รับชมบน YouTube: https://youtu.be/D6SeCbmQlNs
ปี 2022 เป็นอีกปีที่ขรุขระที่สุดของตลาด Crypto โดยเฉพาะประเด็นที่หลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Crypto ไม่ว่ารายเล็กหรือใหญ่ต่างก็จ่อคิวยื่นล้มละลายเป็นแถบ ๆ มาลองดูกันว่าเมื่อบริษัท Crypto ล้มละลายจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในคลิปนี้
พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website
ในภาวะที่สินทรัพย์การลงทุนต่าง ๆ ยังไม่สามารถกลับมาทำผลงานได้ดีเหมือนเคยจากปัจจัยรอบด้านทั้งเงินเฟ้อ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งสูง ทำให้นักลงทุนรู้สึกเหมือนเจออุปสรรคในการเสริมสร้างความมั่งคั่งไม่น้อย
ข่าวดีคือยังมีสินทรัพย์บางประเภท เช่น สินทรัพย์นอกตลาด (Private Asset) ไปจนถึงสินทรัพย์ที่มีการซื้อขายในตลาดแลกเปลี่ยนอื่น ๆ แต่ไม่ได้เคลื่อนไหวสัมพันธ์กับสินทรัพย์ทั่วไป ที่เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการสร้างผลตอบแทนเหนือตลาด โดยนักลงทุนสามารถเข้าถึงสินทรัพย์เหล่านี้ได้ผ่านกองทุนรวม UI หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra Accredited Investor Mutual Fund)
กองทุน UI หรือ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra Accredited Investor Mutual Fund) เป็นกองทุนสำหรับผู้ลงทุนในกลุ่ม Ultra High Net Worth ตามนิยามของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่มีสินทรัพย์ตามจำนวนขั้นต่ำและมีความรู้หรือประสบการณ์
กองทุน UI คือโอกาสที่หาไม่ได้จากการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วไป เพราะหลายกองทุนมักจะมีการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก เช่น การซื้อขายกรมธรรม์ประกันชีวิต ปริวรรตเงินตรา หุ้นนอกตลาด อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่ REITs นอกเหนือจากสินทรัพย์ทั่วไปอย่างหุ้นหรือตราสารหนี้ ทำให้กองทุน UI เป็นทางเลือกที่ดีในการต่อยอดความมั่งคั่งด้วยการกระจายการลงทุนไปสู่โอกาสใหม่ ๆ ที่หาไม่ได้จากการลงทุนทั่วไป
ทำความรู้จักสินทรัพย์ทางเลือกโดยละเอียดได้ที่
4 สินทรัพย์ทางเลือกมาแรง อยากแซงตลาดต้องรู้จัก
ข้อดีของการลงทุนในกองทุน UI เพื่อเข้าถึงสินทรัพย์ทางเลือกชนิดต่าง ๆ คือ การได้ผลตอบแทนที่ดีภายใต้ความผันผวนที่ต่ำกว่า เนื่องจากสินทรัพย์หลายชนิดไม่ได้ถูกซื้อขายในตลาดจึงทำให้ราคาเคลื่อนไหวตามปัจจัยพื้นฐาน นอกจากนี้ แม้สินทรัพย์บางชนิดจะถูกซื้อขายในตลาด เช่น สกุลเงิน แต่ก็มีความสัมพันธ์กับสินทรัพย์พื้นฐานที่เป็นลบ (ราคาเคลื่อนไหวสวนทางกัน) จึงช่วยลดความเสี่ยงภาพรวมของพอร์ตการลงทุนได้ดีที่สุด
ข้อดีอีกอย่างของกองทุน UI คือ การช่วยกระจายความเสี่ยง หากลองดูตารางจะเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า สินทรัพย์ทางเลือกเป็นเครื่องมือที่ดีในการกระจายการลงทุนออกจากหุ้นและพันธบัตรเนื่องจากสินทรัพย์ทางเลือกมีความสัมพันธ์ หรือ Correlation กับสินทรัพย์พื้นฐานต่ำ ไปจนถึงเคลื่อนไหวสวนทาง อย่างที่ได้อธิบายถึงสกุลเงินไปแล้วข้างต้น
ทั้งนี้ Correlation ระหว่างสินทรัพย์สองชนิดจะอยู่ระหว่าง -1 (ขึ้นลงสวนทาง), 0 (ไม่สัมพันธ์กัน) ไปจนถึง 1 (ขึ้นลงเหมือนกัน)
ตารางแสดงผลตอบแทนต่อปีย้อนหลังและ Correlation ต่อสินทรัพย์พื้นฐาน ของกองทุนตัวอย่างที่ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกแต่ละประเภท
Source: FINNOMENA as of 16/3/2023
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
*กองหลักตัวอย่างอาจหมายถึงกองทุนหลักในต่างประเทศหรือกองทุนอื่นที่บริหารจัดการด้วยผู้จัดการกองทุนรายเดียวกันด้วยกลยุทธ์ที่เหมือนหรือใกล้เคียงกับกองทุนหลักที่เข้าไปลงทุน แต่อาจมีผลการดำเนินการที่ยาวกว่าหรือ share class ต่างกัน โดยพยายามคัดสรรตัวอย่างจากทางเลือกที่ให้ track record ของผลตอบแทนในอดีตที่ยาวที่สุด ผลตอบแทนในสกุลเงินของกองทุนหลักตัวอย่าง และยังไม่รวมค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆของระดับกองทุนในไทย
กองทุน UI จะช่วยเปิดประสบการณ์การลงทุนเหนือระดับในสินทรัพย์ทางเลือก โดยจะเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะสำหรับนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth) เท่านั้น โดยในกรณีของบุคคลธรรมดา จะต้องเข้าเกณฑ์ ข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้ คือ
และในกรณีของนิติบุคคล จะต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท หรือ มีเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท (บัญชีหลักทรัพย์) หรือ มีเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท (บัญชีหลักทรัพย์รวมบัญชีเงินฝาก)
นอกจากจะผ่านเกณฑ์เรื่องฐานะการเงินแล้ว ผู้ที่สนใจจะลงทุนในกองทุน UI จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้หรือประสบการณ์มากเพียงพอกับการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก โดยจะต้องเข้าเกณฑ์ ข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้ คือ
ซึ่งหากไม่เข้าตามเกณฑ์ข้อ 1-6 นี้ จะต้องผ่านการบรรยายและแบบทดสอบทุกกองทุนก่อนซื้อตามที่กำหนด จึงจะสามารถลงทุนในกองทุน UI ได้
ทั้งนี้ เนื่องจากกองทุน UI หลายกองทุนจะเป็นกองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือกที่มีความเสี่ยงระดับ 8+ (ความเสี่ยงสูงมากอย่างมีนัยสำคัญ) เนื่องจากมีการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกที่มีความเฉพาะเจาะจงที่ต้องอาศัยความเข้าใจในตัวสินทรัพย์จึงมีการกำหนดเกณฑ์ด้านฐานะการเงินไปจนถึงความรู้และประสบการณ์
ในปัจจุบัน มีกองทุน UI จากบลจ. ต่าง ๆ ในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 46 กองทุน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2023) โดยแต่ละกองก็มีนโยบายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายแตกต่างกันไปอย่างที่ได้เล่าถึงไปแล้วข้างต้น ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่สนใจสับสนเนื่องจากมีทางเลือกจำนวนมากและแต่ละทางก็ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจเนื่องจากไม่ได้เป็นสินทรัพย์กระแสหลักที่ถูกพูดถึงอย่างแพร่หลาย
FINNOMENA คือผู้เชี่ยวชาญในการคัดเลือกกองทุน UI ซึ่งปัจจุบันมีเสนอขายอย่างหลากหลายในตลาด และด้วยคำแนะนำจาก FINNOMENA Investment Team ที่คัดเลือกกองทุน UI มาให้เป็นพิเศษ คุณจะไม่พลาดทุกโอกาสการลงทุน เสมือนมีทีมผู้เชี่ยวชาญมาคอยดูแลอยู่ข้าง ๆ
ลงทุนกองทุน UI ผ่าน FINNOMENA ดีอย่างไร
เปิดประสบการณ์ลงทุนใน Private Assets สำหรับ
Ultra-Accredited Investors (UIs)
เอกสิทธิ์แห่งการลงทุนที่หาไม่ได้ในสินทรัพย์ทั่วไป
ลงทะเบียนความสนใจ รับคำแนะนำบริการเฉพาะคุณได้ทันที เพียงกรอกข้อมูลให้ครบที่
https://www.finnomena.com/pick-ui-fund/
พิเศษ! ลงทุนกองทุน UI กับ FINNOMENA ตั้งแต่วันนี้ – 31 มีนาคม 2566 สามารถแลกรับส่วนลดค่าธรรมเนียม FINT Cashback สูงสุดถึง 20%
โดย FINT Cashback จะคืนเงินในรูปแบบของหน่วยลงทุนของกองทุนรวม K-CASH ซึ่งเป็นกองทุนรวมตลาดเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ ขายวันนี้ก็สามารถรับเงินเข้าบัญชีวันพรุ่งนี้ได้เลย (T+1) โดยศึกษาข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.kasikornasset.com/th/mutual-fund/fund-template/Pages/K-CASH.aspx
ศึกษารายละเอียดและแลก FINT Cashback ได้ที่
https://www.finnomena.com/fint/cashback
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 18 – 24 มี.ค. 2566 มีกองทุนไหนทำผลตอบแทนได้โดดเด่น และเป็นกองทุนยอดนิยมที่มีผู้ค้นหามากที่สุดบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน FINNOMENA บทความนี้จะขอพาผู้อ่านไปดูกันครับ
(ข้อมูลจาก FINNOMENA Fund Filter ณ วันที่ 24 มี.ค. 2566)
1. ASP-DIGIBLOC – กองทุนเปิด แอสเซทพลัส ดิจิทัล บล็อกเชน
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +14.42%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +35.77%
2. SCBBLOC(A) – กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Blockchain (ชนิดสะสมมูลค่า)
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +9.23%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +7.17%
3. TNEXTGEN-A – กองทุนเปิด ทิสโก้ Next Generation Internet ชนิดผู้ลงทุนทั่วไป
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +8.50%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD):+32.52%
ดูรายละเอียดกองทุนทั้ง 5 อันดับเพิ่มเติม: ASP-DIGIBLOC, SCBBLOC(A), TNEXTGEN-A, DAOL-CYBER, LHBLOCKCHAIN
หมายเหตุ: ข้อมูลหน่วยราคากองทุน อัปเดตล่าสุด เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2566 ข้อมูลผลตอบแทนบางกองทุนในหน้าจัดอันดับกองทุน อาจมีการแสดงผลตอบแทนที่แตกต่างจากแต่ละหน้ากองทุน เนื่องจากการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน (ซึ่งนับวันที่ในรอบสัปดาห์แตกต่างกัน)
ลงทุนกองไหนดี ? อ่านโพยกองทุน แนะนำกองทุนสำหรับลงทุนระยะยาว 3-5 ปี คลิก: https://finno.me/cheat-sheet-update
(ข้อมูลจาก FINNOMENA Fund Filter ณ วันที่ 24 มี.ค. 2566)
1. PRINCIPAL VNEQ-A : กองทุนเปิดพรินซิเพิล เวียดนาม อิควิตี้ ชนิดสะสมมูลค่า
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: -0.88%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): -2.52%
อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุนเวียดนาม ครบจบในที่เดียว!
