ช่วงที่ผ่านมา NASDAQ ร่วง -3.6% ส่วน S&P 500 ก็ลงตามไปติด ๆ -2.9% (1W %change) สาเหตุสำคัญคือเรื่องของ Bond Yield ที่ขยับเข้าใกล้จุดพีคจนไปกดดันหุ้นโดยเฉพาะหุ้นเติบโต หลังเฟดส่งสัญญาณชัดเจนเรื่องการ ‘คง’ อัตราเอาไว้ในระดับสูง (higher for longer) ในการประชุมที่ผ่านมา
คำถามก็คือว่า เราควรถอยดีไหมสำหรับตลาดแห่งนี้? ตรงนี้เราให้คำตอบว่า ‘ไม่’
ถ้ามองแบบ Contrarian Investor สถานการณ์ในตลาดสหรัฐฯ ตอนนี้อาจเป็นโอกาสด้วยซ้ำ จากการที่ตอนนี้เราอาจจะอยู่ในช่วงสุดท้ายของวัฏจักรอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ
Equity Performance by Region | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 22 Sep 2023
ทำให้การเข้าลงทุนหุ้นสหรัฐฯ ในช่วงนี้ ช่วยเปิดโอกาสสร้างผลตอบแทน เมื่อจากอัตราดอกเบี้ยและ Bond Yield ที่ปรับลดลงหลังจากนี้ตามวัฏจักร
ถึงตรงนี้ FINNOMENA FUNDS จะชวนทุกคนมาเจาะลึกกันมากขึ้นในเรื่องหุ้นสหรัฐฯ และการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดกัน
เราขอเริ่มต้นด้วยการยกเรื่อง Cycle การขึ้นดอกเบี้ยของ T. Rowe Price มาอธิบายให้ฟังกัน โดยทาง T. Rowe Price แบ่ง Cycle ตรงนี้ออกเป็น 4 เฟส คือ
ที่น่าสนใจคือ การพุ่งขึ้นของ Yield ในเดือนกันยายนที่ผ่านมาอย่างรุนแรง อาจบ่งบอกว่าเรากำลังอยู่ในเฟสที่ 3 (Final blow-off)
เมื่อประกอบกับการที่เฟดหยุดขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วจากแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อชะลอตัวลง ก็อาจนำไปสู่ Yield ที่ปรับตัวลงในเฟสถัดไป
ถ้ามองย้อนกลับไปสัก 30 ปี ตรงนี้มีข้อมูลยืนยันค่อนข้างชัดว่าเมื่อเฟดขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย สิ่งที่ตามมาคือ Bond Yield ที่ลดลงรุนแรง
US Bond Yield Performance 1982-2023 | Source: FINNOMENA FUNDS, Macrobond, U.S. Department of Treasury, Federal Reserve Bank of New York as of 25 Sep 2023
และเมื่อ Bond Yield ลดลง ก็มาถึงคราวฟ้าเปิดของหุ้นสหรัฐฯ
ผลตอบแทนของ S&P 500 ย้อนหลังตั้งแต่ปี 1971 แสดงให้เห็นว่าเมื่อ Fed หยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดหุ้นจะปรับตัวไปต่อ โดยในกรณีที่เราเจอในปัจจุบัน คือ กรณีของ Soft Landing (เมื่อกลับมาโตแบบชะลอตัวหลังเศรษฐกิจโตมามาก ๆ) ผลตอบแทนเฉลี่ยจะอยู่ที่ 34% เลยทีเดียว (เส้นสีเขียว)
โดยคาดว่าในตอนนี้เราอาจโตได้ในระหว่างช่วงสีเขียวและส้ม ซึ่งถือว่าเป็นบวก
S&P 500 Performance after Fed stop hiking since 1971 | Source: FINNOMENA FUNDS, Macrobond, S&P Global as of 25 Sep 2023
จึงพูดได้ว่าแม้หุ้นสหรัฐฯ จะปรับลดลงในช่วงที่ผ่านมาจาก Bond Yield ที่พุ่งรุนแรง แต่ตรงนี้กลับเป็นโอกาสที่น่าสนใจอย่างยิ่งในการลงทุนในตลาดสหรัฐฯ จากการที่การพุ่งขึ้นครั้งนี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเข้าสู่ปลายวัฏจักรดอกเบี้ย
ซึ่งเมื่อ Bond Yield ลดลง ก็จะช่วยคลายความกดดัน และทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาเติบโต
AFMOAT-HA หรือ กองทุนเปิด เอ เอฟ ยูเอส ไวด์ โมท เฮดจ์ ชนิดสะสมมูลค่า คือ กองทุนหุ้นสหรัฐฯ แบบ Passive เคลื่อนไหวตามดัชนี Morningstar® Wide Moat Focus Index เน้นการลงทุนในหุ้นที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันสูง (ปราการ) เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว มีกองทุนหลักคือ VanEck Morningstar Wide Moat ETF
กองทุน AFMOAT-HA ได้รับเรตติ้งระดับ 5 ดาวจาก Morningstar ทั้งในส่วนของภาพรวม การดำเนินงาน 3 ปี และการดำเนินงาน 5 ปี
เรตติ้งของกองทุน VanEck Morningstar Wide Moat ETF โดย Morningstar | Source: vaneck.com as of 31/08/2023
ทรัพย์สินที่กองทุนหลักของ AFMOAT-HA ลงทุน 10 อันดับแรก | Source: as of 31/08/2023
กองทุน AFMOAT-HA มีการกระจายการลงทุนสูง ลดสัดส่วนในหุ้น Magnificent-7 หรือหุ้น Big Tech ทั้ง 7 คือ Apple, Microsoft, Alphabet, Amazon, META, Tesla และ Nvidia ซึ่งราคาปรับสูงขึ้นมาพอสมควรในปีนี้ สวนทางกับหุ้นสหรัฐฯ ตัวอื่นที่ราคายังปรับขึ้นมาไม่มากนัก ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนการลงทุนหลังจากนี้
สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/
FINNOMENA FUNDS ให้คุณได้ลงทุนในกองทุนรวมชั้นนำของประเทศไทยจากหลากหลาย บลจ.
ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ไม่ว่าจะลงกองเดี่ยว จัดพอร์ต วางแผนลงทุน หรือลดหย่อนภาษี
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://finno.me/get-started-ws?ct_id=us-equity-appeal-2023
ออมเบอร์5 กับฟินโนมีนา ฟันด์ ได้แล้ววันนี้ NOW OR NEVER 555 ไม่เปิดบัญชีตอนนี้ จะเปิดตอนไหน? เปิดบัญชีกับฟินโนมีนา ฟันด์ พร้อมลงทุนครั้งแรก 5,000 บาท และ DCA ยาวๆ 12 เดือน กับกองทุนคัดพิเศษเริ่มต้น 555 บาทต่อเดือน รับฟรี ! E-Voucher Shopee มูลค่า 500 บาท* และ ลงทุนทุกๆ 5,000 บาท รับ 1 FINT*
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://finno.me/aom-no5-promotion
ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย. – 30 พ.ย. 2566 *เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
วันนี้ (3 ตุลาคม 2023) ดัชนี Hang Seng ปรับตัวลดลง 3% หลังจากหยุดวันจันทร์ นับเป็นการลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือน นำโดยกลุ่ม อสังหาริมทรัพย์ -4.06%, กลุ่มการเงิน -2.44%, กลุ่มสาธารณูปโภค -2.44% โดยคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น สู่ระดับ 4.87% สูงสุดในรอบ 16 ปี พร้อมกับความกังวลว่า Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงต่อไป ทำให้ Dollar Index ปรับตัวขึ้น เป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นเอเชียในวันนี้
โดยในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน ที่ประชาชนจีนขาดความเชื่อมั่น เนื่องจากบริษัท Evergrand และ Country Garden ประสบปัญหาผิดนัดชำระหนี้ จากภาวะดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ทำให้เกิดความกังวลแพร่กระจายไปยังหุ้นอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ทำให้ Country Garden Holdings -7.67%, New World Development – 6.69%, Longfor Group Holdings – 4.82% ตามลำดับ
ด้านตลาดรถ EV ในจีน ในส่วนที่เป็นคู่แข่งและ Supplier ของ Tesla ปรับตัวลดลง จากความกังวลที่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla ไตรมาส 3 ออกมาแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาด ที่ 435,059 คัน จาก 456,722 คัน ทำให้ Nio -4.7%, Geely Auto -4.1%, BYD -3.6%, Li Auto -3.2%, Xpeng -1.2% ตามลำดับ
FINNOMENA FUNDS Investment Team ยังคงติดตามสถานการณ์ความผันผวนของตลาดหุ้นจีนอย่างใกล้ชิด โดยหวังว่าจะมีความพยายามจากทางรัฐบาลจีนที่จะกอบกู้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจจีนและตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีน ผ่านการออกนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง เรายังคาดว่ามาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจในขนาดที่เหมาะสมจะค่อย ๆ ทยอยออกมาเพิ่มเติมอีกในอนาคต เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเศรษฐกิจจีน
ตลาดหุ้นจีน All China มี Valuation อยู่ในระดับที่มี downside จำกัด โดยมี PE เมื่อเทียบกับตัวเองในอดีตที่ระดับ -1 S.D. เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นจีน เนื่องจากราคาลงมาในจุดที่ Valuation น่าสนใจ อีกทั้งเศรษฐกิจจีนยังมี upside ให้ฟื้นตัวอยู่ในระดับสูง
