แจ้งเตือน

เริ่มทำเลย! 5 พฤติกรรม สู่การเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ

planet 46
เริ่มทำเลย! 5 พฤติกรรม สู่การเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ

เคยไหม? ลงทุนมาก็นาน แต่ทำไมไม่ประสบความสำเร็จสักที น้อยใจตัวเอง พูดแล้วก็ท้อ ไม่อยากลงทุนต่อแล้ว

แต่ช้าก่อน.. อย่าเพิ่งถอดใจกันไป เพราะวันนี้เราได้รวบรวม 5 พฤติกรรม ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในโลกการลงทุนมาฝากนักลงทุนทุกท่านกันแล้ว หากทำตามได้ครบทั้ง 5 อย่างนี้รับรองว่าความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมอย่างแน่นอน!

5 พฤติกรรม สู่การเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ

เริ่มทำเลย! 5 พฤติกรรม สู่การเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ

1. เข้าใจตลาดและสินทรัพย์ที่ลงทุน

สินทรัพย์ทางการเงินมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ตราสารหนี้ กองทุนรวม สินค้าโภคภัณฑ์ อสังหาริมทรัพย์ คริปโตเคอร์เรนซี ฯลฯ โดยสินทรัพย์แต่ละประเภทก็มีความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป ดังนั้นก่อนลงทุนในสินทรัพย์อะไรก็ตาม ควรทำความเข้าใจในสินทรัพย์นั้น ๆ พร้อมทำความเข้าใจกับตลาดที่เราจะเข้าไปลงทุนด้วย เช่น หากลงทุนในหุ้น ก็ควรรู้จักหุ้นตัวนั้นว่าบริษัททำธุรกิจอะไร งบการเงินเป็นอย่างไร มีโอกาสเติบโตมากน้อยเพียงใดหากเทียบกับบริษัทอื่นในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม Asset Class คืออะไร?: คำศัพท์การลงทุนที่นักลงทุนต้องทำความรู้จัก

2. วางแผนและตั้งเป้าหมายการลงทุน

ก่อนที่จะเริ่มลงทุน เราควรวางแผนการลงทุนเสมอ เริ่มด้วยการกำหนดเป้าหมายการลงทุน เพราะหากรู้ว่าเป้าหมายการลงทุนของเราคืออะไรแล้ว ก็จะช่วยให้วางแผนการลงทุนได้ง่ายขึ้น รวมถึงพิจารณาลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับเป้าหมายและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อให้เราบรรลุเป้าหมายการลงทุนได้ในระยะยาว

เช่น นาย A อายุ 25 ปี ตั้งเป้าหมายไว้ว่า อยากมีเงิน 20 ล้านในวัยเกษียณอายุ 60 ปี แบบนี้ก็จะทำให้ นาย A ทราบได้ว่าเหลือเวลาอีกกี่ปีในการลงทุน ต้องลงทุนในสินทรัพย์อะไร สัดส่วนเท่าไรตามความเสี่ยงที่นาย A รับได้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายแผนเกษียณ 20 ล้าน

ใครที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มวางแผนการลงทุนอย่างไร หรืออยากมีตัวช่วยทำให้การวางแผนการลงทุนเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น ลองให้ “FINNOMENA Goals Navigator™” ช่วยคุณกับนวัตกรรมที่มาพร้อมกับบริการวางแผนลงทุนจัดพอร์ตระดับโลกหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ทาง FINNOMENA และ Franklin Templeton ร่วมมือกันพัฒนาและออกแบบ เพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์และเป้าหมายการลงทุน

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://finno.me/gnavi-web

3. กระจายการลงทุน

หลาย ๆ คนน่าจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า “อย่าเก็บไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว” กันมาบ้าง สำหรับประโยคนี้ในโลกการลงทุนนั้นหมายถึงการกระจายลงทุนในหลายสินทรัพย์ หรือที่เรียกกันว่า “Asset Allocation” นั่นเอง อย่างที่ทราบกันดีว่าไม่มีสินทรัพย์ใดที่ให้ผลตอบแทนได้ดีในทุกช่วงเวลา เราจึงต้องกระจายลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยง สร้างสมดุลให้กับพอร์ตการลงทุน ลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนในช่วงตลาดขาลง พร้อมสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีได้ในทุกสภาวะตลาด

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Asset Allocation

4. ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ

ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมือเก๋าในโลกการลงทุน ก็ควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการลงทุนอยู่เสมอ ติดตามสภาวะตลาดและเศรษฐกิจโลกเป็นประจำ เพราะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นที่นักลงทุนอย่างเรา ๆ ต้องรู้เท่าทันตลาด ยิ่งศึกษามากเพียงใด ก็ยิ่งมีโอกาสชนะตลาดได้มากขึ้น และจะช่วยให้ประสบความสำเร็จในโลกการลงทุนได้ง่ายขึ้น

5. รู้จักควบคุมอารมณ์

จิตวิทยากับการลงทุนเป็นของคู่กัน สภาวะตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอาจทำให้บางครั้งเรานำอารมณ์มาใช้ในการลงทุน ซึ่งการลงทุนที่ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล อาจทำให้ตัดสินใจพลาดได้ เหมือนคำพูดของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่เคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าคุณใช้อารมณ์กับการลงทุน คุณจะไม่มีวันทำมันได้ดีเลย” ดังนั้นนักลงทุนที่อยากประสบความสำเร็จต้องรู้จักที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเอง และใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ในการลงทุน

— planet 46.

อ้างอิง

https://www.johnhancock.com/ideas-insights/how-to-be-a-good-investor.html


คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำควรเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

News Update: Cathie Wood ออกมาอธิบายแล้วว่าทำไม ARKK ถึงขายหุ้น Nvidia ก่อนที่ราคาจะพุ่งขึ้น 160%

THE OPPORTUNITY
News Update: Cathie Wood ออกมาอธิบายแล้วว่าทำไม ARKK ถึงขายหุ้น Nvidia ก่อนที่ราคาจะพุ่งขึ้น 160%

Cathie Wood ออกมาบอกว่าที่ Ark Invest ตัดสินใจขายหุ้น Nvidia ก่อนที่ราคาจะพุ่งขึ้น 160% เป็นเพราะวัฏจักรที่เฟื่องฟูของอุตสาหกรรมนั้นมี ‘ความเสี่ยง’

ก่อนหน้านี้ กองทุนเรือธงของ Ark Invest อย่าง ARK Innovation ETF หรือ ARKK ได้ ‘ลดสัดส่วน’ หุ้น Nvidia ออกมาในเดือน ม.ค. ทำให้ ‘พลาด’ การทำกำไรในบริษัทที่มีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นมามากกว่า 5 แสนล้านดอลลาร์

ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (25 พ.ค.) เพียงวันเดียว ราคาหุ้น Nvidia เพิ่มขึ้นมา 24% หลังจากออกมาคาดการณ์ว่ายอดขายในไตรมาสนี้จะอยู่ที่ 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ถึง 53%

Cathie Wood ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg TV ว่า ยิ่งราคาหุ้น Nvidia วิ่งไปเท่าไร ยิ่งทำให้ Ark ต้องลดสัดส่วนการลงทุนลงชั่วคราว และเมื่อได้ยินคำว่า ‘ขาดแคลน’ ซ้ำๆ เกี่ยวกับการ์ดจอ (GPU) หรืออะไรก็ตาม มันทำให้ Cathie Wood เริ่มคิดว่าถึงเวลาวัฏจักรของหุ้นกลุ่มนี้แล้ว

Cathie Wood อธิบายต่อว่า Nvidia ยังเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในการผลิตชิปสำหรับโครงสร้างพื้นฐานคอมพิวเตอร์ที่อยู่เบื้องหลัง AI อย่างเช่น Tesla, Meta และ Alphabet ที่กำลังพัฒนาชิปของตนเอง

ตลอดปี 2023 ที่ผ่านมา กองทุน ARKK ของ Cathie Wood เพิ่มขึ้น 25% แซงหน้า S&P 500 ที่ +9.4% แต่ยังน้อยกว่าดัชนี Nasdaq 100 ที่พุ่งขึ้นมากกว่า 30% 

นอกจากนี้ Cathie Wood ยังบอกว่า Ark กำลังเปลี่ยนไปลงทุนหุ้นกลุ่มอื่นที่คนส่วนใหญ่ยังไม่เคยค้นพบ เหมือนที่ก่อนหน้านี้คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่า Nvidia คือหุ้นที่ได้ประโยชน์จาก AI แต่เพิ่งจะมาสนใจกันเมื่อไม่นานมานี้

Cathie Wood กล่าวว่า กลยุทธ์ของ Meta ในการเน้นไปที่ AI นั้น ‘น่าสนใจ’ เพราะโมเดลภาษา LLaMA AI ของ Meta สามารถนำเสนอโมเดลที่ดีกว่า โดยใช้พลังการประมวลผลที่น้อยลงและข้อมูลที่มากขึ้น

ที่มา: https://www.bloomberg.com/news/articles/2023-05-26/cathie-wood-defends-bailing-on-nvidia-citing-risk-of-chip-cycle-li4vonws?sref=e4t2werz 

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน

กฎมีไว้แหก! 5 ความสัมพันธ์ของตลาดการเงินและเศรษฐกิจที่อาจแตกในปี 2023

DR.JITIPOL PUKSAMATANAN
กฎมีไว้แหก! 5 ความสัมพันธ์ของตลาดการเงินและเศรษฐกิจที่อาจแตกในปี 2023

ช่วงที่ความไม่แน่นอนมีมากมายในตลาดแต่ราคาสินทรัพย์ทางการเงินส่วนใหญ่กลับไม่เปลี่ยนแปลง ความผันผวนปรับตัวลดลง มักเป็นเวลาเหมาะสมที่นักลงทุนจะตั้งคำถามว่านี่คือ “คลื่นลมสงบก่อนเกิดพายุใหญ่” หรือ “แค่คลื่นรบกวนแต่ไม่ได้เป็นสาระสำคัญ”

สำหรับตลาดการเงิน ความแน่นอนมีอยู่เรื่องเดียวคือไม่มีใครที่จะหยั่งรู้อนาคต

แต่ถ้าอดีตสามารถบอกอะไรเราได้บ้าง การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้มักเกิดจาก “กฎหรือความสัมพันธ์” ของเศรษฐกิจและตลาดการเงินกำลังผิดไปจากประวัติศาสตร์

กฎข้อแรก “บอนด์ยีลด์กลับทิศ” จะตามมาด้วยเศรษฐกิจถดถอยในไม่เกิน 18 เดือน

กลับทิศในที่นี้ผมหมายถึงการที่ยีลด์ระยะสั้นสูงกว่ายีลด์ระยะยาวหรือ Inverted  Yield Curve (IYC)

ตั้งแต่ปี 1950 กฎข้อนี้ทำนายเศรษฐกิจถดถอยถูกทุกครั้ง โดยเฉลี่ยเศรษฐกิจสหรัฐจะถดถอยภายใน 17-19 เดือนจากการกลับทิศเดือนแรก

รอบนี้ยีลด์ระยะยาว (10ปี) ต่ำกว่าระยะสั้น (2ปี) ตั้งแต่มีนาคม 2022 ดังนั้นเดือนสิงหาคมถึงกันยายนจึงเป็นช่วงที่ต้องจับตามากที่สุด

อย่างไรก็ดี การทำนายเศรษฐกิจถดถอยนั้นมักถูกต้องเสมอถ้าตลาดรอได้นานพอ เช่นในปี 1965 เศรษฐกิจถดถอยเกิดหลังยีลด์กลับทิศนานถึง 48 เดือน!

สำหรับครั้งนี้ผมมองว่า IYC เกิดด้วยเหตุผลอื่นไม่ใช่ภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เป็นไปได้สูงที่กฎข้อนี้อาจไม่จริงเป็นอย่างแรก

กฎข้อสอง ดอกเบี้ยขาขึ้นจะจบด้วยวิกฤติทางการเงิน

ย้อนกลับไปในอดีตที่ใกล้ที่สุด 40 ปี กฎข้อนี้เป็นจริงเสมอ เพราะมีทั้ง Great Financial Crisis ปี 2008 Dot Com ปี 2000 Asian Crisis ปี 1997 ไปจนถึง S&L Crisis ปี 1986 ทั้งหมดล้วนมีดอกเบี้ยขาขึ้นที่สูงเกินกว่า 5% เป็นองค์ประกอบของวิกฤติ

ครั้งนี้เริ่มเห็นวิกฤติภาคการธนาคารจากการไหลออกของเงินฝาก แต่ปัญหานี้อาจไม่ลามไปเป็นวิกฤติเพราะความแตกต่างเรื่องการใช้ตราสารทางการเงินที่น้อย โครงสร้างเศรษฐกิจอยู่บนธุรกิจที่ไม่ต้องพึ่งการกู้ยืม ขณะที่การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real residential investment) ต่อจีดีพีก็เหลือเพียง 2-3% จากในอดีตก่อน GFC ที่ราว 5-8% นี่เป็นกฏที่อาจแตกเป็นข้อสอง

กฎข้อสาม ธนาคารกลางสหรัฐจะไม่ลดดอกเบี้ยในช่วงที่การว่างงานต่ำและเงินเฟ้อสูง

ย้อนกลับไปในอดีต ช่วงการลดดอกเบี้ยที่ใกล้เคียงที่สุดคือปี 2019 และ 2001 อัตราการว่างงานต่ำราว 4% แต่ต้องเงินเฟ้อต่ำติดเป้าหมายที่ 2% ด้วย หรือการลดดอกเบี้ยปี 1970 และ 1987-89 เงินเฟ้อสูง 6-7% เท่าปัจจุบัน แต่การว่างงานก็ต้องสูงเกิน 5%

ครั้งนี้ความแตกต่างอยู่ที่เงินเฟ้อพื้นฐาน ถ้าไม่นับราคาที่อยู่อาศัยและรถมือสอง ล่าสุดปรับตัวลงและคาดว่าจะกลับมาที่เป้าหมายได้แล้ว ขณะที่รายงานใน Beige Book ก็ชี้เช่นกันว่าการว่างงานที่ต่ำไม่ได้เกิดจากเศรษฐกิจดี แต่มาจากความกังวลกับการหาแรงงานใหม่จนไม่กล้าปลดคนงานต่างหาก

กฎข้อสี่ เพดานหนี้มีไว้ต่อรองแต่จะผ่านได้ด้วยการเพิ่มหนี้ทุกครั้ง

แม้ครั้งที่แย่ที่สุดในปี 2011 จะนำไปสู่การลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ แต่ในทุกครั้งนักการเมืองก็ตกลงกันได้เสมอ

ผมเชื่อว่าครั้งนี้แม้อาจหาทางออกได้ แต่จุดเริ่มต้นมาจากระดับหนี้ต่อจีดีพีที่สูงสุดในประวัติศาสตร์และแทบไม่มีทีท่าที่จะหาทางหยุดการขาดดุลการคลังได้อาจทำให้ปัญหาไม่จบ

เพดานหนี้อาจพัฒนาไปเป็นเกมส์การเมืองเพื่อกดดันพรรค Democrats สำหรับการเลือกตั้งใหญ่ในปี 2024 ปัญหานี้จึงอาจจบไม่สนิท และเลื่อนข้อตกลงจนเศรษฐกิจสหรัฐต้องเข้าสู่ภาวะถดถอยระยะสั้น เป้าหมายไปจบที่กฎการเมืองอีกข้อว่า ประธานาธิบดีที่บริหารเศรษฐกิจจนถดถอยจะแพ้เลือกตั้งในสมัยหน้า

กฎข้อห้า ตลาดหุ้นจะปรับฐานก่อนเศรษฐกิจถดถอยและจะฟื้นตัวเมื่อเศรษฐกิจแตะจุดต่ำสุด

ในอดีต S&P500 มักทำจุดต่ำสุดก่อนเศรษฐกิจถดถอย การปรับตัวลงมักเกิดขึ้นใกล้กับการเกิด Recession ราว 30-50 วัน โดยเฉลี่ยนจะปรับตัวลงราว 15-20%

แต่ครั้งนี้ ผมมองว่าเป็นไปได้สองกรณี แบบแรกคือไม่สนใจเศรษฐกิจเลยเพราะ หุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ทำให้ตลาดหุ้นไม่ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจสหรัฐเหมือนทุกครั้ง ความต่างนี้อาจทำให้การปรับตัวลงดูเบา และไม่รุนแรงถึงกับเป็นจุดต่ำสุดใหม่

หรือแบบที่สองคือผลพวงจากเศรษฐกิจถดถอย ถึงจะทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมาเช่นวิกฤติภาคการธนาคาร นั่นหมายความว่า Recession อาจเกิดขึ้นก่อน Market Bottom ไม่ใช่ที่ตลาดจะปรับฐานก่อนเหมือนทุกครั้ง

ผมมองว่าความ “คิดต่าง” เหล่านี้เป็นแรงต้านที่ทำให้ตลาดไม่ปรับตัวลงทันที หรือความเสี่ยงอาจถูกเลื่อนออกไปไกลว่าที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เพราะตลาดการเงินก็ไม่ต่างจากสังคมที่ “กฎมีไว้แหก” และ “ความสัมพันธ์มีไว้ทำลาย”

ความเชื่อของตลาดและการตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบายเปลี่ยนแปลงได้เสมอ และเราจะได้เห็นพร้อมกันจากนี้เป็นต้นไปครับ

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์

ตลาดหุ้นกับรัฐบาล

Dr.Niwes Hemvachiravarakorn
ตลาดหุ้นกับรัฐบาล

การเมืองล่าสุดที่พรรค “ฝ่ายซ้าย” กำลังพยายามจัดตั้งรัฐบาล นี่ก็คือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงที่ประเทศไทยยังไม่เคยเจอ ในมุมมองคิดว่าตลาดหุ้นนั้น ชอบความเป็น “ทุนนิยมเสรี” มากกว่าการเป็น “สังคมนิยม”

ในช่วงที่กำลังมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่และดัชนีตลาดหุ้นก็ตกลงมาพร้อม ๆ กันจนดูเหมือนว่าการจัดตั้งและการมีรัฐบาลที่มีนโยบายหรือมีแนวความคิดทางการปกครองและการบริหารงาน โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ อาจจะมีผลต่อตลาดหุ้น นั่นก็คือ ดัชนีตลาดหุ้นจะขึ้นหรือลง สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ “รัฐบาล” ว่าที่จริง ในตลาดหุ้นพัฒนาแล้วอย่างในสหรัฐที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลทุก 4 ปี ก็มีการศึกษาว่าระหว่างรัฐบาลที่มาจากพรรคเดโมแครทซึ่งเป็นพรรคที่อยู่ทาง “ซ้าย” ที่เป็นเสรีนิยม กับพรรครีพับลิกัน ที่อยู่ทาง “ขวา” ที่อนุรักษ์นิยมกว่านั้น ตลาดหรือดัชนีหุ้นฝั่งไหนจะดีกว่า ซึ่งผลก็ดูเหมือนว่าจะไม่แตกต่างกันนัก หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ รัฐบาลจากทั้ง 2 พรรคไม่ได้มีผลต่อตลาดหุ้นนัก เลือกตั้งประธานาธิบดีไม่ได้มีผลต่อตลาดหุ้นแม้ว่าผู้ชนะจะเปลี่ยนไปจากเดิม แต่เรามาดูตลาดหุ้นไทยบ้าง โดยผมจะเลือกเฉพาะนายกรัฐมนตรีที่อยู่เกิน 2 ปีขึ้นไป

