แจ้งเตือน

TSMC โชว์ฟอร์มแรง กำไร Q1 พุ่ง 60% จับตาชิป AI โตเท่าตัว สวนกระแสนโยบายภาษีทรัมป์

Finnomena Funds
TSMC กำไร Q1 พุ่ง 60%

Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC) ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลก รายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2025 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 11,100 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 370,000 ล้านบาท) เติบโตขึ้น 60% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ราว 10,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 33,000 ล้านบาท)

กำไร TSMC Q1 2025

TSMC Income Statement | Source: App Economy Insights

แม้จะเผชิญกับความไม่แน่นอนจากนโยบายภาษีและมาตรการควบคุมการส่งออกเทคโนโลยีของสหรัฐฯ แต่ TSMC ยังคงรักษาเป้าหมายรายได้และงบลงทุนประจำปีไว้เช่นเดิม โดยตั้งเป้าว่ารายได้จากการผลิตชิปสำหรับงาน AI จะแตะระดับ “โตเท่าตัว” ภายในปีนี้

ด้าน C. C. Wei ซีอีโอของ TSMC กล่าวว่า “เรายังไม่เห็นสัญญาณว่าลูกค้าจะชะลอคำสั่งซื้อ แม้จะมีข่าวเรื่องมาตรการภาษีหรือการควบคุมการส่งออกชิปของสหรัฐฯ” ซึ่งสะท้อนว่าอุปสงค์ชิป AI ยังคงแข็งแกร่ง และลูกค้ารายใหญ่ทั้ง Apple, NVIDIA, AMD และ Qualcomm ยังคงเดินหน้าสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง

ลดพึ่งพาจีน หนุนการลงทุนในสหรัฐฯ

ในไตรมาสที่ผ่านมา รายได้จากตลาดจีนลดลงมาอยู่ที่ 7% ของยอดขายรวม จาก 9% ในปีก่อน ขณะที่รายได้จากอเมริกาเหนือกลับเพิ่มขึ้นเป็น 77% จาก 69% 

การเปลี่ยนแปลงนี้สอดคล้องกับการออกมาตรการควบคุมการส่งออกของสหรัฐฯ แต่ TSMC ก็ปรับกลยุทธ์โดยการประกาศลงทุนในสหรัฐฯ มูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3.3 ล้านล้านบาท) เพิ่มเติมจาก 65,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2.1 ล้านล้านบาท) ที่ลงทุนในโครงการโรงงานรัฐแอริโซนา เพื่อกระจายฐานการผลิตและลดความเสี่ยงด้านซัพพลายเชน

เดินหน้าลงทุน มั่นใจรายได้โตต่อ

ทางด้าน CFO อย่าง Wendell Huang เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทวางงบลงทุน (Capital Expenditures) ไว้ระหว่าง 38,000 – 42,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.2 – 1.4 ล้านล้านบาท) และคาดว่ารายได้ในไตรมาสที่ 2 จะอยู่ระหว่าง 28,400 – 29,200 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 946,000 – 972,000 ล้านบาท) เทียบกับ 20,820 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 693,000 ล้านบาท) ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

แรงซื้อ AI หนุน แต่หุ้นร่วงสะท้อนความกังวล

แม้ภาพรวมยอดขายจะสดใส แต่หุ้น TSMC กลับปรับลดลงกว่า 20% ตั้งแต่ต้นปี ท่ามกลางความกังวลเรื่องนโยบายภาษีของสหรัฐฯ การใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน AI ที่อาจชะลอตัว และการแข่งขันจากสตาร์ทอัพจีนอย่าง DeepSeek ที่เปิดตัวโมเดล AI ราคาถูกจนสร้างแรงกดดันต่อผู้เล่นหลัก

นอกจากนี้ ผู้ผลิตเครื่องจักรผลิตชิปรายใหญ่อย่าง ASML ก็เพิ่งเตือนว่าภาษีนำเข้าสหรัฐฯ เพิ่มแรงกดดันต่อภาพรวมแนวโน้มผลประกอบการในปี 2025 – 2026 แม้ยังยืนยันกรอบเป้ารายได้ทั้งปีไว้เช่นเดิม

โอกาสลงทุนกองทุนหุ้นเทคโนโลยี

Finnomena Funds แนะนำเข้าลงทุนตามการพิจารณา MEVT Call เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว มองตลาดปรับฐานแรง เป็นโอกาสช้อนหุ้น Quality Growth พื้นฐานดี ผ่านกองทุน B-INNOTECH ที่เน้นการทำ Stock Selection ทำให้ PE ต่ำกว่ากลุ่ม และผลตอบแทนชนะตลาดในระยะยาว

กองทุน B-INNOTECH เน้นลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลก โดยคัดเลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีการเติบโตของกำไรที่ดี และมี Valuation ไม่แพงเกินไป เช่น TSMC, Apple, Amazon, Alphabet และ Microsoft ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกเทขายจากความกังวลเรื่องภาษีนำเข้า 

โดยปัจจุบันกองทุน B-INNOTECH มีสัดส่วน TSMC ในพอร์ตอยู่ที่ 6.70% (ข้อมูล ณ วันที่ 17/04/2025)


อ้างอิง: Reuters, Financial Times 

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

‘โดนัลด์ ทรัมป์’ คือแรดเทาในสายตา ‘สี จิ้นผิง’

Finnomena
โดนัลด์ ทรัมป์ 'แรดเทา'

สี จิ้นผิง เคยบอกเอาไว้ว่า การกลับมาของ โดนัลด์ ทรัมป์ เหมือนจีนกำลังเผชิญกับ แรดเทา ที่เป็นภัยคุกคายอยู่ตลอดเวลา หากชะล่าใจ ปล่อยปละละเลย สุดท้ายจะนำมาซึ่งปัญหาลุกลามใหญ่โต และมีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะเกิดสงครามการค้าครั้งใหญ่ที่เข้มข้นกว่าเดิม

วันนี้แรดเทาตัวนั้นกำลังตื่นมาคึกคะนองอีกครั้ง แถมดุดันมากขึ้นด้วยในยุค Trump 2.0 จากนโยบายอันแข็งกร้าวในการตั้งกำแพงภาษี Reciprocal Tariffs ที่มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการบดขยี้จีนให้แหลกเพียงชาติเดียว ล้มล้างระบบการค้าโลกที่มีจีนเป็นศูนย์กลาง


ความหมายของ The Gray Rhino 

คำว่า  ‘แรดเทา’ หรือ The Gray Rhino ถูกนำมาใช้เปรียบเปรยครั้งแรกโดย มิเชล วัคเกอร์ (Michele Wucker) นักวิเคราะห์ชาวอเมริกันผู้เขียนหนังสือ The Gray Rhino ในปี 2016 ซึ่งนิยามว่าแรดเทา คือ การเผชิญกับอันตรายตรงหน้าที่เราพอจะมองเห็นไกล ๆ แต่กลับนิ่งนอนใจกับความเสี่ยงนั้น จนสุดท้ายแรดตัวนั้นกลับวิ่งพุ่งเข้ามาทำร้ายเราอย่างรวดเร็ว กว่าจะไหวตัวทัน ก็ถูกพุ่งชนจนเจ็บเจียนตาย

ในกรณีของจีนกับสหรัฐอเมริกา สี จิ้นผิง หยิบยกคำว่า ‘แรดเทา’ หรือที่ออกเสียงในภาษาจีนว่า ‘ฮุยซีหนิว’ มากล่าวหลายครั้ง ซึ่งมักจะเปรียบเปรยคู่กับคำว่า Black Swan หรือ หงส์ดำ ที่เป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝัน แต่สร้างผลกระทบรุนแรง 

สี จิ้นผิง มักย้ำเตือนถึงความเสี่ยงจากปัญหาแรดเทาที่เกิดจาก โดนัลด์ ทรัมป์ โดยพูดมาเสมอว่าจีนจะต้องพร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่มาได้ทุกเมื่อ เช่น ช่วงต้นปี 2018 ที่ทรัมป์เริ่มทำ Trade War กับจีนรอบแรก ผู้นำแดนมังกรกล่าวกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนว่า 

เราต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกหลายอย่างที่คาดไม่ถึง มีปัจจัยภายนอกที่อ่อนไหวและซับซ้อน จงอย่าชะล่าใจ ต้องเร่งควบคุมความเสี่ยงอย่างเต็มที่ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี งานหนักของทุกคนคือเราจะต้องเฝ้าระวังอย่างสุดชีวิต เพื่อคอยจับตา ‘หงส์ดำ’ ภัยมืดที่มองไม่เห็น และมุ่งสกัด ‘แรดเทา’ ภัยคุกคามที่จ้องจะพุ่งชนได้ทุกเมื่อ

ในสมัยของ Trump 1.0 สี จิ้นผิง หยิบยกคำว่าแรดเทามาพูดอีกหลายครั้งในหลากวาระ เช่น การประชุมสภาประชาชนปี 2019 และการกล่าวสุนทรพจน์วันขึ้นปีใหม่ 2020 สะท้อนให้เห็นว่านี่เป็นภัยคุกคามใหญ่ที่จีนไม่เคยลืม


ความดุดันของแรดเทา 2.0

แรดเทาตัวนี้ดุดันมากขึ้นในยุค Trump 2.0 เริ่มต้นเปิดฉากด้วยนโยบายอันแข็งกร้าว และการตั้งทีมงานสายเหยี่ยวมารับตำแหน่งสำคัญในรัฐบาล นำโดย

  • เจดี แวนซ์ รองประธานาธิปดี ที่เป็นกำลังสำคัญในนโยบาย Make America Great Again
  • มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ที่มีจุดยืนแข็งกร้าวต่อรัสเซียและจีน
  • สก็อต เบสเซนต์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ที่มุ่งเน้นการปฏิรูปภาษี

 

และก็เป็นอย่างที่หลายคนคาด สงครามการค้าระอุเดือด เมื่ออเมริกาประกาศใช้ Reciprocal Tariffs เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2025 ประกาศก้องว่าเป็น Liberation Day วันปลดแอกของชาติ ด้วยการเก็บ Tariff  10% สำหรับทุกสินค้าที่นำเข้าสู่อเมริกา และเพิ่ม Tariff อีก 10-50% สำหรับ 60 ประเทศที่ทรัมป์เรียกว่าเป็นผู้ละเมิดทางการค้าที่สหรัฐฯ ขาดดุลมากที่สุด 

สำหรับจีนโดน Tariff ในรอบแรกสูงถึง 34% ก่อนจะเกิดการตอบโต้ไปมารายวัน ทำให้อัตราภาษีล่าสุดที่สหรัฐเรียกเก็บจากจีนพุ่งขึ้นไปถึง 145% แล้ว แม้ว่าทรัมป์จะใจดีชะลอการขึ้นภาษี 90 วันให้ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก แต่ไม่ใช่กับจีน โดยให้เหตุผลว่าการกระทำของจีนที่ตอบโต้อเมริกา ถือเป็นการกระทำที่ไร้ซึ่งความเคารพ

เท่านี้ก็ชัดเจนแล้วว่าเป้าหมายอันแท้จริงของทรัมป์ คือการเตะตัดขาจีน ผ่านการล้มล้างระบบการค้าโลกที่ปัจจุบันมีจีนเป็นศูนย์กลางในฐานะโรงงานโลก


ทรัมป์เกลียดอะไรจีนนักหนา

การเดินหมากที่พุ่งเป้าไปแค่จีน ไม่ใช่การต่อสู้ในทุกแนวรบกับชาติอื่น ๆ แถมยังมีท่าทีเป็นมิตรมากขึ้นกับรัสเซียด้วยซ้ำ คำถามคือมีอะไรในใจทรัมป์ ทำไมเขาจึงเลือกยุทธศาสตร์นี้ในการต่อสู้

บทวิเคราะห์จาก BBC โดยจอห์น ซัดเวิร์ธ ผู้สื่อข่าวอาวุโสประจำทวีปอเมริกาเหนือ แสดงทัศนะไว้ว่าสงครามการค้ารอบนี้เป็นการต่อสู้ในดินแดนที่คุ้นเคยของทรัมป์นั่นคือดวลเดี่ยวระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เพราะหากจำกันได้ วาทะกรรมเด็ดที่ส่งให้ทรัมป์คว้าชัยชนะประธานาธิบดีสมัยแรก ก็คือการป่าวประกาศต่อต้านจีน พูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าในเวทีหาเสียงว่า การที่จีนกำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจของอเมริกาถดถอย ส่งผลให้อุตสาหกรรมในประเทศทรุดตัวลง และทำให้ชนชั้นแรงงานของสหรัฐฯ ต้องสูญเสียรายได้และศักดิ์ศรี

สงครามการค้าครั้งนี้อาจมีความหมายมากกว่าตอบโต้ไปมาเพียงอย่างเดียว แต่สำหรับทรัมป์ นี่เป็นเรื่องที่ค้างคาจากในช่วงวาระแรกของดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ

เราไม่มีเวลามากพอที่จะทำสิ่งที่ถูกต้องในตอนนั้น แต่ตอนนี้เรากำลังเร่งทำมันอยู่

คำสัมภาษณ์ โดนัลด์ ทรัมป์ หลังเปิดศึกขึ้นภาษีปี 2025

ในอีกมุมมอง ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านจีนศึกษา เคยเขียนบทวิเคราะห์เรื่อง ทรัมป์ 2.0 และจีน ระบุว่าจีนเป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดของทรัมป์ เนื่องจากตอนนี้สหรัฐฯ ไม่ได้แข็งแกร่งพอจะเปิดศึกหลายแนวรบ โดยเฉพาะในสงครามที่ลากยาวมองไม่เห็นทางจบอย่างรัสเซีย-ยูเครน ดังนั้น สหรัฐฯ จึงต้องหันมาโฟกัสที่การจัดการจีน ซึ่งเป็นภัยคุกคามระยะยาวอันดับหนึ่ง