——————
เดือนกันยายนที่ผ่านมา มีประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นกับตลาดคริปโทฯ จำนวนมากโดยเฉพาะการเลื่อนอนุมัติ Bitcoin Spot ETF และการประกาศ Dot Plot จากธนาคารกลางสหรัฐ อย่างไรก็ตาม Merkle Capital ยังคงมองว่า Bitcoin ยังเป็นเทรนด์ที่สามารถเติบโตได้สูงและน่าจับตามองในเดือนตุลาคม
นายวรเมธ จันทร์เสน ที่ปรึกษาการลงทุน บริษัท เมอร์เคิล แคปปิตอล จำกัด เปิดเผยถึงปัจจัยสนับสนุนเทรนด์การเติบโตของ Bitcoin ดังนี้
ราคาของ BTC เคลื่อนตัวในกรอบ 25,000 – 27,500 ดอลลาร์ แต่จำนวนธุรกรรมที่เกิดขึ้นบน Bitcoin Network นั้นทำระดับสูงสุด (All time high) จากการเปิดตัวของ Nostr ซึ่งเป็น Decentralized Social ใหม่ ทำให้การใช้งานของ Lightning Network และพื้นฐานของ Bitcoin Network แข็งแรงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ และเมื่อพิจารณาร่วมกับ Transaction ในแต่ละเดือนจะพบว่าหลังเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาแนวโน้มของการทำธุรกรรมใน Bitcoin Network นั้นยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับข้อมูลในอดีต
ขอบคุณภาพจาก Theblock.co
จากข้อมูลในอดีตจะพบว่า ราคาของ BTC ได้ทำ All time high ถึง 2 ครั้งในตลาดขาขึ้นปี 2017 และ 2021 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ New Active Address ของ Bitcoin Network ทำระดับสูงสุด และเมื่อพิจารณาถึงจำนวน New Active Address ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา จะพบว่ามีการใช้งานอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 6 ปีตั้งแต่ปี 2017 และสูงกว่าปี 2021 ซึ่งแสดงถึงการใช้งานของผู้คนกลุ่มใหม่มากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นหลักฐานที่แสดงว่า Bitcoin Network ถูกนำมาใช้งานสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ แม้ราคา BTC ยังไม่เผยว่าเป็นขาขึ้นรอบใหม่อย่างชัดเจน
ขอบคุณภาพจาก Theblock.co
ตั้งแต่เดือนมิถุนายน อัตราของ Bitcoin Dominance เริ่มมีการปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยวิ่งอยู่ในกรอบ 49% – 52% เป็นเวลากว่า 4 เดือน หลังจากมีการพักฐานใหม่เกิดขึ้นในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ขณะที่ราคาของ Digital Asset อื่น ๆ นั้นถูกกดดันอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม แนวต้านสำคัญของ อัตรา Bitcoin Dominance อยู่บริเวณ 52% ซึ่งเป็นโอกาสให้เดือนตุลาคมนี้ BTC มีโอกาสปรับตัวขึ้นสูงและน่าจับตามองมากกว่า Digital Asset ตัวอื่น ๆ
ขอบคุณภาพจาก Tradingview.com
ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา แม้การยื่นอนุมัติ Bitcoin Spot ETF ของ ARK 21Shares จะถูกเลื่อนออกไป แต่ในเดือนตุลาคมนั้นมีบริษัทที่รอการอนุมัติจาก SEC สหรัฐเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ประเด็นนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้ตลาดคริปโทฯ และ Bitcoin เป็นที่ยอมรับและเติบโตขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ อย่างไรก็ตาม หาก SEC สหรัฐยังไม่อนุมัติในครั้งนี้และเลื่อนออกไป ปัจจัยนี้ก็ยังไม่กดดันภาพรวมของตลาดเนื่องจาก Final Deadline ของบริษัทต่าง ๆ อยู่ในช่วงเดือนมีนาคม 2024
ขอบคุณภาพจาก Bloomberg
นายพีระสิทธิ์ จิวะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมอร์เคิล แคปปิตอล จำกัด กล่าวเพิ่มเติมถึงการวางแผนการลงทุนในเดือนตุลาคมว่า เนื่องจากปัจจัยเชิงพื้นฐานของ Bitcoin ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจนทำให้ Bitcoin Dominance ยังอยู่ในระดับที่สูงและมีหลายปัจจัยบวกสนับสนุนอยู่ในอนาคต
ดังนั้น เดือนตุลาคม Merkle Capital จึงมีมุมมองว่าเทรนด์ Bitcoin ยังมีโอกาสเติบโตได้ต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของ Cryptomind Advisory ที่ได้มีการคาดการณ์ว่า BTC อาจขึ้นไปทดสอบที่ราคา 31,500 ดอลลาร์ หากหลุดกรอบราคา 25,500 – 27000 ดอลลาร์ ขึ้นไปได้ นักลงทุนท่านใดต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อประกอบการตัดสินใจสามารถติดต่อได้ที่ Merkle Capital ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกของประเทศไทย
นอกจากนี้ แม้ว่าสถานการณ์ปัจจุบันเหมาะสมกับการลงทุนใน Bitcoin สำหรับระยะยาว แต่เนื่องจาก Bitcoin และ Cryptocurrency ยังเป็นสินทรัพย์การลงทุนใหม่ ที่มีความผันผวนสูง นักลงทุนทุกท่านต้องศึกษาสินทรัพย์นี้ รวมถึงติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด และเข้าใจความเสี่ยงด้วย ผมแนะนำให้ลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ทุกท่านยอมรับได้ เป็นระดับที่เหมาะสมและสบายใจกับการลงทุน
**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลเท่านั้น ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุนแต่อย่างใด การลงทุนมีความเสี่ยง ควรวิเคราะห์อย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน หากกังวลหรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินหรือหาที่ปรึกษาการลงทุนที่มีความชำนาญเพื่อช่วยเหลือในการตัดสินใจ
Merkle Capital
คำเตือน
สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อเสนอการลงทุนหรือการจัดการใด ๆ ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เนื้อหาข้างต้นเป็นการรวบรวมเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลในอดีตอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล
ใคร ๆ ก็อยากมีเงินเก็บสักก้อนในชีวิต แต่จะเก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์อย่างเดียวมันก็ไม่ทันเงินเฟ้อ ทำให้มูลค่าเงินลดลง และเสียโอกาสในการได้ผลตอบแทนจากการลงทุน แต่ถ้าจะนำไปลงทุนเดือนละ 4,000 บาท จะลงทุนในอะไรดี? ต้องลงตัวเดียวทั้งหมดเลยมั้ย? หรือต้องแบ่งเท่าไหร่? ยังไงดี? วันนี้ FinSpace จะมาตอบคำถามนี้ให้ครับว่าควรแบ่งลงทุนอย่างไรบ้าง
การจะเก็บเงินหรือลงทุนให้มีประสิทธิภาพ คือเราต้องมีการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่า เราจะออมเงินหรือลงทุนไปเพื่ออะไร โดยให้เราตั้งเป้าหมายเป็น 3 ระยะ ตาม “สามเหลี่ยมการเงิน” ดังนี้
อันดับแรกเเราจะต้องมีเงินสำรองฉุกเฉินก่อน ประมาณ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เผื่อกรณีที่เราเจ็บป่วยต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือตกงาน แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในสินทรัพย์สภาพคล่อง เบิกง่าย ถอนง่าย หากจำเป็นต้องใช้เงินก็สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที เช่น บัญชีออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือจะโอนความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาพยาบาลไปให้บริษัทประกันแทน อย่างการซื้อประกันสุขภาพไว้เลยก็ยิ่งดี
ไว้ซื้อบ้าน แต่งงาน แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในพอร์ตลงทุนความเสี่ยงปานกลาง เช่น กองทุนรวมผสม พันธบัตรรัฐบาล
ไว้ใช้ยามเกษียณอายุ หรือเก็บเป็นเงินขวัญถุงให้ลูก แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ใน RMF หุ้นพื้นฐานดี ประกันบำนาญ หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสามารถปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมของรายได้ และรายจ่ายของแต่ละคน
หมายเหตุ : บทความนี้ใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้เจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน
FinSpace
ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/investment-4000-baht/
หลังจากนั้น หุ้นตัวนั้นก็ตกลงมาอย่างแรง บางทีกลับมาเท่าเดิมตอนที่เขาซื้อหรือต่ำกว่า เพราะสิ่งที่ขับเคลื่อนให้หุ้นขึ้นไปเช่นผลกำไรที่ดีเลิศและเรื่องราวในอนาคตที่สวยหรูไม่ได้ดำเนินต่อไปแต่กลับไปในทางตรงกันข้าม กำไรของบริษัทที่เคยสูงหลุดโลกตกลงมามาก บางทีกลายเป็นขาดทุน อนาคตที่สวยหรูไม่เป็นไปตามที่คนเชื่อ
บางกรณีก็เกิดเหตุการณ์โกงหรือการหลอกลวงที่ปิดไว้ไม่อยู่อีกต่อไป นักลงทุนขาดความมั่นใจขายหุ้นทิ้ง ราคาหุ้นตกลงมาอย่างรุนแรงเกิน 70-80% กลายเป็น “คอร์เนอร์แตก” นักลงทุนจำนวนมากที่ขายหุ้นไม่ทัน รวมถึงนักลงทุนที่ซื้อหุ้นไว้จำนวนมากและใช้มาร์จินแบบเดียวกับคนที่เป็นเศรษฐีไปแล้ว ขาดทุนอย่างหนัก บางคนชีวิตก็เปลี่ยนเหมือนกัน แต่เปลี่ยนจากคน “เคยรวย” เป็นคนธรรมดาหรือเป็นยาจก
ดังนั้น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” นั้น ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นหุ้นที่ดีมาก หรือเป็นหุ้นที่ดีตลอดหรือแม้แต่ดียาวนาน และก็เช่นเดียวกัน หุ้นที่เปลี่ยนชีวิตของคนบางคนก็อาจจะเป็น “หุ้นหายนะ”
สำหรับคนอื่นและอาจจะเป็นคนจำนวนมากด้วยก็ได้ โดยเฉพาะถ้าหุ้นเปลี่ยนชีวิตตัวนั้นไม่ใช่เป็นหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก” ที่มีคุณสมบัติสำคัญก็คือ เป็นบริษัทที่มีความเข้มแข็งทางธุรกิจ มีความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจที่ยั่งยืน มีกำไรที่ดีและเติบโตยาวนาน—เป็น 10 ปีขึ้นไปเป็นอย่างน้อย และหุ้นถูกซื้อใน “ราคาถูก หรือยุติธรรม”
หุ้น “เปลี่ยนชีวิต” ที่เป็นหุ้นของกิจการที่ดีมากในทางธุรกิจและต่อมากลายเป็นหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก” นั้น ส่วนใหญ่มากก็มักจะไม่ได้เปลี่ยนชีวิตของคนส่วนใหญ่ที่เข้าไปซื้อเลย มันจะ “เปลี่ยนชีวิต” เฉพาะคนที่ “มีความเชื่ออย่างแรงกล้า” ในคุณสมบัติของหุ้นตัวนั้นว่ามันจะเป็น “หุ้นซุปเปอร์สต็อก” และผลประกอบการจะดีขึ้นไปเรื่อย ๆ ในอัตราที่ดีหรือดีมากต่อไปอีกเป็น 10 ปีเป็นอย่างน้อย
และเขาก็ทุ่มเงินจำนวนมากของเขาเข้าไปซื้อและถือไว้ยาวนาน บ่อยครั้งโดยเฉพาะในช่วงที่พอร์ตการลงทุนยังไม่ใหญ่ เขาจะถือหุ้นตัวนั้นตัวเดียวถึงกว่า 50% ของพอร์ต จากปกติที่เขามักจะมีการกระจายการถือครองหุ้นตัวหลัก ๆ อย่างน้อย 7-10 ตัว ขึ้นไป เป็นต้น
หุ้นเปลี่ยนชีวิตแนวซุปเปอร์สต็อกนั้น ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะไม่ได้เปลี่ยนชีวิตให้กับคนที่ลงทุนรวดเร็วขนาดแค่ภายใน 2-3 ปี แต่มักจะใช้เวลาอาจจะ 4-5 ปีขึ้นไปเป็นอย่างน้อย เพราะหุ้นเหล่านั้นเป็นแนว “หุ้นพื้นฐาน” ที่มักจะทำธุรกิจที่สม่ำเสมอและมั่นคงซึ่งก็มักจะส่งผลให้รายได้และกำไรค่อย ๆ เติบโตไปปีแล้วปีเล่าในอัตราที่ค่อนข้างสูงประเภทเฉลี่ยปีละ 15-20% เป็นต้น
และในระหว่างนั้น ก็มักจะมีปีที่แย่เพราะเหตุการณ์ที่เศรษฐกิจแย่กว่าปกติ และปีที่ดีพิเศษที่บริษัทจะโตเร็วกว่าปกติขึ้นไปอีก เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร คนที่ลงทุนแล้วกลายเป็น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” ก็จะไม่ขายหุ้นทิ้งจนถึงวันหนึ่ง เขาก็จะกลายเป็นเศรษฐีเพราะถือหุ้นตัวนั้น
ในช่วงหลัง ๆ และในตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” ที่มาแรงมากและสามารถเปลี่ยนชีวิตได้อย่างรวดเร็วก็คือ “หุ้นดิจิทัล-ไฮเทค ที่ประสบความสำเร็จ” ที่สามารถและกำลัง “เปลี่ยนโลก” ซึ่งอาจจะรวมถึงหุ้นอย่างเทสลาที่เป็นผู้นำรถยนต์ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ หุ้น NVIDIA ที่เป็นผู้นำทางด้าน AI เป็นต้น
แต่นั่นก็เช่นกัน การเข้าไปซื้อหุ้นลงทุนในหุ้นดิจิทัล-ไฮเทคที่ประสบความสำเร็จแล้ว ส่วนใหญ่ก็ไม่ทำให้เป็น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” เหตุผลสำคัญก็คือ หุ้นเหล่านั้นมักจะมีราคาสูงมากและอาจจะเกินพื้นฐานไปแล้ว เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ราคาหุ้นขึ้นมาเป็นสิบๆ เท่าหรือมากกว่านั้นในเวลาไม่นาน อาจจะแค่ 2-3 ปี ซึ่งคนที่เข้าไปซื้อหุ้นลงทุนก่อนหน้านั้นด้วยเม็ดเงินจำนวนมากและอาจจะมากกว่า 50% ของพอร์ต และถือไว้จนถึงวันนี้ก็อาจจะเป็น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” แต่คนที่เข้าไปซื้อหลังจากนั้นและในราคาที่สูงลิ่วแล้วด้วยเงินจำนวนมาก เขาก็จะไม่ได้อะไรเลย และไม่แน่ว่าถ้าถือต่อไปหุ้นก็อาจจะลงมาหนักและขาดทุนได้
มาดูตัวอย่างของการลงทุนใน “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ซึ่งผมวิเคราะห์เองว่าเป็นหุ้นตัวไหน ในความเป็นจริงตัวบัฟเฟตต์จะบอกได้ดีว่าเขาคิดว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้น “เปลี่ยนชีวิต” เขา บางทีเขาอาจจะบอกว่าเป็นหุ้นขายช็อกโกแล็ตซีแคนดี้ที่เป็นหุ้นตัวเล็ก ๆ ในพอร์ตของเขาในวันนี้ แต่ตอนที่ซื้อเมื่อหลายสิบปีก่อน ช่วงที่พอร์ตยังไม่ใหญ่และเขาไม่ได้มีชื่อเสียงขนาดนี้ ซีแคนดี้อาจจะเป็นตัวที่ “เปลี่ยนชีวิต” ก็เป็นได้
ผมคิดว่าหุ้นที่เป็นหุ้นเปลี่ยนชีวิตของบัฟเฟตต์ตัวแรกก็คือ หุ้นอเมริกันเอ็กซเพรสหรือ AMEX บริษัทบัตรเครดิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสมัยที่เทคโนโลยีทางการเงินยังไม่แพร่หลายในโลกเมื่อหลายสิบปีก่อน ในวันที่บัฟเฟตต์ซื้อ AMEX มีปัญหาฉาวโฉ่ เกิดการโกงขึ้นในธุรกิจทางการเงินอื่นที่ไม่เกี่ยวกับบัตรเครดิต ทำให้หุ้นตกลงมาอย่างหนัก บัฟเฟตต์คงเห็นว่าธุรกิจบัตรเครดิตนั้นยังปกติและยิ่งใหญ่เหมือนเดิมและจะเติบโตต่อไปอีกมาก เรียกว่าเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” แน่นอน เพราะราคาหุ้นที่ลงมาถูกมาก และปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เกิดครั้งเดียวและแก้ไขได้
มีเรื่องเล่าว่าบัฟเฟตต์ต้องออกไปสำรวจว่าร้านค้าและลูกค้ายังใช้บัตรของเอเม็กหรือเปล่า คำตอบคือ ทุกอย่างปกติ ซึ่งทำให้บัฟเฟตต์ทุ่มซื้อหุ้นเอเม็กจนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และกล้าใช้เงินลงทุนที่คิดแล้วสูงมากเป็นแนว “ตีแตก” ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ในช่วงหนึ่งมูลค่าหุ้นขึ้นไปถึง 50% ของพอร์ตซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนผู้ระมัดระวังพึงต้องหลีกเลี่ยง อย่างไรก็ตาม ภายในเวลาไม่นาน เอเม็กก็ให้ผลตอบแทนที่สูงมากและน่าจะทำให้ขนาดและความมั่งคั่งของพอร์ตของบัฟเฟตต์เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ
หุ้น “เปลี่ยนชีวิต” อีกตัวหนึ่งของบัฟเฟตต์นั้น ผมอยากจะเชื่อว่ามันคือหุ้น “แอปเปิล” ซึ่งบัฟเฟตต์เพิ่งเข้าไปซื้อลงทุนเมื่อไม่นานไม่กี่ปีมานี้เอง และจนถึงวันนี้ เขากลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดของบริษัท ที่กลายเป็นบริษัทเทคโนโลยีและบริษัทที่มีมูลค่าหุ้นที่สูงที่สุดในโลก ประเด็นสำคัญก็คือ บัฟเฟตต์ทุ่มเงินเข้าไปซื้อหุ้นมโหฬารและรวมกับการที่หุ้นปรับตัวขึ้นมามหาศาลในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ได้ทำให้หุ้นแอปเปิลมีมูลค่าสูงถึงกว่า 50% ของพอร์ตหุ้นของบัฟเฟตต์ และนั่นก็มีส่วนทำให้ผลตอบแทนการลงทุนของบัฟเฟตต์ที่ตกต่ำลงมากก่อนหน้านี้เมื่อเทียบกับตลาด กลับมาเป็นเท่ากับหรือดีกว่าตลาดได้ และนั่นก็จะทำให้บัฟเฟตต์ยังเป็น “ตำนานนักลงทุน” ที่ไม่ตกเลยแม้ในยุคใหม่ที่บริษัทเทคกำลังครองเมือง
