ความผันผวนเป็นตัววัดว่าราคาเคลื่อนไหวเร็วเท่าไร และเคลื่อนไหวขนาดไหน
สำหรับกองทุนรวมนั้น ตัววัดที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ “ความผันผวนรายเดือน” ซึ่งคำนวณโดยใช้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ Standard Deviation (SD)
Standard Deviation จะวัดว่าผลตอบแทนของกองทุนนั้นเบี่ยงเบนออกจากผลตอบแทนก่อนหน้านี้ หรือค่าเฉลี่ยของกองทุนประเภทเดียวกันมากน้อยแค่ไหน ยิ่งมากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสสูงที่ผลตอบแทนจะเหวี่ยงจากค่าเฉลี่ยเยอะ ตัวอย่างเช่น กองทุนที่มี SD 10% ก็จะผันผวนกว่ากองทุนที่มี SD เท่ากับ 5% เป็นต้น ดังนั้นยิ่ง SD น้อยเท่าไร ก็ยิ่งดี
จากกราฟด้านซ้าย เป็นผลตอบแทนหากลงทุนในดัชนี MSCI ACWI ตั้งแต่ปี 1990 จนถึงปี 2020 เราจะเห็นได้ว่าแม้ระหว่างทางจะเกิดความผันผวนขึ้น แต่เมื่อมองยาว ๆ แล้ว ผลตอบแทนทบต้นจะทำให้เรามีเงินมูลค่า $113,250 เลยทีเดียว นับเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 8.43%
จากรูปด้านขวา เป็นการจำลองผลตอบแทนของพอร์ตในระยะเวลา 20 ปี ถึงเดือนธันวาคม ปี 2020 โดยจะเปรียบเทียบประเภทการกระจายสินทรัพย์กับผลขาดทุนสูงสุดในระยะเวลา 1 ปี จะเห็นได้ว่าพอร์ตที่ลงทุนหุ้นล้วนนั้นเจอผลขาดทุนย้อนหลัง 1 ปีที่สูงมาก เมื่อเทียบกับพอร์ตอื่น ๆ ที่กระจายลงทุนในหลาย ๆ สินทรัพย์ โดยพอร์ตที่มีผลขาดทุนย้อนหลัง 1 ปีน้อยสุดคือพอร์ตที่ผสมผสานระหว่าง หุ้น 20% ตราสารหนี้ 60% และเงินสด 20%
ดังนั้นสำหรับใครที่ให้ความสำคัญกับการจำกัดความเสี่ยง และต้องการสร้างพอร์ตที่มีความผันผวนน้อย การกระจายลงทุนโดยเน้นหนักไปที่ตราสารหนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ
Asset Allocation คือการกระจายการลงทุนในหลาย ๆ สินทรัพย์ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ อสังหาฯ เงินสด ฯลฯ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการกระจายความเสี่ยง ให้พอร์ตไม่ผันผวนเกินไปในแต่ละช่วงเวลา เนื่องจากแต่ละสินทรัพย์ก็จะมีช่วงเวลาที่ทำผลงานได้ดี/ไม่ดีต่างกันไป ไม่มีทางที่ทุก ๆ สินทรัพย์จะทำผลงานได้ดีกันทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ก็ไม่มีสินทรัพย์ไหนที่ตรงตามความต้องการของเราทุกประการ เราจึงต้องลงทุนแบบผสมผสานกันไป
จากตารางด้านบนจะเห็นได้ว่า ในแต่ละปีนั้นสินทรัพย์ที่ทำผลงานได้ดี/ไม่ดีก็จะแตกต่างกันไป ไม่มีสินทรัพย์ไหนที่ครองแชมป์ทุกปี หรืออยู่ที่โหล่ทุกปี การจัดพอร์ตจะช่วยให้พอร์ตของเราไม่ผันผวนเกินไป เพราะจะผสมผสานระหว่างสินทรัพย์ที่ทำได้ดีที่สุด ดีปานกลาง และดีน้อยสุด ทำให้เกิดพอร์ตที่ไม่เหวี่ยงเกิน เป็นค่าเฉลี่ยที่เกิดจากการผสมรวมของทุก ๆ สินทรัพย์นั่นเอง
เนื้อหาต้นฉบับโดย Franklin Templeton
เรียบเรียงโดย FINNOMENA Admin
ข้อสงวนสิทธิ์
แฟรงคลิน เทมเพิลตัน (“Franklin Templeton”) ไม่รับผิดใด ๆ ต่อบุคคลภายนอก ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ บริการ เว็บไซต์ หรือเนื้อหาใด ๆ ที่ได้จัดทำหรือปรากฏในช่องทางต่าง ๆ ของบุคคลภายนอกนั้น อีกทั้ง Franklin Templeton ไม่ได้ให้คำรับรอง รับประกัน หรือเป็นตัวแทน ไม่ว่าจะโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายในเนื้อหาหรือความถูกต้องของข้อมูลในช่องทางต่าง ๆ ของบุคคลภายนอก และไม่รับผิดต่อสิ่งใด ๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้น
ในกรณีที่มีความแตกต่างกันระหว่างเอกสารภาษาอังกฤษกับการแปลเป็นภาษาไทย ให้ยึดถือตามเอกสารภาษาอังกฤษ
แหล่งข้อมูล
MCANN อยู่ในช่วง IPO ระหว่างวันที่ 19-27 เม.ย. 2564 ลูกค้า FINNOMENA สามารถโทรเข้ามาทำรายการซื้อได้ก่อนเวลา 14.00 น. ของแต่ละวันทำการ
หากพูดถึง “กัญชา” แต่ก่อนเราอาจจะนึกไปถึงสารเสพติดผิดกฎหมายชนิดหนึ่งที่เสพแล้วทำให้มึนเมาและเคลิบเคลิ้ม แต่สำหรับตอนนี้ไม่ได้เป็นเช่นนั้นอีกต่อไปแล้ว เพราะกัญชาได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์อย่างถูกกฎหมายในหลายประเทศทั่วโลก และ บลจ.เอ็มเอฟซี (MFC) ก็ได้เห็นถึงโอกาสการลงทุนในตลาดกัญชาจึงได้สรรค์สร้างกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นกัญชาทั่วโลก เป็นกองทุนแรกในประเทศไทย นั่นคือกองทุน “MCANN” ที่เปิด IPO ในวันที่ 19 – 27 เมษายนนี้ แต่ก่อนจะไปทำความรู้จักกับกองทุน MCANN เรามาทำความรู้จักกับพืชมหัศจรรย์อย่างกัญชาให้มากขึ้นสักนิดดีกว่าว่ากัญชาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ได้อย่างไรบ้าง และทำไมตลาดกัญชาจึงมีความน่าสนใจ
กัญชา หรือ Cannabis เป็นพืชให้ดอกชนิดหนึ่งในวงศ์ Cannabidaceae มีต้นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียกลาง และกระจายการปลูกอยู่ในหลาย ๆ ส่วนของโลก โดยมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น Cannabis, Marijuana, Ganja หรือบางครั้งก็เรียกว่า Indian Hemp
ในกัญชามีสารที่ชื่อว่า CBD (Cannabidiol) และ THC (Tetrahydrocannabinol) ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้เป็นสารสำคัญที่ทำให้กัญชาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ได้ สำหรับสาร CBD จะมีคุณสมบัติในการลดอาการเจ็บปวด ลดอาการอักเสบของแผล ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ลดอาการชักเกร็ง และลดอาการคลื่นไส้ ส่วนสาร THC จะมีคุณสมบัติต่อจิต ประสาท ทำให้เกิดความผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้ม หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยลดอาการตึงเครียดได้ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการกระตุ้นความอยากอาหารอีกด้วย หากพูดให้เข้าใจกันง่าย ๆ สาร CBD จะมีฤทธิ์ในการ “ระงับประสาท” ส่วนสาร THC จะมีฤทธิ์ในการ “กระตุ้นประสาท” นั่นเอง
สำหรับสายพันธุ์กัญชาจะมีด้วยกันทั้งหมด 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ซาติวา (Cannabis sativa) สายพันธุ์อินดิกา (Cannabis indica) และสายพันธุ์รูเดอราลิส (Cannabis ruderalis) ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็มีคุณสมบัติทางการแพทย์ที่แตกต่างกันไปดังนี้
กัญชาทั้ง 3 สายพันธุ์
ที่มา: https://www.cannhealth.org/
ส่วนของกัญชาที่ถูกจัดเป็นสารเสพติด ได้แก่ บริเวณใบ ยอดช่อดอก และกิ่งก้านที่นำมาตากแดดจนแห้งแล้วบดให้ละเอียด ส่วนของกัญชาที่ไม่ถือว่าเป็นสารเสพติด ได้แก่ เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย สารสกัด CBD ที่มี THC ไม่เกินร้อยละ 0.2% และกากที่เหลือจากการสกัดกัญชา ซึ่งต้องมี THC ไม่เกิน 0.2%
ส่วนของกัญชาและกัญชงที่ไม่เป็นยาเสพติด
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงต้องมีความสับสนระหว่าง “กัญชา” และ “กัญชง” อาจจะคิดว่าทั้ง 2 อย่างนี้คือพืชชนิดเดียวกัน แม้ว่าจะมีต้นกำเนิดเดียวกันแต่พืชทั้ง 2 ชนิดนี้มีข้อแตกต่างกันอยู่ค่อนข้างมาก ประการแรกเลยคือ “ลักษณะทางกายภาพ” ความสูงของต้นกัญชาจะไม่สูงมากหากเทียบกับกัญชง โดยต้นกัญชาจะมีความสูงไม่เกิน 2 เมตร มีลักษณะเป็นต้นพุ่ม แตกกิ่งก้านสาขาค่อนข้างมาก มีใบสีเขียวจัด 5-7 แฉก เรียงชิดกัน ในขณะที่ต้นกัญชงขะมีความสูงมากกว่า 2 เมตร มีลักษณะลำต้นสูงเรียว แตกกิ่งก้านสาขาน้อย มีใบสีเขียวอ่อนประมาณ 7-11 แฉก เรียงสลับกันค่อนข้างห่าง
นอกจากจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของลักษณะทางกายภาพแล้วยังมีความแตกต่างกันในเรื่องของ “ปริมาณสารสกัด” ที่ได้จากพืชทั้ง 2 ชนิดนี้อีกด้วย อย่างที่ได้บอกไปข้างต้นว่าสารสำคัญของกัญชาจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ สาร THC และ สาร CBD
ในกัญชงก็มีสารทั้ง 2 ชนิดนี้เช่นกัน แต่สำหรับกัญชาจะมีสาร THC ในปริมาณที่มากกว่ากัญชง โดยสาร THC ที่อยู่ในกัญชาจะมีปริมาณประมาณ 1-20% ในขณะที่สาร CBD จะเป็นสารที่พบได้ในกัญชงมากกว่ากัญชา โดยพบประมาณ 2% สำหรับประโยชน์อีกหนึ่งอย่างที่น่าสนใจของกัญชงคือสามารถนำไปเป็นเส้นใยในการผลิตเสื้อผ้าได้ เนื่องจากกัญชงเป็นพืขที่ให้เส้นใยยาว มีความละเอียดใกล้เคียงกับลินิน มีความเหนียวทนทาน และเงางาม
กองทุน MCANN หรือกองทุน MFC Global Cannabis Fund จากบลจ.เอ็มเอฟซี (MFC) มี นโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลกที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ทางกัญชา (Cannabis) หรือกัญชง (Hemp) ที่ถูกกฎหมาย ซึ่งรวมถึงบริษัทที่สร้างรายได้หรือประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษาวิจัย การพัฒนา การเพาะปลูก การผลิต ไปจนถึงการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งผลิตภัณพ์ทางด้านกัญชาหรือกัญชงจะมีรูปลักษณ์และคุณสมบัติที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามการใช้ประโยชน์ เช่น การผลิตเพื่อการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ได้แก่ การผลิตเป็นยา อาหาร สมุนไพร หรือเครื่องสำอาง เป็นต้น หรือการผลิตเพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ ยานยนต์ หรือ กระดาษ เป็นต้น โดยเฉลี่ยในรอบบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยจัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6
กองทุน MCANN จะลงทุนในหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้
โดยกองทุน MCANN จะเน้นลงทุนส่วนใหญ่ประมาณ 60-100% ใน The Global X Cannabis ETF (POTX) และส่วนที่เหลืออีกประมาณ 40-100% จะลงทุนใน Amplify Seymour Cannabis ETF (CNBS) และ/หรือ หุ้นกัญชา (Cannabis) ทั่วโลก โดยกองทุน MCANN ถือเป็นกองทุนแรกในประเทศไทยที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นกัญชา
สำหรับ ETF ที่กองทุน MCANN ลงทุนจะมีอยู่หลัก ๆ 2 กองทุนด้วยกัน นั่นคือ POTX และ CNBS แต่ละกองทุนมีนโยบายการลงทุนอย่างไรและลงทุนในหุ้นของบริษัทอะไรกันบ้าง ติดตามได้ในหัวข้อนี้เลย
POTX ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกัญชา ซึ่งรวมไปถึงบริษัทที่เกี่ยวข้องในแง่ของการเพาะปลูก การผลิต ไปจนถึงการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์กัญชาที่ถูกกฎหมาย รวมถึงบริษัทที่ให้บริการทางการเงินกับอุตสาหกรรมกัญชา บริษัทที่เกี่ยวข้องกับกัญชาเพื่อการแพทย์ cannabidiol หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะสารสกัด สารที่พัฒนาจากกัญชา หรือสารสังเคราะห์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้เป็นไปตามดัชนีอ้างอิง (Cannabis Index)
Sector Breakdown และ Country Breakdown ของ The Global X Cannabis ETF (POTX) (ข้อมูล ณ วันที่ 31/03/2021)
ที่มา: https://www.globalxetfs.com/funds/potx/
Top 10 Holdings ของ The Global X Cannabis ETF (POTX) (ข้อมูล ณ วันที่ 06/04/2021)
ที่มา: https://www.globalxetfs.com/funds/potx/
CNBS ลงทุนในอุตสาหกรรมกัญชาทั่วโลกอย่างน้อย 80% ของสินทรัพย์ของกองทุน โดยหุ้นที่กองทุนลงทุนต้องเป็นบริษัทที่มีรายได้อย่างน้อย 50% ขึ้นไปจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกัญชาและกัญชงอย่างถูกกฎหมาย 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการผลิตยา ไบโอเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์จากกัญชงและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชา 2) ด้านการสนับสนุน เช่น เทคโนโลยีทางการเกษตร การบริการทางการค้า และพื้นที่เพาะปลูก 3) ด้านการส่งเสริม เช่น การลงทุนด้านเครื่องจักร การเงิน การลงทุน สื่อและเทคโนโลยี โดยมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนรวมสูงสุดให้กับผู้ลงทุน (active management)
อุตสาหกรรมกัญชาและกัญชงทั้ง 3 ด้านของ CNBS
ที่มา: Amplify Seymour Cannabis ETF (CNBS) Fund Factsheet
กองทุนนี้บริหารจัดการโดย Tim Seymour มีประสบการณ์การลงทุนมากกว่า 20 ปีในฐานะผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอผู้จัดสรรและผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดทุนในสินทรัพย์หลายประเภท Tim Seymour เป็นนักลงทุนในอุตสาหกรรมกัญชาตั้งแต่ระยะแรก ๆ และทำหน้าที่เป็นกรรมการหรือเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทกัญชาเอกชนหลายแห่ง
Tim Seymour
ที่มา: https://www.newcannabisventures.com/
Market Segments และ Region Allocation ของ Amplify Seymour Cannabis ETF (CNBS) (ข้อมูล ณ วันที่ 31/03/2021)
ที่มา: https://amplifyetfs.com/cnbs-holdings.html
Top 10 Holdings ของ Amplify Seymour Cannabis ETF (CNBS) (ข้อมูล ณ วันที่ 08/04/2021)
ที่มา: https://amplifyetfs.com/cnbs-holdings.html
ผลการดำเนินงานของ The Global X Cannabis ETF (POTX) (ข้อมูล ณ วันที่ 28/02//2021)
ที่มา: The Global X Cannabis ETF (POTX) Fund Factsheet
** ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **
ผลการดำเนินงานของ Amplify Seymour Cannabis ETF (CNBS) (ข้อมูล ณ วันที่ 31/03/2021)
ที่มา: https://amplifyetfs.com/cnbs
** ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **
ตามที่ได้บอกไปในหัวข้อที่แล้วว่ากองทุน POTX มีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการกองทุนแบบ Passive Management จึงทำผลตอบแทนออกมาได้ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงอย่าง Cannabis Index โดยในรอบหนึ่งปีทำผลตอบแทนไปได้ 53.20% ส่วนกองทุน CNBS ที่มีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการกองทุนแบบ Active Management สามารถสร้างผลตอบแทนย้อนหลังหนึ่งปีไปได้ถึง 232.80%
กองทุน MCANN จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
อย่างไรก็ตามผู้ลงทุนสามารถกระจายความเสี่ยงได้ด้วยการจัดพอร์ตการลงทุน โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดพอร์ตการลงทุนจากฟินโนมีนาได้ที่ https://www.finnomena.com/port/
— planet 46.