สุนทรพจน์ของทรัมป์ในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรครีพับลิกัน พูดไว้อย่างน่าสนใจว่า ตอนนี้จีนไปลงทุนตั้งโรงงานรถยนต์จำนวนมากในเม็กซิโก แต่ถ้าเขาเป็นประธานาธิบดี โรงงานเหล่านี้จะต้องมาตั้งในสหรัฐฯ เพื่อให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานมหาศาล แสดงให้เห็นว่าทรัมป์ไม่ได้ต้องการจะกีดกันการลงทุนจากจีน และไม่ได้มีความกังวลเรื่องความมั่นคงจากการมาตั้งฐานการผลิตขายรถยนต์จีนให้ผู้บริโภคชาวอเมริกัน ทว่าจุดประสงค์ของเขาคืออยากบีบให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ กลับมาลงทุนตั้งโรงงานในสหรัฐฯ เพื่อให้ประเทศกลับมาได้เปรียบในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอีกครั้ง

จะเห็นว่าทรัมป์มองทุกอย่างเป็นเรื่องของการเจรจา พร้อมที่จะตกลงแลกเปลี่ยนยื่นหมูยื่นแมว สงครามการค้าของทรัมป์จึงมีเป้าหมายเพื่อกดดันให้จีนมานั่งโต๊ะเจรจาและตกลงผลประโยชน์กับสหรัฐฯ ให้ทรัมป์เอาไปคุยโม้โอ้อวดได้ เหมือนตอนรัฐบาลทรัมป์ 1.0 ที่บรรลุข้อตกลงเฟส 1 กับจีน ซึ่งจีนสัญญาจะซื้อสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ จำนวนมหาศาล แต่บังเอิญเกิดโควิดขึ้นเสียก่อน

อย่างไรก็ดี แม้ภาพออกสื่อของทรัมป์จะชัดว่าเขาดุดันต่อจีน แต่ท้ายที่สุดแล้วของบทสรุปก็ยังคาดเดาได้ยาก เพราะทรัมป์เองไม่ได้มีจุดยืนเชิงอุดมการณ์ เขาสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามผลประโยชน์ที่มองว่าจะได้รับ ไม่แน่หากเจรจากันได้ เราอาจเห็น 2 มหาอำนาจของโลก จบด้วยการจับมือคืนดี

เหมือนพล็อตละครหลังข่าวที่แรกพบเกลียดเข้ากระดูก แต่สุดท้ายรักกัน Happy Ending…

ตลาดพันธบัตรสหรัฐในยุคทรัมป์.. อาจพังอย่างไร?

MacroView
ตลาดพันธบัตรสหรัฐในยุคทรัมป์.. อาจพังอย่างไร?

คงต้องยอมรับว่า ในรอบนี้ โดนัลด์ ทรัมป์ต้องหยุดมาตรการ Reciprocal Tariff ไว้ 90 วัน เนื่องจากตลาดพันธบัตรสหรัฐใกล้จะพังเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บทความนี้ จะวิเคราะห์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดพันธบัตรสหรัฐ ซึ่งแม้แต่ทรัมป์เห็นแล้วต้องยอมยกธงขาวชะลอมาตรการ Tariff ชั่วคราวก่อน

โดยปกติแล้ว ตลาดพันธบัตรสหรัฐจะมีรูปแบบการใช้อนุพันธ์การเงินในการเทรดบอนด์ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดที่เรียกกันว่า Treasury basis trade

ซึ่ง Treasury basis trade จะมีกลไกเป็นอย่างไร เรามาตามดูกัน

โดยปกติแล้วตราสาร Treasury Futures จะเทรดด้วยค่า premium เมื่อเทียบกับพันธบัตรสหรัฐ ซึ่งจะนำส่งเพื่อให้เป็นไปตามสัญญาอนุพันธ์

โดยค่า premium ที่จ่ายไป เสมือนเป็นค่าความสะดวกสบายในการทำให้นักลงทุนสามารถเข้าหาแหล่งเงินกู้ หรือ leveraged exposure ที่จะลงทุนพันธบัตรสหรัฐให้ได้มูลค่าที่สูงขึ้น (ใช้เงินเอาไปวางไว้เริ่มต้น หรือ initial margin เพียงราว 5-10% ของมูลค่าพันธบัตรสหรัฐที่จะเข้าซื้อ) โดยในตลาดสหรัฐ Asset manager ส่วนใหญ่จะมี position สุทธิ แบบ long บน Treasury Futures

อย่างไรก็ดี ด้วยการจูงใจของ premium ดังกล่าว ได้เปิดโอกาสต่อ hedge fund ในการมี position แบบตรงข้าม ด้วยการขาย Treasury Futures  และซื้อพันธบัตรสหรัฐเพื่อปิดความเสี่ยง เพื่อที่จะสามารถทำกำไรจากสเปรด 2-3 basis point (0.02-0.03%) ซึ่งปราศจากความเสี่ยง โดยปกติแล้ว ด้วยกำไรที่น้อยขนาดนี้ ไม่ได้เป็นสิ่งที่จูงใจ ทว่าเนื่องจากพันธบัตรสหรัฐมีสถานะปราศจากความเสี่ยง จึงสามารถนำไปใช้หลักประกันในการกู้เงินเพื่อมาลงทุนเพิ่มอีกหลายสิบเท่า

ยกตัวอย่าง หากคุณซื้อพันธบัตรสหรัฐ $10 ล้าน และขาย Treasury Futures ด้วยมูลค่าเท่ากัน คุณจะสามารถใช้พันธบัตรดังกล่าวเป็นหลักประกัน เพื่อหาเงินกู้ระยะสั้น $9.9 ล้าน ในตลาด Repo market ซึ่งคุณสามารถนำเงินดังกล่าวไปซื้อพันธบัตรสหรัฐอีก $9.9 ล้าน และขาย Treasury Futures ด้วยมูลค่าเท่ากัน

โดยปัจจุบัน ตลาด Futures Market ของตราสารพันธบัตรสหรัฐ มีขนาดไม่ต่ำกว่า $8 แสนล้าน

สำหรับในโลกแห่งความเป็นจริงในอุตสาหกรรมนี้ โดยปกติ สามารถกู้เพิ่มได้ 50 เท่า หรือ อาจสูงไปถึง 100 เท่าก็ได้ จากหลักประกันหรือพันธบัตรสหรัฐที่มีอยู่ในมือ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง คือ แค่มีเงิน $10 ล้าน สามารถซื้อพันธบัตรสหรัฐได้ถึง $1 พันล้าน จากการกู้เงินระยะสั้นในตลาด Repo

ปัญหาคือ ทั้งตลาด Treasury Futures และ Repo Market ต้องการมูลค่าหลักประกันที่สูงขึ้นมาก หากตลาดพันธบัตรมีความผันผวนสูง โดยหาก Hedge Fund ไม่สามารถนำหลักประกันใหม่มาเพิ่มเติมได้ ก็ต้องขายพันธบัตรสหรัฐที่วางไว้อยู่ทิ้งไป โดย ณ ขณะนี้ ตลาดพันธบัตรสหรัฐอาจจะยังไม่ได้ถึงจุดดังกล่าว ทว่าในเดือนมีนาคม 2020 ได้เคยเกิด doom loop ที่การขายพันธบัตรสหรัฐทำให้ความผันผวนของตลาดสูงขึ้นไปเรื่อยๆจนมีการขายพันธบัตรต่อไปเรื่อยๆ

ทว่าข่าวร้ายคือวิกฤตของตลาดพันธบัตรสหรัฐในรอบนี้ ที่ทำให้ทรัมป์ต้องหยุดการขึ้น reciprocal tariff ชั่วคราว 90 วัน คือ สิ่งที่เรียกว่า Swap Spread trade

โดย Swap Spread หมายถึง ส่วนต่างระหว่าง อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) ของตราสาร Interest Rate Swap กับ อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรสหรัฐ ณ อายุสัญญาเดียวกัน ทั้งนี้ ปกติแล้ว จะมีค่าติดลบ เนื่องจากหลังวิกฤตซับไพร์ม ได้มีการเพิ่มความเข้มข้นของกฎระเบียบทางการเงินของสถาบันการเงิน จึงทำให้ต้นทุนของอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรสหรัฐ สูงกว่า อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) ของตราสาร Interest Rate Swap ซึ่งมีกฎเกณฑ์กำกับที่อ่อนกว่ามาก

ทั้งนี้ ในโลกแห่งความเป็นจริงในอุตสาหกรรมนี้ โดยปกติ สามารถกู้เพิ่มได้ 50 เท่า หรือ อาจสูงไปถึง 100 เท่าก็ได้จากหลักประกันหรือพันธบัตรสหรัฐที่มีอยู่ในมือเช่นกัน

อย่างไรก็ดี เมื่อทรัมป์เข้ารับตำแหน่งผู้นำสหรัฐในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้มีการคาดการณ์ว่าจะมีการลดความเข้มข้นของกฎระเบียบทางการเงินของสถาบันการเงิน จึงทำให้มีการคาดหมายว่าระดับ  Swap Spread จะมีค่าเป็นลบน้อยลง ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นในช่วงที่ทรัมป์ขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้นำในช่วงแรกต้นปีนี้ จึงทำให้ Hedge Fund  หันมาเก็งกำไรถือครองพันธบัตรสหรัฐในปริมาณมากขึ้น เนื่องจากคาดว่าจะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำลงจากการลดความเข้มข้นของกฎระเบียบทางการเงินของสถาบันการเงินของทรัมป์

จนกระทั่งมาถึงนโยบาย tariff ของทรัมป์ ที่สร้างความผันผวนให้กับตลาดพันธบัตรสหรัฐเป็นอย่างมาก จนระดับ Swap Spread กลับไปมีค่าติดลบมากกว่าก่อนที่ทรัมป์จะขึ้นมาอีก จนทำให้เกิดการเรียก margin call ของหลักประกันพันธบัตรสหรัฐ จนระดับ Swap Spread มีค่าติดลบมากขึ้นไปเรื่อยๆ หรือที่เรียกกันว่า doom loop จนต้องมีการขายพันธบัตรสหรัฐในตลาดกันยกใหญ่ในช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาเพื่อการนี้ นอกจากนี้ บรรดาธนาคารกลางและบริษัทประกันของประเทศหลักของโลกก็พากันเทขายพันธบัตรสหรัฐเช่นกันจากความไม่แน่นอนของนโยบายของทรัมป์ที่มีอยู่สูงมาก

ข่าวร้ายคือ Treasury basis trade และ Swap Spread trade ยังคงยังไม่จบง่ายๆในวิกฤตรอบนี้ที่มาจากความไม่แน่นอนของนโยบาย ซึ่งจะคงมีอยู่ต่อไปจากการตัดสินใจในอนาคตของโดนัลด์ ทรัมป์

ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ, CFP

MacroView, macroviewblog.com

นักลงทุนอินเดีย “หันกลับบ้าน” เมื่อทรัมป์ทำตลาดโลกผันผวน

Finnomena Funds
อินเดียลงทุนในประเทศ

ในช่วงที่โลกยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ นักลงทุนอินเดียกำลังหันกลับมามอง “บ้านตัวเอง” อีกครั้ง แทนที่จะกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดโลกที่ยังคงผันผวน

ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ความผันผวนในตลาดการเงินโลกทวีความรุนแรงขึ้นจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ โดยเฉพาะเมื่อประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แสดงท่าทีดุดันและคาดเดาได้ยากผ่านนโยบายภาษี ทำให้นักลงทุนทั่วโลกรวมถึงในอินเดีย ต่างเริ่มมองหาตลาดที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้น้อยลง 

กระแสเงินทุนหนุนตลาดหุ้นอินเดีย

จากการรายงานของ Reuters และ Bloomberg พบว่านักลงทุนในอินเดียเริ่มหันมาโฟกัสหุ้นในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่พึ่งพาปัจจัยภายใน เช่น หุ้นกลุ่มบริโภคพื้นฐาน และธนาคาร 

ขณะเดียวกัน กองทุนรวมหุ้นภายในประเทศยังได้รับกระแสเงินลงทุนจากนักลงทุนรายย่อยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยเดือนละราว 3,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 100,000 ล้านบาท) แม้จะต่ำกว่าจุดสูงสุดเล็กน้อย แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงหลายปีก่อน สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น

ตลาดหุ้นอินเดียเองก็ยืนหยัดได้ดีท่ามกลางแรงกดดันจากภายนอก โดยดัชนี BSE Sensex และ Nifty 50 ปรับตัวค่อนข้างนิ่งในช่วงที่ตลาดหุ้นหลายประเทศในเอเชียเผชิญแรงขาย เช่น ฮ่องกงที่ดัชนีลดลงกว่า -10% และเวียดนามที่ร่วงเกิน -7% ในช่วงเวลาเดียวกัน สะท้อนว่านักลงทุนบางส่วนอาจมองว่าอินเดียเป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกน้อยกว่า

ด้านบริษัทวาณิชธนกิจอย่าง Jefferies ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันวิเคราะห์ตลาดชั้นนำจากสหรัฐฯ ได้ปรับมุมมองต่อหุ้นอินเดียขึ้นเป็น “Overweight” พร้อมชี้ว่าตลาดหุ้นอินเดียมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากสงครามภาษีน้อยกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศยังเติบโตต่อเนื่อง มีพื้นฐานแข็งแกร่ง และไม่พึ่งพาการค้ากับสหรัฐฯ หรือจีนในระดับที่สูง

