัด เผยว่า เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ราคาทองหลุด 25,200 บาท ทำจุดต่ำสุดใหม่ในรอบ 7 เดือน จากก่อนหน้านี้เริ่มมีการมองราคาทองจะถึง 3,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ หรือประมาณ 40,000 บาทต่อบาททองคำ ทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนทองมากขึ้น แต่ต้องผิดหวังเพราะราคาปรับลงต่อเนื่อง
นายธีรรัฐ กล่าวว่า ขณะนี้เกิดคำถามว่าทองคำจะลงไปถึงไหน หากดูจากหลายเดือนที่ผ่านมา จะเห็นภาพเงินกำลังไหลไปสู่สินทรัพย์เสี่ยงเป็นหลัก สังเกตจากดัชนีหุ้นทั่วโลกกำลังทำจุดสูงสุดใหม่เรื่อย ๆ ซึ่งเงินจำนวนมากที่ไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยง ก็มาจากการเทขายสินทรัพย์ปลอดภัย ทั้งพันธบัตรรัฐบาล โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมถึงทองคำ
“ผลจากการที่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ โดนเทขายอย่างหนัก ทำให้ผลตอบแทนของพันธบัตร 10 ปี ปรับตัวขึ้นจาก 0.5% สู่ 1.2% และตลาดคาดการณ์ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับตัวสูงขึ้นอีก หากเป็นจริง ทองคำต้องโดนเทขาย เพราะหากเปรียบเทียบกับการถือพันธบัตร ทองคำไม่มีดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนใด ๆ ขณะที่พันธบัตรให้ผลตอบแทนสูงขึ้น ทำให้นักลงทุนสถาบันมีความสนใจทองคำลดลง” นายธีรรัฐกล่าว
นายธีรรัฐ กล่าวว่า คำถามต่อมาคือผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจะปรับตัวขึ้นเรื่อย ๆ หรือไม่ ส่วนตัวมองว่าผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับตัวสูงขึ้นขณะนี้เป็นเรื่องธรรมชาติ เปรียบเสมือนการรีบาวด์ทั่ว ๆ ไป แต่ไม่ได้จะเป็นขาขึ้น เพราะหากผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเป็นขาขึ้นได้จริง ๆ ระบบการเงินโลกคงมีปัญหาอย่างมาก เช่น จากต้นปีให้ผลตอบแทน 0.5% หากขึ้นไปที่ 2% บ่งบอกว่าภาระการจ่ายดอกเบี้ยของรัฐบาลกำลังเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลจะสามารถจ่ายดอกเบี้ยไหว “ผมมองว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) คงจะไม่ยอมให้เป็นเช่นนั้น และเมื่อไรที่เฟดออกประกาศควบคุมผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล เงินก็จะไหลกลับสู่ทองคำอีกครั้ง และส่งผลให้ราคาทองกลับเป็นขาขึ้น” นายธีรรัฐกล่าว
นายธีรรัฐ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม กระแสเทขายทองคำขณะนี้ยังมีอยู่ ทำให้ระยะสั้นราคาทองคำยังสามารถลงตามได้ โดยทางเทคนิคระยะสั้น แนวรับสำคัญจะอยู่บริเวณ 24,900 บาท หากราคาลงถึงระดับนี้ แนะนำซื้อ ถือเป็นราคาที่ได้เปรียบในระยะยาว เพราะอาจไม่มีโอกาสได้ซื้อทองราคา 25,000 บาทอีกแล้ว ก็เป็นได้
Intergold Gold Trade
ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงแรงตามตลาดหุ้นในภูมิภาค หลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงเมื่อคืนที่ผ่านมา การปรับตัวลงครั้งนี้เกิดจากความกังวลเรื่องผลตอบแทนพันธบัตร (Yield) ปรับตัวขึ้น จากความคาดหวังอัตราเงินเฟ้อ 5 ปี หรือ 5 Year U.S. Breakeven rate ปรับตัวขึ้นมาแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 ที่ 2.5%
ช่วงเช้าที่ผ่านมา ดัชนี CSI 300 ปรับตัวลง 2.68% และ China A50 ปรับตัวลง 2.70% โดยผลกระทบหลักมาจากกลุ่ม Consumer Staple และ Raw Materials เช่น บริษัทเหล็ก รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่าง Kweichow Moutai ที่ปรับตัวลดลง 6%
FINNOMENA Investment Team มองว่าการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเป็นปัจจัยกดดันระยะสั้น ซึ่งหากปรับขึ้นจนถึงจุดหนึ่ง Fed ต้องแสดงท่าทีผ่อนคลายหรือเพิ่มมาตรการกระตุ้น เพื่อควบคุมอัตราผลตอบแทนรัฐบาลซึ่งเป็นต้นทุนทางการเงิน
ในระยะยาว เรามีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นจีนและสหรัฐฯ ดังนั้นการปรับตัวลงของตลาดหุ้น จะช่วยสร้างผลดีด้วยการลดความตึงตัวของมูลค่า ซึ่งกดดันตลาดหุ้นในระยะที่ผ่านมา