รัฐบาลแรกก็คือ รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้บัญชาการกองทัพบกภายหลังจากการรัฐประหารและความวุ่นวายทางการเมือง (กรณี 6 ตุลาคม 2519) ในปี 2523 หรือหลังจากตลาดหลักทรัพย์ก่อตั้งมา 5 ปีในปี 2518 และการเกิดวิกฤติตลาดหุ้นกรณีราชาเงินทุนในปี 2522

วันแรกที่พลเอกเปรมเป็นนายกนั้น ดัชนีตลาดหุ้นอยู่ที่ประมาณ 138 จุด ซึ่งก็เป็นระดับที่ต่ำจากที่เคยสูงถึง 258 จุด หรือตกลงมาถึง 47% หลังวิกฤติในปี 2522 ภายใต้การบริหารงานของพลเอกเปรมนั้น ดูเหมือนว่าจะเป็นแนวอนุรักษ์นิยมและส่วนใหญ่ก็อิงกับระบบราชการ เฉพาะอย่างยิ่งก็คือสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ โดยที่พรรคการเมืองที่หนุนหลังนั้นก็กระจัดกระจายและไม่ได้มียุทธศาสตร์อะไรในการชี้นำประเทศ

ซึ่งนั่นก็อาจจะเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้ตลาดหุ้น “นิ่ง” ไปนานถึง 6 ปีจนถึงปี 2529 ที่ดัชนีก็ยังอยู่ที่ประมาณ 130 จุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลในรูปแบบที่ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยและอนุรักษ์นิยมนั้น ไม่ดีต่อตลาดหุ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2 ปีสุดท้ายของระยะเวลา 8 ปี ครึ่งของพลเอกเปรม ดัชนีตลาดหุ้นก็วิ่งขึ้นไปแรงถึง 437 จุด แต่นั่นก็น่าจะมาจากภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นทั้งต่างประเทศและของไทยที่กำลังเริ่มบูมมากกว่าเป็นเรื่องของรัฐบาล

รัฐบาลที่ 2 ก็คือ รัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งเข้าเป็นนายกรัฐมนตรีในนามของพรรคการเมืองคือพรรคชาติไทย หลังจากที่พลเอกเปรมปฏิเสธที่จะเป็นต่อหลังการเลือกตั้งใหญ่ในปี 2531 นโยบาย “ทำสนามรบให้เป็นสนามการค้า” และการ “สนับสนุนธุรกิจเอกชน” ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นในช่วง 2 ปี ครึ่ง ปรับตัวขึ้นช่วงหนึ่งจาก 320 จุด เป็น 1,100 จุดหรือเพิ่มขึ้นถึง 250% ตามภาวะการณ์เติบโตอย่างร้อนแรงของเศรษฐกิจและการเปิดเสรีทางการเงินของประเทศ และนี่ก็คือสิ่งที่ “ตลาดหุ้นชอบ” นั่นก็คือ “ทุนนิยมเสรี”

รัฐบาลที่ 3 ก็คือ รัฐบาล ชวน หลีกภัย 1 ระหว่างปี 2535 ถึง 2538 เป็นเวลาเกือบ 3 ปี นี่คือช่วงเวลาหลังรัฐประหารรัฐบาลชาติชายและต่อมานำไปสู่เหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ในปี 2535 ซึ่งประเทศไทยดูเหมือนจะ เข้าสู่ “ยุคใหม่” ของการปกครองที่พลเรือนที่เป็นนักการเมืองเป็นผู้นำแทนทหารและข้าราชการระดับสูง ดัชนีตลาดหุ้นไทยเพิ่มจากประมาณ 800 จุด ขึ้นไปถึง 1,754 จุด ซึ่งเป็นจุดสูงสุดที่ไม่ถูกทำลายต่อมาอีกกว่า 20 ปี เป็นการเพิ่มขึ้นของดัชนีหุ้นกว่า 100% ในเวลาเพียงปี 1 ปี 4 เดือน

รัฐบาลนายชวน หลีกภัย 2 เริ่มในช่วงปลายปี 2540 หลังเกิดวิกฤติ “ต้มยำกุ้ง” ในช่วงกลางปี และอยู่ถึงต้นปี 2544 เป็นเวลา 3 ปี 2 เดือน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ตกลงมา 55% ในปี 2540 เหลือเพียง 370 จุด ตอนสิ้นปี พยายามประคองตัวและปรับขึ้นบ้างแต่เมื่อประสบกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เลวร้ายและการปรับโครงสร้างหนี้ของธุรกิจและประเทศ แบบ “อนุรักษ์นิยม” และตามการชี้นำของ IMF ที่เข้ามาช่วยเหลือรัฐบาลไทย อย่างไรก็ตาม ในตอนท้ายของรัฐบาล ดัชนีตลาดหุ้นก็ปรับตัวลงเหลือเพียงประมาณ 300 จุด กลายเป็น 3 ปีที่หายไป ส่วนหนึ่งจากวิกฤติไฮเทคของอเมริกาที่กำลังมาด้วย ซึ่งทำให้ดัชนีหุ้นไทยตกลงมาถึง 44% ในปี 2544

รัฐบาลที่ 4 คือ รัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร ที่ชนะเลือกตั้งทั่วไปในปี 2544 ด้วย “ความคิดใหม่” และเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในยุคใหม่ของการสื่อสารฉายา “อัศวินคลื่นลูกที่สาม” ภายในช่วง 3 ปีแรกจาก 5 ปี 7 เดือนในตำแหน่ง ดัชนีหุ้นวิ่งขึ้นไปจาก 300 จุดเป็น 772 จุดหรือเพิ่มขึ้น 157% ประเทศไทยจากสถานะเกือบล้มละลายได้รับการปรับอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือและสามารถใช้หนี้ IMF ได้หมดก่อนครบกำหนดเวลา

รัฐบาลที่ 5 คือ รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี 2551 – 2554 เป็นเวลา 2 ปี 8 เดือนหลังจากการรัฐประหารและความวุ่นวายทางการเมืองที่มีการประท้วงและต่อสู้ระหว่างคน 2 กลุ่มหรือคนเสื้อเหลือง-แดง อย่างไรก็ตาม ดัชนีตอนที่รัฐบาลเข้ามาบริหารงานนั้นอยู่ในช่วงที่ตกต่ำที่สุดหลังวิกฤติซับไพร์มในปี 2008 ที่ 450 จุด ซึ่งเป็นการตกลงมาถึงประมาณ 48% ในเวลา 1 ปี และกำลังเริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและกลายเป็น “ยุคทอง” ของการลงทุน ดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึง 1,070 จุด หรือ 138% ในเวลา 2 ปี 8 เดือน ทั้ง ๆ ที่การเมืองกำลังวุ่นวาย แต่ก็ไม่มีสัญญาณว่าทหารจะเข้ามาเกี่ยวข้องอีก

รัฐบาลที่ 6 คือรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งดำรงตำแหน่งจากปี 2554 -2557 เป็นเวลา 2 ปี 9 เดือน จากการเลือกตั้งทั่วไปที่พรรคเพื่อไทยได้ชัยชนะเด็ดขาด ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างมั่นคงจากประมาณ 1,070 จุด เป็น 1,416 จุด หรือเพิ่มขึ้น 32% คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละประมาณ 10.7% ต่อปี ทั้ง ๆ ที่ปัญหาการเมืองก็ยังคงรุนแรงและในที่สุดก็นำไปสู่การรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง

รัฐบาลสุดท้ายก็คือ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หลังจากการรัฐประหารในปี 2557 จนถึงปัจจุบัน คิดเป็นระยะเวลายาวนานถึง 8 ปี 9 เดือน เป็นรองเฉพาะจอมพล ป. พิบูลสงครามและจอมพลถนอม กิตติขจร เท่านั้น ช่วงตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ยึดอำนาจจนถึงวันนี้ที่ 27 พฤษภาคม 2566 ดัชนีตลาดลดลงจาก 1,562 จุดเป็น 1,531 จุด หรือลดลงประมาณ 2% หรือพูดง่าย ๆ นี่เป็นช่วง ทศวรรษที่หายไป ตลาดหุ้นแทบจะไม่ให้ผลตอบแทนเลยเป็นเวลาถึง 10 ปี และนี่ก็มีลักษณะคล้าย ๆ กับช่วงรัฐบาลพลเอกเปรม ที่หุ้นไม่ไปไหนยาวนาน และในระหว่างนั้นก็ไม่ขึ้นแรงหรือตกแรง

ข้อสรุปของผมจากข้อมูลที่เห็นก็คือ ข้อแรก ตลาดหุ้นจะไม่ชอบการรัฐประหารและการใช้ระบบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยมาก ยิ่งรัฐบาลอยู่นานตลาดก็ยิ่งแย่หรือไม่โตเลย ข้อสอง แม้ว่าการเมืองจะมีความวุ่นวายและมีการประท้วงรุนแรง แต่ถ้าภาพใหญ่ยังปกครองโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ตลาดหุ้นก็มักจะยังพอไปได้ ถ้าหุ้นตกลงมาต่ำมากจนเป็นวิกฤติ โอกาสที่ตลาดจะฟื้นตัวกลับตามภาวะตลาดโลกอย่างในกรณีของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ยังเป็นไปได้ หรือแม้แต่ในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตลาดหุ้นก็ยังพอไปได้แม้ว่าการเมืองจะวุ่นวายมาก

ตลาดหุ้นมักจะดีเมื่อมีรัฐบาลที่เกื้อหนุนธุรกิจ เน้นทุนนิยมเสรี เน้นการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ เช่น การมีสัญญาการค้าและการเมืองกับนานาชาติ เช่นสมัยชาติชาย ชุณหะวัน หรือมีการลดภาษีต่าง ๆ และการส่งเสริมอุตสาหกรรมหรือธุรกิจมาก ๆ อย่างกรณีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่มีนโยบายรถคันแรกหลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554

การนำประเทศเข้าสู่ “ยุคใหม่” หรือผู้นำที่จะนำพาประเทศสู่ความรุ่งเรืองใหม่หลัง “วิกฤติ” ต่าง ๆ อย่างในกรณีทักษิณ ชินวัตรก็มักจะทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นแรง เช่นเดียวกับกรณีของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน และอาจจะรวมถึง ชวน หลีกภัย สมัยแรก ที่เปลี่ยนผู้นำจากทหารและข้าราชการเป็นรัฐบาลพลเรือน

สุดท้ายก็คือ เรื่องของการเมืองล่าสุดที่พรรค “ฝ่ายซ้าย” กำลังพยายามจัดตั้งรัฐบาล นี่ก็คือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงที่ประเทศไทยยังไม่เคยเจอ ผมเองคิดว่าตลาดหุ้นนั้น ชอบความเป็นทุนนิยมเสรีมากกว่าการเป็น “สังคมนิยม” ที่รัฐจะเข้ามามีบทบาทในเศรษฐกิจมากขึ้นผ่านระบบการเก็บภาษีมากขึ้น เรายังไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับตลาดหุ้นจนกว่ารัฐบาลจะเข้ามาบริหารและผลกระทบส่งถึงตลาดหุ้นเมื่อเวลาผ่านไป

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนนี้ได้สะท้อนเข้าในตลาดหุ้นบ้างแล้ว เพราะหลังการเลือกตั้งไม่กี่วันหุ้นก็ตกลงมาอย่างชัดเจนโดยที่ไม่มีเหตุผลอื่น

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

ดาวน์โหลดฟรี! Weekly Market Insight ฉบับล่าสุด

FINNOMENA Investment Team
ดาวน์โหลดฟรี! Weekly Market Insight ฉบับล่าสุด (จำนวนจำกัด)

     Weekly Market Insight ประจำสัปดาห์  29/05/66 – 02/06/66

พิเศษ! สำหรับสมาชิก FINNOMENA

THIS ISSUE
สรุปข่าวเศรษฐกิจรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

EYE ON THIS WEEK
ประเด็นน่าจับตามองในสัปดาห์นี้

MARKET
ภาพรวมตลาดและสินทรัพย์ที่น่าสนใจ

FINNOMENA PORT PERFORMANCE
ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน

ดาวน์โหลดฟรี “มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์”

(ถ้าเปิดจากโทรศัพท์แล้วดูแบบ preview ไม่ได้ ให้กดดาวน์โหลดมุมขวาบน)

โพยกองทุนจัดชุด SSF และ RMF ประจำปี 2566: จัดเต็มสำหรับนักลงทุนทุกประเภท

FINNOMENA
โพยกองทุนจัดชุด SSF และ RMF ประจำปี 2565: จัดเต็มสำหรับนักลงทุนทุกประเภท

พลาดไม่ได้! โพยจัดชุด SSF & RMF สำหรับนักลงทุนทุกประเภท (สายประหยัดภาษีห้ามพลาด!!) ใครอยากกระจายความเสี่ยง จัดชุด SSF RMF ให้ตัวเองตามความเสี่ยงที่รับได้ มาดูกันเลยว่า FINNOMENA แนะนำกองไหน สำหรับชุดไหนบ้าง ที่สำคัญ! สามารถซื้อ SSF & RMF แต่ละชุดได้ผ่าน FINNOMENA แล้วครับ

นักรบ DIY ห้ามพลาด!! ดูโพยกองทุนประหยัดภาษีแนะนำรายกองสำหรับสายพึ่งพาตนเอง ได้ที่ลิงก์

https://www.finnomena.com/z-admin/ssf-rmf-for-diy/

รับบริการผู้แนะนำการลงทุนกองภาษีส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนกองภาษี 200,000 บาทขึ้นไป
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/taxplanner-services

ขั้นตอนการคัดเลือกกองทุนแบบพิถีพิถันที่สุดให้กับนักลงทุน 

กองทุนที่ทาง FINNOMENA เลือกสรรให้กับทุกท่านจะผ่านการคัดกรองมาอย่างเข้มข้น ด้วยทีมงานการลงทุนที่มากความสามารถและประสบการณ์ โดยมีรายละเอียดขั้นตอนดังนี้

1. กรองข้อมูลเชิงสถิติในเบื้องต้น ในแต่ละหมวดกองทุน

  • กองทุนที่มี Calendar Year Performance รายปีติด Top 30 Percentile สม่ำเสมอในหลายปีปฏิทิน เหนือค่าเฉลี่ยกลุ่ม จะนำมาเป็น Candidate กองทุน หรือ
  • กรองด้วย 3D Score Model โดยคำนวณคะแนน 3 ด้าน ด้วยการให้น้ำหนักที่เท่ากัน ได้แก่
    • Max Drawdown (ย้อนหลัง 1,3, และ 5 ปี)
    • Sharpe Ratio (ย้อนหลัง 1,3, และ 5 ปี)
    • Total Return (ย้อนหลัง 1,3, และ 5 ปี)
    • โดยกองทุน 20 กองทุนที่มีคะแนนสูงสุด และเป็นกองทุนที่มี 3D Score Model สูงกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่ม จะถูกเลือกมาเป็น Candidate ต่อไป หรือ
  • กองทุนที่เคยอยู่ในแผนการลงทุนประหยัดภาษีเดิมจะถูกนำมาพิจารณาเป็น Candidate ในการลงทุน
  • หมวดที่มี Candidate น้อย เช่น เวียดนาม จะติดเข้าการพิจารณาทุกกองทุน

2. พิจารณาความสม่ำเสมอของกองทุนรวมที่สะท้อนออกมาผ่าน Performance

  • บนสมมติฐานที่ว่าการลงทุน SSF/RMF คือการลงทุนระยะยาว ความสม่ำเสมอเป็นเรื่องสำคัญ

3. ข้อมูลเชิง Qualitative 

  • พิจารณาความต่อเนื่องของ Fund Manager ในการบริหารกองทุน เพื่อความสม่ำเสมอของผลตอบแทนในระยะยาว
  • พิจารณาการปรับพอร์ตการลงทุนในอดีตที่ผ่านมา และสถานะปัจจุบัน ว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์มากน้อยแค่ไหน

4. พิจารณาค่าธรรมเนียมหากมีการลงทุนที่เหมือนกัน

5. กรณีที่ 4 ข้อข้างต้นไม่ได้โดดเด่นอย่างมีนัย

  • จะยึดจากกองทุนเดิมเป็นหลัก เพื่อป้องกันการลงทุนที่กระจายในหลายกองทุนมากเกินไปในระยะยาว ซึ่งจะยากต่อการดูแล

สารบัญ

  1.   โพย SSF Series 7 (ความเสี่ยงสูง)
  2.   โพย SSF Series 5 (ความเสี่ยงปานกลาง)
  3.   โพย SSF Series 3 (ความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง)
  4.   โพย SSF Series 1 (ความเสี่ยงต่ำ)
  5.   โพย RMF Series 7 (ความเสี่ยงสูง)
  6.   โพย RMF Series 5 (ความเสี่ยงปานกลาง)
  7.   โพย RMF Series 3 (ความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง)
  8.   โพย RMF Series 1 (ความเสี่ยงต่ำ)

โพย SSF Series 7 (ความเสี่ยงสูง)

โพยกองทุนจัดชุด SSF และ RMF ประจำปี 2565: จัดเต็มสำหรับนักลงทุนทุกประเภท

KFGGSSF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนมีกลยุทธ์การบริหารแบบไม่อิงกับ Benchmark เลือกหุ้นแบบ Bottom Up เน้นหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูงในระยะยาว เน้นการซื้อและถือเป็นหลัก ในหุ้นที่ยังมีโอกาสเติบโตสูง 

จุดเด่น

  • บริหารโดย Baillie Gifford หนึ่งในผู้บริหารกองทุนหุ้นเติบโตอันดับต้น ๆ ของโลก ที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน
  • คัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ตการลงทุนอย่างเข้มข้น เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีโอกาสเติบโต 2 เท่าใน 5 ปี
  • กลยุทธ์ Buy & Hold เพิ่มความมั่นใจในการไม่พลาดโอกาส และลดค่าใช่จ่ายในการทำธุรกรรมในระยะยาว

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: 500 บาท

ครั้งถัดไป: 500 บาท

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ไม่เรียกเก็บ

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ไม่เรียกเก็บ

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 1.1613%

สัดส่วนหุ้น 5 ดันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2566)

NVIDIA 6.30%

Amazon.com 5.10%

Kering 4.90%

Tesla Inc 4.90%

Moderna 4.70%

นโยบายการลงทุน

เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ Baillie Gifford Worldwide Long Term Global Growth Fund, Class B USD Acc โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ที่มา: KFGGSSF Fund Fact Sheet วันที่ 28 เมษายน 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.krungsriasset.com/DataWeb/AYFWeb/th/pdf/FFS_KFGGSSF_TH.pdf?rnd=20230524112930

————————————

K-VIETNAM-SSF

รายละเอียดกองทุน

ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเวียดนาม ที่ดำเนินธุรกิจหรือได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือมีทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม

จุดเด่น

  • กองทุนหุ้นเวียดนามที่เน้นลงทุนตรงในตลาดหุ้นเวียดนาม โดยทีมผู้จัดการกองทุนคนไทยที่มีประสบการณ์ ลดการเสียค่าธรรมเนียมหลายต่อจากการลงทุนผ่าน Feeder Fund 
  • สามารถสร้างผลตอบแทนได้เป็นลำดับต้น ๆ ของกองทุนเวียดนามในไทย ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
  • กองทุนมี Track Record ที่ยาวนาน โดยที่ยังสามารถทำผลตอบแทนในระยะยาวได้ดี และมีค่าธรรมเนียมไม่แพง

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: 500 บาท

ครั้งถัดไป: 500 บาท

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ไม่มี

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ยกเว้น

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 1.7334%

สัดส่วนหุ้น 5 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 28 เม.ย. 2566)

หุ้น Mobile World Investment Corp 7.44%

หุ้น FPT Corp 7.34%

หุ้น Vinhomes Joint Stock Company 6.90%

หุ้น JSC Bank for Foreign Trade of Vietnam 6.37%

หุ้น Asia Commercial Bank 5.44%

นโยบายการลงทุน

เน้นลงทุนในกองทุนเปิดเค เวียดนาม หุ้นทุน (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ที่มา: K-VIETNAM-SSF Fund Fact Sheet วันที่ 28 เมษายน 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.kasikornasset.com/FundDocument/Fund_Fact_Sheet/K-VIETNAM-SSF.pdf

———————————— 

B-INNOTECHSSF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลก บริหารแบบ Active เน้นการปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อรับโอกาสการเติบโตที่ดีภายใต้ความผันผวนที่ต่ำกว่าในระยะยาว

จุดเด่น

  • กองทุนหุ้นเทคโนโลยีแนวหน้า ที่มีผลการดำเนินงานติดอันดับต้น ๆ สม่ำเสมอ
  • บริหารแบบ Active ด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลาย อาทิ เข้าลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีตามวัตถุประสงค์ พร้อมทั้งจัดสรรเข้าลงทุนในหุ้นวัฏจักร หรือ หุ้นสถานการณ์พิเศษ (Special Situation) ได้บางส่วน เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนหรือกระจายความเสี่ยง
  • ผู้จัดการกองทุนหลักบริหารมาอย่างยาวนาน ส่งผลถึงความสม่ำเสมอของผลตอบแทนกองทุนในอดีต และความต่อเนื่องในอนาคต

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: 500 บาท

ครั้งถัดไป: 500 บาท

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ไม่เรียกเก็บ

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ไม่เรียกเก็บ

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 0.6094%

สัดส่วนหุ้น 5 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เม.ย. 2566)

Microsoft 5.50%

Apple 5.30%

Ericsson 3.40%

Alphabet 3.20%

Amazon.com 3.10%

นโยบายการลงทุน

เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ Fidelity Funds – Global Technology Fund โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ที่มา: B-INNOTECHSSF Fund Fact Sheet วันที่ 31 มีนาคม 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.bangkokbank.com/-/media/files/personal/save-and-invest/mutual-funds/fund-information/b-innotechssf/b-innotechssf_factsheet_th.pdf?la=th-th&hash=D774A625F28D7045F3FA83EF097AB924BE94D398

โพย SSF Series 5 (ความเสี่ยงปานกลาง)

โพยกองทุนจัดชุด SSF และ RMF ประจำปี 2565: จัดเต็มสำหรับนักลงทุนทุกประเภท

KFGGSSF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนมีกลยุทธ์การบริหารแบบไม่อิงกับ Benchmark เลือกหุ้นแบบ Bottom Up เน้นหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูงในระยะยาว เน้นการซื้อและถือเป็นหลัก ในหุ้นที่ยังมีโอกาสเติบโตสูง 

จุดเด่น

  • บริหารโดย Baillie Gifford หนึ่งในผู้บริหารกองทุนหุ้นเติบโตอันดับต้น ๆ ของโลก ที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน
  • คัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ตการลงทุนอย่างเข้มข้น เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีโอกาสเติบโต 2 เท่าใน 5 ปี
  • กลยุทธ์ Buy & Hold เพิ่มความมั่นใจในการไม่พลาดโอกาส และลดค่าใช่จ่ายในการทำธุรกรรมในระยะยาว

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: 500 บาท

ครั้งถัดไป: 500 บาท

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ไม่เรียกเก็บ

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ไม่เรียกเก็บ

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 1.1613%

สัดส่วนหุ้น 5 ดันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2566)

NVIDIA 6.30%

Amazon.com 5.10%

Kering 4.90%

Tesla Inc 4.90%

Moderna 4.70%

นโยบายการลงทุน

เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ Baillie Gifford Worldwide Long Term Global Growth Fund, Class B USD Acc โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ที่มา: KFGGSSF Fund Fact Sheet วันที่ 28 เมษายน 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.krungsriasset.com/DataWeb/AYFWeb/th/pdf/FFS_KFGGSSF_TH.pdf?rnd=20230524112930

————————————

PRINCIPAL IPROPEN-SSF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนรวมกลุ่ม REITs และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานไทย และต่างประเทศ

จุดเด่น

  • ลงทุนใน REITs ประเทศไทยและสิงคโปร์ ซึ่งช่วยกระจายการลงทุนไม่กระจุดตัวในตลาดเดียว
  • เน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีอยู่ในภาคส่วนที่มั่นคง มีการเติบโต เน้นความผันผวนต่ำ
  • เน้นคัดเลือกรายสินทรัพย์โดยมอง Valuation เป็นหลัก ไม่เร่งซื้อ สะสมเมื่อราคาปรับตัวลง

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: 1,000 บาท

ครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ยกเว้น

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ยกเว้น

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 1.5600%

สัดส่วนสินทรัพย์หลัก 5 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เม.ย. 2566)

GOODMAN GROUP : GMG AU 8.10%

CapitaLand Mall Trust : CICT SP 3.82%

CapLAnd Ascendas REIT : CLAR SP 3.66%

LINK REIT : 823 HK 3.65%

STOCKLAND : SGP AU 3.63%

นโยบายการลงทุน

เน้นลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึง Exchange Traded Fund (ETF) และ/หรือหน่วยของกองทุน private equity ที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์(REITs) หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือเน้นลงทุนในตราสารที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน และ/หรือตราสารของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์/ตรา สารของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ที่มา: PRINCIPAL iPROPEN-SSF Fund Fact Sheet วันที่ 30 เมษายน 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.principal.th/sites/default/files/fund-documents/Thailand%20Site/th_PRINCIPAL_iPROPEN_FFS.pdf

————————————

KTMEE-SSF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนรวมผสมทั่วโลก จัดสรรสัดส่วนโดย บลจ. KTAM มุ่งเน้นความเสี่ยงปานกลางลงทุนในหุ้นสัดส่วนประมาณ 50%

จุดเด่น

  • คาดหวังผลตอบแทนที่ 7% ต่อปี บนความผันผวนที่เหมาะสม
  • ลงทุนกระจายในหลากหลาย Asset Class ลดความผันผวนให้กับพอร์ต
  • บริหารกองแบบ Allocation ควบคุมความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนในผลตอบแทนเป้าหมาย

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: ไม่กำหนด

ครั้งถัดไป: ไม่กำหนด

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ยังไม่เรียกเก็บ

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ยังไม่เรียกเก็บ

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 0.46%

สัดส่วนหุ้น 5 อันดับแรก

กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะ 1 ถึง 3 ปี 19.83%

กองทุนเปิดเคแทม โกลบอล อิควิตี้ พาสซีฟ ฟันด์ ­A 15.99%

กองทุนเปิดเคแทม ยูเอส โกรท อิควิตี้ ฟันด์­ A 8.28%

กองทุนเปิดเคแทม ไชนา เอแชร์ อิควิตี้ ฟันด์ (ชนิดสะสมมูลค่า) 7.44%

กองทุนเปิดกรุงไทยหุ้นทุนปันผล 4.94%

นโยบายการลงทุน

เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม กองทุนรวมโครงสรางพื้นฐาน หรือ กองทุน property (กองทุนปลายทาง) ทั้งในและต่างประเทศ ตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV โดยกองทุนปลายทางดังกล่าวมีนโยบายลงทุนทั้งในตราสารทุน ตราสารหนี้ ทรัพย์สินทางเลือก

ที่มา: KTMEE-SSF Fund Fact Sheet วันที่ 28 เมษายน 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.ktam.co.th/document_fund/fundfactsheet/Factsheet_th_KTMEE-SSF.pdf

โพย SSF Series 3 (ความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง)

โพยกองทุนจัดชุด SSF และ RMF ประจำปี 2565: จัดเต็มสำหรับนักลงทุนทุกประเภท

UGIS-SSF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนรวมตราสารหนี้ทั่วโลก ลงทุนแบบเชิงรุก เพื่อสร้างผลตอบแทนเป็นรายได้ที่สม่ำเสมอ

จุดเด่น

  • บริหารแบบ Active ปรับสัดส่วนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • ผลตอบแทนย้อนหลังเอาชนะดัชนีเปรียบเทียบได้สม่ำเสมอ ภายใต้ความผันผวนที่ต่ำ
  • บริหารโดย PIMCO บลจ. เฉพาะด้านตราสารหนี้ทั่วโลก

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: ไม่กำหนด

ครั้งถัดไป: ไม่กำหนด

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ยกเว้น

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ยกเว้น

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 0.9973%

สัดส่วนสินทรัพย์หลัก 5 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เม.ย. 2566)

FNMA TBA 3.5% FEB 30YR 6.4%

FNMA TBA 4.0% MAR 30YR 5.5%

FNMA TBA 6.0% JAN 30YR 2.9%

BNP PARIBAS ISSUANCE BV SR SEC **ABS** 2.8%

FNMA TBA 3.0% FEB 30YR 2.6%

นโยบายการลงทุน

เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ PIMCO GIS Income Fund (Class I) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ที่มา: UGIS-SSF Fund Fact Sheet วันที่ 31 มีนาคม 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.uobam.co.th/srcm/fund_mapping/mmdpt21qh/t2/1q/o0x0/UGISSSF.pdf

————————————

KKP ACT FIXED-SSF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาวคุณภาพดี ลงทุนกระจายทั้งในตราสารหนี้ภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งไทยและต่างประเทศ

จุดเด่น

  • กองทุนมี Duration ค่อนข้างต่ำไม่เกิน 2 ปี ทำให้มีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยไม่สูง
  • กองทุนสร้างผลตอบแทนได้ดีมาก ใกล้เคียงกับกองตราสารหนี้ที่มี Duration ยาวกว่า
  • กองทุนมีความผันผวนที่ต่ำ ผลตอบแทนสม่ำเสมอ ควบคุม Drawdown ได้ดีกว่าตราสารหนี้ระยะยาว

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: 1,000 บาท

ครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ยกเว้น

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ยกเว้น

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 0.4020%

สัดส่วนสินทรัพย์หลัก 5 ดันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 28 เม.ย. 2566)

พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (CBF23O09A) 6.51%

พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ (ILB283A) 3.78%

พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (CBF23N13A) 3.68%

พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (CBF23619A) 3.60%

พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT239A) 3.55%

นโยบายการลงทุน

เน้นลงทุนในตราสารภาครัฐ และตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเอกชน และ/หรือ เงินฝาก ทั้งในและต่างประเทศ โดยกองทุนจะลงทุนในต่างประเทศไม่เกิน 79% ของ NAV

ที่มา: KKP ACT FIXED-SSF Fund Fact Sheet วันที่ 31 มีนาคม 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://media.kkpfg.com/document/2020/Nov/AM%20FFS%20KKP%20ACT%20FIXED-SSF.pdf

————————————

PRINCIPAL IPROPEN-SSF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนรวมกลุ่ม REITs และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานไทย และต่างประเทศ

จุดเด่น

  • ลงทุนใน REITs ประเทศไทยและสิงคโปร์ ซึ่งช่วยกระจายการลงทุนไม่กระจุดตัวในตลาดเดียว
  • เน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีอยู่ในภาคส่วนที่มั่นคง มีการเติบโต เน้นความผันผวนต่ำ
  • เน้นคัดเลือกรายสินทรัพย์โดยมอง Valuation เป็นหลัก ไม่เร่งซื้อ สะสมเมื่อราคาปรับตัวลง

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: 1,000 บาท

ครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ยกเว้น

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ยกเว้น

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 1.5600%

สัดส่วนสินทรัพย์หลัก 5 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เม.ย. 2566)

GOODMAN GROUP : GMG AU 8.10%

CapitaLand Mall Trust : CICT SP 3.82%

CapLAnd Ascendas REIT : CLAR SP 3.66%

LINK REIT : 823 HK 3.65%

STOCKLAND : SGP AU 3.63%

นโยบายการลงทุน

เน้นลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึง Exchange Traded Fund (ETF) และ/หรือหน่วยของกองทุน private equity ที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์(REITs) หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือเน้นลงทุนในตราสารที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน และ/หรือตราสารของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์/ตรา สารของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ที่มา: PRINCIPAL iPROPEN-SSF Fund Fact Sheet วันที่ 30 เมษายน 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.principal.th/sites/default/files/fund-documents/Thailand%20Site/th_PRINCIPAL_iPROPEN_FFS.pdf

โพย SSF Series 1 (ความเสี่ยงต่ำ)

โพยกองทุนจัดชุด SSF และ RMF ประจำปี 2565: จัดเต็มสำหรับนักลงทุนทุกประเภท

UGIS-SSF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนรวมตราสารหนี้ทั่วโลก ลงทุนแบบเชิงรุก เพื่อสร้างผลตอบแทนเป็นรายได้ที่สม่ำเสมอ

จุดเด่น

  • บริหารแบบ Active ปรับสัดส่วนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • ผลตอบแทนย้อนหลังเอาชนะดัชนีเปรียบเทียบได้สม่ำเสมอ ภายใต้ความผันผวนที่ต่ำ
  • บริหารโดย PIMCO บลจ. เฉพาะด้านตราสารหนี้ทั่วโลก

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: ไม่กำหนด

ครั้งถัดไป: ไม่กำหนด

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ยกเว้น

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ยกเว้น

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 0.9973%

สัดส่วนสินทรัพย์หลัก 5 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เม.ย. 2566)

FNMA TBA 3.5% FEB 30YR 6.4%

FNMA TBA 4.0% MAR 30YR 5.5%

FNMA TBA 6.0% JAN 30YR 2.9%

BNP PARIBAS ISSUANCE BV SR SEC **ABS** 2.8%

FNMA TBA 3.0% FEB 30YR 2.6%

นโยบายการลงทุน

เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ PIMCO GIS Income Fund (Class I) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ที่มา: UGIS-SSF Fund Fact Sheet วันที่ 31 มีนาคม 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.uobam.co.th/srcm/fund_mapping/mmdpt21qh/t2/1q/o0x0/UGISSSF.pdf

————————————

KKP ACT FIXED-SSF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาวคุณภาพดี ลงทุนกระจายทั้งในตราสารหนี้ภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งไทยและต่างประเทศ

จุดเด่น

  • กองทุนมี Duration ค่อนข้างต่ำไม่เกิน 2 ปี ทำให้มีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยไม่สูง
  • กองทุนสร้างผลตอบแทนได้ดีมาก ใกล้เคียงกับกองตราสารหนี้ที่มี Duration ยาวกว่า
  • กองทุนมีความผันผวนที่ต่ำ ผลตอบแทนสม่ำเสมอ ควบคุม Drawdown ได้ดีกว่าตราสารหนี้ระยะยาว

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: 1,000 บาท

ครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ยกเว้น

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ยกเว้น

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 0.4020%

สัดส่วนสินทรัพย์หลัก 5 ดันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 28 เม.ย. 2566)

พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (CBF23O09A) 6.51%

พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ (ILB283A) 3.78%

พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (CBF23N13A) 3.68%

พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (CBF23619A) 3.60%

พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT239A) 3.55%

นโยบายการลงทุน

เน้นลงทุนในตราสารภาครัฐ และตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเอกชน และ/หรือ เงินฝาก ทั้งในและต่างประเทศ โดยกองทุนจะลงทุนในต่างประเทศไม่เกิน 79% ของ NAV

ที่มา: KKP ACT FIXED-SSF Fund Fact Sheet วันที่ 31 มีนาคม 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://media.kkpfg.com/document/2020/Nov/AM%20FFS%20KKP%20ACT%20FIXED-SSF.pdf

โพย RMF Series 7 (ความเสี่ยงสูง)

โพยกองทุนจัดชุด SSF และ RMF ประจำปี 2565: จัดเต็มสำหรับนักลงทุนทุกประเภท

KFGGRMF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนมีกลยุทธ์การบริหารแบบไม่อิงกับ Benchmark เลือกหุ้นแบบ Bottom Up เน้นหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูงในระยะยาว เน้นการซื้อและถือเป็นหลัก ในหุ้นที่ยังมีโอกาสเติบโตสูง 

จุดเด่น

  • บริหารโดย Baillie Gifford หนึ่งในผู้บริหารกองทุนหุ้นเติบโตอันดับต้น ๆ ของโลก ที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน
  • คัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ตการลงทุนอย่างเข้มข้น เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีโอกาสเติบโต 2 เท่าใน 5 ปี
  • กลยุทธ์ Buy & Hold เพิ่มความมั่นใจในการไม่พลาดโอกาส และลดค่าใช่จ่ายในการทำธุรกรรมในระยะยาว

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: 500 บาท

ครั้งถัดไป: 500 บาท

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ไม่เรียกเก็บ

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ไม่เรียกเก็บ

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 1.1491%

สัดส่วนหุ้น 5 ดันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2566)

NVIDIA 6.30%

Amazon.com 5.10%

Kering 4.90%

Tesla Inc 4.90%

Moderna 4.70%

นโยบายการลงทุน

เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ Baillie Gifford Worldwide Long Term Global Growth Fund, Class B USD Acc โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ที่มา: KFGGRMF Fund Fact Sheet วันที่ 28 เมษายน 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.krungsriasset.com/DataWeb/AYFWeb/th/pdf/FFS_KFGGRMF_TH.pdf?rnd=20220818022444

————————————

KVIETNAMRMF

รายละเอียดกองทุน

ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเวียดนาม ดำเนินธุรกิจหรือได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือมีทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม

จุดเด่น

  • กองทุนหุ้นเวียดนามที่เน้นลงทุนตรงในตลาดหุ้นเวียดนาม โดยทีมผู้จัดการกองทุนคนไทยที่มีประสบการณ์ ลดการเสียค่าธรรมเนียมหลายต่อจากการลงทุนผ่าน Feeder Fund 
  • สามารถสร้างผลตอบแทนได้เป็นลำดับต้น ๆ ของกองทุนเวียดนามในไทย ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
  • กองทุนมี Track Record ที่ยาวนาน โดยที่ยังสามารถทำผลตอบแทนในระยะยาวได้ดี และมีค่าธรรมเนียมไม่แพง