ปัจจัยในประเทศหนุนความเชื่อมั่น

อีกด้านหนึ่ง ค่าเงินรูปีอินเดียก็เคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพในช่วงที่ข่าวภาษีของสหรัฐฯ เริ่มสงบลง นักวิเคราะห์มองว่า เงินรูปีได้รับแรงหนุนจากปัจจัยภายใน เช่น คาดการณ์ฤดูฝนที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ย และระดับเงินเฟ้อในประเทศที่ลดลงแตะจุดต่ำสุดในรอบ 5 ปี

เมื่อรวมภาพทั้งหมดเข้าด้วยกัน เทรนด์ “กลับบ้าน” ของนักลงทุนอินเดียกำลังสะท้อนให้เห็นถึงการปรับมุมมองของนักลงทุนในอินเดีย ที่เริ่มให้น้ำหนักกับความมั่นคงและเสถียรภาพภายในประเทศมากขึ้น ในช่วงที่ความไม่แน่นอนจากนอกประเทศยังคงกดดัน

โอกาสลงทุน กองทุนหุ้นอินเดีย

Finnomena Funds แนะนำเข้าลงทุนตามการพิจารณา MEVT Call เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว โดยเป็นจังหวะสะสมหุ้นอินเดีย ผ่านกองทุน B-BHARATA และ TISCOINA-A หนุนโดยโครงสร้างเศรษฐกิจ ประมาณการกำไรเริ่มมีเสถียรภาพ รวมถึงสัญญาณ Technical และ Fund Flow เริ่มเป็นบวก

  • B-BHARATA เป็นกองทุนรวมหุ้นอินเดีย ที่เน้นลงทุนในธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศอินเดีย และมีน้ำหนักการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ
  • TISCOINA-A เป็นกองทุนรวมหุ้นอินเดียซึ่งเน้นกลยุทธ์การลงทุนแบบ Active Management และคัดเลือกหุ้นด้วยวิธี Bottom-up โดยลงทุนผ่าน 3 กองทุนหลักในสัดส่วนใกล้เคียงกัน

อ้างอิง: Reuters, Yahoo Finance, MarketScreener

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Finnomena Funds Market Alert: ตลาดหุ้นจีนร่วงแรง หลังทรัมป์เร่งจีน ‘ยื่นข้อเสนอ’ เจรจาสงครามการค้าก่อน

Finnomena Funds
ทรัมป์เร่งจีนเจรจาก่อน

วันนี้ (16 เมษายน 2025) ดัชนี HSCEI (หุ้นจีน H-Share) ปรับตัวลงกว่า 3.1% หลังประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เพิ่มแรงกดดันต่อจีน โดยเรียกร้องให้ “จีนเป็นฝ่ายเริ่มต้นการเจรจา” เพื่อคลี่คลายความขัดแย้งด้านการค้า ท่ามกลางบรรยากาศความตึงเครียดที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากการตอบโต้กันด้วยมาตรการภาษี

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2025 รัฐบาลจีนได้ประกาศเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ จากเดิม 84% สู่ระดับ 125% ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2025 นอกจากนี้ทรัมป์ได้มีคำสั่งให้รัฐมนตรีพาณิชย์สหรัฐฯเปิดสอบสวนแร่ธาตุหายาก เพื่อตรวจสอบว่า การนำเข้าแร่ธาตุสำคัญจากต่างประเทศส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติหรือไม่ โดยอาจนำไปสู่การเก็บภาษีนำเข้าฉบับใหม่ถ้าหากพบว่ามีภัยคุกคามต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยจีนเป็นผู้จัดหากว่า 70% ของแร่หายากที่สหรัฐฯ นำเข้า และถูกระบุเป็นเป้าหมายหลักในนโยบายนี้ นอกจากนี้คำสั่งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ในขณะที่จีนตอบโต้ด้วยการจำกัดการส่งออกแร่หายากบางรายการ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานใน สหรัฐฯ ทั้งนี้การสอบสวนจะเสร็จสิ้นภายใน 270 วันและจะรายงานต่อทรัมป์ตามลำดับ

อย่างไรก็ดีสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานตัวเลข GDP ขยายตัว 5.4% YoY ใน 1Q2025 ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 5.2% ขณะที่ตัวเลขอื่น ๆ ทั้งยอดค้าปลีก (Retail Sales)เพิ่มขึ้นจาก 4.0 YoY ในเดือนกุมภาพันธ์สู่ระดับ 5.9% YoY ในเดือนมีนาคม ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ที่ 4.2% และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Investment) เพิ่มขึ้นจาก 4.1% YoY ในเดือนมกราคมสู่ระดับ 4.2% ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ที่ 4.1% รวมทั้งดัชชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เพิ่มขึ้นแรงจาก 5.9% YoY ในเดือนกุมภาพันธ์ สู่ระดับ 7.7% YoY ในเดือนมีนาคม ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 5.9%

Finnomena Funds มองว่าการประกาศเลื่อนการขึ้นภาษี 90 วัน เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2025 เป็นไปในทิศทางที่เราคาดไว้ในรายงานฉบับก่อนว่า การขึ้นภาษีของทรัมป์มีเป้าหมายเพื่อการ “เจรจา (make deal)” มากกว่าการจะต้องการเก็บภาษีในระดับสูงสุดตามที่เคยประกาศไว้ในวันที่ 2 เมษายน เราเริ่มเห็นแรงต้านจากสังคมในสาธารณะต่อนโยบายการค้าของทรัมป์ ทั้งจากคะแนนนิยมของทรัมป์ที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง จนไปถึงความขัดแย้งที่เริ่มเกิดขึ้นภายในระหว่างผู้สนับสนุนและทีมงานของทรัมป์เอง

อย่างไรก็ตามแม้สหรัฐฯ กับจีนยังคงระดับภาษีตอบโต้ในระดับสูง ซึ่งไม่ยั่งยืนและจะสร้างอันตรายทางเศรษฐกิจกับทุกฝ่าย เราเชื่อว่าสุดท้ายแล้วทั้งสองฝ่ายจะนำไปสู่การเจรจา เช่นเดียวกับทิศทางที่มีการเลื่อนการขึ้นภาษีกับประเทศอื่น ๆ

เราจึงปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยงได้ หลังจากที่เราแนะนำ Wait and See เพื่อเตรียมลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2025

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

10 เรื่องการเงินที่โรงเรียนไม่ได้สอน แต่สำคัญมากในชีวิตจริง

Finspace
10 เรื่องการเงินที่โรงเรียนไม่ได้สอน แต่สำคัญมากในชีวิตจริง

แม้ว่าโรงเรียนจะสอนความรู้หลายด้าน แต่เรื่องการเงินที่สำคัญในชีวิตประจำวันมักถูกมองข้าม ทำให้หลายคนต้องเรียนรู้เองในภายหลัง ควบคู่ไปกับการเผชิญความท้าทายในการใช้ชีวิตจริง การขาดความรู้ทางการเงินอาจนำไปสู่ปัญหา และการได้รับการสอนตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจเป็นวิธีสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี จะมีเรื่องอะไรบ้าง ไปดูกันครับ

10 เรื่องการเงินที่ที่เรียนไม่ได้สอน แต่สำคัญมากในชีวิตจริง

1. การสร้างนิสัยทางการเงินที่ดี

สอนให้รู้จักการจดบันทึกรายรับรายจ่าย วางแผนการเงินรายเดือน และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมใช้เงินเกินตัว จะช่วยสร้างพื้นฐานการเงินที่มั่นคงในระยะยาว

2. การจัดการเงินเดือนแรกอย่างชาญฉลาด

เมื่อเริ่มทำงาน เงินเดือนแรกคือโอกาสสำคัญในการสร้างนิสัยทางการเงิน การแบ่งเงินเป็นสัดส่วนสำหรับใช้จ่าย ออม และลงทุนตั้งแต่แรกเริ่มช่วยป้องกันการใช้เงินเกินตัว

3. การออมไวตั้งแต่เริ่มทำงาน

การตั้งเป้าหมายการออม เช่น การซื้อบ้าน ท่องเที่ยว หรือเกษียณ ช่วยให้มีแรงจูงใจและแผนการเงินที่ชัดเจน

4. การลงทุนไม่ใช่เรื่องไกลตัว

เรียนรู้พื้นฐานการลงทุน เช่น หุ้น กองทุนรวม รวมถึงความเสี่ยงและผลตอบแทน เพื่อให้เงินเติบโต มากกว่าการฝากเงินไว้เฉย ๆ

5. การบริหารหนี้สิน

แยกแยะระหว่างหนี้ดีและหนี้เสียได้ และพร้อมเรียนรู้วิธีบริหารหนี้ เช่น ชำระหนี้ให้ตรงเวลา และหลีกเลี่ยงการสะสมหนี้

6. เข้าใจพลังดอกเบี้ยทบต้น

การปลูกฝั่งเรื่องของดอกเบี้ยทบต้น ที่สามารถทำให้เงินออมเติบโตได้อย่างมหาศาล

7. การคำนวณภาษีและการลดหย่อนภาษี

เข้าใจเรื่องระบบภาษีและสิทธิประโยชน์ เช่น การลดหย่อนภาษีผ่านกองทุน หรือประกันชีวิต จะช่วยให้คุณประหยัดเงินได้มากขึ้น รวมถึงสอนขั้นตอนยื่นภาษีด้วย

8. การป้องกันความเสี่ยงด้วยประกัน

สอนให้ไม่ควนมองข้ามเรื่องการทำประกันสุขภาพ/ชีวิต เพราะมันช่วยลดความเสียหายทางการเงินเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

9. ระวังกลโกงทางการเงิน

เรียนรู้วิธีป้องกันการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ เช่น แชร์ลูกโซ่ หรือการลงทุนที่ดูดีเกินจริง รวมถึงวิธีตรวจสอบแหล่งลงทุนเพื่อป้องกันการโดนหลอก

10. การวางแผนเกษียณตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน

แม้การเกษียณจะดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่การเริ่มออมและลงทุนเพื่อเตรียมเงินเกษียณตั้งแต่เริ่มทำงานจะช่วยให้คุณมีชีวิตที่สบายและมั่นคงในอนาคต

FinSpace

ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/finspace.co/posts/pfbid0JPQPTB4XaxL9Bj2GcHVsqa63GsjoJ6CoVY88HZ9tjJKmeokkXmSHarVDx1zZwmmml

มุมมองผู้นำและนักลงทุนระดับโลก ต่อเหตุการณ์ Trump Tariffs

Finnomena
Quotes Trump Trade

รวบรวมความคิดเห็นของบุคคลระดับโลกต่อเหตุการณ์ขึ้นภาษีสงครามการค้า Trump Tariffs ปี 2025 แต่ละคนมีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไรบ้าง สรุปมาให้แล้ว

นโยบายของเราจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง อดทนไว้ มันไม่ง่าย ผลลัพธ์สุดท้ายคือประวัติศาสตร์ ทำให้อเมริกากลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง !!!

– Donald Trump –
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

Donald Trump


ยังไม่เจอเหตุผลว่าการขึ้นภาษีการค้า จะทำให้เศรษฐกิจถึงขั้น Recession ได้

– Scott Bessent –
รัฐมนตรีคลังสหรัฐอเมริกา

Scott Bessent


โลกธุรกิจคือเกมแห่งความเชื่อมั่น แต่ทรัมป์กำลังสูญเสียความไว้ใจจากผู้นำธุรกิจทั่วโลก มาตรการภาษีที่รุนแรงและไม่สมดุล กำลังพาเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ฤดูหนาว

– Bill Ackman –
ผู้จัดการกองทุน Hedge Fund ชื่อดัง

Bill Ackman


ต้องรีบแก้ปัญหานโยบายภาษีโดยเร็ว การแตกแยกของพันธมิตรทางเศรษฐกิจ อาจนำอเมริกาไปสู่หายนะ

– Jamie Dimon –
CEO แห่ง JPMorgan Chase

Jamie Dimon


นี่เป็นโอกาสเข้าซื้อ มากกว่าที่จะเทขาย แม้ความผันผวนยังมีในตลาด แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็น Systemic Risk

– Larry Fink –
CEO แห่ง BlackRock

Larry Fink


ประเด็นที่ใหญ่กว่า Tariffs คือการล่มสลายของระเบียบโลก ซึ่งเป็น The Big Cycle สู่การเปลี่ยนผ่าน ประเทศมหาอำนาจในแต่ละยุค

– Ray Dalio –
ผู้ก่อตั้ง Bridgewater Associates

Ray Dalio


Tariff จะทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในระยะสั้น และอาจส่งผลกระทบยืดเยื้อในระยะยาว

– Jerome Powell –
ประธาน Fed

Jerome Powell


 

ประวัติศาสตร์ ‘ทองคำ’ สินทรัพย์อมตะ แห่งโลกการลงทุน

Finnomena
ประวัติศาสตร์ราคาทอง

ทองคำสินทรัพย์ที่ดูเหมือนเป็นอมตะในโลกการลงทุน ปลอดภัยในยามวิกฤต และเป็นแหล่งเก็บมูลค่ามานานนับพันปี ว่ากันว่าถ้านึกอะไรไม่ออกให้ซื้อทองเก็บไว้ก่อน เพราะยังไงระยะยาวก็ขึ้นแน่นอน

แต่จริง ๆ แล้ว ทองคำที่เราเรียกว่า “safe haven” หรือ “สินทรัพย์ปลอดภัย” ก็เคยมีช่วงที่ซบเซา ไม่ทำกำไรนานนับ 10 ปีมาแล้วเช่นกัน