FINNOMENA Investment Team ยังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และแนะนำนักลงทุนทยอยลงทุนสะสมตามพอร์ตการลงทุนแนะนำอย่างค่อยเป็นค่อยไป
รูปที่ 1: รูปเปรียบเทียบผลตอบแทน AWS กับสินทรัพย์อื่น ๆ
ข้อมูล ณ วันที่ 26 ก.พ. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
รูปที่ 2: เปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่าง AWS และ MSCI World
ข้อมูล ณ วันที่ 26 ก.พ. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
รูปที่ 3: ความผันผวนของแต่ละสินทรัพย์
ข้อมูล ณ วันที่ 26 ก.พ. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
รูปที่ 4: ผลดำเนินงานของ 10 วันที่แย่ที่สุดของหุ้นโลก เทียบกับ AWS
ข้อมูล ณ วันที่ 26 ก.พ. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
รูปที่ 5: เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน AWS และ MSCI World ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
ข้อมูล ณ วันที่ 26 ก.พ. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
รูปที่ 6: สัดส่วนสินทรัพย์ในพอร์ต
ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2021
รูปที่ 7: สัดส่วนหุ้นในพอร์ต
ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2021
รูปที่ 8: สรุป FVMR หุ้นแต่ละกลุ่มประเทศ
ข้อมูล ณ วันที่ 26 ก.พ. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
Andrew Stotz
โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน FINNOMENA PORT และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก 1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT |
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENA
**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-andrew-all-weather-create/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
“รายการที่จะพาทุกคนไปเจาะลึก กับปรัชญา แนวคิดของนักลงทุนระดับ World Class”
หัวข้อ
0:00 Start
1:14 ประวัติและเรื่องราว
5:41 แนวทางและกลยุทธ์การเทรดที่น่าสนใจ
14:29 ผลตอบแทนโดยรวม และสรุปแนวคิดที่น่านำมาปรับใช้
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast
รวมเทรนด์เทคโนโลยี 15 ธีมที่บริษัทจัดการกองทุนแห่งปีอย่าง ARK มองว่ากำลังจะมาแรง! มีธีมอะไรบ้าง? แต่ละธีมมีความน่าสนใจอย่างไร? FINNOMENA Admin รวบรวมไว้ที่นี่แล้ว
Deep Learning เป็นรูปแบบหนึ่งของ AI ที่นำข้อมูลมาเขียนซอฟต์แวร์ได้เองอัตโนมัติ
Virtual World (โลกความจริงเสมือน) คือสภาพแวดล้อมที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมา ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ทุกวันนี้หลาย ๆ คนก็อาจจะพบเจอ Virtual World อยู่แล้วในชีวิตประจำวัน หลัก ๆ แล้ว Virtual Worlds ประกอบไปด้วยวิดีโอเกม ความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) และ ความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality) ซึ่งในปัจจุบันนี้ แต่ละ Virtual World ยังแยกออกจากกันอยู่ แต่ในอนาคตก็มีแนวโน้มว่าทุก Virtual World จะสามารถรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้
จากงานวิจัยของ ARK ได้ระบุไว้ว่า รายได้ของ Virtual World จะเติบโตแบบทบต้น 17% ต่อปี จากระดับประมาณ 1.8 แสนล้านดอลล่าร์ในวันนี้ สู่ระดับ 3.9 แสนล้านภายในปี 2025
ปริมาณการทำธุรกรรมชำระเงินผ่านมือถือในจีนเพิ่มขึ้นมากกว่า 15 เท่าในเวลาเพียง 5 ปีจากประมาณ 2 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2015 เป็นประมาณ 36 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า GDP ของจีนในปี 2020 เกือบ 3 เท่า
ในสหรัฐฯ ผู้ใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลมีจำนวนมากกว่าผู้ถือบัญชีเงินฝากในสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุด โดย ณ สิ้นปี 2020 จำนวนผู้ถือบัญชีเงินฝาก J.P. Morgan Chase มีทั้งหมดประมาณ 60 ล้าน ในขณะที่ Annual Active Users (AAUs) ของ Cash App และ Venmo อยู่ที่ 59 ล้านและ 69 ล้านตามลำดับ
