เมื่อความไม่แน่นอนปกคลุมตลาดโลก นักลงทุนจำนวนมากเริ่มมองหา “ทางเลือกใหม่” ที่สามารถสร้างโอกาสท่ามกลางวิกฤต
ในงานสัมมนาพิเศษ “เปิดตัว Definit Global Select ปรับเกมรุก ปลุกกลยุทธ์ ลงทุน DR หุ้นนอก” ที่จัดขึ้นโดย Definit by Finnomena เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 นายเจษฎา สุขทิศ, CFA, CEO ของ Finnomena Group ได้ร่วมพูดคุยกับ นายวศิน ปริธัญ, CFA, Managing Director ของ Definit Investment Advisory Securities และ นายเจตอาทร สองเมือง, CFA, Senior Vice President, Quantitative Department จากบริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด โดยทั้ง 3 ท่านมองภาพตรงกันว่า “เวลานี้คือจังหวะของการรีบาวด์ และเป็นโอกาสในการลงทุน”
ตลาดหุ้นทั่วโลกเผชิญความผันผวน ดัชนี Nasdaq 100 ปรับตัวลงถึง -25% ก่อนดีดกลับ +12% ขณะที่ตลาดไต้หวัน เวียดนาม และฮ่องกงเผชิญแรงขายหนัก แต่เริ่มฟื้นตัวหลังสหรัฐฯ ประกาศเลื่อนขึ้นภาษีนำเข้า
นายเจษฎาเปรียบสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ กับทฤษฎี Chicken Game ซึ่งเป็นแนวคิดหนึ่งที่ใช้อธิบายสถานการณ์ความขัดแย้ง โดยทั้งสองฝ่ายต้องตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ระหว่าง “เผชิญหน้า” (Straight) หรือ “หลีกเลี่ยง” (Swerve) และหากไม่มีฝ่ายใดยอมถอยก็อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เลวร้ายสำหรับทั้งคู่
นายเจษฎามองว่า สุดท้ายทั้งสองฝ่ายมักหาทางประนีประนอมได้ดังเช่นในอดีต ไม่น่าจะถึงขั้นเผชิญหน้าจนเกิดความเสียหายรุนแรง สถานการณ์นี้จึงเป็นจังหวะที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่มองหาโอกาสในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในต่างประเทศอาจต้องเผชิญกับภาษีที่สูงถึง 35% ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่หลายคนต้องพิจารณาก่อนการลงทุน
ทั้งนี้ การลงทุนในหุ้นต่างประเทศสามารถทำได้ผ่านผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า DR (Depositary Receipt) ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ไทยที่อ้างอิงราคาหุ้นต่างประเทศ นักลงทุนสามารถซื้อขายผ่านตลาดหุ้นไทยด้วยเงินบาท ไม่ต้องเปิดบัญชีต่างประเทศ และไม่ต้องจัดการเรื่องภาษีกำไรที่ซับซ้อน โดยยังคงได้รับสิทธิ์ปันผลเหมือนกับผู้ถือหุ้นต่างประเทศ
นายเจตอาทรอธิบายว่า “ข้อดีของ DR คือไม่ต้องนำกำไรไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ ซื้อขายบนกระดานไทย ใช้ Margin ได้ มีสิทธิรับปันผลเหมือนหุ้นไทย และลดความยุ่งยากเรื่องภาษีอย่างชัดเจน”
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรเข้าใจความเสี่ยงของ DR โดยเฉพาะเรื่อง “อัตราแลกเปลี่ยน” ที่อาจส่งผลต่อราคาของ DR แม้ราคาหุ้นต่างประเทศจะปรับขึ้นก็ตาม และควรศึกษากลไกการซื้อขายให้ชัดเจน เช่น การเลือกเทรดในช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นไทยและต้นทางเปิดพร้อมกัน เพื่อความแม่นยำของราคาอ้างอิง และหลีกเลี่ยงการไล่ราคาด้วยการตรวจสอบราคาหุ้นต้นทางแบบเรียลไทม์ (ซึ่งสามารถดูผ่านเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่แปลงค่าเป็นเงินบาทแล้ว)
ผลตอบแทนรายเดือนของ Definit SET Select (DSS) ตั้งแต่เดือนมกราคม – ธันวาคม 2024 | Source: Definit, Bloomberg as of 31 Dec 2024
*คำเตือน ผลการดำเนินงานในอดีตและผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
หลังจากความสำเร็จของพอร์ต Definit SET Select (DSS) ที่สามารถสร้างโอกาสรับผลตอบแทนได้น่าพอใจแม้ในช่วงที่ตลาดหุ้นไทยซบเซา ล่าสุดทาง Definit ได้ขยายกลยุทธ์คุณภาพนี้สู่ระดับโลกด้วย Definit Global Select (DGS) พอร์ตลงทุนในหุ้นต่างประเทศผ่าน DR ที่เน้นการคัดเลือกหุ้นที่มีศักยภาพ ผสมผสานการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคเข้าด้วยกัน โดยอิงการปรับประมาณการกำไรของนักวิเคราะห์ทั่วโลก และโมเมนตัมของราคาหุ้น เพื่อสะท้อนแนวโน้มผลประกอบการที่แข็งแกร่งและความเชื่อมั่นของนักลงทุน
Definit Global Select (DGS) มุ่งเน้นการสร้างโอกาสด้วยการคัดเลือกหุ้นไม่เกิน 10 ตัว กระจายในหลายภูมิภาคทั่วโลก โดยกำหนดน้ำหนักสูงสุดต่อหุ้นไว้ที่ 20% และหากไม่มีหุ้นที่เข้าเกณฑ์ก็สามารถถือเงินสดบางส่วนไว้ในพอร์ตได้
อีกทั้งยังสะดวกสบายด้วยระบบปรับพอร์ตอัตโนมัติ (Managed Portfolio) และไม่เสียภาษีกำไรจากการขาย DR เหมือนการลงทุนหุ้นต่างประเทศโดยตรง
ในช่วงเวลาที่ตลาดกำลังเผชิญความท้าทายเช่นปัจจุบัน นายเจตอาทรได้ให้มุมมองไว้ว่า
ตอนนี้ผมเชื่อว่าเป็นโอกาสในการลงทุน และเราควรกระจายการลงทุนออกไป… ส่วนตัวมองว่าหุ้นโลกมีความเสี่ยงต่ำกว่า เพราะเศรษฐกิจของเขามีขนาดใหญ่และหลากหลาย
ด้านนายเจษฎากล่าวทิ้งท้ายพร้อมกับให้กำลังใจนักลงทุนว่า
ทุกครั้งที่เกิดวิกฤตขึ้น เรามักรู้สึกเหมือนไม่มีทางออก แต่สุดท้ายมันก็มีทางออกทุกครั้ง…เวลาหุ้นปรับตัวลงแรง ผมมองเป็นโอกาสในการเข้าซื้อ
ทั้งนี้ บริการ Definit Global Select เป็นบริการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด (เลขใบอนุญาต 0105565129248) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือฟินโนมีนา (“Finnomena”) ดูแลด้านโมเดลและคำแนะนำพอร์ต กับบริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ดูแลด้านบัญชีหุ้นและการบริหารพอร์ต
สามารถลงทะเบียนเพื่อรับบริการและรับข้อมูล
Definit Global Select เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/dgs/
ข้อมูลติดต่อ: ฝ่ายสื่อสารการตลาด Finnomena
มะลิลา ใจพันธ์ โทร. 089-874-8982 Email: nim.malila@finbroadcasting.com
คำเตือน: การลงทุนอาจมีการกระจุกตัวสูงทั้งในรายหุ้นและรายอุตสาหกรรม | การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจสัญญารับฝาก DR ก่อนการลงทุน | การลงทุนผ่าน DR มีความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาของหลักทรัพย์ต่างประเทศ และความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา DR เอง | บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-109-9933 และทาง Email support@definitinvestment.com
เมื่อวันจันทร์ (21 เม.ย.) ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทรา โมดี และรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เจดี แวนซ์ ได้พบปะกันที่กรุงนิวเดลี โดยมี “ความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญ” ในการเจรจาข้อตกลงการค้าระหว่างสองประเทศ
แถลงการณ์จากสำนักนายกรัฐมนตรีอินเดียระบุว่า ผู้นำทั้งสองได้หารือถึงแนวทางผลักดันข้อตกลงการค้าร่วมกันที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย และประเมินความคืบหน้าเชิงบวกในความร่วมมือด้านต่าง ๆ ทั้งเรื่องพลังงาน กลาโหม และเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคและระดับโลก พร้อมเรียกร้องให้ใช้การเจรจาและการทูตเป็นแนวทางหลักในการแก้ไขความขัดแย้ง
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 2 เมษายน อินเดียถูกสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีตอบโต้สินค้านำเข้าสินในอัตรา 26% ก่อนที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะประกาศระงับภาษีดังกล่าวเป็นเวลา 90 วัน ในวันที่ 9 เมษายน โดยให้คงอัตราภาษีพื้นฐานไว้ที่ 10%
ในขณะเดียวกัน เจมีสัน กรีเออร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ กล่าวว่า สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) และกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอินเดีย ได้ “สรุปข้อกำหนดเพื่อวางกรอบการเจรจาการค้าแล้ว” พร้อมยอมรับว่ายังมีความไม่สมดุลในความสัมพันธ์ทางการค้า แต่ก็ชื่นชมท่าทีของอินเดียที่เปิดกว้าง และหวังว่าจะสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับแรงงาน เกษตรกร และผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศ
ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ โมดีและทรัมป์เคยตั้งเป้าที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างอินเดียและสหรัฐฯ ให้มากกว่าสองเท่า เป็น 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2573 ปัจจุบัน สหรัฐฯ มีมูลค่าการค้ากับอินเดียประมาณ 1.29 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 และอินเดียยังคงได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐฯ โดยมียอดเกินดุลถึง 4.57 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปีที่แล้ว
ที่มา: https://www.cnbc.com/2025/04/22/modi-and-vance-tout-significant-progress-on-india-us-trade-deal.html
ลงทุนในหุ้นอินเดียผ่าน 3 กองทุนหลัก ได้แก่
อ่านคำแนะนำ Mr.Messenger Call เพิ่มเติมได้ที่finnomena.com/opportunity-hub/investment-call/mr-messenger/india-apr-2025
.