บทความนี้จะพาทุกคนย้อนไปดูประวัติศาตร์ทองคำ ตั้งแต่ยุคเริ่มต้น ช่วงเวลาแห่งการตื่นทอง เข้าสู่ทศวรรษที่หายไปของทองคำ จนกระทั่งมาถึงปัจจุบันในปี 2025 นี้ ที่ราคาทองโลกกำลังเดินหน้าสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำ All-Time Hight เกิน 20 ครั้งไปแล้ว

ติดตามราคาทองคำแบบ Real-Time ทั้งทองไทยและทองโลก บนเว็บไซต์ Finnomena ได้แล้ววันนี้ คลิกเลย https://finno.me/gold-web


ประวัติศาสตร์ทองคำ สู่การเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ยุคทองของทองคำ

มนุษย์รู้จักทองคำมาตั้งแต่สมัยก่อนคริสต์กาล โดยช่วงแรกเราใช้ทองคำในฐานะเป็นเครื่องประดับเพื่อบ่งบอกฐานะความร่ำรวย ก่อนที่ในเวลาต่อมาทองคำจะถูกนำมาสร้างเป็นเหรียญโลหะสำหรับใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า

แต่จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นช่วงปี 1800 ที่สหราชอาณาจักรได้เริ่มผูกค่าของเงินปอนด์สเตอร์ลิงไว้กับปริมาณทองคำ เกิดเป็นระบบมาตรฐานทองคำ Gold Standard ที่เงินตราทั่วโลกผูกติดกับทองคำ ทำให้ทองคำเลยกลายเป็น backbone ของระบบการเงินมานับตั้งแต่วันนั้น

เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่เหมืองทองคำถูกค้นพบจำนวนมากทั้งในสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้ ซึ่งนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของยุคตื่นทองอย่างแท้จริง

Gold Standard ยกระดับทองคำจากที่เคยเป็นสิ่งบ่งบอกฐานะความร่ำรวยของผู้คน กลายมาเป็นตัวชี้วัดความมั่งคั่งของประเทศชาติ ยุครุ่งเรืองนี้ลากยาวมาเกือบศตวรรษ แม้ในปี 1971 ‘ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกซัน’ จะประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ ถือเป็นจุดสิ้นสุด ของ Gold Standard

ทว่าราคาทองคำก็ยังคงพีคไปอีกเป็น 10 ปี จากวิกฤตน้ำมัน บวกกับเกิดการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ในประเทศอิหร่าน และสหภาพโซเวียตประกาศบุกอัฟกานิสถาน ในปี 1979 ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงไปทั่วโลก ผู้คนย้ายเงินไปไว้ในทองคำอย่างมโหฬาร จนดูเหมือนว่าทองคำจะขึ้นตลอดไป ไม่มีอะไรจะหยุดพี่เขาได้

ระหว่างช่วงปี 1969-1980 ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้น 1,500% ในระยะเวลา 122 เดือน


Lost Decade ของทองคำ ยุคมืดที่ถูกลืม

แต่หลังจากความรุ่งเรืองครั้งนั้น ทองคำกลับเข้าสู่ยุคมืดครั้งแรกที่ยาวนานเกือบ 20 ปี ซึ่งหลายคนอาจจะลืมเลือนไปแล้ว ว่าแม้แต่สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ ก็มีวันที่เงียบเหงาได้เหมือนกัน

ช่วงปี 1980-2000 คือ Lost Decade ครั้งแรกของทองคำ จากจุดพีคที่ 2,000 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ ตกลงมาเหลือไม่ถึง 500 ดอลลาร์ มูลค่าหายไปกว่า 70% ในระยะเวลา 20 ปี

การซึมยาวของทองคำตอนเกิดขึ้นในยุคของประธาน Fed ‘Paul Volcker’ ซึ่งทำในสิ่งที่ท้าทาย ดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด เพื่อหยุดเงินเฟ้อจากวิกฤตราคาน้ำมันดิบ ด้วยการใช้ยาแรงขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปสูงถึง 20% แต่นั่นทำให้เศรษฐกิจสหรัฐกลับมามีเสถียรภาพยิ่งขึ้น และเป็นยุคที่คนหันไป Bull ตลาดหุ้น สวนทางกับทองคำที่เป็น Sideway ตลอดทาง

ประกอบกับตอนนั้นโลกค้นพบแหล่งทองคำใหม่ ๆ ในทวีปอเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย ราคาทองคำจึงเริ่มตกลงมาเรื่อย ๆ

เคราะห์ซ้ำกรรมซัดในช่วงปลายยุค 90 ดันเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง รุกลามทั่วเอเชีย IMF ต้องการใช้เงินจำนวนมากเพื่อไปแก้ปัญหาหนี้สินของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จึงเทขายทองคำออกมาจำนวนมาก และมีธนาคารกลางของหลายประเทศทยอยขายทองคำตาม เช่น สวิตเซอร์แลนด์ขายออกมา 1,400 ตัน อังกฤษ ขาย 400 ตัน ทำให้เวลานั้นราคาทองคำด่ำดิ่งสุด ๆ

เดือนสิงหาคม 1999 ราคาทองลงมาเหลือ 250 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ ต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี


กลับสู่ยุคทอง และฟองสบู่แตก 2001-2020

ขาขึ้นสั้น ๆ ของทองคำกลับมาอีกครั้งในปี 2001 จากเหตุการณ์ 9/11 ในสหรัฐอเมริกา และจากนั้นในปี 2004 ก็มีการก่อตั้ง SPDR Gold Trust กองทุนทองที่ใหญ่ที่สุดในโลก

จนมาถึงปี 2011 ราคาทองคำในตลาดโลกก็ทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุดแตะ 1,900 ดอลลาร์ เนื่องจากการเกิดวิกฤตหนี้ยุโรป โดยเฉพาะกรีซที่เกือบล้มละลาย นักลงทุนกลัวว่าเงินยูโรจะพัง บวกกับ Fed อัดฉีดเงินผ่านการทำ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็ยิ่งทำให้ความต้องการทองคำพุ่งขึ้น และกลายเป็นหลุมหลบภัยจากความเสี่ยงของระบบการเงินและความกลัวเงินเฟ้อที่อาจตามมาจากการพิมพ์เงินจำนวนมหาศาล

แต่แล้วในปี 2013 ทุกอย่างพลิกผัน Fed ส่งสัญญาณว่าจะลดการอัดฉีดเงินเข้าระบบ นักลงทุนแตกตื่น เทขายทองคำกันยกใหญ่ ตลอดทั้งปี 2013 ราคาทองคำโลกติดลบ 28% หนักสุดในประวัติศาสตร์ พูดว่าเป็นฟองสบู่แตกของทองคำก็คงไม่ผิดนัก

ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เริ่มฟื้นตัวชัดเจน นักลงทุนเห็นทิศทางดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น สิ่งนี้ยิ่งลดความน่าสนใจของทองคำลงไปอีก บวกกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่ยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในช่วงนั้น ทำให้เราจะเห็นว่าเมื่อมองยาว ๆ

ตั้งแต่ปี 2013-2019 ราคาทองคำไม่ได้ไปไหนไกลเลย แกว่งตัวอยู่แถว ๆ 1,200-1,600 ดอลลาร์ ถือเป็นอีกหน้าหนาวที่ยาวนานของคนถือทองคำ


วัฏจักรขาขึ้นรอบล่าสุด

และแล้วในปี 2020 วัฏจักรขาขึ้นรอบใหม่ของทองคำก็กลับมาอีกครั้ง เมื่อโลกรู้จักกับ COVID ส่งผลให้ตลาดการเงินปั่นป่วน นักลงทุนตื่นตระหนกเทขายสินทรัพย์เสี่ยง และหันมาถือสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ

กลางปี 2020 ราคาทองคำพุ่งทะยานอย่างรวดเร็วทะลุ 2,000 ดอลลาร์ ก่อนจะย่อลงตอนปลายปี 2022 และคืนฟอร์มพุ่งเป็นจรวดอีกครั้งจนมาถึงวันนี้ที่เกิน 3,000 ดอลลาร์ไปแล้ว ส่วนราคาทองคำแท่งในไทยขึ้นสู่ 50,000 บาทแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

สุดท้ายนี้ จะเห็นว่าทองคำมีวัฏจักรของมัน ขึ้นบ้าง ลงบ้าง ซึมบ้าง สลับกันไป และไม่ใช่สินทรัพย์ที่เป็นอมตะแบบที่หลาย ๆ คนคิด ประวัติศาสต์ที่ผ่านมาบอกเราว่าทองคำมีทั้งยุคตื่นทองและยุคมืด

หากบังเอิญเข้าซื้อผิดจังหวะเวลา ก็อาจเจอกับช่วงปรับฐานยาวนานร่วม 10 ปีเหมือนกัน ใช่ว่าซื้อแล้วถือยาวจะกำไรเสมอไป

Finnomena Monthly Investment Outlook กลยุทธ์การลงทุนเดือนเมษายน 2025: โอกาสหรือวิกฤตในวันปลดแอก 2025 ของ Trump

Finnomena Funds
Finnomena Monthly Investment Outlook กลยุทธ์การลงทุนประจำเดือนเมษายน 2025 : “โอกาสหรือวิกฤตในวันปลดแอก 2025 ของ Trump”

Executive Summary 

ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา

  • เราปรับมุมมองหุ้นสหรัฐฯ เป็น Slightly Positive จาก Neutral หลังตลาดตอบรับเชิงลบต่อนโยบาย Tariff ของ Trump มากเกินไป
  • โดยเรายังคงมองว่า Trump ใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อ “Make Deals” และเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะไม่เข้าสู่ Recession แม้จะมีการชะลอตัวในบางส่วน
  • ด้านเงินเฟ้อสหรัฐฯ เรายังมองว่าไม่น่ากังวล เนื่องจากเงินเฟ้อค่าเช่ายังคงลดลงต่อเนื่อง ขณะที่ประมาณการกำไรตลาดหุ้นเริ่มเห็นการปรับลดของหุ้นขนาดเล็กที่มากกว่าหุ้นขนาดใหญ่ หลังเศรษฐกิจชะลอตัวกว่าที่คาด เราแนะนำลงทุนในหุ้นคุณภาพขนาดใหญ่

ตลาดหุ้นยุโรป

  • เราคงมุมมองต่อตลาดหุ้นยุโรปเป็น Slightly Positive แนะนำทยอยสะสม ผ่านกองทุน ONE-EUROEQ
  • โดยมองว่าเศรษฐกิจยุโรปได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว ปัจจัยกดดันสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสงครามรัสเซีย-ยูเครน ภาวะเงินเฟ้อ และนโยบายภาษีของทรัมป์ ได้ถูกสะท้อนอยู่ในตัวเลขเศรษฐกิจและดัชนีตลาดแล้ว
  • ในระยะข้างหน้า ยุโรปมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากการปฏิรูปกฎระเบียบด้านการกู้ยืม (debt break) ของเยอรมนี ประกอบกับการที่หลายประเทศกลับมามีงบดุลที่แข็งแกร่งมากขึ้น อีกทั้งยังได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของ ECB ซึ่งจะช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม
  • อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนยังคงทรงตัว ในขณะที่ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ Valuation ของตลาดหุ้นยุโรปปรับขึ้นมาอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยรอบ 10 ปี

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

  • เราปรับมุมมองหุ้นญี่ปุ่นเป็น Neutral จากเดิม Negative แม้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีโอกาสใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นในอนาคต แต่ Tone ยังเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
  • ด้านส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐฯและญี่ปุ่นมีโอกาสแคบลงและเงินเยนแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อตลาดหุ้นญุี่ปุ่น อย่างไรก็ดี ประมาณการกำไรของตลาดหุ้นถูกปรับเพิ่มขึ้นและดีกว่าประเทศ DM อื่น ๆ
  • ขณะที่แนวโน้มกำไรของบริษัทยังแข็งแกร่งสวนทางเศรษฐกิจที่เปราะบาง

ตลาดหุ้นจีน

  • เราปรับมุมมองหุ้นจีน H-Shares เป็น Slightly Positive จาก Neutral และคงมุมมองหุ้นจีน A-shares เป็น Neutral โดยแนะนำทยอยสะสมกองทุน MEGA10CHINA-A
  • มาตรการกระตุ้นรอบนี้เน้นกระตุ้นการบริโภคในวงกว้างกว่าเดิม แต่ปัญหาด้านอสังหาฯไม่ยังฟื้นตัวและต้องใช้เวลา โดยรัฐบาลทำได้แค่รักษาสเถียรภาพราคาบ้าน ตัวเลขเศรษฐกิจในระยะสั้นเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นโดยเฉพาะ Retail sales และ Fixed Asset
  • ประมาณการกำไรหุ้น H-shares ยังแข็งแกร่งกว่าหุ้น A-shares เนื่องจากมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัวด้าน AI และได้อานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นบริโภค ด้าน Valuation หุ้นจีน H-shares แพงกว่าอดีตเนื่องจากมีสัดส่วนหุ้นเทคฯ ที่มากขึ้น

ตลาดหุ้นอินเดีย

  • เราปรับมุมมองหุ้นอินเดียเป็นเป็น Positive จาก Neutral โดยแนะนำลงทุนกองทุน TISCOINA-Aและ B-BHARATA
  • เศรษฐกิจอินเดียผ่านพ้นจุดต่ำสุดแล้วใน 3Q24 เริ่มฟื้นตัวชัดเจนใน 4Q24 และทิศทาง 1Q25 ทรงตัวต่อจาก 4Q24
  • ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะยาวเติบโตสูง ปัญหาสภาพคล่องของระบบธนาคารในอินเดียมีแนวโน้มดีขึ้นหลังธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ลดดอกเบี้ยและกระตุ้นสภาพคล่อง ขณะที่ NIM ของธนาคารมีแนวโน้มลดลงแต่ผลประกอบการจะถูกชดเชยด้วย loan growth ที่ดีขึ้น
  • Valuation ตลาดหุ้นอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี

ตลาดหุ้นเกาหลีใต้

  • คงมุมมองเป็นกลาง Neutral ต่อหุ้นเกาหลีใต้ โดยแนะนำถือกองทุน SCBKEQTG และ DAOL-KOREAEQ
  • ภาคการส่งออกของเกาหลียังขยายตัว นอกจากนี้ มีรายงานระบุว่า Samsung ได้รับการอนุมัติจาก Nvidia ให้จัดหาชิป HBM3E แล้ว ในอนาคตผู้ผลิต memory chip จะได้อานิสงส์จากการประมวลผล Large Language Model (โมเดลภาษาขนาดใหญ่) ที่อาจมี memory requirement ที่เพิ่มสูงขึ้นไปอีก
  • รวมถึง Samsung ยังเดินหน้าแผนซื้อหุ้นคืนต่อ ซึ่งช่วยลด Downside ของราคาหุ้น
  • ขณะที่การยกเลิกระงับ Short-selling ไม่น่ากังวลเนื่องจากหน่วยงานกำกับได้พัฒนาระบบตรวจจับ Naked short-selling และเพิ่มบทลงโทษให้เข้มงวดขึ้น

ตลาดหุ้นไทย

  • ปรับมุมมองตลาดหุ้นไทยสู่ Slightly Positive จาก Neutral โดยทั้งภาครัฐบาลและหน่วยงานกำกับพยายามออกมาตรการพยุงตลาดหุ้น อาทิ การย้าย LTF ไป Thai ESG ด้านประมาณการกำไรตลาดหุ้น (SET) ถูกปรับลงต่อเนื่อง สวนทางกับประมาณการกำไรของหุ้นในดัชนี SETHD ที่ถูกปรับเพิ่มขึ้น
  • ในด้าน Valuation อยู่ในระดับถูกมาก ขณะที่ Dividend Yield (12-m forward) ของ SET และ SETHDอยู่ที่ 4.4% และ 5.9%
  • แนะนำกองทุน TISCOHD-A ซึ่งเน้นลงทุนหุ้นปันผลสูง และแนะนำกลยุทธ์แบบ Selective & Dynamic ในหุ้นที่มีการปรับประมาณการกำไรขึ้นไม่อิงหุ้นดัชนี

ตลาดหุ้นเวียดนาม

  • คงมุมมอง Slightly Positive ต่อหุ้นเวียดนาม โดยแนะนำทยอยสะสม ผ่านกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A และ KKP VGF-UI*
  • รัฐบาลมีเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวที่ชัดเจน รวมถึงมีแผนดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ รัฐบาลเวียดนามมีความพยายามในการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ
  • รัฐบาลยังคงสนับสนุนและเน้นย้ำถึงการอัพเกรดเข้าสู่ Emerging Market ภายในปีนี้ ประมาณการกำไรของตลาดหุ้นถูกปรับขึ้น ขณะที่ Valuation ยังอยู่ในระดับถูก

 *ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย กองทุนรวมที่เสนอขายผู้ลงทุนสถานบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน

Thematic หุ้นกลุ่ม Healthcare

  • ปรับมุมมองหุ้นกลุ่ม Healthcare เป็น Slightly Positive จาก Neutral โดยแนะนำทยอยสะสมกองทุน ES-HEALTHCARE
  • มาตรการของทรัมป์จะส่งผลเสียทั้งหมดต่อหุ้นกลุ่ม Healthcare เนื่องจากบางมาตรการ (เช่น การส่งเสริม Medicare Advantage) จะช่วยเพิ่มการแข่งขันระหว่างบริษัทประกัน
  • ถึงแม้นโยบายด้านการตัดงบประมาณสาธารณสุขจะผ่านการอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎร แต่เสียงโหวตระหว่างเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยถือว่าสูสีมาก แสดงให้เห็นว่านักการเมืองสหรัฐฯ ค่อนข้างเสียงแตกกับนโยบายดังกล่าว และมี ส.ส. รีพับลิกันส่วนหนึ่ง แสดงจุดยืนว่าไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้
  • หุ้นกลุ่ม Healthcare เป็นหุ้นกลุ่มที่ยังมีการเติบโตของกำไรที่ดี ในขณะที่ sector ใหญ่อื่น ๆ อย่างเช่น Technology เริ่มเห็นการปรับประมาณการกำไรลงในปี 2025 ในขณะที่ Valuation ไม่ได้แพงเกินไป

ดู Fund Fact Sheet กองทุนแนะนำ

 

จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน


คำเตือนผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ปรับพอร์ตประจำเดือนเมษายน 2025: รับมือมรสุมภาษี ตั้งหลัก ไม่ตั้งรับ

Finnomena Funds
ปรับพอร์ตรับมือมรสุมภาษี: ตั้งหลัก ไม่ตั้งรับ

Executive Summary

  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศลดภาษีนำเข้าทั้งหมดเหลือ 10% และเลื่อนการขึ้นภาษีออกไปอีก 90 วัน (ยกเว้นแคนาดา, เม็กซิโก และจีน) สะท้อนให้เห็นว่าภาษีกำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือต่อรอง มากกว่าการจัดเก็บจริง
  • เริ่มมีแรงต้านต่อนโยบายการค้าของทรัมป์ภายในสหรัฐฯ ทั้งจากคะแนนนิยมที่ลดลงนับตั้งแต่เริ่มดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง และความขัดแย้งภายในทีมงานและผู้สนับสนุน
  • แม้สหรัฐฯ และจีนยังคงเก็บภาษีตอบโต้ในระดับสูง ซึ่งไม่ยั่งยืนและอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของทุกฝ่าย แต่เชื่อว่าสุดท้ายจะนำไปสู่การเจรจา เช่นเดียวกับแนวโน้มที่สหรัฐฯ เลื่อนการขึ้นภาษีกับประเทศอื่น ๆ
  • ปรับคำแนะนำการลงทุนขึ้นเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยง

ภาพรวมคำแนะนำ

  • พอร์ต All Balance

 

ปรับพอร์ตรับมือมรสุมภาษี: ตั้งหลัก ไม่ตั้งรับ


บทวิเคราะห์: ปรับพอร์ตรับมือมรสุมภาษี

จากบทความ สรุปคำแนะนำลงทุน: สหรัฐฯ เก็บภาษีตอบโต้ ครั้งประวัติศาสตร์! และ อัปเดตคำแนะนำลงทุน: โลกปั่นป่วนด้วยภาษีตอบโต้ของ ‘ทรัมป์’ ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศลดอัตราภาษีนำเข้า (Reciprocal Tariff) ทั้งหมดลงเหลือ 10% และเลื่อนการขึ้นภาษีออกไปอีก 90 วัน (ยกเว้นแคนาดา, เม็กซิโก และจีน) โดย

  • แคนาดาและเม็กซิโก ยังคงถูกเก็บภาษีนำเข้าที่ระดับ 25%
  • จีน ถูกปรับเพิ่มภาษีนำเข้าเป็น 125% หลังจากที่จีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ จาก 34% เป็น 84%

 

Finnomena Funds ประเมินว่า การประกาศลดภาษีนำเข้าและเลื่อนมาตรการภาษีบางส่วนออกไปอีก 90 วันโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือทางการเมืองและการเจรจาต่อรอง มากกว่าการมุ่งเก็บรายได้ภาษีอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันเราเริ่มเห็นแรงต้านนโยบายของทรัมป์จากคะแนนนิยมที่เริ่มถดถอย และความเห็นภายในพรรคที่เริ่มแตกต่างมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การ Rollback ภาษีบางส่วน หากสามารถบรรลุข้อตกลงกับบางประเทศได้ในอนาคต หรือเปลี่ยนไปใช้มาตรการภาษีที่มีลักษณะเจาะจงมากขึ้น แทนการใช้มาตรการแบบครอบคลุมในวงกว้าง

ปรับพอร์ตรับมือมรสุมภาษี: ตั้งหลัก ไม่ตั้งรับ

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 03/03/2025

จากแรงขายในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ค่า PE Valuation ของหลายตลาดอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย โดยเฉพาะในกลุ่มตลาดหุ้นหลักทั่วโลก ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสนับสนุนสำหรับนักลงทุนที่มีมุมมองระยะกลางถึงยาว

  • S&P 500 เทรดที่ 19.1 เท่า
  • Nasdaq 100 เทรดที่ 22.3 เท่า
  • STOXX 600 เทรดที่ 12.8 เท่า
  • MSCI Asia ex China เทรดที่ 11.4 เท่า
  • MSCI China เทรดที่ 10.0 เท่า

 

ด้วยปัจจัยดังกล่าว Finnomena Funds จึงปรับคำแนะนำเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากช่วงก่อนหน้านี้แนะนำให้ “Wait and See” เพื่อเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน

รายละเอียดกองทุนที่แนะนำ

K-GSELECTU-A(A)

  • ลงทุนในกองทุน JPMorgan Global Select Equity ETF
  • กองทุนจะไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
  • กองทุนหลักมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวสูงกว่าดัชนีชี้วัด (active management)

จัดทำโดยบลป. เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ปรับพอร์ตประจำเดือนเมษายน 2025: รับมือมรสุมภาษี ตั้งหลัก ไม่ตั้งรับ

Finnomena Funds
ปรับพอร์ตรับมือมรสุมภาษี: ตั้งหลัก ไม่ตั้งรับ

Executive Summary

  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศลดภาษีนำเข้าทั้งหมดเหลือ 10% และเลื่อนการขึ้นภาษีออกไปอีก 90 วัน (ยกเว้นแคนาดา, เม็กซิโก และจีน) สะท้อนให้เห็นว่าภาษีกำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือต่อรอง มากกว่าการจัดเก็บจริง
  • เริ่มมีแรงต้านต่อนโยบายการค้าของทรัมป์ภายในสหรัฐฯ ทั้งจากคะแนนนิยมที่ลดลงนับตั้งแต่เริ่มดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง และความขัดแย้งภายในทีมงานและผู้สนับสนุน
  • แม้สหรัฐฯ และจีนยังคงเก็บภาษีตอบโต้ในระดับสูง ซึ่งไม่ยั่งยืนและอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของทุกฝ่าย แต่เชื่อว่าสุดท้ายจะนำไปสู่การเจรจา เช่นเดียวกับแนวโน้มที่สหรัฐฯ เลื่อนการขึ้นภาษีกับประเทศอื่น ๆ
  • ปรับคำแนะนำการลงทุนขึ้นเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยง

ภาพรวมคำแนะนำ

  • พอร์ต All Balance

  • พอร์ต GIF

    • ลดสัดส่วน KKP PLUS 10%
    • เพิ่มสัดส่วน ABGDD-R 10%

 

ปรับพอร์ตรับมือมรสุมภาษี: ตั้งหลัก ไม่ตั้งรับ


บทวิเคราะห์: ปรับพอร์ตรับมือมรสุมภาษี

จากบทความ สรุปคำแนะนำลงทุน: สหรัฐฯ เก็บภาษีตอบโต้ ครั้งประวัติศาสตร์! และ อัปเดตคำแนะนำลงทุน: โลกปั่นป่วนด้วยภาษีตอบโต้ของ ‘ทรัมป์’ ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศลดอัตราภาษีนำเข้า (Reciprocal Tariff) ทั้งหมดลงเหลือ 10% และเลื่อนการขึ้นภาษีออกไปอีก 90 วัน (ยกเว้นแคนาดา, เม็กซิโก และจีน) โดย

  • แคนาดาและเม็กซิโก ยังคงถูกเก็บภาษีนำเข้าที่ระดับ 25%
  • จีน ถูกปรับเพิ่มภาษีนำเข้าเป็น 125% หลังจากที่จีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ จาก 34% เป็น 84%

 

Finnomena Funds ประเมินว่า การประกาศลดภาษีนำเข้าและเลื่อนมาตรการภาษีบางส่วนออกไปอีก 90 วันโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือทางการเมืองและการเจรจาต่อรอง มากกว่าการมุ่งเก็บรายได้ภาษีอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันเราเริ่มเห็นแรงต้านนโยบายของทรัมป์จากคะแนนนิยมที่เริ่มถดถอย และความเห็นภายในพรรคที่เริ่มแตกต่างมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การ Rollback ภาษีบางส่วน หากสามารถบรรลุข้อตกลงกับบางประเทศได้ในอนาคต หรือเปลี่ยนไปใช้มาตรการภาษีที่มีลักษณะเจาะจงมากขึ้น แทนการใช้มาตรการแบบครอบคลุมในวงกว้าง

ปรับพอร์ตรับมือมรสุมภาษี: ตั้งหลัก ไม่ตั้งรับ

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 03/03/2025

จากแรงขายในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ค่า PE Valuation ของหลายตลาดอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย โดยเฉพาะในกลุ่มตลาดหุ้นหลักทั่วโลก ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสนับสนุนสำหรับนักลงทุนที่มีมุมมองระยะกลางถึงยาว

  • S&P 500 เทรดที่ 19.1 เท่า
  • Nasdaq 100 เทรดที่ 22.3 เท่า
  • STOXX 600 เทรดที่ 12.8 เท่า
  • MSCI Asia ex China เทรดที่ 11.4 เท่า
  • MSCI China เทรดที่ 10.0 เท่า

 