ธนาคารแบบดั้งเดิมกำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
นอกเหนือจากบริการทางการเงินแล้วกระเป๋าเงินดิจิทัลอาจกลายเป็นแพลตฟอร์มสร้างผู้นำสำหรับการค้าออฟไลน์และออนไลน์ซึ่งอาจเพิ่มอีก $9,000 ถึง $10,000 ให้กับมูลค่าปัจจุบันสุทธิของรายได้ โดยจากการวิจัยของ ARK หากผู้ใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลประมาณ 230 ล้านคนในสหรัฐฯ มีมูลค่า $19,900 ในปี 2025 โอกาสที่กระเป๋าเงินดิจิทัลของสหรัฐฯ จะมีมูลค่าถึง 4.6 ล้านล้านดอลลาร์
แม้ว่ายอดขายรถยนต์ที่ใช้ก๊าซจะลดลงในช่วงที่เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของ COVID-19 แต่ยอดขาย EV กลับยังคงเพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยนอกเหนือจากเรื่องต้นทุนการผลิตแล้ว EV ยังมีการแข่งขันในเรื่องประสิทธิภาพที่ตลาดรถยนต์กำลังอยู่ในช่วงระหว่างการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบไฟฟ้าและระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ ซึ่ง ARK เชื่อว่าผู้ผลิตรถยนต์แบบดั้งเดิมขาดซอฟต์แวร์และความสามารถด้านวิศวกรรมไฟฟ้าที่จำเป็นในการประสบความสำเร็จ
สอดคล้องกับ Wright’s Law ที่ทุกหน่วยการผลิตที่ได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า จะทำให้ค่าใช้จ่ายของเซลล์แบตเตอรี่ลดลง 28% โดยองค์ประกอบต้นทุนที่ใหญ่ที่สุดของ EV คือแบตเตอรี่ ดังนั้นการลดต้นทุนเหล่านี้จึงมีความสำคัญต่อการเข้าถึงราคาที่เทียบเท่ากับรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ และหากผู้ผลิตรถยนต์แบบดั้งเดิมเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้ จะมีโอกาสที่ยอดขาย EV ทั่วโลกสามารถปรับขนาดได้ประมาณ 20 เท่าจาก ~2.2 ล้านในปี 2020 เป็น 40 ล้านภายในปี 2025
ผลิตภัณฑ์และบริการจากระบบอัตโนมัติมักมีราคาถูกกว่าทางเลือกอื่น โดยระบบอัตโนมัติและผลผลิตที่เพิ่มขึ้นสามารถให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากมาย ด้วยประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นของระบบอัตโนมัติ ARK คาดว่าจะได้ผลลัพธ์สี่ประการดังต่อไปนี้
ระบบอัตโนมัติสามารถเพิ่ม 5% หรือ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ให้กับ GDP ของสหรัฐฯ ในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดย ARK เชื่อว่าระบบอัตโนมัติจะช่วยเพิ่มการเติบโตของ GDP ที่แท้จริงของสหรัฐฯโดยเฉลี่ยต่อปีเป็น 3.4%
รถโดยสารไร้คนขับมีแนวโน้มที่จะราคาไม่แพงเมื่อปรับอัตราเงินเฟ้อแล้ว โดย ARK ประเมินว่ารถโดยสารไร้คนขับจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ $0.25 ต่อไมล์ ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการยอมรับได้อย่างกว้างขวาง
จากการวิจัยของ ARK พบว่าตลาดรถโดยสารในปัจจุบันสร้างรายได้ประมาณ 150 พันล้านดอลลาร์ทั่วโลก โดยมีอัตราการขายที่ 10-30% และอัตรากำไรสูงถึง 50% ในเมืองที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งการตอบสนองความต้องการในประเทศที่พัฒนาแล้วอาจสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนา โดยรถโดยสารไร้คนขับจะลดราคาค่าใช้จ่ายของรถโดยสารที่ขับเคลื่อนโดยมนุษย์ได้โดยประมาณ 90% ในสหรัฐอเมริกาและ 50% ในจีน
ARK เชื่อว่าแพลตฟอร์ม Ride-Hailing แบบไร้คนขับสามารถสร้างรายได้จากการดำเนินงานมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปี 2030
ต่อจากนี้อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ หรือ Orbital Aerospace มีแนวโน้มจะมีผู้เล่นมากขึ้น เมื่อต้นทุนของจรวดและดาวเทียมลดลง เป็นผลมาจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีอย่าง Deep Learning, การเชื่อมต่อของอุปกรณ์เคลื่อนที่, ระบบเซนเซอร์, การพิมพ์สามมิติ และหุ่นยนต์
จากงานวิจัยของ ARK ได้ระบุไว้ว่า อุตสาหกรรม Orbital Aerospace มีโอกาสสร้างมูลค่าเกิน 3.7 แสนล้านต่อปีเลยทีเดียว
การพิมพ์ 3 มิติช่วยปลดล็อกศักยภาพในการผลิตซึ่งไม่สามารถทำได้ในการผลิตแบบดั้งเดิม โดยจะช่วยให้สามารถใช้ Form Factor ได้มากมาย