ส่วนตัวผมเองนั้น หุ้นเปลี่ยนชีวิตของผมเกิดขึ้นน่าจะประมาณสิบกว่าปีมาแล้วที่ผมเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อสินค้าในชีวิตประจำวันจากร้านค้าดั้งเดิมเป็นร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่เป็นเครือข่ายทั่วประเทศ อานิสงค์จากการที่ประชาชนมีรายได้สูงขึ้นถึงจุดที่ต้องการความสะดวกและบริการที่ดี ว่าที่จริง ร้านค้าเกือบทุกประเภทก็กำลังเปลี่ยนแปลงเป็นแบบสมัยใหม่ ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าอีกเป็น 10 ขึ้นไปมันจะต้องโตไปเรื่อย ๆ และถ้าเราพบว่าร้านเครือข่ายไหนจะเป็น “ผู้ชนะ” บริษัทนั้นจะต้องรุ่งเรืองไปยาวนานและผลกำไรจะดีขึ้นเรื่อยๆ
ที่สำคัญก็คือ ราคาหุ้นก็ไม่แพงเลย ดังนั้น ความมั่นใจของผมสูงมาก ผมจึงทุ่มซื้อหุ้นในกลุ่มนั้น และในหุ้นตัวหนึ่งที่ผมมั่นใจเป็นพิเศษผมได้ทุ่มเงินประมาณ 50% ของพอร์ตเข้าซื้อและถือยาวมาเรื่อย ๆ พร้อม ๆ กับการเติบโตของหุ้นขึ้นมากว่า 10 เท่าตัว และมันก็กลายเป็น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” ของผม
เมื่อย้อนดู หุ้นตัวนี้ก็ไม่ได้ให้ผลตอบแทนคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สูงสุด ว่าที่จริงผลตอบแทนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของพอร์ตด้วยซ้ำ แต่เพราะว่าเป็นหุ้นตัวใหญ่มากในพอร์ต ผลตอบแทนคิดเป็นมูลค่าของเงินที่ได้รับจึงมากจนทำให้พอร์ตโตขึ้นจน “ชีวิตเปลี่ยน” ตั้งแต่อาจจะ 10 ปีที่แล้ว
แม้ว่าในวันนี้ หุ้นตัวนี้ก็อาจจะไม่เป็นหุ้นเปลี่ยนชีวิตของใครอีกต่อไป และแม้แต่ตัวผมเอง ความสำคัญของมันก็น้อยลงไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ผมเองก็กำลังมองหา “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” ตัวต่อไปในตลาดหุ้นเวียดนามที่ผมกำลังสงสัยว่าอาจจะเจอแล้วและก็พยายามเพิ่มการลงทุนให้มากขึ้น
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
THIS ISSUE
สรุปข่าวเศรษฐกิจรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
EYE ON THIS WEEK
ประเด็นน่าจับตามองในสัปดาห์นี้
MARKET
ภาพรวมตลาดและสินทรัพย์ที่น่าสนใจ
FINNOMENA PORT PERFORMANCE
ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน
ใกล้ช่วงสิ้นปีแบบนี้ วางแผนประหยัดภาษีกันหรือยัง? ใครเป็นนักลงทุนสาย Asset Allocation ที่อยากกระจายความเสี่ยงลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ วันนี้เราคัดกองทุน SSF และ RMF สำหรับนักลงทุนสายจัดพอร์ตกระจายความเสี่ยงมาให้โดยเฉพาะ จะมีกองไหนบ้าง แต่ละกองมีจุดเด่นอะไร ลองมาดูกัน
“Asset Allocation” เป็นสไตล์การลงทุนที่เน้นกระจายลงทุนไปในสินทรัพย์หลายประเภททั้งในและต่างประเทศ เช่น ตราสารหนี้ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ เงินสด ฯลฯ เพื่อลดความเสี่ยงและความผันผวนของพอร์ตการลงทุน โดยแบ่งสัดส่วนลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ตามความเสี่ยงที่แต่ละคนรับได้
ลงทุนในหุ้นสามัญทั่วโลกของบริษัทที่มีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงด้านการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศของโลกในอนาคต
เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ Capital Group New Perspective Fund, Class P (USD)โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
ที่มา: KKP GNP-H-SSF Fund Fact Sheet วันที่ 30 มิถุนายน 2023
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่
https://media.kkpfg.com/document/2021/Oct/AM%20Sum%20KKP%20GNP-H-SSF.pdf
กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาวคุณภาพดี ลงทุนกระจายทั้งในตราสารหนี้ภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งไทยและต่างประเทศ
เน้นลงทุนในตราสารภาครัฐ และตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเอกชน และ/หรือ เงินฝาก ทั้งในและต่างประเทศ โดยกองทุนจะลงทุนในต่างประเทศไม่เกิน 79% ของ NAV
ที่มา: KKP ACT FIXED-SSF Fund Fact Sheet วันที่ 31 กรกฎาคม 2023
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่
https://media.kkpfg.com/document/2020/Nov/AM%20FFS%20KKP%20ACT%20FIXED-SSF.pdf
กองทุนรวมตราสารหนี้ทั่วโลก ลงทุนแบบเชิงรุก เพื่อสร้างผลตอบแทนเป็นรายได้ที่สม่ำเสมอ
เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ PIMCO GIS Income Fund (Class I) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
ที่มา: UGIS-SSF Fund Fact Sheet วันที่ 30 มิถุนายน 2023
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่
https://www.uobam.co.th/srcm/fund_mapping/mmh7gun7l/gu/n7/o0x0/UGISSSF_Factsheet_20230630.pdf
กองทุนรวมกลุ่ม REITs และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานไทย และต่างประเทศ
เน้นลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึง Exchange Traded Fund (ETF) และ/หรือหน่วยของกองทุน private equity ที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์(REITs) หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือเน้นลงทุนในตราสารที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน และ/หรือตราสารของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์/ตรา สารของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
ที่มา: PRINCIPAL iPROPEN-SSF Fund Fact Sheet วันที่ 31 กรกฎาคม 2023
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่
ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเวียดนาม ที่ดำเนินธุรกิจหรือได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือมีทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม
เน้นลงทุนในกองทุนเปิดเค เวียดนาม หุ้นทุน (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
ที่มา: K-VIETNAM-SSF Fund Fact Sheet วันที่ 31 กรกฎาคม 2023
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่
https://www.kasikornasset.com/FundDocument/Fund_Fact_Sheet/K-VIETNAM-SSF.pdf
ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศภูมิภาคเอเชีย แต่ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA) (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปี บัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
ที่มา: B-ASIASSF Fund Fact Sheet วันที่ 30 มิถุนายน 2023
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่
กองทุนผสม มีในสัดส่วนลงทุนในหุ้น 35% ตราสารหนี้ 50% อื่น ๆ 15% โดยประมาณ
เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ BGF Global Multi-Asset Income Fund โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
ที่มา: KKP INCOME-H-SSF Fund Fact Sheet วันที่ 30 มิถุนายน 2023
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่
https://media.kkpfg.com/document/2022/Jan/AM%20Sum%20KKP%20INCOME-H-SSF.pdf
ลงทุนในหุ้นสามัญทั่วโลกของบริษัทที่มีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงด้านการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศของโลกในอนาคต
เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ Capital Group New Perspective Fund, Class P (USD)โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
ที่มา: KKP GNP RMF-H Fund Fact Sheet วันที่ 30 มิถุนายน 2023
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่
https://secdocumentstorage.blob.core.windows.net/fundfactsheet/M0366_2561.pdf
ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้เอกชนที่มีแนวโน้มเติบโตสูง และมีเสถียรภาพทางการเงินที่ดี