ซื้อกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A คลิก
2. ONE-UGG-RA : กองทุนเปิด วรรณ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ หน่วยลงทุนชนิดไม่จ่ายเงินปันผล สำหรับผู้ลงทุนทั่วไป
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +2.23%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +10.08%
อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน ONE-UGG-RA : กองทุนหุ้นเติบโตทั่วโลก คว้าโอกาสแห่งอนาคต
3. MEGA10-A : กองทุนเปิด MEGA 10 ชนิดสะสมมูลค่า
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +2.51%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +15.35%
อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน MEGA10: โอกาสลงทุนใน 10 บริษัท ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก
ดูรายละเอียดกองทุนยอดนิยมเพิ่มเติม : PRINCIPAL VNEQ-A, ONE-UGG-RA, MEGA10-A, K-CASH, TMBGQG, UGIS-N, K-CHINA-A(A), B-INNOTECH, K-VIETNAM, SCBS&P500
ลงทุนกองไหนดี ? อ่านโพยกองทุน แนะนำกองทุนสำหรับลงทุนระยะยาว 3-5 ปี คลิก: https://finno.me/cheat-sheet-update
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
ธุรกิจธนาคารถือว่ามีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยขับเคลื่อนระบบการเงินให้ก้าวไปข้างหน้า รวมทั้งยังเป็นตัวสะท้อนทิศทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ดังที่เราจะเห็นว่าในหลาย ๆ ครั้ง เมื่อธนาคารเกิดปัญหาหรือมีความเปราะบาง ก็มักจะส่งผลกระทบไปสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ จนลุกลามเป็นวงกว้าง บางครั้งก็บานปลายกลายเป็นวิกฤติการณ์ทางการเงินระดับโลกได้เลย
บทความนี้ จึงอยากจะพาทุกคนไปรู้จักกับกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ระดับโลกที่ถูกเรียกว่า “Bulge Bracket” ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบการเงินโลก ด้วยความแข็งแกร่ง ความเก่าแก่ และความน่าเชื่อถือ ที่สำคัญคือนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ ก็มักจะมีจุดเริ่มต้นมาจาก 1 ใน 9 ของธนาคารเหล่านี้
ภาพจาก : BankingPrep
ผู้ให้บริการด้านการเงินการธนาคาร การลงทุน และการบริหารทรัพย์สิน ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งโดย John Pierpont Morgan ตั้งแต่ปี 1871 เดิมใช้ชื่อว่า Drexel, Morgan & Co ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น J.P. Morgan & Co. ในปี 1895 และล่าสุดกับชื่อ JPMorgan Chase ในปี 2000 หลังได้ควบรวมกิจการกับธนาคาร Chase Manhattan
เป็นอีกหนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ซึ่งมีรากฐานเดิมมาจากธนาคารแห่งอิตาลี (Bank of Italy) ที่ตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อนที่จะควบรวมกับธนาคารขนาดเล็กหลายแห่งในสหรัฐฯ จนเปลี่ยนชื่อเป็น Bank of America ในที่สุด ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างมาตรฐานการเงินใหม่ให้แก่ประเทศ
ธนาคารที่ก่อตั้งโดยกลุ่มพ่อค้าในนิวยอร์ก ตั้งแต่ปี 1812 ซึ่งผ่านร้อนผ่านหนาวมาร่วม 200 ปี ปัจจุบันให้บริการกับลูกค้ากว่า 160 ประเทศทั่วโลก
สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในสหราชอาณาจักร ก่อตั้งขึ้นในเมืองลอนดอนมาตั้งแต่ปี 1690 และยังเป็นธนาคารแห่งแรกของโลกที่มีการติดตั้งตู้เอทีเอ็ม ในปี 1967
ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1862 ในนครนิวยอร์ก เป็นหนึ่งในกลุ่มธนาคารเพื่อการลงทุนและกลุ่มหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนใหม่ ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง
สถาบันการเงินรายใหญ่ที่สุดของประเทศเยอรมนี ถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศเยอรมนีตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ก่อตั้งโดย Henry Sturgis Morgan ซึ่งเป็นหลานชายของ John Pierpont Morgan ที่แยกตัวออกไปเปิด Morgan Stanley ในปี 1935 และได้เติบโตเป็นเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านการลงทุนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
UBS มาจากคำว่า Union Bank of Switzerland ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งดำเนินธุรกิจมากว่า 161 ปี และเป็นคู่แข่งที่ขับเคี่ยวกับ Credit Suisse มาโดยตลอด กระทั่งล่าสุดที่บริษัทได้ปิดดีลซื้อกิจการคู่แข่งได้สำเร็จ ปิดฉากการแข่งขันอย่างยาวนาน
เคยเป็นธนาคารอันดับ 2 ของสวิตเซอร์แลนด์ ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 167 ปี อย่างไรก็ดี ช่วงหลังประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง ตลอดจนเผชิญวิกฤตสภาพคล่องครั้งใหญ่ จนต้องได้รับความช่วยเหลือจากคู่แข่งรายสำคัญอย่าง UBS ด้วยการเข้ามาซื้อกิจการ Credit Suisse ที่มูลค่า 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อยุติวิกฤตธนาคารล้ม
ทั้งนี้ หากเจาะลึกลงไปในรายละเอียด จะพบว่ารายได้หลักของแต่ละสถาบันทางเงินจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่โดยรวมแล้วจะมาจาก 3 ช่องทางหลัก ได้แก่ รายได้จาก Commercial และ Retail Banking ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าธรรมเนียม รายได้จาก Asset & Wealth Management คือค่าธรรมเนียมบริหารจัดการทรัพย์สินและเงินทุนของลูกค้า
และสุดท้าย รายได้จาก Corporate & Investment Banking หรือวาณิชธนกิจ เป็นรายได้ที่เกิดจากการให้บริการลูกค้าในระดับองค์กร เช่น การนำหุ้นเข้า IPO, การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน, การควบรวมกิจการ (M&A) เป็นต้น ซึ่งงานส่วนนี้มักจะตกเป็นของกลุ่ม Bulge Bracket ด้วยความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากองค์กรต่าง ๆ
Reference
คัดเลือกกองทุนอย่างเมพ ด้วยจังหวะขั้นเทพกับ “MEVT Call”
👉 ลงทุนใน MEVT Call คลิก >>> https://finno.me/mevt-web
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
คัดเลือกกองทุนอย่างเมพ ด้วยจังหวะขั้นเทพกับ “MEVT Call”
👉 ลงทุนใน MEVT Call คลิก >>> https://finno.me/mevt-web
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT
ในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ปรับตัวลดลง จากเรื่อง ปัญหาของธนาคาร (Bank Run) ทำให้นักลงทุนต่างกลัวว่าจะเกิดการล้มกันเป็นลูกโซ่ของธนาคารขนาดเล็กและกลาง
แต่มุมมองของ Bottomliner นั้นวิกฤตธนาคารไม่น่าห่วงเท่าไหร่ เนื่องจาก ธนาคารกลางหลายประเทศรวมถึง FED เข้ามาช่วยเหลือได้เร็วและตรงจุด เช่น การเพิ่มสภาพคล่องให้ธนาคาร รวมถึงรับกระกันบัญชีเงินฝากให้แก่ธนาคารที่ล้มไปแล้ว เป็นต้น ซึ่งการแก้ปัญหาตรงนี้ ทำให้ธนาคารมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะให้ลูกค้าถอนเงินได้ และยังกลับมาเชื่อมั่นในการฝากเงินที่ธนาคารอยู่
นอกจากนี้ตัวแทนรัฐบาลทั้งในสหรัฐและยุโรปยังคอยแถลงว่าพร้อมจะเพิ่มความช่วยเหลืออีกถ้าปัญหาบานปลาย
จากปัญหาสภาพคล่องของธนาคาร ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนั้น ทำให้ FED ไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยแรงต่อได้แล้วแต่จะเปลี่ยนเป็นการที่ค้างสูงไว้นานพอจะเห็นสัญญาณการลดลงของเงินเฟ้อแทน ซึ่งลดความเสี่ยงที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยไปอีกเยอะๆ
ในตอนนี้กลยุทธ์ OMO ของเรายังเลือกลงทุนใน Semiconductor และ Clean Energy ในสหรัฐฯ และจีน เป็นหลัก
เนื่องจากกลุ่ม Semiconductor ที่เพิ่มเข้ามาช่วงสิ้นปี 2022 นั้นได้รับผลดีจากหลายปัจจัย เช่น การเปิดเมืองของจีน กระแสการลงทุนใน AI ที่เข้ามาแรง ทำให้ Demand การใช้งานเริ่มฟื้นขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้กลุ่ม Semiconductor นั้นยืนแข็งเหนือตลาดรวม
นอกจากนี้ในส่วนของกลุ่มรถยนต์ EV นั้นนอกจากได้ผลดีจากการเปิดเมืองของจีนแล้วยังมีราคา Lithium ที่ปรับตัวลดลง เพราะหลายบริษัทหันมาลงทุนและสร้าง Supply Lithium ให้แก่ตัวเอง ทำให้ Supply เริ่มตาม Demand ทันแล้ว ซึ่งเป็นผลดีแก่ผู้ผลิต Battery และ แบรนด์รถยนต์ที่จะมีต้นทุนที่ถูกลงด้วย (บางกองทุนมีการลงทุนในเหมืองค่อนข้างเยอะ เรามองว่าเป็นความเสี่ยงเช่นกัน เนื่องจากราคา Lithium ปรับตัวลง พาหุ้นเหมือง Lithium ตกตาม เราจึงเตรียมตัวจะลดน้ำหนักกองทุนที่เข้าข่าย)
ล่าสุดทางจีนยังคงผลักดันอุตสาหกรรม Clean Energy ต่อ โดยการขยายเวลาในการให้ส่วนลด และเครดิตทางภาษี แก่ผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าด้วย แสดงให้เห็นว่า Clean Energy ยังเป็นกลุ่มที่ทั่วโลกยังให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดเริ่มฟื้นตัว
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ลงทุนใน Megatrend เด่น กับกองทุนที่ใช่ พร้อม Optimize ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับ Optimal Megatrend Opportunities (OMO) by BottomLiner
ลงทุนใน Megatrend เด่น กับกองทุนที่ใช่ พร้อม Optimize ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับ โดย BottomLiner ดูรายละเอียดพอร์ต >>> https://finno.me/guruport-bottomliner
Bottomliner
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด มหาชน หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
มีโปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีอยู่หลายโปรเจกต์ครับที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นฐานข้อมูลดิจิทัล โดยโปรเจกต์เหล่านี้จะชูจุดเด่นในด้านความกระจายศูนย์ (decentralization) ของการเก็บข้อมูล ที่จะไม่มีกลุ่มบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งสามารถแก้ไขข้อมูลได้ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากผู้ใช้งานคนอื่น ๆ ครับ โปรเจกต์เหล่านี้ส่วนมากประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชน พร้อมกับกลไกในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ก่อนที่จะบันทึกข้อมูลชุดดังกล่าวลงบนบล็อกเชน โปรเจกต์ลักษณะนี้ที่มีชื่อเสียงก็อย่างเช่น Bitcoin และ Ethereum ซึ่งเป็นสองโปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีที่มีมูลค่าตลาด (market capitalization) สูงเป็นอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ แต่เทคโนโลยีบล็อกเชนก็มีข้อจำกัดอยู่หลายอย่างครับ วันนี้ผมจะพาทุก ๆ คนมาทำความรู้จักกับโปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีที่มีเป้าหมายสร้างฐานข้อมูลเช่นเดียวกันกับโปรเจกต์อื่น ๆ แต่เลือกวิธีการทำงานที่ต่างกันออกไป และโปรเจกต์ดังกล่าวยังเคลมตัวเองว่าเป็นโปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซี Gen 3 อีกด้วย วันนี้ผมพาทุกคนมารู้จักกับ Hedera กันครับ มาดูกันว่า Hedera มีความแตกต่างจากโปรเจกต์อื่น ๆ อย่างไรบ้าง
Hedera (หรือชื่อเต็มคือ Hedera Hashgraph) เป็นโปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีที่สร้างฐานข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (distributed ledger) โดยมีเป้าหมายที่จะแก้ไขปัญหาเดียวกันกับโปรเจกต์คริปโตตัวอื่น ๆ ที่ใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชน แต่มีประสิทธิภาพสูงกว่า ทั้งในแง่ของความเร็ว ความปลอดภัย และกินพลังงานน้อยกว่า
Hedera เริ่มต้นจาก Swirlds ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์สัญชาติอเมริกัน ซึ่งถูกก่อตั้งในปี 2015 โดย Mance Harmon และ Leemon Baird โดยคุณ Leemon เป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยี Hashgraph ซึ่งเป็นกลไกฉันทามติรูปแบบใหม่สำหรับเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นกลไกกระดูกสันหลังของ Hedera ครับ โดยหลังจากที่คุณ Leemon ตีพิมพ์งานวิจัยในหัวข้อดังกล่าวในเดือนพฤษภาคม 2016 ภายใต้ชื่อ Swirlds Hashgraph โปรเจกต์ Hedera ก็ได้เริ่มต้นขึ้นหลังจากนั้น โดยมีคุณ Mance ดำรงตำแหน่ง CEO และคุณ Lemon ดำรงตำแหน่ง chief scientist ของโปรเจกต์ครับ
ซึ่ง Hedera อธิบายเทคโนโลยีของตัวเองว่าเป็นเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (distributed ledger technology:DLT) รุ่นที่ 3 ต่อจาก Bitcoin และ Ethereum ซึ่ง Hedera ให้คำจำกัดความว่าเป็นเทคโนโลยี DLT รุ่นที่ 1 และ 2 ตามลำดับครับ
ตัวโปรเจกต์เปิดระดมทุนจากนักลงทุนครั้งแรกในปี 2017 ครับ โดยในปัจจุบัน Hedera เป็นบริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดย Swirlds ซึ่งเป็นบริษัทผู้ก่อตั้งและเป็นผู้ถือสิทธิบัตรเทคโนโลยี Hashgraph ร่วมกับบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งทั่วโลก เช่น Google, LG, Boeing, IBM, Aberdeen, Dell และ Ubisoft ครับ (เรียกบริษัทเหล่านี้รวมกันว่า Hedera Governing Council) โดยจะมีเพียงบริษัทเหล่านี้เท่านั้นที่มีสิทธิในการโหวตกำหนดทิศทางความเป็นไปของโปรเจกต์ แต่ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเสนอร่างการอัปเกรดที่เรียกว่า Hedera improvement proposal (HIP) เพื่อให้บริษัทกลุ่มดังกล่าวพิจารณาได้ครับ
ความแตกต่างสำคัญหนึ่งอย่างของ Hedera เมื่อเทียบกับโปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีอื่น ๆ คือชุดโปรแกรมของ Hedera จะไม่เป็น open source เหมือนกับโปรเจกต์อื่น ๆ เนื่องจาก Hashgraph ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหลักของโปรเจกต์ มีการจดสิทธิบัตรชัดเจน โดยมี Swirlds เป็นเจ้าของสิทธิดังกล่าว ไม่สามารถเปิดเผยแก่สาธารณชนได้ โดยชุดโปรแกรมของ Hedera มีลักษณะเป็น open review นั่นคือจะเปิดเผยแก่สาธารณชนสำหรับการตรวจสอบ และทดสอบการทำงาน แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ใด ๆ ครับ
ตามที่กล่าวไปครับว่า Hedera ใช้เทคโนโลยีที่ชื่อว่า Hashgraph โดย Hashgraph เป็นเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์รูปแบบหนึ่ง อธิบาย DLT เพิ่มเติมคือ DLT เป็นวิธีการเก็บข้อมูลที่ไม่พึ่งพาอาศัยตัวกลางใด ๆ แต่ใช้วิธีการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องภายในระบบ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (เรียกว่า consensus) ในกรณีของคริปโตเคอร์เรนซี ข้อสรุปดังกล่าวหมายถึงรายการธุรกรรมที่ได้รับการยืนยันความถูกต้องจากคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ภายในเครือข่ายครับ ซึ่งโปรเจกต์คริปโตโดยปกติจะใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งเป็น DLT รูปแบบหนึ่งนั่นเองครับ
Hedera เป็นหนึ่งในโปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีไม่กี่โปรเจกต์ ที่ไม่ใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชน แต่เลือกใช้เทคโนโลยี directed acyclic graph (DAG) แทนครับ ซึ่งการเก็บข้อมูลในรูปแบบดังกล่าวจะมีความแตกต่างสำคัญจากบล็อกเชน นั่นคือคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่าย จะสามารถติดต่อและส่งข้อมูลหาคอมพิวเตอร์เครื่องไหนก็ได้ (เรียกว่า network gossiping) ผลลัพธ์คือเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายของ Hedera สามารถทำงานแบบขนาน (parallel) ไปพร้อมกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ช่วยเพิ่มปริมาณธุรกรรมที่เครือข่ายสามารถประมวลผลได้ต่อหนึ่งหน่วยเวลาครับ