แม้ว่ารายได้จากการพิมพ์ 3D ในปี 2020 จะลดลง แต่ก็มีผู้ใช้รายใหม่จำนวนไม่น้อยที่นำประโยชน์จากเทคโนโลยี 3D Printing มาประยุกต์ใช้ในการผลิตสำหรับช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 เช่น Face Shield, Face Masks, เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น โดย ARK เชื่อว่าอุตสาหกรรม 3D Printing ทั่วโลกจะขยายตัวในอัตรา 60% ต่อปีในช่วง 5 ปีข้างหน้าจาก 12 พันล้านดอลลาร์ เป็นประมาณ 120 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2025
Long-Read Sequencing คือหนทางที่จะช่วยให้เราเข้าใจจีโนมมนุษย์มากขึ้น เป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยอ่านลำดับนิวเคลียร์โอไทด์แบบสายยาว ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้เกิดการปฏิวัติด้านจีโนมมนุษย์ ช่วยให้ขั้นตอนมีประสิทธิภาพและความแม่นยำมากขึ้น
ARK คาดการณ์ว่ารายได้จากการ Long-Read จะเติบโต 82% ต่อปี จากระดับ 250 ล้านดอลล่าร์ในปี 2020 สู่ประมาณ 5 พันล้านดอลล่าร์ในปี 2025 ขับเคลื่อนโดยต้นทุนที่ลดลง และความต้องการผลลัพธ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น
การตรวจมะเร็งด้วยการเจาะเลือด (Liquid Biopsies) สามารถป้องกันการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้มากกว่าวิธีการอื่น ๆ ทั้งหมด
เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ก้าวล้ำมากขึ้น ช่วยให้ต้นทุนของการตรวจหาตรวจหามะเร็งลดลง 20 เท่า จาก 30,000 ดอลล่าร์ในปี 2015 สู่ระดับ 1,500 ดอลล่าร์ในปัจจุบัน ในอนาคตก็ยังมีแนวโน้มจะลดลงอีก 80% สู่ระดับ 250 ดอลล่าร์ในปี 2025
เซลล์และยีนบำบัดยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น ซึ่งในรุ่นที่สอง (Generation 2) นั้นจะมีความก้าวหน้าหลายอย่าง ที่ช่วยให้รักษาคนได้มากขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกลง จำนวนการทำยีนบำบัดและการดัดแปลงยีนได้เพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่าตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งในอนาคตวิธีการทำยีนบำบัดน่าจะได้รับการอนุมัติจาก FDA เพิ่มขึ้น
อ่านเพิ่มเติม พาสำรวจจักรวาล ARK ผู้นำ ETF แห่งทศวรรษ
อ่านเพิ่มเติม เจาะลึกกองทุน ARK ทั้งหมดในประเทศไทย
อ่านเพิ่มเติม ARK Invest กับการลงทุน Innovation ที่แรงทะลุชั้นบรรยากาศ
อ่านเพิ่มเติม ตราสารอีทีเอฟแห่งปี 2020: ARK
ที่มาข้อมูล: https://research.ark-invest.com/hubfs/1_Download_Files_ARK-Invest/White_Papers/ARK%E2%80%93Invest_BigIdeas_2021.pdf
ประเด็นความร้อนแรงของเศรษฐกิจสหรัฐ จากงบกระตุ้น 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของโจ ไบเดน และอัตราเงินเฟ้อที่จะตามมา กำลังเป็นสิ่งที่ต้องจับตา
ผมจึงขอนำเสนอมุมมองของ 3 กูรู ที่มีความแตกต่างของความคิดเห็นในประเด็น ส่วนต่างระหว่างอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2021 กับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดซึ่งไม่ก่อให้เกิดเงินเฟ้อ หรือที่เรียกว่า Output Gap และ ผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ดังต่อไปนี้
เริ่มจาก ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐ ได้อ้างอิงงานวิจัยของ Congressional Budget Office (CBO) ที่ว่า Output Gap ในปัจจุบันมีระดับที่ต่ำกว่าผลต่อจีดีพีของงบกระตุ้นมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของโจ ไบเดน ดังรูป
นอกจากนี้ ซัมเมอร์สได้กล่าวเตือนว่าการบริหารอัตราเงินเฟ้อของเฟดในยุคนี้ น่าจะทำได้ยากขึ้น โดยให้เหตุผล 2 ประการ ได้แก่ หนึ่ง โดยปกติแล้ว หากเฟดจะลดอัตราเงินเฟ้อ ก็ต้องทำให้อัตราการว่างงานสูงขึ้น ทว่าโดยธรรมชาติของอัตราการว่างงานของสหรัฐนั้น เมื่อจะทำให้ขึ้นมาสักร้อยละ 0.5 ก็มักจะมีผลข้างเคียงที่จะขยับขึ้นมาอีกระลอกราวร้อยละ 2-3 ในช็อตต่อมา