อ้างอิง
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
ตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งเป็นปีวิกฤติ “ต้มยำกุ้ง” มาจนถึงปัจจุบันและผ่านวิกฤติรุนแรงมาอย่างน้อยอีก 3 ครั้ง คือวิกฤติไฮเท็คในตลาดหุ้นสหรัฐในปี 2000 วิกฤติซับไพร์มของอเมริกาปี 2008 และล่าสุดคือวิกฤติโควิด-19 ในปี 2020 หรือปีที่แล้วที่ยังถือว่าไม่สงบ- อย่างน้อยในประเทศไทย แต่หลังจากวิกฤติทุกครั้งที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ตกลงมาอย่างรุนแรงขนาดอย่างน้อย 40-50% มันก็ปรับตัวกลับขึ้นมาได้เท่าเดิมและปรับตัวขึ้นต่อไปหลังจากที่วิกฤติผ่านพ้นไปและเศรษฐกิจกลับมาเติบโต “อย่างแรง” และโตเกินกว่าช่วงก่อนวิกฤติในที่สุด
ถ้าจะพูดอย่างถูกต้องในช่วงเวลานี้เกี่ยวกับวิกฤติโควิด-19 เราก็คงจะต้องบอกว่า “โลก” กำลังจะผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปแล้ว ตัวเลขการเติบโตของ GDP ล่าสุดจากประเทศจีนคือ ในไตรมาสแรกจะโตประมาณ 18.3% ซึ่งเป็นการโตที่สูงที่สุดในรอบเกือบ 30 ปี จากการตกต่ำลงเนื่องจากปัญหาโควิด-19 ในไตรมาส 1 ของปีที่แล้ว และต่อจากนี้เศรษฐกิจก็จะเติบโตเป็นปกติและอย่างรวดเร็วต่อไปตามที่เคยเป็นมาตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ในส่วนของตลาดหลักทรัพย์ฯ เองนั้น ดัชนีตลาดหุ้นของประเทศซึ่งรวมถึงเซี่ยงไฮ้และเสิ่นเจิ้นต่างก็ปรับตัวขึ้นสูงกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ไปมากแล้ว เช่นเดียวกัน เศรษฐกิจของสหรัฐเองก็กำลังฟื้นตัว-อย่างแรง ตัวเลขการบริโภค การผลิต การจ้างงานและอื่น ๆ เติบโตขึ้นมากในไตรมาสแรกและการเติบโตของ GDP โดยรวมน่าจะอยู่ที่ 5-6% ขึ้นไป ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่สูงมาก และก็เช่นกัน ในส่วนของดัชนีตลาดหุ้นก็ฟื้นตัวจนสูงกว่าช่วงก่อนโควิดและสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ไปแล้ว
แต่เศรษฐกิจของไทยนั้น กลับดูเหมือนว่าจะยัง “ไม่ฟื้น” จากวิกฤติ ตัวเลขไตรมาส 1 ปี 2564 คงจะยังไม่ดีนัก ตัวเลขทั้งปีที่เคยคาดว่าจะฟื้นตัวถึง 4% ซึ่งเป็น “ภาวะปกติ” ก็ถูกปรับให้ลดลงคงเหลือประมาณ 2-3% ทั้ง ๆ ที่ปีที่แล้ว GDP ติดลบไปถึงกว่า 6% นั่นแปลว่าเศรษฐกิจของเราจะยังไม่กลับไปเท่าเดิมก่อนโควิด-19 ในปี 2562 และถ้าโชคดี ปี 2565 เรากลับไปโตได้ “ตามปกติ” ที่ประมาณ 4% เศรษฐกิจของเราก็จะกลับมาเท่ากับเมื่อสิ้นปี 2562 ภายในเวลา 3 ปี หรือพูดง่าย ๆ วิกฤติโควิด-19 อาจจะทำให้เศรษฐกิจไทย “หายไป 3 ปี” ในขณะที่เศรษฐกิจจีนแทบไม่หายเลย และเศรษฐกิจสหรัฐก็อาจจะหายไปแค่ 1-2 ปี และนั่นก็สะท้อนมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ของไทยที่ดัชนีตลาดหุ้นนั้น แม้ว่าจะฟื้นขึ้นมาจากจุดต่ำสุดที่เคยตกลงไปเกือบ 40% แต่ก็ยังไม่สามารถกลับมาที่จุดเดิมก่อนโควิด-19 ได้
คำถามสำคัญก็คือ เมื่อไรเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวและหุ้นจะ “Turnaround” วิ่งขึ้นไปจนเลยดัชนีช่วงก่อนโควิด-19 และขึ้นต่อไปตามที่ควรจะเป็นตาม “การเติบโตปกติ” ของประเทศไทย ในประเด็นนี้ผมอยากจะย้อนหลังกลับไปดูประวัติศาสตร์ของการฟื้นตัวของดัชนีหุ้นหลังวิกฤติเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2540 สิ่งที่ผมพบก็คือ
ข้อแรก การฟื้นตัวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ หลังวิกฤติทุกครั้ง จะเป็นการฟื้นตัวที่รุนแรง และนั่นมักจะเป็นช่วงเวลาที่ปัจจัยทุกอย่างชี้ว่าเศรษฐกิจจะกลับมาเริ่มเติบโตอย่างรวดเร็วภายในเวลาประมาณไม่เกิน 1-2 ปี เริ่มตั้งแต่วิกฤติปี 2540 ที่เศรษฐกิจตกลงมา 2 ปี รวมกันถึง 10.4% และดัชนีหุ้นตกต่ำลงมาประมาณ 57% ในช่วงเดียวกัน หลังจากนั้น คือในปี 2542 เศรษฐกิจก็เริ่มฟื้นตัวแต่ก็เป็นไปอย่างช้า ๆ ในมาตรฐานขณะนั้นที่ 4.6% เนื่องจากกิจการขนาดใหญ่ของประเทศแทบทั้งหมดต้อง “ปรับโครงสร้างทางการเงิน” ผลก็คือ ดัชนีตลาดเพิ่มขึ้นเพียง 36% ในปี 2542
วิกฤติหุ้นไฮเท็คของสหรัฐในปี 2000 หรือปี 2543 นั้น เศรษฐกิจไทยไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่การเติบโตของ GDP ก็ไม่ดีนักอยู่ที่ 4.5% อาจจะเนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐเลวร้ายทำให้การส่งออกของไทยไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น อย่างไรก็ตาม ดัชนีตลาดหุ้นไทยก็ตกลงมาประมาณ 44% เป็น “วิกฤติตลาดหุ้น” และการฟื้นตัวในปี 2544 ก็น่าจะดีถ้าไม่ใช่เพราะว่าอเมริกาประสบกับภัยก่อการร้ายกรณีถล่มตึกเวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ซึ่งน่าจะมีส่วนทำให้เศรษฐกิจไทย “ตกต่ำลง” และ GDP เติบโตแค่ 3.4% ซึ่งในสมัยนั้นแทบจะเรียกว่า “เศรษฐกิจถดถอย” ผลก็คือ ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นเพียง 12.9% ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่ออย่างแรงเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวจริง ๆ ในปี 2545 และ 2546 ที่ GDP เติบโตขึ้น 6.1 และ 7.2% ในขณะที่ดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นถึง 17.3% และ 116.6% ตามลำดับ
วิกฤติซับไพร์มในปี 2008 หรือปี 2551 นั้นทำให้ดัชนีหุ้นไทยตกลงมา 47.5% ตาม “วิกฤติเศรษฐกิจ” ของไทยที่ GDP โตเพียง 1.7% พอถึงสิ้นปี 2552 แม้ว่าเศรษฐกิจไทยยังติดลบ 0.7% แต่ตลาดหุ้นก็ฟื้นตัวแล้วและดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นไปถึง 63.3% เนื่องจากอาจจะเห็นแล้วว่าเศรษฐกิจผ่านวิกฤติไปได้แน่นอน ดังนั้น ปี 2553 จึงเห็นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับตัวขึ้นไปอีก 40.5% สอดคล้องกับการเติบโตของ GDP ที่เติบโตขึ้นแรงถึง 7.5%
ผมคงต้องเสริมซักเล็กน้อยว่าในปีต่อมาคือปี 2554 ประเทศไทยก็เกิด “Mini Crisis” หรือวิกฤติเล็ก ๆ จากน้ำท่วมใหญ่ที่ทำให้ GDP เติบโตแค่ 0.8% อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้กระทบกับบริษัทขนาดใหญ่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ มากนัก กำไรของบริษัทจดทะเบียนไม่ได้ถูกกระทบเลย ผลก็คือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับตัวลงเพียง 0.7% ในปี 2554 และเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างแรงเติบโตถึง 7.2% ในปี 2555 หลังน้ำท่วมใหญ่อานิสงส์ส่วนหนึ่งจากการที่ต้องซ่อมสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้างและเครื่องจักรที่ถูกน้ำท่วม ดัชนีตลาดหุ้นก็ “ฟื้นตัว” ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 35.8%
หลังจากปี 2555 ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจของไทยจะเริ่มเข้าสู่ “บริบทใหม่” ของการ “โตช้าลง” อย่างมาก ปี 2556 เศรษฐกิจไทยโตเพียง 2.7% และปี 2557 โตเพียง 1.0% ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องมาจากความวุ่นวายทางการเมืองและการรัฐประหาร และหลังจากนั้น GDP ของไทยก็โตสูงสุดเพียงปีละ 3-4% มาตลอด การเติบโตของการลงทุนและการส่งออกสินค้าซึ่งเป็น “กระดูกสันหลัง” ของไทย อ่อนแอลงมากเนื่องจากกำลังแรงงานของไทยที่แก่ตัวลงอย่างรวดเร็วในระดับต้น ๆ ของประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย ทำให้การลงทุนทางตรงจากประเทศพัฒนาแล้วหันเหจากไทยสู่ประเทศ “กำลังพัฒนาใหม่” ในย่านอาเซียนที่เริ่มเปิดประเทศเต็มที่ ซึ่งรวมถึงเวียตนามและอินโดนีเซีย ที่เศรษฐกิจโตขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะที่เศรษฐกิจไทยถดถอยและเติบโตช้าลง “อย่างถาวร” ว่าที่จริง ถ้าหากไม่ใช่เพราะนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวจีนที่เริ่มออกนอกประเทศและหลั่งไหลมาสู่ประเทศไทยจำนวนมหาศาลในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยก็คงจะแย่ยิ่งกว่านั้น
วิกฤติโควิด-19 นั้น ที่กระทบหนักมากจริง ๆ ก็คือ การท่องเที่ยวเดินทางโดยเฉพาะที่ข้ามประเทศหายไปเกือบหมด ซึ่งนั่นก็คือ “กระดูกสันหลัง” ทางเศรษฐกิจใหม่ของไทย ดังนั้น เศรษฐกิจของไทยจึงถูกกระทบหนักมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยจะทำได้น้อยมากหากโควิดในระดับโลกและไทยไม่สงบลงอย่าง “ถาวร” ซึ่งในเวลานี้ดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ก็ต้องมีการฉีดวัคซีนอย่างแพร่หลายและทั่วถึงที่จะก่อให้เกิด “ภูมิคุ้มกันหมู่” เท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้ก็ต้องใช้เวลา แต่ผมคิดว่าอย่างไรก็ต้องเกิดขึ้น และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เศรษฐกิจไทยก็น่าจะฟื้นตัวแรงและกลับไปเติบโต “ปกติ” ที่ประมาณ 3-4% ต่อปีได้ และถ้าเป็นอย่างนั้น ดัชนีตลาดหุ้นก็น่าจะต้องปรับตัวขึ้น “แรง” อย่างที่เคยเกิดขึ้นมาตลอดหลังภาวะวิกฤติตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา
ความกังวลของผมในเรื่องของการ “Turnaround” หรือการฟื้นตัวของวิกฤติรอบนี้ก็คือ เราจะต้องใช้เวลาอีกนานเท่าไรจึงจะได้นักท่องเที่ยวปีละ 40 ล้านคนกลับมาเที่ยวในประเทศไทย วัคซีนที่ใช้กันอยู่นั้นได้ผลดีโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านของการป้องกันเชื้อไวรัสที่อาจจะกลายพันธุ์ได้ นอกจากเรื่องของการท่องเที่ยวแล้ว ผมเองก็ยังห่วงว่า เวลาที่ “หายไป” หลายปีเนื่องจากวิกฤติโควิดนั้น มันได้ทำลายความสามารถในการเติบโตทางเศรษฐกิจของเรามากน้อยแค่ไหนเมื่อคำนึงถึงว่าคนไทยเราแก่ตัวลงเร็วมากทุกปี กำลังแรงงานเองก็กำลังลดลงทุกปีโดยที่ความสามารถของคนก็ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยเพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้ทำให้ผมวิตกว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นรอบนี้อาจจะมาพร้อมกับ “จุดจบ” ที่เราจะต้องหา “จุดเริ่มต้นใหม่” ของประเทศไทยว่าเราจะไปทางไหน มิฉะนั้น เราก็อาจจะไม่สามารถเติบโตต่อไปและประเทศติด “กับดักชนชั้นกลาง” ตลอดไป ซึ่งก็จะทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไม่ไปไหนอีกนานมาก
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ที่มาบทความ: https://blog.settrade.com/blog/nivate/2021/04/19/2494
ประเทศผู้นำในการแจกวัคซีนอย่าง สหรัฐ, UK, อิสราเอล ต่างเร่งเปิดเศรษฐกิจให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ ยกตัวอย่างเช่น หลายเมืองในสหรัฐจัดงานรวมตัวกันโดยไม่ต้องมีการสวมหน้ากากอีกต่อไป และแนวโน้มผู้ติดเชื้อใหม่ก็ลดลงต่อเนื่อง
ธุรกิจท่องเที่ยวหรือกิจกรรมที่ถูกผลกระทบจากโควิดใน 3 ประเทศนี้เริ่มวางแผนรับลูกค้าที่คาดว่าจะมี Demand ที่ถูกอั้นไว้มหาศาลถูกปลดปล่อยออกมา
แต่อีกกลุ่มประเทศที่ไม่มีวัคซีนใช้กำลังเจอโควิดเล่นงาน และอาจสร้างปัญหาระบบการแพทย์สูงกว่าปีที่แล้วด้วย
เช่นในบราซิลที่มีวัคซีนใช้น้อย ล่าสุดผู้ติดเชื้อใหม่รายวันอยู่ที่ราว 85,000 คน สูงที่สุดตั้งแต่โควิดระบาดมา ขณะที่ผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 3,500 คนต่อวัน สูงสุดเช่นกัน (มีแนวโน้มที่ตัวเลขจริงจะสูงกว่านี้มาก) โดยเหตุผลที่น่าสนใจคือคนจำนวนมากไม่ได้สนใจแล้วว่าโควิดยังระบาดอยู่และคิดว่ามีวัคซีนแล้วเดี๋ยวการระบาดก็จะลดไปเอง เรื่องนี้แม้เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจบ้างแต่อาจมีหายนะทางการแพทย์รออยู่
Timeline การได้วัคซีนของประเทศส่วนใหญ่จะเป็นครึ่งปีหลัง แต่เศรษฐกิจที่เสียหายหนักในปีที่แล้วทำให้รัฐบาลหลายประเทศไม่กล้าประกาศ lockdown อีกต่อไป (แม้จะคุมผู้ติดเชื้อไม่อยู่) แต่จุดที่น่าสนใจคือถ้าผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นจนโรงพยาบาลเต็มความจุ (หลังจากนั้นผู้เสียชีวิตจะพุ่งขึ้นแรงมาก ๆ) ถึงตอนนั้นแล้วรัฐบาลจะ lockdown ไหม ? หรือจะปล่อยแล้ว ?