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: 500 บาท

ครั้งถัดไป: 500 บาท

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ไม่มี

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ยกเว้น

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 1.8634%

สัดส่วนสินทรัพย์ 5 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 28 เม.ย. 2566)

หุ้น Mobile World Investment Corp 7.44%

หุ้น FPT Corp 7.34%

หุ้น Vinhomes Joint Stock Company 6.90%

หุ้น JSC Bank for Foreign Trade of Vietnam 6.37%

หุ้น Asia Commercial Bank 5.44%

นโยบายการลงทุน

เน้นลงทุนในกองทุนเปิดเค เวียดนาม หุ้นทุน (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ที่มา: KVIETNAMRMF Fund Fact Sheet วันที่ 28 เมษายน 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.kasikornasset.com/FundDocument/Fund_Fact_Sheet/KVIETNAMRMF.pdf

————————————

B-INNOTECHRMF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลก บริหารแบบ Active เน้นการปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อรับโอกาสการเติบโตที่ดีภายใต้ความผันผวนที่ต่ำกว่าในระยะยาว

จุดเด่น

  • กองทุนหุ้นเทคโนโลยีแนวหน้า ที่มีผลการดำเนินงานติดอันดับต้น ๆ สม่ำเสมอ
  • บริหารแบบ Active ด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลาย อาทิ เข้าลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีตามวัตถุประสงค์ พร้อมทั้งจัดสรรเข้าลงทุนในหุ้นวัฏจักร หรือ หุ้นสถานการณ์พิเศษ (Special Situation) ได้บางส่วน เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทน หรือ กระจายความเสี่ยง
  • ผู้จัดการกองทุนหลักบริหารมาอย่างยาวนาน ส่งผลถึงความสม่ำเสมอของผลตอบแทนกองทุนในอดีต และความต่อเนื่องในอนาคต

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: 500 บาท

ครั้งถัดไป: 500 บาท

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ไม่เรียกเก็บ

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ไม่เรียกเก็บ

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 1.4350%

สัดส่วนหุ้น 5 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 28 ก.พ. 2566)

Microsoft 5.00%

Apple 4.90%

Salesforce 3.10%

Alphabet 3.00%

Ericsson 3.00%

นโยบายการลงทุน

เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ Fidelity Funds – Global Technology Fund โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ที่มา: B-INNOTECHRMF Fund Fact Sheet วันที่ 31 มีนาคม 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.bangkokbank.com/-/media/files/personal/save-and-invest/mutual-funds/fund-information/b-innotechrmf/b-innotechrmf_factsheet_th.pdf?la=th-th&hash=BDCEE04E66E4C67E200CFA3479A44E7C1B30455D

โพย RMF Series 5 (ความเสี่ยงปานกลาง)

โพยกองทุนจัดชุด SSF และ RMF ประจำปี 2565: จัดเต็มสำหรับนักลงทุนทุกประเภท

KFGGRMF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนมีกลยุทธ์การบริหารแบบไม่อิงกับ Benchmark เลือกหุ้นแบบ Bottom Up เน้นหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูงในระยะยาว เน้นการซื้อและถือเป็นหลัก ในหุ้นที่ยังมีโอกาสเติบโตสูง 

จุดเด่น

  • บริหารโดย Baillie Gifford หนึ่งในผู้บริหารกองทุนหุ้นเติบโตอันดับต้น ๆ ของโลก ที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน
  • คัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ตการลงทุนอย่างเข้มข้น เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีโอกาสเติบโต 2 เท่าใน 5 ปี
  • กลยุทธ์ Buy & Hold เพิ่มความมั่นใจในการไม่พลาดโอกาส และลดค่าใช่จ่ายในการทำธุรกรรมในระยะยาว

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: 500 บาท

ครั้งถัดไป: 500 บาท

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ไม่เรียกเก็บ

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ไม่เรียกเก็บ

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 1.1491%

สัดส่วนหุ้น 5 ดันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2566)

NVIDIA 6.30%

Amazon.com 5.10%

Kering 4.90%

Tesla Inc 4.90%

Moderna 4.70%

นโยบายการลงทุน

เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ Baillie Gifford Worldwide Long Term Global Growth Fund, Class B USD Acc โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ที่มา: KFGGRMF Fund Fact Sheet วันที่ 28 เมษายน 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.krungsriasset.com/DataWeb/AYFWeb/th/pdf/FFS_KFGGRMF_TH.pdf?rnd=20220818022444

————————————

B-IR-FOFRMF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทยและต่างประเทศ บริหารแบบ Active เพื่อเป้าหมายการสร้างผลตอบแทนทั้งปันผล และส่วนต่างราคา (Capital Gain) ที่ดีในระยะยาว

จุดเด่น

  • มีความผันผวนต่ำกว่ากองทุนในประเภทเดียวกัน แต่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า (ระยะเวลาตั้งแต่ปี 2020) ซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติที่ดีของกองทุนสินทรัพย์ทางเลือก
  • อสังหาฯ ไทยและสิงคโปร์ ยังมีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง แต่กลับมาเปิดเมืองอย่างเต็มที่แล้ว ดังนั้นจึงมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อจากนี้
  • ผู้จัดการกองทุนมีระบบและจุดชี้วัดที่ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนที่ชัดเจน

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: 500 บาท

ครั้งถัดไป: 500 บาท

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ไม่เรียกเก็บ

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ไม่เรียกเก็บ

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 1.4415%

สัดส่วนสินทรัพย์ 5 อันดับแรก

หน่วยลงทุน CapitaLand Ascendas REIT 8.36%

หน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิการเช่าดับบลิวเอชเอ พรีเมี่ยม โกรท 7.41% 

หน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เพื่ออุตสาหกรรม เฟรเซอร์ส พร็อพเพอ 6.79%

หน่วยลงทุน CapitaLand Integrated Commercial Trust 6.19%

หน่วยลงทุนกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โทรคมนาคม ดิจิทัล 5.29%

นโยบายการลงทุน

ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก ได้แก่ หน่วย Property/ REITs/ หน่วย Infra/ ETF ที่เน้นลงทุนในหน่วย Property/ REITs/ หน่วย Infra โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ที่มา: B-IR-FOFRMF Fund Fact Sheet วันที่ 31 มีนาคม 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.bangkokbank.com/-/media/files/personal/save-and-invest/mutual-funds/fund-information/b-ir-fofrmf/b-ir-fofrmf_factsheet_th.pdf?la=th-th&hash=364A84FB64705DA63661F3A4FD98B2BA0F83A9B4

————————————

KGARMF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนรวมผสมทั่วโลก มุ่งเน้นหาผลตอบแทนสูงสุดให้กับกองทุน ลงทุนในตราสารหลากหลายประเภททั่วโลก

จุดเด่น

  • ลงทุนในหลากหลาย Asset Class ช่วยลดความผันผวนของกอง 
  • บริหารกองโดย บลจ. Blackrock ที่เป็น บลจ. ชั้นนำระดับโลก
  • กอง allocation มีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนแต่ละ asset class ตามสถานการณ์หาโอกาสสร้างผลตอบแทนได้มากขึ้น

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: ขั้นต่ำ 500 บาท

ครั้งถัดไป: ขั้นต่ำ 500 บาท

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ไม่มี

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ยกเว้น

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 1.2505%

สัดส่วนสินทรัพย์ 5 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2566)

Microsoft 2.42%

Apple 1.54%

Alphabet 1.33%

Amazon.com 1.06%

Unitedhealth Group 0.94%

นโยบายการลงทุน

ลงทุนในกองทุน BGF Global Allocation Fund A2 USD (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ที่มา: KGARMF Fund Fact Sheet วันที่ 31 มีนาคม 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.kasikornasset.com/FundDocument/Fund_Fact_Sheet/KGARMF.pdf

โพย RMF Series 3 (ความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง)

โพยกองทุนจัดชุด SSF และ RMF ประจำปี 2565: จัดเต็มสำหรับนักลงทุนทุกประเภท

UGISRMF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนรวมตราสารหนี้ทั่วโลก ลงทุนแบบเชิงรุก เพื่อสร้างผลตอบแทนเป็นรายได้ที่สม่ำเสมอ

จุดเด่น

  • บริหารแบบ Active ปรับสัดส่วนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • ผลตอบแทนย้อนหลังเอาชนะดัชนีเปรียบเทียบได้สม่ำเสมอ ภายใต้ความผันผวนที่ต่ำ
  • บริหารโดย PIMCO บลจ. เฉพาะด้านตราสารหนี้ทั่วโลก

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: ไม่กำหนด

ครั้งถัดไป: ไม่กำหนด

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ยกเว้น

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ยกเว้น

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 1.0152%

สัดส่วนสินทรัพย์หลัก 5 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2566)

FNMA TBA 3.5% JUN 30YR 7.75%

FNMA TBA 3.5% MAY 30YR 7.59%

FNMA TBA 3.0% JUN 30YR 4.40%

FNMA TBA 4.0% APR 15YR 4.13%

FNMA PASS THRU 30YR #SD7543 2.62%

นโยบายการลงทุน

เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ PIMCO GIS Income Fund (Class I) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ที่มา: UGISRMF Fund Fact Sheet วันที่ 31 มีนาคม 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.uobam.co.th/srcm/fund_mapping/mmdpt21c7/t2/1c/o0x0/UGISRMF.pdf

————————————

KKP INRMF

รายละเอียดกองทุน

ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้เอกชนที่มีแนวโน้มเติบโตสูง และมีเสถียรภาพทางการเงินที่ดี

จุดเด่น

  • กองทุนสร้างผลตอบแทนได้ดีในระยะยาว เทียบกับกองที่มี Duration ใกล้เคียงกัน
  • ผลตอบแทนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทำได้ดีกว่ากองอื่นโดยเปรียบเทียบมาก เป็นช่วงที่ผู้จัดการกองทุนคนปัจจุบันเข้ามา
  • ลงทุนในหุ้นกู้เอกชนไม่มากเท่ากับกองทุนอื่น ทำให้มี Credit Risk ที่ต่ำกว่า กองมี Turnover ต่ำ แต่ยังสามารถสร้างผลตอบแทนได้เหนือกว่ากองอื่น

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: 1,000 บาท

ครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ไม่มี

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ไม่มี

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 0.4050%

สัดส่วนสินทรัพย์ 5 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2566)

พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (CBF23O24A) 4.68%

หุ้นกู้ที่ออกโดย บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จํากัด (มหาชน) (GULF269A) 4.22%

พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (CBF23619A) 3.97%

หุ้นกู้ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) (TBEV253A) 3.77%

หุ้นกู้ของบริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวิร์ค เซอร์วิสเซ็ส จํากัด(มหาชน) (JMT25OA) 3.63%

นโยบายการลงทุน

เน้นการลงทุนในเงินฝาก และ/หรือตราสารหนี้ ของบริษัทเอกชนที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มการเติบโตสูง และมีเสถียรภาพทางการเงินดี หรือของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ นิติบุคคลที่มี กฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้อาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกัน หรือคู่สัญญา เพื่อให้ผู้ถือหน่วยได้รับผลตอบแทนที่ดี

ที่มา: KKP INRMF Fund Fact Sheet วันที่ 31 มีนาคม 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://media.kkpfg.com/document/2020/Nov/AM%20Sum%20KKP%20INRMF.pdf

————————————

B-IR-FOFRMF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทยและต่างประเทศ บริหารแบบ Active เพื่อเป้าหมายการสร้างผลตอบแทนทั้งปันผล และส่วนต่างราคา (Capital Gain) ที่ดีในระยะยาว

จุดเด่น

  • มีความผันผวนต่ำกว่ากองทุนในประเภทเดียวกัน แต่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า (ระยะเวลาตั้งแต่ปี 2020) ซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติที่ดีของกองทุนสินทรัพย์ทางเลือก
  • อสังหาฯ ไทยและสิงคโปร์ ยังมีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง แต่กลับมาเปิดเมืองอย่างเต็มที่แล้ว ดังนั้นจึงมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อจากนี้
  • ผู้จัดการกองทุนมีระบบและจุดชี้วัดที่ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนที่ชัดเจน

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: 500 บาท

ครั้งถัดไป: 500 บาท

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ไม่เรียกเก็บ

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ไม่เรียกเก็บ

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 1.4415%

สัดส่วนสินทรัพย์ 5 อันดับแรก

หน่วยลงทุน CapitaLand Ascendas REIT 8.36%

หน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิการเช่าดับบลิวเอชเอ พรีเมี่ยม โกรท 7.41% 

หน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เพื่ออุตสาหกรรม เฟรเซอร์ส พร็อพเพอ 6.79%

หน่วยลงทุน CapitaLand Integrated Commercial Trust 6.19%

หน่วยลงทุนกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โทรคมนาคม ดิจิทัล 5.29%

นโยบายการลงทุน

ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก ได้แก่ หน่วย Property/ REITs/ หน่วย Infra/ ETF ที่เน้นลงทุนในหน่วย Property/ REITs/ หน่วย Infra โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ที่มา: B-IR-FOFRMF Fund Fact Sheet วันที่ 31 มีนาคม 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.bangkokbank.com/-/media/files/personal/save-and-invest/mutual-funds/fund-information/b-ir-fofrmf/b-ir-fofrmf_factsheet_th.pdf?la=th-th&hash=364A84FB64705DA63661F3A4FD98B2BA0F83A9B4

โพย RMF Series 1 (ความเสี่ยงต่ำ)

โพยกองทุนจัดชุด SSF และ RMF ประจำปี 2565: จัดเต็มสำหรับนักลงทุนทุกประเภท

UGISRMF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนรวมตราสารหนี้ทั่วโลก ลงทุนแบบเชิงรุก เพื่อสร้างผลตอบแทนเป็นรายได้ที่สม่ำเสมอ

จุดเด่น

  • บริหารแบบ Active ปรับสัดส่วนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • ผลตอบแทนย้อนหลังเอาชนะดัชนีเปรียบเทียบได้สม่ำเสมอ ภายใต้ความผันผวนที่ต่ำ
  • บริหารโดย PIMCO บลจ. เฉพาะด้านตราสารหนี้ทั่วโลก

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: ไม่กำหนด

ครั้งถัดไป: ไม่กำหนด

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ยกเว้น

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ยกเว้น

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 1.0152%

สัดส่วนสินทรัพย์หลัก 5 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2566)

FNMA TBA 3.5% JUN 30YR 7.75%

FNMA TBA 3.5% MAY 30YR 7.59%

FNMA TBA 3.0% JUN 30YR 4.40%

FNMA TBA 4.0% APR 15YR 4.13%

FNMA PASS THRU 30YR #SD7543 2.62%

นโยบายการลงทุน

เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ PIMCO GIS Income Fund (Class I) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ที่มา: UGISRMF Fund Fact Sheet วันที่ 31 มีนาคม 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.uobam.co.th/srcm/fund_mapping/mmdpt21c7/t2/1c/o0x0/UGISRMF.pdf

————————————

B-IR-FOFRMF

รายละเอียดกองทุน

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทยและต่างประเทศ บริหารแบบ Active เพื่อเป้าหมายการสร้างผลตอบแทนทั้งปันผล และส่วนต่างราคา (Capital Gain) ที่ดีในระยะยาว

จุดเด่น

  • มีความผันผวนต่ำกว่ากองทุนในประเภทเดียวกัน แต่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า (ระยะเวลาตั้งแต่ปี 2020) ซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติที่ดีของกองทุนสินทรัพย์ทางเลือก
  • อสังหาฯ ไทยและสิงคโปร์ ยังมีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง แต่กลับมาเปิดเมืองอย่างเต็มที่แล้ว ดังนั้นจึงมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อจากนี้
  • ผู้จัดการกองทุนมีระบบและจุดชี้วัดที่ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนที่ชัดเจน

ลงทุนขั้นต่ำ

ครั้งแรก: 500 บาท

ครั้งถัดไป: 500 บาท

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ไม่เรียกเก็บ

ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee): ไม่เรียกเก็บ

ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม: 1.4415%

สัดส่วนสินทรัพย์ 5 อันดับแรก

หน่วยลงทุน CapitaLand Ascendas REIT 8.36%

หน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิการเช่าดับบลิวเอชเอ พรีเมี่ยม โกรท 7.41% 

หน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เพื่ออุตสาหกรรม เฟรเซอร์ส พร็อพเพอ 6.79%

หน่วยลงทุน CapitaLand Integrated Commercial Trust 6.19%

หน่วยลงทุนกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โทรคมนาคม ดิจิทัล 5.29%

นโยบายการลงทุน

ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก ได้แก่ หน่วย Property/ REITs/ หน่วย Infra/ ETF ที่เน้นลงทุนในหน่วย Property/ REITs/ หน่วย Infra โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ที่มา: B-IR-FOFRMF Fund Fact Sheet วันที่ 31 มีนาคม 2023

ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.bangkokbank.com/-/media/files/personal/save-and-invest/mutual-funds/fund-information/b-ir-fofrmf/b-ir-fofrmf_factsheet_th.pdf?la=th-th&hash=364A84FB64705DA63661F3A4FD98B2BA0F83A9B4

————————————

นักรบ DIY ห้ามพลาด!! ดูโพยกองทุนประหยัดภาษีแนะนำรายกองสำหรับสายพึ่งพาตนเอง ได้ที่ลิงก์

https://www.finnomena.com/z-admin/ssf-rmf-for-diy/

รับบริการผู้แนะนำการลงทุนกองภาษีส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนกองภาษี 200,000 บาทขึ้นไป
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/taxplanner-services

โพยกองทุนจัดชุด SSF และ RMF ประจำปี 2565: จัดเต็มสำหรับนักลงทุนทุกประเภท

สรุปกองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (20 – 26 พ.ค. 66)

premiums
สรุปกองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (20 - 26 พ.ค. 66)

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 20 – 26 พ.ค. 2566 กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) กองไหนทำผลตอบแทนได้โดดเด่นชนะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากบ้าง? บทความนี้จะขอพาผู้อ่านไปดูกันครับ

5 อันดับ กองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (20 – 26 พ.ค. 66)

สรุปกองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (20 - 26 พ.ค. 66)

1. TCMFENJOY – กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ เอ็นจอย

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.50%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.38%

2. TCMF – กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ ชนิดเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.46%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.33%

ซื้อกองทุน TCMF คลิ

3. T-CASH – กองทุนเปิดธนชาตบริหารเงิน

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.44%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.32%

ซื้อกองทุน T-CASH คลิก

4. TMBMF – กองทุนเปิดทหารไทยธนบดี

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.43%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.31%

ซื้อกองทุน TMBMF คลิก

5. LHMM-A – กองทุนเปิด แอล เอช ตลาดเงิน ชนิดสะสมมูลค่า

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.42%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.25%

ซื้อกองทุน LHMM-A คลิก

ดูรายละเอียดกองทุนทั้ง 5 อันดับเพิ่มเติม: TCMFENJOY, T-CASH, T-CASH, TMBMF, LHMM-A