เน้นการลงทุนในเงินฝาก และ/หรือตราสารหนี้ ของบริษัทเอกชนที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มการเติบโตสูง และมีเสถียรภาพทางการเงินดี หรือของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ นิติบุคคลที่มี กฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้อาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกัน หรือคู่สัญญา เพื่อให้ผู้ถือหน่วยได้รับผลตอบแทนที่ดี
ที่มา: KKP INRMF Fund Fact Sheet วันที่ 30 มิถุนายน 2023
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่
https://media.kkpfg.com/document/2020/Nov/AM%20Sum%20KKP%20INRMF.pdf
กองทุนรวมตราสารหนี้ทั่วโลก ลงทุนแบบเชิงรุก เพื่อสร้างผลตอบแทนเป็นรายได้ที่สม่ำเสมอ
เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ PIMCO GIS Income Fund (Class I) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
ที่มา: UGISRMF Fund Fact Sheet วันที่ 30 มิถุนายน 2023
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่
https://www.uobam.co.th/srcm/fund_mapping/mmh7gumsd/gu/ms/o0x0/UGISRMF_Factsheet_20230630.pdf
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทยและต่างประเทศ บริหารแบบ Active เพื่อเป้าหมายการสร้างผลตอบแทนทั้งปันผล และส่วนต่างราคา (Capital Gain) ที่ดีในระยะยาว
ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก ได้แก่ หน่วย Property/ REITs/ หน่วย Infra/ ETF ที่เน้นลงทุนในหน่วย Property/ REITs/ หน่วย Infra โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
ที่มา: B-IR-FOFRMF Fund Fact Sheet วันที่ 30 มิถุนายน 2023
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่
ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเวียดนาม ที่ดำเนินธุรกิจหรือได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือมีทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม
เน้นลงทุนในกองทุนเปิดเค เวียดนาม หุ้นทุน (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
ที่มา: KVIETNAMRMF Fund Fact Sheet วันที่ 31 กรกฎาคม 2023
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่
https://www.kasikornasset.com/FundDocument/Fund_Fact_Sheet/KVIETNAMRMF.pdf
ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศภูมิภาคเอเชีย แต่ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA) (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปี บัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
ที่มา: B-ASIARMF Fund Fact Sheet วันที่ 31 พฤษภาคม 2023
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่
กองทุนรวมผสมทั่วโลก มุ่งเน้นหาผลตอบแทนสูงสุดให้กับกองทุน ลงทุนในตราสารหลากหลายประเภททั่วโลก
ลงทุนในกองทุน BGF Global Allocation Fund A2 USD (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
ที่มา: KGARMF Fund Fact Sheet วันที่ 30 มิถุนายน 2023
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่
https://www.kasikornasset.com/FundDocument/Fund_Fact_Sheet/KGARMF.pdf
“มาใช้เงินลงทุนทุกบาททุกสตางค์อย่างคุ้มค่ากัน ด้วยการลงทุนผ่านกองทุนลดหย่อนภาษี SSF & RMF ทั้งประหยัดภาษี ทั้งสร้างให้พอร์ตโตในระยะยาว ให้เราเกษียณอย่างมีคุณภาพนะครับ”
– ชยนนท์ รักกาญจนันท์, CEO FINNOMENA Funds
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | บางกองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
สารบัญ
เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน Bill Gates มหาเศรษฐีผู้ปลุกปั้น Microsoft เคยยอมรับผ่านปลายปากกาในนิตยสาร Harvard Business Review ว่า สิ่งหนึ่งที่เขาได้เรียนรู้จาก Warren Buffett คือ การมองธุรกิจเป็นเหมือนปราสาท
และสิ่งที่ธุรกิจดี ๆ ทำกันคือ หมั่นตรวจว่าผู้บริหารได้ลงแรงขยับขยายคูเมือง (Moat) หรือปราการที่คอยโอบล้อมธุรกิจจากคู่แข่งและการแข่งขันอันดุเดือดหรือไม่ และแค่มีปราการยังไม่พอ คุณต้องขยับขยายมันด้วย
“ผมมองหาปราการธุรกิจซึ่งโอบล้อมด้วยคูเมือง
ที่ไม่อาจทะลวงฟันเข้ามาได้– Warren Buffett”
อันที่จริง ไม่ใช่ว่าทุกธุรกิจจะมีปราการล้อมกันไปหมด Bill Gates อธิบายต่อว่า การหาข้อได้เปรียบของธุรกิจที่สามารถกำบังตัวเองจากคู่แข่งเป็นเรื่องยาก บ่อยครั้งคูเมืองที่แน่นหนาเกิดจากปัจจัยไม่ธรรมดาหลายข้อหลอมรวมกัน (เช่น แบรนด์ สิทธิบัตร จำนวนผู้ใช้มหาศาล หรือ ความใหญ่โตของธุรกิจ) อันจะนำมาซึ่งการเติบโตที่ยั่งยืน
คำถามสำคัญก็คือ มีข้อได้เปรียบแบบไหนบ้างที่เป็นเหมือนคูเมืองคอยป้องกันธุรกิจที่เราลงทุนจากคู่แข่ง นิยามของเรื่องนี้อาจจะหลากหลายกันไป แต่เราขอหยิบยกคูเมืองในนิยามของ Morningstar มาให้ดูกัน ดังนี้
และกองทุน AFMOAT-HA ที่กำลังจะรีวิวต่อจากนี้ก็เป็นช่องทางในการลงทุนในธุรกิจที่พรั่งพร้อมไปด้วยคูเมืองโอบล้อม เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนในทุกภาวะตลาด
AFMOAT-HA หรือ กองทุนเปิด เอ เอฟ ยูเอส ไวด์ โมท เฮดจ์ ชนิดสะสมมูลค่า คือ
กองทุน AFMOAT-HA ได้รับเรตติ้งระดับ 5 ดาวจาก Morningstar ทั้งในส่วนของภาพรวม การดำเนินงาน 3 ปี และการดำเนินงาน 5 ปี
เรตติ้งของกองทุน VanEck Morningstar Wide Moat ETF โดย Morningstar | Source: vaneck.com as of 08/2023
ถ้ากางข้อมูลกองทุนหุ้นสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ออกมาดู โดยทั่วไปเรามักจะเห็นหุ้นอย่าง Tesla หรือ Microsoft แวะเวียนกันมาอยู่บนหน้า Top Holdings อยู่เสมอ
แต่ข้อแตกต่างของกองทุน AFMOAT-HA ที่เลือกลงทุนในหุ้นปราการแกร่งโดยเฉพาะ ทำให้เราได้เห็นการลงทุนในบริษัทอย่าง
ทรัพย์สินที่กองทุนหลักของ AFMOAT-HA ลงทุน 10 อันดับแรก | Source: Fund Factsheet ของ VanEck Morningstar Wide Moat ETF as of 08/2023
สัดส่วนการลงทุนตามอุตสาหกรรมของ VanEck Morningstar Wide Moat ETF | Source: Fund Factsheet ของ VanEck Morningstar Wide Moat ETF as of 08/2023
คัดเลือกเฉพาะบริษัทที่มีปราการอย่างน้อย 1 ใน 5 แบบ ตามที่เคยกล่าวไปข้างต้น คือ ต้นทุนการเปลี่ยนใจ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ผลจากความเชื่อมโยง ความได้เปรียบทางราคา หรือความได้เปรียบจากขนาด เพื่อรับประกันว่าบริษัทนั้น ๆ จะมีความสามารถในการแข่งขันซึ่งจะนำไปสู่การสร้างผลตอบแทนได้อย่างแท้จริง
กองทุนแบ่งบริษัทออกเป็น 3 แบบ คือ ไร้ปราการ (none) ปราการเปราะบาง (narrow moat) และ ปราการแน่นหนา (wide moat) และธุรกิจแบบสุดท้ายคือธุรกิจที่กองทุนนี้ให้ความสนใจโดยประเมินแล้วว่าด้วยความแข็งแกร่งของปราการที่บริษัท wide moat มี จะทำให้บริษัทสามารถรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน (ปราการ) ไปได้ยาวนานถึง 20 ปี ซึ่งจะสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้ในระยะยาว โดยบริษัทแบบนี้คิดเป็นเพียง 10-15% เท่านั้นในจักรวาลหุ้นของ Morningstar
กองทุนลงทุนก็ต่อเมื่อธุรกิจนั้นอยู่ในราคาที่น่าดึงดูด โดยจะมองไปที่ธุรกิจที่มีมูลค่าต่ำกว่าตามการประมาณการของดัชนีจาก Morningstar พูดง่าย ๆ คือลงทุนใน fair value
ที่ผ่านมากองทุนปรับเปลี่ยนคาแรกเตอร์หุ้นที่ลงทุนระหว่างหุ้นเติบโตและหุ้นคุณค่าอยู่เสมอ โดยเป็นผลมาจากวิธีการคัดหุ้นโดยมองที่ปราการเป็นหลักมากกว่าการมองสไตล์ของหุ้น การไม่ยึดติดตรงนี้ทำให้กองทุนสามารถเลือกธุรกิจที่น่าสนใจโดยไม่โดนจำกัดความเป็นไปได้
ผลตอบแทนย้อนหลังของ VanEck Morningstar Wide Moat ETF | Source: Fund Factsheet ของ VanEck Morningstar Wide Moat ETF as of 08/2023
สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/
FINNOMENA FUNDS ให้คุณได้ลงทุนในกองทุนรวมชั้นนำของประเทศไทยจากหลากหลาย บลจ.
ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ไม่ว่าจะลงกองเดี่ยว จัดพอร์ต วางแผนลงทุน หรือลดหย่อนภาษี
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://finno.me/get-started-ws?ct_id=afmoat-ha-2023
ออมเบอร์5 กับฟินโนมีนา ฟันด์ ได้แล้ววันนี้ NOW OR NEVER 555 ไม่เปิดบัญชีตอนนี้ จะเปิดตอนไหน? เปิดบัญชีกับฟินโนมีนา ฟันด์ พร้อมลงทุนครั้งแรก 5,000 บาท และ DCA ยาวๆ 12 เดือน
กับกองทุนคัดพิเศษเริ่มต้น 555 บาทต่อเดือน รับฟรี ! E-Voucher Shopee มูลค่า 500 บาท*
และ ลงทุนทุกๆ 5,000 บาท รับ 1 FINT*รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://finno.me/aom-no5-promotion
ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย. – 30 พ.ย. 2566 *เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
อ้างอิง
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
วันนี้ 29 ก.ย. ดัชนี Hang Seng ปรับตัวขึ้น 2.66% นำโดยกลุ่ม Consumer cyclicals +3.66%, อสังหาริมทรัพย์ +3.49% และเทคโนโลยีที่ปรับตัวขึ้น 2.88%, ตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อคืนที่ผ่านมา จากการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี สู่ระดับ 4.581% หนุนภาวะ Risk on ให้กลับมาอีกครั้งในระยะสั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อหน่วยงานกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต ออกร่างกฎที่ทำให้การถ่ายโอนข้อมูลข้ามพรมแดนง่ายขึ้น เพื่อบรรเทาความกังวลของธุรกิจต่างประเทศ และส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่นที่กำลังซบเซาในขณะนี้ ซึ่งร่างการยกเว้นดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อบริษัทหรือธุรกิจท้องถิ่นที่จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ใช้น้อยกว่าหนึ่งล้านคน หนุนหุ้นเทคโนโลยีจีนตอบรับกับข้อมูลดังกล่างโดย Tencent ปรับตัวขึ้น 3.03% Alibaba ปรับตัวขึ้น 3.49% Meituan ปรับตัวขึ้น 3.79% Netease ปรับตัวขึ้น 5.03%
FINNOMENA FUNDS Investment Team ยังติดตามสถานการณ์ความผันผวนของตลาดหุ้นจีนอย่างใกล้ชิด โดยมีความพยายามจากทางรัฐบาลจีนที่กอบกู้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจจีนและตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีน โดยใช้การออกนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอย่างต่อเนื่อง และเรายังคาดว่ามาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจในขนาดที่เหมาะสมจะค่อย ๆ ทยอยออกมาเพิ่มเติมอีกในอนาคต เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเศรษฐกิจจีน
ตลาดหุ้นจีน All China มี Valuation อยู่ในระดับที่มี downside จำกัด โดยมี PE เมื่อเทียบกับตัวเองในอดีตที่ระดับ -1 S.D. เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นจีน เนื่องจากราคาลงมาในจุดที่ Valuation น่าสนใจ อีกทั้งเศรษฐกิจจีนยังมี upside ให้ฟื้นตัวอยู่ในระดับสูง
——————
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 23 – 29 ก.ย. 2566 กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) กองไหนทำผลตอบแทนได้โดดเด่นชนะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากบ้าง? บทความนี้จะขอพาผู้อ่านไปดูกันครับ
1. T-MONEY – กองทุนเปิดธนชาตตลาดเงิน
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +3.10%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.52%
2. TISCOSTF – กองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรระยะสั้น
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +2.85%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.17%
3. ONE-FIXED-A – กองทุนเปิด วรรณ ชอร์ตเทอม ฟิกซ์ อินคัม ชนิดหน่วยลงทุน A
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +2.75%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +2.07%
4. BCAP-MONEY – กองทุนเปิดบีแคป มันนี่ มาร์เก็ต
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +2.66%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.56%
5. KKP MP – กองทุนเปิดเคเคพี มันนี่ โพสิทีฟ
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +2.51%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.87%
ดูรายละเอียดกองทุนทั้ง 5 อันดับเพิ่มเติม: T-MONEY, TISCOSTF, ONE-FIXED-A, BCAP-MONEY, KKP MP
หมายเหตุ: ข้อมูลมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) อัปเดตล่าสุด ณ วันที่ 28 ก.ย. 2566 จาก Morningstar ทั้งนี้ข้อมูลผลตอบแทนบางกองทุนในหน้าจัดอันดับกองทุน อาจมีการแสดงผลตอบแทนที่แตกต่างจากแต่ละหน้ากองทุน เนื่องจากการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน (ซึ่งนับวันที่ในรอบสัปดาห์แตกต่างกัน) สามารถดูรายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ finnomena.com/fund
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
พอร์ตการลงทุน Growth Momentum AI หรือ GMAI ปรับพอร์ตรอบใหม่ คัดเลือก 5 กองทุนโมเมนตัมเด่น โดยทีมงาน Deepscope GURUPORT แนะนำปรับสัดส่วนการลงทุน และ Rebalance ตามคำแนะนำด้านล่างนี้
จากประเด็นข้างต้น บวกกับวิเคราะห์โมเมนตัมโดย AI ทำให้รอบการปรับพอร์ตนี้ พอร์ตโฟลิโอ GMAI คัดเลือกกองทุนที่ผลงานดี โมเมนตัมเด่น ทั้งกองทุนที่ลงทุนในน้ำมัน พลังงาน หุ้นญี่ปุ่น ทองคำ และอื่น ๆ ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจในช่วงไตรมาส 4 หรือปลายปี 2023 มาดังด้านล่างนี้
โดยรวมการปรับพอร์ตรอบนี้เป็นการเน้นส่วนผสมของ theme ที่ทำผลงานได้ดีตามปกติในช่วงหน้าหนาวหรือสิ้นปีอยู่แล้ว เช่น พลังงาน ผสมกับความมั่นคงของการลงทุนในทองคำ และ theme อื่น ๆ เพื่อป้องกันความผันผวนของพอร์ตไว้อีกชั้นนึง ในกรณีที่ความผันผวนของเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยยังไม่หมดไปจากเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน
ทุกกองทุนมีสัดส่วน 20% เท่ากัน Source: Deepscope as of 28/09/2023
ล้วงลึกทุกกองทุน จากพลัง AI ที่ไร้ขีดจำกัด ด้วยพอร์ต Growth Momentum AI (GMAI) โดย Deepscope
ดูรายละเอียดพอร์ต >>> https://finno.me/guruport-deepscope
บทความโดย Deepscope สำหรับพอร์ต Growth Momentum AI (GMAI) ที่ FINNOMENA เท่านั้น
ข้อมูล ณ วันที่ 28 กันยายน 2023
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทําให้ผู้ลงทุน ขาดทุนหรือได้รับกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | บางกองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ภาพที่ 1: แสดงผลตอบแทนรวม MSCI ACWI Index, Source: MSCI as of 25/09/2023
Exposures from MSCI’s adaptive multi-factor allocation model
ภาพที่ 2: แสดงปัจจัยที่ส่งผลต่อ MSCI ACWI Index, Source: MSCI as of 25/09/2023
สรุป MSCI Factor Index
Global macro framework
ภาพที่ 3: แสดงมุมมองการลงทุนในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก Source: invesco.com as of 25/09/2023
จากมุมของ Marco Region ของ Global กำลังอยู่ใน Recovery Phase โดยมีสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นอยู่ใน Expansion Phase
Tactical Factor Positioning
ภาพที่ 4: แสดงกลยุทธ์การลงทุนเชิงเทคนิค Source: invesco.com as of 25/09/2023
โดยเป็นการให้น้ำหนักไปยังปัจจัยแบบ Value, Size และ Momentum ตามลำดับ
Source: Standard Charter as of 29/09/2023
จากการคาดการของ Standard Charter ยังคงให้น้ำหนักไปยัง Sector Technology, Healthcare และ Communication
แนวทางการลงทุน | Core / Satellite | กองทุน | สัดส่วนการลงทุนเก่า | สัดส่วนการลงทุนใหม่ | ||
ตราสารทุน | ||||||
ดัชนี Index World | Core | TMBWDEQ | 10% | 35% | 15% | 40% |
ดัชนี Nasdaq | K-USXNDQ-A(A) | 10% | 10% | |||
หุ้นเน้นคุณค่าทั่วโลก | SCBPGF | 15% | 15% | |||
หุ้น Consumer Defensive | Satellite แบบ Sector | TISCOGC | 10% | 55% | 5% | 50% |
หุ้น Healthcare Defensive | KFHEALTH-A | 15% | 15% | |||
หุ้น Consumer Cyclical | T-Premium Brand | 10% | 10% | |||
หุ้น Technology Cyclical | SCBSEMI(A) | 10% | 10% | |||
หุ้น Technology | B-Innotech | 10% | 10% | |||
สินทรัพย์ทางเลือก | ||||||
ทางเลือก | SCBGOLD | 10% | 10% | 10% | 10% |
สนใจลงทุนในพอร์ต Global Aggressive Hybrid ที่จัดโดย WealthGuru ซึ่งลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการให้เงินสร้างความมั่งคั่งในอนาคต สามารถสร้างแผนได้ที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-wealthguru-hybrid-create/
บทความโดย WealthGuru สำหรับพอร์ต Global Aggressive Hybrid ที่ FINNOMENA เท่านั้น
ข้อมูล ณ วันที่ 25 กันยายน 2023
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทําให้ผู้ลงทุน ขาดทุนหรือได้รับกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | บางกองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
สารบัญ (เลือกหุ้นตัวที่สนใจก่อนได้เลย)
Microsoft มีรายได้ 56.2 พันล้านเหรียญ (กำไรสุทธิ 20.1 พันล้านเหรียญ)
Apple มีรายได้ 81.8 พันล้านเหรียญ (กำไรสุทธิ 19.9 พันล้านเหรียญ)
Tesla มีรายได้ 24.9 พันล้านเหรียญ (กำไรสุทธิ 2.7 พันล้านเหรียญ)
Alphabet มีรายได้ 74.6 พันล้านเหรียญ (กำไรสุทธิ 18.4 พันล้านเหรียญ)
Nvidia มีรายได้ 13.5 พันล้านเหรียญ (กำไรสุทธิ 6.2 พันล้านเหรียญ)
Amazon มีรายได้ 134.4 พันล้านเหรียญ (กำไรสุทธิ 6.8 พันล้านเหรียญ)
อ้างอิง