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในไทยหลัง “วันสงกรานต์” เป็นเรื่องที่ต้องติดตามมาก ๆ
วิธีวัดว่าคนไทยแทบไม่ได้สนใจเรื่องโควิดแล้วก็คือโพสต์นี้คนจะไม่ค่อยอ่านกัน
BottomLiner
ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/1366426383372492/posts/4389890267692740/
ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ผลตอบแทนการลงทุนยังคงได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นของ bond yield สหรัฐ เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าอัตราเงินเฟ้ออาจเร่งตัวขึ้นหลังราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ ถึงแม้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้คำมั่นว่าจะคงนโยบายการเงินผ่อนคลายอีกนาน และมองว่าการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราว และตัวเลขเงินเฟ้อที่ถูกรายงานออกมาไม่ได้สูงอย่างที่นักลงทุนกังวลก็ตาม
อย่างไรก็ดี bond yield สหรัฐค่อย ๆ ปรับลงในช่วงปลายเดือนมีนาคม เนื่องจากนักลงทุนกลับมาให้ความสำคัญกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หลังตัวเลขเศรษฐกิจของหลาย ๆ ประเทศปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ถึงแม้หลายประเทศในยุโรปกลับมาใช้มาตรการล็อคดาวน์ แต่ตัวเลขภาคการผลิตที่ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง สอดคล้องกับตัวเลขภาคการผลิตและการค้าทั่วโลก
การที่สหรัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเผยแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่ การเร่งฉีดวัคซีนในหลายประเทศ ตัวเลขกิจกรรมภาคการผลิตและการค้าระหว่างประเทศเติบโตต่อเนื่อง ส่งผลให้ไอเอ็มเอฟปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้สู่ 6.0% จากคาดการณ์เดิมที่ 5.5%
ทางเรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นทั่วโลก โดยได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศที่ยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง รวมถึงความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนจะช่วยให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่าตลาดหุ้นสหรัฐจะได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยหนุนผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนฯ แต่อาจมีปัจจัยรบกวนจากแนวโน้มการขึ้นภาษีนิติบุคคลของสหรัฐ ส่วนตลาดหุ้นยุโรปน่าจะได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หลังรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ในอนาคต ในขณะที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นและจีนน่าจะได้ประโยชน์จากการเติบโตของการค้าโลก โดยตลาดหุ้นจีนอาจมีปัจจัยรบกวนเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการค้ากับสหรัฐในบางช่วง
สำหรับตลาดหุ้นไทย ถึงแม้ได้รับผลกระทบจากการพบกลุ่มผู้ติดเชื้อใหม่ในประเทศ แต่คาดว่าน่าจะเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว และจะส่งผลให้การฟื้นตัวในบางภาคส่วนชะลอออกไป อย่างไรก็ดี คาดว่าภาคการส่งออกจะเป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันเศรษฐกิจไทยในปีนี้
ในส่วนของตราสารหนี้ ผู้จัดการกองทุนยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาว โดยการปรับขึ้นของ bond yield ในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้การลงทุนในตราสารหนี้มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากช่วงก่อนหน้านี้
Krungsri Asset Management
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Krungsri The Masterpiece สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENAสำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Krungsri The Masterpiece คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน
หมายเหตุ:
คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร 0 2657 5757
ดาวน์โหลดฟรี “มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์”
หลังการรับตำแหน่ง CEO Intel คนใหม่ เขาได้สร้างเรื่อง surprise ให้อุตสาหกรรมชิป เมื่อประกาศตั้งแต่วันแรกว่า “Intel จะยังมุ่งมั่นให้บริษัทเป็นผู้ผลิตชิปอันดับ 1 ของโลกให้ได้” !!
ต้องย้อนเรื่องราวในช่วง 3 ปีที่ผ่านมากันก่อน
Intel ราวกับเล่นตลก CPU ที่เคยเป็นเบอร์ 1 ถูกคู่แข่ง AMD แย่งตลาดไปได้อย่างสนุกสนาน ด้วยการนำเสนอพลังประมวลผลสุดโหดแบบ Multi-Core ซึ่งทำให้ตลาดคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop) มีส่วนแบ่งแซง Intel ไปแล้ว
ยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยีชิปแบบอื่น Intel ถือว่าเลวร้ายมาก ตัวอย่างเช่น ชิป 5G Modem ที่จับมือพัฒนาร่วมกับ Apple ก็ล่มไม่เป็นท่าไม่สามารถผลิตชิปมาใช้งานได้จริง ซึ่งสุดท้าย Intel ต้องยอมขายธุรกิจนี้ถูก ๆ ให้ Apple ไปพัฒนาต่อคนเดียว
เกร็ดความรู้: Apple กลับไปง้อขอซื้อชิป Qualcomm (คู่อริในอดีต) มาใช้ใน iPhone 12 ที่เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในชิ้นส่วนที่แพงที่สุดของมือถือ 5G
ทางด้านภาคการผลิตที่มีคู่แข่งหลักคือ TSMC กับ Samsung สองบริษัทยักษ์ภูมิภาคเอเชีย ฝั่ง Intel ก็ค่อนข้างสาหัส เนื่องจาก Intel ประกาศจะผลิตชิปขนาด 10 nm ให้ได้ตั้งแต่ปี 2016 แต่เจอโรคเลื่อนเล่นงานมาตลอด เพิ่งทำได้จริงในปี 2019 ซึ่งผลิตได้น้อยกว่าคาดด้วย
ล่าสุดโรคเลื่อนก็ยังเล่นงานไม่เลิก ประกาศเลื่อนแผนเปิดตัวชิปรุ่นใหม่ 7 nm ไปที่ปี 2023
เกร็ดความรู้: ขนาดชิปในปัจจุบันค่อนข้างเป็นการเล่น marketing โดยความจริงแล้วชิปขนาด 7 nm ของ Intel เทียบได้กับ 5nm ของ TSMC เท่ากับว่าเทคโนโลยี Intel จะช้ากว่าราว 3 ปี (ใน case ที่ไม่เลื่อนออกไปอีก)
กลับมาที่ไฮไลท์ในปัจจุบัน
สถานการณ์ Intel ตอนนี้คือ CEO ประกาศเตรียมลงทุน 2 หมื่นล้านดอลลาร์ สร้างโรงงานผลิตชิปรุ่นใหม่ และจะทำตัวเป็น Foundry รับจ้างบริษัทอื่นผลิตด้วย ชนกับ TSMC, Samsung โดยตรง !!
โดยหนึ่งในเบื้องหลังที่ทำให้ Intel กล้าลุยต่อเพราะรัฐบาลสหรัฐมีแนวโน้มจะอนุมัติงบประมาณอุดหนุนอุตสาหกรรมการผลิตชิปในประเทศ ภายใต้ชื่อ “CHIPS for America Act” ที่คาดว่าให้งบฟรี 40% ของเงินลงทุนสำหรับโรงงานใหม่ในสหรัฐ (เข้าทาง Intel เต็ม ๆ)
แต่ประเด็นอยู่ที่ Intel จะหาลูกค้ามาจ้างเหมือน TSMC ได้หรือไม่ ?!
เงิน 2 หมื่นล้านดอลลาร์ถือว่าลงทุนใหญ่มาก ดังนั้นบริษัทต้องหาลูกค้ามาให้ได้เยอะ ๆ แต่ปัญหาคือ Intel มีสินค้าในเครือตัวเองหลากหลายโดยเฉพาะชิปคอมพิวเตอร์ (CPU, GPU, FPGA มาครบ) จึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่คู่แข่งจะยอมมาจ้างง่าย ๆ (กลัวโดนลอกเทคโนโลยี) หรือถัดไปอย่างชิปในรถยนต์ Intel ยังมีบริษัทลูกชื่อ Mobileye ที่เป็นสร้างชิปสำหรับ Self-driving car (บริษัทดีไซน์ชิปรถยนต์ก็อาจเลี่ยง ๆ ไม่จ้าง)
เกร็ดความรู้: ตัวอย่างมีให้เห็นแล้วว่า Samsung ที่มีแบรนด์มือถือของตัวเอง ทำให้ Apple เลือกหันไปซบ TSMC ผลิตชิป iPhone ให้แทน
ดังนั้นส่วนที่ Intel มีลุ้นหน่อยก็คือชิปมือถือที่ไม่ได้มีสินค้าของตัวเอง (เคยทำแต่ล่มอีกนั่นแหละ) ซึ่ง Apple หรือ Qualcomm อาจสนใจ แต่ทั้งคู่ต้องการชิปที่ไฮเทคที่สุด ซึ่งปัจจุบัน Intel ยังไม่สามารถผลิตได้
เรียกได้ว่าอนาคตค่อนข้างคลุมเครือ ถ้าสุดท้ายแล้ว Intel ทำไม่สำเร็จ (ไม่ว่าจะผลิตชิปรุ่นใหม่ไม่ได้หรือหาลูกค้าไม่ได้) ย่อมเป็นการละลายเงิน 2 หมื่นล้านทันที แต่ถ้าทำได้สำเร็จเราอาจเห็นหุ้น Intel กลายเป็นหนึ่งในเรื่องเล่าสุดยอดหุ้น Turnaround (และ CEO ก็คงดังสุด ๆ)
หนึ่งในตัวแปรที่เราอาจไม่สามารถตัด Intel ออกจากการแข่งขันได้ก็เพราะรัฐบาลสหรัฐมีแนวโน้มจะทำทุกทางเพื่อให้ชิปรุ่นใหม่ต้องถูกผลิตโดยบริษัทสหรัฐ (หรืออย่างน้อยก็ในดินแดนสหรัฐ)
ที่แน่ ๆ เหล่าโรงงานขายเครื่องจักรยิ้มกว้างเลย (ASML, LRCX, AMAT, KLAC)
BottomLiner
ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/1366426383372492/posts/4382633801751720/
การดำเนินชีวิตของเรา บางครั้งก็ไม่แน่ใจว่าต้องการขึ้นสวรรค์ หรือแค่ประคองให้ไม่ตกนรก
แนวคิดนี้ไม่ต่างกับการลงทุนบนธีม ESG (ย่อมาจาก Environmental, Social และ Governance) ที่ในปัจจุบันภาครัฐทั่วโลกพยายามปลุกกระแสให้ทุกภาคส่วนช่วยกันรับผิดชอบต่อประเด็นด้านสังคม ผู้ถือหุ้น หรือการปรับสภาวะแวดล้อม บวกกับเป็นช่วงที่การลงทุนเหล่านี้ทำผลงานโดดเด่น ทำให้มีกองทุนที่เกี่ยวข้องกับ ESG ผุดขึ้นมามากมาย
เพราะมุมหนึ่ง ESG เป็นเหมือน Filter เพื่อลงทุนไม่ให้เกิดปัญหา แต่ด้วยเงินทุนมหาศาลที่เตรียมลงทุนในสิ่งแวดล้อม ธีม ESG อาจกลายเป็น Factor ที่นักลงทุนควรดูประกอบการคาดการณ์ผลตอบแทนในอนาคต เราจึงควรรู้ทันธีม “รักษ์โลก” เหล่านี้ให้มากขึ้น
สำหรับผม เบื้องต้นแนะนำให้มอง ESG เป็น Filter หรือลงทุนให้ “ไม่ตกนรก” ก่อน ชัดเจนที่สุดคือตัวอักษร S เรื่องประเด็นสังคม และ G เรื่องธรรมาภิบาล
Filter หรือ “ตัวกรอง” เป็นหลักการที่ค่อนข้างสากลสำหรับภาคการเงิน บริษัทจัดการการลงทุนทั่วโลกก็มีข้อจำกัดสำหรับการลงทุนในบางบริษัทที่ไม่โปร่งใสรวมไปถึงในบางประเทศที่มีปัญหาด้านสังคมอยู่แล้ว
ขณะเดียวกัน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั่วโลกก็มักจัดกลุ่มหุ้นที่ผ่านหรือไม่ผ่านเกณฑ์ ESG ให้เห็น เช่นในประเทศไทย มีการจัดทำเป็นเกณฑ์คุณสมบัติความยั่งยืน (Sustainability Investment) ครอบคลุมประเด็นดังกล่าวไว้
ในเชิงวิชาการ งานวิจัยส่วนใหญ่สนับสนุน ESG ว่าเป็นเหมือน Filter ของสถาบันการเงิน เช่น Hartzmark และ Sussman (2019) เรื่อง Do Investors Value Sustainability? พบว่าบริษัทที่ยั่งยืน มักดึงดูดเงินลงทุนจากสถาบันมากกว่ากลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ESG
แต่ปัญหาหลักของการมอง ESG เป็น Filter คือทำให้เราไม่สามารถลงทุนในบางธุรกิจได้ เช่นงานวิจัยของ Hong และ Kacperczyk (2009) ที่ชี้ว่านักลงทุนที่สามารถลงทุนใน “ธุรกิจบาป” จะสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าในระยะสั้น เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดในการลงทุน ส่วนในระยะยาว ถ้า ESG กลายเป็นกฎหมาย Filter ESG ก็จะไม่มี premium
หลายคนจึงพยายามมอง ESG ให้เป็น “ความดี” มีแล้วเป็น Factor เพื่อขึ้นสวรรค์ แต่มุมมองนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อนักลงทุนหาธุรกิจที่ผลลัพธ์แปรผันตามความดีได้
เพราะจุดอ่อนของ ESG มีมากมาย ตั้งแต่คำจำกัดความของแต่ละตัวอักษร การวัดปริมาณ และความสัมพันธ์กับผลตอบแทนหรือความเสี่ยง
ปัจจุบันดูจะมีเพียง E หรือเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่สามารถหาตัวชี้วัดได้ชัดเจนเช่น Carbon Credit แต่ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ได้มีงานวิชาการสนับสนุนว่ากิจกรรมเหล่านี้สามารถสร้างกำไรให้นักลงทุนโดยตรง ในทางกลับกัน งานวิจัยของ Bolton และ Kacperczyk (2020) กลับพบว่าบริษัทที่มีการปล่อย CO2 สูง มักสร้างผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่าบริษัทปรกติ เป็นส่วนหนึ่งของพื้นฐานการกำหนดราคา Carbon Credit ที่เป็นส่วนชดเชยความเสี่ยงในอนาคตด้วยซ้ำ
แต่นั่นก็ตอกย้ำเราว่าบริษัทที่ ESG ต่ำมักมีความเสี่ยงเรื่องกฎเกณฑ์การประกอบธุรกิจ (Tail Risk) ซ่อนอยู่
หมายความว่า เราสามารถมอง ESG เป็น Factor ได้ ถ้าแยกผลลัพธ์จากการลงทุนออกเป็น “สอง” ส่วนคือการสร้างผลตอบแทนกับความเสี่ยง เพราะระดับของ ESG จะมีความสัมพันธ์กับความผันผวนของธุรกิจในอนาคต
เช่นงานวิจัยของ Pedersen และคณะ (2020) ที่ใช้ข้อมูลตลาดการเงินสมัยใหม่ พบว่าเมื่อนักลงทุนเริ่มให้ความสนใจกับประเด็น Sustainability มากขึ้น การลงทุนที่ ESG สูงจะมีผลตอบแทนต่อความเสี่ยง (Sharp Ratio) ที่ดีกว่าการลงทุนที่ ESG ต่ำเนื่องจากมีความผันผวนที่น้อยกว่าในระยะยาว
หรือสรุปได้ว่าทั้งสองมุมมองชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า ESG ช่วยให้เรา “ตกนรก” ยากขึ้นนั่นเอง