หมายเหตุ: ข้อมูลมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) อัปเดตล่าสุด ณ วันที่ 25 พ.ค. 2566 จาก Morningstar ทั้งนี้ข้อมูลผลตอบแทนบางกองทุนในหน้าจัดอันดับกองทุน อาจมีการแสดงผลตอบแทนที่แตกต่างจากแต่ละหน้ากองทุน เนื่องจากการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน (ซึ่งนับวันที่ในรอบสัปดาห์แตกต่างกัน) สามารถดูรายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ finnomena.com/fund

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนรวมตลาดเงิน


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

10 อันดับหุ้นสหรัฐฯ S&P500 ราคาขึ้นลงสูงสุด

Park Kathawut
10 อันดับหุ้นสหรัฐ

S&P500 คือ ดัชนีหุ้นสหรัฐอเมริกาที่รวบรวมบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 500 แห่ง ทั้งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ 

หุ้นที่จะผ่านเกณฑ์การพิจารณาของดัชนี S&P500 ต้องมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap.) สูง และมีสภาพคล่องการซื้อขายที่สูง จัดอันดับโดยผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำของโลกอย่าง Standard & Poor’s ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนหุ้นเข้าดัชนีทุกไตรมาสในเดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม ของทุกปี

ทำให้ดัชนี S&P500 ถูกยอมรับว่าเป็นตัวสะท้อนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงนั้นได้ และเป็นดัชนีที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจติดตามกันเป็นอนย่างมาก ด้วยมูลค่าของหุ้นใน S&P500 ที่คิดเป็นกว่า 80% ของมูลค่าตลาดหุ้นทั้งหมดในสหรัฐฯ

เอาเป็นว่า… หากใครที่กำลังสนใจการลงทุนในดัชนี S&P500 บทความนี้ได้สรุปข้อมูลผลตอบแทนของหุ้นที่มีราคาขึ้นลงมากที่สุด ตั้งแต่ช่วงวันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2023 มาฝาก

หุ้น S&P500 ราคาเพิ่มขึ้นสูงสุด ในช่วงไตรมาส 1/2023

  1. Nvidia +90.1%
  2. Meta (Facebook) +76.1%
  3. Tesla +68.4%
  4. Warner Bros. Discovery +59.3%
  5. Align Technology +58.4%
  6. AMD +51.3%
  7. Salesforce +50.7%
  8. West Pharmaceuticals +47.3%
  9. General Electric +46.3%
  10. Catalent +46.0%

หุ้น S&P500 ราคาลดลงสูงสุด ในช่วงไตรมาส 1/2023

  1. Signature Bank -99.8%
  2. Silicon Valley Financial Group -99.6%
  3. First Republic Bank -88.5%
  4. Lumen Technologies -49.2%
  5. Zions Bancorporation -38.6%
  6. Charles Schwab Corp -36.9%
  7. Comerica Incorporated -33.9%
  8. DISH Network -33.5%
  9. KeyCorp -27.3%
  10. Lincoln National Corp -25.8%

 

10 อันดับหุ้นสหรัฐ

*ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีกองทุนที่ลงทุนล้อตามดัชนี S&P500 เช่น ASP-S&P500 SCBS&P500 TMBUS500 AIA-US500 K-US500X-A(A) KFUSINDX-A TISCOUS-A TUSEQ-UH เป็นต้น

พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น

👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA >>> https://finno.me/register-website


แหล่งข้อมูล

visualcapitalis

SCB Grow Together ปรับพอร์ตเดือนพฤษภาคม 2023: เริ่มมีสัญญาณเตรียมหยุดขึ้นดอกเบี้ย

บลจ.ไทยพาณิชย์
SCB Grow Together ปรับพอร์ตเดือนพฤษภาคม 2023: เริ่มมีสัญญาณเตรียมหยุดขึ้นดอกเบี้ย

มุมมองการลงทุน

ปรับสมดุลพอร์ตระหว่างรอปัจจัยบวกใหม่ที่ชัดเจน

ผลการประชุม Fed เมื่อวันที่ 2-3 พ.ค. มีมติขึ้นดอกเบี้ยอีก 25bps เป็น 5.00-5.25% ตามคาด แต่เริ่มมีสัญญาณเตรียมหยุดขึ้นดอกเบี้ย (Pause) ในระยะถัดไป อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่า Fed น่าจะยังไม่รีบเร่งปรับลดดอกเบี้ยลงมาเหมือนที่ตลาดคาดไว้ เพราะ Fed น่าจะรอดูทิศทางเงินเฟ้อให้ชะลอตัวลงตามเป้าหมายที่วางไว้ก่อน (Higher for Longer)

เราประเมินว่า ตลาดหุ้นโลก น่าจะเผชิญความผันผวนมากขึ้นในระยะ 1 เดือนข้างหน้า เนื่องจากขาดปัจจัยบวกใหม่ ประกอบกับ มีความเสี่ยงเรื่องเพดานหนี้สหรัฐฯ เข้ามารบกวนบรรยากาศการลงทุน ทำให้ภาพรวมของ Asset Allocation รอบนี้ เราลดน้ำหนักหุ้น (Equity) ลงเล็กน้อยจาก 80% เป็น 75% ส่วนน้ำหนักอีก 25% คือ ตราสารหนี้ต่างประเทศ (SCBINCA)

การปรับพอร์ต

เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวตลาดหุ้นเอเชียและธีม China Reopening แต่มีการเปลี่ยนจากกองทุน Active Fund คือ SCBAEM เป็นกองทุน Passive Fund คือ SCBAXJ(A) ด้านกองทุนหุ้นไทย เปลี่ยนกองจาก SCBDA เป็น SCBTHAICGA ซึ่งมี Performance ดีกว่าในช่วงหลัง ส่วนการปรับน้ำหนักของแต่ละกองทุนเป็นไปตามรายละเอียดข้างล่างนี้

ภาพแสดงการปรับสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนของพอร์ต SCB Grow Together ที่มา: SCBAM วันที่: 19 พฤษภาคม 2023

ภาพแสดงสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนของพอร์ต SCB Grow Together ที่มา: SCBAM วันที่: 19 พฤษภาคม 2023

เริ่มสร้างแผนลงทุนกับ บลจ. ชั้นนำทั่วฟ้าเมืองไทยที่คุณชื่นชอบ ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง

👉 สร้างแผน คลิก >>> https://finno.me/plan-select-playlists-web

คำเตือน  ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน  ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้   กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น   กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้  (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย  เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด โทร 02 777 7777 สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

รีวิว 3 กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น คว้าโอกาสลงทุนจากช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น

planet 46
รีวิว 3 กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น คว้าโอกาสลงทุนจากช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น

ปี 2022 ที่ผ่านมา ถือเป็นอีกหนึ่งปีที่เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับความท้าทายหลายอย่าง และหนึ่งในความท้าทายทางเศรษฐกิจที่หลายประเทศต้องเผชิญก็คงจะหนีไม่พ้น “เงินเฟ้อ” ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานพบจุดสูงสุดในช่วงเดือนกรกฏาคมปี 2022 ที่ผ่านมา ส่งผลให้โอกาสปรับตัวลงของ “ตราสารหนี้” อยู่ในระดับต่ำ และตราสารหนี้มีความเสี่ยงต่อผลตอบแทนอยู่ในระดับน่าสนใจลงทุนมากขึ้น โดยจากข้อมูลทางสถิตินับตั้งแต่ปี 1990 พบว่าตราสารหนี้ทั่วโลก มักให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ดีในระดับมากกว่า 10% หลังจากอัตราเงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดมาแล้วประมาณ 3 เดือน จึงเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าลงทุน “กองทุนตราสารหนี้” 

บทความนี้จึงขอมาแนะนำกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่ทาง FINNOMENA Investment Team คัดมาให้แล้วจากการวิเคราะห์ทั้งในเชิงปริมาณ (Quantitative) และในเชิงคุณภาพ (Qualitative) ว่าเป็นกองทุนที่น่าสนใจลงทุนในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น เหมาะสำหรับการพักเงิน และขึ้นแท่นเป็นกองทุน FINNOMENA Fick (F Pick) ทั้งหมด 3 กองทุนด้วยกัน ได้แก่ KKP MP, KKP PLUS และ KKP S-PLUS โดยมีรายละเอียดของแต่ละกองทุนดังนี้

รีวิว 3 กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น อีกหนึ่งช่องทางพักเงินที่ไม่แพ้ธนาคาร

KKP MP

รีวิว 3 กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น คว้าโอกาสลงทุนจากช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น

นโยบายกองทุน: ลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารหนี้ที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบหรือสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้ค้ำประกัน พันธบัตรและตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลัง หน่วยงานภาครัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล ผู้ค้ำประกัน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น รวมถึงการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน กลต. กําหนด

ระดับความเสี่ยง: 1 (เสี่ยงต่ำ)

อายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุน: 1 เดือน 5 วัน

อัตราผลตอบแทนเมื่อถือจนครบกำหนดอายุ (Yield to Maturity: YTM): 1.64%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 100 บาท

ข้อมูลจาก KKP MP Fund Factsheet ณ วันที่ 31 มี.ค. 2566

ซื้อกองทุน KKP MP คลิก

ศึกษาข้อมูลกองทุน KKP MP เพิ่มเติมได้ในหนังสือชี้ชวน (Fund Factsheet)

https://media.kkpfg.com/document/2020/Nov/AM%20FFS%20KKP%20MP.pdf

KKP PLUS

รีวิว 3 กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น คว้าโอกาสลงทุนจากช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น

นโยบายกองทุน: ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชนที่มีความมั่นคงและให้ผลตอบแทนที่ดี โดยตราสารหนี้เอกชนนั้นจะต้องได้รับการจัดอันดับตั้งแต่ BBB+ ขึ้นไป ทั้งนี้กองทุนจะดำรงอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก (Portfolio Duration) ไม่เกิน 1.5 ปี โดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีและจะดำรงสัดส่วนการลงทุนตามที่สำนักงาน กลต. กำหนด

ระดับความเสี่ยง: 4 (เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ)

อายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุน: 3 เดือน 17 วัน

อัตราผลตอบแทนเมื่อถือจนครบกำหนดอายุ (Yield to Maturity: YTM): 1.76%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ข้อมูลจาก KKP PLUS Fund Factsheet ณ วันที่ 31 มี.ค. 2566

ซื้อกองทุน KKP PLUS คลิก

ศึกษาข้อมูลกองทุน KKP PLUS เพิ่มเติมได้ในหนังสือชี้ชวน (Fund Factsheet)

https://media.kkpfg.com/document/2020/Nov/AM%20FFS%20KKP%20PLUS.pdf

KKP S-PLUS

รีวิว 3 กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น คว้าโอกาสลงทุนจากช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น

นโยบายกองทุน: ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน เงินฝาก และตราสารเทียบเท่าเงินฝาก โดยอาจพิจารณาลงทุนได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศตามดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน

ระดับความเสี่ยง: 4 (เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ)

อายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุน: 9 เดือน 5 วัน

อัตราผลตอบแทนเมื่อถือจนครบกำหนดอายุ (Yield to Maturity: YTM): 2.09%

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ข้อมูลจาก KKP S-PLUS Fund Factsheet ณ วันที่ 31 มี.ค. 2566

ซื้อกองทุน KKP S-PLUS คลิก

ศึกษาข้อมูลกองทุน KKP S-PLUS เพิ่มเติมได้ในหนังสือชี้ชวน (Fund Factsheet)

https://media.kkpfg.com/document/2022/Apr/AM%20Sum%20KKP%20S-PLUS.pdf

เปรียบเทียบผลตอบแทนกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

รีวิว 3 กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น คว้าโอกาสลงทุนจากช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น

** ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **

จากภาพด้านบนเป็นตารางการเปรียบเทียบผลตอบแทนของกองทุน KKP MP, KKP PLUS และ KKP S-PLUS กับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 6 ธนาคารใหญ่ในไทย จะเห็นได้ว่าผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีของกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นทั้ง 3 กองทุน ให้ผลตอบแทนที่มากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 6 ธนาคารใหญ่ในไทย โดยกองทุน KKP MP สร้างผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี ได้อยู่ที่ 0.73%, กองทุน KKP PLUS อยู่ที่ 1.14% และกองทุน KKP S-PLUS อยู่ที่ 1.59% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 6 ธนาคารใหญ่อยู่ที่ 0.13% – 0.55% เท่านั้น

สรุปกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นเหมาะกับใคร?

รีวิว 3 กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น คว้าโอกาสลงทุนจากช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น

  • ผู้ที่ต้องการพักเงินในระยะสั้นเพื่อสำรองเป็นสภาพคล่องใช้จ่ายยามฉุกเฉิน เนื่องจากมีสภาพคล่องสูง ซื้อขายได้ทุกวันทำการ สั่งขายวันนี้ได้รับเงินคืนวันรุ่งขึ้น
  • ผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นลงทุน หรือต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยมีผู้จัดการกองทุนช่วยบริหารและกระจายความเสี่ยงให้
  • ผู้ที่กำลังมองหาทางเลือกใหม่ ๆ ในการเก็บเงินนอกเหนือจากการฝากเงินในธนาคาร เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจากช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับตราสารหนี้ระยะสั้น

— planet 46.


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

สรุป LIVE: ตลาดเอเชียยังคงท้าทาย ถึงจุดซื้อแล้วหรือยัง I สรุป LIVE Market Talk

FINNOMENA
สรุป LIVE: ตลาดเอเชียยังคงท้าทาย ถึงจุดซื้อแล้วหรือยัง I สรุป LIVE Market Talk

ทาง BBLAM ยังมองว่าปีนี้จะเป็นปีที่น่าสนใจในการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย มองว่าสถานการณ์ในอนาคตน่าจะส่งเสริมการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นเอเชีย โดยเฉพาะปัจจัยเฉพาะตัวที่ตลาดยังไม่ได้นำเข้าไปรวมในราคาปัจจุบัน (ปัจจัยที่ตลาดยังไม่ได้ priced-in) ซึ่งน่าสังเกตว่า ตลาดยังไม่ได้ให้ความสนใจกับตลาดหุ้นเอเชียมากนัก เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นประเทศอื่น ๆ เช่น หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ และหุ้นยุโรปที่เริ่มปรับตัวขึ้นบ้างแล้ว ทำให้มองว่าครั้งนี้น่าจะเป็นโอกาสที่ดีของตลาดหุ้นเอเชีย

ทำไมตลาดหุ้นเอเชียถึงน่าสนใจ ?

เหตุผลที่ทาง BBLAM ชอบตลาดหุ้นเอเชีย ประกอบด้วย วัฏจักรสินเชื่อที่ฟื้นตัวได้ดี สภาพคล่องที่ยังค่อนข้างผ่อนคลาย ธนาคารกลางมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น (เช่น ธนาคารกลางเวียดนามลดดอกเบี้ยนโยบายแล้ว 2 ครั้ง) อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าภูมิภาคอื่น (GDP ของหลายประเทศยังเติบโตมากกว่า 5%) ท่ามกลางสถานการณ์เงินเฟ้อที่ไม่รุนแรง มูลค่าหุ้นไม่แพง และมีกำไรต่อหุ้นที่น่าจะผ่านจุดต่ำสุด และฟื้นตัวได้ดีในครึ่งปีหลัง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นเอเชีย

สรุป LIVE: ตลาดเอเชียยังคงท้าทาย ถึงจุดซื้อแล้วหรือยัง I สรุป LIVE Market Talk

ประเทศในแถบเอเชียที่น่าสนใจ

ในตลาดหุ้นเอเชีย ทาง BBLAM ชอบหุ้นเกาหลี และหุ้นไต้หวัน โดยมองว่าอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่เป็นอุตสาหกรรมหลักของทั้งสองประเทศ การปรับประมาณการณ์กำไรลง น่าจะผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และรายได้ของบริษัทกลุ่มนี้ น่าจะฟื้นตัวได้ดีในช่วงครึ่งปีหลัง

นอกจากนี้ BBLAM ยังเชื่อว่าตลาดหุ้นจีนจะฟื้นตัวได้ดี หลังจากการเปิดประเทศ โดยในช่วงวันหยุดยาวของจีน พบยอดจองโรงแรมเพิ่มขึ้นถึงกว่า 700% ซึ่งธนาคารกลางจีนยังมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะต่อไป และหุ้นจีนถือว่ามีราคาไม่แพง

อินเดียก็เป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีความน่าสนใจ โดยแต่เดิมตลาดหุ้นอินเดียก็มีความน่าสนใจสูงอยู่แล้ว แต่ว่ามูลค่าหุ้นค่อนข้างแพง ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลอินเดียก็มีนโยบายส่งเสริมตลาดหุ้นอินเดีย เช่น การสนับสนุนให้ประชาชนออมเงินผ่านการลงทุนในตลาดหุ้นโดยอัตโนมัติ ตลอดจนประชาชนอินเดียมีอัตราการออมสูง และมีการให้ความรู้ด้านการลงทุนต่อเนื่อง ทำให้ตลาดหุ้นอินเดียได้รับความสนใจจากคนอินเดียเองสูง

เวียดนามมีความน่าสนใจมากขึ้น ในขณะที่มูลค่าหุ้นถูกกว่า โดยล่าสุดอัตรากำไรต่อหุ้นเวียดนามปรับตัวลดลงประมาณ 13.6% ในไตรมาสหนึ่ง แต่น่าจะฟื้นตัวขึ้นได้ในปี 2024 และธนาคารกลางยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ ซึ่งจะส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจและช่วยผลักดันตลาดหุ้นได้ ทำให้มองว่าเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุน

ตลาดหุ้นอินโดนีเซียก็มีแนวโน้มที่ดี จากปัจจัยด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ และจำนวนประชากร ซึ่ง BBLAM มองว่าการที่อินโดนีเซียมีแหล่งแร่ค่อนข้างมาก แม้ว่าจะทำให้ตลาดหุ้นอินโดนีเซียมีความเป็นตลาดหุ้นของหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ในระดับหนึ่ง แต่ในระยะถัดไปน่าจะสามารถพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมในระดับสูงได้ และมีหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยปัจจุบันมูลค่าหุ้นอินโดนีเซียก็ยังถือว่าไม่แพง

รายละเอียดการลงทุนของกองทุน B-ASIA

BBLAM แนะนำการลงทุนในกองทุน B-ASIA ซึ่งเข้าลงทุนใน Invesco Asian Equity Fund ซึ่งคาดหวังผลตอบแทนมากกว่า 10% ต่อปีในระยะกลาง และระยะยาว โดยเน้นไปที่การซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง และเป็นหุ้นที่ตลาดยังไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก แต่ว่าเป็นบริษัทที่มีงบดุลแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนนี้จะเลือกหุ้นที่น่าสนใจในช่วงเวลาที่ตลาดมีความกังวลเพื่อสร้างผลตอบแทน และขายทำกำไรในช่วงที่ตลาดปรับตัวขึ้น