Golden Week คือเทศกาลหยุดยาวของประเทศจีน เรียกว่าวันหยุดประจำชาติที่ลากยาวต่อเนื่องกันเป็นสัปดาห์ ซึ่งในแต่ละปีจะมีด้วยกัน 3 ช่วง คือ
1. เทศกาลตรุษจีน ในช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์
2. วันแรงงาน ในช่วงวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี
3. วันชาติจีน ในช่วงเดือนตุลาคมที่บางปีอาจจะคาบเกี่ยวกับเทศกาลไหว้พระจันทร์ด้วย
สำหรับปีนี้ Golden Week จะเริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2023 ที่ตรงกับวันไหว้พระจันทร์ และวันชาติจีนตรงกับวันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม 2023 ทำให้ตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ (A-shares) จะหยุดยาวตั้งแต่ 30 กันยายน – 6 ตุลาคม ส่วนตลาดหุ้นฮ่องกง (H-shares) จะหยุดทำการวันที่ 2 ตุลาคม
ทั้งนี้ เราจึงได้สรุปรายชื่อกองทุนจีนที่จะหยุดทำการในช่วง Golden Week มาฝากกันแบบครบ ๆ โดยรวบรวมข้อมูลวันหยุดกองทุนจาก บลจ. ที่มีการเผยแพร่เป็นสาธารณะ
กองทุนที่หยุดวันที่ 29 กันยายน – 2 ตุลาคม 2023
K-ASIACV-A(A)
K-ATECH
กองทุนที่หยุดวันที่ 29 กันยายน – 6 ตุลาคม 2023
K-CHX
K-CCTV-A(A)
กองทุนที่หยุดวันที่ 2 ตุลาคม 2023
K-APB-A(A)
K-CHINA-A(A)
K-CHINA-A(D)
KCHINARMF
K-CHINA-SSF
กองทุนที่หยุดวันที่ 29 กันยายน – 6 ตุลาคม 2023
B‐CHINE‐EQ
B‐CHINESSF
B‐CHINAARMF
กองทุนที่หยุดวันที่ 29 กันยายน – 6 ตุลาคม 2023
KT-Ashares
KT-Ashares RMF
KT-CHINA
KT-CHINA RMF
KT-CHINABOND
กองทุนที่หยุดวันที่ 2 ตุลาคม 2023
KT-ASEAN
KT-ASIAG
KT-ASIANBOND
KT-EMEQ
กองทุนที่หยุดวันที่ 29 กันยายน – 6 ตุลาคม 2023
LHCHINA-A
LHCHINA-ASSF
LHCHINA-D
LHCHINA-ASSF
LHCHINARMF
กองทุนที่หยุดวันที่ 29 กันยายน – 5 ตุลาคม 2023
SCBCHA
SCBCHA-SSF
SCBCHAA
SCBRMCHA
กองทุนที่หยุดวันที่ 29 กันยายน – 6 ตุลาคม 2023
SCBCHINA
SCBASHARES(A)
SCBASHARES(SSF)
SCBGEX(A)
SCBGEX(SSF)
SCBMLCAA
SCBRMMLCA
กองทุนที่หยุดวันที่ 2 ตุลาคม 2023
SCBCE
SCBAPLUS
SCBABOND(A)
SCBCEH
SCBAXJ(A)
SCBEMBOND
SCBAXJ(SSF)
กองทุนที่หยุดวันที่ 29 กันยายน – 6 ตุลาคม 2023
TMB-ES-STARTECH
TMB-ES-STARTECH-RMF
T-ES-ChinaA-SSF
T-ES-CHINA A
TMB-ES-CHINA-A
TMBCORMF
TMBCOF
T-ES-ChinaA-RMF
กองทุนที่หยุดวันที่ 2 ตุลาคม 2023
TMBCHEQ
T-CHChallenge#1
TMBAGLRMF
TMBAGLF
กองทุนที่หยุดวันที่ 2 ตุลาคม 2023
PRINCIPAL CHEQ-A
PRINCIPAL CHTECH-A
กองทุนที่หยุดวันที่ 29 กันยายน – 6 ตุลาคม 2023
UCI
UCI-SSF
UCHI
UCHINA
UCHINARMF
UCHINA-SSF
GC
UOBSGC
กองทุนที่หยุดวันที่ 29 กันยายน – 6 ตุลาคม 2023
KFACHINA-A
KFACHINSSF
KFACHINRMF
กองทุนที่หยุดวันที่ 2 ตุลาคม 2023
KF-CHINA
KF-HCHINAD
กองทุนที่หยุดวันที่ 28 กันยายน – 5 ตุลาคม 2023
BCAP-CTECH
กองทุนที่หยุดวันที่ 29 กันยายน – 6 ตุลาคม 2023
ONE-ALLCHINA-ASSF
ONE-ALLCHINA-RA
กองทุนที่หยุดวันที่ 2 ตุลาคม 2023
KWI DRAGON
KWI APREIT
KWI AEPLUS
กองทุนที่หยุดวันที่ 29 กันยายน – 6 ตุลาคม 2023
TCHSTARP
กองทุนที่หยุดวันที่ 2 ตุลาคม 2023
TCHARMF-A
TCHCLEAN
TCHRMF
TCHSTRATEGY
TISCOCH
TISCOCHA-A
TISCOCHA-SSF
กองทุนที่หยุดวันที่ 29 กันยายน – 6 ตุลาคม 2023
ASP-CHINA
ASP-EVOCHINA
ASP-EVOCHINA-SSF
ASP-EVOCHINARM
กองทุนที่หยุดวันที่ 2 ตุลาคม 2023
ASP-HSI
หมายเหตุ: The Opportunity รวบรวมข้อมูลวันหยุดกองทุนจาก บลจ. ที่มีการเผยแพร่เป็นสาธารณะ โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แต่ละ บลจ.
สารบัญ (เลือกหุ้นตัวที่สนใจก่อนได้เลย)
Microsoft มีรายได้ 56.2 พันล้านเหรียญ (กำไรสุทธิ 20.1 พันล้านเหรียญ)
Apple มีรายได้ 81.8 พันล้านเหรียญ (กำไรสุทธิ 19.9 พันล้านเหรียญ)
Tesla มีรายได้ 24.9 พันล้านเหรียญ (กำไรสุทธิ 2.7 พันล้านเหรียญ)
Alphabet มีรายได้ 74.6 พันล้านเหรียญ (กำไรสุทธิ 18.4 พันล้านเหรียญ)
Nvidia มีรายได้ 13.5 พันล้านเหรียญ (กำไรสุทธิ 6.2 พันล้านเหรียญ)
Amazon มีรายได้ 134.4 พันล้านเหรียญ (กำไรสุทธิ 6.8 พันล้านเหรียญ)
อ่านบทความเพิ่มเติม สรุปงบ Q2/23 หุ้น Big Tech แบบเห็นภาพชัด ๆ
👉🏻 กลุ่ม MATANA https://finno.me/matana-q2-23
👉🏻 กลุ่ม FAANG https://finno.me/faang-q2-23
FINNOMENA FUNDS ให้คุณได้ลงทุนในกองทุนรวมชั้นนำของประเทศไทยจากหลากหลาย บลจ.
ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ไม่ว่าจะลงกองเดี่ยว จัดพอร์ต วางแผนลงทุน หรือลดหย่อนภาษี
👇👇👇
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://finno.me/get-started-ws?ct_id=matana-business-q2-23
อ้างอิง
ในสภาวะที่ตลาดการเงินทั่วโลกปั่นป่วน นักลงทุนหลาย ๆ ท่านคงอยากหาการลงทุนที่สร้างกระแสเงินสดให้กับเราได้ วันนี้จึงขอนำกองทุนปันผลสูง แถมผลตอบแทนดี มาฝากทุกคนกัน จะมีกองไหนบ้าง ติดตามไปด้วยกันในบทความนี้เลย
นโยบายกองทุน: ลงทุนหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก ซึ่งประสบผลสำเร็จหรือมีชื่อเสียงใน Brand โดยพิจารณาจาก Intangible Assets เช่น การมีเครื่องหมายการค้าเป็นที่รู้จักทั่วโลก การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์สินค้า หรือกลวิธีการจัดจำหน่าย เป็นต้น
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
ระดับความเสี่ยง: 6
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
https://www.krungsriasset.com/DataWeb/AYFWeb/th/pdf/FFS_KFGBRAND-D_TH.pdf?rnd=20230921013808
นโยบายกองทุน: ลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนีนิคเคอิ 225 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนของกองทุนให้ไปในทิศทางเดียวกันหรือใกล้เคียงกับดัชนีนิคเคอิ 225
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด (Passive Management)
ระดับความเสี่ยง: 6
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
https://www.scbam.com/medias/fund-doc/summary-prospectus/SCBNK225D_SUM.pdf
นโยบายกองทุน: ลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี Nasdaq-100 เพื่อให้มีผลตอบแทนเป็นไปตามดัชนี Nasdaq-100 ที่ประกอบด้วยหุ้นจำนวน 100 หุ้นของ บริษัทขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด (Passive Management)
ระดับความเสี่ยง: 6
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
https://www.kasikornasset.com/FundDocument/Fund_Fact_Sheet/K-USXNDQ-A(D).pdf
นโยบายกองทุน: ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปไม่ต่ำกว่า 75% โดยเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มที่คาดว่ามีอัตราการเจริญเติบโตสูง (Growth Stock)
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
ระดับความเสี่ยง: 6
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
https://www.kasikornasset.com/FundDocument/Fund_Fact_Sheet/K-EUROPE-A(D).pdf
นโยบายกองทุน: ลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านการออกแบบ การจัดจำหน่าย การผลิต และการขายเซมิคอนดักเตอร์
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด (Passive Management)
ระดับความเสี่ยง: 7
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท (ครั้งแรก), 100 บาท (ครั้งถัดไป)
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
https://www.lhfund.co.th/Upload/FACTSHEET_LHSEMICON_D_THAI.pdf
นโยบายกองทุน: ลงทุนในหุ้นของบริษัทขนาดเล็กที่เป็นบริษัทชั้นนำและมีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว และจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่น
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
ระดับความเสี่ยง: 6
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
https://www.krungsriasset.com/DataWeb/AYFWeb/th/pdf/FFS_KF-JPSCAPD_TH.pdf?rnd=20230920053838
นโยบายกองทุน: ลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับวิดีโอเกม และ/หรือ อีสปอร์ต และ/หรือ บริษัทที่พัฒนาวิดีโอเกมและโปรแกรมหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด (Passive Management)
ระดับความเสี่ยง: 6
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท (ครั้งแรก), 100 บาท (ครั้งถัดไป)
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
https://www.lhfund.co.th/Upload/FACTSHEET_LHESPORT_D_THAI.pdf
นโยบายกองทุน: ลงทุนในหุ้นของบริษัทญี่ปุ่น (Japanese company) ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ส่วนของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
ระดับความเสี่ยง: 6
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
https://www.kasikornasset.com/FundDocument/Fund_Fact_Sheet/K-JP-A(D).pdf
นโยบายกองทุน: ลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี STOXX Europe 600 เพื่อให้ผลการดำเนินงานของกองทุนใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี STOXX Europe 600
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด (Passive Management)
ระดับความเสี่ยง: 6
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
https://www.scbam.com/medias/fund-doc/summary-prospectus/SCBEUEQ_SUM.pdf
นโยบายกองทุน: ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
ระดับความเสี่ยง: 6
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
https://www.scbam.com/medias/fund-doc/summary-prospectus/SCBGEQ_SUM.pdf
FINNOMENA FUNDS ให้คุณได้ลงทุนในกองทุนรวมชั้นนำของประเทศไทยจากหลากหลาย บลจ.
ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ไม่ว่าจะลงกองเดี่ยว จัดพอร์ต วางแผนลงทุน หรือลดหย่อนภาษี
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://finno.me/get-started-ws
ข้อมูลอัตราเงินปันผลตอบแทน ณ วันที่ 31 ส.ค. 2566
ข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลังจาก FINNOMENA FUND สามารถข้อมูลอัปเดตล่าสุดที่ FINNOMENA Fund Filter
อัปเดตตัวเลข ณ วันที่ 15 ก.ย. 2566: K-JP-A(D), SCBGEQ
อัปเดตตัวเลข ณ วันที่ 18 ก.ย. 2566: KFGBRAND-D, K-USXNDQ-A(D), K-EUROPE-A(D), LHSEMICON-D, KF-JPSCAPD, LHESPORT-D, SCBEUEQ
อัปเดตตัวเลข ณ วันที่ 19 ก.ย. 2566: SCBNK225D
— planet 46.
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | การลงทุนในกองทุนรวมมิใช่การฝากเงิน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | บางกองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ภายในวันที่ 30 กันยายนนี้ จะเป็นเส้นตายที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องผ่านร่างกฎหมายงบประมาณอีกครั้ง ไม่เช่นนั้นเหตุการณ์ Government Shutdown อาจกลับมาอีกครั้ง
โดยล่าสุดสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ยังไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องร่างงบประมาณประเทศ ซึ่งมีประเด็นความขัดแย้งจากการที่พรรคเดโมแครตของประธานาธิบดี ‘โจ ไบเดน’ ต้องการเพิ่มงบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และยืนยันที่จะไม่ลดละการให้ความช่วยเหลือแก่ยูเครน
ตรงข้ามกับฝ่ายค้านอย่างพรรครีพับลิกัน แต่ครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร (221 ต่อ 212) ที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายภายในประเทศอย่างหนัก และคัดค้านร่างจัดสรรงบกลาโหมเพื่อหยุดสนับสนุนยูเครน จึงกลายเป็นความขัดแย้งทางความคิดที่รอทางออกจนนาทีสุดท้าย!
Source: REUTERS/Jonathan Ernst
Government Shutdown คือ การที่รัฐบาลสหรัฐฯ จำเป็นต้องยุติการจ่ายงบประมาณให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ชั่วคราว เนื่องจากสภาคองเกรส (United States Congress) ไม่สามารถผ่านร่างกฎหมายงบประมาณได้ทันเวลา โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งของสภาผู้แทนราษฎรที่มีความเห็นต่อนโยบายงบประมาณไม่ตรงกัน
ทั้งนี้ Government Shutdown จะเริ่มต้นขึ้นทันทีที่เข้าสู่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันแรกของปีงบประมาณใหม่
เมื่อหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จึงจำเป็นต้องปิดตัว หรือ Shutdown ชั่วคราว และหมายถึงว่าพนักงานภาครัฐที่ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งสำคัญ ก็จะต้องหยุดทำงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนด้วย คล้าย ๆ กับโดน Leaves without Pay จนกว่าจะผ่านร่างงบประมาณได้สำเร็จ
ตัวอย่างบริการภาครัฐที่ถูกชัตดาวน์ เช่น อุทยานแห่งชาติ, พิพิธภัณฑ์, สวนสัตว์, หน่วยงานที่ให้บริการด้านสินเชื่อ, บริการตรวจคนเข้าเมืองบางส่วน, หน่วยงานวิจัยต่าง ๆ เป็นต้น
แต่จะมีข้อยกเว้นสำหรับบางหน่วยงานที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อประชาชน เช่น บริการสาธารณสุข, กองทัพ, พยากรณ์อากาศ, ไปรษณีย์, ขนส่งสาธารณะ และธนาคารกลางสหรัฐฯ เป็นต้น
เหตุการณ์ Government Shutdown ไม่ใช่เรื่องใหม่ของสหรัฐฯ เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง ยาวบ้างสั้นบ้างขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของประเด็น
Source: The Washington Post as of 21/09/2023
Government Shutdown ครั้งที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาตร์ เกิดขึ้นในสมัยของประธานาธิบดี ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ เมื่อปี 2018 นี่เอง ด้วยการชัตดาวน์เนิ่นนานกว่า 34 วัน จากปัญหาจัดสรรงบให้กับนโยบายกำแพงชายแดนเม็กซิโก-สหรัฐฯ
การชัตดาวน์ที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งเกิดขึ้นภายใต้การนำของประธานาธิบดี ‘บิล คลินตัน’ ในช่วงปลายปี 1995 ถึงต้นปี 1996 รวมทั้งสิ้น 21 วัน ซึ่งเกิดเสียงแตกในการจัดสรรงบให้หน่วยงานประกันสุขภาพ การศึกษา และสิ่งแวดล้อม
สมัยของประธานาธิบดี ‘บารัก โอบามา’ ก็เคยเกิดการชัตดาวน์เป็นเวลา 16 วัน จากประเด็นโครงการประกันสุขภาพ หรือ Obama Care
Source: The Washington Post as of 21/09/2023
จะเห็นว่าในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ประธานาธิบดีแทบจะทุกคนล้วนเคยผ่านสถานการณ์ Government Shutdown มาแล้ว มีเพียงคนเดียวคือ ‘จอร์จ ดับเบิลยู บุช’ ที่ผ่านร่างงบประมาณแบบราบรื่น
ส่วนคำถามที่ว่าในยุคของ ‘โจ ไบเดน’ จะเกิดการชัตดาวน์ครั้งแรกหรือไม่นั้น คงต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดว่าฝ่ายไหนจะยอมผ่อนปรนในศึกครั้งนี้
บางคนเปรียบ Government Shutdown ว่าเป็นเหมือนระบบเศรษฐกิจที่ติดไฟแดง เพราะทำให้หลายกิจกรรมต้องหยุดชะงัก แล้วรอสัญญาณไฟเขียวจากสภาคองเกรส
Source: REUTERS/Jonathan Ernst
Goldman Sachs วิเคราะห์ว่าการชัตดาวน์จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ -0.2% ต่อสัปดาห์ พูดง่าย ๆ ว่า “ยิ่งยืดเยื้อ ยิ่งเสียหาย” แต่เศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งหลังจากเหตุการณ์คลี่คลายลงแล้ว
นอกจากนี้ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody’s ได้ออกมาเตือนว่าอาจจะต้องปรับลดอันดับเครดิตของสหรัฐฯ ลงจากระดับ AAA หากเกิดการชัตดาวน์จริง ๆ
อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่ากลัวกว่าการชัตดาวน์ คือสถานะการคลังของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มถดถอยลงต่อเนื่อง ปัจจุบันภาระหนี้สินโดยรวมของรัฐ (Federal Debt) เกินกว่า 100% ของ GDP แล้ว ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยยืนอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 10 กว่าปี เท่ากับว่าต้นทุนทางการเงินของสหรัฐฯ กำลังอยู่ในจุดที่หนักอึ้งทีเดียว
Source: Yahoo Finance As of 2023
ความสัมพันธ์ระหว่าง Government Shutdown กับดัชนีหุ้นสหรัฐฯ S&P 500 พบว่านับตั้งแต่ปี 1981 ถึงปี 2018 จำนวนทั้งหมด 15 ครั้ง S&P 500 ปรับตัวลดลงแค่ 3 ครั้งเท่านั้น แม้กระทั่งครั้งล่าสุดในปี 2018 ตลาดหุ้นบวกไปถึง 9.3%
ทำให้พอสรุปได้ว่าการเกิด Government Shutdown ไม่ได้มีผลต่อตลาดหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ
แหล่งข้อมูล