ในมุมมองของผม มีสองกลยุทธ์ที่เราสามารถอิงกับธีมนี้ได้คือ การลงทุนในสไตล์ยั่งยืน (Sustainable Investing) และธีมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด (Clean Energy)
ถ้าเราต้องการลงทุนและบริหารความเสี่ยงของพอร์ตไปพร้อมกัน ก็ควรตอบโจทย์ด้วยการลงทุนสไตล์ยั่งยืน ที่มีการใช้ ESG เป็น Filter สิ่งที่นักลงทุนควรหวังจากการลงทุนเหล่านี้ ไม่ใช่ผลตอบแทนที่สูงกว่าปรกติ แต่ควรเป็นความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตที่ลดลง
แต่ถ้าเราต้องการผลตอบแทนคาดหวังที่สูงขึ้นและลงทุนระยะยาวได้ ก็ต้องหาทางมอง ESG ให้เป็น Factor เลือกลงทุนที่แตกต่างด้านเทคโนโลยี หรือส่วนแบ่งตลาดต่ำแต่อยู่ในขาขึ้น หรือไม่มีกำไรแต่ยอดขายเติบโตก้าวกระโดด การลงทุนเหล่านี้จะผันผวนสูงมาก จึงต้องมี ESG เพื่อดึงดูดเงินลงทุนหรือลด Tail Risk ด้านอื่นออก ตัวอย่างเห็นได้ชัดจึงเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Clean Energy ที่แทบไม่มีกำไรในระยะสั้นเลย แต่ราคาหุ้นกลับปรับตัวขึ้นหวือหวาเพราะตลาดมองว่ามีอนาคต
ต่อจากนี้ ผมเชื่อว่าตลาดจะมีการถกเถียงกันเรื่อง ESG กันอีกมาก และธีมนี้จะต้องพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ สำหรับนักลงทุนยิ่งต้องรู้ให้ทันว่าสิ่งที่เรากำลังลงทุนอยู่ เป็น Filter ให้เราไม่ตกนรกหรือเป็น Factor ที่จะส่งเราขึ้นสวรรค์กันแน่
ที่มา: CFA (2015) และ UOB Asset Management
ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คงไม่มีข่าวใดดังเท่ากับการเปิดตัวของงบด้านสาธารณูปโภค มูลค่า 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ ระยะเวลา 10 ปี จากโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ
หลังจากการเปิดตัวของงบประมาณด้านสาธารณูปโภคที่เมืองพิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย ก็มีเม็ดเงินอีกส่วนหนึ่งที่เน้นทางด้านความช่วยเหลือทางสังคมมูลค่า 8 แสนล้านดอลลาร์ที่จะประกาศในปลายเดือนนี้ โดยเสียงส่วนใหญ่ค่อนข้างชื่นชมกับโครงการนี้ ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น ขออนุญาตเล่ารายละเอียดของโครงการนี้ให้ฟังกันโดยสังเขปก่อน
หากพิจารณาในภาพใหญ่ จะพบว่าเซกเตอร์ที่ได้รับเม็ดเงินมากที่สุด จะพบว่าใกล้เคียงกันอยู่ 2 ส่วน ได้แก่ ภาคครัวเรือน และ ภาคธุรกิจ โดยหากจะเลือกผู้ที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดจริง ๆ ในรอบนี้ คงต้องมอบตำแหน่งให้กับภาคธุรกิจเนื่องจากมีขนาดของเซกเตอร์ที่เล็กกว่าภาคครัวเรือน อย่างไรก็ดี ในส่วนของงบ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ที่ไบเดนสามารถผ่านสภาคองเกรสไปก่อนหน้านี้ ภาคครัวเรือนได้เม็ดเงินไปถึงร้อยละ 60 ของทั้งหมด ในขณะที่ภาคธุรกิจได้ไปเพียงร้อยละ 15 จึงทำให้สามารถสรุปได้ว่า หากพิจารณาโดยรวมทั้งหมด ภาคครัวเรือนได้เม็ดเงินไปมากที่สุดจากการกระตุ้นทั้ง 2 รอบ
หากพิจารณาเป็นรายอุตสาหกรรม จะพบว่า ภาคขนส่งได้ไปมากที่สุด ด้วยมูลค่า 6.21 แสนล้านดอลลาร์ หรือ ร้อยละ 28 ของทั้งหมด โดยที่ไฮไลต์อยู่ที่โครงการยานยนต์ไฟฟ้าที่มีมูลค่า 1.74 แสนล้านดอลลาร์ ในขณะที่โครงการการสร้างทางด่วน ถนน และสะพาน ได้ไป 1.15 แสนล้านดอลลาร์ ส่วนที่เป็นโครงการขนส่งสาธารณะและโครงการทางรถไฟกับขนส่งมวลชน ได้ไปโครงการละประมาณ 8 หมื่นล้านดอลลาร์
ส่วนภาคโครงสร้างพื้นฐานด้านที่อยู่อาศัยก็ได้รับไปด้วยมูลค่าใกล้เคียงกัน โดยงบราว 2.13 แสนล้านดอลลาร์ แจกให้กับโครงการสไตล์บ้านเอื้ออาทร ในขณะที่โครงการด้านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงและโครงการด้านสายส่งไฟฟ้าระหว่างรัฐได้ไปโครงการละ 1 แสนล้านดอลลาร์ ส่วนที่เป็นโครงการด้านน้ำดื่มสะอาดได้ไป 1.1 แสนล้านดอลลาร์
ท้ายสุด งบวิจัยและพัฒนาและงบด้านอุตสาหกรรมกับ SME ได้ไปประมาณโครงการละ 3 แสนล้านดอลลาร์ และส่วนที่ไว้ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมอีก 4 แสนล้านดอลลาร์
จะเห็นได้ว่า สัดส่วนการเกลี่ยความช่วยเหลือระหว่างการพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขันของสหรัฐ กับ การช่วยเหลือประชาชนและผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ถือว่าสมดุลมาก รวมถึงหัวใจของงบครั้งนี้ คือการมองไปในระยะยาวมากกว่าการช่วยเหลือแบบระยะสั้น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้หลายฝ่ายชื่นชมกับโครงการนี้ แม้ว่าจะมีเสียงบ่นจากกลุ่มหัวก้าวหน้าของพรรคเดโมแครตที่มองว่าเม็ดเงินต่อปี ดูจะน้อยไปหน่อยเนื่องจากโครงการนี้กินเวลาถึง 10 ปีก็ตาม
ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ หากพิจารณาในส่วนของการหาแหล่งเงินมาใช้ในโครงการนี้ ก็ยิ่งจะเห็นได้ว่าน่าสนใจ โดยไบเดนวางแผนไว้ว่าจะใช้เวลา 15 ปีในการจ่ายภาระหนี้ทั้งหมดของโครงการดังกล่าว ด้วยการขึ้นภาษีนิติบุคคลจากอัตราร้อยละ 21 เป็นร้อยละ 28 นอกจากนี้ ยังมีการขึ้นภาษีจากกำไรที่ทำได้นอกประเทศแล้วโอนกลับมาในสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของสหรัฐ รวมถึงการที่จะให้บริษัทขนาดใหญ่ต้องเสียภาษีขั้นต่ำอย่างน้อยร้อยละ 15 ของกำไร โดยที่จะเข้มงวดกับหมวดการลดหย่อนภาษีของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่และผู้ที่มีรายได้สูง
จะเห็นได้ว่าการขึ้นภาษีของไบเดน ภาระโดยส่วนใหญ่ไปตกกับคนรวยมากกว่าชนชั้นกลาง นอกจากนี้ นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐ เตรียมที่จะเสนอให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกกำหนดอัตราภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำ (Minimum Global Corporate Tax Rate) เพื่อไม่ให้มีการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือหรืออาวุธทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศมาแข่งขันหรือแย่งชิงความได้เปรียบจากการทำธุรกิจระหว่างกันและกัน
อย่างไรก็ดี หลายฝ่ายยังมองว่าภาคการเงินของสหรัฐดูจะเสียเปรียบภาคเศรษฐกิจจริง ในมิติของการได้รับความช่วยเหลือจากทางการ ณ นาทีนี้ เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐเพิ่งจะหยุดการปล่อยกู้จากโครงการสินเชื่อสู้โควิดเมื่อ 1 ปีที่แล้ว ซึ่งงบของไบเดนที่ประกาศออกมา ก็ไม่มีในส่วนของสถาบันการเงินแต่อย่างใด รวมถึงบรรษัทขนาดกลางและย่อมหรือ SME ก็ถือว่าได้รับความช่วยเหลือในครั้งนี้ เพียง 1 แสนล้านดอลลาร์ หรือร้อยละ 5 ของงบทั้งหมด ซี่งถือว่าน้อยกว่าเพื่อน อีกทั้งงบ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ ก็ถึงมือ SME น้อยมากเช่นกัน ซึ่งจุดนี้ น่าจะเป็นข้อด้อยเพียงอย่างเดียวที่ผมเห็นในผลงานที่ถือว่าดีมากของโจ ไบเดน ในครั้งนี้
MacroView
ที่มาบทความ: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/652351
สำหรับวงการคริปโทเคอร์เรนซี ทุก ๆ 4 ปี จะมีปรากฏการณ์สำคัญเกิดขึ้น นั่นคือ Bitcoin Halving ในบทความนี้ เราจะมาทำความเข้าใจว่า Bitcoin Halving คืออะไร ทำไมจึงเกิดขึ้นทุก ๆ 4 ปี และส่งผลเช่นไรกับตลาด?
Bitcoin มีเทคโนโลยีเบื้องหลังที่ใช้สำหรับการบันทึกธุรกรรมเรียกว่า Blockchain
Blockchain คือฐานข้อมูล (Database) รูปแบบหนึ่ง แต่แทนที่จะเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว Blockchain จะเก็บข้อมูลไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้นับล้านเครื่องทั่วโลก โดยทุกเครื่องจะเก็บข้อมูลชุดเดียวกันและมีการตรวจสอบข้อมูลตรงกันเสมอ
ทีนี้ ถ้าเกิดว่ามีข้อมูลหรือธุรกรรมชุดใหม่ที่ต้องบันทึกเพิ่มลงไป ทำอย่างไรเครือข่ายถึงจะเห็นตรงกันว่าข้อมูลธุรกรรมนั้นถูกต้อง โดยที่ไม่ต้องรู้จักกัน?
Blockchain ของ Bitcoin ใช้ระบบที่เรียกว่า Proof-of-Work ในการตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมและทำให้ผู้ใช้ในเครือข่ายยอมรับความถูกต้องของธุรกรรมนั้น ๆ ได้
ระบบ Proof-of-Work คือการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะต้อง “แข่งกัน” แก้ไขสมการทางคณิตศาสตร์ แลกกับสิทธิ์ในการรับรองธุรกรรมและเพิ่มข้อมูลชุดใหม่ หรือที่เรียกว่าการเพิ่มบล็อกใหม่ ลงไปใน Blockchain กระบวนการนี้เรียกว่า “การขุด”
เมื่อมีผู้ใช้ที่สามารถแก้ไขสมการได้เป็นคนแรก ผู้ใช้คนนั้นจะสามารถเซ็นรับรองธุรกรรมและเพิ่มธุรกรรมชุดนั้นลงไปในบล็อกใหม่ จากนั้นผู้ใช้คนอื่นก็จะเข้ามาช่วยเซ็นรับรองธุรกรรมนั้นอีกที ผู้ที่สามารถแก้ไขสมการได้เป็นคนแรกก็จะได้รับรางวัลเป็น Bitcoin เหรียญใหม่ที่ยังไม่ออกมาในระบบ เรียกว่า “รางวัลจากการขุด”
ในช่วงแรกที่ Bitcoin เกิดขึ้นมา จำนวน Bitcoin ที่จะได้รับหากแก้สมการสำเร็จเป็นคนแรกอยู่ที่ 50 เหรียญต่อบล็อก
แต่ Satoshi Nakamoto ผู้สร้าง Bitcoin ได้ฝังชุดคำสั่งไว้ใน Blockchain ที่กำหนดให้รางวัลจากการขุดจะลดลง “ครึ่งหนึ่ง” ทุก ๆ 210,000 บล็อก แต่ละบล็อกจะถูกสร้างขึ้นทุก 10 นาที ดังนั้น 210,000 บล็อก จะใช้เวลาโดยประมาณ 4 ปี
การที่รางวัลจากการขุดจะลดลงทุก ๆ 4 ปี เรียกกันว่าปรากฏการณ์ Bitcoin Halving
นับตั้งแต่ที่ Bitcoin เกิดขึ้นมาบนโลก เกิด Bitcoin Halving มาแล้ว 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1) ในปี 2012 รางวัลลดลงจาก 50 เหรียญ เป็น 25 เหรียญ ครั้งที่ 2) ในปี 2016 ลดลงจาก 25 เป็น 12.5 และล่าสุด ครั้งที่ 3) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ปี 2020 ลดลงจาก 12.5 เป็น 6.25
สำหรับวันที่คาดการณ์ว่าจะเกิดปรากฏการณ์ Halving ครั้งต่อไป คือวันที่ 13 มีนาคม ปี 2024 หรืออีกประมาณ 3 ปี ซึ่งรางวัลจะลดลงจาก 6.25 เป็น 3.125
นอกจากนี้ Bitcoin ยังถูกสร้างขึ้นมาให้มีจำนวนสูงสุดได้ที่ 21,000,000 เหรียญ โดย ณ เวลาที่เขียนนี้ มี Bitcoin ออกมาแล้วประมาณ 18,676,731 เหรียญ อ้างอิงจากเว็บไซต์ Coinmarketcap ขณะที่ Bitcoin ทั้ง 21,000,000 เหรียญ คาดว่าจะถูกขุดออกมาครบภายในปี 2140 หรืออีก 120 ปีข้างหน้า
การที่รางวัลจากการขุด Bitcoin ลดลงทุก ๆ 4 ปี หมายความว่า อุปทาน (Supply) ของ Bitcoin ที่ค่อนข้างจำกัดอยู่แล้ว จะยิ่งจำกัดลงไปอีก
ในขณะที่อุปสงค์ (Demand) ใน Bitcoin กลับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เห็นได้จากข่าวที่บริษัทต่าง ๆ พากันเข้าซื้อ Bitcoin ไม่ว่าจะเป็น Tesla, MicroStrategy, Square รวมถึงธนาคารระดับโลกที่เริ่มสนใจ Bitcoin เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Goldman Sach, หรือ Morgan Stanley เป็นต้น
ท่ามกลางสภาวะที่อุปทานของ Bitcoin ลดน้อยลง ขณะที่อุปสงค์กลับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามทฤษฎีแล้ว ราคาของ Bitcoin จะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกครั้งที่เกิดปรากฏการณ์ Bitcoin Halving ตามภาพประกอบด้านบน โดยเส้นสีฟ้าคือช่วงที่เกิด Bitcoin Halving
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงการคาดการณ์ โดยวิเคราะห์จากข้อมูลในอดีตเท่านั้น ไม่สามารถรับรองได้ว่าราคา Bitcoin จะปรับขึ้นอีกหลัง Bitcoin Halving ครั้งต่อไป นักลงทุนควรมีวิจารณญาณ และบริหารความเสี่ยงให้เหมาะสม โดยแนะนำใช้เงินเย็นเข้ามาลงทุน และศึกษาทำความเข้าใจสินทรัพย์ที่จะลงทุนให้ละเอียด
อ้างอิง Investopedia, BuyBitcoinWorldwide, Coinmarketcap
หลาย ๆ คนในที่นี้อาจจะรู้จัก Heinz บริษัท ซอสชื่อดัง ที่เคยมีสปอตโฆษณาเปิดตอนเข้าห้องน้ำในห้างตอนเด็ก ๆ หรือจะเป็น Viral ชื่อดังจากนักร้องสุดปังอย่าง Ed Sheeran ที่ชื่นชอบและหลงไหลในซอสของ Heinz เป็นอย่างมากจนถึงขนาดสัก Heinz ไว้ที่แขนของตัวเอง จน Heinz ทนไม่ไหวจับ Ed Sheeran มาทำขวดซอสรุ่นลิมิเต็ดกับ Heinz ซะเลย
ภาพของ Ed Sheeran และขวดซอสรุ่นลิมิเต็ดที่ถูกจัดทำมาเพื่อเขาโดยเฉพาะ! และดีไซน์ผ่านรอยสักบนแขนของนักร้องชื่อดังผู้นี้ ที่มาภาพ: thedrum.com
ในแง่ของการลงทุน Warren Buffett ก็ได้ลงทุนใน Heinz และมีแพ็กเกจสุดพิเศษที่นำ Warren Buffett และคู่ซี้ของเขาที่ขาดไม่ได้อย่าง Charlie Munger มาจับคู่ ซึ่งไม่ได้น้อยหน้าไปกว่า Ed Sheeran เลย!