นอกจากนี้ Hedera ยังมีกลไกการตรวจสอบธุรกรรมที่เรียกว่า virtual voting ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วให้กับเครือข่ายครับ โดยในเครือข่ายของ Hedera เมื่อมี node ใด ๆ รับข้อมูลธุรกรรมใหม่ node นั้นจะส่งต่อข้อมูลให้เฉพาะ node กลุ่มหนึ่ง (ไม่ใช่ทั้งหมด) ที่ถูกเลือกมาแบบสุ่ม (ทำให้ประมวลผลได้เร็วกว่าโปรเจกต์อื่น ๆ ที่ต้องให้ส่งข้อมูลไปยังทุก ๆ node ภายในเครือข่าย) และการตรวจสอบธุรกรรมจะเกิดขึ้นกับ node กลุ่มเล็ก ๆ เช่นเดียวกันครับ และเมื่อกลุ่ม node ดังกล่าวตรวจสอบธุรกรรมเรียบร้อยแล้ว ก็จะส่งต่อผลการตรวจสอบไปยังกลุ่ม node อื่น ๆ ภายในเครือข่าย จนทุก ๆ node ในเครือข่ายรับรู้ความถูกต้องของธุรกรรมครับ
ทั้ง network gossiping และ virtual voting เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ Hedera มีความเร็วค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับโปรเจกต์อื่น ๆ อ้างอิงจากเว็บไซต์ของ Hedera เครือข่ายของ Hedera สามารถประมวลธุรกรรมได้ 10,000 ธุรกรรมต่อวินาที และมีระยะเวลาที่ต้องใช้ในการสรุปผลความถูกต้อง (finality) อยู่ที่ 3–5 วินาทีครับ แต่ความเร็วดังกล่าวเกิดขึ้นกับเฉพาะธุรกรรมที่เป็นการโอนโทเคนจากกระเป๋าเงินหนึ่งไปยังอีกอีกกระเป๋าเงินหนึ่งเท่านั้น สำหรับธุรกรรมรูปแบบอื่น ๆ ที่มีความซับซ้อนขึ้น (เช่น smart contract) ความเร็วของ Hedera จะลดลงเหลือเพียง 10 ธุรกรรมต่อวินาทีครับ
Hedera ใช้กลไกฉันทามติ asynchronous byzantine fault torelance (aBFT) ซึ่งทาง Hedera อ้างว่าเป็นกลไกที่มีความปลอดภัยสูงมากครับ โดย aBFT มีคุณสมบัติป้องกันความพยายามบิดเบือนข้อมูลจากผู้ไม่หวังดี ตราบเท่าที่สัดส่วนของผู้ไม่หวังดีนั้น มีไม่เกิน 1 ใน 3 ของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในเครือข่าย นอกจากนี้ aBFT ยังทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายของ Hedera รับรู้ความถูกต้องของธุรกรรมในเวลาเดียวกันกับที่ธุรกรรมได้รับการยืนยันความถูกต้อง ทำให้ Hedera ปลอดภัยจากการโจมตีแบบ distributed denial-of-services (DDoS) ถึงแม้จะมีคอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือข่ายถูกปิดการทำงานครับ
นอกเหนือจาก aBFT แล้ว Hedera ยังมีกลไกเพิ่มความปลอดภัยโดยมีการบันทึกเวลาของธุรกรรม (โปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีส่วนใหญ่ไม่มีการบันทึกเวลาแบบนี้) ทำให้รายการธุรกรรมที่ถูกบันทึกลงบนฐานข้อมูลของ Hedera มีการจัดเรียงลำดับที่ชัดเจน และไม่สามารถแก้ไขลำดับได้ครับ
เครือข่าย Hedera สามารถเขียน smart contract ได้ครับ โดย Hedera ใช้งานฟังก์ชัน smart contract จาก Ethereum Virtual Machine (EVM) ซึ่งสามารถประมวลผลธุรกรรมได้ 300 ธุรกรรมต่อวินาที เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ความเร็วของ Hedera สำหรับธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ smart contract ลดลงอย่างมีนัยสำคัญครับ
เป็นโทเคนประจำโปรเจกต์ Hedera อ้างอิงจาก CoinGecko ในปัจจุบัน (กุมภาพันธ์ 2023) HBAR มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ประมาณ 1.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับที่ 35 ในบรรดาคริปโตเคอร์เรนซีทั้งหมด โดย HBAR มีปริมาณอุปทานสูงสุด (maximum supply) อยู่ที่ 5 หมื่นล้านโทเคน แต่ในเว็บไซต์ของ Hedera ระบุไว้ว่า Swirlds ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนา Hedera มีสิทธิในการปรับเปลี่ยนตัวเลขดังกล่าวได้ครับ โดยอุปทานดังกล่าวถูกแบ่งเป็นสัดส่วนได้ตามนี้
แต่ในเดือนธันวาคม 2019 มีการแบ่งสัดส่วน HBAR เพิ่มอีก 3% โดยใช้แจกเป็นโบนัสให้กับนักลงทุนรายใหญ่ที่ลงทุนกับโปรเจกต์ไปในปี 2018 เนื่องจากในปี 2019 มีนักลงทุนรายใหญ่ส่วนหนึ่งเทขาย HBAR จนราคาของโทเคนปรับตัวลงอย่างรุนแรง ทาง Hedera จึงตัดสินใจแจก HBAR เป็นโบนัส สำหรับนักลงทุนรายใหญ่ที่ตกลงที่จะชะลอการเทขาย HBAR ที่มีอยู่จากการระดมทุนครับ
ในส่วนของการใช้งาน จะมาจากสองส่วนหลัก ๆ ส่วนแรกคือใช้ชำระเป็นค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมภายในเครือข่ายของ Hedera ครับ อีกส่วนคือใช้สำหรับผู้ตรวจสอบ (validator) ซึ่งก็คือบริษัทที่เป็นสมาชิกของ Hedera Governing Council ที่จะต้องวาง (stake) HBAR เพื่อเป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อรับสิทธิในการตรวจสอบธุรกรรมภายในเครือข่าย Hedera ครับ จากค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทั้งหมด ผู้ตรวจสอบจะได้ส่วนแบ่งค่าธรรมเนียม 90% ในขณะที่อีก 10% จะเป็นรายได้ของ Swirlds ครับ ความแตกต่างสำคัญของ Hedera จากโปรเจกต์คริปโตอื่น ๆ อีกหนึ่งอย่างคือ Hedera ไม่มีกลไกในการยึด (slash) HBAR ที่ถูกวางเป็นหลักประกันไว้ กรณีที่พบว่าผู้ตรวจสอบบิดเบือนข้อมูลแต่อย่างใด ทำให้ผู้คนในวงการคริปโตหลาย ๆ คนตั้งคำถามในจุดนี้ครับ ซึ่งทาง Hedera ก็ได้ออกมาชี้แจงว่า กลไกฉันทามติของ Hedera ถูกออกแบบมาให้การบิดเบือนข้อมูลทำได้ยากมาก ๆ อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีการยึดโทเคนตรงนี้แต่อย่างใดครับ แต่หลาย ๆ คนก็ตั้งข้อสังเกตว่าผู้ตรวจสอบของ Hedera ล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งบริษัทเหล่านี้คงไม่ยอมให้โทเคนที่ถือครองอยู่ถูกยึดไปไม่ว่ากรณีใด ๆ ครับ ถ้าหากมีกลไกการยึดตามที่กล่าวไปข้างต้น บริษัทเหล่านี้อาจจะยกเลิกการเป็นพันธมิตรกับ Hedera ก็เป็นได้ครับ
เป็นแพลตฟอร์มส่งข้อความแบบกระจายศูนย์ที่เป็นกระดูกสันหลังของการสร้างแอปพลิเคชันในเครือข่ายของ Hedera ครับ ซึ่งในปัจจุบันก็มีการใช้งาน HCS อยู่แล้ว แต่ทีม Hedera ตั้งเป้าที่จะเพิ่มฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้กับ HCS และปรับปรุงให้ง่ายต่อการใช้งานมากขึ้น และเพิ่มความเร็วและความปลอดภัยด้วยครับ
ในการทำงานหนึ่งครั้งของ smart contract จะให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นข้อมูลชุดหนึ่ง ซึ่งการออกแบบข้อมูลขาออกให้สามารถติดตามย้อนกลับไปยังสถานะก่อนหน้าของการทำงานของ smart contract เพื่อให้สามารถสั่งโปรแกรมทำงานได้อีกครั้งโดยที่ผลลัพธ์ยังออกมาเป็นแบบเดิม มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการเขียนโปรแกรมครับ แต่การออกแบบดังกล่าวก็ต้องแลกมาด้วยการส่งข้อมูลที่มีต้นทุนสูงขึ้น
ทีม Hedera มีแผนที่จะเพิ่มฟีเจอร์นี้เข้าไปใน smart contract ปัจจุบันครับ แต่จะมีการปรับการติดตัวติดตาม (tracer) ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อจะได้ไม่กระทบกับต้นทุนและประสิทธิภาพของเครือข่ายมากนัก โดยมีแผนจะปล่อยฟีเจอร์ดังกล่าวภายในไตรมาสแรกของปี 2023 ครับ
ด้วยการออกแบบของ Hedera ที่จะมีเพียงผู้ใช้งานกลุ่มเดียวเท่านั้นที่ได้รับสิทธิในการตรวจสอบธุรกรรม ซึ่งผู้ใช้งานกลุ่มนี้ก็คือ Hedera Governing Council ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่อีกด้วย ในโปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีทั่วไป ผู้ใช้งานทุกคนควรมีสิทธิได้เป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรมภายในเครือข่ายครับ (แต่จะมีวิธีการคัดเลือกอย่างไรก็แล้วแต่เครือข่าย เช่นบล็อกเชน Proof-of-Work ที่ใช้กำลังการคำนวณ หรือบล็อกเชน Proof-of-Stake อื่น ๆ ที่ใช้มูลค่าการ stake) แต่ใน Hedera ต่อให้ผู้ใช้งานคนอื่น ๆ จะพร้อมแค่ไหน ก็ไม่สามารถเป็นผู้ตรวจสอบได้ครับ ประเด็นจุดนี้ทำให้เกิดความรวมศูนย์ (centralization) ขึ้นกับเครือข่ายของ Hedera เพราะมีบริษัทและองค์กรเพียงไม่กี่แห่งที่ควบคุมความเป็นไปของ Hedera อยู่ครับ ทำให้โอกาสที่จะเกิดการบิดเบือนข้อมูลภายในเครือข่ายของ Hedera มีสูงกว่าเครือข่ายบล็อกเชนอื่น ๆ ครับ ยังไม่นับเรื่องการไม่มีกลไกการยึด (slash) HBAR ของบริษัทเหล่านี้ หากมีความตั้งใจที่จะบิดเบือนข้อมูลภายในเครือข่าย ทำให้การบิดเบือนข้อมูลสามารถทำได้ง่ายขึ้นอีกหนึ่งระดับครับ
เทคโนโลยีของ Hedera ถือว่าค่อนข้างล้ำหน้าเมื่อเทียบกับโปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีอื่น ๆ ในท้องตลาดครับ แต่การใช้งานเครือข่าย Hedera ยังค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับโปรเจกต์อื่น ๆ ครับ มูลค่ารวมของโทเคนที่อยู่ใน smart contract ของ Hedera ในปัจจุบัน อยู่ที่ 43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งน้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับโปรเจกต์อื่น ๆ ที่มีฟังก์ชัน smart contract เช่นกัน (ยกตัวอย่างโปรเจกต์ที่ไม่ได้มีมูลค่าตลาดใหญ่มากอย่าง Celo หรือ NEO ก็มีมูลค่าโทเคนใน smart contract สูงกว่า Hedera ครับ) ดังนั้น Hedera ยังมีปัญหาในด้านการขยายฐานผู้ใช้งานอยู่ครับ หนึ่งในสาเหตุสำคัญคือความเร็วของเครือข่ายครับ ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่าถ้าหากทำธุรกรรมที่มีความซับซ้อนอย่างเช่น smart contract เครือข่ายของ Hedera สามารถประมวลผลธุรกรรมได้เพียง 10 ธุรกรรมต่อวินาที ซึ่งถือว่าน้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับโปรเจกต์อื่นครับ
อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้คนส่วนหนึ่งในวงการคริปโตเคอร์เรนซีเลือกที่จะไม่ใช้งาน Hedera คือการจดสิทธิบัตรเทคโนโลยี Hashgraph และไม่เปิดชุดโปรแกรมของเครือข่ายให้เป็นสาธารณะ อธิบายเพิ่มเติมคือโปรเจกต์คริปโตเกือบทั้งหมดจะเปิดเผยชุดโปรแกรมในลักษณะ open source ครับ นั่นคือผู้ใช้งานทั่วไปสามารถมีส่วนร่วมในการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติม และส่งให้กับชุมชนผู้ใช้งานตรวจสอบและโหวตได้ หรือผู้ใช้งานสามารถนำชุดโปรแกรมดังกล่าวไปพัฒนาต่อเป็นของตัวเองก็ได้ ซึ่งแนวทางการทำธุรกิจของ Hedera ไม่ได้เป็นแบบนั้นครับ Hedera เลือกที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานทั่วไปนำเทคโนโลยีของตนไปต่อยอด นั่นทำให้ผู้คนในวงการคริปโตหลาย ๆ คนเลือกที่จะไม่ใช้งาน Hedera ครับ
Hedera เป็นโปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีที่ค่อนข้างจะแตกต่างจากโปรเจกต์อื่น ๆ พอสมควรเลยครับ ตัวโปรเจกต์เองมีจุดแข็งอยู่ในหลาย ๆ ด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี Hashgraph ที่เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ช่วยให้เครือข่ายของ Hedera มีความเร็วในการประมวลผลธุรกรรมที่ไม่ซับซ้อนได้เร็วพอสมควรครับ รวมถึงตัวโปรเจกต์เองได้รับการหนุนหลังจากบริษัทชั้นนำของโลกหลาย ๆ แห่ง ที่เข้ามาเป็นสมาชิกของ Hedera Governing Council และ Hedera เองก็ยังมีเป้าหมายจับมือเป็นพันธมิตรกับบริษัทชั้นนำแห่งอื่น ๆ เพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกอีกครับ
แต่เป้าหมายดังกล่าวดูจะไม่ใช่แนวทางที่ชุมชนผู้ใช้งานคริปโตเคอร์เรนซีอยากจะให้เป็นสักเท่าไรครับ การที่บริษัทขนาดใหญ่มีส่วนร่วมกับโปรเจกต์มากเกินไป ในท้ายที่สุดอาจจะทำให้โปรเจกต์ขาดความกระจายศูนย์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของโปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีครับ อันที่จริงแล้วในปัจจุบัน ผู้คนในวงการคริปโตส่วนหนึ่งก็มีความสงสัยในประเด็นเรื่องความกระจายศูนย์ของ Hedera เช่นกันครับ เนื่องจากตัวโปรเจกต์อนุญาตให้ผู้ใช้งานเพียงกลุ่มเดียว มีสิทธิในการตรวจสอบธุรกรรม และกำหนดทิศทางความเป็นไปของโปรเจกต์ ซึ่งบริษัทที่ว่าก็คือกลุ่มของบริษัทใหญ่ที่เป็นสมาชิกของโปรเจกต์นั่นเองครับ ยังไม่นับว่า Swirlds ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนา Hedera สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณอุปทานของ HBAR ได้ (ตามที่กล่าวไว้ในเว็บไซต์) ทำให้มูลค่าของ HBAR มีความไม่แน่นอนสูงมากครับ ประเด็นดังกล่าวทำให้นักลงทุนรายย่อยหลายคนยังไม่ค่อยให้ความสนใจ HBAR มากนัก ต้องรอดูกันต่อไปครับว่า Hedera จะมีแนวทางพัฒนาโปรเจกต์อย่างไรต่อไป จะมุ่งเป้าไปที่การจับมือกับบริษัทใหญ่แบบเดิม หรือจะปรับเปลี่ยนแนวทางเข้ามาหาผู้ใช้งานรายย่อยมากขึ้นครับ
CodeBreaker
ที่มาบทความ: https://link.medium.com/vjOz3eHjoyb
คำเตือน
การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง อาจสูญเสียเงินลงทุน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจและศึกษาข้อมูล รวมทั้งลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ในช่วงนี้กระแสโกงเงินในโลกออนไลน์กลับมาอีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นมัลแวร์ดูดเงิน การเข้าควบคุมอุปกรณ์จากระยะไกล ซึ่งได้สร้างความเสียหายและความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก วันนี้แอดมินจึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหนึ่งในกลโกงที่พบได้บ่อยที่สุดบนโลกออนไลน์อย่าง “Phishing” (ฟิชชิ่ง)
Phishing คือรูปแบบการหลอกลวงผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งใช้วิธีทางจิตวิทยาร่วมด้วย ทั้งกลอุบายหลอกล่อผู้ใช้งาน และการแอบอ้างเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ธนาคาร หรือบัญชีโซเชียลมีเดีย โดยทั่วไปจะนิยมให้กดที่ ‘ลิงก์’ เพื่อย้ายไปยังหน้าเว็บไซต์อื่นและทำการกรอกข้อมูล โดยเว็บไซต์นั้นก็จะทำเลียนแบบจนเกือบเหมือนกับฉบับเลย
Phishing เป็นคำเปรียบเทียบที่พ้องเสียงมาจาก Fishing ที่แปลว่า การตกปลา โดยในการตกปลานั้นต้องมีเหยื่อล่อให้ปลามาติดเบ็ด จึงเปรียบเทียบถึงการสร้างสถานการณ์โดยการส่งข้อความ อีเมล หรือเว็บไซต์ปลอม เพื่อเป็นเหยื่อล่อให้ผู้ใช้งานเข้ามาติดเบ็ด
คำว่า “Phishing” เกิดขึ้นในช่วงกลางปี 1990 เมื่อแฮ็กเกอร์ได้ใช้อีเมลปลอมในการล้วงข้อมูลของเหยื่อที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ แฮกเกอร์ในยุคนั้นถูกเรียกว่า “Phreaks” (Freaks+Phone) และได้กลายมาเป็นคำว่า “Phishing” (Fishing+Phone) อย่างทุกวันนี้
เป็นวิธีการที่นิยมมากในหมู่อาชญากรออนไลน์ โดยหลักการทำงานคือการแอบอ้างเป็นองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือ และมักเป็นองค์กรที่เราเคยทำธุรกรรมด้วย จากนั้นจะทำการส่งอีเมล์หรือลิงก์บางอย่างเพื่อให้เหยื่อคลิกเข้าไป
เป็นการโจมตีแบบเจาะจงไปที่บุคคลหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง มักจะรวบรวมข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับเหยื่อเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะหลอกลวงบุคคล/องค์กรนั้น ๆ ในบางครั้งอีเมลแบบ Spear Phishing อาจเพิ่มรายละเอียดของผู้ร่วมงานหรือผู้บริหารขององค์กรนั้น ๆ รวมทั้งชื่อเหยื่อเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถืออีกด้วย
Whaling Attacks เป็นการเลือกโจมตีไปที่ผู้บริหารในองค์กร แฮกเกอร์จะทำการหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเหยื่อเพื่อสร้างข้อความที่น่าเชื่อถือ เป็นการหลองลวงที่ต้องอาศัยการหาข้อมูลละเอียด และความแม่นยำของเนื้อหาเพื่อเพิ่มโอกาสในการหลอกลวงได้สำเร็จ!