สรุป LIVE: ตลาดเอเชียยังคงท้าทาย ถึงจุดซื้อแล้วหรือยัง I สรุป LIVE Market Talk

สรุป LIVE: ตลาดเอเชียยังคงท้าทาย ถึงจุดซื้อแล้วหรือยัง I สรุป LIVE Market Talk

B-ASIA เน้นไปที่การลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) เกม (gaming) ผู้ผลิตที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดเมือง กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า (แต่ไม่ใช่ตัวยานยนต์ไฟฟ้า) ธนาคารและประกัน โดยจะเน้นไปที่กลุ่มประเทศ จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และไต้หวัน และให้น้ำหนักไปที่กลุ่มการเงิน เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งปัจจุบัน B-ASIA ถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ เช่น Taiwan Semiconductor Manufacturing (TSMC), Samsung, Tencent, Alibaba, HDFC (ธนาคารในอินเดีย ซึ่งเชื่อว่าน่าจะสร้างผลตอบแทนได้ดี จากการขยายตัวของเศรษฐกิจอินเดีย), Gree Electric (บริษัทแอร์ในอินเดีย เกาหลี และไต้หวัน), QBE Insurance (บริษัทประกันในออสเตรเลีย) และ Largen Precision (บริษัททำเลนส์ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ smartphones เช่น iPhone)

สรุป LIVE: ตลาดเอเชียยังคงท้าทาย ถึงจุดซื้อแล้วหรือยัง I สรุป LIVE Market Talk

สรุป LIVE: ตลาดเอเชียยังคงท้าทาย ถึงจุดซื้อแล้วหรือยัง I สรุป LIVE Market Talk

ผลการดำเนินงานของ B-ASIA ที่ผ่านมาถือว่าให้ผลตอบแทนโดดเด่น เมื่อเทียบกับกองทุนอื่น ๆ และเมื่อปรับตัวลงก็ปรับตัวลงน้อยกว่ากองทุนอื่น ๆ เช่นกัน สำหรับกลยุทธ์การลงทุน มองว่าสำหรับนักลงทุนที่มีกองทุน B-ASIA อยู่แล้วช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองนี้ ซึ่งอาจจะค่อย ๆ ทยอยสะสมได้ แต่สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มี สามารถทยอยซื้อได้เลย ซึ่งข้อดีของการลงทุนในตลาดเอเชียจะสามารถลดความผันผวน และช่วยเพิ่มการกระจายตัวของการลงทุนจากการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปได้ดี

สรุป LIVE: ตลาดเอเชียยังคงท้าทาย ถึงจุดซื้อแล้วหรือยัง I สรุป LIVE Market Talk

ความเสี่ยงของกองทุน

สูง (ระดับความเสี่ยง 6)


สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00 – 17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโดยตรงกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บัวหลวง จำกัด ติดต่อบริการบัวหลวงโฟน โทร. 1333 หรือ 02 645 5555 E-mail: info@bangkokbank.com

คำเตือน

  • การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น)
  • ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงาน ก่อนตัดสินใจลงทุน
  • กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

News Update: ตลาดขาลงใกล้จบ? เฮดจ์ฟันด์แห่ซื้อหุ้นสหรัฐฯ ตามโมเมนตัมของ S&P 500 ดันดัชนีเกือบทะลุ 4,200 จุด

THE OPPORTUNITY
News Update: ตลาดขาลงใกล้จบ? เฮดจ์ฟันด์แห่ซื้อหุ้นสหรัฐฯ ตามโมเมนตัมของ S&P 500 ดันดัชนีเกือบทะลุ 4,200 จุด

ข้อมูลที่รวบรวมโดย Goldman Sachs ระบุว่า เหล่าเฮดจ์ฟันด์ที่ทั้ง Bull และ Bear ในหุ้นได้ทำการ ‘ซื้อ’ หุ้นสหรัฐฯ ต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ติดต่อกัน และเป็นอัตราที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่ ต.ค. ปีที่แล้ว หลังจากกก่อนหน้านี้ ‘ขาย’ หุ้นสหรัฐฯ มา 5 สัปดาห์ติด

ส่วนที่ Morgan Stanley เหล่าลูกค้าได้เพิ่มเลเวอเรจทั้งในสถานะ Long และ Short ไปสู่ระดับสูงสุดในปี 2023 

สอดคล้องกับข้อมูลของ JPMorgan ที่ระบุว่า บรรดากองทุนเฮดจ์ฟันด์ ทั่วโลก มีระดับเลเวอเรจสุทธิแข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.

ตอนนี้มุมมองตลาดขาลงเริ่มลดลงเรื่อยๆ หลังจากตลาดหุ้นพุ่งขึ้น 3 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้ ถือเป็นการท้าทายหลายปัจจัยเสี่ยงทั้งความวุ่นวายในภาคธนาคาร ผลกำไรที่ลดลงของบริษัทจดทะเบียน และความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐฯ 

Quincy Krosby หัวหน้านักกลยุทธ์ทั่วโลกที่ LPL Financial มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพราะ เหล่าผู้จัดการความเสี่ยงของสถาบันขนาดใหญ่รู้สึกว่าตลาดกำลังเป็นขาขึ้น ไม่สามารถนั่งเฉยๆ ได้ และต้องมีส่วนร่วม เพราะต้นทุนของการ ‘ตกรถ’ อาจสูงเกินไป ตอนนี้มีการคาดเดาว่า Fed สิ้นสุดการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว ทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะถูกเลื่อนออกไป

นี่ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในอเมริกา เพราะที่ญี่ปุ่น ดัชนี Topix ทำจุดสูงสุดตั้งแต่ปี 1990 ส่วนในยุโรป ดัชนี Stoxx Europe 600 อยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 15 เดือน

ดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากดันดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 140 จุด ในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถผ่านระดับ 4,200 จุดได้

ที่มา: https://www.bloomberg.com/news/articles/2023-05-22/hedge-funds-rush-to-buy-stocks-with-s-p-500-on-brink-of-market-breakout?srnd=premium-asia&sref=e4t2werz 

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน

ชวนรู้จัก GHOST หุ้นเทคโนโลยีคลื่นลูกใหม่

Park Kathawut
หุ้นเทคโนโลยี Ghost

อยากเป็นเจ้าของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ระดับโลกที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับหุ้นกลุ่ม FAANG ที่ประกอบด้วย

  • F = Facebook (Meta Platforms)
  • A = Apple
  • A = Amazon
  • N = Netflix
  • G = Google (Alphabet)

หุ้น FAANG

หรือตอนนี้อาจจะหันมานึกถึงเพย์ลิสต์ใหม่อย่างหุ้นกลุ่ม MATANA ซึ่งปรับเปลี่ยนมาเป็น

  • M = Microsoft
  • A = Apple
  • T = Tesla
  • A = Alphabet (Google)
  • N = Nvidia 
  • A = Amazon

หุ้น MATABA

แต่ล่าสุดรู้ไหมว่ามีหุ้นเทคโนโลยียุคใหม่ที่เรียกว่า GHOST วันนี้เลยอยากจะพาทุกคนมาทำความรู้จักหุ้นกลุ่มนี้ไปด้วยกัน ว่าคืออะไร มีหุ้นตัวไหนบ้าง แต่ละบริษัททำธุรกิจอะไร พร้อมมองหาโอกาสการลงทุนที่รอเราอยู่ข้างหน้าในอนาคต

หุ้น GHOST คืออะไร ประกอบด้วยบริษัทไหนบ้าง ?

GHOST ในที่นี้หมายถึงตัวย่อของหุ้น 5 ตัว ที่ถูกมองว่าเป็นตัวแทนของหุ้นเทคโนโลยีรุ่นต่อไป ซึ่งมีโอกาสที่จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด ล้อไปกับคลื่นการเปลี่ยนแปลงแห่งอนาคต และกลายเป็นธุรกิจที่ทรงอิทธิพลต่อโลก เหมือนกับรุ่นพี่อย่าง FAANG หรือ MATANA 

สมาชิกในกลุ่ม GHOST ได้แก่ 1.) Global-e Online 2.) HubSpot 3.) Okta 4.)  Snowflake และ 5.) The Trade Desk 

หุ้นเทคโนโลยี Ghost

1. Global-e Online Ltd. (GLBE)

ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจากประเทศอิสราเอล และได้ขยายตลาดไปทั่วโลก โดยเฉพาะในอังกฤษและสหรัฐฯ ซึ่งบริษัทมีเป้าหมายที่จะทลายกำแพงของการซื้อขายออนไลน์ ด้วยการเป็นตัวกลางที่ช่วยให้ผู้ที่ต้องการขายของไปทั่วโลก สามารถให้บริการลูกค้าได้เหมือนกับร้านค้าท้องถิ่นในประเทศนั้น ๆ

  • จดทะเบียนในตลาด NASDAQ เมื่อปี 2021 
  • มูลค่าบริษัท (Market Cap.) ณ 15 พ.ค. 2023 จำนวน $5,043 ล้าน

2. HubSpot Inc (HUBS) 

ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ หรือ CRM (Customer Relationship Management) สำหรับการทำตลาดรูปแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจร ตั้งแต่การจัดการข้อมูลลูกค้า การจัดการกระบวนการขาย  ตลอดจนการสร้างฐานข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์แนวโน้มทางการตลาด

  • จดทะเบียนในตลาด NYSE เมื่อปี 2014
  • มูลค่าบริษัท (Market Cap.) ณ 15 พ.ค. 2023 จำนวน $22,942 ล้าน

3. Okta, Inc. (OKTA) 

ผู้ให้บริการระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์กร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ มหาวิทยาลัย และธุรกิขนาดกลาง-ขนาดเล็ก โดยให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม Okta Identity Cloud ในสหรัฐฯ และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก พร้อมด้วยบริการหลังการขายที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง 

  • จดทะเบียนในตลาด NASDAQ เมื่อปี 2017
  • มูลค่าบริษัท (Market Cap.) ณ 15 พ.ค. 2023 จำนวน $12,621 ล้าน

4. Snowflake Inc. (SNOW)

ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มระบบจัดการฐานข้อมูลบนคลาวด์ (Cloud Computing) โดยให้บริการแบบ B2B แก่บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกมากมาย เพื่อช่วยบริหารจัดการข้อมูลมหาศาลให้เป็นระบบระเบียบ แล้วนำไปวิเคราะห์ต่อเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อธุรกิจ 

  • จดทะเบียนในตลาด NYSE เมื่อปี 2020
  • มูลค่าบริษัท (Market Cap.) ณ 15 พ.ค. 2023 จำนวน $55,913 ล้าน

5. The Trade Desk, Inc. (TTD)

ผู้ให้บริการด้านสื่อโฆษณาดิจิทัลที่ให้ผู้ซื้อโฆษณาสร้างสร้างและจัดการแคมเปญได้อย่างอิสระผ่านแพลตฟอร์มบนระบบคลาวด์ ซึ่งช่วยให้แบรนด์ต่าง ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลด้านการตลาด รู้ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย นำไปสู่การสร้างผลลัพธ์ทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

  • จดทะเบียนในตลาด NASDAQ เมื่อปี 2016
  • มูลค่าบริษัท (Market Cap.) ณ 15 พ.ค. 2023 จำนวน $31,761 ล้าน

 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นหุ้นเทคโนโลยียุคใหม่ที่ถูกเก็งกันว่ามีโอกาสจะขึ้นเทียบชั้นหุ้นเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ซึ่งก็เป็นเรื่องของอนาคต ไม่มีใครรู้หรอกว่าจะเกิดขึ้นจริงตอนไหน เพราะแต่ละบริษัทก็มีลักษณะธุรกิจและบริบทที่มีรายละเอียดแตกต่างกันอยู่พอสมควร


แหล่งข้อมูล

เปิดเผยผลวิจัยการลงทุน ใครชนะ ใครแพ้ในรอบ 10 ปี

WealthGuru
เปิดเผยผลวิจัยการลงทุน ใครชนะ ใครแพ้ในรอบ 10 ปี

รอบ 10 ปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่มไหนเป็นผู้ชนะ หุ้นกลุ่มไหนเป็นผู้แพ้

หุ้นจีน หรือ หุ้นอเมริกา

หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว หรือ หุ้นประเทศกำลังพัฒนา คุณคิดว่าใครเป็นผู้ชนะ

เรามาดูผลย้อนหลัง 10 ปี และ 5 ปี โดยจะใช้ Global ETF เป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่มดังนี้

ETF ETF description
QQQ Nasdaq
SMH Semiconductor
KXI Consumer Staples
RXI Consumer Discretionary
IXG Financials 
IXJ Healthcare 
MXI Materials
IXC Energy
DBC Commodity
GLD GOLD
ICLN Clean Energy
MCHI China
IXN Technology
ACWI All World 
FEZ Euro STOXX50
EXI Industrials
JXI Utilities 
CNYA China A
AAXJ Asia ex Japan
URTH World Index
AIA Asia 50

1. ผลตอบแทน vs ความผันผวน

โดยทำการทดสอบรอบระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2013 – 2022 และทำการทดสอบรอบระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2018 – 2022

เปิดเผยผลวิจัยการลงทุน ใครชนะ ใครแพ้ในรอบ 10 ปี

Figure 1: ผลทดสอบจาก portfoliovisualizer.com วันที่ 20 พฤษภาคม 2023

เปิดเผยผลวิจัยการลงทุน ใครชนะ ใครแพ้ในรอบ 10 ปี

Figure 2: ผลทดสอบจาก portfoliovisualizer.com วันที่ 20 พฤษภาคม 2023

ข้อสังเกต

  • ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และมีสภาพคล่องสูง กลุ่มอุตสาหกรรม Technology จะให้ผลตอบแทนสูง แต่ขณะเดียวกันก็มีความผันผวนสูงด้วยเช่นกัน โดยกลุ่ม Semiconductor ให้ผลตอบแทนดีที่สุดแต่ความผันผวนสูงที่สุด
  • กลุ่มอุตสาหากรรม Healthcare และ Consumer Staple เป็นอุตสาหกรรมที่มีความผันผวนต่ำกว่าตลาด (All World Index) แต่ Healthcare มีผลตอบแทนสูงกว่าตลาด
  • กลุ่มดัชนีประเทศพัฒนาแล้ว (World Index) จะทำผลงานได้ดีกว่า กลุ่มประเทศทั้งหมด (All World Index)
  • ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่ม Euro ได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับกลุ่ม Asia แต่ในช่วง 5 ปีหลัง กลุ่ม Euro จะทำได้ดีกว่า
  • กลุ่มประเทศจีน A-shares จะทำผลตอบแทนได้ดีกว่า All shares

2. Sharpe Ratio vs Max Drawdown (ผลตอบแทนต่อความเสี่ยง vs ติดลบมากที่สุด)

โดยทำการทดสอบรอบระยะเวลา 10 ปีตั้งแต่ปี 2013 – 2022 และทำการทดสอบรอบระยะเวลา 5 ปีตั้งแต่ปี 2018 – 2022

เปิดเผยผลวิจัยการลงทุน ใครชนะ ใครแพ้ในรอบ 10 ปี

Figure 3: ผลทดสอบจาก portfoliovisualizer.com วันที่ 20 พฤษภาคม 2023

เปิดเผยผลวิจัยการลงทุน ใครชนะ ใครแพ้ในรอบ 10 ปี

Figure 4: ผลทดสอบจาก portfoliovisualizer.com วันที่ 20 พฤษภาคม 2023

ข้อสังเกต

  • แม้กลุ่มอุตสาหกรรม Technology จะมี Sharpe Ratio (ผลตอบแทนต่อความเสี่ยง) ดีที่สุด แต่จะเจอกับ Max Drawdown (ติดลบมากทีสุด) ที่มากกว่าเช่นเดียวกัน
  • อุตสาหกรรม Healthcare และ Consumer Staples มี Sharpe Ratio ดีกว่าตลาด (All World Index) และ Max Drawdown (ติดลบมากที่สุด) ที่น้อยกว่าอีกด้วย 
  • กลุ่มประเทศจีน จะมี Max Drawdown ที่ลงลึกมาก ส่งผลให้กลุ่ม Asia มี Max Drawdown ที่ลงลึกกว่า  กลุ่ม Euro ไปด้วย เนื่องจากลุ่ม China All shares ที่มี H Shares อยู่ด้วย มี Max Drawdown ที่สูงมากที่สุด
  • ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีปัญหาเงินเฟ้อ และ Covid-19 เกิดความไม่แน่นอนดังนั้น กลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็น Defensive เช่น Utilities, Healthcare, Consumer Staples และทองคำ จะมีความทนทานต่อสภาวะเหล่านั้น ทำให้เห็นได้ว่า จะมี Sharpe Ratio และ Max Drawdown ดีกว่าตลาด (All World Index)

อย่างไรก็ตาม นี้เป็นผลดำเนินการที่ผ่านมาแล้ว ไม่การันตีผลในอนาคต นักลงทุนควรจะพิจารณาก่อนการลงทุนเสมอ

WealthGuru


คำเตือน

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

5 Step สู่เป้าหมายการเงิน

Finspace
5 Step สู่เป้าหมายการเงิน

เป้าหมายการเงินกับเป้าหมายชีวิต เอาจริงๆ แล้ว เป็นเรื่องเดียวกันที่แทบจะแยกไม่ค่อยออก

ว่ากันว่าถ้าการเงินดี ชีวิตก็ดีขึ้นตามไม่มากก็น้อย

เพื่อให้ชีวิตไปถึงเป้าหมายในฝัน ไม่ได้อยู่แค่จินตนาการ ลองมาดูกันว่าตอนนี้เราอยู่เลเวลไหน และจะก้าวข้ามไปยังจุดที่สูงขึ้นได้ยังไง

Step 1 ไม่อดตาย

พื้นฐานของชีวิตที่ต้องมีเสียก่อน นั่นคือมีเงินพอกินพอใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งก็มาจากการมีรายได้ที่เหมาะสม และเริ่มเก็บเงินเล็กๆ น้อยๆ พอให้อุ่นใจเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

Step 2 : พอมีเหลือ

ต่อมาเราควรออมให้สม่ำเสมอ ด้วยยึดแนวคิดที่ว่า “ออมก่อนใช้” เมื่อรายได้สูงขึ้นก็ควรเพิ่มสัดส่วนการออมให้มากขึ้น และแบ่งไปลงทุนให้งอกเงยด้วย

Step 3 ไม่ต้องทำงานหาเงิน

ใครมาถึงขั้นนี้ เรียกว่าค่อนข้างจะมีอิสรภาพทางการเงินแล้ว จากรายได้ของสินทรัพย์ที่นำไปลงทุน สามารถครอบคลุมรายจ่าย จนสามารถเลือกทำในสิ่งที่ตัวเองรัก โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงินมากนัก

Step 4 มีอิสรภาพทางการเงิน

ขั้นกว่าของ Step3 คือ สามารถใช้จ่ายฟุ่มเฟือย โดยหมดห่วงเรื่องเงินทอง ไม่จำเป็นต้องทำงานหาเงินเพิ่ม เว้นแต่จะเป็นงานที่อยากทำเท่านั้น และเมื่อได้เงินมา ก็สามารถนำไปต่อยอด แบบที่เขาเรียกว่า “เงินต่อเงิน”

Step 5 ได้ทุกสิ่งที่ต้องการ

เป็นขั้นสูงสุดในชีวิต รู้สึกว่าชีวิตเพียงพอแล้วจนเต็มอิ่ม ไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว

📌 เนื้อหาของ 5 Step สู่เป้าหมายทางการเงิน เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ “บทเรียนคุณค่าความสุขและการลงทุน” โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