ภาพแสดงแพ็กเกจสุดพิเศษของคู่ซี้นักลงทุนในตำนานอย่าง Warren Buffett และ Charlie Munger! ที่มาภาพ: forbes.com
ปัจจุบันตัวบัฟเฟตต์ก็ยังลงทุนอยู่ในฐานะแบรนด์ใหม่ในชื่อของ Kraft Heinz ที่จับ Kraft บริษัท อาหาร Market share อันดับต้น ๆ ในสหรัฐ มีผลิตภัณฑ์สามัญสุดป๊อปสำหรับชาวอเมริกันอย่าง ชีส มะกะโรนีชีส ไปจนถึงขนมอย่างเจลลี่
สิ่งเหล่านี้พิสูจน์ให้เห็นว่า Heinz เป็นบริษัทซอส ที่คนให้ความสนใจอย่างเข้มข้นไม่แพ้ไปกับความเข้มข้นของตัวซอสเอง
เรามาสำรวจในแง่ของการลงทุนว่า Kraft Heinz ในตอนนี้หากเป็นแง่ของการลงทุนจะมีความน่าสนใจหรือมีข้อควรรู้อะไรบ้าง
ราคาหุ้นของ Kraft Heinz ร่วงหนักอย่างต่อเนื่องนับมาตั้งแต่ปี 2017 ร่วงโรยจากจุดสูงสุดที่ราว ๆ 92 เหรียญต่อหุ้น มาที่ 40.27* เหรียญต่อหุ้น หรือคิดเป็น 56.22% ซึ่งเป็นผลมาจากกำไรที่ติดลบแบบมหาโหด
ในส่วนของบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน Heinz มีค่าความนิยม (Goodwill) หรือสินทรัพย์ที่มีความติสท์ abstract ระดับนึงพวก ลิขสิทธิ์ มูลค่าในเชิงแบรนด์อะไรทำนองนั้น Kraft Heinz มีสัดส่วนในสินทรัพย์ดังกล่าวที่ค่อนข้างมากซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว ๆ 33.15%** ของสินทรัพย์ทั้งหมดเลยทีเดียว
ดังนั้นการลงทุนใน Kraft Heinz อาจต้องใช้ศิลปะในการลงทุน อย่างความเข้าใจในธุรกิจและผู้บริหารเป็นหลัก เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของกระแสเงินสดในอนาคต รวมถึงศักยภาพในการทำกำไรที่เป็นไปได้ในแต่ละไลน์ของทุกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ๆ ใน Kraft ที่อาจทำให้การลงทุนมีความซับซ้อนมากขึ้นจากผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
ภาพแสดงแบรนด์และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หลังการจับมือร่วมกันของ Kraft และ Heinz ที่มาภาพ: potatopro.com
สัดส่วนของค่าความนิยม (Goodwill) มีการปรับลดลงมาบ้างเนื่องจากมีการปรับปรุงและพัฒนาสินค้าในส่วนของแบรนด์ Kraft และ Oscar Mayer (บริษัท เนื้อแปรรูป เจ้าของรถไส้กรอกในตำนาน!) จนทำให้ต้องมีการลดค่าความนิยมหรือความแข็งแกร่งของแบรนด์ลงไป
ภาพแสดงแคมเปญการขอแต่งงานหน้ารถไส้กรอกของ Oscar Mayer เมื่อปีที่แล้ว แคมเปญมาร์เก็ตติ้งสุดแสนจะครีเอท ที่มาภาพ: mlive.com
จนเป็นเบื้องลึกเบื้องหลักของการร่วงโรยของกำไรในปี 2018
ที่ทางบริษัทต้องตั้งรายจ่ายเพิ่มในของการสูญเสียค่าความนิยมและสินทรัพย์ที่จับต้องคิดเป็นราว ๆ 1.50 หมื่นล้านเหรียญ จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้รายได้จากการดำเนินงานในปี 2018 ลดลงถึง (1,024.20%) หากเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว
ถึงอย่างนั้น Kraft Heinz นับตั้งแต่รวมตัวกันยังไม่เคยผิดสัญญากับนักลงทุนในการจ่ายปันผลโดยมีการจ่ายปันผลอย่างต่อเนื่องมานับตั้งแต่ปี 2015 ถึงแม้จะมีช่วงที่มีกำไรจากการดำเนินงานลดลงหรือติดลบไปบ้างก็ตาม แต่ก็ยังจ่ายปันผลได้จากกำไรต่อหุ้นที่ยังเป็นบวก ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เรียกได้ว่า “ของมันต้องมี” ในหุ้นขนาดใหญ่
Kraft Heinz ยังคงมีการเติบโตของรายได้แบบทบต้น (CAGR) ในช่วง 5 ปีย้อนหลังที่ 7.38% ซึ่งถือว่าทำได้ไม่เลวสำหรับธุรกิจที่มีสเกลค่อนข้างใหญ่และสเกลในสหรัฐไปอย่างเต็มสูบ ดังนั้นสิ่งที่น่าสนใจก็คือการขยายตลาดไปในประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ เพื่อขยายการเติบโตของรายได้และผลักดันราคาหุ้นให้นักลงทุนคาดหวังได้มากขึ้น
แต่ถึงอย่างนั้นการจะให้คนเอเชียมาบริโภคผลิตภัณฑ์จากชีส ก็ดูจะไม่ใช่เรื่องง่ายหากเทียบกับซอส เนื่องจากวัฒนธรรมการกินที่อาจจะค่อนข้างแตกต่างกัน (ดินแดนแลนด์เครื่องเทศ)
การสเกลไปในประเทศอย่างรัสเซีย หรือยุโรปกำลังพัฒนาอาจจะดูเป็นเรื่องที่เหมาะสมกว่า ซึ่งทางบริษัทก็ได้มีการทำธุรกิจในภูมิภาคเหล่านั้นเช่นกัน และได้เปลี่ยนการจัดหมวดหมู่รายได้ดังกล่าวในปี 2017 โดยนำกลุ่มธุรกิจในภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา มารวมเป็น “ภาคธุรกิจยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA)” และแยกส่วนธุรกิจของเอเชียไว้เป็น “ภาคธุรกิจเอเชียแปซิฟิค” ซึ่งอาจช่วยให้การแบ่งกลุ่มตามพฤติกรรมของลูกค้า ตรงจุดตามวัฒนธรรมการกินมากขึ้น
รายได้ย้อนหลังของ Kraft Heinz
ปี 2016 2.63 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 8.21 แสนล้านบาท
ปี 2017 2.61 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 8.15 แสนล้านบาท
ปี 2018 2.63 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 8.21 แสนล้านบาท
ปี 2019 2.50 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 7.81 แสนล้านบาท
ปี 2020 2.62 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 8.18 แสนล้านบาท
ณ ตอนนี้ Kraft Heinz กำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านแห่งยุค และกำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนา ปรับปรุงโครงสร้าง ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้กำไรมีการปรับลดลงในบางช่วง และแสดงให้เห็นว่าการปรับตัวของกำไรนั้นมาจากความตั้งใจที่จะปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นหลัก ดังนั้นความแข็งแกร่งในเชิงแบรนด์ของธุรกิจจึงอาจคงไว้เช่นเดิม
Heinz ในฐานะซอสถือได้ว่าเป็นภาคส่วนรายได้ของบริษัทที่มีความแข็งแกร่งและการเติบโต ดังนั้นสิ่งที่ต้องจับตามองต่อไปอาจจะเป็นวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Kraft เอง
และจากรายงานของบริษัทรายได้จากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของ Kraft ก็ดูเหมือนจะยังไม่คงเส้นคงวานัก แต่ก็ยังมีความตั้งใจในการพัฒนาให้เห็น
การจับมือร่วมกันของ Kraft และ Heinz ดูจะเป็นเรื่องที่เหมาะสมในแง่ของชื่อที่คล้องจองพ้องเสียง แต่การจับมือครั้งนี้จะกลายเป็น “Diversification” หรือ “Diworsification” ก็คงเป็นเรื่องที่ต้องจับตาดูกันต่อไปครับ
ขอให้ทุกคนโชคดีครับ
Mr. Serotonin
ที่มาข้อมูล: reuters
*ข้อมูลราคา ณ วันที่ 15 เมษายน 2021
**ข้อมูลสัดส่วน จากการรายงานของบริษัท เดือน ธันวาคม 2020
***ข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยน USD เป็น THB ณ วันที่ 15 เมษายน 2021 08:21 UTC
https://www.potatopro.com/ru/news/2015/heinz-and-kraft-merge-form-kraft-heinz-company
การมาถึงของยุค 5G ทำให้ Edge Computing ถูกนำมาใช้งานจริง และเป็นสิ่งที่นักลงทุนอย่างเราต้องค้นหาหุ้นที่จะได้ประโยชน์สูงสุดกับเมกะเทรนด์นี้ เหมือนครั้งที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนกับกลุ่ม Cloud Infrastructure
Edge Computing แบบสั้น ๆ คือ การที่เราพยายามนำระบบประมวลผลที่เคยทำใน Data center ส่วนกลางไปไว้ใกล้ตัวผู้ใช้งานมากขึ้นเพื่อให้ตอบสนองได้ไวขึ้นซึ่งเรียกว่า Edge Data Center และความก้าวหน้าในเทคโนโลยีปัจจุบัน สามารถทำให้ Smart Devices ต่าง ๆ สามารถประมวลผลและตอบสนองกับผู้ใช้งานได้ทันที (เป็น Edge Data Center ขนาดย่อมในตัวของมันเอง) ซึ่งก็คือ “Edge Computing” นั่นเอง
1. ลด Latency (ความหน่วง) เพราะอุปกรณ์สามารถประมวลผลในตัวมันเองได้ หรือถึงจะต้องส่งข้อมูลไปยัง Data center ก็ทำได้เร็วขึ้น เพราะเป็น Edge Data Center แล้ว ดังนั้นการตอบสนองก็จะทำได้รวดเร็วขึ้นต่อเหตุการณ์เฉพาะหน้า ซึ่งนี่เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญต่อระบบรถยนต์ไร้คนขับมาก
2. ลด Bandwidth ที่ไม่จำเป็น เพราะปริมาณข้อมูลที่ส่งกลับไปที่ Data Center น้อยลง จึงเหลือช่องว่าง Bandwidth ไปใช้ในสิ่งที่จำเป็นกว่า
3. เพิ่ม Privacy & Security โดยการไม่ต้องส่งข้อมูลออกนอกอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน
จากที่อธิบายข้อดีของ Edge ไปข้างต้น จะเห็นว่า Edge Devices จำเป็นที่จะต้องมีการประมวลผลลัพธ์เบื้องต้นภายในตัวเองได้ โดยอาศัยชิพรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้กลุ่มชิปประมวลผลและ connectivity อยู่ในกลุ่มต้น ๆ ที่น่าสนใจลงทุนในเทรนด์นี้ในช่วงบุกเบิก ก่อนที่จะเป็น Edge Computing Platform ในระยะถัดไป ด้วยเหตุผลหลาย ๆ ข้อ ดังนี้
1. Edge devices ต้องออกสู่ตลาด และได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเสียก่อน ก่อนที่ฝั่ง Edge Platform จะได้ค่าบริการจาก Traffic จะได้ประโยชน์ทีหลัง ซึ่ง Traffic ตรงนี้ก็อาจจะไม่ได้มีปริมาณเท่าเดิมเพราะจำนวนข้อมูลที่ถูกส่งกลับมาน้อยลง
2. จำนวนของอุปกรณ์ที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล กระตุ้นการผลิตชิป เมื่อมีความต้องการมาก บริษัทผู้ผลิตชิป มีโอกาสได้ประโยชน์จากทั้ง จำนวนชิปที่ขายได้ และราคาที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยผู้ได้ประโยชน์หลักจะมีทั้งส่วน ผู้ผลิตชิปอุปกรณ์อัจฉริยะอย่าง Qualcomm, MediaTek, Ambarella (ผู้ผลิตชิพ AI Vision ที่กำลังจะถูกนำไปใช้ในรถอัจฉริยะ)
หรือ Qorvo, Skyworks ผู้ผลิตชิ้นส่วนส่งสัญญาณใน Smart Devices ที่ใช้ใน iPhone และมือถือแบรนด์ดังทั้งหมด
3. ฟากโครงสร้างพื้นฐานอย่างระบบรับส่งสัญญาณที่กำลังจะปูพรมติดตั้งในช่วง 5 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งในยุค 5G ระบบจะเลยไปถึง Private Network ที่แต่ละโรงงานจะมีระบบสัญญานส่วนตัวเพื่อรองรับปริมาณ data traffic มหาศาลเพื่อมาทำให้ระบบโรงงานอัจฉริยะสมบูรณ์ ซึ่งผู้ได้ประโยชน์เช่น Ericsson, Nokia หรือค่ายจีนจะมี ZTE มาสู้
BottomLiner
เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมอ่านต่อได้ตามด้านล่าง
ปี 2021 ปีแห่ง Edge Computing และการนำ AI ไปใช้งาน
อ่านย้อนหลัง Ambarella ผู้นำ Vision Computing เบื้องหลังกล้อง DJI HikVision จีนสุดล้ำ
ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/1366426383372492/posts/4391456264202807/
“รายการที่จะพาทุกคนไปเจาะลึก กับปรัชญา แนวคิดของนักลงทุนระดับ World Class”
หัวข้อ
0:00 Start
0:45 โจเอล กรีนแบลตต์ คือใคร?