Pharming คือการเปลี่ยนเส้นทางเข้าเว็บไซต์ของเราไปยังเว็บไซต์ปลอมที่จะมีลิงก์ให้เรากด เป็นการหลอกให้เหยื่อเข้าไปยังเว็บไซต์ปลอมและดึงเอาข้อมูลหรือแฮ็กเข้าอุปกรณ์ของเหยื่อไป
บทความโดย คุณานันต์ TechToro
BYD เปิดตัว BYD DOLPHIN รถบนต์ไฟฟ้าพวงมาลัยขวา รุ่นเล็กกะทัดรัดที่ทุกคนรอคอย พร้อมเปิดให้จองรุ่น Standard Range ในราคาคาดการณ์จำหน่าย 799,999 บาท ในงานมอเตอร์โชว์
สำหรับหน้าตาของเจ้า BYD DOLPHIN จะใกล้เคียงกับรถยนต์ค่ายคู่แข่งอย่าง ORA Good Cat แต่สั้นและแคบกว่านิดหน่อย โดยมิติตัวถัง ยาว 4,150 มิลลิเมตร กว้าง 1,770 มิลลิเมตร สูง 1,570 มิลลิเมตร ความยาวฐานล้อ 2,700 มิลลิเมตร
ไทยรัฐออนไลน์ระบุสเปค Dolphin EV ว่า ใช้แพลตฟอร์มไฟฟ้า 100% e-Platform 3.0 เหมือนกับรถยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ BYD ระยะฐานล้อ 2,700 มิลลิเมตร ห้องโดยสารกว้างขวาง ตัวถังของ Dolphin ออกแบบในสไตล์แฮตช์แบ็ก ไฟหน้า LED มาพร้อม Daytime Running Light มาพร้อม Bucket Seat ทรงสปอร์ต พวงมาลัยมัลติฟังก์ชันแบบ 3 ก้าน มือจับเปิดประตูออกแบบคล้ายครีบของโลมา
โดยDolphin EV ขับเคลื่อนในรูปแบบ FWD (ขับหน้า) ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ Permanent Magnet Synchronous ขนาด 130 kW (177 PS) แรงบิดสูงสุด 290 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ลิเธียม BYD Blade Battery ขนาด 44.9 kWh ชาร์จผ่านไฟกระแสสลับ AC, 7 kW จาก 0-100% ใช้เวลา 6 ชั่วโมง 25 นาที ส่วนการชาร์จผ่านไฟ DC, 60 kW ในรูปแบบ Fast Charging ชาร์จจาก 30-80% ใช้เวลา 30 นาที แบตเต็มวิ่งได้ไกล 405 กิโลเมตร
BYD Dolphin ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า Permanent Magnet Synchonous Motor มอเตอร์วางด้านหน้า ขับเคลื่อนล้อหน้า กำลัง 177 แรงม้า แรงบิด 290 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ BYD Blade Battery (LFP) ความจุ 44.9 kWh มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนประสิทธิภาพสูง ตัวเลขสมรรถนะ อัตราเร่ง 0-100 km/h ภายใน 7.9 วินาที ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทำการต่อการชาร์จแบตเตอรี่จนเต็มไกล 405 กิโลเมตร หักกลบลบหนี้จะมีไฟวิ่งไกล 350 กิโลเมตรแบบสบายๆ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ระบบชาร์จกระแสตรง DC Fast Charging สูงสุด 60 kW ชาร์จไฟจาก 30% จนถึง 80% ภายใน 30 นาที! กินกาแฟหมดแก้วแล้วรออีกหน่อยก็วิ่งได้ถึง 350 กิโลเมตร แบบสบายๆ
สีตัวถังภายนอก มีให้เลือก 5 สี ส่วนภายในห้องโดยสารจะอิงไปตามภายนอก
– สีชมพู Pupu Pink
– สีน้ำเงิน Surf Blue
– สีขาว-ส้ม Honey Orange
– สีขาว-เขียว Sasha Green
– สีขาว-ฟ้า Sparkling Blue
สำหรับใครที่สนใจประชาชาติธุรกิจรายงานว่า ลูกค้าที่ซื้อ BYD DOLPHIN จะได้สิทธิพิเศษ Rêver Care เพื่อดูแลและเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้า มูลค่ารวมกว่า 150,000 บาท ประกอบด้วย ออกรถง่าย ๆ ด้วยเงินเริ่มต้นเพียง 39,999 บาท ประกันภัยชั้น 1 พร้อม พ.ร.บ.ระยะเวลา 1 ปี มั่นใจไปกับการรับประกันคุณภาพตัวรถและแบตเตอรี่นาน 8 ปี หรือ 160,000 กิโลเมตร อุ่นใจด้วยบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง นาน 8 ปี บริการบำรุงรักษา ค่าแรง ค่าอะไหล่ นาน 3 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร และอุปกรณ์จำเป็นอย่าง Home Charger พร้อมฟรีค่าติดตั้ง สายต่อพ่วงอุปกรณ์ไฟฟ้า Vtol สายชาร์จเคลื่อนที่ Portable Charger ค่าจดทะเบียน พรมเข้ารูป กรอบป้ายทะเบียน ฟิล์มหน้าจอ
ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/auto/evcar/2660075
https://www.prachachat.net/motoring/news-1239023
https://www.matichon.co.th/economy/auto/news_3886392
——————-
👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน
ตลาดหุ้นโลกมีความผันเพิ่มสูงขึ้น เริ่มจากความกังวลต่อการใช้นโยบายการเงินตึงตัวของ Fed ตามมาด้วย ความปั่นป่วนในกลุ่มธนาคารของสหรัฐฯ และยุโรป มีผลกระทบเชิงลบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
เบื้องต้นเราประเมินว่า สถานการณ์ไม่น่าจะพัฒนาไปในเชิงที่เลวร้ายมาก เมื่อพิจารณาจากการเข้ามา Take Action ค่อนข้างรวดเร็วของธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับดูแล ดังนั้น ตลาดหุ้นยังมีโอกาสฟื้นตัวในระยะถัดไป
ภาพแสดงการปรับสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนของพอร์ต SCB Grow Together ที่มา: SCBAM วันที่: 21 มีนาคม 2023
ภาพแสดงสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนของพอร์ต SCB Grow Together ที่มา: SCBAM วันที่: 21 มีนาคม 2023
เรานำ SCBCLEANA ออกจากพอร์ต หลังจาก Underperform ค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา แล้วนำกองทุนใหม่เข้าพอร์ต ได้แก่ (1) กองทุนหุ้น Global Quality Equity หรือ SCBGQUAL(A) เรามองว่า นักลงทุนจะให้น้ำหนักมากขึ้นกับปัจจัยเชิงคุณภาพ ในช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นโลกผันผวนเนื่องจากความกังวลต่อระบบการเงิน และ (2) กองทุนหุ้น Asian Emerging Market หรือ SCBAEM ประเมินว่า ปัญหาสภาพคล่องกลุ่ม Banking ในสหรัฐฯ และยุโรป มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นเอเชียน้อยกว่าฝั่ง Developed Market นอกจากนี้ คาดว่า หุ้นเอเชีย ยังได้ผลบวกจาก China Reopening
เริ่มสร้างแผนลงทุนกับ บลจ. ชั้นนำทั่วฟ้าเมืองไทยที่คุณชื่นชอบ ได้ที่ลิ้งก์ด้านล่าง
👉 สร้างแผน คลิก >>> https://finno.me/plan-select-playlists-web
คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด โทร 02 777 7777
ความยากของการลงทุนทุกวันนี้ คือการที่สถานการณ์ตลาดเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และยังมีตัวแปรต่าง ๆ มากมาย ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนที่ดีจึงต้องประกอบไปด้วยทั้ง “ศาสตร์” และ “ศิลป์”
ศาสตร์แห่งการลงทุน คือ ความรู้ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค วิธีประเมินมูลค่าสินทรัพย์ที่เหมาะสม ตลอดจนมีกระบวนการตัดสินใจที่ชัดเจนในสินทรัพย์ที่มีศักยภาพเติบโตสูง ไม่ให้ความรู้สึกกับอารมณ์เข้าครอบงำ เพื่อการตัดสินใจอย่างเป็นเหตุเป็นผล
ขณะเดียวกันต้องควบคู่กับการมี ศิลปะแห่งการลงทุนด้วย นั่นคือการไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เมื่อปัจจัยเปลี่ยนก็ต้องรู้จักปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ และเข้าใจธรรมชาติของโลกการลงทุน รู้ว่าจังหวะไหนควรที่จะ “รุก” “คอย” หรือ “ถอย” นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการคาดเดาอารมณ์ของคนในตลาดอีกด้วย
ด้วยโลกของการลงทุนเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง และมีพัฒนาการอยู่เสมอ นักลงทุนที่ดีจึงต้องผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์ เพื่อสร้างกรอบกลยุทธ์การลงทุนในการคัดเลือกสินทรัพย์ เพื่อการจับจังหวะตลาดอย่างแม่นยำ และการทำใจเป็นกลางปราศจากอคติ ย่อมมองเห็นช่องทางได้กระจ่างกว่าเป็นธรรมดา
อย่างไรก็ดี บางคนเก่งคัดเลือกสินทรัพย์ แต่ไม่ถนัดจับจังหวะตลาด จึงเหมาะเฉพาะกับกลยุทธ์การลงทุนในระยะยาว ทำให้อาจจะพลาดโอกาสสร้างผลกำไรในระยะกลาง ส่วนบางคนคาดการณ์แนวโน้มตลาดเก่งมาก แต่ไม่ถนัดคัดเลือกสินทรัพย์ที่ดี จึงหันไปมุ่งเน้นเก็งกำไรระยะสั้นแทน ซึ่งแลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูง และไม่สามารถวิเคราะห์การลงทุนได้รอบครอบครบทุกมิติ
FINNOMENA Investment Team มองเห็นถึงข้อจำกัดตรงนี้ของนักลงทุน จึงได้ออกแบบคำแนะนำการลงทุนรูปแบบใหม่ “MEVT Call” ที่มองทั้งเรื่องศาสตร์และศิลป์ ซึ่งจะเข้ามาช่วยให้คุณคว้าทุกโอกาสการลงทุน และสามารถตัดสินใจได้ถูกที่ถูกเวลา
โดยมีกระบวนการคัดเลือกสินทรัพย์ที่มีศักยภาพในการเติบโต ด้วยการวิเคราะห์จุดเข้าซื้อด้วยปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค เพื่อคัดกรองกองทุนรวมที่ดีที่สุดในแต่ละช่วงเวลา ที่สำคัญคือจะมีการแจ้งเตือนจุดออก (Exit Strategy) เมื่อปัจจัยต่าง ๆ เปลี่ยนไป ผ่านกรอบการลงทุน 4 ด้าน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า M-E-V-T ได้แก่
1. คนที่ไม่รู้ว่าช่วงนี้ควรจะลงทุนในกองทุนอะไรดี เพราะได้มีการคัดสรรกองทุนคุณภาพมาให้เลือกลงทุน ซึ่งกลั่นกรองโดย Investment Team จาก FINNOMENA ที่มากประสบการณ์ พิจารณาจากทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยด้านเทคนิค
2. คนที่กำลังกังวลในภาวะตลาด จับจุดเข้าจุดออกไม่ถูก เพียงแค่รอสัญญาณแจ้งเตือน MEVT Call กองทุนเด็ดจาก FINNOMENA พร้อมด้วยคำแนะนำ take profit หรือ stop loss โดยสามารถติดตามผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้ง Facebook, Youtube, Website และ FINNOMENA App
3. คนที่มีเป้าหมายการลงทุนในระยะกลาง 6 – 12 เดือน โดยควรมีเงินเย็นนิ่ง ๆ หรือเงินสดเหลือ ที่ต้องการนำมาลงทุนเพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลกำไรในระยะกลาง
คัดเลือกกองทุนอย่างเมพ ด้วยจังหวะขั้นเทพกับ “MEVT Call”
👉 ลงทุนใน MEVT Call คลิก >>> https://finno.me/mevt-web
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
แนวคิดจาก Templeton Global Equity Group ต่อการลงทุนหุ้นคุณค่า (value investing) โดยเราเชื่อว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ดีในการขยายการลงทุนไปสู่หุ้นโลก
“มันค่อนข้างตรงไปตรงมาว่า ถ้าคุณต้องการหาผลตอบแทนที่ดี คุณไม่ควรแสวงหาการลงทุนเฉพาะในสหรัฐฯ แต่ควรหาในทุก ๆ ที่ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เราทำมาตลอด 40 ปี เรามองหาการลงทุนที่ดีจากทั่วทุกมุมโลก” – Sir John Templeton, 1979
ผลตอบแทนการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังจากวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ (global financial crisis: GFC) ถือว่าอยู่ในระดับสูงมาก เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
รูปที่ 1 ผลตอบแทนของหุ้นโลกเมื่อเทียบกับหุ้นสหรัฐฯ ถือว่าต่ำกว่าอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน (over a generation)
นอกจากนั้น ถ้าพิจารณาการประเมินมูลค่าในแบบต่าง ๆ หุ้นโลกถือว่ามีมูลค่าต่ำกว่า เมื่อเทียบกับหุ้นสหรัฐฯ โดยถือว่าเกือบต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี
รูปที่ 2 อัตราส่วน Price-to-Earnings, Price-to-Sales และ Price-to-Book ของหุ้นโลกมีระดับต่ำกว่าหุ้นสหรัฐฯ
มีหลายปัจจัยที่เป็นผลให้หุ้นสหรัฐฯ ทำผลงานได้ดีกว่าหุ้นโลกอย่างนัยสำคัญ แต่ปัจจัยหลักมาจากนโยบายการเงิน โดยตั้งแต่วิกฤต GFC วิกฤตหนี้ยุโรปในปี 2011 การถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2013 ความผันผวนอย่างรุนแรงของตลาดหุ้นในปี 2018 และวิกฤต COVID-19 ในปี 2020 ธนาคารกลางหลายแห่งได้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการอัดฉีดสภาพคล่อง ผ่านการลดอัตราดอกเบี้ย และการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวงเงินไม่จำกัด ซึ่งคล้ายกับการตีเช็คเปล่า (blank check) เข้าสู่ตลาดพันธบัตร
ระดับหนี้ในตลาดโลกพุ่งขึ้นไปสูงกว่า 100 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับตั้งแต่เกิดวิกฤต GFC ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ถือเป็นธนาคารที่อัดฉีดสภาพคล่องในระดับสูง และการอัดฉีดในหลายช่วงเวลาทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น โดยหุ้นเติบโตในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับผู้บริโภค และเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (market capitalization) สูงในตลาดสหรัฐฯ เป็นผู้ได้รับประโยชน์หลัก
แต่นั่นเป็นอดีต ปัจจุบันสถานการณ์กลับเป็นตรงกันข้าม จากที่เคยเป็นบวกต่อการปรับตัวขึ้นของหุ้นเติบโตในสหรัฐฯ กล่าวถือ ตอนนี้ดอกเบี้ยนโยบายถูกปรับขึ้นสูงเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการอัดฉีดสภาพคล่องในหลายปีก่อนหน้า บทบาทของธนาคารกลางในประเทศตะวันตกเปลี่ยนจากผู้อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ เป็นผู้ดึงสภาพคล่องออกจากระบบ การเติบโตของเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลง เมื่อมาตรการกระตุ้นในช่วง COVID-19 เริ่มหมดอายุ ในขณะเดียวกัน กลุ่มบริษัท และผู้บริโภคก็เริ่มที่จะประสบปัญหาการเข้าถึงเงินทุน จากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น (higher costs of capital) นอกจากนั้น เรายังเห็นฟองสบู่ราคาที่เคยเกิดขึ้นในหลากหลายสินทรัพย์เริ่มหายไปอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ cryptocurrencies จนถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ และบริษัทเทคโนโลยีที่ยังไม่มีผลกำไร