อ่านคำแนะนำ MEVT Call เพิ่มเติมได้ที่https://www.finnomena.com/opportunity-hub/investment-call/mevt/india-mar-2025
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ทองคำสินทรัพย์ที่ดูเหมือนเป็นอมตะในโลกการลงทุน ปลอดภัยในยามวิกฤต และเป็นแหล่งเก็บมูลค่ามานานนับพันปี ว่ากันว่าถ้านึกอะไรไม่ออกให้ซื้อทองเก็บไว้ก่อน เพราะยังไงระยะยาวก็ขึ้นแน่นอน
แต่จริง ๆ แล้ว ทองคำที่เราเรียกว่า “safe haven” หรือ “สินทรัพย์ปลอดภัย” ก็เคยมีช่วงที่ซบเซา ไม่ทำกำไรนานนับ 10 ปีมาแล้วเช่นกัน
บทความนี้จะพาทุกคนย้อนไปดูประวัติศาตร์ทองคำ ตั้งแต่ยุคเริ่มต้น ช่วงเวลาแห่งการตื่นทอง เข้าสู่ทศวรรษที่หายไปของทองคำ จนกระทั่งมาถึงปัจจุบันในปี 2025 นี้ ที่ราคาทองโลกกำลังเดินหน้าสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำ All-Time Hight เกิน 20 ครั้งไปแล้ว
ติดตามราคาทองคำแบบ Real-Time ทั้งทองไทยและทองโลก บนเว็บไซต์ Finnomena ได้แล้ววันนี้ คลิกเลย https://finno.me/gold-web
มนุษย์รู้จักทองคำมาตั้งแต่สมัยก่อนคริสต์กาล โดยช่วงแรกเราใช้ทองคำในฐานะเป็นเครื่องประดับเพื่อบ่งบอกฐานะความร่ำรวย ก่อนที่ในเวลาต่อมาทองคำจะถูกนำมาสร้างเป็นเหรียญโลหะสำหรับใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นช่วงปี 1800 ที่สหราชอาณาจักรได้เริ่มผูกค่าของเงินปอนด์สเตอร์ลิงไว้กับปริมาณทองคำ เกิดเป็นระบบมาตรฐานทองคำ Gold Standard ที่เงินตราทั่วโลกผูกติดกับทองคำ ทำให้ทองคำเลยกลายเป็น backbone ของระบบการเงินมานับตั้งแต่วันนั้น
เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่เหมืองทองคำถูกค้นพบจำนวนมากทั้งในสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้ ซึ่งนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของยุคตื่นทองอย่างแท้จริง
Gold Standard ยกระดับทองคำจากที่เคยเป็นสิ่งบ่งบอกฐานะความร่ำรวยของผู้คน กลายมาเป็นตัวชี้วัดความมั่งคั่งของประเทศชาติ ยุครุ่งเรืองนี้ลากยาวมาเกือบศตวรรษ แม้ในปี 1971 ‘ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกซัน’ จะประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ ถือเป็นจุดสิ้นสุด ของ Gold Standard
ทว่าราคาทองคำก็ยังคงพีคไปอีกเป็น 10 ปี จากวิกฤตน้ำมัน บวกกับเกิดการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ในประเทศอิหร่าน และสหภาพโซเวียตประกาศบุกอัฟกานิสถาน ในปี 1979 ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงไปทั่วโลก ผู้คนย้ายเงินไปไว้ในทองคำอย่างมโหฬาร จนดูเหมือนว่าทองคำจะขึ้นตลอดไป ไม่มีอะไรจะหยุดพี่เขาได้
ระหว่างช่วงปี 1969-1980 ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้น 1,500% ในระยะเวลา 122 เดือน
แต่หลังจากความรุ่งเรืองครั้งนั้น ทองคำกลับเข้าสู่ยุคมืดครั้งแรกที่ยาวนานเกือบ 20 ปี ซึ่งหลายคนอาจจะลืมเลือนไปแล้ว ว่าแม้แต่สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ ก็มีวันที่เงียบเหงาได้เหมือนกัน
ช่วงปี 1980-2000 คือ Lost Decade ครั้งแรกของทองคำ จากจุดพีคที่ 2,000 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ ตกลงมาเหลือไม่ถึง 500 ดอลลาร์ มูลค่าหายไปกว่า 70% ในระยะเวลา 20 ปี
การซึมยาวของทองคำตอนเกิดขึ้นในยุคของประธาน Fed ‘Paul Volcker’ ซึ่งทำในสิ่งที่ท้าทาย ดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด เพื่อหยุดเงินเฟ้อจากวิกฤตราคาน้ำมันดิบ ด้วยการใช้ยาแรงขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปสูงถึง 20% แต่นั่นทำให้เศรษฐกิจสหรัฐกลับมามีเสถียรภาพยิ่งขึ้น และเป็นยุคที่คนหันไป Bull ตลาดหุ้น สวนทางกับทองคำที่เป็น Sideway ตลอดทาง
ประกอบกับตอนนั้นโลกค้นพบแหล่งทองคำใหม่ ๆ ในทวีปอเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย ราคาทองคำจึงเริ่มตกลงมาเรื่อย ๆ
เคราะห์ซ้ำกรรมซัดในช่วงปลายยุค 90 ดันเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง รุกลามทั่วเอเชีย IMF ต้องการใช้เงินจำนวนมากเพื่อไปแก้ปัญหาหนี้สินของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จึงเทขายทองคำออกมาจำนวนมาก และมีธนาคารกลางของหลายประเทศทยอยขายทองคำตาม เช่น สวิตเซอร์แลนด์ขายออกมา 1,400 ตัน อังกฤษ ขาย 400 ตัน ทำให้เวลานั้นราคาทองคำด่ำดิ่งสุด ๆ
เดือนสิงหาคม 1999 ราคาทองลงมาเหลือ 250 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ ต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี
ขาขึ้นสั้น ๆ ของทองคำกลับมาอีกครั้งในปี 2001 จากเหตุการณ์ 9/11 ในสหรัฐอเมริกา และจากนั้นในปี 2004 ก็มีการก่อตั้ง SPDR Gold Trust กองทุนทองที่ใหญ่ที่สุดในโลก
จนมาถึงปี 2011 ราคาทองคำในตลาดโลกก็ทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุดแตะ 1,900 ดอลลาร์ เนื่องจากการเกิดวิกฤตหนี้ยุโรป โดยเฉพาะกรีซที่เกือบล้มละลาย นักลงทุนกลัวว่าเงินยูโรจะพัง บวกกับ Fed อัดฉีดเงินผ่านการทำ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็ยิ่งทำให้ความต้องการทองคำพุ่งขึ้น และกลายเป็นหลุมหลบภัยจากความเสี่ยงของระบบการเงินและความกลัวเงินเฟ้อที่อาจตามมาจากการพิมพ์เงินจำนวนมหาศาล
แต่แล้วในปี 2013 ทุกอย่างพลิกผัน Fed ส่งสัญญาณว่าจะลดการอัดฉีดเงินเข้าระบบ นักลงทุนแตกตื่น เทขายทองคำกันยกใหญ่ ตลอดทั้งปี 2013 ราคาทองคำโลกติดลบ 28% หนักสุดในประวัติศาสตร์ พูดว่าเป็นฟองสบู่แตกของทองคำก็คงไม่ผิดนัก
ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เริ่มฟื้นตัวชัดเจน นักลงทุนเห็นทิศทางดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น สิ่งนี้ยิ่งลดความน่าสนใจของทองคำลงไปอีก บวกกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่ยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในช่วงนั้น ทำให้เราจะเห็นว่าเมื่อมองยาว ๆ
ตั้งแต่ปี 2013-2019 ราคาทองคำไม่ได้ไปไหนไกลเลย แกว่งตัวอยู่แถว ๆ 1,200-1,600 ดอลลาร์ ถือเป็นอีกหน้าหนาวที่ยาวนานของคนถือทองคำ
และแล้วในปี 2020 วัฏจักรขาขึ้นรอบใหม่ของทองคำก็กลับมาอีกครั้ง เมื่อโลกรู้จักกับ COVID ส่งผลให้ตลาดการเงินปั่นป่วน นักลงทุนตื่นตระหนกเทขายสินทรัพย์เสี่ยง และหันมาถือสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ
กลางปี 2020 ราคาทองคำพุ่งทะยานอย่างรวดเร็วทะลุ 2,000 ดอลลาร์ ก่อนจะย่อลงตอนปลายปี 2022 และคืนฟอร์มพุ่งเป็นจรวดอีกครั้งจนมาถึงวันนี้ที่เกิน 3,000 ดอลลาร์ไปแล้ว ส่วนราคาทองคำแท่งในไทยขึ้นสู่ 50,000 บาทแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
สุดท้ายนี้ จะเห็นว่าทองคำมีวัฏจักรของมัน ขึ้นบ้าง ลงบ้าง ซึมบ้าง สลับกันไป และไม่ใช่สินทรัพย์ที่เป็นอมตะแบบที่หลาย ๆ คนคิด ประวัติศาสต์ที่ผ่านมาบอกเราว่าทองคำมีทั้งยุคตื่นทองและยุคมืด
หากบังเอิญเข้าซื้อผิดจังหวะเวลา ก็อาจเจอกับช่วงปรับฐานยาวนานร่วม 10 ปีเหมือนกัน ใช่ว่าซื้อแล้วถือยาวจะกำไรเสมอไป
เมื่อคืนวันที่ 21 เมษายน 2025 ดัชนี S&P500 และ NASDAQ 100 ปรับตัวลงแรงกว่า -2.36% และ -2.46% ตามลำดับ หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกมากดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อรับมือกับความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัว พร้อมทั้งขู่เมื่อวันที่ 17 เมษายนว่า อาจสั่งปลดประธานเฟดได้หากต้องการ แรงกดดันดังกล่าวสร้างความกังวลต่อนักลงทุนถึงความเสี่ยงการแทรกแซงความเป็นอิสระของเฟด นำไปสู่แรงขายในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอย่างหนัก นำโดย Tesla (-5.75%), Nvidia (-4.51%), Meta (-3.35%), Amazon (-3.06%), Microsoft (-2.35%) และ Google (-2.31%)
นอกจากนี้ เมื่อวานนี้ (21 เมษายน 2025) กระทรวงพาณิชย์ของจีนได้ประกาศว่าจะตอบโต้ประเทศใดก็ตามที่ร่วมมือกับสหรัฐฯในลักษณะที่กระทบต่อผลประโยชน์ของจีน แม้ยืนยันว่าจีนยังพร้อมร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อปกป้องความเป็นธรรมในเวทีนานาชาติ