2:38 กลยุทธ์ Magic Formula คืออะไร? ใช้อย่างไร?
8:30 ผลตอบแทนย้อนหลังของกลยุทธ์ Magic Formula
10:08 แนวคิดคำคม ปรัชญา ที่น่าสนใจของคุณ Joel Greenblatt
Joel Greenblatt คือผู้ก่อตั้งบริษัทจัดการสินทรัพย์ Gotham Asset Management และจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Wharton ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัย ivy league ของสหรัฐฯหรือมหาลัยอันดับต้น ๆ
คุณ Joel Greenblatt ได้เริ่มบริหารกองทุน Gotham ด้วยเงินทุน 7 ล้านเหรียญ โดยมีเงินทุนหลัก ๆ มาจากราชาตราสารหนี้เก็งกำไรในอดีตอย่างคุณ Michael Milken ซึ่งกองทุนของเค้าสามารถสร้างผลตอบแทนได้ถึง 50% ต่อปี หรือ 30% ต่อปีหลังจากหักค่าธรรมเนียมในช่วงปี 1985 ถึง 1994 จากการลงทุนใน special situation จำพวกการ spinoff ของบริษัทใหญ่ ๆ หรือการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ โดยในช่วงปี 1995 ถึงปี 2009 กองทุน Gotham ไม่ได้เปิดให้นักลงทุนภายนอกเข้ามาลงทุนเพิ่ม
และในปี 2000 กองทุน Gotham ก็ได้สร้างปรากฎการณ์อย่างการช่วย Michael Burry นักเก็งกำไรในตำนานผู้สร้างชื่อจากวิกฤติ subprime ด้วยการเข้าลงทุนใน Scion Capital Fund ถึง 25% จนลงทุนถึง 100 ล้านเหรียญในปี 2006
Magic Formula คือกลยุทธ์การลงทุนจากคุณ Joel Greenblatt นักลงทุนแนว VI ซึ่งหลักการของกลยุทธ์ที่ว่าก็คือการนำสัดส่วนทางการเงินต่าง ๆ ที่ใช้วัดมูลค่ามาคัดเลือกผ่านระบบข้อมูลและลงทุนผ่านหุ้นที่เข้ากฎเกณฑ์ใน 20 ถึง 30 อันดับแรก และไม่ใช้การวิเคราะห์สตอรี่ธุรกิจหรือการวิเคราะห์ในเชิงพื้นฐาน หรือจะเรียกได้ว่าเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่เรียบง่ายมาก ๆ และไม่ซับซ้อนเลย
ขั้นตอนการเลือกหุ้นของ Joel Greenblatt เป็นขั้นตอนที่ง่ายมาก ๆ และง่ายอย่างน่าเหลือเชื่อ โดยเข้าใช้เกณฑ์การเลือกหุ้นเพียงแค่สองส่วน ซึ่งก็คือปัจจัยทางด้านราคาและปัจจัยในเรื่องของศักยภาพในการใช้ทุนจนสร้างผลตอบแทนได้อย่างคุ้มค่า
หรือหากจะพูดกันง่าย ๆ สองปัจจัยนี่ก็คือตัวของ earning yield ที่เป็นส่วนกลับของค่า PE กับสัดส่วน ROC หรือ ROIC นั่นเอง
โดยกลยุทธ์ของคุณ Joel Greenblatt จะใช้สำหรับการหาหุ้นถูกและบริษัทที่ดี โดยมีปัจจัยหนุนอย่างมูลค่าเป็นตัวขับเคลื่อน และชื่อชอบการลงทุนใน special situation หรือสถานการณ์พิเศษ ที่ทำให้ราคาหุ้นสามารถฟื้นตัวกลับมาได้และทำกำไรผ่านหุ้นที่มีมูลค่าต่ำ
ตัวอย่างสถานการณ์พิเศษที่ว่าอาจจะเป็นสถานการณ์ที่ทำให้หุ้นเกิดแรงกดดันเทขายต่าง ๆ เช่น COVID-19 หรือ จากข่าว และวิกฤติต่าง ๆ โดยกลยุทธ์ของคุณ Joel Greenblatt จะช่วยในการหาหุ้นที่มีแนวโน้มฟื้นตัวกลับมาได้ หรือจะเป็นการ spin off จากหุ้นใหญ่ ๆ ที่มีพื้นฐานที่ดี มีทีมผู้บริหารที่แข็งแกร่ง รวมไปถึงการปรับโครงสร้างองค์กรต่าง ๆ
หากทำตามกลยุทธ์ดังกล่าวในช่วงปี 1988 จนถึงปี 2004 กลยุทธ์ Magic Formula จะสร้างผลตอบแทนได้ถึง 30% ต่อปีแบบทบต้น และเปลี่ยนเงินลงทุน 10,000 ดอลลาร์ ให้กลายเป็นเงินราว ๆ ล้านดอลลาร์ได้ในปี 2009 ในเวลาราว ๆ 20 ปี
แต่ถึงอย่างนั้นผลตอบแทนในช่วงล่าสุดยังถืออว่าตามหลังดัชนีหุ้นสามัญประจำบ้านอย่าง S&P 500 อยู่พอสมควร โดยกองทุนให้ผลตอบแทนรายปีนับตั้งแต่จัดตั้งอยู่ที่ 12.05% เทียบกับดัชนีหุ้น S&P 500 ที่ทำได้ 15.07% และมีผลตอบแทนสะสมนับตั้งแต่จัดตั้งอยู่ที่ 79.93% เทียบกับดัชนีที่ 106.53% ซึ่งอาจมีเหตุผลมาจากการที่การลงทุนในหุ้นเติบโตในช่วงที่ผ่านมีผลงานที่โดดเด่นกว่าการลงทุนในหุ้นมูลค่าซึ่งเริ่มมีแนวโน้มฟื้นตัวกลับมาในช่วงหลังไม่นานมานี้
“The strategy of putting all your eggs in one basket and watching that basket is less risky than you might think.”
“กลยุทธ์อย่างการลงทุนแบบกระจุกตัวอาจเสี่ยงน้อยกว่าที่คุณคิด”
“Choosing individual stocks without any idea of what you’re looking for is like running through a dynamite factory with a burning match. You may live, but you’re still an idiot.”
“การเลือกหุ้นรายตัวโดยที่คุณไม่เข้าใจอะไรเกี่ยวกับมันเลย มันเหมือนกับการที่คุณวิ่งเข้าไปในโรงงานผลิตไดนาไมต์กับไม้ขีดไฟ ซึ่งคุณอาจจะรอดก็ได้นะ แต่คุณก็ดูโง่อยู่ดี”
“So one way to create an attractive risk/reward situation is to limit downside risk severely by investing in situations that have a large margin of safety. The upside, while still difficult to quantify, will usually take care of itself. In other words, look down, not up, when making your initial investment decision. If you don’t lose money, most of the remaining alternatives are good ones.”
“ทางเลือกหนึ่งในการเฟ้นหาผลตอบแทนเทียบความเสี่ยงที่คุ้มค่า คือการจำกัดความเสี่ยงขาลงผ่านการลงทุนที่ให้ส่วนเผื่อความปลอดภัยที่สูง แน่นอนว่าในช่วงขาขึ้นมันเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ แต่มันจะอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง หรืออีกนัยหนึ่งมองหุ้นตอนมันลงไม่ใช่ตอนมันขึ้นหากตัดสินใจที่จะลงทุน ถ้าคุณไม่เสียเงินลงทุน คุณจะมีทางเลือกมากขึ้น”
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast
การวิเคราะห์ทางเทคนิคไม่ใช่สิ่งใหม่ ใครๆก็รู้จัก นักลงทุนหลายคนใช้เทคนิคอลประกอบการตัดสินใจ บางคนใช้เป็นหลักยึดในการลงทุนเสียด้วยซ้ำ หรือมากกว่านั้นคือสามารถนำเทคนิคอลมาทำเป็นระบบการลงทุนเชิง Quantitative มีจุดเข้า จุดออก จุดตัดขาดทุนที่ชัดเจนเหมือนใน EP เก่าๆ ที่เราเคยนำเสนอให้ทุกคนติดตามอยู่ตลอด แต่ในบทความนี้อยากจะ Deep Diving หรือดำลึกลงไปถึงต้นกำเนิดของเทคนิคอลรวมถึง Tips & Tricks ในการเล่นแร่แปรธาตุในเทคนิคอลที่หลายคนนึกไม่ถึงกันครับ
การวิเคราะห์ทางเทคนิคทุกชนิด ทุกเครื่องมือ ทุกรูปแบบที่มีการพัฒนาจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันล้วนมีที่มาจากการนำ Data ที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีตมาทำการคำนวณด้วยวิธีการต่างๆ จนเกิดเป็นรูปแบบราคา อินดิเคเตอร์ และอื่นๆ อีกมากมาย ข้อมูลเหล่านั้นมาจากการนำราคาเปิด ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด ราคาปิด และปริมาณการซื้อขาย นั่นแปลว่าต่อให้การคำนวณซับซ้อนแค่ไหน ที่มาที่ไปของผลลัพธ์ที่ได้ก็มาจากการบีบเค้นข้อมูลชุดนี้เท่านั้น ทำให้เวลาเอาเครื่องมือใดๆ ในเทคนิคอลมาปรับใช้ก็จะเริ่มตันและไม่สามารถพัฒนาไปต่อได้ เราจึงอยากจะลองทดสอบเล่นแร่แปรธาตุ Data พวก Open High Low Close ให้ดูว่ายังสามารถไปได้อีกเยอะ ถ้าเราเข้าใจมันมากขึ้น
การซื้อขายสินทรัพย์โดยใช้เส้นค่าเฉลี่ยในอดีต สิ่งที่นักลงทุนมักจะพัฒนาและให้ความสำคัญคือการหาเส้น หาค่าที่ดีที่สุด ว่าเส้นไหนดีกว่ากัน นั่นทำให้เราจะต้องไป Optimization เพื่อหาค่าที่ดีที่สุด “ในอดีต” ทำให้อาจเกิดปัญหาเรื่องเหตุการณ์ในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลง ผลลัพธ์ก็จะไม่ได้ดีอย่างที่คิดเอาไว้ แต่หากลงลึกอีกหน่อย เราจะรู้ว่าเส้นค่าเฉลี่ยที่ใช้นำมาคำนวณนั้น มาจากการนำราคาปิดสิ้นวันหรือ Close มาคำนวณ นั่นทำให้เราสามารถทดสอบดูได้ว่า ถ้าหากนำค่าอื่นมาคำนวณล่ะ ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน ไปดูกันเลยครับ
จากภาพประกอบของการซื้อขาย Bitcoin ย้อนหลัง 5 ปีที่ใช้เส้นค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 50 วัน (EMA50) มาทดสอบและเปลี่ยนจากการใช้ราคาปิด เป็นราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด มาคำนวณแทน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นะแอบตกใจพอสมควรเลยครับ การใช้ค่า Default จากแพลตฟอร์มดูกราฟทั่วไปที่ใช้ราคาปิด จากเงิน 1 ล้านสามารถสร้างผลตอบแทนย้อนหลังได้ต่อปีถึง 116.37 % มี Max DD ที่ 55.61% ความแม่นยำในการเทรด 37.84% กำไรโดยเฉลี่ยต่อครั้ง 58% ขาดทุนโดยเฉลี่ย 3.8% คิดเป็น Payoff 15.4 เท่า ต่อรอบที่กำไรถูกประมาณ 58 วัน รอบที่ขาดทุนถือประมาณ 5.7 วัน แต่ลองสังเกตุผลลัพธ์จากการใช้ค่าอื่นๆ มาคำนวณ จะได้ Stat ที่แตกต่างกันพอสมควร
กรอบราคาที่เราใช้ทดสอบให้ทุกคนดูอย่างต่อเนื่องนั้นก็สามารถปรับเปลี่ยนการคำนวณเล็กๆ น้อยๆ แบบเส้นค่าเฉลี่ยได้เช่นเดียวกัน โดยเราแบ่งสมมติฐานออกเป็น 3 ข้อ
ซึ่งผลลัพธ์ทั้ง 3 แบบมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ไม่มีมีนัยยะมากเท่าการใช้เส้นค่าเฉลี่ยมากคำนวณ พวกเราลองค่อยๆไล่ดูตัวเลขจากตารางข้างบนดูก็ได้ครับ
หากเราสงสัยว่าแค่ช่วงเวลา 5 ปีในการทดสอบเท่านั้นแถมทดสอบแค่ Bitcoin ตัวเดียวด้วย อาจจะฟันธงไม่ได้ว่ามีนัยยะทางสถิติจริงรึเปล่า เราจึงทำการทดสอบในตลาดหุ้นไทยย้อนหลังไป 21 ปี โดยใช้วิธีการลงทุนแบบ Hybrid คือผสมทั้งปัจจัยพื้นฐานและเทคนิคเข้ามาตัดสินใจ แต่แบ่งสมมติฐานเป็น 2 ข้อดังนี้ครับ
โดยเราจะเห็นว่าผลลัพธ์แตกต่างกันพอสมควร CAGR คือ 34.7% กับ 27.74% ยิ่งพอทบต้นถึง 21 ปีแล้วทำให้เม็ดเงินลงทุนรวมต่างกันถึง 400 ล้านบาทโดยประมาณ!!