ประธาน FED นายเจอโรม พาวเวลล์ ให้ความสำคัญกับการควบคุมอัตราเงินเฟ้อเป็นลำดับแรก โดยในการแถลงข่าวในเดือนพฤศจิกายน 2022 กล่าวว่า FED ยังต้องดำเนินนโยบายในการสู้กับอัตราเงินเฟ้อต่อไป แม้ว่าความเร็วของการขึ้นดอกเบี้ยน่าจะเริ่มช้าลงในหลายไตรมาสข้างหน้า แต่ถ้อยแถลงของนายพาวเวลล์ สื่อว่าดอกเบี้ยนโยบายน่าจะอยู่ในระดับสูง และการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบตึงตัวน่าจะคงอยู่ต่อไปในอนาคตอันใกล้ โดยรูปด้านล่างแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ดังกล่าวน่าจะเป็นบวกต่อหุ้นโลกในส่วนหุ้นคุณค่า เมื่อเทียบกับหุ้นเติบโตในสหรัฐฯ ที่สร้างผลตอบแทนได้ดีในวัฏจักรตลาดหุ้นรอบที่ผ่านมา เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะมีผลต่ออัตราคิดลด (discount rates) ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นนี้จะทำให้กระแสเงินสดในปัจจุบันของหุ้นคุณค่ามีความสำคัญมากขึ้น เมื่อเทียบกับหุ้นเติบโต ที่ให้ความสำคัญกับกระแสเงินสดในช่วงหลัง ๆ มากกว่า นอกจากนั้น ดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นยังทำให้การพิจารณามูลค่าหุ้นผ่านปัจจัยพื้นฐานมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อหุ้นคุณค่าด้วย
รูปที่ 3 อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงเป็นบวกต่อหุ้นโลกในส่วนหุ้นคุณค่า มากกว่าหุ้นเติบโตในสหรัฐฯ
เรามองว่าในระยะต่อไป บริษัทที่ไม่สามารถหารายได้ได้เพียงพอ เมื่อเทียบกับต้นทุนทางการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ในภาวะดอกเบี้ยสูงจะถูกกดดัน ซึ่งเป็นเหตุผลทำให้เราเชื่อว่าการวิเคราะห์หุ้นโดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน (fundamental analysis) จะกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง สำหรับนักลงทุนที่ต้องการประสบความสำเร็จ ทดแทนแนวการวิเคราะห์แบบชี้นำ (narrative) และการคาดการณ์การเติบโต ซึ่งเป็นแนวคิดของวัฏจักรการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นครั้งก่อนหน้า
นักลงทุนสหรัฐฯ ที่ต้องการซื้อหุ้นโลกจะได้แรงหนุนจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจากที่กล่าวไปแล้วว่าหุ้นโลกนับว่ามีการประเมินมูลค่าที่เกือบต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ก็เกือบแข็งค่าที่สุดในรอบ 20 ปีเช่นกัน อย่างไรก็ดี เราพบว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นสินทรัพย์หนึ่งที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในรอบ 2 ปี เริ่มอ่อนค่าลงมาบ้างแล้ว โดยในช่วงปลายปี 2022 การเก็งกำไรของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในระดับเกือบสูงที่สุด และจากการวิเคราะห์ทางเทคนิคพบว่าระดับดังกล่าวอยู่ในระดับซื้อมากเกินไป (overbought) นอกจากนี้ มูลค่าของเงินดอลลาร์ต่อดัชนีค่าเงินที่แท้จริง (REER) ถือว่าสูงเป็นสถิติ เช่นกัน
รูปที่ 4 เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เริ่มอ่อนตัวลงเล็กน้อยในช่วงที่ผ่านมา
แล้วอะไรที่จะทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนตัวลง? ปัจจัยพื้นฐาน ความแตกต่างกันของระดับดอกเบี้ยนโยบาย ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ (ที่วัดจากเครื่องชี้ เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ) และดุลบัญชีเดินสะพัด ต่างแสดงให้เห็นว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง แต่เราเริ่มมองว่าอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติจนเกินไป ซึ่งเราเชื่อว่าในระยะยาวน่าจะกลับเข้าสู่ระดับค่าเฉลี่ย โดยเราเริ่มเห็นแนวโน้มอ่อนค่าลงบ้างแล้วในช่วงปลายปี 2022 ถึงต้นปี 2023 และเราเชื่อว่าการอ่อนตัวน่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ปัจจัยอื่น ๆ ที่จะทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนตัวลง ประกอบด้วย
เราส่งเสริมให้นักลงทุนใช้ประโยชน์จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งในการซื้อสินทรัพย์ทั่วโลกที่ราคาถูกปรับลงมา โดยเราเชื่อว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ดีในการทยอยสะสมมูลค่า ซึ่งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลง มักจะมาพร้อมกับผลตอบแทนสินทรัพย์นอกตลาดสหรัฐฯ ที่จะเพิ่มสูงขึ้น
มีหลายอย่างที่น่าคิดในช่วงต้นปี 2023 ไม่ว่าจะเป็นการปรับขึ้นของตลาดหุ้นในช่วงต้นปีเป็นการปรับขึ้นอย่างยั่งยืนในระยะยาว หรือว่าเป็นเพียงการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคในช่วงตลาดลง (bear market rally) อัตราเงินเฟ้อจะเริ่มปรับตัวลงเมื่อไร และอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขึ้นไปถึงระดับใด ตลอดจนข้อพิพาทในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ว่าจะมีแนวทางคลี่คลายหรือไม่ อย่างไร คำตอบของคำถามเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรายังไม่มีคำตอบแน่ชัด แต่เราเชื่อว่าเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ดีในการกระจายการลงทุนไปยังหุ้นโลกที่ยังมีมูลค่าต่ำกว่า
ข้อสงวนสิทธิ์
แหล่งข้อมูล
https://www.franklintempleton.com/articles/blogs/international-equities-poised-for-recovery
สัปดาห์ก่อนดูเหมือนว่าคนในแวดวงเศรษฐกิจและการลงทุน ต่างก็วุ่นวายสับสนกันทั่วโลก เนื่องจากการล่มสลายของธนาคาร SVB หรือ Silicon Valley Bank ซึ่งเป็นแบงก์ขนาดใหญ่ที่ให้บริการแก่บริษัทสตาร์ทอัพและดิจิทัลในคาลิฟอร์เนีย และอีกหลายแบงก์ที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจนี้
นอกจากนั้น ก่อนสิ้นสัปดาห์ แบงก์เครดิตสวิสซึ่งเป็นแบงก์ใหญ่ “ระดับโลก” ของสวิตเซอร์แลนด์ ก็เริ่มมีปัญหาในเรื่องของทุนที่ไม่เพียงพอ เพราะธนาคารมีผลประกอบการขาดทุนหนักและผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เป็นกองทุนจากประเทศตะวันออกกลางปฎิเสธที่จะเพิ่มทุน ทำให้ราคาหุ้นที่ตกต่ำอยู่แล้ว ตกลงไปอีกหลายสิบเปอร์เซ็นต์ เพราะคนกลัวว่าแบงก์อาจจะต้องล้มในที่สุด อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางของทั้งสหรัฐและสวิตเซอร์แลนด์ดูเหมือนว่าจะรีบเข้าแทรกแซงและช่วยเหลือทันทีจนทำให้สถานการณ์ไม่ลุกลามรุนแรงต่อเนื่องไปถึงธนาคารอื่นอย่างเป็นระบบ เฉพาะอย่างยิ่ง ธนาคารกลางของสหรัฐได้ประกาศค้ำประกันเงินฝากทั้งหมดของ SVB
ซึ่งทำให้เกิดความมั่นใจต่อผู้ฝากเงินทั่วไปว่า เงินฝากของตนเองในแบงก์และแบงก์อื่นจะไม่หายไป ไม่จำเป็นต้องไปถอนเงินออกพร้อม ๆ กันซึ่งจะทำให้เกิด “Bank Run” ซึ่งธนาคารจะมีเงินไม่พอให้ถอนและต้องล้มละลายทันที ส่วนของสวิสเอง แบงก์ชาติก็จัดหาเงินเป็นสภาพคล่องหลายหมื่นล้านเหรียญให้ในกรณีที่มีคนขอถอนเงินจำนวนมาก
นั่นทำให้ผมหวนนึกถึงวันที่ผมยังทำงานอยู่ในฐานะผู้บริหารสถาบันการเงินแห่งหนึ่งของไทย ในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ที่สถาบันการเงินหรือแบงก์ที่รวมถึงบริษัทที่ผมอยู่ด้วย ประสบปัญหาและเกิด “Bank Run” อย่างเป็นระบบ และจบลงด้วยการ “ล้ม” ของสถาบันการเงินกว่า 50 แห่งแทบจะพร้อมกันทันที เหลือเพียง 2-3 แห่งที่รอดมาได้อย่างน่าอัศจรรย์
ถึงวันนี้เองก็ยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่า เหตุการณ์แบงก์รันและแบงก์ล้มที่กำลังเกิดขึ้นทั้งในสหรัฐและยุโรปนั้นจบลงไปแล้ว ยังมีโอกาสเหมือนกันที่แบงก์จะล้มเหลวต่อไปต่อเนื่องเป็นระบบโดยเฉพาะในยุโรปที่แบงก์เครดิตสวิสมีขนาดใหญ่มากและเป็น “แบงก์หลัก” ที่การแก้ปัญหาอาจจะทำได้ยากกว่า
และผลกระทบรุนแรงกว่า ซึ่งถ้ามันส่งผลต่อเนื่องไปยังแบงก์อื่นก็อาจจะทำให้เกิด “วิกฤติ” ทางการเงินขึ้นได้ปัญหาและผลกระทบที่ตามมาของแบงก์ หรือสถาบันการเงินที่รับเงินฝากหรือกู้เงินจากคนอื่นเพื่อมาปล่อยต่อหรือลงทุนกินส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยหรือต้นทุนกับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยหรือจากการลงทุนในหุ้นหรือตราสารการเงินเช่นพันธบัตรก็คือเกิดความผิดพลาดหรือการฉ้อฉลในการทำงาน เช่น ปล่อยกู้ให้กับบริษัทหรือโครงการที่ไม่คุ้มค่า ลงทุนในทรัพย์สินหรือหุ้นที่มีราคาแพงเกินไปซึ่งในที่สุดก็ตกลงมาทำให้ขาดทุนมหาศาล ทั้งสองอย่างนั้นมักจะเกิดขึ้นในยามที่เกิดความเฟื่องฟูของการลงทุนในกิจการธุรกิจ หรือความเฟื่องฟูของราคาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นรวมถึงที่ดินและอสังหาริมทรัพย์
ในกรณีของเหตุการณ์ในช่วงนี้ก็คือ ความเฟื่องฟูของธุรกิจสตาร์ทอัพ ดิจิทัล เหรียญต่าง ๆ เช่น บิตคอยน์ เป็นต้น ซึ่งก็มีแบงก์จำนวนหนึ่งที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยการให้กู้หรือลงทุนจำนวนมากโดย SVB ก็ถือได้ว่าเป็นแบงก์ที่เน้นในกลุ่มสตาร์ทอัพโดยเฉพาะ ให้บริการที่หลากหลายรวมถึงการเป็นผู้รับฝากเงินของบริษัทเหล่านั้นด้วย
ส่วนเครดิตสวิสเองนั้น เคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับเฮดจ์ฟันด์ Archegos Capital ซึ่งเป็นกองทุนที่เล่นหุ้นแบบร้อนแรงใช้มาร์จินและอาจจะมีการใช้ข้อมูลภายในและปั่นหุ้นด้วย ซึ่งทำให้มีผลงานโดดเด่น มีชื่อเสียงและได้เงินจากนักลงทุนมหาศาล แต่สุดท้ายก็พัง กองทุนล่มสลายและเครดิตสวิสสูญเงินไปเกือบ 5 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.5 แสนล้านบาท
ในกรณีของไทยในช่วงก่อนปี 2540 ก็คือความเฟื่องฟูของอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่นโรงงานเหล็กและการผลิตอื่น ๆในยามที่ไทยกำลังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่และจะเป็น “เสือ” แห่งเอเชีย และตลาดหุ้นที่กำลังคึกคัก
โดยมี “บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์” ซึ่งทำหน้าที่เหมือนแบงก์แต่มีขนาดเล็กกว่าและกล้าเสี่ยงมากกว่า เข้าไปให้บริการรวมถึงการร่วมลงทุนในความเฟื่องฟูนั้น ซึ่งก็เช่นเคยและเกิดขึ้นเสมอก็คือ ในที่สุด “ฟองสบู่” ก็ “แตก” บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มีผลประกอบการขาดทุนอย่างหนัก บริษัทที่ร้อนแรงที่สุดและเป็น “ราชัน” ของวงการคือ “ฟินวัน” ล่มสลายก่อน หลังจากนั้นบริษัทอื่นก็ตามกันมาจนล่มสลายเกือบทั้งหมด
ความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้แบงก์ล้มง่ายก็คือ ลักษณะธรรมชาติของกิจการที่มีหนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินฝากนั้น มีปริมาณมากกว่าทุนของตนเองหลายเท่า บางทีเป็น 10 เท่า ดังนั้น ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจรุนแรงและกระทบกับแบงก์รุนแรง เช่น ดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นเร็วมาก และทำให้ส่วนต่างรายได้และต้นทุนเปลี่ยนเป็นติดลบ ก็อาจจะทำให้เกิดขาดทุน เช่น 10% ของทรัพย์สิน ก็จะทำให้เงินทุนที่มีเพียง 10% หายไปทั้งหมดได้
ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ หนี้สินของธนาคารส่วนใหญ่จะเป็นระยะสั้นและมีเจ้าหนี้จำนวนมากบางทีเป็นล้าน ๆ คนที่ฝากเงิน ในขณะที่ทรัพย์สินที่ปล่อยกู้หรือลงทุนนั้นมักจะเป็นระยะยาวซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า แต่ถ้าวันไหนเจ้าหนี้ “ขาดความมั่นใจ” ว่ากิจการของบริษัทหรือธนาคารอาจจะเลวร้ายและล้มละลายในอนาคต พวกเขาก็จะถอนเงินและไม่ต่ออายุหนี้จำนวนมากที่ถึงกำหนดชำระ ซึ่งแบงก์ก็จะไม่มีเงินสดพอและก็ต้องล้มละลายทันที และนี่ก็คือ “แบงก์รัน”
ข้อสรุปของธุรกิจแบงก์ก็คือ แบงก์ที่ “ซ่า” หรือ “กล้ามาก” โตเร็วมากและอาจจะกำไรดี แต่ทุนอาจจะ “ไม่ค่อยพอ” อาจจะเพราะโตเร็วเกินไป มีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจหรือธุรกิจเปลี่ยน ทำให้ความเชื่อมั่นของคนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะคนฝากเงินหรือเจ้าหนี้หมดไป ซึ่งจะทำให้พวกเขาเริ่มถอนเงินและก่อให้เกิดแบงก์รัน และสุดท้ายในเวลาอันสั้นมากเป็นแค่หลักไม่กี่วัน แบงก์ก็ล้มถ้าไม่มีรัฐบาลหรือคนอื่นที่ใหญ่และแข็งแรงพอเข้ามาช่วย
ประสบการณ์ของผมในช่วงที่บริษัทเงินทุนล้มก็คือ บริษัทปล่อยกู้ให้กับโครงการอสังหาริมทรัพย์จำนวนมากรวมถึงโครงการลงทุนขนาดใหญ่เช่นโรงงานเหล็ก โดยที่บริษัทเงินทุนหลายบริษัทร่วมกันปล่อยกู้แบบซินดิเคทโลน แต่แล้วภาคธุรกิจเหล่านั้นก็เกิดปัญหา
ส่วนหนึ่งก็ตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่กำลังถดถอยลง การส่งออกลดลงและสุดท้ายประเทศต้องแก้ปัญหาลอยตัวอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งทำให้หนี้ของบริษัทต่าง ๆ เพิ่มขึ้นและไม่สามารถจ่ายคืนหนี้แบงก์ได้ กลายเป็นหนี้เสียซึ่งทำให้แบงก์มีปัญหา