Finnomena Funds มองว่าการร่วงลงของตลาดหุ้นเมื่อคืนนี้ สะท้อนความกังวลต่อความพยายามแทรกแซงนโยบายการเงินของสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังทรัมป์ขู่ว่าจะปลดเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ทั้งนี้ ในสมัยรัฐบาลทรัมป์ชุดแรก แม้เคยมีการขู่ในลักษณะนี้เช่นกัน แต่ไม่สามารถปลดได้ เนื่องจากธนาคารกลางต้องดำรงความเป็นอิสระจากรัฐบาลตามกฎหมาย ซึ่งครั้งนี้ก็คาดว่าผลลัพธ์จะไม่แตกต่างกัน ด้านการเจรจาการค้า เริ่มมีการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯกับหลายประเทศแล้ว หลังจากสหรัฐฯได้ประกาศเลื่อนการขึ้นภาษี 90 วัน
ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่เราคาดไว้ในรายงานฉบับก่อนว่า การขึ้นภาษีของทรัมป์มีเป้าหมายเพื่อการ “เจรจา (make deal)” มากกว่าการจะต้องการเก็บภาษีในระดับสูงสุดตามที่เคยประกาศไว้ในวันที่ 2 เมษายน เราเริ่มเห็นแรงต้านจากสังคมในสาธารณะต่อนโยบายการค้าของทรัมป์ ทั้งจากคะแนนนิยมของทรัมป์ที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง จนไปถึงความขัดแย้งที่เริ่มเกิดขึ้นภายในระหว่างผู้สนับสนุนและทีมงานของทรัมป์เอง
อย่างไรก็ตามแม้สหรัฐฯ กับจีนยังคงระดับภาษีตอบโต้ในระดับสูง ซึ่งไม่ยั่งยืนและจะสร้างอันตรายทางเศรษฐกิจกับทุกฝ่าย เราเชื่อว่าสุดท้ายแล้วทั้งสองฝ่ายจะนำไปสู่การเจรจา เช่นเดียวกับทิศทางที่มีการเลื่อนการขึ้นภาษีกับประเทศอื่น ๆ
เราจึงปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยงได้ หลังจากที่เราแนะนำ Wait and See เพื่อเตรียมลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2025
จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
Finnomena Funds ปรับโหมดกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ข่าวร้ายที่สุดผ่านเราไปแล้ว หลัง Trump เลื่อนการขึ้นภาษีไป 90 วัน พร้อมหันมาเจรจา Make Deal ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena
แม้ว่าตอนนี้ตลาดการลงทุนทั่วโลกจะยังอยู่ภาวะของความไม่แน่นอนจากความกังวลกำแพงภาษี Reciprocal Tariffs แต่บรรยากาศก็เริ่มผ่อนคลายขึ้นมาก หลังล่าสุด (9 เมษายน 2025) Donald Trump ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศลดอัตราภาษีนำเข้าลงมาอยู่ที่ 10% และเลื่อนการเก็บภาษีตอบโต้ส่วนเพิ่มออกไปเป็นระยะเวลา 90 วัน ยกเว้นแคนาดา เม็กซิโก และจีน
จริงอยู่ที่สหรัฐฯ และจีน ยังคงตอบโต้ประเด็นทางการค้าอย่างเข้มข้น แต่เชื่อว่าสุดท้ายแล้วทั้ง 2 ฝ่ายจะนำไปสู่การเจรจา เช่นเดียวกับทิศทางที่มีการเลื่อนขึ้นภาษีกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก เพราะเป้าหมายของ Trump นั้นต้องการเจรจาผลประโยชน์มากกว่าต้องการเก็บภาษีในระดับสูงสุด
นอกจากนี้ เราเริ่มเห็นแรงต้านจากสังคมในสาธารณะต่อนโยบายการค้าของ Trump ทั้งคะแนนนิยมที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 จนไปถึงความขัดแย้งที่เริ่มเกิดขึ้นภายในระหว่างผู้สนับสนุนและทีมงานของรัฐบาลเอง
มุมมอง Finnomena Funds คาดว่ามีโอกาสสูงที่สถานการณ์จะคลายความตึงเครียดลงเรื่อย ๆ โดยแนะนำกลยุทธ์การลงทุนปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยงได้ โดยเฉพาะในกลุ่ม China + 1 ซึ่งยังได้อานิสงส์จากการขึ้นภาษีศุลกากร ผ่านกองทุนที่คัดเลือกมาแล้วว่ามีโอกาสฟื้นตัว หลังตลาดหุ้นปรับฐานแรงในช่วงที่ผ่านมา
คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนหาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพการเติบโตยังดี ประกอบกับมีลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล
1.) TISCOAI (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้น AI และ Big Data โดยลงทุนครอบคลุมธีม AI กลางน้ำและปลายน้ำ ซึ่งจะมีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต จากการที่โลกพัฒนาเข้าสู่ยุค Agentic AI รวมทั้งเป็นจังหวะเข้าเก็บสะสมในช่วงเวลาที่ Valuation กลับมาน่าสนใจอีกครั้ง
2.) DAOL-KOREAEQ (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเกาหลีใต้ โดดเด่นด้วย Valuation ที่ไม่แพง แต่เริ่มมีทิศทางฟื้นตัวดีขึ้น อัพไซด์สูงพร้อมรับโอกาสการเติบโตจากการเป็นผู้ผลิตชิปหน่วยความจำชั้นนำของโลก ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากกระแส AI รายถัดไป
3.) MEGA10CHINA-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นจีนขนาดใหญ่ 10 ตัว ได้รับประโยชน์จากกระแส AI Boom ในจีน และยังมีแรงหนุนให้สร้างโอกาสเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง หลังช่วงที่ผ่านมาราคาปรับตัวลดลงมาจนอยู่ในระดับที่น่าสนใจเข้าซื้อ
คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ Trend Follower Investor มุ่งสร้างโอกาสทำกำไรในระยะสั้น-กลาง เน้นใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์ในอดีต โดยใช้หลักสถิติคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต และหาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม
1.) PRINCIPAL VNEQ-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเวียดนาม เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน หลังเจอแรงขายที่มากผิดปกติจากประเด็น Tarriff ทำให้ระดับราคาปัจจุบันอยู่ในจุดที่น่าเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หรือถัวเฉลี่ยสะสมในระยะยาว
2.) B-BHARATA และ TISCOINA-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นอินเดียเติบโตแกร่ง โดยมีปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจประเทศอินเดียที่ผ่านพ้นจุดต่ำสุดแล้ว และเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนในปีนี้ อีกทั้งยังเป็นตลาดหุ้นที่โดดเด่นทั้ง Fund Flow และ Technical
3.) ABGFIX-A และ SCBFST (ความเสี่ยงระดับ 4)
กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่ลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์ ถือเป็นจังหวะเก็งกำไรค่าเงิน USD/THB ที่มีแนวโน้มยืนแข็งค่าเหนือระดับ 34 บาท ได้ในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า พร้อมรับผลตอบแทนจาก Yield ที่เด้งขึ้นมา
คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Long-Term Growth เพื่อสร้างโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีในระยะกลาง-ยาว โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านตาม MEVT Framework ได้แก่ Macro ปัจจัยเชิงมหภาค, Earnings วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, Valuation การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน และ Technical
1.) PRINCIPAL VNEQ-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเวียดนามศักยภาพสูง เป็นตลาดที่ถูกและดี พร้อมด้วย Sentiment จากการปรับโครงสร้างระบบราชการ ลดจำนวนบุคลากร เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน นอกจากนี้ เวียดนามยังมีปัจจัยหนุนในการเตรียมเข้าสู่ EM Market ของดัชนี FTSE ในปีนี้
2.) B-BHARATA และ TISCOINA-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นอินเดียเติบโตแกร่ง เป็นตลาดหุ้นที่สามารถเก็บสะสมได้ในระยะยาว หนุนโดยโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศที่มีศักยภาพเติบโตสูง และประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกปรับเพิ่มขึ้น
3.) B-INNOTECH (ความเสี่ยงระดับ 7)
กองทุนหุ้นเทคโนโลยีคุณภาพดี เน้นคัดเลือกหุ้น Value Play โดยเข้าซื้อหุ้นเติบโตในจังหวะที่ราคาไม่แพง ทำให้กองทุนมีความผันผวนที่ต่ำกว่ากองทุนหุ้น Growth อื่น ๆ
ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
หลายคนคุ้นเคยกับ “ตราสารหนี้” ในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เหมาะกับการถือครองในช่วงตลาดหุ้นผันผวน โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลที่มักถูกมองว่าเป็นแหล่งพักเงิน และเป็นหัวใจสำคัญของการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุน
แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คำว่า “Bond Shock” กลับถูกพูดถึงมากขึ้น สะท้อนสถานการณ์ที่ขัดแย้งกับความคาดหวัง เพราะสินทรัพย์ที่ควรจะช่วยลดความเสี่ยง กลับกลายเป็นต้นเหตุของแรงสั่นสะเทือนในตลาดทุน สถาบันการเงิน และเศรษฐกิจโดยรวม
แม้ตราสารหนี้จะให้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอ แต่ราคาซื้อขายในตลาดสามารถผันผวนได้ตามทิศทางของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ทำให้นักลงทุนบางรายเผชิญกับ “Bond Shock” โดยไม่ทันตั้งตัว
Bond Shock คือ ภาวะที่ราคาของตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้ ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงภายในช่วงเวลาสั้น ๆ มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เช่น ธนาคารกลางปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่ตลาดคาด ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) พุ่งสูง ส่งผลให้ราคาพันธบัตรที่ออกไว้ก่อนหน้านั้นร่วงทันที
แม้ตราสารหนี้จะถือเป็น “สินทรัพย์ปลอดภัย” สำหรับการกระจายความเสี่ยง แต่เมื่อเผชิญ Bond Shock ขึ้นมา มันกลับกลายเป็นแหล่งต้นตอของความผันผวน โดยมี 4 สาเหตุหลักที่อยู่เบื้องหลัง ดังนี้
เมื่อธนาคารกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่างเฟด (Fed) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วหรือแรงเกินความคาดหมาย พันธบัตรที่ออกมาก่อนหน้านี้ ซึ่งให้ผลตอบแทนต่ำกว่ากลายเป็นสินทรัพย์ที่ไม่จูงใจอีกต่อไป นักลงทุนจึงเทขายเพื่อนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรใหม่ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่า ส่งผลให้ราคาพันธบัตรเดิมร่วงลงอย่างรวดเร็ว
แม้ธนาคารกลางจะพยายามควบคุมเงินเฟ้อด้วยการขึ้นดอกเบี้ย แต่หากเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง นักลงทุนจะตั้งคำถามว่า “การถือพันธบัตรยังคุ้มค่าไหม?” เพราะแม้จะได้รับดอกเบี้ย หากอำนาจซื้อของเงินลดลง รายได้จากพันธบัตรก็อาจไม่เพียงพอที่จะรักษามูลค่าเงินต้นไว้ได้
เมื่อธนาคารกลางลดขนาดงบดุลหรือดูดสภาพคล่องออกจากระบบ เช่น การหยุดมาตรการ QE หรือเริ่ม QT (Quantitative Tightening) ส่งผลให้เม็ดเงินในระบบลดลง นักลงทุนมีสภาพคล่องน้อยลง และอาจต้องขายสินทรัพย์บางอย่างเพื่อใช้เงิน พันธบัตรจึงกลายเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ถูกขายทิ้ง แม้ราคาจะไม่เหมาะก็ตาม ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อราคาอย่างต่อเนื่อง
แรงขายจำนวนมากมักไม่ได้มาจากนักลงทุนรายย่อย แต่เกิดจากกองทุนหรือสถาบันขนาดใหญ่ เช่น กองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง–ยาว ที่ต้องเผชิญกับแรงไถ่ถอน (Outflow) อย่างหนัก หากผู้ลงทุนแห่ถอนเงินพร้อมกัน กองทุนจำเป็นต้องขายพันธบัตรออกมาเพื่อจ่ายคืน แม้จะอยู่ในภาวะที่ราคายังต่ำก็ และเมื่อการขายกระจายออกไปในวงกว้าง ก็จะยิ่งซ้ำเติมตลาดให้ราคาตกลงอย่างรุนแรง กลายเป็น Bond Shock แบบโดมิโนในที่สุด
ตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้เคยเผชิญภาวะ “Bond Shock” มาแล้วหลายครั้ง แต่ละเหตุการณ์ล้วนมีปัจจัยกระตุ้นเฉพาะตัว และทิ้งบทเรียนสำคัญไว้ให้กับนักลงทุนรุ่นหลัง
Bond Yield สหรัฐฯ พุ่งแรงช่วงปี 1994 | Source: Investing.com
ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัวจากภาวะถดถอย โดยในช่วงปี 1993 เศรษฐกิจมีสัญญาณเติบโตต่อเนื่อง และมีความกังวลว่าแรงกดดันเงินเฟ้ออาจกลับมาอีกครั้ง
Fed ภายใต้การนำของประธาน อลัน กรีนสแปน (Alan Greenspan) จึงตัดสินใจ “ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว” จากระดับต่ำสุดในรอบหลายปี โดยในช่วงเวลาเพียง 12 เดือน Fed ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก 3% เป็น 6%
แม้จะเป็นการดำเนินนโยบายเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ แต่ตลาดกลับไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้าอย่างเพียงพอ การขึ้นดอกเบี้ยที่รวดเร็วและต่อเนื่องสร้างความตื่นตระหนกในตลาดพันธบัตร นักลงทุนจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังทรงตัวหรือขึ้นช้า ๆ จึงเผชิญกับการขาดทุนอย่างรุนแรงจากราคาตราสารหนี้ที่ร่วงลงต่อเนื่อง
ผลกระทบขยายตัวไปในระดับโลก โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนที่ใช้ Leverage หรือลงทุนผ่านตราสารอนุพันธ์ในตลาดอัตราดอกเบี้ย เช่น ธนาคารญี่ปุ่น สถาบันการเงินในยุโรป และกองทุนเก็งกำไรหลายแห่ง ซึ่งต้องเผชิญภาวะ “Margin Call” และบังคับขายพันธบัตรจำนวนมาก
ตลาดพันธบัตรทั่วโลกในเวลานั้นสูญเสียมูลค่ารวมกันกว่าหนึ่งล้านล้านดอลลาร์ และเหตุการณ์นี้ถูกเรียกขานในเวลาต่อมาว่า “Great Bond Massacre” ซึ่งเป็นหนึ่งในความผิดพลาดด้านการประเมินทิศทางนโยบายการเงินที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การลงทุน
เหตุการณ์ค่อย ๆ คลี่คลายเมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะสมดุล และ Fed ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในปีถัดมา แต่ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว พร้อมกับบทเรียนว่า การประเมินผลกระทบของนโยบายการเงินต่ำไป อาจทำให้สินทรัพย์ปลอดภัย กลายเป็นบ่อเกิดของความผันผวนได้เช่นกัน
Bond Yield ช่วง 2008 – 2015 | Source: Investopedia
หลังวิกฤตการเงินปี 2008 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย หรือ QE (Quantitative Easing) อย่างเต็มที่ โดยอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ภาคเอกชน เพื่อพยุงเศรษฐกิจและลดต้นทุนทางการเงินให้ต่ำเป็นพิเศษ
ในช่วงต้นปี 2013 เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น และ Fed เริ่มพิจารณาว่าควรเริ่มลดขนาดของ QE หรือไม่ โดยในเดือนพฤษภาคม 2013 เบน เบอร์นันเก (Ben Bernanke) ประธาน Fed ในขณะนั้น กล่าวเพียงว่า “Fed อาจเริ่มลดขนาด QE ภายในสิ้นปี หากเศรษฐกิจดำเนินไปตามที่คาด”
แม้จะยังไม่มีการปรับนโยบายใด ๆ อย่างเป็นทางการ แต่นักลงทุนในตลาดกลับตอบสนองด้วยความตกใจ โดยเฉพาะในตลาดพันธบัตร ซึ่งเคยได้ประโยชน์จากการที่ Fed เป็นผู้ซื้อรายใหญ่
Yield พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นจาก 1.6% เป็นเกือบ 3% ภายในเวลาไม่กี่เดือน ขณะที่ราคาตราสารหนี้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ ร่วงลงอย่างรุนแรง
ผลกระทบที่ตามมา คือเงินทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดเกิดใหม่อย่างรวดเร็ว ค่าเงินในประเทศอย่างอินเดีย อินโดนีเซีย และบราซิล อ่อนค่าหนัก ภาครัฐต้องเร่งปรับนโยบายรับมือ พร้อมกับสูญเสียเสถียรภาพทางการเงินในระยะสั้น
Bond Yield หลังจาก Fed เร่งขึ้นดอกเบี้ย | Source: Futubull, Federal Reserve, Bloomberg
ภายหลังการระบาดของ COVID-19 โลกอยู่ในช่วงดอกเบี้ยต่ำและมีการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ทั้งด้านการเงินและการคลัง อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่ตามมาคืออัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่เงินเฟ้อแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 40 ปี
Fed จึงจำเป็นต้อง “เร่งขึ้นดอกเบี้ย” อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยปรับขึ้นจาก 0.25% ไปแตะระดับกว่า 5% ภายในเวลาเพียง 12 เดือนในปี 2022
ผลลัพธ์คือราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวลงอย่างรุนแรง แม้จะเป็นตราสารที่มีความมั่นคงสูงและได้รับการจัดอันดับเครดิตสูงสุด นักลงทุนที่ถือพันธบัตรเหล่านี้จึงเผชิญผลขาดทุนทางบัญชี (Mark-to-Market) ในระดับที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน
ผลกระทบไม่ได้หยุดเพียงในระดับนักลงทุนรายย่อยหรือกองทุน แต่ลุกลามไปถึง “ระบบธนาคาร” โดยเฉพาะกรณีของ Silicon Valley Bank (SVB) ซึ่งมีการถือพันธบัตรระยะยาวจำนวนมาก และไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากดอกเบี้ย เมื่อราคาตราสารเหล่านั้นลดลง และลูกค้าถอนเงินพร้อมกัน จึงขาดสภาพคล่องและนำไปสู่การล้มละลายในที่สุด