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นลองไปดูกราฟเงินทุนของระบบนี้กันครับ
(Data & Template จาก www.siamquant.com)
เพียงแค่เราศึกษาให้ลึกลงไปอีกสักนิด เข้าใจที่มาที่ไปของสิ่งที่เราหยิบยกมาใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน เราน่าจะสามารถสร้างผลลัพธ์ที่แตกต่างได้ เพราะในยุคนี้ที่ข้อมูลเยอะแยะไปหมด เวลานักลงทุนคนหนึ่งอยากจะศึกษาเรื่องการลงทุน ก็มักจะพยายามหาทางลัด Short Cut หรือวิธีใช้งานเลยซึ่งง่ายในการทำความใจแต่ยากในการพยายามสร้าง Alpha ในอนาคต เราจึงพยายามหยิบยกมุมแปลกๆ ใหม่ๆ ที่นึกไม่ถึงหรืออาจจะง่ายไปจนเรามองข้ามมาทดสอบให้ดูว่าความเข้าใจที่ลึกซึ้งจะตามมาด้วยผลลัพธ์ที่แตกต่างจริงๆ ครับ
ZIPMEX
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast
ในขณะที่การระบาดของโควิด-19 ในประเทศหลัก ๆ ของโลกเช่นในสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ในยุโรปที่ต้องเผชิญกับปัญหาอย่างรุนแรงมากในปีที่แล้ว กำลังเริ่มลดลงเพราะการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยกลับเลวร้ายลง “อย่างมาก” เนื่องจากเรากำลังประสบกับการระบาดของโรค “โควิดรอบ 3” ที่มีการกระจายและติดเชื้อในหมู่คนค่อนข้างกว้างขวางเมื่อเทียบกับการระบาดรอบแรกที่เกิดจากสนามมวยและรอบสองที่เกิดในหมู่คนงานต่างชาติและในตลาดสดที่อยู่ในต่างจังหวัด แต่การระบาดรอบนี้เริ่มจากสถานบันเทิงระดับหรูที่เกี่ยวข้องกับคนที่มีสถานะทางสังคมสูงที่มักจะมีการติดต่อกับผู้คนจำนวนมาก และยังรวมถึงผู้ให้บริการเช่นนักร้องนักดนตรีที่มักจะเดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ และพบกับผู้คนจำนวนมากด้วย การกระจายตัวของการติดเชื้อรอบนี้จึงมีมากและการติดตามและป้องกันก็คงจะยากขึ้นมาก ผู้เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญบางคนถึงกับบอกว่า โควิดรอบนี้อาจจะรุนแรงกว่ารอบก่อนหน้าเป็น 10 หรือ 100 เท่า ผมเองก็รู้สึกว่าคงเป็นอย่างนั้น ว่าที่จริง ใน 2 รอบก่อนนั้น ผมไม่เคยมีเพื่อนหรือคนรู้จักที่ติดจริง ๆ เลย แต่รอบนี้มีและพบว่ามีคนแทบทุกวงการที่ติดเชื้อ มันคง “ใกล้ตัว” เข้ามาทุกทีแล้ว ก่อนหน้านี้ผมเคยคิดว่าเรื่องวัคซีนเราจะรอ ๆ ไปก่อนเพื่อความมั่นใจว่ามันจะไม่มีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงจริง ๆ ตอนนี้ผมคิดว่าผมอยากฉีดวัคซีนแล้ว แต่ก็ไม่รู้ว่าจะได้ฉีดเมื่อไร
ตลาดหุ้นของแต่ละประเทศนั้น เป็น “เทอร์โมมิเตอร์” หรือเป็น “เครื่องวัด” ที่ทรงประสิทธิภาพมากว่าผลงานการบริหารหรือการจัดการโดยเฉพาะในด้านของเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศนั้นทำได้ดีแค่ไหน ปรากฏการณ์โควิด-19 นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกและมีความสัมพันธ์กันใกล้ชิด แม้แต่สายพันธุ์ที่เกิดขึ้นในประเทศหนึ่งก็สามารถกระจายไปยังอีกประเทศหนึ่งได้ง่าย ในช่วงแรกที่เกิดกรณีโควิด-19 นั้น เราคิดว่าเรามีความสามารถในการจัดการที่ดีมากจนทำให้เกิดกรณีการติดเชื้อน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ รวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย แต่นั่นก็เป็นแค่ในเรื่องของการป้องกันการติดเชื้อ แต่สำหรับผมแล้ว วิกฤติโควิด-19 นั้น แท้ที่จริงมี 2 มิตินั่นก็คือ เรื่องของการติดเชื้อที่ทำลายสุขภาพของคนกับเรื่องของเศรษฐกิจที่มีการทำลายการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ซึ่งในมิติหลังนี้ ก็ต้องถือว่าไทยเราจัดการไม่ดีเลย เห็นได้จากการที่เศรษฐกิจไทยติดลบไปถึงประมาณ 6% ในปีที่แล้วซึ่งเลวร้ายที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง นอกจากนั้น IMF รวมถึงหน่วยงานของไทยก็ยังประเมินว่าปี 2564 ไทยก็จะเติบโตเพียง 2-3% ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ไม่ต้องพูดถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียตนามที่มีภูมิศาสตร์และภาวะเศรษฐกิจคล้ายคลึงกับไทยที่ปีที่แล้วยังเติบโตถึง 2-3% และปีนี้คาดว่าจะโตไม่น้อยกว่า 6-7% ขึ้นไปและเป็นเศรษฐกิจที่เติบโตดีที่สุดในโลกประเทศหนึ่งในช่วง “ปีโควิด”
ตลาดหุ้นของประเทศเฉพาะอย่างยิ่งที่มีปัญหารุนแรงจากการระบาดของโควิด-19 แต่สามารถผลิตหรือมีการฉีดวัคซีนค่อนข้างแพร่หลายมากแล้วอย่างอเมริกาหรืออังกฤษนั้น ในช่วงเร็ว ๆ นี้ต่างก็ปรับตัวขึ้นอย่างแรงและหลายแห่งก็เป็น “All Time High” กันแล้ว ภายในไม่กี่เดือนข้างหน้าคนทั้งประเทศก็จะได้รับการป้องกันจากการติดเชื้อโควิดและทุกอย่างก็จะกลับมาเป็นปกติ แต่สำหรับตลาดหุ้นไทยนั้น นอกจากประเด็นเรื่องของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อานิสงส์จากการที่มีการ “ปิดเมือง” ที่ทำให้แทบไม่มีนักท่องเที่ยวหรือการเดินทางเข้ามาติดต่อหรือทำธุรกิจ ได้ทำให้ตลาดหุ้นยังไม่สามารถที่จะปรับตัวขึ้นอย่างเป็นเรื่องเป็นราวได้ ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ การระบาดรอบ 3 ที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อนก็ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ “สะดุด” ลงอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ารัฐบาลจะเริ่มตระหนักว่ามิติทางเศรษฐกิจนั้นมีความสำคัญไม่แพ้เรื่องของสุขภาพ ดังนั้น การระบาดรอบนี้ที่รุนแรงกว่าสองครั้งแรกมากแต่รัฐบาลก็ไม่ปิดเมืองหรือปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเท่า ผลก็คือ ตลาดหุ้นที่ตกลงมาประมาณ 2.5% ใน 2 วันจึงหยุดตกต่อ นักลงทุนคงจะรอดูว่าหนทางการแก้ปัญหาโควิดแบบ “ยั่งยืน” ซึ่งก็คือการฉีดวัคซีนให้ประชาชนอย่างทั่วถึงจะทำได้เมื่อไร?
แต่เดิมดูเหมือนว่าเราจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับวัคซีนซึ่งเป็นเรื่อง “ระยะยาว” เท่าที่ควร ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการที่ไทยมีกรณีติดเชื้อน้อยและทีมงานที่แก้ปัญหาของโควิดซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคคลากรทางด้านสาธารณสุขที่อาจจะไม่ได้มองมิติทางด้านเศรษฐกิจมากนัก จึงมุ่งเน้นการ “ต่อสู้” โควิดที่เป็นเรื่องเร่งด่วนระยะสั้น ประเด็นสำคัญสำหรับทีมงานก็คือ ต้องไม่ให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มหรือเพิ่มมากโดยอาศัยการเว้นระยะห่างและการป้องกันการติดเชื้อโดยการสัมผัส ส่วนวัคซีนนั้นก็มีการเตรียมผลิตหรือจัดซื้อ เพียงแต่ไม่ได้เป็นปัจจัยชี้ขาดของการจัดการโควิดในช่วงเวลา “หน้าสิ่วหน้าขวาน” ในตอนนั้น ผลก็คือ เมื่อการคิดค้นและผลิตวัคซีนของโลกประสพผลสำเร็จ เรากลับต้องรอประเทศอื่นใช้ก่อนหรือไม่ก็ไม่สามารถใช้ยี่ห้อที่ดีหรือผลิตได้สำเร็จก่อน ทั้งหมดนั้นดูเหมือนเราจะทำเพราะต้องการ “ประหยัด” ไม่ยอมทุ่มเงินเพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อวัคซีนของโลกมาถึง เราจะได้ใช้ก่อนหรือได้ใช้เร็วเพื่อที่จะแก้ปัญหาทางสุขภาพและเศรษฐกิจที่ถูกกระทบอย่างหนัก เราอาจจะลืมไปว่าความล่าช้าในการแก้ปัญหามี “ต้นทุนแอบแฝง” มหาศาล ความเสียหายทางเศรษฐกิจแต่ละวันที่เราจะต้องเผชิญกับโควิดนั้นสูงกว่าค่าวัคซีนอย่างเทียบกันไม่ได้เลย
วิธีที่จะแก้ปัญหาการฉีดวัคซีนล่าช้าในขณะนี้ก็คือ การเปิดให้เอกชนนำเข้าวัคซีนมาให้บริการแก่คนที่ต้องการฉีดและพร้อมที่จะจ่ายเงินเอง ซึ่งดูเหมือนว่ารัฐบาลจะเริ่มยอมรับและสนับสนุนโดยการประกาศเมื่อปลายสัปดาห์ก่อนว่าจะอนุญาตให้นำเข้ามาประมาณ 10 ล้านโดสหรือฉีดได้ประมาณ 5 ล้านคน คงจะต้องดูว่าจะทำได้เร็วแค่ไหน ส่วนตัวผมเองคิดว่าเป็น “ข่าวดี” และนี่ก็ส่งผลให้หุ้นของโรงพยาบาลเอกชนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับตัวขึ้นกันทั่วหน้าประมาณ 5-6% ซึ่งรวมถึงหุ้นของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่สุด นอกจากนั้น หุ้นบางตัวที่เคยพยายามนำเข้าวัคซีนแต่ไม่สำเร็จเพราะถูก “บล็อก” โดยหน่วยงานรัฐก็ปรับตัวขึ้นไปกว่า 10% ในวันเดียว
อีกครั้งที่ตลาดหุ้นนั้น “ส่งสัญญาณ” ว่าอะไรคือสิ่งที่ดี นโยบายแบบไหนที่จะช่วยให้เศรษฐกิจและธุรกิจดีขึ้น แค่ประกาศแต่ไม่รู้ว่าในทางปฏิบัติจะเป็นแบบนั้นและเร็วแค่ไหน หุ้นก็ขึ้นไปแล้ว ผมเองก็หวังว่าวัคซีนจะมาเร็วพอ ข่าวที่บอกว่า “เกณฑ์” การนำเข้าจะเสร็จภายใน 1 เดือนนั้น ผมคิดว่านานเกินไป ผมคิดว่า “ของ” ควรจะต้องมาพร้อมฉีดภายใน 1 เดือนน่าจะเหมาะสมกว่า โดยเฉพาะในภาวะที่ต้องเรียกว่า “ฉุกเฉิน” อย่างเวลานี้ ยิ่งไปกว่านั้น ผมเองอยากจะเห็นการ “เปิดเสรี” ไม่จำกัดจำนวนแค่ 10 ล้านโดส จริงอยู่รัฐเองอาจจะเสียเงิน “จอง” วัคซีนไปแล้วจำนวนมาก ถ้าใช้ไม่หมดก็อาจจะเกิดความเสียหาย แต่ผมเองคิดว่า เวลาที่โรคหายและเศรษฐกิจเปิดเต็มที่และสามารถรับนักท่องเที่ยวเดินทางจากต่างประเทศนั้น มีค่ามากกว่าเงินค่าวัคซีนมาก ลองคิดดู ขนาดแค่ประกาศว่าจะให้นำเข้าวัคซีน 10 ล้านโดสหุ้นโรงพยาบาลก็ตอบสนองขนาดนี้แล้ว ถ้าบอกว่าภายใน 3-4 เดือนจะฉีดให้ครบ 80 ล้านโดส หุ้นทั้งตลาดซึ่งจะได้ประโยชน์มหาศาลจะวิ่งกันขนาดไหน?
นอกจาก “ภาพใหญ่” ของเรื่องวัคซีนแล้ว ผมเองก็คิดว่า “ภาพเล็ก” เช่นที่เกี่ยวกับยี่ห้อก็อาจจะมีความสำคัญเช่นกัน เพราะผมเองก็เพิ่งจะเข้าใจจริง ๆ หลังจากอ่านความเห็นของหมอคนหนึ่งว่า วัคซีนแต่ละยี่ห้อนั้นมีคุณสมบัติหรือคุณภาพต่างกันมาก โดยสิ่งที่วัคซีนป้องกันนั้นจะแบ่งเป็น 3 ระดับคือ 1) ป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งก็ปรากฏว่าวัคซีนที่ดูเหมือนป้องกันได้มีแค่ 2-3 ตัวเท่านั้น และป้องกันได้ประมาณ 60-90% วัคซีนส่วนใหญ่ป้องกันการติดเชื้อโควิดไม่ได้เลย พูดง่าย ๆ ฉีดแล้วก็ติดเชื้อได้เท่า ๆ กับคนที่ไม่ได้ฉีดและสามารถเป็นตัวแพร่เชื้อได้ ระดับที่ 2) ก็คือ ป้องกันการเป็นโรคหรือมีอาการ นี่คือสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนที่ฉีดวัคซีน แต่ก็ไม่ได้ 100% ส่วนใหญ่ป้องกันได้ประมาณ 50-60% แต่ตัวที่เด่น ๆ ใช้มากในอเมริกานั้น ป้องกันได้ถึง 90% ขึ้นไป ดังนั้น จึงน่าจะเป็นตัวที่ดีที่สุด ส่วนระดับที่ 3) ซึ่งก็สำคัญมากหรืออาจจะมากที่สุดก็คือ ความสามารถในการป้องกันอาการรุนแรงซึ่งอาจจะทำให้คนไข้ตายได้นั้น ปรากฏว่า วัคซีนตัวหลัก ๆ ของโลกที่ฉีดกันไปมากมายแล้วในประเทศต่าง ๆ สามารถป้องกันอาการรุนแรงถึงตายได้ 100% ซึ่งแปลว่าถ้าฉีดแล้วก็ค่อนข้างสบายใจได้ว่าถึงเป็นโรคก็คงไม่ตายแน่นอน ดังนั้น ก่อนที่จะฉีดวัคซีนจึงควรศึกษาประสิทธิผลของมันเสียก่อน ที่ต้องระวังก็คือ มีวัคซีนหลายตัวที่ไม่มีข้อมูลเหล่านี้ที่เป็นทางการและเผยแพร่ในเอกสารทางการแพทย์เลย ฉีดไปแล้วก็ไม่รู้ว่าป้องกันอะไรได้มากน้อยแค่ไหนจริง ๆ
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ที่มาบทความ: https://blog.settrade.com/blog/nivate/2021/04/12/2491
ณ ตอนที่ผมเขียนบทความนี้อยู่ ดัชนี Dow Jones ปิดทำการอยู่ที่ระดับ 33,800.06 จุด S&P 500 ปิดที่ระดับ 4,128.80 จุด อยู่ในจุดที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่จัดตั้งดัชนีขึ้นมา
การทะยานตัวขึ้นมาของดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในรอบนี้ ต่างจากการบูมของตลาดหุ้นในช่วงปีที่แล้วที่ตอนนั้นพระเอกของรอบคือ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งได้แรงซื้อในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 กำลังระบาด และทำให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ Internet Platform กันมากขึ้น ทำให้ NASDAQ บวกขึ้นมาแล้วมากกว่า 100% นับตั้งแต่ดัชนีเจอจุดต่ำสุดเมื่อปลายเดือนมี.ค. ปีที่แล้ว
ขณะที่ดัชนี S&P 500 ถ้าจะนับจากช่วงเดียวกัน กลับบวกขึ้นมาได้เพียง 82% โดยหลัก ๆ เกินกว่า 12% เป็นการบวกนับตั้งแต่ต้นปี 2021 ขณะที่ฝั่ง NASDAQ นั้น นับตั้งแต่ต้นปีนี้ บวกได้ 8% (Underperform นิด ๆ)
ปัจจัยที่ทำให้หุ้นกลุ่มเทค (มองผ่านดัชนี NASDAQ) ในปีนี้ดูจะแพ้ S&P 500 อยู่หน่อย ๆ ก็เพราะ เจ้าตัวที่เรียกว่า “Bond Yield”
นับตั้งแต่คุณลุงโจ ไบเดน เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็เล่นใหญ่มาตลอด ตามนโยบาย American Rescue Plan ไม่ว่าจะเป็นมาตรการเยียวยาจากวิกฤต COVID-19 วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ผ่านเป็นกม.ไปแล้ว)
รวมไปถึงแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Plan) ซึ่งลุงโจเพิ่มแย้ม ๆ บอกเราเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยขนาดวงเงินมากกว่า 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (น่าจะเป็นร่างกม.เสร็จภายในเดือนเม.ย.นี้)
ยังไม่นับรวมกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาว 10 ปี ตามที่เคยได้หาเสียงไว้เมื่อปีที่แล้วด้วยขนาดวงเงิน 11 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ !!