ข่าวนี้ทำให้บริษัทเงินทุนถูกถอนเงินและไม่ต่ออายุเงินหนี้เงินกู้ บริษัทเงินทุนที่อ่อนแอและไม่มีแบงก์เป็นบริษัทแม่หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ “ล้ม”ก่อน บริษัทที่ผมอยู่เนื่องจากมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นแบงก์ก็ยังพออยู่ได้แต่อาการ “แบงก์รัน” คือมีผู้ฝากเงินถอนเงินมากกว่าฝากวันละ 3-400 ล้านบาทเกือบทุกวัน
งานปล่อยกู้และให้บริการทางการเงินทุกอย่างหยุดหมด พนักงานเปลี่ยนมาทำเรื่อง “กู้บริษัท” โดยการ “ควบรวม” กับบริษัทที่มีปัญหาอื่น ๆ เพราะไม่มีบริษัทดีหรือใหญ่พอที่จะเข้ามาช่วยควบรวมหรือเพิ่มทุนให้ ว่าที่จริงบริษัทใหญ่ ๆ รวมถึงแบงก์ก็กำลังจะ “ตาย” แนวคิดเรื่องบริษัทที่อ่อนแอมารวมกันเพื่อให้เกิดความแข็งแรงนั้นเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วเมื่อมองย้อนกลับไป แต่ในขณะนั้นเราไม่รู้และไม่เข้าใจ
สุดท้ายบริษัทก็ล่มสลาย ในขณะที่แบงก์ส่วนใหญ่ก็รอดเพราะรัฐบาลปล่อยให้ล้มไม่ได้ ประเทศเริ่มต้นใหม่และเจริญเติบโตต่อไปจนถึงวันนี้และไม่ได้มีวิกฤติแบบปี 2540 อีกเลย โดยเฉพาะในภาคของการเงินที่มีการจัดระบบและการบริหารที่เข้มงวด แบงก์มีการสะสมทุนเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดจนสูงกว่ามาตรฐานมาก พร้อมกับการทำงานอย่างอนุรักษ์นิยม ซึ่งทำให้ผมเชื่อว่า วิกฤติการเงินจากต่างประเทศรอบนี้ จะไม่มีผลอะไรกับสถาบันการเงินของไทยอย่างแน่นอน
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งทะยาน การชะงักของห่วงโซ่อุปทาน และเงินเฟ้อที่เร่งตัวครั้งประวัติศาสตร์จนถึงขนาดที่ธนาคารกลาง Fed ต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายสูงสุดในรอบ 15 ปี เพื่อสู้เงินเฟ้อ คือหลากหลายมูลเหตุที่สร้างความท้าทายให้ตลาดการลงทุน
ในภาวะแบบนี้ หลายคนอาจไม่กล้าลงทุนเพราะเกรงว่าจะสินทรัพย์ต่าง ๆ โดยเฉพาะหุ้น จะไม่สามารถทำผลงานได้ดีเหมือนเคย แต่ถึงอย่างนั้น ข่าวดีคือยังมีสินทรัพย์บางตัวที่สามารถสร้างผลตอบแทนสู้ตลาดหุ้นได้ เพราะราคามีความสัมพันธ์กับตลาดหุ้นต่ำ (stock correlation) สินทรัพย์ทางเลือกเหล่านี้จึงเป็นโอกาสที่หาไม่ได้ในสินทรัพย์ทั่วไป และยังเป็นทางเลือกที่ดีในการจัดพอร์ตแบบ asset allocation เพื่อกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวสัมพันธ์กับหุ้นอีกด้วย
นอกจากหุ้นและตราสารหนี้ ยังมีสินทรัพย์อีกหลายชนิดที่สามารถมอบโอกาสแบบใหม่ ๆ ให้นักลงทุนได้ เช่น การซื้อขายกรมธรรม์ประกันชีวิต อสังหาริมทรัพย์นอกตลาด หุ้นนอกตลาด และสกุลเงิน เนื่องจากธรรมชาติของตัวสินทรัพย์เองไม่ได้เชื่อมโยงกับตลาดหุ้น ลองมาดูกันว่าสินทรัพย์เหล่านี้มีหน้าตาเป็นแบบไหน และมีความพิเศษอย่างไรบ้าง
1. การซื้อขายกรมธรรม์ประกันภัย (Life Settlement)
ปกติแล้วเมื่อผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตต้องการเงินสด ก็จะต้องทำการยกเลิกหรือเวนคืนกรมธรรม์ซึ่งจะได้รับเงินกลับมาต่ำ แต่สำหรับในบางประเทศอย่างเช่นในสหรัฐฯ ผู้ถือกรมธรรม์ประกันสามารถนำกรมธรรม์ไปขายในตลาดเสรีให้กับกองทุนเพื่อรับเงินในมูลค่าที่สูงกว่ากลับมาได้ โดยกองทุนจะเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์และรับภาระจ่ายเบี้ยประกันที่เหลือแทน และกองทุนเหล่านี้ก็จะเปิดให้เข้ามาลงทุนในกองทุนซื้อขายกรมธรรม์ประกันชีวิต (Life Settlement)
การลงทุนใน Life Settlement จะมีความผันผวนต่ำเนื่องจากผลประโยชน์ที่กองทุนได้รับจะมาจากผลประโยชน์ของกรมธรรม์ประกันชีวิตซึ่งบริษัทประกันมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินส่วนนี้ ไม่เหมือนหุ้นที่จะขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัทหรือความเคลื่อนไหวในตลาดหุ้น นอกจากนี้ กองทุนประเภทนี้อาจมีทีมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยเข้ามาวิเคราะห์กรมธรรม์อีกด้วย
ดังนั้น Life Settlement จึงเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ทางเลือกที่ไม่ขึ้นลงตามตลาดหุ้น โดยสินทรัพย์ชนิดนี้มีค่า Stock correlation ที่ -0.04 โดยที่ปกติค่านี้จะอยู่ระหว่าง -1 ถึง 1 (-1 คือสัมพันธ์กันในเชิงลบที่สุด ส่วน 1 คือสัมพันธ์กันในเชิงบวกมากที่สุด)
2. อสังหาริมทรัพย์นอกตลาด (Private Real Estate)
อสังหาริมทรัพย์นอกตลาดเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีตัวเลือกการลงทุนที่หลากหลาย เช่น ออฟฟิศ ค้าปลีก ห้องแลป ที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ โรงงาน ไปจนถึงคลังสินค้า นอกจากนี้ ยังมีหลายตลาดให้เลือกสรรไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ ที่มีสภาพคล่องสูงและมีสภาพสินทรัพย์ดี หรือเอเชียที่อัตราการเติบโตสูง เป็นต้น
นอกจากนี้ สินทรัพย์ชนิดนี้ยังมีความผันผวนต่ำเนื่องจากไม่ได้ถูกซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ราคาไม่ได้เคลื่อนไหวตามข่าวและการเก็งกำไร โดยส่วนใหญ่ราคาจะเคลื่อนไหวตามปัจจัยพื้นฐาน
3. หุ้นนอกตลาด (Private Equity)
เพราะบริษัทที่ดีบางครั้งก็ไม่ได้อยู่ในตลาดหุ้น และบริษัทนอกตลาดมักให้ผลตอบแทนชนะตลาดหุ้นโลกในระยะยาว หุ้นนอกตลาดจึงเป็นหนึ่งในการลงทุนทางเลือกที่น่าสนใจ ทั้งนี้ การเข้าไปลงทุนในหุ้นนอกตลาดมีทางเลือกหลายแบบ เช่น เข้าไปลงทุนในช่วงตั้งต้นกิจการ (Venture Capital) ลงทุนในช่วงที่บริษัทเติบโต (Growth Capital) หรือแม้แต่การร่วมทุนโดยการเข้าซื้อกิจการ (Buyout)
การลงทุนในหุ้นนอกตลาดจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนในบริษัทขนาดเล็กที่มีศักยภาพสูง และมี upside ด้านมูลค่าที่สูงกว่าบริษัทใหญ่ ๆ จากนั้นจึงขายหุ้นนั้นหลังจากที่ได้เข้าไปลงทุนและเปลี่ยนผ่านกิจการนั้นให้เติบโตขึ้นแล้ว
การเข้าลงทุนในหุ้นนอกตลาดของกองทุนมักจะมีความใกล้ชิดและสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อบริษัทที่เข้าลงทุนได้สูง อย่างน้อยที่สุดก็คือการได้อัดฉีดเงินลงทุนเข้าไปสู่บริษัทโดยตรง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วแตกต่างจากการลงทุนในหุ้นนอกตลาดที่เป็นการซื้อขายหุ้นจากนักลงทุนรายอื่น ซึ่งไม่ได้ส่งผลบวกโดยตรงดังเช่นการลงทุนในหุ้นนอกตลาด
นอกจากผลตอบแทนที่น่าสนใจ การลงทุนในหุ้นนอกตลาดยังเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน เนื่องจากการลงทุนแบบนี้เปิดโอกาสให้เข้าไปลงทุนในบางอุตสาหกรรมที่ตลาดหุ้นไม่ครอบคลุม นอกจากนี้ กองทุนหุ้นนอกตลาดมักมีความผันผวนของราคาต่ำกว่าหุ้นในตลาด เนื่องจากเป็นราคาที่สะท้อนตามการประเมินปัจจัยพื้นฐาน ไม่มีการเคลื่อนไหวตามข่าวและการเก็งกำไรดังเช่นหุ้นที่ซื้อขายในตลาด
4. สกุลเงิน (Currency)
การลงทุนในสกุลเงินสามารถเข้าถึงได้โดยการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ทางการเงินที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงในสกุลเงินหลักต่างประเทศหลายประเภท เช่น สัญญาฟิวเจอร์ส (futures) สัญญาฟอร์เวิร์ด (forwards) และสัญญาสวอป (swaps) ทั้งนี้ ตลาดซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราถือเป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยใหญ่กว่าตลาดหุ้นถึง 25 เท่า
การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกประเภทนี้เหมาะกับการกระจายการลงทุนจากหุ้น เพราะแม้ค่าเงินอาจมีความผันผวนสูงในตัวเอง แต่มักมีความสัมพันธ์กับสินทรัพย์การลงทุนพื้นฐานทั้งหุ้นและตราสารหนี้เป็นลบ ซึ่งถือว่าสามารถลดความเสี่ยงภาพรวมได้ดีที่สุด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ที่ใช้ และหากใช้กลยุทธ์การลงทุนทั้ง Short และ Long ก็สามารถเพิ่มโอกาสทำกำไรได้ในทุกสภาวะตลาด
กองทุน UI หรือ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra Accredited Investor Mutual Fund) คือช่องทางที่จะทำให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงโอกาสที่หาไม่ได้จากสินทรัพย์ทั่วไป ทั้ง กรมธรรม์ประกันชีวิต อสังหาริมทรัพย์นอกตลาด หุ้นนอกตลาด ไปจนถึงสกุลเงิน ที่ให้ผลตอบแทนน่าประทับใจ มีความสัมพันธ์กับตลาดหุ้นต่ำ ตอบโจทย์การกระจายการลงทุนจากหุ้น
หากพิจารณาทางเลือกการลงทุนเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นด้วยผลตอบแทนที่ผ่านมาก็จะพบว่าสินทรัพย์ดังกล่าวมีผลงานที่น่าสนใจ โดยในตารางที่ยกมาข้างล่างจะเป็นการแสดงถึงผลตอบแทนเฉลี่ยในอดีตของกองทุนตัวอย่างที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก
ตารางแสดงผลตอบแทนต่อปีย้อนหลังของกองทุนตัวอย่างที่ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกแต่ละประเภท
Source: FINNOMENA as of 13/3/2022
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
*กองหลักตัวอย่างอาจหมายถึงกองทุนหลักในต่างประเทศหรือกองทุนอื่นที่บริหารจัดการด้วยผู้จัดการกองทุนรายเดียวกันด้วยกลยุทธ์ที่เหมือนหรือใกล้เคียงกับกองทุนหลักที่เข้าไปลงทุน แต่อาจมีผลการดำเนินการที่ยาวกว่าหรือ share class ต่างกัน โดยพยายามคัดสรรตัวอย่างจากทางเลือกที่ให้ track record ของผลตอบแทนในอดีตที่ยาวที่สุด ผลตอบแทนในสกุลเงินของกองทุนหลักตัวอย่าง และยังไม่รวมค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆของระดับกองทุนในไทย
สำหรับนักลงทุนที่สนใจโอกาสการลงทุนสุดพิเศษในสินทรัพย์นอกกระแส สามารถลงทุนได้ผ่านกองทุน UI ที่ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 46 กองทุนในไทย ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกหลากหลายรูปแบบ
และสำหรับนักลงทุนท่านใดที่ไม่อยากพลาดโอกาสการลงทุนในกองทุน UI ที่ FINNOMENA คัดมาให้เป็นพิเศษ สามารถรับคำแนะนำการลงทุนได้ทันที พิเศษเฉพาะผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์กำหนด
Reference
https://www.investopedia.com/terms/c/correlation.asp
https://www.schroders.com/en/hk/institutional-service/strategic-capabilities/private-assets/
https://www.institutionalinvestor.com/article/b1h72k0u8tts00/Everyone-Wants-to-Know-What-Private-Assets-Are-Really-Worth-The-Truth-It-s-Complicated
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
วันนี้ (20 มีนาคม 2023) ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงถ้วนหน้า นำโดย ตลาดหุ้นฮ่องกง (HSI) ปรับตัวลง 3.32% ตลาดหุ้นเวียดนาม (VN30) ลดลง 2.0% หุ้นญี่ปุ่น (Nikkei 225) ลดลง 1.4% หุ้นจีน (CSI 300) ลดลง 0.5% จากแรงเทขายในกลุ่มธนาคาร หลังทางการสวิสเซอร์แลนด์ประกาศว่า ผู้ที่ถือตราสารหนี้ Additional Tier 1 (AT1) ของธนาคาร Credit Suisse ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต้องรับความเสียหายไปด้วย ส่งผลให้ตราสารหนี้ AT1 และหุ้นของธนาคารต่าง ๆ ถูกเทขาย โดยเฉพาะของ ธนาคาร HSBC และธนาคาร Standard Chartered เนื่องจากกังวลว่าอาจจะได้รับความเสียหายหากสถานการณ์ลุกลาม
โดยตราสารหนี้ Additional Tier 1 (AT1) เป็นตราสารทางการเงินที่ถูกสร้างขึ้นมาหลัง Global Financial Crisis ปี 2008 เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับฐานทุนของธนาคารพาณิชย์ โดยถ้าธนาคารผู้ออกตราสารหนี้ AT1 เกิดปัญหาขึ้น ตราสารหนี้ AT1 อาจถูกเปลี่ยนจากตราสารหนี้เป็นตราสารทุนได้ทันที ซึ่งหมายความว่า นักลงทุนในตราสารหนี้ AT1 อาจต้องรับความเสียหายเหมือนผู้ถือหุ้น เพื่อไม่ให้ต้นทุนในการเข้าช่วยเหลือสถาบันการเงินของภาครัฐฯ มากเกินไป
FINNOMENA Investment Team มองว่าในระยะสั้นภาพรวมตลาดหุ้นเอเชียจะยังคงมีความผันผวนต่อไปโดยเฉพาะในกลุ่มธนาคารและการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประกอบกับการประชุม FOMC ในวันที่ 21-22 มีนาคม ซึ่งยังคงมีความไม่แน่อนด้านนโยบายการการเงิน ดังนั้นในระยะสั้นแนะนำชะลอการลงทุน ก่อนทยอยสะสม หลังเหตุการณ์ต่าง ๆ เริ่มคลี่คลาย
ในระยะกลางถึงยาวเรามองภาพรวมตลาดหุ้นเอเชียเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น หลังทางจีนรายงานดัชนี PMI ที่แข็งแกร่งซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณยืนยันว่าการผ่อนปรนมาตรการคุมเข้มโควิด-19 ของจีน ช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นได้ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อภาพรวมตลาดหุ้นเอเชีย นอกจากนี้ยังเริ่มเห็นการปรับประมาณการกำไรขึ้นของตลาดหุ้นจีน (CSI300) และฮ่องกง (HSI) ประมาณ 14.8% และ 15.5% ตามลำดับหลังจากรัฐบาลจีนผ่อนปรนมาตรการคุมเข้มโควิด-19 ขณะที่การปรับประมาณการกำไรของตลาดหุ้นเอเชียอื่นๆอยู่ในทิศทางทรงตัว ยกเว้นเกาหลีใต้ที่ถูกปรับลดประมาณการกำไรลง ในแง่ของ Valuation ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่อยู่ในระดับถูกเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ยกเว้นเกาหลีใต้และอินเดียที่แพงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต
เรามีมุมมองเป็นกลางต่อภาพรวมตลาดหุ้นเอเชียเนื่องจากมีบางประเทศที่มีความเสี่ยงด้านผลกระทบเศรษฐกิจโลกชะลอตัว อาทิ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย แต่เราชื่นชอบตลาดหุ้นจีนมากกว่า โดยแนะนำทยอยสะสมในกองทุน KT-ASHARES-A และ K-CHINA-A(A) และชื่นชอบตลาดหุ้นเวียดนามโดยแนะนำกองทุน PRINCIPAL-VNEQ-A
——————-
ท่าทีของธนาคารกลางทั่วโลกที่ต่างเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อสูงในช่วงปี 2022 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ และยุโรป ได้สร้างแรงกดดันต่อสภาวะการลงทุนอย่างต่อเนื่อง จากความกังวลว่าอาจทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย หรือวิกฤติในที่สุด ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วข้างต้น เริ่มส่งผลให้เกิดปัจจัยเสี่ยงที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติ หรือเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหม่ อาทิ
รูปที่ 1: Silicon Valley Bank Timeline Source: FINNOMENA, Tradingview as of 16/03/2023
Silicon Valley Bank (SVB) เป็นธนาคารท้องถิ่นที่เน้นการปล่อยสินเชื่อให้บริษัทเทคโนโลยีขนาดกลาง ขนาดเล็ก และ start-up พร้อมกับรับฝากเงินจากบริษัทเทคโนโลยีใน Silicon Valley รวมถึง venture capital ซึ่งการชะลอตัวของอุตสาหกรรม start-up ได้ส่งผลถึงปริมาณเงินฝากและสภาพคล่องของธนาคารที่ลดลง เมื่อธนาคารต้องขายสินทรัพย์อย่างตราสารหนี้ระยะยาวที่ยังไม่ครบกำหนดไถ่ถอนเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง จนเป็นผลให้เกิดการบันทึกผลขาดทุนในงบการเงินไตรมาสล่าสุด และถูกปรับลด credit outlook ลง นำไปสู่การถอนเงินจำนวนมาก (bank run) จากความไม่เชื่อมั่นต่อธนาคารทำให้ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (FDIC) เข้าควบคุมกิจการและสร้างความเชื่อมั่นกับผู้ฝากเงินโดยประกาศคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวน พร้อมกันนั้นธนาคารกลางสหรัฐฯ และกระทรวงการคลังได้เสริมสภาพคล่องผ่านระบบ BTFP (Bank Term Funding Program) เพื่อหยุดปัญหาที่อาจจะเกิดหากความกังวลแพร่กระจายออกไป อย่างไรก็ตาม FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่ายังต้องติดตามผลกระทบด้านความเชื่อมั่นอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการรับประกันดังกล่าวนั้นยังอยู่ในวงจำกัด และกระแสความอาจยังส่งผลให้ธนาคารท้องถิ่นบางรายมีโอกาสเกิด bank run และสร้างความผันผวนได้อีก
รูปที่ 2: ทางเลือกของ Fed ในการประชุมวันที่ 22 มีนาคม 2023 Source: FINNOMENA as of 16/03/2023
จึงเป็นปัจจัยที่นักลงทุนควรติดตามอย่างใกล้ชิดว่าผลการประชุม FOMC ในวันที่ 22 มีนาคมนี้ จะออกมาในรูปแบบใด เมื่อเฟดยังต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ หลังจากที่ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ยังอยู่สูงกว่าเป้าหมาย แต่ความเปราะบางของระบบธนาคารสหรัฐฯ เริ่มแสดงออกมาให้เห็นมากขึ้นจากการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ทำให้ในการประชุมครั้งนี้เกิดความไม่แน่นอนด้านทิศทางการดำเนินนโยบาย
ซึ่งตลาดคาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อจะหมายถึงเฟดให้ความสำคัญกับการต่อสู้กับเงินเฟ้อ และไม่ได้กังวลกับวิกฤติธนาคารที่เกิดขึ้นมาก และเพิ่มแรงกดดันต่อเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แต่หากมีการเปลี่ยนท่าทีเป็น dovish (หยุดขึ้น หรือลดอัตราดอกเบี้ย) แม้จะส่งผลให้สภาพคล่องที่ตึงตัวผ่อนคลายลง แต่การเปลี่ยนท่าทีอย่างรวดเร็ว อาจเป็นการส่งสัญญาณว่าเฟดยอมรับถึงความเสี่ยงวิกฤตรอบใหม่ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งอาจสร้างความกังวล และส่งผลให้ตลาดผันผวนได้เช่นเดียวกัน
รูปที่ 3: Credit Default Swap ของ ธนาคารขนาดใหญ่ Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 16/03/2023
ทางด้านยุโรป ธนาคาร Credit Suisse ที่มีปัญหาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ปี 2008 ทั้งข่าวเชื่อมโยงกับการฟอกเงิน และการฉ้อโกงภายในอีกจำนวนมาก ส่งผลให้ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง เมื่อเกิดความไม่แน่นอนในกลุ่มธนาคารในสหรัฐฯ ส่งผลให้ Credit Suisse เป็นอีกหนึ่งสถาบันการเงินที่เจอภาวะ bank run สร้างความกังวลต่อนักลงทุน ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงมาถึง 97% จากจุดสูงสุดในปี 2007 และส่งผลให้ราคาของ Credit Default Swap (CDS) ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสะท้อนถึงความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูง
ด้าน S&P Global ได้ปรับลดอันดับ credit ของธนาคารลงสู่ระดับ BBB- ซึ่งอีก 1 ระดับจะเข้าสู่ non-investment grade ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดแรงกังวลในวงกว้างด้วยขนาดของธนาคารที่ใหญ่ระดับโลก
เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ อาจจะไม่ได้ลุกลามบานปลาย แต่สิ่งที่ค่อนข้างแน่นอนคือ ความผันผวนสูงที่จะตามมา ดังนั้น FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลดความเสี่ยงเพื่อลด drawdown ที่อาจเกิดขึ้น จากนั้นจึงจะพิจารณากลับมาลงทุนอีกครั้งเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย หรือชัดเจนมากขึ้น
รูปที่ 4: ผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในช่วง Recessions Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 16/03/2023
ในช่วงวิกฤติทุกครั้งที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ อย่าง S&P 500 ต่างปรับตัวลงในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงหุ้นในกลุ่มที่เป็น defensive อย่าง health care ก็ปรับตัวลงเช่นเดียวกัน แต่ก็ปรับตัวลงน้อยกว่าดัชนี
รูปที่ 5: MSCI World และ MSCI Infrastructure Drawdown ในช่วง Recessions Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 16/03/2023
เช่นเดียวกับกลุ่ม infrastructure ก็ปรับตัวลดลงในช่วงสภาวะวิกฤติ แม้จะปรับตัวลดลงน้อยกว่าก็ตาม เราจึงแนะนำปรับลดน้ำหนักการลงทุนกลุ่ม health care และ infrastructure ลงเพื่อรักษาเงินต้น
รูปที่ 6: ผลตอบแทนของ High Yield Bond และ Investment Grade Bond ในช่วง Recessions Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 16/03/2023
ขณะที่ในวิกฤติต่าง ๆ ที่ผ่านมา ตราสารหนี้อันดับความน่าเชื่อถือต่ำ (high yield) มักปรับตัวลงได้มากกว่า ตราสารหนี้ investment grade จากความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงกว่า จึงทำให้เราแนะนำเพิ่ม credit quality ในพอร์ต โดยลดน้ำหนักการลงทุนใน high yield และเพิ่มการลงทุนใน investment grade bond แทน
รูปที่ 7: ผลตอบแทนของทองคำในช่วง Recessions Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 16/03/2023
ในขณะที่ทองคำนับเป็นสินทรัพย์ที่ทำผลตอบแทนได้ดีในช่วงที่เกิดเศรษฐกิจถดถอยและสามารถใช้เป็นสินทรัพย์ในการป้องกันความเสี่ยงให้แก่พอร์ตยามตลาดการเงินผันผวนได้ จึงนำไปสู่การปรับพอร์ตการลงทุน
เพื่อปรับลดสัดส่วนความเสี่ยงของพอร์ตในช่วงเวลาที่มีความไม่แน่นอน FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำปรับลดสัดส่วนการลงทุนใน KFINFRA-A ซึ่งลงทุนใน global infrastructure ลง เพื่อรักษาเงินต้น แม้ global infrastructure จะปรับตัวลงน้อยกว่าหุ้นทั่วโลกก็ตาม และแนะนำถือกองทุน KFSPLUS-A เพื่อเป็นสภาพคล่องและรอโอกาสการลงทุน
และแนะนำลดสัดส่วนการกองทุน UDB-A ซึ่งลงทุนใน Jupiter Dynamic Bond Fund ลง จากการมีสัดส่วนลงทุนใน high yield bond ถึง 49.9% โดยมีค่าเฉลี่ยของ credit rating อยู่ที่ระดับ BBB ซึ่งมีความเสี่ยงการปรับตัวลง (downside risk) มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกัน เนื่องจาก UGIS-A มีการลงทุนในตราสารที่มี credit rating เฉลี่ยระดับ A+
เพื่อปรับลดสัดส่วนความเสี่ยงของพอร์ตในช่วงเวลาที่มีความไม่แน่นอน FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำปรับลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน KKP G-UBOND-H ซึ่งลงทุนใน Jupiter Dynamic Bond Fund ลง จากการมีสัดส่วนลงทุนใน high yield bond ถึง 49.9% โดยมีค่าเฉลี่ยของ credit rating อยู่ที่ระดับ BBB ซึ่งมีความเสี่ยงการปรับตัวลง (downside risk) มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกัน เนื่องจาก UGIS-A มีการลงทุนในตราสารที่มีค่าเฉลี่ย credit rating เฉลี่ยระดับ A+
เพื่อปรับลดสัดส่วนความเสี่ยงของพอร์ตในช่วงเวลาที่มีความไม่แน่นอน FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำปรับลดสัดส่วนการลงทุนใน KFHHCARE-A เพื่อรักษาเงินต้น แม้ global healthcare จะปรับตัวลงน้อยกว่าหุ้นทั่วโลกก็ตาม แต่การเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้อาจเกิด drawdown ได้ และปรับเข้าลงทุนในทองคำผ่าน SCBGOLDH เพื่อเป็น safe haven ในการลด drawdown ของพอร์ตการลงทุนลง
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัว ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 11 – 17 มี.ค. 2566 มีกองทุนไหนทำผลตอบแทนได้โดดเด่น และเป็นกองทุนยอดนิยมที่มีผู้ค้นหามากที่สุดบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน FINNOMENA บทความนี้จะขอพาผู้อ่านไปดูกันครับ
(ข้อมูลจาก FINNOMENA Fund Filter ณ วันที่ 17 มี.ค. 2566)
1. UGMAC – กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล แม็คโคร ออพพอร์ทูนิตี้ส์
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +5.96%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +6.32%
2. KT-GMO-A – กองทุนเปิดเคแทม โกลบอล แม็คโคร ออพเพอทูนิตี้ ฟันด์ ชนิดสะสมมูลค่า
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +5.86%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +5.91%
3. UOBSG – H – กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท โกลด์ ฟันด์ – H
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +5.72%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +3.08%
ดูรายละเอียดกองทุนทั้ง 5 อันดับเพิ่มเติม: UGMAC, KT-GMO-A, UOBSG – H, SCBGOLDH, KT-GOLD
หมายเหตุ: ข้อมูลหน่วยราคากองทุน อัปเดตล่าสุด เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2566 ข้อมูลผลตอบแทนบางกองทุนในหน้าจัดอันดับกองทุน อาจมีการแสดงผลตอบแทนที่แตกต่างจากแต่ละหน้ากองทุน เนื่องจากการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน (ซึ่งนับวันที่ในรอบสัปดาห์แตกต่างกัน)
ลงทุนกองไหนดี ? อ่านโพยกองทุน แนะนำกองทุนสำหรับลงทุนระยะยาว 3-5 ปี คลิก: https://finno.me/cheat-sheet-update
(ข้อมูลจาก FINNOMENA Fund Filter ณ วันที่ 17 มี.ค. 2566)
1. PRINCIPAL VNEQ-A : กองทุนเปิดพรินซิเพิล เวียดนาม อิควิตี้ ชนิดสะสมมูลค่า
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: -0.78%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): -1.66%
อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุนเวียดนาม ครบจบในที่เดียว!
ซื้อกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A คลิก
2. ONE-UGG-RA : กองทุนเปิด วรรณ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ หน่วยลงทุนชนิดไม่จ่ายเงินปันผล สำหรับผู้ลงทุนทั่วไป
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: -1.09%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +7.68%
อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน ONE-UGG-RA : กองทุนหุ้นเติบโตทั่วโลก คว้าโอกาสแห่งอนาคต
3. MEGA10-A : กองทุนเปิด MEGA 10 ชนิดสะสมมูลค่า
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: -0.98%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +14.79%
อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน MEGA10: โอกาสลงทุนใน 10 บริษัท ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก
ดูรายละเอียดกองทุนยอดนิยมเพิ่มเติม : PRINCIPAL VNEQ-A, ONE-UGG-RA, MEGA10-A, K-CASH, TMBGQG, UGIS-N, K-CHINA-A(A), B-INNOTECH, K-VIETNAM, SCBS&P500
ลงทุนกองไหนดี ? อ่านโพยกองทุน แนะนำกองทุนสำหรับลงทุนระยะยาว 3-5 ปี คลิก: https://finno.me/cheat-sheet-update
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB เมินสถานการณ์วุ่นวายของตลาดเงินตลาดทุนในยุโรปและทั่วโลก ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ตามเป้าหมายเมื่อวันพฤหัสบดี (16 พ.ค.)