การเกิด Bond Shock ไม่ได้เป็นแค่เหตุการณ์ธรรมดาในตลาดการเงิน แต่คือการ “สั่นคลอนความเชื่อมั่น” ของนักลงทุนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตราสารหนี้ซึ่งควรจะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย กลับกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความผันผวนครั้งใหญ่
หนึ่งในสัญญาณที่สะท้อน Bond Shock ได้อย่างชัดเจนคือ “ราคาพันธบัตรที่ร่วงลงอย่างรวดเร็ว” การที่นักลงทุนเทขายพันธบัตรจำนวนมาก อาจสะท้อนถึงความไม่มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้จริงหรือไม่ หรือในอีกมุมหนึ่ง อาจเป็นความกังวลว่ารัฐบาลจะกู้เงินมากเกินไป จนเกิดความเสี่ยงทางการคลัง (Fiscal Risk) นักลงทุนจึงเริ่มลดการถือครองหนี้รัฐบาล ซึ่งนำไปสู่การปรับตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ที่พุ่งขึ้นรวดเร็ว
ทั้งนี้ ผลกระทบไม่ได้หยุดอยู่แค่ในตลาดพันธบัตร เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดพุ่งสูงขึ้น บริษัทเอกชนและประชาชนทั่วไปที่ต้องการกู้ยืมเงินก็ต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นตามไปด้วย การซื้อบ้าน การผ่อนรถ หรือแม้แต่การลงทุนในธุรกิจ กลายเป็นเรื่องที่ “แพงขึ้น” อย่างฉับพลัน ผลลัพธ์คือเศรษฐกิจจริงอาจชะลอตัวลงจากแรงกระแทกนี้
ไม่เพียงเท่านั้น ตลาดหุ้นเองก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงผลกระทบได้ เพราะเมื่อต้นทุนเงินเพิ่มขึ้น ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจก็ถูกตั้งคำถามทันที ดอกเบี้ยที่สูงหมายถึงนักลงทุนจะต้องใช้ “ดิสเคานต์เรต” ที่สูงขึ้นในการประเมินมูลค่าหุ้น ซึ่งทำให้ราคาหุ้นดูแพงขึ้นทันทีเมื่อเทียบกับความเสี่ยง ส่งผลให้ตลาดหุ้นตกลงตามมาด้วยแรงเทขายจากนักลงทุนทั่วโลก
สงครามการค้า (Trade War) คือระเบิดเวลาทางเศรษฐกิจ ที่อาจจุดชนวนให้เกิด Bond Shock ได้รุนแรงยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ สงครามภาษีระหว่างสหรัฐฯ และจีน หากต้นทุนสินค้านำเข้าสูงขึ้นจากภาษี เงินเฟ้อก็มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตาม นักลงทุนจึงเริ่มคาดการณ์ว่า Fed อาจจำเป็นต้องคงดอกเบี้ยในอัตราที่สูงและนานกว่าที่เคย และเมื่อความคาดหวังเปลี่ยน ตลาดพันธบัตรก็ปรับตัวอย่างรวดเร็ว ราคาพันธบัตรร่วงและ Yield พุ่งขึ้นในทันที
นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งความเสี่ยงที่ตลาดไม่อาจมองข้ามได้ นั่นคือการที่จีนเป็นผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รายใหญ่ หากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่าง 2 ประเทศลุกลาม จีนอาจลดการซื้อพันธบัตร หรือถึงขั้นขายออก ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะอุปสงค์ลดลงทันที ราคาพันธบัตรจะปรับตัวลง และ Bond Yield พุ่งขึ้นอีกครั้ง
และในภาพรวมของตลาดโลก ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งขึ้นจากกระแสความกังวล และการไหลของเงินทุนกลับเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัยในสหรัฐฯ จะยิ่งซ้ำเติมตลาดเกิดใหม่ ทุนไหลออกจากตลาดเหล่านี้ ทำให้เกิดความปั่นป่วนในระบบการเงิน และนักลงทุนบางกลุ่มอาจตัดสินใจลดความเสี่ยงด้วยการขายตราสารหนี้ทิ้งอีกระลอก
อ้างอิง: Tradingview, ม้าเฉียว ดูหุ้น The Future, Reuters, Investopedia
การเจรจาระหว่างทีมไทยแลนด์ นำโดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กับรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อหาทางปลดล็อกมาตรการภาษีตอบโต้ที่เกิดขึ้นในรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ ส่อแววเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิมที่นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร เคยระบุไว้ว่า จะเกิดขึ้นในวันที่ 23 เมษายน 2568
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่มีการยืนยันวันและเวลาที่แน่นอนจากฝ่ายสหรัฐฯ ทำให้การเจรจาต้องเลื่อนออกไปก่อน แม้ว่าก่อนหน้านี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จะได้เดินทางไปสหรัฐฯ เพื่อโรดโชว์และรวบรวมข้อมูลนักลงทุนสำหรับใช้ในการเจรจาแล้วก็ตาม โดยขณะนี้ยังต้องรอการตอบรับและกำหนดวันจากสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (USTR) ก่อน
นายพิชัยกล่าวว่า “นโยบายทรัมป์ 2.0 เป็นสิ่งที่น่ากังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในช่วงไตรมาสสองนี้ แม้ว่าในไตรมาสแรกการส่งออกของไทยจะยังคงขยายตัวได้ดี โดยในเดือนมกราคมขยายตัว 13.6% และเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัว 14% ซึ่งในวันที่ 24 เมษายนนี้ กระทรวงพาณิชย์จะแถลงตัวเลขเดือนมีนาคม ยืนยันว่าการส่งออกยังคงขยายตัวได้เกิน 10% แน่นอน”
จีนออกมาเตือนว่า จะไม่ยอมรับข้อตกลงใด ๆ ที่อเมริกาทำกับชาติอื่น ๆ แล้วส่งผลเสียต่อผลประโยชน์ของจีน หลังจากมีรายงานว่า สหรัฐฯ กำลังวางแผนที่จะกดดันประเทศต่าง ๆ ให้จำกัดการค้ากับจีน เพื่อแลกกับการที่ประเทศเหล่านั้นจะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าจากอเมริกา
โฆษกกระทรวงพาณิชย์ของจีนระบุว่า หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จีนจะตอบโต้กลับอย่างเด็ดขาด และยืนยันว่าจีนมีความตั้งใจและศักยภาพเพียงพอที่จะปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของตนเอง โดยโฆษกเน้นย้ำว่า การยอมอ่อนข้อไม่ได้นำมาซึ่งสันติภาพ การประนีประนอมไม่ได้ทำให้เกิดความเคารพ และการพยายามเอาผลประโยชน์ของชาติอื่นมาแลกกับการยกเว้นภาษีนั้นไม่มีทางสำเร็จ และท้ายที่สุดจะส่งผลเสียต่อทุกฝ่าย
จีนยังแสดงความเคารพต่อทุกประเทศที่ต้องการแก้ไขข้อพิพาททางการค้ากับสหรัฐฯ ผ่านการเจรจาอย่างเท่าเทียมกัน พร้อมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยืนอยู่ข้างความถูกต้องและยุติธรรม สนับสนุนหลักการทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงระบบการค้าพหุภาคี
ที่มา: https://english.news.cn/20250421/d9dce5a1110f4d9799f64bb4dc0332cc/c.html
ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา กำลังอยู่ในช่วงที่มีความไม่แน่นอนสูง ทั้งจากทิศทางนโยบายการเงินของ Fed และความเสี่ยงจากมาตรการกีดกันทางการค้ากับประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะกับจีน ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจยังค่อนข้างพอไปได้จากการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนของภาคธุรกิจ แต่เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวในบางกลุ่ม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่เคยเป็นกลุ่มผู้นำตลาด กำลังเผชิญแรงกดดันจากการปรับตัวของต้นทุนทางการเงิน ความอิ่มตัวของมูลค่า และการปรับมุมมองจากนักลงทุนสถาบัน ทำให้การเข้าลงทุนในกลุ่ม Tech สหรัฐฯ ณ จุดนี้มีความเสี่ยงต่อการย่อตัวระยะสั้นมากกว่าในช่วงนี้
ในฝั่งของจีนเอง ก็อยู่ในระหว่างการพยายามฟื้นตัวจากภาวะชะลอตัวผ่านนโยบายกระตุ้นของภาครัฐ ทั้งด้านการคลัง การเงิน และการสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของภาคเอกชนยังไม่ฟื้นกลับเต็มที่ โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีจีนซึ่งได้รับผลกระทบจากทั้งแรงกดดันจากต่างประเทศ และความไม่แน่นอนทางกฎระเบียบในประเทศ แม้จะมีแรงสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ แต่ความเสี่ยงเชิงโครงสร้างยังคงอยู่ ทั้งในแง่ของการบริหารความโปร่งใส ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ และการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมเอง ซึ่งทำให้การลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีจีนยังไม่เหมาะสมในช่วงเวลานี้