เนื่องจาก Private Sector ยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มประสิทธิภาพนัก ประกอบกับอัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับที่สูง รัฐบาลสหรัฐฯ จึงต้องหยิบแผนกระตุ้นเบอร์ใหญ่ขนาดนี้มาแทน
และเพราะมันต้องการวงเงินการลงทุนจำนวนมหาศาล สิ่งที่ตลาดกังวลตามมาก็คือ “อัตราเงินเฟ้อ” ซึ่งเมื่อตลาดเชื่อว่าเงินเฟ้อจะมา มันเลยไปกระทบชิ่งทำให้นักลงทุนมีการเทขายพันธบัตรสหรัฐฯ อายุยาว ๆ ส่งผลให้ Bond Yield หรือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดย Bond Yield 10Y ขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 1.75% ก่อนย่อลงมาตรงนี้ที่ 1.66% แต่ก็ยังถือว่าสูงกว่าวันเลือกตั้งสหรัฐฯ ปีที่แล้วที่อยู่แค่ 0.76% ค่อนข้างมากทีเดียว
ตัว Bond Yield นี้เอง ซึ่งถือเป็น Risk Free Rate ในการคำนวนหา Valuation ของราคาหุ้นในตลาด เมื่อมันปรับตัวขึ้น Cost of Capital ที่สูงขึ้น มันเลยทำให้หุ้นเทคฯ รวมถึงหุ้นสไตล์ Growth Play มีมูลค่าทางปัจจัยพื้นฐานสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ มันก็ขึ้นมาแพงอยู่ก่อนแล้ว
แรงขายหุ้นกลุ่ม Growth Play ซึ่งกระจุกอยู่ในหุ้นเทคโนโลยีเป็นส่วนใหญ่ จึงเกิดขึ้นนับตั้งแต่กลางเดือนก.พ.ที่ผ่านมา
มีตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่น่าสนใจ ในการตรวจสอบตลาดหุ้นว่าแพงไปหรือยัง ฟองสบู่กำลังจะแตกหรือเปล่า นั่นก็คือ Buffett Indicator ซึ่งวิธีคำนวนของดัชนีตัวนี้ ก็ไม่ได้ยากอะไร วิธีก็คือ นำเอามูลค่าตลาด (market capitalization) มาหารกับ GDP ของสหรัฐฯ หรือ เรียกง่าย ๆ ก็คือ Market-cap-to-GDP ratio
ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปก่อนเกิดวิกฤตดอทคอมปี 2000 ดัชนี Buffett Indicator ขึ้นไปถึง 71% แล้วก็ตามมาด้วยฟองสบู่ดอทคอมแตกไม่นานหลังจากนั้น
มาวันนี้ Buffett Indicator เทรดอยู่ที่ 88% สูงกว่าช่วงวิกฤตดอทคอมไปเรียบร้อย ดังนั้น มันก็น่ากังวลอยู่พอสมควรนะว่า นับจากนี้ไป ตลาดหุ้นมันยังเหลือ Upside ให้ไปได้อีกไกลแค่ไหน?
ไม่ใช่แค่สัญญาณจาก Buffett Indicator เท่านั้นที่เตือนเราตอนนี้
สิ้นเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ปู่เรย์ ดาลิโอ ผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ชื่อ Bridgewater Associates ให้สัมภาษณ์กับทาง Yahoo Finance ว่า ตอนนี้ตลาดหุ้นกำลังก่อฟองสบู่มาได้ “ครึ่งทาง” ภาพคล้าย ๆ กับภาพการปรับฐานวิกฤต Dotcom และ Great Depression
โดยให้ความเห็นว่า หุ้นที่มีผลตอบแทนสูง ๆ หลาย ๆ ตัวได้รับประโยชน์จากการซื้อขายเก็งกำไร สภาพคล่องที่ล้นระบบอยู่ตอนนี้และเริ่มมีการไหลของเม็ดเงินลงทุนย้ายไปยังหุ้นที่ไม่ได้รับประโยชน์ดังกล่าว แต่ราคาก็ปรับตัวขึ้นมารวดเร็วไม่แพ้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
ซึ่งปู่เรย์ ก็ได้เตือนว่า สภาวะตลาดในอดีตที่เริ่มเห็นการเทรดหรือการลงทุนใด ๆ ที่ไม่ให้น้ำหนักกับปัจจัยด้านราคาความถูกแพง เมื่อนั้นเอง มันกำลังเป็นสัญญาณของฟองสบู่ว่าใกล้จะแตกแล้วหรือเปล่า
ด้านคุณไมเคิล เบอร์รี นักลงทุนชาวอเมริกันผู้สร้างชื่อเสียงจากการทำกำไรมหาศาลจากการคาดการณ์วิกฤตซับไพรม์ปี 2008 ได้ถูกต้องจนมีการเอาไปสร้างเป็นภาพยนต์เรื่อง The Big Short ก็ได้ออกมาเตือนผ่าน Twitter Account ของตัวเองมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงเมื่อเดือนก.พ. ที่ผ่านมาว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กำลังอยู่ในจุดที่เป็นอันตรายที่จะเกิดการปรับฐานรุนแรง รวมถึงตลาดฝั่ง Cryptocurrency ด้วย ก่อนที่จะลบข้อความของตัวเองทั้งหมดทิ้งในเวลาต่อมา
ล่าสุด เมื่อวันที่ 6 เม.ย. มีคนไปลอง search Twitter Account ของไมเคิลดู พบว่า ถูกลบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เราก็ต้องมาดูกันต่อว่า ที่แกทำนายไว้ จะแม่นยำเหมือนกับตอนวิกฤตซับไพรม์ปี 2008 หรือเปล่า
Bear Camp ไม่ได้มีแค่นี้ ฝั่งที่เป็นนักวิเคราะห์อยู่กับสถาบันการเงิน ก็มีเช่นเดียวกัน
Chief U.S. equity strategist จากซิตี้กรุ๊ป ได้ออก Research Paper มาเมื่อวันพุธว่า ตลาดหุ้นตอนนี้ไม่มีความน่าสนใจในการลงทุนเลย มันชวนให้นึกถึงภาพตลาดก่อนฟองสบู่แตกในปี 2000 ยังไงก็ไม่รู้
โดยมีการเปิดเผยตัวเลขดัชนี Panic/Euphoria sentiment indicator และอัตราส่วน S&P 500 market cap to sales ratio พบว่า อยู่ในระดับจุดที่สูงกว่าวิกฤตเดิม ๆ ไปไกลมากแล้ว รวมถึงแสดงความกังวลว่า นักลงทุนในตลาด ณ ตอนนี้ ให้น้ำหนักกับโอกาสที่ ปธน.โจ ไบเดน จะเก็บภาษีเพิ่มขึ้นน้อยกว่าความเป็นจริง ซึ่งนโยบายนี้จะส่งผลกระทบต่อกำไรของบริษัทจดทะเบียนอย่างมาก และทำให้ตลาดมีโอกาสปรับฐานได้รุนแรง
อ่านมาจนถึงตอนนี้ เราก็อาจจะเริ่มกลัวขึ้นมาแล้วว่า เฮ้ย! หรือว่า ฟองสบู่กำลังจะแตกจริง ๆ ?
งั้นมาอ่านมุมมองของฝั่ง Bull Camp กันบ้างนะครับ
คนแรกคือคุณจิมมี่ ไดมอน CEO ของ JPMorgan เพิ่งเขียนจดหมายให้นักลงทุนและถูกเปิดเผยเมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา โดยเขาเชื่อว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีโอกาสเติบโตไปได้ถึงปี 2023
เหตุผลที่ CEO แห่ง JPMorgan ให้ไว้ ก็คือ ขนาดของการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มหาศาล และการแจกเงินเข้ากระเป๋าประชาชนโดยตรง ทำให้ประชาชนที่เคยมีหนี้ในระดับสูงสามารถลดภาระหนี้ลงแตะสัดส่วนที่ต่ำสุดในรอบ 40 ปี ทำให้มีอุปสงค์ต่อการบริโภคตามมาแน่นอนหากกระบวนการฉีดวัคซีนเสร็จสิ้น
ขณะที่ โครงการ QE ก็ทำให้มีเงินฝากในระบบธนาคารมากกว่า $3 Billion ซึ่งทำให้ธนาคารสามารถปล่อยกู้และเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง ตราบใดที่เฟดยังใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายแบบนี้ไปเรื่อย ๆ
ฝั่ง Double “J” คือ คุณเจอโรม พาวเวล และ คุณเจเนต เยลเลน ให้ความเห็นต่อ House Financial Services Committee เมื่อปลายเดือนมี.ค. ให้ความเห็นตรงกันว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ณ ระดับปัจจุบัน มูลค่าอาจจะดูแพงในบางกลุ่มหรือหุ้นบางตัวจริง แต่ก็เป็นหน้าที่ของผู้กำหนดนโยบายที่จะเข้าไปดูแลเสถียรภาพของตลาดในระยะยาว ซี่งในตอนนี้ถือว่า ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง
ส่วนประธานเฟด คุณเจอโรม พาวเวล กล่าวว่า เฟดยังไม่ได้เริ่มหารือว่าจะเริ่มลดการซื้อสินทรัพย์รายเดือนที่ใช้เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจเมื่อไหร่ และจากรายงานการประชุมเฟดที่เพิ่งเปิดเผยออกมา คณะกรรมการส่วนใหญ่ก็เชื่อว่า กว่าที่เฟดจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยได้ก็คือ ปี 2023 เลย
อีกคนที่มองมุมบวกต่อตลาดหุ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาก็คือ ศาสตราจารย์เจอเรอมี ซีกาล จากมหาวิทยาลัย Wharton มองว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะวิ่งต่ออย่างน้อย ๆ ก็จนถึงสิ้นปี 2021 นี้
โดยศาสตราจารย์ให้ความเห็นว่า ตลาดหุ้นมี Upside จากจุดนี้อีก 30%-40% ก่อนจะมีการปรับฐานซัก 20% เกิดขึ้น และการปรับฐาน ถ้าจะเกิดขึ้น ก็น่าจะเกิดขึ้นเพราะเฟดถอนคันเร่ง จะลอการทำ QE หรือ เมื่อมีสัญญาณว่าจะต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสู้กับสัญญาณเงินเฟ้อหากเกิดขึ้นหลังจากนี้ โดยแกคาดการณ์ว่า เงินเฟ้ออาจพุ่งแรงกว่าที่เฟดคาดการณ์ไว้ได้อยู่ที่ระดับ 4%-5% ทีเดียว
ในส่วนของข้อมูลทางด้านตัวเลขสถิติที่น่าสนใจ ก็มีอีกตัวที่อยากให้ดู ก็คือ Shiller PE Ratio คำนวนโดยการเอาราคาตลาด หรือ Price หารด้วยกำไรต่อหุ้น หรือ EPS แต่ไม่ใช่แค่ปีเดียว มองเฉลี่ยย้อนหลังไปถึง 10 ปี
สาเหตุที่ Shiller PE Ratio ต้องหารด้วยกำไรย้อนหลัง 10 ปี เพราะระยะเวลา 10 ปีมันน่าจะครอบคลุม 1 รอบ Business Cycle แล้ว กำไรน่าจะนิ่งพอ
จะพบว่า ตอนนี้ Shiller PE Ratio อยู่ที่ 37.09x ถามว่าสูงไหม ก็สูงกว่าวิกฤตรอบอื่น ๆ แต่หากเทียบกับตอนวิกฤตซับไพรม์ปี 2008 ซึ่งพุ่งขึ้นไปเกือยแตะระดับ 45x แล้วก็ยังนับว่าห่างอยู่
แต่เห็นค่านี้แล้ว นักลงทุนอาจจะยิ่งไม่ Comfort เพราะมันดูเหมือนแพงมากนะเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นรอบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ช่วง Dotcom
งั้นมาดูความเห็นคนดังในโลกการลงทุนอีกหนึ่งคนกันครับ
เมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมา คุณอีลอน มัสก์ CEO ของ Tesla ได้ทวีตถามความเห็นคุณแคที วู้ด CEO ของ ARK Invest ว่า “What do you think of the unusually high ratio of S&P market cap to GDP?” แปลไทยก็คือ คุณคิดว่ายังไงที่ Buffett Indicator มันสูงอยู่อย่างที่เราเห็นในตอนนี้?
มาดามแคที ตอบไว้น่าสนใจมากครับว่า GDP นั้นไม่ได้สะท้อนถึงการเติบโตของเศรษฐกิจได้ดีในปัจจุบัน เพราะมันไม่ได้คำนึงถึงผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอยู่ตอนนี้และในอนาคต ซึ่งกำลังผลักดันระดับราคาสินค้าในภาพรวมลดลง และทำให้ความต้องการเชื้อเพลิงตามไปด้วย
และมาดามยังตอบต่ออีกว่า “ในตอนเกิดวิกฤต Dotcom นั้น นักลงทุนไล่ตามความฝันก่อนที่เทคโนโลยีจะพร้อม และมันล่มสลายไปก็เพราะต้นทุนที่สูงเกินไปในขณะนั้น” โดยมาดามกล่าวเสริมอีกว่า “หลังจากเริ่มต้นใหม่ได้ 20-30 ปีความฝันก็กลายเป็นความจริง ณ วันนี้”
น่าสนใจครับว่า เราควรใช้ Framework ในการลงทุนแบบเดิมที่มันเคยเวิร์คในอดีต หรือ จริง ๆ แล้ว สถานการณ์โควิด-19 มันเร่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไปแล้วจริง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง ขนาดแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็น การเกิดขึ้นมาของเทคโนโลยีที่หลากหลายและรวดเร็ว การท้าทายอำนาจเก่าของสหรัฐฯ จาก Cryptocurrency อย่าง Bitcoin ที่หวังจะเป็นตัวเลือกสำหรับคนที่ไม่อยากถือดอลล่าร์ หรือ จากเบอร์สองของโลกอย่างจีนที่กำลังจะก้าวมามี GDP ใหญ่ที่สุดในโลกภายในไม่เกิน 10 ปี หลังจากนี้
ยังไม่รวมถึง โลกกำลังเข้าสู่ยุค Aging Society ซึ่งผู้สูงอายุมีแนวโน้มจะใช้จ่ายชะลอลงหลังจากที่ตัวเองไม่มีรายได้เหมือนเดิม
ส่วนความเห็นส่วนตัวของผม คือ Go with The Flow ไปครับ พร้อมจัด Asset Allocation กระจายความเสี่ยงให้ดี ไม่มีใครรู้อนาคตอย่างแน่นอน เราต้องพร้อมทุกสถานการณ์
Mr.Messenger รายงาน
แหล่งที่มาข้อมูล :-
https://www.teamblind.com/post/buffett-indicator-breaks-200-UdLsNenR
https://finance.yahoo.com/news/ray-dalio-current-bubble-halfway-to-2000-and-1929-131918391.html
อัปเดตปัจจัยที่น่าจับตามอง พร้อมกองทุนแนะนำประจำเดือนกันยายน สินทรัพย์ไหนยังไปต่อ!? สินทรัพย์ไหนยังน่าลงทุน!?
พบคำตอบได้ทื่ MONTHLY DIGEST Ep นี้เลย!
สำหรับสมาชิก FINNOMENA ดาวน์โหลด PDF ฟรี!
ได้ที่ : https://finno.me/web-port-strategy-download
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast
พิเศษ
หากท่านสนใจเปิดบัญชีลงทุนเพื่อรับคำแนะนำลงทุนจริง กรุณากรอกรายละเอียดสั้น ๆ ได้ ที่ www.finnomena.com/nter-exclusive-club เพื่อรับบริการพิเศษจากเรา (จำนวนจำกัด))