ด้วยปัจจัยดังกล่าว Finnomena Funds จึงปรับคำแนะนำเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากช่วงก่อนหน้านี้แนะนำให้ “Wait and See” เพื่อเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน

รายละเอียดกองทุนที่แนะนำ

K-GSELECTU-A(A)

  • ลงทุนในกองทุน JPMorgan Global Select Equity ETF
  • กองทุนจะไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
  • กองทุนหลักมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวสูงกว่าดัชนีชี้วัด (active management)

 

ปรับพอร์ตรับมือมรสุมภาษี: ตั้งหลัก ไม่ตั้งรับ

Source: kasikornasset.com as of 11/04/2025

ABGDD-R

  • ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนต่างประเทศ ชื่่อ abrdn SICAV I – Global Dynamic Dividend Fund Z Gross MIncA USD
  • กองทุนหลักจะลงทุนในหุ้นหรือสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับหุ้นทั่วโลก โดยเน้นหุ้นที่มีศักยภาพสร้างกระแสรายได้จากเงินปันผลและการเติบโตของมูลค่าในระยะยาว โดยเลือกหุ้นรายตัวจากการวิเคราะห์พื้นฐาน และอาจลงทุนเพียงเล็กน้อยในหุ้นที่มีเหตุการณ์พิเศษเพื่อโอกาสรับเงินปันผลพิเศษ
  • กองทุนหลักมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวสูงกว่าดัชนีชี้วัด (active management)
  • ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน 95.7%

 

ปรับพอร์ตรับมือมรสุมภาษี: ตั้งหลัก ไม่ตั้งรับ

Source: aberdeeninvestments.com as of 11/04/2025

KKP PLUS

  • กองทุนลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชนที่มีความมั่นคง อายุเฉลี่ยของพอร์ตไม่เกิน 1.5 ปี และต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ BBB+ ขึ้นไป
  • อาจลงทุนในต่างประเทศไม่เกิน 40% ของ NAV พร้อมป้องกันความเสี่ยงค่าเงินเกือบทั้งหมด
  • ไม่ลงทุนในหุ้น และบริหารกองทุนแบบเชิงรุก (Active Management)

 

ปรับพอร์ตรับมือมรสุมภาษี: ตั้งหลัก ไม่ตั้งรับ

Source: am.kkpfg.com as of 11/04/2025

จัดทำโดยบลป. เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Finnomena Funds Market Alert: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงต่อ หลังพุ่งขึ้นสูงสุดตั้งแต่ปี 2008 วานนี้

Finnomena Funds
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงต่อ หลังพุ่งขึ้นสูงสุดตั้งแต่ปี 2008 วานนี้

เมื่อคืนวันที่ 11 เมษายน 2025 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P500) และ ดัชนี NASDAQ 100 ปรับตัวลงแรงกว่า -3.46% และ -4.19% ตามลำดับ หลังจากเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2025 ตลาดหุ้นสหรัฐฯได้ปรับตัวขึ้นแรงกว่า ขึ้นแรงกว่า 9.51% และ 12.02% ตามลำดับ การปรับตัวลงในวันนี้ส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสาน โดยตลาดหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX) ปรับตัวลง -3.73% และตลาดหุ้นเกาหลี (KOSPI) -0.85% ด้านตลาดหุ้นเวียดนาม (VN Index) ปรับตัวขึ้น +2.39% และดัชนี HSCEI หรือ หุ้นจีน H-Shares +1.01%

ความผันผวนในตลาดวันนี้เกิดขึ้นหลังจาก โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศ “ลด” อัตราภาษีนำเข้าลงมาอยู่ที่ระดับ 10% และ “เลื่อน” กำหนดการขึ้นภาษีตามที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ออกไปเป็นระยะเวลา 90 วัน โดยมาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ ยกเว้นแคนาดา เม็กซิโก และจีน โดยคงอัตราภาษีนำเข้าสำหรับแคนาดาและเม็กซิโกไว้ที่ 25% และเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าจากจีนขึ้นเป็น 145%
การประกาศเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าจากจีน เป็นผลต่อเนื่องมาจากการตอบโต้ด้านภาษีของจีน โดยหลังจากที่ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้า และสกอตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ออกมาให้สัมภาษณ์ว่านานาประเทศไม่ควรตอบโต้มาตรการดังกล่าว แต่รัฐบาลจีนกลับประกาศขึ้นอัตราภาษีตอบโต้กับสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอีก 50% จาก 34% สู่ระดับ 84% ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.เป็นต้นไป

ในยุโรป ได้มีการระงับแผนการเก็บภาษีตอบโต้ต่อสหรัฐฯ เป็นเวลา 90 วัน ในขณะที่ประเทศในเอเชียอื่น ๆ เริ่มเข้าสู่กระบวนการเจรจาทางการค้า โดยล่าสุด เวียดนามได้มีการหารือร่วมกับนายสก็อตต์ เบสเซนต์ เพื่อหาแนวทางความร่วมมือด้านการค้าเพิ่มเติม ขณะที่เกาหลีกำลังพิจารณานำเข้า LNG พร้อมส่งทีมเจรจาไปยังสหรัฐฯ ในขณะที่จีนก็มีการตอบโต้ในรูปแบบอื่น โดยล่าสุดได้ประกาศจำกัดจำนวนภาพยนตร์จากสหรัฐฯ ที่อนุญาตให้เข้าฉายในประเทศ

Finnomena Funds มองว่าการประกาศเลื่อนการขึ้นภาษี 90 วัน เป็นไปในทิศทางที่เราคาดไว้ในรายงานฉบับก่อนว่า การขึ้นภาษีของทรัมป์มีเป้าหมายเพื่อการ “เจรจา (make deal)” มากกว่าการจะต้องการเก็บภาษีในระดับสูงสุดตามที่เคยประกาศไว้ในวันที่ 2 เมษายน เราเริ่มเห็นแรงต้านจากสังคมในสาธารณะต่อนโยบายการค้าของทรัมป์ ทั้งจากคะแนนนิยมของทรัมป์ที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง จนไปถึงความขัดแย้งที่เริ่มเกิดขึ้นภายในระหว่างผู้สนับสนุนและทีมงานของทรัมป์เอง

อย่างไรก็ตามแม้สหรัฐฯ กับจีนยังคงระดับภาษีตอบโต้ในระดับสูง ซึ่งไม่ยั่งยืนและจะสร้างอันตรายทางเศรษฐกิจกับทุกฝ่าย เราเชื่อว่าสุดท้ายแล้วทั้งสองฝ่ายจะนำไปสู่การเจรจา เช่นเดียวกับทิศทางที่มีการเลื่อนการขึ้นภาษีกับประเทศอื่น ๆ

เราจึงปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยงได้ หลังจากที่เราแนะนำ Wait and See เพื่อเตรียมลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2025

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

มั่นใจขึ้น สบายใจขึ้น ชีวิตง่ายขึ้น เมื่อมีผู้แนะนำการลงทุนจาก Finnomena Funds

Finnomena Funds
มั่นใจขึ้น สบายใจขึ้น ชีวิตง่ายขึ้น เมื่อมีผู้แนะนำการลงทุนจาก Finnomena Funds

บอกเล่าประสบการณ์การมีผู้แนะนำการลงทุนจาก Finnomena Funds โดย คุณณัฏฐ์วรรณ สิริวรรณสถาพร


ก่อนใช้บริการผู้แนะนำการลงทุนจาก Finnomena Funds คุณณัฏฐ์วรรณเล่าว่า ตอนนั้นลงทุนอย่างไม่ค่อยมีความรู้ ความเข้าใจในสถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตที่เศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การลงทุนที่ผ่านมามีความผันผวนสูง พอร์ตขาดทุนมาโดยตลอด

“รู้สึกสับสน กังวล ไม่รู้ข่าวสารเชิงลึก ทั้งทางเทคนิคและแนวโน้มของกองทุนที่ลงทุนไปว่าจะไปทิศทางใดในอนาคต นอกจากนี้เวลาเกิดวิกฤตก็ไม่กล้าตัดสินใจจะ cut loss กองทุนที่ขาดทุน จึงขาดทุนมากขึ้นเรื่อย ๆ และไม่กล้าซื้อถัวเฉลี่ยเพื่อให้กองทุนที่ลงทุนไปกลับมาเท่าทุนหรือมีกำไรในภาวะที่ตลาดขาขึ้น”

คุณณัฏฐ์วรรณประทับใจในบริการผู้แนะนำการลงทุนจาก Finnomena Funds ตรงที่ผู้แนะนำการลงทุนมีความรู้และความเข้าใจในกองทุน เข้าใจภาวะเศรษฐกิจไทยและต่างประเทศเป็นอย่างดี

นอกจากนี้ คุณณัฏฐ์วรรณก็สามารถติดต่อ สอบถามการลงทุนจากผู้แนะนำการลงทุนได้ตลอดเวลา ทำให้มีความเชื่อมั่นและความสบายใจในการลงทุน

สำหรับเคสที่คุณณัฏฐ์วรรณประทับใจ คือตอนที่ได้รับคำแนะนำให้กระจายความเสี่ยง โดยจัดพอร์ตกองทุนต่าง ๆ ทั่วโลกให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมในพอร์ตการลงทุน เช่น แนะนำสับเปลี่ยนกองทุนหุ้นจีนที่ตลาดขาขึ้นช่วงหนึ่งเพื่อลดสัดส่วนหุ้นจีนที่มากเกินไป ไปเข้ากองทุนอเมริกาที่ตลาดกำลังเป็นขาขึ้น 

ผู้แนะนำการลงทุนยังได้แนะนำคุณณัฏฐ์วรรณให้ลงทุนใน GURUPORT ซึ่งช่วยให้การลงทุนเป็นเรื่องสะดวกและมีระบบมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่รับได้ในระยะยาว

“พอมีผู้แนะนำการลงทุนจาก Finnomena Funds ก็รู้สึกมั่นใจและสบายใจในการลงทุนมากขึ้น มีเวลาไปทำอย่างอื่น ไม่ต้องคอยกังวลเรื่องพอร์ต เพราะถ้ามีการปรับ ผู้แนะนำจะแจ้งให้ทราบทุกครั้ง คอยเตือนเวลาลื

ชีวิตง่ายขึ้น เวลาจะลงทุนเพิ่มก็จะสอบถามผู้แนะนำการลงทุนถึงสถานการณ์ปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร กองทุนไหนน่าสนใจ แล้วค่อยไปศึกษาเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจต่อไป”

สัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ กับการมีผู้แนะนำการลงทุนจาก Finnomena Funds คอยอยู่เคียงข้าง ดูรายละเอียดและลงชื่อรับบริการได้ที่ https://www.finnomena.com/wealth-connect/ 


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน l สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00 -17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @Finnomenaport

มัดรวม 30 หุ้น SETHD จ่ายปันผลสูงในตลาดหุ้นไทย

Definit
30 หุ้น SETHD

แม้ว่าดัชนี SET Index จะปรับลดลงต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา แต่หุ้นในกลุ่ม SETHD (SET High Dividend) ยังคงโดดเด่นกว่าตลาดโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ 

Source: Finnomena Funds, Bloomberg  as of 31/03/2025

โดยหุ้นในกลุ่ม SETHD มีประมาณการกำไรที่แข็งแกร่งกว่าอย่างชัดเจน ด้วย EPS ปัจจุบันที่สูงถึง 121.7 บาท เทียบกับตลาดโดยรวมที่มี EPS เพียง 95.1 บาท

Source: Finnomena Funds, Bloomberg  as of 31/03/2025

ไม่เพียงแค่กำไรปัจจุบันเท่านั้น แนวโน้มในอนาคตของ SETHD ยังดูสดใสกว่า เห็นได้จากประมาณการ EPS ในปีหน้าที่คาดว่าจะเติบโตถึง 127.3 บาท ในขณะที่ค่า P/E ของกลุ่มนี้ยังอยู่ในระดับน่าสนใจที่ 9.1 เท่า ซึ่งต่ำกว่าตลาดโดยรวมที่ 12.1 เท่า สะท้อนว่านักลงทุนสามารถซื้อหุ้นใน SETHD ได้ในราคาที่สมเหตุสมผลกว่า

Source: Finnomena Funds, Bloomberg  as of 31/03/2025

จุดเด่นสำคัญของ SETHD ที่ไม่อาจมองข้ามคือผลตอบแทนเงินปันผลที่สูงถึง 5.9% เทียบกับตลาดโดยรวมที่ให้ผลตอบแทนเพียง 4.4% ซึ่งในสภาวะที่ตลาดยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน การลงทุนในหุ้นที่มีเงินปันผลสูงอย่างกลุ่ม SETHD จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการสร้างกระแสรายได้ที่สม่ำเสมอ พร้อมรับโอกาสการเติบโตในอนาคต

รวม 30 หุ้น SETHD จ่ายปันผลสูงสุดในตลาดหุ้นไทย

*หมายเหตุ ราคาและสัดส่วนทางการเงิน ณ วันที่ 8 เมษายน 2025

1. RCL – อัตราจ่ายปันผล 11.06%

บริษัทเดินเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (เรือคอนเทนเนอร์)

P/E 4.86 เท่า P/BV 0.33 เท่า ราคาปัจจุบัน 21.20 บาท

2. SIRI – อัตราจ่ายปันผล 10.23%

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะคอนโดและบ้านแนวราบ (แสนสิริ)

P/E 4.86 เท่า P/BV 0.51 เท่า ราคาปัจจุบัน 1.39 บาท

3. SPALI – อัตราจ่ายปันผล 8.95%

พัฒนาโครงการบ้านจัดสรรและคอนโด (ศุภาลัย)

P/E 5.02 เท่า P/BV 0.58 เท่า ราคาปัจจุบัน 15.90 บาท

4. PRM – อัตราจ่ายปันผล 8.46%

ขนส่งน้ำมันทางเรือ และบริการเรือสนับสนุนในอุตสาหกรรมพลังงาน

P/E 6.33 เท่า P/BV 1.15 เท่า ราคาปัจจุบัน 5.40 บาท

5. PTTEP – อัตราจ่ายปันผล 8.33%

บริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในเครือ ปตท.