สอง การที่เส้นโค้งฟิลลิปส์ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อค่อนข้างที่จะแบนราบนั้น การจะทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง ต้องใช้ขนาดของระดับอัตราการว่างงานที่สูงขึ้นกว่าเดิม ด้วยภายใต้บรรยากาศที่ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำโดยธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด อัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีที่สูง และแรงกดดันต่อค่าเงินดอลลาร์ จึงเป็นการยากที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อโดยที่จะไม่เกิดสภาพเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ
ด้านเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐ ได้ออกมาแสดงความเห็นตามแนวที่ว่า ‘ทำเกินไว้ก่อน ดีกว่าทำขาด’ โดยประเมินว่า งบกระตุ้นเศรษฐกิจของโจ ไบเดน จะช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐสามารถมีระดับการจ้างงานแบบเต็มที่ได้ภายใน 1 ปีนับต่อจากนี้
ทั้งนี้ เยลเลนไม่ค่อยกังวลว่าผลกระทบข้างเคียงสำหรับการใช้จ่ายของภาครัฐจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐทะยานสูงขึ้นในอนาคตอันใกล้ ด้วยเหตุผลที่ไม่ใช่ว่าเธอจะมองเห็นความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นมาแบบรุนแรงในกว่า 40 ปีแล้ว ทว่าด้วยเหตุผลที่ว่าแม้ว่าจะเกิดขึ้นจริง ๆ เฟดก็มีอาวุธเตรียมพร้อมสำหรับจัดการกับปัญหานี้ โดยความเสี่ยงที่มากกว่าคือโควิดจะส่งผลต่อชีวิตด้านการทำมาหากินของชาวสหรัฐไปแบบยาวนาน
ในขณะที่จิตา โกปินาถ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ประเมินว่า ด้วยประสบการณ์กว่า 4 ทศวรรษที่ผ่านมา จะพบว่ามีความเป็นไปได้ต่ำมากที่งบกระตุ้นของไบเดน จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทะยานสูงขึ้นมากกว่าอัตราเป้าหมายที่ร้อยละ 2 ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอัตราการว่างงานของสหรัฐจะลดลงเหลือร้อยละ 3.5 ในปี 2019 จากระดับร้อยละ 10 ในปี 2009 ปรากฏว่าอัตราเงินเฟ้อก็ยังคงค่อนข้างทรงตัว แม้ว่าระดับค่าจ้างจะสูงขึ้นมาก็ตาม โดย ณ ตอนนี้ อัตราการว่างงานของสหรัฐที่สูงกว่าระดับธรรมชาติค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ตัวชี้วัดที่ใช้ก็ยังถือว่าให้ภาพเงินเฟ้อต่ำกว่าความเป็นจริง
จากงานศึกษาของไอเอ็มเอฟพบว่า มาตรการกระตุ้นของไบเดนจะส่งผลขนาดเทียบเท่าร้อยละ 9 ของจีดีพี หรือส่งผลให้จีดีพีของสหรัฐเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-6 ในช่วงระยะเวลา 3 ปีถัดไป รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่วัดตามวิธี PCE น่าจะสูงขึ้นมาแตะระดับร้อยละ 2.25 ในปี 2022 ซึ่งก็พอดีสอดคล้องกับเป้าหมายของอัตราเงินเฟ้อที่เฟดตั้งไว้ตามกฎหมายฉบับใหม่
โดยโกปินาถได้ยก 3 ปัจจัย ที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบที่เฟดตั้งเป้าเอาไว้ ได้แก่
หนึ่ง โลกาภิวัตน์ ซึ่งได้ส่งผลต่อการจำกัดอิทธิพลของอัตราเงินเฟ้อต่อสินค้าที่ค้าขายระหว่างกัน รวมถึงบริการบางประเภท ท่ามกลางวิกฤตโควิด แม้จะเกิดภาวะชะงักงันในช่วงต้น ๆ ทว่าระบบห่วงโซ่อุปทานของโลก ก็ได้แสดงถึงความยืดหยุ่นและว่องไวในการปรับตัว โดยที่สินค้าที่ซื้อขายระหว่างกันได้กลับมาทำการผลิตแบบที่สอดคล้องกับจังหวะการฟื้นตัวของการผลิตในภาคอุตสาหกรรม โดยที่ระดับของการผลิตได้ก้าวข้ามผ่านระดับในช่วงก่อนโควิดไปเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี ยังมีส่วนของเครื่องจักรในโรงงานที่รอการกลับมาใช้งานอีกครั้งในประเทศอีกกว่า 150 ประเทศ ที่คาดว่าจะมีระดับอัตราส่วนระดับผลผลิตต่อหัวในปี 2021 ต่ำกว่าระดับปี 2019
สอง การใช้หุ่นยนต์ทำงานแทนมนุษย์ ซึ่งมาพร้อม ๆ กับการลดลงของราคาของสินค้าทุน ย่อมจะทำให้การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างไม่สามารถส่งต่อไปยังราคาสินค้าและบริการในส่วนของผู้บริโภค ซึ่งนั่นก็หมายถึงอัตราเงินเฟ้อนั่นเอง โดยที่ในช่วงวิกฤตโควิด ยิ่งจะตอกย้ำข้อเท็จจริงดังกล่าว