ดังนั้น ในช่วงระยะเวลานี้ จึงควรที่จะชะลอการเข้าลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีทั้งในสหรัฐฯ และจีน เนื่องจากความเสี่ยงด้านมูลค่าที่ค่อนข้างที่จะตึงตัว ปัจจัยลบด้านนโยบาย และแนวโน้มการปรับประมาณการรายได้จากนักวิเคราะห์ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีการเติบโตสูงในอดีต ดังนั้นกลยุทธ์ที่เน้นการรักษาเงินต้น และการปรับพอร์ตให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจโลก ณ ปัจจุบันนี้ จะเป็นแนวทางสำคัญในช่วงไตรมาสที่มีความไม่แน่นอนสูงนี้
สัดส่วนน้ำหนักการลงทุนพอร์ต OMO โดย BottomLiner ณ วันที่ 21 เมษายน 2025
Optimal Megatrend Opportunities Portfolio กลยุทธ์การลงทุนที่ผสมผสาน การเลือก Megatrend และแบ่งน้ำหนักการลงทุนด้วย Risk Budgeting มาช่วยในการจัดพอร์ตการลงทุน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-omo
บทความโดย BottomLiner สำหรับพอร์ต Optimal Megatrend Opportunities (OMO) ที่ Finnomena Funds เท่านั้น ข้อมูล ณ วันที่ 21 เมษายน 2025
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทําให้ผู้ลงทุน ขาดทุนหรือได้รับกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | บางกองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
แหล่งข่าวจาก Bloomberg รายงานว่า Apple หันมาให้ความสำคัญกับห่วงโซ่อุปทานการผลิต iPhone ในประเทศอินเดียมากยิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนการเร่งย้ายฐานผลิตออกจากประเทศจีน สำหรับลูกค้าในสหรัฐอเมริกา
โดยการเปิดเผยข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2025 พบว่ายอดการประกอบ iPhone ในอินเดีย มีมูลค่าสูงถึง 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นกว่า 60% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และคิดเป็นสัดส่วนถึง 20% หรือ 1 ใน 5 ของการผลิต iPhone ทั่วโลก (ตัวเลขประเมินมูลค่าหน้าโรงงาน ไม่ใช่ราคาขายปลีกที่บวกกำไรแล้ว)
การย้ายฐานผลิตบางส่วนไปยังอินเดีย เริ่มชัดเจนขึ้นตั้งแต่ช่วงล็อกดาวน์โควิดในจีน ทำให้ Apple จำเป็นต้องหันไปใช้โรงงาน Foxconn Technology Group ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอินเดีย เป็นศูนย์กลางการประกอบ iPhone แห่งใหม่ และเกิดการเร่งย้ายฐานการผลิตจากจีนมายังอินเดียมากขึ้น เมื่อ Donald Trump ประกาศแผนภาษีตอบโต้ ‘Reciprocal Tariffs’ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 ที่มุ่งเน้นเป้าหมายหลักคือจีน
อย่างไรก็ตาม จีนยังถือเป็นฐานการผลิตที่มีความสำคัญต่อ Apple ด้วยซัพพลายเออร์เกือบ 200 ราย และบริษัทยังคงพึ่งพาการผลิต iPhone จากโรงงานจีนเป็นหลักกว่า 80-90%
Tim Cook ซีอีโอของ Apple เคยให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg Intelligence ในปี 2022 ว่าเราต้องใช้เวลาถึง 8 ปี เพื่อย้ายเพียง 10% ของกำลังการผลิตของ Apple ออกจากจีน
อีกทั้งในเดือนมีนาคม 2024 ตอนเยือนเซี่ยงไฮ้ เขายังกล่าวชื่นชมทักษะระดับสูงของคนจีน พร้อมบอกว่าไม่มีซัพพลายเชนใดในโลกที่สำคัญต่อ Apple มากไปกว่าจีนแล้ว แถมโรงงานจีนก็ยังมีความทันสมัยมาก
ถึงอย่างนั้น การกระจายฐานการผลิตออกไปยังประเทศอื่น ๆ เช่น อินเดีย และเวียดนาม ก็เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาจีนเพียงประเทศเดียว ซึ่งยังคงมีความไม่แน่นอนสูงในด้านสงครามการเมือง
Source: Bloomberg, China Daily HK
มีเงิน 1,000,000 บาท ฝากไว้ที่ไหนดี? การออมเงินเป็นสิ่งสำคัญ แต่การเลือกที่ฝากเงินก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะส่งผลต่อผลตอบแทนที่เราจะได้รับในอนาคตด้วย ในยุคที่ดอกเบี้ยเงินฝากทั่วไปค่อนข้างต่ำเช่นนี้ การหาบัญชีเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยสูงจึงเป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจ
วันนี้เราจึงมัดรวม “บัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูง” มาฝากกัน แนะนำพร้อมเปรียบเทียบให้ดูกันแบบชัด ๆ ว่าแต่ละที่ให้อัตราดอกเบี้ยเท่าไร มีเงื่อนไขการฝากอย่างไรบ้าง มาดูไปพร้อมกันได้เลย!
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 2.00% ต่อปี สำหรับการฝากเงินในเดือน 19-24 และยอดเงินฝากไม่เกิน 5,000,000 บาท
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.60% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่เกิน 500,000 – 2,000,000 บาท
จ่ายดอกเบี้ย 1.60% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากมากกว่า 200,000 – 2,000,000 บาท
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.55% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 1,000,000 บาท
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.50% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 2,000,000 บาท
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.50% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 2,000,000 บาท
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.50% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 1,000,000 บาท
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.50% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 2,000,000 บาท (ดอกเบี้ยปกติ 1.00% และดอกเบี้ยโบนัส 0.50% เมื่อมียอดเงินฝากเฉลี่ยของเดือนปัจจุบันมากกว่า/เท่ากับยอดเงินฝากเฉลี่ยของเดือนที่แล้ว)
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.50% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 2,000,000 บาท
หมายเหตุ: อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามที่แต่ละธนาคารประกาศกำหนด ข้อมูลจากเว็บไซต์ของแต่ละธนาคาร ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2567
อยากออมเงินให้คุ้ม มาฝากเงินไว้กับ ‘FIN SAVE by KKP’ บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่จะเชื่อมต่อโลกการลงทุนในที่เดียวบนแอปพลิเคชัน Finnomena ช่วยคุณจัดการชีวิตการเงินให้ง่ายขึ้น แยกบัญชีเงินลงทุนออกจากบัญชีใช้จ่ายประจำวันชัดเจน พร้อมรับดอกเบี้ยสูงสุด 1.60% ต่อปี* ระหว่างพักเงินรอลงทุน สะดวก ปลอดภัย มั่นใจได้ ดูแลเงินฝากของคุณโดยธนาคารเกียรตินาคินภัทร
*อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารเกียรตินาคินภัทรกำหนด (อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 1.60% ต่อปี สำหรับยอดฝากส่วนที่เกิน 500,000 – 2,000,000 บาท)
หากคุณกำลังมองหาบัญชีเงินฝากที่จะทำให้ชีวิตการเงินของคุณสะดวกขึ้น จัดการทั้งเงินฝากและเงินลงทุนได้ครบจบในที่เดียว บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP คือคำตอบ! ดาวน์โหลดแอปฯ Finnomena และเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP ได้เลย
หากพบปัญหาเกี่ยวกับการเปิดบัญชีไม่สำเร็จหรือบริการทางบัญชีเพิ่มเติม โปรดติดต่อ KKP Contact Center โทร 02-165-5555 กด 5 ต่อจากนั้น กด 1 เวลา 07.00-20.00 ของทุกวัน
หากต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งาน Finnomena Application โปรดติดต่อ 02-026-5100 เวลา 09.00 – 17:00 ทุกวันทำการ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
คำเตือน:
วงเงินฝาก | อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี) |
ไม่เกิน 500,000 บาท (A) | 0.40% |
ส่วนที่เกิน 500,000 – 2,000,000 บาท (B) | 1.60% |
ส่วนที่เกิน 2,000,000 (C) | 0.40% |
อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย (A) = 0.40%, (B) = 0.40%-1.30%, (C) 0.40%-1.30%
กรณีที่ 1: ฝากเงิน 1,500,000 บาท ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP
กรณีที่ 2: ฝากเงิน 3,000,000 บาท ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP
Netflix รายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาด โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 13% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2025 เป็นผลมาจากจำนวนผู้สมัครสมาชิกเพิ่มขึ้นและรายได้จากโฆษณาที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้
ในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา Netflix ได้ปรับขึ้นราคาแพ็กเกจทั้งหมด โดยปรับราคาแพ็กเกจมาตรฐานเป็น 17.99 ดอลลาร์ต่อเดือน แพ็กเกจที่รองรับโฆษณาเป็น 7.99 ดอลลาร์ และแพ็กเกจพรีเมียมเป็น 24.99 ดอลลาร์
รายงานผลประกอบการครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ Netflix ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขผู้สมัครสมาชิกรายไตรมาส เพราะบริษัทกำลังปรับกลยุทธ์ ไปเน้นที่รายได้และตัวเลขทางการเงินอื่น ๆ เพื่อใช้วัดผลงานแทน
แม้ว่าช่วงนี้หุ้นของบริษัทสื่อดั้งเดิมหลายแห่งจะได้รับผลกระทบจากตลาดที่ผันผวนเพราะนโยบายการค้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แต่ Netflix ยังคงคาดการณ์รายได้ตลอดทั้งปีไว้ที่ 43.5 ถึง 44.5 พันล้านดอลลาร์
ในขณะที่นักลงทุนหลายคนกังวลว่ามาตรการภาษีอาจส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เกร็ก ปีเตอร์ส co-CEO ของ Netflix กล่าวในการประชุมรายงานผลประกอบการของบริษัทว่า “จากที่เราได้เห็นจากการดำเนินธุรกิจจริง ๆ ในตอนนี้ ยังไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วงเป็นพิเศษ”
สรุปผลประกอบการของ Netflix ในไตรมาส 1 ปี 2025 เทียบกับตัวเลขที่นักวิเคราะห์จาก LSEG คาดการณ์ไว้:
ที่มา: https://www.cnbc.com/2025/04/17/netflix-nflx-earnings-q1-2025.html
Tesla กำลังเผชิญกับการฟ้องร้องแบบกลุ่มโดยผู้บริโภครายหนึ่ง ที่กล่าวหาว่าบริษัทเร่งการทำงานของมาตรวัดระยะทาง (odometer) ในรถยนต์ไฟฟ้าของตน เพื่อให้ระยะเวลารับประกันสิ้นสุดเร็วขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้บริษัทไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม
Nyree Hinton ผู้ยื่นฟ้องจากลอสแอนเจลิส อ้างว่า มาตรวัดระยะทางของ Tesla ไม่ได้แสดงระยะทางที่ขับขี่จริง เป็นค่าที่คำนวณจากการใช้พลังงาน ลักษณะการขับขี่ และอัลกอริธึมของระบบ
เขากล่าวว่า มาตรวัดระยะทางในรถยนต์ Model Y ปี 2020 ที่เขาซื้อในเดือนธันวาคม 2022 แสดงเลขไมล์ที่ 36,772 ไมล์ ซึ่งแสดงผลเร็วเกินจริงอย่างน้อย 15% เมื่อเทียบกับรถคันอื่นและพฤติกรรมการใช้งานของเขา
เขายกตัวอย่างว่า ในช่วงหนึ่งมาตรวัดแสดงว่าเขาขับรถ 72 ไมล์ต่อวัน ทั้งที่จริงแล้วเขาขับไม่เกิน 20 ไมล์ ซึ่งส่งผลให้การรับประกันพื้นฐานที่ครอบคลุมระยะทาง 50,000 ไมล์สิ้นสุดเร็วกว่ากำหนด และทำให้เขาต้องรับผิดชอบค่าซ่อมระบบช่วงล่างมูลค่า 10,000 ดอลลาร์ด้วยตนเอง ซึ่งเขาเชื่อว่า Tesla ควรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนี้
ในคำฟ้องยังระบุว่า “Tesla ผูกเงื่อนไขการรับประกันและข้อจำกัดการเช่าไว้กับค่าระยะทางที่แสดงเกินจริง เพื่อเพิ่มรายได้จากบริการซ่อม ลดภาระความรับผิดเรื่องการรับประกัน และบีบบังคับให้ผู้บริโภคต้องซื้อประกันเพิ่มก่อนเวลาอันควร”
จนถึงขณะนี้ Tesla และทีมกฎหมายยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าวในวันพฤหัสบดี โดยก่อนหน้านี้บริษัทได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด
Hinton เรียกร้องให้ศาลสั่งให้ Tesla ชดเชยค่าเสียหายและเชิงลงโทษให้กับผู้ใช้รถ Tesla ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งอาจครอบคลุมรถยนต์มากกว่า 1 ล้านคันตามข้อมูลในเอกสารของศาล
ที่มา: https://finance.yahoo.com/news/tesla-speeds-odometers-avoid-warranty-213536905.html
เกษียณด้วยการมีเงินก้อน 10 ล้านบาท ดูเผิน ๆ เหมือนจะเป็นเงินก้อนใหญ่มาก แต่ความจริงแล้วทุกคนสามารถทำได้ แม้เราจะไม่ได้มีเงินต้นมากมาย
ซึ่งถ้าใครที่ไม่ได้มีแต้มต่อจากเงินต้น ก็ต้องใช้ “ระยะเวลา” และ “ผลตอบแทนจากการลงทุน” มาช่วยเป็นพลังสร้างเงินก้อนโต
วันนี้เราเลยมีไอเดียคร่าว ๆ แผนการไปถึง 10 ล้านบาทมาฝากให้ลองเลือกใช้กันดูครับ
FinSpace
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนระบุเมื่อวันพฤหัสบดีว่า การที่สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนบางรายการในอัตราสูงถึง 245% นั้น ไม่สมเหตุสมผลทางเศรษฐกิจอีกต่อไป
ทำเนียบขาวเผยแพร่เอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสอบสวนตามมาตรา 232 บนเว็บไซต์เมื่อวันที่ 15 เมษายน โดยระบุว่า จีนเผชิญกับภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ สูงสุดถึง 245% เป็นผลมาจากการตอบโต้ของจีน
เมื่อถูกสอบถามถึงประเด็นนี้ โฆษกระบุว่า จีนได้แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนแล้วว่า การขึ้นภาษีอย่างไม่สมเหตุสมผลของสหรัฐฯ ต่อจีน กลายเป็นเพียง “เกมตัวเลข” ที่ไม่ได้ส่งผลในเชิงเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญอีกต่อไป หากแต่สะท้อนให้เห็นว่าสหรัฐฯ ใช้นโยบายภาษีเป็นเครื่องมือในการกดดันและข่มขู่ประเทศอื่น
“จีนไม่ต้องการที่จะต่อสู้ในสงครามเหล่านั้น แต่เราก็ไม่กลัวเช่นกัน” โฆษกกล่าว พร้อมย้ำว่าสงครามภาษีและการค้าไม่มีผู้ชนะ
“หากสหรัฐฯ ยังคงเล่นเกมตัวเลขด้วยการตั้งกำแพงภาษีต่อไป ก็คงจะไม่มีผลอะไร แต่หากสหรัฐฯ ยังคงสร้างความเสียหายต่อสิทธิและผลประโยชน์ของจีน จีนก็จะตอบโต้ด้วยมาตรการที่เด็ดขาด และจะยืนหยัดในจุดยืนของเราจนถึงที่สุด” โฆษกกล่าว
ที่มา: https://english.news.cn/20250417/3f6e3e6886ee40b5ae70f1c27d073691/c.html
Sequence of Returns Risk คือหนึ่งในความท้าทายชีวิตหลังเกษียณ
พอร์ต Conservative แบบเดิมเพียงพอที่รับมือได้หรือไม่?
ในปี 2022 เมื่อตราสารหนี้ปรับตัวลง -20% ทำให้พอร์ตอนุรักษ์นิยมแบบดั้งเดิม ติดลบเกือบ -10% เกิดคำถามว่า พอร์ตอนุรักษ์นิยมแบบเดิม ตายไปหรือยัง !!
ผมเขียนบทความ พอร์ตการลงทุนแบบดั้งเดิมแบบอนุรักษ์นิยม ตายหรือยัง
ปี 2024 มีลูกค้าผมที่เป็นคนไทยทำงานที่ Singapore ต้องการลงทุนพอร์ตแบบ Conservative โดยผลตอบแทนคาดหวังอยู่ที่ 4% ต่อปี อยากได้ drawdown ประมาณ -10% สามารถถอนเงินได้ถ้าต้องการ ผมได้ออกแบบพอร์แบบ Conservative โดยใช้ Option Based ETF
ผล Backtest ระหว่าง 2022 – 2024
โดยสรุป
ในปี 2025 จึงเป็นการลงทุนจริง ๆ เรามาดูว่า model ผลเป็นอย่างไร
สรุปเปรียบเทียบพอร์ต: ช่วงเวลา 2022–2024 vs YTD 2025
พอร์ต Option Based ETF ยังคง “ยืนหนึ่ง” ด้านความเสี่ยงต่ำและ Sharpe Ratio เป็นบวก แม้ผลตอบแทน YTD จะไม่สูงมาก
ดังนั้นการลดผลกระทบต่อ Sequence of Returns Risk
ใครสนใจ Option Based ETF อ่านเพิ่มได้ที่ ทำไมควรจะมี Buffer ETF (Option Based Strategy) ในพอร์ตแบบ Conservative
สนใจลงทุน Global Aggressive Hybrid Portfolio สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-hyb
WealthGuru
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
ภายใต้แรงกดดันจากนโยบายภาษีนำเข้าที่เข้มงวด โดยมีอัตราสูงถึง 125% และ 84% ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหลักที่พึ่งพาการส่งออกอย่างหนัก เช่น สินค้าอุปโภคบริโภคบางส่วนจากจีนประมาณ 20% อาจโดนเก็บภาษี 125% ทำให้ราคาสินค้าอาจแพงขึ้น 10-20% ส่งผลให้กำลังซื้อและยอดขายลดลง
ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์พบกับผลกระทบที่รุนแรงกว่าด้วย 80% ของสินค้ามีโอกาสถูกเก็บภาษีในอัตรา 125% ทำให้คาดว่าราคาสินค้าจะสูงขึ้นอีก 20-30% ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานอ่อนแอลงและต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น
ในกลุ่มเครื่องแต่งกาย สินค้า 40% อาจถูกเก็บภาษี 125% ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และคาดว่าราคาขายปลีกจะปรับขึ้นอีก15-25%
แม้การเก็บภาษีนำเข้าจะดูเหมือนเป็นเครื่องมือเชิงยุทธศาสตร์เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ แต่เมื่อมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐฯ และจีนเลือกใช้มาตรการเหล่านี้ตอบโต้กัน กลับส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ และลุกลามไปยังเศรษฐกิจโลก
สหรัฐฯ ที่นำเข้าสินค้าจากจีนในกลุ่มอุปโภคบริโภคและอิเล็กทรอนิกส์ ต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้ GDP เติบโตชะลอตัวลง 1-2% ในระยะสั้น และหากจีนตอบโต้ด้วยการเก็บภาษีสินค้าสหรัฐฯ ในอัตราสูง (เช่น 84%) ผลกระทบอาจแผ่กระจายไปยังภาคเกษตรและอุตสาหกรรมอื่น ๆ