FinSpace

ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/financial-goals/

FINNOMENA เปิดตัว “House of UI Funds” โอกาสในสินทรัพย์ทางเลือกใหม่ สำหรับผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ

FINNOMENA

FINNOMENA (ฟินโนมีนา) ตอกย้ำการเป็นผู้นำแพลตฟอร์มบริหารเงินลงทุนอย่างครบวงจรของเมืองไทย เดินหน้าเปิดตัว “House of UI Funds” ที่คัดสรรกองทุน UI หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ด้วยความเป็นกลางจากหลากหลาย บลจ. เปิดโอกาสเข้าถึงการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด (Private Asset) และ Hedge Fund ที่สร้างโอกาสเพิ่มผลตอบแทนและลดความผันผวนให้พอร์ตการลงทุน

นายวศิน ปริธัญ Head of Investment บริษัท ฟินโนมีนา จำกัด เปิดเผยว่า “ท่ามกลางความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจโลกและความไม่แน่นอนของตลาดการลงทุน จากผลกระทบของเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ และวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยในหลายประเทศ จนเกิดเป็นความท้าทายในการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วไป ซึ่งทาง FINNOMENA มองเห็นว่าการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกใหม่ที่อยู่นอกตลาดและกองทุน Hedge Fund ถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะช่วยยกระดับการลงทุนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้เปิดตัว FINNOMENA House of UI Funds สำหรับเป็นประตูสู่การลงทุนในสินทรัพย์ที่แปลกใหม่และน่าสนใจ”

นายวศิน ปริธัญ Head of Investment บริษัท ฟินโนมีนา จำกัด

ทั้งนี้ FINNOMENA House of UI Funds คือแหล่งรวมกองทุน UI ซึ่งเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra Accredited Investor Mutual Fund) ตามนิยามของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อเปิดประตูสู่สินทรัพย์ทางเลือกใหม่ ๆ ทั้งสินทรัพย์นอกตลาด (Private Asset) กองทุน Hedge Fund กองทุนรวมในต่างประเทศที่เข้าถึงได้ยาก รวมถึงกลยุทธ์การลงทุนอื่น ๆ ที่แปลกใหม่และน่าสนใจ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มผลตอบแทนที่คาดหวังให้กับนักลงทุนแล้ว ยังช่วยลดความผันผวนโดยรวมของพอร์ตการลงทุนลงด้วย เพราะกองทุน UI มักมีความสัมพันธ์ที่ต่ำเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ที่อยู่ในตลาดทั่วไป

สำหรับ FINNOMENA House of UI Funds มีจุดเด่นที่แตกต่าง ดังนี้

  • มีกองทุน UI จากหลากหลาย บลจ. ครอบคลุมทุกสินทรัพย์นอกกระแส
  • เสมือนมีทีมผู้เชี่ยวชาญดูแล ด้วยบริการให้คำปรึกษาและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ผ่านการวิเคราะห์เชิงลึกแบบรายกองจาก FINNOMENA Investment Team เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสการลงทุนที่ดีในทุกช่วงเวลา
  • คัดเลือกอย่างเป็นกลาง ลงทุนในกองทุน UI คุณภาพ ที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่น

 

นายวศิน กล่าวต่อว่า “FINNOMENA เรามีความเชี่ยวชาญในการคัดเลือกกองทุน UI ซึ่งปัจจุบัน กองทุน UI ที่ดำเนินการอยู่และเปิดให้ซื้อได้ในประเทศไทยมีประมาณ 19 กองทุน และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ทางทีมงาน FINNOMENA จึงได้คัดเลือกกองทุนที่น่าสนใจมาวางจำหน่ายบนแพลตฟอร์ม โดยปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 11 กองทุน และได้คัดเลือกกองทุนแนะนำที่ดีที่สุดทั้งหมด 5 กองทุนที่ครอบคลุมการลงทุนใน Private equity, Hedge fund, Currency และ Foreign equity ในประเทศเวียดนาม”

นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังคงมีกองทุน UI ที่น่าสนใจจำนวนมาก เช่น การลงทุนใน Hedge fund ที่ดีที่สุดในโลกเจ้าหนึ่งอย่าง Renaissance, การลงทุนในหุ้นเวียดนาม ที่บริหารโดย บลจ. เวียดนาม ทำให้ไม่มีข้อจำกัดด้าน Foreign ownership limit, การลงทุนในบริษัทนอกตลาดที่ทีมบริหารกองทุนสามารถเข้าไปช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและกำหนดทิศทางบริษัทที่ลงทุน ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มมูลค่ากิจการก่อน Exit หรือแม้แต่การลงทุนในค่าเงินกับมืออาชีพ ด้วยกลยุทธ์ Systematic Long-Short Strategy เป็นต้น

ขณะเดียวกันข้อมูลจาก New York Life Investment คาดการณ์ว่าในช่วงปี 2020-2025 เงินลงทุนภายใต้การจัดการ (AUM) ของการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกทั่วโลกจะเติบโตจาก 10.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 17.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นการเติบโต 9.8% ต่อปี โดยคาดว่าเงินลงทุนภายใต้การจัดการของการลงทุนใน Private Equity ซึ่งเป็นสินทรัพย์ทางเลือกแบบหนึ่ง จะเติบโตได้ถึง 15.6% ต่อปี หนึ่งในตัวอย่างที่น่าสนใจของกลยุทธ์การลงทุนใน Private Asset คือ กองทุน Yale University Endowment ของมหาวิทยาลัย Yale ที่นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาดอย่าง Hedge fund, Venture capital, Private equity ซึ่งมีผลลัพธ์ที่น่าประทับใจคือสามารถสร้างผลตอบแทนระยะยาวได้ดีกว่า Berkshire Hathaway ของ Warren Buffett

แผนภาพเปรียบเทียบผลตอบแทนการลงทุนระหว่างกองทุน Yale University Endowment และ Berkshire Hathaway ปี 1996-2016 Source: Yale Investment Office & Berkshire Hathaway

ผลการดำเนินงานในอดีตและผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจสามารถติดต่อรับคำแนะนำเพื่อให้บริการเฉพาะคุณ หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
https://www.finnomena.com/ui/

ที่มา

 

คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินลงทุนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | กองทุน UI จะเสนอขายเฉพาะผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษเท่านั้น โดยกองทุนประเภทนี้เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน และไม่ถูกจำกัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนได้ในระดับสูงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”


เกี่ยวกับ FINNOMENA

FINNOMENA เป็นหนึ่งในผู้นำด้านแพลตฟอร์มบริหารเงินลงทุนครบวงจรสำหรับนักลงทุน และที่ปรึกษาการลงทุน โดยเป้าหมายหลักขององค์กรคือเพื่อปลดล็อกศักยภาพของนักลงทุนไทย ให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางเงินได้ตามที่คาดหวัง ปัจจุบัน FINNOMENA ดูแลนักลงทุนไทยกว่า 70,000 คน ด้วยเงินลงทุนรวมจากนักลงทุนกว่า 38,000 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565)  การให้บริการของ FINNOMENA ประกอบด้วย แพลตฟอร์มความรู้การลงทุนจากผู้เชี่ยวชาญที่มียอดเข้าชมถึง 3.4 ล้านครั้งต่อเดือน แพลตฟอร์มการให้คำปรึกษาการลงทุน และแพลตฟอร์ม Fund Supermart ของบริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม www.finnomena.com

ทีมสื่อสารการตลาด

บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด

คุณ ปภัชอัณ ปิติภาพงศ์ (เหนือ)

Tel: 02-026-5100

Email: nhua@finnomena.com

ทบทวนการจัดพอร์ตแบบ SAA และ TAA Asset Allocation เพื่อการเติบโตระยะยาว และ capture ผลตอบแทนระยะสั้น

เด็กการเงิน DekFinance
ทบทวนการจัดพอร์ตแบบ SAA และ TAA Asset Allocation เพื่อการเติบโตระยะยาว และ capture ผลตอบแทนระยะสั้น

ทบทวนการจัดพอร์ตแบบ SAA และ TAA Asset Allocation เพื่อการเติบโตระยะยาว และ capture ผลตอบแทนระยะสั้น

วันนี้ เด็กการเงิน ขอพาทุกคนไปรู้จักกับการจัดพอร์ตแบบ SAA และ TAA กัน นอกจาก Core-Satellite แล้ว อีกรูปการจัดพอร์ตการลงทุนที่เห็นได้มากและใช้กันทั่วโลก นั่นก็คือ Asset Allocation ซึ่งแบบ ออกได้ 2 ประเภท คือ

ทบทวนการจัดพอร์ตแบบ SAA และ TAA Asset Allocation เพื่อการเติบโตระยะยาว และ capture ผลตอบแทนระยะสั้น

1. Strategic Asset Allocation (SAA)

คือการจัดพอร์ตผสมสินทรัพย์ เพื่อลงทุนสร้างผลตอบแทนในระยะยาว

สามารถจัดตามช่วงอายุ หรือระยะที่ต้องการความมั่งคั่งมากน้อย เช่น ระยะสะสม ระยะมั่งคั่ง และระยะส่งต่อ (อุทิศ) ซึ่งแต่ละช่วงระยะมีความต้องการสร้างความมั่งคั่งที่ต่างกัน ดังนั้น ระยะความมั่งคั่งเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์การลงทุน SAA ของเราในระยะยาว

การผสมสินทรัพย์ อย่าง หุ้น บอนด์ และตราสารทางเลือก อย่าง ทองคำ น้ำมัน สินค้าโภคภัณฑ์และ REIT สามารถกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนได้ สินทรัพย์ทุกประเภทไม่มีผู้ชนะตลอดเวลา มีการเคลื่อนไหวของราคาที่ไม่สอดคล้องกัน ผลัดกันทำผลตอบแทนและขาดทุนได้
ดังนั้นการจัดพอร์ต จะทำให้ความผันผวนโดยรวมลดลง และสร้างผลตอบแทนได้ตามรอบระยะเศรษฐกิจขึ้นและลง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินทรัพย์อย่างหุ้นเป็นสินทรัพย์เสี่ยงที่สามารถให้ผลตอบแทนระยะยาวได้ (โดยการสร้างผลกำไรจากกิจการ นำมาปันผล หรือสร้างกิจการให้เติบโตได้) เป็นสัดส่วนที่ควรนำมาพิจารณาลำดับแรก ๆ ว่า ถ้าเราต้องการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว 5-10 ปีขึ้นไป ดังนั้นสำหรับระยะสะสมและระยะมั่งคั่ง การเลือกลงทุนในหุ้นเป็นสัดส่วนที่มากหน่อย จะสร้างผลตอบแทนได้ และระยะเวลาที่นานพอจะทำให้เราปล่อยวางจากการลงทุนได้ แม้ในยามตลาดขาลง

2. Tactical Asset Allocation (TAA)

เมื่อเราสามารถจัดสัดส่วน SAA ได้แล้ว บางคนมีความสามารถในการวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจดี หรือมีความเชี่ยวชาญในการจับจังหวะตลาด อาจจะใช้ TAA หรือ การทำ tactical ของสัดส่วนสินทรัพย์ในช่วงเวลาสั้น ๆ เช่น 1 ปี หรือ 1 ปีครึ่ง เพื่อสร้างผลตอบแทนระยะสั้น

เราสามารถนำปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่นอัตราการเติบโตของหุ้นและประเทศที่ลงทุน อัตราเงินเฟ้อ นโยบายการเงิน การเมือง มาปรับสัดส่วนออกจาก SAA ได้ แต่ไม่มากเกินไป เช่นสูงสุด 20-30% เป็นต้น

เราขอย้ำว่าคนที่จะทำ TAA ได้นั้นจะต้องเข้าใจภาพรวมของเศรษฐกิจดีพอสมควร และต้องรู้ด้วยว่าการลงทุนของเรามาถูกทางหรือไม่ เพื่อจะได้เปลี่ยนได้ทันเวลา ดังนั้นแม้จะมีข้อดีคือ สร้างโอกาสผลตอบแทนระยะสั้น แต่ข้อเสียคือ อาจสูญเสียโอกาสหากคาดการณ์ผิด

ดังนั้นถ้าจะลองทำ TAA ควรลองทำด้วยสัดส่วนเล็กน้อยก่อน เช่นไม่เกิน 10% ถ้าเก่งแล้วค่อยเพิ่มสัดส่วนในการทำ TAA

จากสถิติของนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ อยู่ที่การตั้ง Asset Alloction ให้เหมาะสมและมีวินัยในการลงทุนสูง อดทนรอให้เงินงอกเงยตามเป้าหมาย ลงทุนอย่างสบายใจ ผ่านรอบเศรษฐกิจขึ้นลงไปได้อย่างมั่นคง ซึ่งถ้าเราคิดว่าวางเงินไว้ถูกที่แล้ว เราก็ต้องวางใจให้มันทำงานด้วยนะ 

เด็กการเงิน DekFinance

ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/DekFinance101/photos/a.110145077669631/614638650553602/


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ทศวรรษที่หายไป VS ทศวรรษแห่งความรุ่งโรจน์

Dr.Niwes Hemvachiravarakorn
ทศวรรษที่หายไป VS ทศวรรษแห่งความรุ่งโรจน์
วันที่ 19 พ.ค. 2566 ดัชนีตลาดหุ้นไทยลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 1,515 จุด เทียบกับดัชนีเมื่อสิ้นเดือน พ.ค.ปี 2556 หรือเมื่อ 10 ปีที่แล้วที่ 1,562 จุด ก็แสดงว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้นไม่ได้ปรับขึ้นเลย ถือว่าเป็น “Lost Decade” หรือ “ทศวรรษที่หายไป”
ในวันเดียวกัน ดัชนีนิกเกอิของตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นเป็น 30,808 จุด แตะจุดสูงสุดในรอบ 33 ปี และเมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีย้อนหลังไปประมาณ 10 ปี คือในวันที่ 1 ก.ค. 2555 หรือ 2012 ที่ 8,870 จุด ดัชนีก็ปรับตัวขึ้นไป 247% คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นถึงปีละ 12% นับว่าเป็น “ทศวรรษทอง” ของตลาดหุ้นญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของญี่ปุ่นที่อยู่ที่ประมาณ 0-1% ในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนั้น ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันนี้ก็สูงถึง 18% และน่าจะเป็นผลตอบแทนที่ดีที่สุดในโลกตลาดหนึ่ง

อะไรทำให้ดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่นในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาดีเยี่ยมอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในรอบ 20 ปีก่อนหน้านั้น? คำตอบของผมเป็นเรื่องของ “การเมือง” ซึ่งจะเชื่อมโยงถึงตลาดหุ้นไทยที่เราเองกำลังมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

ในวันที่ 1 ต.ค. 1979 หรือประมาณ 44 ปี ที่แล้ว เศรษฐกิจและประเทศญี่ปุ่นกำลังเติบโตอย่างแรง ญี่ปุ่นกำลัง “ครองโลก” ในด้านของเทคโนโลยีการผลิตและกลยุทธ์การบริหารธุรกิจที่โดดเด่น เช่น เรื่องของการบริหารสินค้าคงคลังแบบ “Just in Time” ของโตโยต้า เป็นต้น “ถนนทุกสาย” ในเวลานั้นต่างก็มุ่งสู่ญี่ปุ่น คนอเมริกันต่างก็กลัวว่าญี่ปุ่นกำลังจะ “แซงหน้า”สหรัฐที่กำลัง “ถดถอย” อานิสงส์จากสงครามเวียดนามและภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรง

ตลาดหุ้นญี่ปุ่นบูมอย่างหนักเช่นเดียวกับทรัพย์สินสำคัญอย่างที่ดินที่มีราคาขึ้นสูง แค่โตเกียวเมืองเดียวก็อาจจะมีมูลค่ามากกว่ารัฐที่ใหญ่ที่สุดอย่างแคลิฟอร์เนีย เป็นต้น ภายใน 10 ปี ดัชนีนิกเกอิเพิ่มขึ้นจาก 6,569 จุด เป็น 38,916 จุด ในวันที่ 1 ต.ค. 1989 และก็เป็นจุดสูงสุดที่ถึงวันนี้ก็ยังไม่ผ่าน ผลตอบแทนในช่วง 10 ปีคือ 492% หรือคิดเป็นผลตอบแทนแบบทบต้นปีละประมาณ 17.6% เป็นทศวรรษ “เพชร” ที่หาได้ยากมากในตลาดหุ้นระดับโลก

หลังจากนั้น ดัชนีก็เริ่ม “ดิ่งเหว” สังคมญี่ปุ่นเริ่มแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ หายไป สินค้าที่ถูกผลิตอย่าง “สมบูรณ์แบบ” ที่คนญี่ปุ่นทำได้ดีมากถูกแทนที่ด้วยสินค้าใหม่ ๆ ที่ถูกออกแบบให้ผู้บริโภคนิยมในราคาที่ต่ำลง  สินค้ายุคใหม่ที่เกิดจากการ “ปฎิวัติดิจิทัล” และความคิดสร้างสรรค์ของ “เด็ก” เข้ามาแทนที่สินค้าอุตสาหกรรมและบริการแบบเดิม โดยที่สังคมและคนญี่ปุ่นที่ค่อนข้าง “อนุรักษ์นิยม” ไม่สามารถจะตามทัน

ดัชนีนิกเกอิในช่วง 10 ปีหลังจากนั้นคือในวันที่ 1 ต.ค. 1999 ลดลงมาเหลือ 18,934 จุด หรือลดลงมาถึง 51.3% ตลาดหุ้นแทบจะเป็น “นรก”  ของนักลงทุน แต่นั่นก็ยังไม่พอ เพราะเศรษฐกิจก็ยังไม่มีวี่แววที่จะฟื้น เวลาผ่านไปอีก 10 ปี ดัชนีในวันที่ 1 ต.ค. 2009 ลดลงมาอีกเหลือเพียง 10,546 จุด หรือตกลงไปอีก 44.3% รวมแล้วภายในเวลา 20 ปี ดัชนีนิกเกอิลดลงจาก 38,916 เหลือ 10,546 หรือลดลง 72.9% เงิน 100 เยน “ลงทุนระยะยาว” ในตลาดหุ้นโตเกียวเป็นเวลา 20 ปี เหลือเฉลี่ยเพียง 27 เยน หุ้นญี่ปุ่น “ตายแล้ว” เช่นเดียวกับเศรษฐกิจและประเทศญี่ปุ่นที่ไม่รู้จะทำอย่างไรหรือจะไปทางไหน และก็เช่นเดียวกับคนญี่ปุ่นที่แก่ตัวลงมากและดู “ไม่มีอนาคต”

แต่แล้ว ในปี 2012 ชินโซะ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีที่ “หนุ่มที่สุด” ที่เคยเป็นในปี 2006-2007 และลาออกไป เพราะโรคกระเพาะ ก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในการเลือกตั้งที่เกิด “แลนด์สไลด์” และเขามาพร้อมกับการ “เปลี่ยนแปลง” ครั้งใหญ่ของสังคมญี่ปุ่น เขาประกาศนโยบาย “ธนู 3 ดอก” ที่จะกระตุ้นและสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ซบเซามานานมาก