นอกจากนี้ ในช่วงหลายทศวรรษ ภาคธุรกิจได้เข้าสู่ ‘ยุคปลาใหญ่ กินปลาเล็ก’ บริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับหนึ่งมักจะทิ้งอันดับต่อมาแบบขาดลอย รวมถึงอัตราส่วนกำไรต่อยอดขายที่สูงมากด้วย ด้วยเหตุนี้ แม้ค่าจ้างจะสูงขึ้น ทว่าบริษัทปลาใหญ่นี้ก็สามารถที่จะตรึงราคาสินค้าและบริการของตนเองได้ ด้วยวิกฤตโควิด ยิ่งจะตอกย้ำความจริงที่ว่าปลาใหญ่กินปลาเล็ก เนื่องจากปลาเล็กมีสายป่านสั้นในการต่อสู้กับเศรษฐกิจยุคโควิดที่จำนวนลูกค้าน้อยลงและเน้นของถูกกว่าในอดีต
ท้ายสุด ในยุคหลังจากอลัน กรีนสแปน ต้องยอมรับว่าเบน เบอร์นันเก้ เจเน็ต เยลเลน และเจย์ พาวเวล ได้สร้างความน่าเชื่อถือให้กับวงการธนาคารกลางเป็นอย่างมาก จึงทำให้ประชาชนมีความมั่นใจว่าแม้หนี้ของภาครัฐบาลจะสูงขึ้นแค่ไหนก็ตาม หากเกิดเงินเฟ้อแบบหนักมากขึ้นจริง ๆ แทบทุกคนยังมั่นใจว่าธนาคารกลางจะยังไม่ไปลดต้นทุนทางการเงินของรัฐบาล และยอมให้เงินเฟ้อขึ้นมาแบบที่รุนแรงเกินไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ Inflation Expectations ยังคงมีเสถียรภาพอยู่
สำหรับความเห็นของผมเอง ยอมรับว่าค่อนข้างยากในการที่จะฟันธงเชื่อใครมากกว่า แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อว่าซัมเมอร์สพูดได้ถูกต้อง คืองบกระตุ้นมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของโจ ไบเดน น่าจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตมากกว่าจีดีพีที่เป็นศักยภาพของตนเอง ทว่าจะเกิดอัตราเงินเฟ้อแบบทะยานขึ้นมาแรง ๆ หรือเปล่านั้น ในประเด็นนี้ ผมไม่คล้อยตามมุมมองของซัมเมอร์สมากเท่าไหร่นัก
MacroView
ที่มาบทความ: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/652088
ดาวน์โหลดฟรี “มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์”
กองทุน UCHI สามารถซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น FINNOMENA ได้แล้ววันนี้
สำหรับช่วงนี้ที่กองทุน IPO ดูจะร้อนแรงเป็นพิเศษในบทความนี้จึงเลือกหยิบยกอีกหนึ่งกองทุนที่อาจจะไม่ใช่ IPO ซะทีเดียวแต่เป็นกองทุนน้องใหม่แกะกล่องที่เพิ่ง IPO กันไปสด ๆ ร้อน ๆ เมื่อวันที่ 15 – 23 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา กองทุนนั้นก็คือกองทุน UCHI จากบลจ. UOB นั่นเอง กองทุนนี้ลงทุนเกี่ยวกับอะไร มีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในบทความนี้
5 อันดับประเทศที่มีอัตราการเติบโตของตลาด Healthcare สูงสุด
ที่มา: KraneShares (ข้อมูลจาก National Bureau of Statistics of China ณ วันที่ 31/12/2017)
อัตราการใช้จ่ายด้าน Healthcare ของ GDP ในสหรัฐฯ และจีน
ที่มา: KraneShares (ข้อมูลจาก National Bureau of Statistics of China ณ วันที่ 31/12/2017)
อัตราประชากรในประเทศจีนที่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
ที่มา: KraneShares (ข้อมูลจาก World Bank ณ วันที่ 31/12/2019)
กรุงปักกิ่งได้ระบุให้เทคโนโลยีชีวภาพหรือ Biotech เป็นหนึ่งใน 10 ภาคส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ พร้อมมีแผนเปลี่ยนจีนให้เป็นโรงไฟฟ้าในอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีและมูลค่าสูง
กองทุน UCHI หรือกองทุน United China Healthcare Innovation Fund จากบลจ.ยูโอบี (UOB) มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านเฮลท์แคร์ (Healthcare) ของประเทศจีน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องหรือได้รับประโยชน์จากการพัฒนานวัตกรรมด้านเฮลท์แคร์ (Healthcare Innovation) ของประเทศจีน เช่น การพัฒนาและค้นคว้าด้านเภสัชกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ การบริหารสถานพยาบาล การผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยาจีนแผนโบราณ ระบบไอทีด้านการดูแลสุขภาพ เป็นต้น
อุตสาหกรรม Healthcare ของประเทศจีนที่มีความหลากหลาย
ที่มา: KraneShares
สำหรับหลักทรัพย์ที่กองทุน UCHI ลงทุนเป็นกองทุนหลัก (Master Fund) มีอยู่ 2 กองทุนด้วยกัน ได้แก่
กองทุนจะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับดัชนี MSCI China All Shares Health Care 10/40 โดยดัชนีดังกล่าวเป็นดัชนีถ่วงน้ำหนักมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเพื่อติดตามผลการดำเนินงานในตลาดตราสารทุนของบริษัทจีนที่มีธุรกิจในอุตสาหกรรม Healthcare หลักทรัพย์ในดัชนีประกอบด้วยหุ้นซึ่งจดทะเบียนในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกงและสหรัฐอเมริกา ตราสารที่มีสิทธิ์ได้รับการคัดเลือกจะต้องได้รับการจัดประเภทภายใต้ มาตรฐานการจัดประเภทอุตสาหกรรมทั่วโลก (Global Industry Classification Standard) ให้อยู่ในอุตสาหกรรม Healthcare ผู้ออกที่รวมอยู่ในดัชนีอ้างอิงอาจรวมถึงบริษัทขนาดเล็ก ขนาด กลาง และขนาดใหญ่
KURE Portfolio Characteristics (ข้อมูล ณ วันที่ 31/12/2020)
ที่มา: KraneShares
Top 10 Holdings ของ KraneShares MSCI All China Health Care Index ETF (ข้อมูล ณ วันที่ 19/02/2021)
ที่มา: https://kraneshares.com/kure/
เป็นกองทุน ETF แบบ Passive ที่มีวัตถุประสงค์ให้ผลการดำเนินงานก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายสอดคล้องไปผลการดำเนินงานของ Solactive China Biotech Index NTR โดยดัชนีดังกล่าวกำหนด Universe การลงทุนต้องเป็นบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ในประเทศจีนหรือฮ่องกงที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
Industry Breakdown ของ Global X China Biotech ETF (ข้อมูล ณ วันที่ 29/01/2021)
ที่มา: Global X China Biotech ETF Factsheet
Top 10 Holdings ของ Global X China Biotech ETF (ข้อมูล ณ วันที่ 19/02/2021)
ที่มา: https://www.globalxetfs.com.hk/funds/china-biotech-etf/
ผลการดำเนินงานของ KraneShares MSCI All China Health Care Index ETF (ข้อมูล ณ วันที่ 31/12/2020 และ วันที่ 31/01/2021)
ที่มา: https://kraneshares.com/kure/
** ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **
ผลการดำเนินงานของ Global X China Biotech ETF (ข้อมูล ณ วันที่ 19/02/2021)
ที่มา: https://www.globalxetfs.com.hk/funds/china-biotech-etf/
** ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **
อย่างที่บอกไปในช่วงต้นบทความว่า Master Fund ของกองทุน UCHI ทั้ง 2 กองทุนล้วนแล้วแต่มีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการกองทุนแบบ Passive นั่นคือมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนให้ผลการดำเนินงานสอดคล้องไปกับดัชนี MSCI China All Shares Health Care 10/40 Index และ ดัชนี Solactive China Biotech Index NTR ดังนั้นผลการดำเนินงานของ Master Fund จึงใกล้เคียงกับดัชนีเปรียบเทียบทั้ง 2 ดัชนี
กองทุน UCHI จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 7 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
อย่างไรก็ตามผู้ลงทุนสามารถกระจายความเสี่ยงได้ด้วยการจัดพอร์ตการลงทุน โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดพอร์ตการลงทุนจากฟินโนมีนาได้ที่ https://www.finnomena.com/port/
— planet 46.
สร้างแผนและเปิดบัญชีกองทุนรวมกับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนกว่า 1,000 กอง จาก 19 บลจ. สร้างแผนและเปิดบัญชี คลิก: https://finno.me/open-plan
อ้างอิง
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
หนุนยีลด์พันธบัตรสหรัฐอายุยาวพุ่งทะยาน ขณะเฟด “เปิดไฟเขียว” ไม่ขวางทางขึ้น นักวิเคราะห์บางรายแกะรอยเงื่อนไขการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐเชื่อว่า เฟดไม่อยากเข้าไปควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรหรือทำ yield curve control แบบญี่ปุ่นสักเท่าไหร่ เพราะดูเหมือนได้ไม่คุ้มเสีย หากทำจริงคงคุมแค่พันธบัตรอายุสั้นถึงกลาง แต่ไปไม่ไกลถึงตัว 10 ปี ปล่อยให้ curve ชันแบบชิล ๆ ถ้ามาจากสาเหตุที่ “ถูกต้อง” เศรษฐกิจดี/เงินเฟ้อฟื้น และตราบที่ตัวชี้วัดสำคัญ ๆ อาทิ ดอกเบี้ยบ้านยังต่ำ corporate bond yield spreads แคบมากเช่นปัจจุบัน เฟดก็คงทำตัวเป็นผู้ชมอยู่ข้างสนามต่อไปโดยไม่ต้องเข้าแทรกแซงอะไรมาก