VOA Thai รายงานว่า ในวันพฤหัสบดี ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ย 0.5% หลังจากภาวะเงินเฟ้อยังยังส่งผลกระทบหนักต่อประชาชนใน 20 ประเทศของยุโรปที่ใช้สกุลเงินยูโร ในขณะที่ประเมินว่าเงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ที่ 5.3% ก่อนจะลดลงมาที่ระดับ 2.9% ในปีหน้า และลงไปที่ระดับ 2.1% ในปี 2025 ซึ่งยังคงสูงกว่าระดับเป้าหมายที่ 2% ซึ่งเป็นตัวเลขประมาณการก่อนปัจจัยด้านวิกฤตสถาบันการเงินจะปะทุขึ้นช่วงสัปดาห์นี้
ที่ผ่านมา ECB ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างรวดเร็วเพื่อลดความร้อนแรงของภาวะเงินเฟ้อในภูมิภาค แต่ความวุ่นวายในตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลก อันเป็นผลมาจากการล้มของธนาคารซิลิคอนแวลลีย์ หรือ SVB ของสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อนได้สร้างความกังวลถึงแผนการขึ้นดอกเบี้ยของ ECB ในช่วงโค้งสุดท้าย ซึ่ง ECB ระบุว่าจะติดตามความตึงเครียดในตลาดเงินตลาดทุนที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดและพร้อมจะใช้มาตรการตอบโต้หากจำเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและด้านการเงินในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรต่อไป
หุ้นภาคธนาคารในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร หรือ ยูโรโซน ร่วงหนักในสัปดาห์นี้ ในช่วงแรกนั้นเป็นผลจากเหตุธนาคาร SVB ล้ม และร่วงหนักอีกระลอกเมื่อวันพุธจากกรณีที่ธนาคารเครดิตสวิส (Credit Suisse) สถาบันการเงินขนาดใหญ่อันดับสองของสวิตเซอร์แลนด์ กำลังประสบปัญหาการเงิน และมีความเสี่ยงที่จะต้องล้มลงตามสถาบันการเงินหลายแห่งในสหรัฐฯ ก่อนที่ทางธนาคารแห่งชาติสวิส (Swiss National Bank) จะเข้ามาช่วยเหลือด้วยเงินกู้ 54,000 ล้านดอลลาร์เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ และดันหุ้นธนาคารเครดิตสวิสขึ้นมาราว 20% เช่นเดียวกับหุ้นกลุ่มธนาคารอื่น ๆ
ประเด็นที่ทาง ECB แสดงความกังวล คือ นโยบายการเงินของ ECB ที่ทำผ่านระบบธนาคาร และวิกฤตการเงินอย่างเต็มรูปแบบอาจทำให้นโยบายของธนาคารกลางไร้ประสิทธิภาพได้ ทำให้ตอนนี้ ECB อยู่ระหว่างเส้นทางของการต่อสู้กับเงินเฟ้อที่สูงกว่าระดับเป้าหมายไปมาก ในขณะที่ต้องรักษาเสถียรภาพทางการเงินท่ามกลางวิกฤตทั่วโลก
อ้างอิง: https://www.voathai.com/a/ecb-raises-rates-as-planned-despite-banking-turmoil/7008273.html
——————-
👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน
“เวียดนาม” เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีเศรษฐกิจน่าสนใจและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา GDP ของเวียดนามเพิ่มขึ้นกว่า 8% แตะระดับ 6.5% ถือเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นเร็วที่สุดในรอบ 25 ปี นับตั้งแต่ปี 2540 เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความโดดเด่นทางเศรษฐกิจในบรรดาประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN)
บทความนี้จึงขอพาทุกคนไปส่อง 10 ธุรกิจที่เป็นดาวเด่นในประเทศเวียดนาม จะมีธุรกิจอะไรบ้าง? แต่ละธุรกิจมีจุดเด่นอะไรถึงกลายเป็นดาวเด่นของเวียดนาม? ลองมาดูกัน!
อ่านเพิ่มเติม MEVT Call : เวียดนาม ถูกและดี มีอยู่จริง!
‘Vietcombank’ หรือ ‘Joint Stock Commercial Bank for Foreign Trade of Vietnam’ ก่อตั้งขึ้นในปี 1963 เป็นสถาบันการเงินที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดในเวียดนาม ด้วยมูลค่าตลาดกว่า 18.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566) โดยให้บริการผลิตภัณฑ์ด้านการธนาคารพาณิชย์แก่ลูกค้าบุคคลและลูกค้าองค์กรแบบครบครัน ไม่ว่าจะเป็น ด้านเงินฝาก สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเดบิตและเครดิต รวมถึงบริการซื้อขายหลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังมีบริการที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมต่างประเทศ เช่น การซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การจัดหาเงินทุนเพื่อการค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ
ปัจจุบัน Vietcombank มีสาขาธนาคารมากกว่า 100 แห่ง ในเวียดนาม นอกจากนี้ยังลงทุนในบริษัทย่อยกว่า 10 บริษัท ซึ่งได้แก่ Vietcombank Financial Leasing, Vietcombank Securities, Vietcombank Tower 198, Vietnam Finance, Vietcombank Laos, Vietcombank Money, Vietcombank Remittance, Vietcombank – Bonday – Ben Thanh, Vietcombank Fund Management, Vietcombank – Cardif Life Insurance และ Vietcombank Bonday
‘Hoa Phat’ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตชั้นนำในเวียดนามที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1992 โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นบริษัทผู้จัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ก่อสร้าง และค่อย ๆ ขยายธุรกิจไปสู่การผลิตและจัดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ ท่อเหล็ก เหล็ก เครื่องทำความเย็น อสังหาริมทรัพย์ และการเกษตร
Hoa Phat Group ประกอบธุรกิจด้านการผลิตเหล็กเป็นหลัก โดยคิดเป็นรายได้และกำไรกว่า 80-90% ของกลุ่มบริษัท ด้วยกำลังการผลิตเหล็กดิบ 8 ล้านตันต่อปี พร้อมกับความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเหล็กยาวนานกว่า 30 ปี ส่งผลให้ Hoa Phat Group ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ในเวียดนามสำหรับตลาดเหล็กก่อสร้าง ท่อเหล็ก และเนื้อวัวออสเตรเลีย ด้วยมูลค่าบริษัทกว่า 4.90 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566) นอกจากนี้ยังเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
‘VP Bank’ หรือ ‘Vietnam Prosperity Joint Stock Commercial Bank’ เป็นผู้ให้บริการทางการเงินตั้งแต่ปี 1993 และเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทั้งในด้านขนาดสินทรัพย์และฐานลูกค้า โดยเป็นสถาบันการเงินที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดเป็นอันดับ 4 ในเวียดนาม ด้วยมูลค่าตลาดกว่า 4.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566)
VP Bank ให้บริการผลิตภัณฑ์และบริการด้านการเงินที่หลากหลายแก่องค์กรและบุคคลทั่วไปในเวียดนาม เช่น บัญชีกระแสรายวันและออมทรัพย์ เงินฝากประจำและเงินฝากเผื่อเรียก สินเชื่อ บัตรเครดิตและบัตรเดบิต การโอนเงินระหว่างประเทศ การจัดหาเงินทุนเพื่อการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนบริการด้านประกัน เช่น ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันรถจักรยานยนต์ และประกันสินเชื่อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น ธนาคารบนมือถือและอินเทอร์เน็ตเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมสำหรับลูกค้าที่อยู่ในเวียดนามและต่างประเทศ
‘FPT’ หรือ ‘FPT Corporation’ ก่อตั้งขึ้นในปี 1988 เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ด้วยมูลค่าตลาดกว่า 3.70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566)
ปัจจุบัน FPT ดำเนินธุรกิจ 3 ภาคส่วน ผ่าน 10 บริษัทย่อยในเครือที่ให้บริการในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ได้แก่ 1.) ภาคส่วนเทคโนโลยี เป็นผู้ให้บริการโซลูชันดิจิทัลสำหรับบริการสำหรับการเงินและการธนาคาร และบริการด้านสุขภาพ ผลิตแผงวงจรขนาดเล็ก (microcircuit) ขายปลีกคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ 2.) ภาคส่วนโทรคมนาคม เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตชั้นนำของเวียดนาม ผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท เช่น FPT Internet ให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยแพ็คเกจที่หลากหลาย, FPT Television ให้บริการโทรทัศน์ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ และ iOT/Smart Home เป็นต้น และ 3.) ภาคส่วนการศึกษา มีการขยายธุรกิจไปสู่ภาคการศึกษาอย่างเต็มรูปแบบผ่าน ‘FPT Education’ พร้อมเปิดรับนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ไปจนถึงระดับอุดมศึกษา
‘MB Bank’ หรือ ‘Military Commercial Joint Stock Bank’ ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 เป็นผู้ให้บริการด้านการธนาคารแก่องค์กรและบุคคลทั่วไปในเวียดนามและต่างประเทศที่มีความโดดเด่นจากธนาคารอื่น ๆ ในเวียดนามด้วยการให้บริการลูกค้าที่ดีเยี่ยม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สูง และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำ ปัจจุบัน MB Bank มีมูลค่าบริษัทกว่า 3.30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566)
MB Bank นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการด้านการธนาคารแบบครบครัน ไม่ว่าจะเป็น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ บัญชีเงินฝากประจำ บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อเพื่อธุรกิจ สินเชื่อเพื่อผู้บริโภค บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และบริการธนาคารดิจิทัล ตลอดจนบริการจัดการหนี้และสินทรัพย์ นอกจากนี้ธนาคารยังเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ พร้อมให้บริการที่เกี่ยวข้องการลงทุนและซื้อขายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงบริการประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันวินาศภัย
‘Sacombank’ หรือ ‘Saigon Thuong Tin Commercial Joint Stock Bank’ ก่อตั้งขึ้นในปี 1991 เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการผลิตภัณฑ์และบริการด้านการธนาคารที่หลากหลายแก่ลูกค้าบุคคลและลูกค้าองค์กรในเวียดนาม ไม่ว่าจะเป็น บัญชีกระแสรายวัน บัญชีออมทรัพย์ และเงินฝากประจำ บัตรเดบิตและบัตรเครดิต สินเชื่อเพื่อธุรกิจ สินเชื่อไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และสินเชื่อวิสาหกิจขนาดลางและขนาดย่อม (SME) บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและประกันวินาศภัย นอกจากนี้ธนาคารยังมีส่วนร่วมในการระดมทุน เช่า ผลิต และค้าทองคำและเครื่องประดับ รวมถึงขายปลีกทองคำ เงิน เพชรพลอย และเครื่องประดับอีกด้วย
ปัจจุบัน Sacombank มีมูลค่าบริษัทกว่า 1.88 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566) โดยให้บริการลูกค้ามากกว่า 6 ล้านคนทั่วทั้งเวียดนามผ่านเครือข่ายสาขาธนาคารกว่า 500 แห่ง ซึ่งหลังจากจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ในปี 2549 Sacombank ได้กลายเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมธนาคาร ด้วยบริการด้านการธนาคารที่หลากหลายทำให้ธนาคารมีความโดนเด่นต่างจากธนาคารอื่น ๆ ในเวียดนาม
‘Phu Nhuan Jewelry’ หรือ ‘Phu Nhuan Jewelry Joint Stock Company’ ก่อตั้งขึ้นในปี 1988 เป็นผู้ผลิต ค้าปลีก นำเข้าและส่งออกทองคำ เงิน เครื่องประดับ และอัญมณีในเวียดนาม บริษัทนำเสนอผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ในเครือ ได้แก่ CAO Fine Jewellery, PNJ Gold Jewelry, PNJ Silver, Style By PNJ, Disney, PNJ Art และ PNJ Watch โดยส่งออกผลิตภัณฑ์ของบริษัทไปยัง 13 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีบริการตรวจสอบและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องประดับภายใต้แบรนด์ PNJ Lab อีกด้วย
ณ วันที่ 28 ก.พ. 2565 Phu Nhuan Jewelry มีร้านทอง 320 สาขา, ร้านเงิน 11 สาขา, ร้าน CAO Fine Jewellery 3 สาขา, ร้านนาฬิกา 89 สาขา รวมถึงช่องทางจำหน่ายสินค้าออนไลน์ โดยปัจจุบัน Phu Nhuan Jewelry มีมูลค่าบริษัทกว่า 1.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566)
‘Phu My Fertilizer Plant’ หรือ ‘PetroVietnam Fertilizer and Chemicals Corporation’ หนึ่งในบริษัทในเครือของ Vietnam Oil and Gas Group (Petrovietnam) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2003 เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปุ๋ย แอมโมเนียเหลว ก๊าซ และผลิตภัณฑ์เคมีอื่น ๆ สำหรับการเกษตรและอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซทั้งในเวียดนามและต่างประเทศ
นอกจากนี้บริษัทยังมีส่วนร่วมในการผลิตและการจำหน่ายไฟฟ้า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การขายส่งผลิตผลทางการเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์น้ำมัน ก๊าซ และแร่ธาตุ และการขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือ ตลอดจนให้บริการขนส่งสินค้าทางบกและทางน้ำ และบริการคลังสินค้า ปัจจุบัน Phu My Fertilizer Plant มีมูลค่าตลาดกว่า 577.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566)
‘PV Drilling’ หรือ ‘PetroVietnam Drilling & Well Service Corporation’ อีกหนึ่งในบริษัทในเครือของ Vietnam Oil and Gas Group (Petrovietnam) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2001 เป็นผู้ให้บริการมืออาชีพด้านแท่นขุดเจาะ รวมถึงบริการที่เกี่ยวข้องกับการขุดเจาะแก่อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซทั้งในเวียดนามและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบ ตรวจสอบ ซ่อมแซม และบำรุงรักษา ตลอดจนการจัดหากำลังคนสำหรับดำเนินการขุดเจาะบนบกและนอกชายฝั่ง ปัจจุบัน PV Drilling มีมูลค่าบริษัทกว่า 496.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566)
‘Ha Do Group’ หรือ ‘Ha Do Group Joint Stock Company’ ก่อตั้งขึ้นในปี 1990 ประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ การพัฒนาด้านพลังงาน และการก่อสร้างในเวียดนาม บริษัทมีส่วนร่วมในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา อุตสาหกรรม และการขนส่ง การชลประทาน ไฟฟ้าพลังน้ำ และระบบสาธารณูปโภค (M&E) รวมถึงบริการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบและก่อสร้าง การพัฒนาและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ บริการให้คำปรึกษาด้านการลงทุนและจำหน่ายโครงการอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนบริการเดินเครื่องสำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ นอกจากนี้บริษัทยังลงทุนในธุรกิจรีสอร์ต โรงแรม และร้านอาหารอีกด้วย ปัจจุบัน Ha Do Group มีมูลค่าบริษัทกว่า 303.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566)
.
ใครสนใจลงทุนในธุรกิจดาวเด่นของเวียดนามทั้ง 10 บริษัทนี้ สามารถลงทุนได้ผ่านกองทุนที่ทาง FINNOMENA ได้มีการทำ MEVT Call อย่างกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A กองทุนหุ้นเวียดนามจาก บลจ. PRINCIPAL บริหารโดยผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนในเวียดนาม พร้อมรับโอกาสเติบโตไปกับเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม
อ่านบทความ “รีวิวกองทุน Principal VNEQ-A: กองทุนผลตอบแทนโดดเด่น รับโอกาสเติบโตของประเทศเวียดนาม”
คัดเลือกกองทุนอย่างเมพ ด้วยจังหวะขั้นเทพกับ “MEVT Call”
👉 ลงทุนใน MEVT Call คลิก >>> https://finno.me/mevt-web
ยิ่งลงทุนเยอะ ยิ่งได้ Cashback คุ้มกว่า สูงสุด 20%!!!
“FINT Cashback” ฟีเจอร์ใหม่จาก FINNOMENA
ลูกค้าจะได้รับส่วนลดค่าธรรมเนียม “Front-end-fee” สำหรับ “การซื้อกองทุน” ได้สูงสุด 20%
ยิ่งซื้อมากขึ้นยิ่งลดมากกว่า ลงทุนกับเราเลย
ศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขกิจกรรมได้ที่ https://finno.me/cashback-ac
— planet 46.
อ้างอิง
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”