ดอกแรกก็คือ นโยบายทางการเงินจะต้องผ่อนคลายและอัตราเงินเฟ้อจะต้องขึ้นไปอยู่ที่ 2% ต่อปี มีการปั๊มเงินเข้าสู่ระบบมหาศาล เงินเยนอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว และตลาดหุ้นก็วิ่งขึ้นไปถึง 70% ในเวลาเพียงปีเดียว

ธนูดอกที่สองคือนโยบายการคลัง มีการอัดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการสร้างสาธารณูปโภค เงินช่วยเหลือ SME และให้สิทธิประโยชน์กับการลงทุน เพื่อที่จะทำให้ GDP โตขึ้นเป็น 2% ต่อปี พูดง่าย ๆ เขาเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเหนือกว่าเรื่องของเสถียรภาพทางการเงินของรัฐบาล เขาคิดว่าถ้าเศรษฐกิจไม่โต ความมั่นคงทางการคลังก็ไม่มี

ธนูดอกที่สาม ก็คือ กลยุทธ์การเติบโตและการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่นการเปิดเสรีทางการค้าและการทำสนธิสัญญาทางการค้าขนาดใหญ่ เช่น TPP ซึ่งอาจจะจำเป็นที่จะต้องเปิดตลาดทางด้านสินค้าเกษตรที่ไม่สามารถแข่งขันได้ เป็นต้น นอกจากนั้น เขาก็พยายามให้ผู้หญิงเข้ามาในตลาดแรงงานมากขึ้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็น “สิ่งใหม่” ในสังคมของญี่ปุ่น

และทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวถึงนั้น ทำให้คนเรียกแนวทางเศรษฐกิจนี้ว่าเป็น “อาเบะโนมิกซ์” และในทางส่วนตัวเขาเองก็พยายามทำตัวให้ทันสมัยเป็นแนว “คนรุ่นใหม่” ที่มี “เสื้อผ้าหน้าผม” ที่คนระดับนายกจะไม่ทำกันในสังคมอนุรักษ์นิยมแบบญี่ปุ่น

นายกรัฐมนตรีอาเบะได้รับการเลือกตั้งอีกหลายครั้งประมาณ 4 สมัย และเป็นนายกที่อยู่นานน่าจะที่สุดในยุคหลังสงครามโลก และลาออกในปี 2020 เพราะโรคกระเพาะกลับมาคุกคามอีกครั้ง จนกระทั่งถูกยิงเสียชีวิตเมื่อปีที่แล้วในระหว่างการช่วยหาเสียงเลือกตั้งให้พรรค

ช่วงตั้งแต่อาเบะเป็นนายกในปี 2012 จนถึงวันนี้ ดูเหมือนว่าญี่ปุ่นจะดูดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 20 ปีก่อนหน้านั้นแม้ว่าคนญี่ปุ่นจะแก่ตัวไปอีกมากก็ตาม ผมเองไม่รู้ว่ามาจากนโยบายของ “รัฐบาล” เป็นหลักหรือไม่ แต่ก็หาเหตุผลอื่นไม่ได้

กลับมาที่ประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจาก “รัฐบาลที่มาจากทหาร” ของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มาเป็นรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ ในปี 2531 จนถึงปี 2534 นั้น นายกชาติชายได้ประกาศ “แนวทางใหม่” ของประเทศ จากการที่เคยสู้รบกับเพื่อนบ้านมาเป็น “ทำสนามรบให้เป็นสนามการค้า” คือค้าขายกับเพื่อนบ้าน และเปลี่ยนนโยบายประเทศมาเป็นแบบ “ทุนนิยมเสรี” เต็มที่ ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนและเป็น “มิตรกับนักธุรกิจ” ว่าที่จริงคณะรัฐมนตรีที่เป็นผู้นำพรรคการเมืองนั้นต่างก็มาจากนักธุรกิจหรือเป็นคนที่มีนักธุรกิจสนับสนุนในการเลือกตั้งจำนวนมาก

ช่วงระหว่างการบริหารงานของรัฐบาลชาติชายนั้น ประเทศไทยยึดหลักการเป็นตลาดทุนนิยมเสรีมาก มีการเปิด “เสรีทางการเงิน” อนุญาตให้เงินต่างประเทศไหลเข้าออกแบบเสรีซึ่งรวมถึงการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นด้วย ผลก็คือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปรับตัวขึ้นอย่างแรง ช่วงหนึ่งเคยปรับจากประมาณ 320 จุด เป็น กว่า 1,100 จุด หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 250% ในเวลาเพียง 2.5 ปี คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละถึง 65% และนี่ก็น่าจะเป็นผลจากนโยบายใหม่ของรัฐบาลที่ “Pro Business” หรือสนับสนุนธุรกิจเอกชนและเปิดตลาดเสรีมากขึ้น

ช่วงเวลาขณะนี้ที่ประเทศไทยมีการเลือกตั้งและกำลังเปลี่ยนรัฐบาลที่มีนโยบายแตกต่างจากเดิมค่อนข้างมาก แต่ดูเหมือนว่าตลาดหุ้นจะไม่ตอบสนองในทางที่ดีอย่างกรณีของประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว หรืออย่างในกรณีของช่วงนายกชาติชายเมื่อ 35 ปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม นี่เพียงเพิ่งจะเริ่มต้นไม่กี่วัน อนาคตอีก 2-3 เดือนเมื่อตั้งรัฐบาลเสร็จหรืออีก 1-2 ปี ข้างหน้า เราก็จะรู้ว่านโยบายหรือการปฏิบัติจะเป็นอย่างไรและจะตอบสนองต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศแค่ไหน

ในระหว่างนี้ผมคิดว่าผู้ที่จะรับผิดชอบประเทศต่อไป ก็ควรจะดูสัญญาณจากดัชนีตลาดหุ้นว่า สิ่งที่จะทำนั้นจะมีผลบวกหรือเป็นลบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวแค่ไหน อย่าคิดว่าตลาดหุ้นนั้น เป็นเสียงของคนส่วนน้อย เพราะนี่เป็นเสียงของคนที่เป็นหรืออยู่ในศูนย์กลางของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่สามารถทำนายได้ว่าอนาคตของเศรษฐกิจไทยจะไปทางไหน ถ้าหุ้นขึ้นก็มักจะแปลว่านโยบายหรือสถานการณ์ไปถูกทาง ถ้าหุ้นลงก็เป็นตรงกันข้าม

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

News Update: นักลงทุนหาหลุมหลบภัย แห่ย้ายเงินลงทุนในตลาดเกิดใหม่ (EM) หลังมีความเสี่ยงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ‘ถดถอย’

THE OPPORTUNITY
News Update: นักลงทุนหาหลุมหลบภัย แห่ย้ายเงินลงทุนในตลาดเกิดใหม่ (EM) หลังมีความเสี่ยงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ‘ถดถอย’

ผลสำรวจของ Markets Live Pulse รายงานว่า นักลงทุนเพิ่มเดิมพันในตลาดเกิดใหม่ เพราะกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเกิดภาวะถดถอย

61% ของกลุ่มสำรวจจำนวน 234 ราย ที่ประกอบไปด้วยผู้จัดการการเงิน นักวิเคราะห์ และเทรดเดอร์ คาดว่าจะ ‘เพิ่ม’ การลงทุนในสินทรัพย์ของตลาดเกิดใหม่ (EM) ในอีก 12 เดือนข้างหน้า เพื่อเป็นหลุมหลบภัย หาก Fed ยังขึ้นดอกเบี้ยต่อเพื่อสู้กับเงินเฟ้อซึ่งจะกดดันให้เศรษฐกิจถดถอย

Justin Leverenz ผู้จัดการกองทุน Invesco Developing Markets Fund ซึ่งเป็นหนึ่งในกองทุนหุ้นเกิดใหม่รายใหญ่ที่มีผลประกอบการดีที่สุดในโลกในปีนี้ กล่าวว่า ปัจจุบัน เศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนา มีความยืดหยุ่นกว่าเมื่อ 30 ปีที่แล้ว และธนาคารกลางของประเทศเหล่าานี้มีมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการกับการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว

“ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่เศรษฐกิจ EM จะฟื้นตัวได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังถูกละเลยจากนักลงทุนทั่วโลกเกือบทั้งหมด” Justin Leverenz กล่าว

49% ของผู้ตอบแบบสำรวจมองว่า แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ อาจจะทำให้มูลค่าของสินทรัพย์เกิดใหม่ลดลง แต่การเติบโตพื้นฐานและมูลค่าที่น่าดึงดูดใจจะยังคงช่วยให้ทำผลงานได้ดีกว่าคู่แข่งที่เติบโตเต็มที่แล้ว

ที่มา: https://www.bloomberg.com/news/articles/2023-05-21/investors-seek-shelter-in-emerging-markets-as-recession-risk-hits-us?srnd=premium-asia&sref=e4t2werz 

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน

ถึงเวลาปรับพอร์ต: ปรับพอร์ตตราสารหนี้รับเงินเฟ้อเข้าสู่กรอบ และ Rebalance GGG

FINNOMENA Investment Team
ปรับพอร์ต FINNOMENA

นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ภาวะการลงทุนยังคงเต็มไปด้วยความผันผวนอย่างต่อเนื่อง อาทิ จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลัก ๆ ทั่วโลก เพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้ลดลงสู่ระดับเป้าหมาย การเกิดปัญหาสภาพคล่องและยื่นล้มละลายของธนาคารระดับภูมิภาค (Regional Bank) ในสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นต่อธนาคารชั้นนำในยุโรปอย่าง Credit Suisse ท่ามกลางความกังวลเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลให้การลงทุนในตราสารหนี้น่าสนใจขึ้นอย่างมาก ทั้งในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน และในฐานะสินทรัพย์สภาพคล่องสูง เพื่อคว้าโอกาสการลงทุนในอนาคต

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 1: อัตราเงินเฟ้อไทย และเป้าหมายของกนง. Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 17/05/2023

เมื่อพิจารณาถึงอัตราเงินเฟ้อของไทยล่าสุด 2.67% YoY ที่อยู่ในระดับเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) 1-3% บ่งชี้ว่าแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งสร้างแรงกดดันต่อตราสารหนี้ใกล้สิ้นสุดลง สอดคล้องกับท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในการเปิดเผยรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา ที่ไม่ Hawkish เช่นเดิม หนุนให้การถือครองตราสารหนี้ที่มี Duration ยาวน่าสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 2: อัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยและสหรัฐฯ (กรอบบน) Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 17/05/2023

FINNOMENA Investment Team ซึ่งยังคงแนะนำคงสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นในฐานะสินทรัพย์สภาพคล่องสูง ในหลากหลายพอร์ตการลงทุน อาทิ GAR, GIF, GCP และ RIS เพื่อคว้าโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม จึงแนะนำปรับเปลี่ยนกองทุนตราสารหนี้ให้มี Yield และ Duration สูงมากขึ้น เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และแรงกดดันด้านอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ขณะที่รอจังหวะการลงทุนในอนาคต

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 3: สัดส่วนการลงทุนของ KKP S-PLUS Source: KKPAM as of 31/03/2023

โดยกองทุนที่เราแนะนำคือ KKP S-PLUS ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่อาจพิจารณาลงทุนได้ทั้งตราสารหนี้ภาครัฐ และหรือรัฐวิสาหกิจ และหรือเอกชน และหรือตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน  และหรือหน่วยลงทุนของกองทุนที่มีนโยบายที่กองทุนนี้สามารถลงทุนได้ และหรือเงินฝากและหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก  และหรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดหรืออนุญาต/เห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้ โดยรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน กองทุนลงทุนอาจพิจารณาลงทุนได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ การพิจารณาลงทุนของกองทุนจะเป็นไปตามดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน

มีจุดเด่นคือมีผลการดำเนินงานสม่ำเสมอ และมี Duration ตราสารหนี้ที่สูงมากขึ้นกว่าเดิม ช่วยเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนให้สูงขึ้น สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน ในขณะเดียวกันผู้จัดการกองทุนก็ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงของพอร์ตจึงทำให้กองทุนมี Maximum drawdown ที่ต่ำ

ปรับพอร์ต FINNOMENA

  • แนะนำลดสัดส่วน KFSPLUS-A 10% (ทั้งหมด)
  • แนะนำเพิ่มสัดส่วน KKP S-PLUS 10%

FINNOMENA Investment Team ยังคงติดตามสถานการณ์การลงทุนทั่วโลกอย่างใกล้ชิด เพื่อเสาะหาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม ด้วยเงินลงทุนที่พักชั่วคราวในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นอย่าง KFSPLUS-A

อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนที่สูงจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย เมื่อประกอบกับแนวโน้มเงินเฟ้อที่ชะลอตัว ท่าทีของธนาคารกลางที่จะหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้การถือครองตราสารหนี้ที่มี Duration สูงขึ้นมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำสับเปลี่ยนไปยังกองทุน KKP S-PLUS เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนสูงสุดจากการพักเงินชั่วคราว แต่ยังคงสภาพคล่องในระดับสูงเพื่อให้ไม่พลาดโอกาสการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ปรับพอร์ต FINNOMENA

  • แนะนำลดสัดส่วน KFSPLUS-A 20% (ทั้งหมด)
  • แนะนำเพิ่มสัดส่วน KKP S-PLUS 20%

FINNOMENA Investment Team ยังคงติดตามสถานการณ์การลงทุนทั่วโลกอย่างใกล้ชิด เพื่อเสาะหาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม ด้วยเงินลงทุนที่พักชั่วคราวในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นอย่าง KFSPLUS-A 

อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนที่สูงจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย เมื่อประกอบกับแนวโน้มเงินเฟ้อที่ชะลอตัว ท่าทีของธนาคารกลางที่จะหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้การถือครองตราสารหนี้ที่มี Duration สูงขึ้นมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำสับเปลี่ยนไปยังกองทุน KKP S-PLUS เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนสูงสุดจากการพักเงินชั่วคราว แต่ยังคงสภาพคล่องในระดับสูงเพื่อให้ไม่พลาดโอกาสการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ปรับพอร์ต FINNOMENA

  • แนะนำลดสัดส่วน KFSPLUS-A 10% (ทั้งหมด)
  • แนะนำเพิ่มสัดส่วน KKP S-PLUS 10%

FINNOMENA Investment Team ยังคงติดตามสถานการณ์การลงทุนทั่วโลกอย่างใกล้ชิด เพื่อเสาะหาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม ด้วยเงินลงทุนที่พักชั่วคราวในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นอย่าง KFSPLUS-A 

อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนที่สูงจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย เมื่อประกอบกับแนวโน้มเงินเฟ้อที่ชะลอตัว ท่าทีของธนาคารกลางที่จะหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้การถือครองตราสารหนี้ที่มี Duration สูงขึ้นมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำสับเปลี่ยนไปยังกองทุน KKP S-PLUS เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนสูงสุดจากการพักเงินชั่วคราว แต่ยังคงสภาพคล่องในระดับสูงเพื่อให้ไม่พลาดโอกาสการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ปรับพอร์ต FINNOMENA

  • แนะนำลดสัดส่วน KFSPLUS-A 17% (ทั้งหมด)
  • แนะนำเพิ่มสัดส่วน KKP S-PLUS 17%

FINNOMENA Investment Team ยังคงติดตามสถานการณ์การลงทุนทั่วโลกอย่างใกล้ชิด เพื่อเสาะหาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม ด้วยเงินลงทุนที่พักชั่วคราวในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นอย่าง KFSPLUS-A

อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนที่สูงจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย เมื่อประกอบกับแนวโน้มเงินเฟ้อที่ชะลอตัว ท่าทีของธนาคารกลางที่จะหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้การถือครองตราสารหนี้ที่มี Duration สูงขึ้นมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำสับเปลี่ยนไปยังกองทุน KKP S-PLUS เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนสูงสุดจากการพักเงินชั่วคราว แต่ยังคงสภาพคล่องในระดับสูงเพื่อให้ไม่พลาดโอกาสการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

GGG

ขณะที่พอร์ต Next-Generation Global Growth (GGG) ซึ่งเป็นพอร์ตการลงทุนแบบ Fully Invested หรือลงทุนในหุ้น 100% ตลอดเวลา แต่ควบคุมความเสี่ยงด้วยการกระจายการลงทุนในหลากหลายธีม และจัดสัดส่วนด้วย Minimum Volatility Optimization นั้น ถูกกำหนดให้ต้องทบทวนพอร์ตทุก ๆ 6 เดือน ในหลากหลายแง่มุม อาทิ สมมติฐานการลงทุนว่าธีมเหล่านั้นยังเหมาะสมแก่การลงทุนในระยะยาวหรือไม่, กองทุนที่แนะนำลงทุนยังเหมาะสมหรือไม่ และ  Minimum Volatility Optimization แนะนำจัดสัดส่วนการลงทุนใหม่เช่นไร เพื่อให้มั่นใจได้ว่า GGG จะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว จากการถือครองหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูงตามธีมการลงทุนแบบต่างๆ บนความเสี่ยงที่เหมาะสมอยู่เสมอ

ซึ่ง FINNOMENA Investment Team ได้ตรวจสอบทุกแง่มุมแล้วพบว่า 10 ธีมการลงทุนของพอร์ตยังเหมาะสมแก่การลงทุนในระยะยาว แต่จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้บางปัจจัย อาทิ Valuation, ความผันผวน, ผลตอบแทนที่คาดหวัง และมุมมองเปลี่ยนแปลงไปบางส่วน จึงแนะนำปรับสัดส่วนการลงทุนดังนี้

ปรับพอร์ต FINNOMENA

  • แนะนำลดสัดส่วน MRENEW-A 2%
  • แนะนำลดสัดส่วน UHERO 1%
  • แนะนำลดสัดส่วน KKP SEMICON-H 1%
  • แนะนำเพิ่มสัดส่วน TMB-ES-STARTECH2%
  • แนะนำเพิ่มสัดส่วน LHCYBER-A 2%

GGG (Next-Generation Global Growth) ยังคงถือครองสินทรัพย์ที่มีโอกาสเติบโตสูงในระยะยาว ด้วยกลยุทธ์การลงทุนแบบ Fully Invested พร้อมด้วยการลดความผันผวนผ่านทาง Minimum Volatility Optimization  ซึ่งจะช่วยจัดสรรน้ำหนักการลงทุนที่มีความผันผวนน้อยที่สุด บนผลตอบแทนคาดหวังที่เท่ากัน

เมื่อประกอบกับสถานการณ์การลงทุนที่มีความผันผวนสูง ส่งผลให้หลากหลายปัจจัย อาทิ Valuation ของสินทรัพย์, ความผันผวน หรือ ผลตอบแทนที่คาดหวังอาจเปลี่ยนแปลงไปบางส่วน ซึ่งส่งผลให้ Minimum Volatility Optimization แนะนำให้เปลี่ยนแปลงน้ำหนักการลงทุน FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำปรับพอร์ต เพื่อรักษาจุดสมดุลของพอร์ต ลดความเสี่ยงในระยะยาว


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299