ตัวที่ถูกบิดเบือนด้วย QE ของเฟดคือ 10-Year Breakeven Inflation ทรงตัวถึงขยับขึ้นเล็กน้อยแต่ 5-Year, 5-Year Forward Inflation Expectation ซึมลงและต่ำกว่า 2% ดูเหมือนความกังวลเงินเฟ้อค่อย ๆ คลี่คลาย ตามจุดประสงค์ของ Jerome Powell และกรรมการเฟดซึ่งดาหน้าออกมาสื่อสารกับตลาดว่า เงินเฟ้อสูงคงแค่ชั่วคราวแต่ระยะยาวเผชิญหลากหลายปัจจัยกดไว้ให้ต่ำ
ความสำคัญของ “หุ้นญี่ปุ่น” ในชุดกลยุทธ์ของเราจึงมีน้อยลง เราจึงปิดสถานะโดย สับเปลี่ยนออกจาก KT-JAPAN-A ทั้งหมดไปเข้า KTSTPLUS-A เพื่อเสริมสภาพคล่อง
ภายใต้กระบวนการ normalization หุ้นจำพวก growth at ANY price ราคาขึ้นไปตามความฝันด้วยแรงขับดันของสภาพคล่องล้วน ๆ แต่แทบจะไร้การเติบโตจริง ๆ ในปี 2020 คงถึงเวลาต้องหลบไปหลีกทางให้ “แกนนำรุ่นใหม่” growth at REASONABLE price (GARP) หุ้นเติบโตสูงคุณภาพดี quality & growth ที่ราคาสมเหตุสมผล เพราะเมื่อต้นทุนของเงินแม้ยังต่ำแต่เริ่มจะ “ไม่ฟรี” ในปี 2021 นักลงทุนก็ควรตื่นจาก “ฝัน” หันกลับมาใช้ “เหตุผล” กันได้แล้ว!!!
สับเปลี่ยนออกจาก KTSTPLUS-A 10% ไปเข้า KT-ASIAG-A
เรียกติดปากว่า “Asia Growth” สามารถใช้เป็นแกน (core position) ของพอร์ตหุ้นต่างประเทศ ด้วยสไตล์ quality & growth คัดสรรสุดยอดหุ้น “คุณภาพสูง” และ “เติบโตสูง” ณ ราคาสมเหตุสมผลในตลาดเอเชีย ซึ่งเลื่อนขั้นขึ้นมาเป็นหัวใจสำคัญอย่างเต็มตัวที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกสู่ทศวรรษใหม่
ทำไมตลาดเอเชีย ถึงน่าสนใจ ในสายตานักลงทุน
Krungthai Asset Management
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Krungthai Belief Allocation สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENAสำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Krungthai Belief Allocation คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน
โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน FINNOMENA PORT และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก 1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT |
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด มหาชน หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
“Hello! IPO รายการที่จะพาทุกคนพบกับกองทุนเปิดใหม่แกะกล่องประจำสัปดาห์ พร้อมแนะนำกองทุน IPO ที่น่าสนใจ”
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนประกาศในวันนี้ว่า จีนได้รับชัยชนะอย่างสมบูรณ์ในการต่อสู้กับความยากจน
“OR” เข้าซื้อหุ้น 20% ใน “โอ้กะจู๋” มูลค่าไม่เกิน 500 ล้านบาท ต่อยอดธุรกิจค้าปลีกในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (F&B)
ก.ล.ต. จะมีการออกมาประกาศเพื่อทำการ hearing ในวันนี้เกี่ยวกับกับ “ยกระดับการกำกับดูแลการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน”
เนื่องจากคริปโทเคอร์เรนซี มีความผันผวนสูง การลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซีจึงต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจและความสามารถรับความเสี่ยงจากการได้รับผลขาดทุนจากการลงทุนได้ จึงมีแนวคิดกำหนดคุณสมบัติผู้ลงทุนด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่..
1. มีรายได้ต่อปีไม่นับรวมคู่สมรส ตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป หรือมีสินทรัพย์สุทธิตั้งแต่ 10 ล้านบาท โดยไม่นับอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่พักอาศัยประจำ หรือ มีมูลค่าลงทุนในหลักทรัพย์สัญญาซื้อขายล่วงวหน้า 5 ล้านบาทขึ้นไป
และ 2. เป็นผู้ลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเป็น Professional ตามที่สำนักงานกำหนด
ที่มา : https://siamblockchain.com/2021/02/25/sec-new-rules/
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือที่มีชื่อเล่นว่า “ใบ 50 ทวิ” เอกสารสำคัญที่ทุกคนใช้เป็นหลักฐานการยื่นภาษี แต่น้อยคนที่เข้าใจรายละเอียดอย่างถูกต้อง วันนี้มาพูดคุยกันสบาย ๆ กับทุกประเด็นที่น่าสนใจของใบ 50 ทวิกัน
พาวเวล เผย อาจจะต้องใช้เวลามากกว่า 3 ปีกว่าที่อัตราเงินเฟ้อจะแตะระดับเป้าหมายของเฟด