สำหรับจีน การส่งออกสินค้าสูงสุดไปสหรัฐฯ อาจลดลงเป็นเหตุให้ GDP ชะลอตัวลง 1-2% ในระยะสั้น แม้ว่าจีนจะพยายามหาตลาดใหม่ในภูมิภาคยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้ เศรษฐกิจโลกก็อาจชะลอตัวลงประมาณ 0.5-1% หากมหาอำนาจทั้งสองเดินหน้านโยบายภาษีสูงใส่กัน
Chicken Game Theory | Source: tenaciousmuse
ในบริบทการเจรจาทางการค้า แนวคิด “Chicken Game” ถูกนำมาใช้วิเคราะห์สถานการณ์นี้ โดยหากทั้งสองฝ่ายเลือก “หลีกเลี่ยง” (Swerve-Swerve) ผลลัพธ์จะสมดุล เช่น ทั้งคู่หลีกเลี่ยงการเก็บภาษีในอัตราสูงและเจรจาเพื่อลดความตึงเครียด
แต่ถ้าเกิด ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลือกเผชิญหน้า ขณะที่อีกฝ่ายหลีกเลี่ยง (Straight-Swerve) ผลลัพธ์จะออกมาเป็นแบบแพ้-ชนะ เช่น หากสหรัฐฯ ไม่เก็บภาษี แต่จีนเก็บภาษี 84% จะทำให้สหรัฐฯ เสียเปรียบในด้านการค้า ขณะที่จีนได้เปรียบจากการปกป้องตลาดในประเทศ
และในกรณีที่ ทั้งสองฝ่ายเลือกเผชิญหน้า (Straight-Straight) ตลาดอาจประสบกับ “Crash” หรือผลลัพธ์ที่เลวร้ายที่สุด เช่น สงครามการค้าทำลายเศรษฐกิจทั้งคู่ การค้าโลกจะชะลอตัว ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก และตลาดการเงินทั่วโลกอาจเผชิญความผันผวนรุนแรง
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์สำคัญล่าสุดแสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มบวกในด้านการเจรจา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ประกาศลดภาษีนำเข้าเหลือเพียง 10% และเลื่อนการขึ้นภาษีไปอีก 90 วัน (ยกเว้นแคนาดา เม็กซิโก และจีน) ขณะที่แคนาดาและเม็กซิโกยังคงเก็บภาษีนำเข้าไว้ที่ 25% แต่จีนกลับเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯขึ้นเป็น 125% หลังจากตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีจาก 34% เป็น 84%
ด้วยเหตุนี้ Finnomena Funds จึงมองว่า ตลาดการเงินอาจผ่านจุด “ข่าวร้าย” สูงสุด (Maximum Pressure) ไปแล้ว เนื่องจากนโยบายเลื่อนการขึ้นภาษี 90 วัน สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลต้องการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือในการเจรจามากกว่าใช้เพื่อเก็บภาษีจริง
นักวิเคราะห์เริ่มเห็นท่าทีทั้งภายในและต่างประเทศที่อาจเป็นสัญญาณว่า แรงกดดันทางการค้าอาจลดลงในอนาคต หลังจากที่เผชิญกับแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเงินเฟ้อที่สูง นโยบายการเงินที่เข้มงวด หรือความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้ตลาดมีโอกาสฟื้นตัวและปรับตัวเข้าสู่ภาวะมั่นคงขึ้น
แนะนำให้ “ทยอยสะสม” การลงทุนในพอร์ต DCM (Dynamic Contrarian Model) ซึ่งเป็นพอร์ตลงทุนสไตล์ Contrarian (สายสวน) ‘ย่อซื้อ ขึ้นขาย’ เน้นลงทุนในหุ้นรายประเทศ หรือ Sector ที่มีแนวโน้มเติบโตสูง แต่ราคาปรับตัวลดลง หรือขึ้นน้อย รวมถึงใช้หลักการเดียวกันในการเข้าลงทุนสินทรัพย์ Multi Assets
โดยปัจจุบัน (ณ วันที่ 18 เมษายน 2025) พอร์ต DCM (Dynamic Contrarian Model) มีสัดส่วนการลงทุนดังนี้
สนใจลงทุนในพอร์ต Dynamic Contrarian Model Portfolio
คลิก https://finnomena.onelink.me/10bl/dcm
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
กระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกา เปิดเผยข้อมูลการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 มีนักลงทุนต่างชาติถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ จำนวน 8.8 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 2.9 แสนล้านดอลลาร์ จากเดือนมกราคมที่ผ่านมา ถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้นรายเดือนที่มากที่สุดนับตั้งแต่มิถุนายน 2021
ญี่ปุ่นและจีน คือประเทศที่ถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมากที่สุด 2 อันดับแรก โดยที่ญี่ปุ่นมีการซื้อเพิ่มไป 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ทำให้ยอดถือครองรวมอยู่ที่ 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ ด้านจีนก็มียอดถือครองเพิ่มขึ้น 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์ รวมเป็น 7.8 แสนล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ ต่างชาติ 20 อันดับแรกที่ถือครองพันธบัตรสหรัฐ มีเพียงสวิตเซอร์แลนด์, นอร์เวย์, เยอรมนี และซาอุดีอาระเบีย ที่ลดการถือครองลง
ส่วนประเทศอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น, จีน, สหราชอาณาจักร, ลักเซมเบิร์ก, แคนาดา, เบลเยี่ยม, ฝรั่งเศส, ไอร์แลนด์, ไต้หวัน, ฮ่องกง, สิงคโปร์, อินเดีย, บราซิล, เกาหลีใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ล้วนเพิ่มสัดส่วนการถือครอง
นี่คือรายชื่อ 10 ประเทศที่ถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มากที่สุดในโลก ซึ่งถูกมองว่าเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง หลายประเทศถือไว้ในฐานะสินทรัพย์สำรอง นอกจากนี้ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ยังเป็นหัวใจของระบบเศรษฐกิจโลกที่รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้เป็นเครื่องมือในการระดมทุนกับประชาชน ธนาคารพาณิชย์ กองทุนรวม และธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ
ในปี 2025 พันธบัตรสหรัฐฯ หมุนเวียนในระบบการเงินโลกมากกว่า 36 ล้านล้านดอลลาร์ ถือครองโดยรัฐบาลและนักลงทุนต่างประเทศ จำนวน 8.8 ล้านล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 24%
ทั้งนี้ ช่วงปี 1945-2008 สัดส่วนการถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ โดยต่างชาติพุ่งน้อยนิดเป็นเกือบ 50% แต่หลังปี 2008 เป็นต้นมา สัดส่วนนี้ค่อย ๆ ปรับลดลงเหลือต่ำกว่า 30% จนถึงปัจจุบัน
ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า “การลดการพึ่งพาดอลลาร์” (de-dollarization) ยังเป็นเรื่องที่ต้องจับตา เพราะจะเห็นว่าต่างชาติยังมีความต้องการถือครองพันธบัตรสหรัฐอยู่สูงมาก แม้จะเป็นการรายงานตัวเลขของเดือนกุมภาพันธ์ 2025 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ Trump Tariffs ออกมาปั่นป่วนการค้าโลก
ในช่วงที่ผ่านมา เกิดกระแสข่าวลือว่าจีนกับญี่ปุ่นกำลังทิ่งพันธบัตรสหรัฐจำนวนมหาศาล เพื่อตอบโตในประเด็นสงครามการค้า อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามข้อมูลของช่วงเดือนเมษายน 2025 ซึ่งจะเผยแพร่ออกมาประมาณเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้
เพราะอีกด้านพันธบัตรสหรัฐฯ อาจกลายเป็นอาวุธตอบโต้ของคู่ค้าต่างชาติ โดยเฉพาะจีนกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ถือครองหนี้รายใหญ่ และมีโอกาสใช้สินทรัพย์นี้เป็นเครื่องมือต่อรอง แม้ที่ผ่านว่ารัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ จะยืนยันว่าไม่พบสัญญาณการเทขายพันธบัตรในระดับที่น่ากังวลจากประเทศเหล่านี้ก็ตาม
Capital Economics วิเคราะห์ว่า หากจีนใช้ตลาดพันธบัตรในการโต้ตอบสหรัฐฯ นี่เปรียบเป็น “เกมที่ไม่มีผู้ชนะ” (lose-lose situation) เพราะเศรษฐกิจของสองประเทศเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้งในระดับโครงสร้าง ดังนั้น การโจมตีกันด้วยเครื่องมือทางการเงินเช่นนี้ จะทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับผลกระทบรุนแรง
Source: reuters, ticdata.treasury.gov, Benjamin Braun, BBC, CNBC
Warren Buffett หนึ่งในนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก ไม่ได้แค่สร้างความมั่งคั่งจากตลาดหุ้น แต่ยังเป็นต้นแบบในการใช้ชีวิตอย่างมีหลักการ
คำพูดของปู่เป็นดั่ง “วรรคทอง” ที่ช่วยเตือนสติให้กับนักลงทุน และคนทั่วไป สามารถเอาไปปรับใช้ในการบริหารเงินและวางแผนชีวิตได้
FinSpace
ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/finspace.co/posts/pfbid0RxSqAYKf45ptUmF9bV1wKpD2oU6bpQhjSvX9KcDPmK9WAXaDaAyB9WpZ53CTt2Bxl