P/E 5.92 เท่า P/BV 0.88 เท่า ราคาปัจจุบัน 97.50 บาท

6. TISCO – อัตราจ่ายปันผล 7.81%

ธนาคารและบริการทางการเงิน เน้นสินเชื่อเช่าซื้อ

P/E 11.31 เท่า P/BV 1.81 เท่า ราคาปัจจุบัน 96.25 บาท

7. AP – อัตราจ่ายปันผล 7.79%

พัฒนาอสังหาฯ บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม คอนโด

P/E 5.38 เท่า P/BV 0.62 เท่า ราคาปัจจุบัน 7.30 บาท

8. TOP – อัตราจ่ายปันผล 7.60%

กลั่นน้ำมัน และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี (ไทยออยล์)

P/E 5.27 เท่า P/BV 0.32 เท่า ราคาปัจจุบัน 21.50 บาท

9. LH – อัตราจ่ายปันผล 7.58%

พัฒนาโครงการอสังหาฯ และถือหุ้นในโรงแรม-ศูนย์การค้า (แลนด์แอนด์เฮ้าส์)

P/E 9.26 เท่า P/BV 0.99 เท่า ราคาปัจจุบัน 4.18 บาท

10. KBANK – อัตราจ่ายปันผล 7.43%

ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (กสิกรไทย)

P/E 8.12 เท่า P/BV 0.69 เท่า ราคาปัจจุบัน 149.50 บาท

11. KKP – อัตราจ่ายปันผล 7.19%

ธนาคารและธุรกิจตลาดทุน (เกียรตินาคินภัทร)

P/E 9.30 เท่า P/BV 0.73 เท่า ราคาปัจจุบัน 52.00 บาท

12. BANPU – อัตราจ่ายปันผล 7.08%

ถ่านหิน พลังงานไฟฟ้า และก๊าซธรรมชาติ

P/E – P/BV 0.37 เท่า ราคาปัจจุบัน 4.30 บาท

13. QH – อัตราจ่ายปันผล 7.05%

พัฒนาโครงการบ้าน คอนโด และลงทุนใน LH, HMPRO (ควอลิตี้เฮ้าส์)

P/E 7.95 เท่า P/BV 0.57 เท่า ราคาปัจจุบัน 1.45 บาท

14. KTB – อัตราจ่ายปันผล 6.57%

ธนาคารรัฐวิสาหกิจ (กรุงไทย)

P/E 7.68 เท่า P/BV 0.77 เท่า ราคาปัจจุบัน 21.20 บาท

15. PTT – อัตราจ่ายปันผล 6.53%

ธุรกิจน้ำมัน ก๊าซ พลังงาน และเคมีภัณฑ์ (ปตท.)

P/E 4.86 เท่า P/BV 0.33 เท่า ราคาปัจจุบัน 30.50 บาท

16. TCAP – อัตราจ่ายปันผล 6.47%

บริษัทแม่ของธนาคารธนชาตเดิม (ทุนธนชาต)

P/E 10.32 เท่า P/BV 0.81 เท่า ราคาปัจจุบัน 49.00 บาท

17. RATCH – อัตราจ่ายปันผล 6.40%

ธุรกิจโรงไฟฟ้าในและต่างประเทศ (ราช กรุ๊ป)

P/E 12.10 เท่า P/BV 0.58 เท่า ราคาปัจจุบัน 24.20 บาท

18. TASCO – อัตราจ่ายปันผล 6.38%

ผลิตและจำหน่ายยางมะตอย

P/E 15.89 เท่า P/BV 1.44 เท่า ราคาปัจจุบัน 14.20 บาท

19. WHA – อัตราจ่ายปันผล 6.15%

พัฒนาเขตอุตสาหกรรม-คลังสินค้า-โลจิสติกส์

P/E 10.14 เท่า P/BV 1.62 เท่า ราคาปัจจุบัน 2.46 บาท

20. BBL – อัตราจ่ายปันผล 5.88%

ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (ธนาคารกรุงเทพ)

P/E 5.91 เท่า P/BV 0.48 เท่า ราคาปัจจุบัน 134.50 บาท

21. BAM – อัตราจ่ายปันผล 5.65%

บริหารหนี้ด้อยคุณภาพ (บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์)

P/E 12.40 เท่า P/BV 0.45 เท่า ราคาปัจจุบัน 5.90 บาท

22. TTB – อัตราจ่ายปันผล 5.32%

ธนาคาร TMB Thanachart หลังควบรวม

P/E 8.77 เท่า P/BV 0.79 เท่า ราคาปัจจุบัน 1.87 บาท

23. MEGA – อัตราจ่ายปันผล 5.29%

ผลิตและจัดจำหน่ายยาและอาหารเสริม (Mega We Care)

P/E 12.88 เท่า P/BV 2.67 เท่า ราคาปัจจุบัน 28.25 บาท

24. HMPRO – อัตราจ่ายปันผล 5.06%

ร้านขายวัสดุก่อสร้างและของใช้ในบ้าน (HomePro) 

P/E 17.14 เท่า P/BV 4.12 เท่า ราคาปัจจุบัน 8.60 บาท

25. JMT – อัตราจ่ายปันผล 4.93%

บริหารหนี้และติดตามหนี้ (JMT Network)

P/E 11.53 เท่า P/BV 0.72 เท่า ราคาปัจจุบัน 11.90 บาท

26. COM7 – อัตราจ่ายปันผล 4.32%

จำหน่ายสินค้าไอทีและมือถือ (Banana, BaNANA Outlet)

P/E 13.45 เท่า P/BV 5.03 เท่า ราคาปัจจุบัน 17.80 บาท

27. BCPG – อัตราจ่ายปันผล 4.18%

พลังงานทดแทน เช่น โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์-ลม (ในเครือ บมจ.บางจาก)

P/E 10.74 เท่า P/BV 0.64 เท่า ราคาปัจจุบัน 6.10 บาท

28. ADVANC – อัตราจ่ายปันผล 3.82%

ผู้ให้บริการมือถือ AIS

P/E 23.34 เท่า P/BV 8.32 เท่า ราคาปัจจุบัน 270.00 บาท

29. BCP – อัตราจ่ายปันผล 2.71%

กลั่นน้ำมันและธุรกิจพลังงาน (บางจากฯ)

P/E 77.08 เท่า P/BV 0.86 เท่า ราคาปัจจุบัน 36.25 บาท

30. GULF – อัตราจ่ายปันผล N/A

โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

P/E 4.86 เท่า P/BV 0.33 เท่า ราคาปัจจุบัน 42.25 บาท

 

รายการหุ้นในกลุ่ม SETHD ที่นำเสนอนี้ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจในการวางกลยุทธ์การลงทุนในระยะยาว อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรพิจารณารวมถึงศึกษาปัจจัยพื้นฐานและแนวโน้มตลาดอย่างละเอียด เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความท้าทาย และเปิดโอกาสในการสร้างผลตอบแทนในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน

DSS เปิดบัญชี

Definit SET Select พลิกกลยุทธ์ลงทุนหุ้นไทย ช่วยคัดเลือกหุ้นไทยเน้น ๆ ไม่เกิน 20 ตัว พิจารณา 3 ปัจจัย

Earnings หุ้นที่ถูกปรับประมาณการกำไรขึ้น
Valuation หุ้นที่มูลค่าถูกกว่าอุตสาหกรรม
Technical หุ้นที่มีโมเมนตัมเชิงบวกของราคาในระยะสั้น

สนใจรับบริการ คลิกเลย


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | การลงทุนอาจมีการกระจุกตัวสูงทั้งในรายหุ้นและรายอุตสาหกรรม

ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ดี บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด (บริษัท) ไม่สามารถยืนยันหรือรับรองความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ บทวิเคราะห์ในเอกสารนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงหลักเกณฑ์ทางวิชาการเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์ และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ การตัดสินใจซื้อหรือขาย หลักทรัพย์ใดใดของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลมาจากวิจารณญาณของผู้อ่าน โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใด ๆ กับ บริษัท

โอกาสลงทุนหุ้นเวียดนาม และหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ หลังทรัมป์กลับลำ เลื่อนเก็บภาษี

Finnomena Funds
โอกาสลงทุนหุ้นเวียดนาม และหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ

ช่วงที่ผ่านมา โลกการลงทุนเผชิญแรงสั่นสะเทือนจากความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้าของสหรัฐฯ เมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าแบบสูงลิ่ว เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2025 ทำให้ตลาดหุ้นหลายแห่งทั่วโลกปรับตัวลงแรง

แต่เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2025 ทรัมป์ตัดสินใจ “กลับลำ” ลดและเลื่อนการเก็บภาษีออกไปอีก 90 วัน ยกเว้นจีน ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวทันที และอาจกลายเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุน

หุ้นเวียดนาม ฟื้นตัวหลังจากปรับฐานลึก

ตลาดหุ้นเวียดนาม (VN30) ประสบกับการปรับฐานที่รุนแรงถึง -15% หลังจากเหตุการณ์วันที่ 2 เมษายนที่สร้างความกังวลเกี่ยวกับการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ ทำให้เกิดแรงกดดันต่อหุ้นเวียดนามที่ได้รับผลกระทบสูงจากนโยบายนี้ 

อย่างไรก็ตาม เมื่อความกังวลเริ่มคลี่คลายในช่วงวันที่ 9 เมษายน 2025 ตลาดหุ้นเวียดนามก็เริ่มฟื้นตัว โดยมีการปรับตัวขึ้นถึง 6.9% ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการตอบสนองในเชิงบวกต่อข่าวดีจากสหรัฐฯ

ในขณะที่ Valuation ของตลาดหุ้นเวียดนามในตอนนี้ถือว่าถูกมาก ๆ ด้วยระดับ 12-M Forward P/E อยู่ที่ 7.3 เท่า ซึ่งถือว่าอยู่ที่ระดับประมาณ -2 S.D. ในรอบ 10 ปี ซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ราคาหุ้นในปัจจุบันอาจต่ำกว่าความเป็นจริงและอาจมีโอกาสในการเติบโตในอนาคต

หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ความหวังใหม่หลังจากการปรับฐาน

ในอีกด้าน หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีทั่วโลกก็เคลื่อนไหวอย่างผันผวนในช่วงที่ผ่านมา แม้จะไม่ใช่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาษีนำเข้า แต่ก็ถูกกดดันจากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย (Recession Fear) และแรงขายในตลาดพันธบัตร 

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นเทคโนโลยียังไม่ได้เปลี่ยนแปลง และยังคงเป็นธีมการเติบโตที่สำคัญของโลกในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาว่า Nasdaq 100 ยังคงซื้อขายที่ Forward P/E ประมาณ 23.2 เท่า ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย 10 ปีที่ผ่านมา

ทรัมป์กลับลำ ตลาดฟื้นตัว?

ท่าที “กลับลำ” ของโดนัลด์ ทรัมป์เรื่องการเก็บภาษีนำเข้า อาจไม่ใช่แค่ความพยายามบรรเทาความตึงเครียดระยะสั้น แต่สะท้อนแนวโน้มของ “การเจรจา” มากกว่า “การเผชิญหน้า” ในการจัดการนโยบายการค้า ซึ่งส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกเริ่มตอบสนองในเชิงบวกมากขึ้น

แม้จะยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าความผันผวนจะสิ้นสุดลง แต่การเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐฯ อาจช่วยเปิดโอกาสให้บางสินทรัพย์เริ่มฟื้นตัว นักลงทุนจึงอาจใช้ช่วงเวลานี้ทบทวนโอกาสในสินทรัพย์ที่ราคาย่อแรงเกินพื้นฐาน โดยไม่ลืมประเมินความเสี่ยงอย่างรอบด้าน

กองทุนแนะนำโดย Finnomena Funds

  • กองทุน PRINCIPAL VNEQ-A เป็นกองทุนหุ้นเวียดนามศักยภาพสูง ซึ่งเป็นตลาดที่ถูกและดี พร้อมด้วย Sentiment จากการปรับโครงสร้างระบบราชการ ลดจำนวนบุคลากร เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน นอกจากนี้ เวียดนามยังมีปัจจัยหนุนในการเตรียมเข้าสู่ EM Market ของดัชนี FTSE ในปีนี้ 

 

  • กองทุน B-INNOTECH ซึ่งเป็นกองทุน F-Pick ในหมวดกองทุนหุ้นเทคโนโลยี ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลก โดยคัดเลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีการเติบโตของกำไรที่ดี และมี Valuation ไม่แพงเกินไป เช่น TSMC, Apple, Amazon, Alphabet และ Microsoft ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกเทขายจากความกังวลเรื่องภาษีนำเข้า

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

 

Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) อัปเดตมุมมองเดือนเมษายน 2025: รับมือตลาดไม่นิ่ง ด้วยกลยุทธ์กองทุน Absolute Return

Eastspring Thailand
รับมือตลาดไม่นิ่ง ด้วยกลยุทธ์กองทุน Absolute Return

ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนอย่างมากในเดือนมีนาคม โดยฟื้นตัวได้ช่วงสั้นๆ กลางเดือนหลังการประชุม Fed ที่คงอัตราดอกเบี้ยและยืนยันคาดการณ์การลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ ก่อนจะกลับมาปรับตัวลงแรงในช่วงที่เหลือของเดือน ปิดท้ายเดือนด้วยผลตอบแทนติดลบ (MSCI WORLD -4.64%) ปัจจัยกดดันหลักมาจากความกังวลที่ทวีความรุนแรงขึ้นเกี่ยวกับสงครามการค้าภายใต้การนำของ ปธน. ทรัมป์ ซึ่งประกาศใช้และขู่จะใช้มาตรการภาษีศุลกากรเพิ่มเติมหลายรายการ ทั้งกับยานยนต์, อินเดีย, และประเทศที่ซื้อน้ำมันจากเวเนซุเอลา ส่งผลให้ความคาดหวังเงินเฟ้อของผู้บริโภคสหรัฐฯ พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 32 ปี ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงตามตลาดโลก ส่วนตลาดหุ้นจีนเผชิญความผันผวนจากทั้งความหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและแรงกดดันจากสงครามการค้า ในทางกลับกัน ตลาดหุ้นอินเดียได้รับความสนใจมากขึ้นจากข่าวความคืบหน้าในการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ

หุ้นจีนในกลุ่มเทคโนโลยียังคงได้รับความสนใจจากกระแส AI ที่ต่อเนื่องมาจากต้นปี แม้จะมีความผันผวนเพิ่มขึ้น การประชุมใหญ่ NPC ในช่วงต้นเดือนมีนาคม รัฐบาลจีนได้ตั้งเป้าหมายการเติบโต GDP ไว้ที่ 5% พร้อมส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการขาดดุลงบประมาณที่สูงขึ้นและการออกพันธบัตรพิเศษ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจเดือนกุมภาพันธ์ที่ออกมายังคงอ่อนแอ โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาด สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ยังเปราะบางและแรงกดดันจากภาวะเงินฝืด นอกจากนี้ ความตึงเครียดทางการค้ากับสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ด้วยเหตุนี้ แม้เราจะยังคงมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นจีนกลุ่ม H-share จากน้ำหนักหุ้นเทคโนโลยีและบทบาทในดัชนี EM แต่แนะนำให้นักลงทุนใช้ความระมัดระวัง ทยอยสะสมผ่านกลุ่มหุ้นเอเชียโดยรวม หรือพิจารณาหุ้นเอเชียแบบ Low Volatility เพื่อกระจายความเสี่ยงจากสงครามการค้าที่อาจรุนแรงกว่าคาด

สงครามการค้าและสงครามรัสเซีย-ยูเครน ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่สร้างความผันผวนในตลาดการลงทุน ในเดือนมีนาคม ปธน. ทรัมป์ยังคงเดินหน้ากดดันทางการค้าอย่างหนัก โดยประกาศขึ้นภาษีนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วน 25%, เตรียมเก็บภาษีตอบโต้อินเดีย, และเก็บภาษีประเทศที่ซื้อน้ำมันจากเวเนซุเอลา ซึ่งน่าสังเกตว่ามาตรการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อบริษัทสหรัฐฯ เองด้วย (เช่น ผู้ผลิตรถยนต์ที่มีฐานในเม็กซิโก หรือผู้นำเข้าน้ำมันเวเนซุเอลา) ทำให้อาจเป็นกลยุทธ์เพื่อกดดันคู่ค้าก่อนเส้นตายการเจรจาภาษีศุลกากรในเดือนเมษายน ขณะเดียวกัน การเจรจาสันติภาพรัสเซีย-ยูเครนมีความคืบหน้า โดยมีการตกลงหยุดยิงเหนือน่านน้ำทะเลดำภายใต้การไกล่เกลี่ยของสหรัฐฯ ที่ซาอุดีอาระเบีย แต่ผลลัพธ์สุดท้ายยังคงคาดเดาได้ยาก เรายังเชื่อว่าทรัมป์ต้องการให้สงครามยุติโดยเร็วเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง แต่ท่าทีที่ไม่แน่นอนและความขัดแย้งที่ฝังลึกอาจทำให้การเจรจาไม่ราบรื่นนัก ด้วยความไม่แน่นอนที่สูงในระยะสั้น เรายังแนะนำเพิ่มสัดส่วนสินทรัพย์ปลอดภัยที่มักทำผลงานได้ดีในช่วงตลาดกังวล ได้แก่ ทองคำ, หุ้นกลุ่มการแพทย์ และตราสารหนี้ที่มีกลยุทธ์ลดความผันผวน

แนวโน้มดอกเบี้ยทั่วโลกยังคงแตกต่างกัน ในการประชุมเดือนมีนาคม Fed ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยและยังคงส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ แม้จะปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อขึ้นเล็กน้อยก็ตาม อย่างไรก็ตาม การทวีความรุนแรงของสงครามการค้าทำให้ตลาดและผู้บริโภคกังวลเรื่องเงินเฟ้อมากขึ้น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield) มีความผันผวนสูง ขณะที่ธนาคารกลางอื่นๆ เช่น ECB และ BoJ ต่างแสดงความกังวลต่อผลกระทบจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ และดำเนินนโยบายการเงินด้วยความระมัดระวังมากขึ้น (ECB ชะลอการลดดอกเบี้ย, BoJ กังวลเงินเฟ้อในประเทศ) เมื่อรวมกับสมมติฐานของเราที่ว่าสงครามการค้าอาจไม่ยืดเยื้อจนกระทบเงินเฟ้อสหรัฐฯ รุนแรงในระยะยาว เราจึงยังมองเห็นโอกาสในตลาดหุ้นภูมิภาคอื่นนอกเหนือจากสหรัฐฯ และแนะนำให้นักลงทุนใช้จังหวะย่อตัวเพื่อกระจายการลงทุน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตราสารหนี้โลก โดยเฉพาะที่กระจุกตัวในสหรัฐฯ ยังคงเผชิญความผันผวนของ Yield จากความกังวลเงินเฟ้อ เราจึงแนะนำกองทุนที่มีกลยุทธ์ Absolute Return เช่น ES-ALPHABONDS เพื่อช่วยลดความผันผวนของพอร์ตลงทุน

ภาพรวมการลงทุนประจำเดือนเมษายน 2025 คาดว่าตลาดหุ้นโลกจะยังคงเผชิญกับความผันผวนในระดับสูงต่อไป โดยเฉพาะจากความไม่แน่นอนของสงครามการค้าที่ ปธน. ทรัมป์ ที่ประกาศใช้มาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้เพิ่มเติม รวมถึงการเจรจาสันติภาพรัสเซีย-ยูเครนที่ยังดำเนินอยู่ เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นสหรัฐฯ ในระยะกลางถึงยาว ภายใต้สมมติฐานว่าท้ายที่สุดทรัมป์จะดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยไม่ทำให้เงินเฟ้อเร่งตัวรุนแรงจนควบคุมไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอน แนะนำกระจายการลงทุนไปยังกลุ่ม Defensive เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน เช่น ES-HEALTHCARE , ES-GINFRA ขณะที่ในฝั่งของตราสารหนี้ยังเป็นสินทรัพย์ที่ช่วยกระจายการลงทุนเช่นกัน อย่างไรก็ตามหลัง bond yield ปรับตัวลงมาค่อนข้างเร็ว เราจึงแนะนำกองทุนที่มีกลยุทธ์ยืดหยุ่นและมี Credit Rating สูงอย่าง ES-GINCOME และ ES-ALPHABONDS รวมถึงแนะนำกระจายการลงทุนในทองคำที่อาจได้รับประโยชน์จากความผันผวนที่เกิดขึ้นอย่าง ES-GOLD

ที่มา: บลจ.อีสท์สปริง วันที่ 8 เม.ย. 2025

สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena ผ่านคอมพิวเตอร์ >>  เว็บไซต์ Finnomena สำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน

โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน Finnomena Port และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notificationในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก

1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น

2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ

หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนการลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

อัปเดตคำแนะนำลงทุน: ปรับโหมดเข้าลงทุนหลังทรัมป์เลื่อนการขึ้นภาษีทั้งโลกยกเว้นจีน

Finnomena Funds
Finnomena Special Report

อัปเดตคำแนะนำการลงทุนจาก Finnomena Funds (10 เมษายน 2025) ปรับโหมดเข้าลงทุนหลังทรัมป์เลื่อนการขึ้นภาษีทั้งโลกยกเว้นจีน


สิ่งที่เกิดขึ้น

  • ล่าสุดในคืนวันที่ 9 เมษายน 2025 ตามเวลาไทย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศ “ลด” อัตราภาษีนำเข้าลงมาอยู่ที่ระดับ 10% และ “เลื่อน” กำหนดการขึ้นภาษีตามที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ออกไปเป็นระยะเวลา 90 วัน โดยมาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ ยกเว้นแคนาดา เม็กซิโก และจีน โดยคงอัตราภาษีนำเข้าสำหรับแคนาดาและเม็กซิโกไว้ที่ 25% และเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าจากจีนขึ้นเป็น 125%
  • การประกาศเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าจากจีน เป็นผลต่อเนื่องมาจากการตอบโต้ด้านภาษีของจีน โดยหลังจากที่ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้า และสกอตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ออกมาให้สัมภาษณ์ว่านานาประเทศไม่ควรตอบโต้มาตรการดังกล่าว แต่รัฐบาลจีนกลับประกาศขึ้นอัตราภาษีตอบโต้กับสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอีก 50% จาก 34% สู่ระดับ 84% ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.เป็นต้นไป
  • การประกาศลดและเลื่อนอัตราภาษีนำเข้าส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยในคืนวันที่ 9 เมษายน 2025 ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวขึ้นแรง  โดยดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นถึง 9.5% ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงสุดในวันเดียวนับตั้งแต่ปี 2008 ขณะที่ดัชนี Nasdaq 100 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 12.02% ซึ่งเป็นสถิติที่สูงสุดในวันเดียวนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2001 และดัชนี Russell 2000 ก็ปรับตัวขึ้นถึง 8.66%

 

trump favorability rating

ความเห็นของ Finnomena Funds

  • การประกาศเลื่อนการขึ้นภาษี 90 วัน เป็นไปในทิศทางที่เราคาดไว้ในรายงานฉบับก่อนว่า การขึ้นภาษีของทรัมป์มีเป้าหมายเพื่อการ “เจรจา (make deal)” มากกว่าการจะต้องการเก็บภาษีในระดับสูงสุดตามที่เคยประกาศไว้ในวันที่ 2 เมษายน
  • เราเริ่มเห็นแรงต้านจากสังคมในสาธารณะต่อนโยบายการค้าของทรัมป์ ทั้งจากคะแนนนิยมของทรัมป์ที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง จนไปถึงความขัดแย้งที่เริ่มเกิดขึ้นภายในระหว่างผู้สนับสนุนและทีมงานของทรัมป์เอง
  • อย่างไรก็ตามแม้สหรัฐฯ กับจีนยังคงระดับภาษีตอบโต้ในระดับสูง ซึ่งไม่ยั่งยืนและจะสร้างอันตรายทางเศรษฐกิจกับทุกฝ่าย เราเชื่อว่าสุดท้ายแล้วทั้งสองฝ่ายจะนำไปสู่การเจรจา เช่นเดียวกับทิศทางที่มีการเลื่อนการขึ้นภาษีกับประเทศอื่น ๆ

แนะนำกลยุทธ์การลงทุน

  • เราปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยงได้ หลังจากที่เราแนะนำ Wait and See เพื่อเตรียมลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2025 โดยได้คัดเลือกกองทุนที่มีโอกาสฟื้นตัวหลังตลาดหุ้นปรับฐานแรงในช่วงที่ผ่านมาดังนี้

กองทุนแนะนำ หลังตลาดหุ้นเริ่มฟื้นตัว

หุ้นเวียดนาม

ตลาดหุ้นเวียดนาม (VN30) ปรับฐานรุนแรง -15% หลังเหตุการณ์วันที่ 2 เมษายน 2025 จนถึงวันที่ 9 เมษายน 2025 เนื่องเวียดนามเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบสูงหากสหรัฐฯ มีการเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้า โดยจากความกังวลที่เริ่มคลี่คลาย ทำให้ในวันนี้ (10 เมษายน 2025) ตลาดหุ้นเวียดนามฟื้นตัว 6.9% ขณะที่ระดับ Valuation ของตลาดหุ้นถูกมากๆ อยู่ที่ 12-m forward P/E 7.3 เท่า หรือที่ระดับประมาณ -2 S.D. ในรอบ 10 ปี 

เรามองว่าที่ผ่านมาตลาดหุ้นเวียดนามตอบรับเชิงลบมาก และความตึงเครียดที่เริ่มผ่อนคลายลง จึงเป็นโอกาส “เข้าลงทุน” ในหุ้นเวียดนามผ่านกองทุน PRINCIPAL VNEQ–A และกองทุน KKP VGF-UI*

กองทุน PRINCIPAL VNEQ–A เป็นกองทุนความเสี่ยงสูง (ระดับ 6) มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือมีธุรกิจหลัก ในประเทศเวียดนามที่เชื่อว่ามีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต รวมทั้งตราสารทุนอื่นใดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องและ/หรือที่ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ/หรือกองทุนรวม โดยปัจจุบันกองทุน PRINCIPAL VNEQ–A ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน

กองทุน KKP VGF-UI* เป็นกองทุนความเสี่ยงสูงมากอย่างมีนัยสำคัญ (ระดับ 8+) โดยกองทุนหลักจดทะเบียนในประเทศเวียดนามและมีการบริหารแบบ Active Management ซึ่งสามารถลงทุนในหุ้นรายตัวโดยไม่มีข้อจำกัด Foreign Ownership Limit ทีมบริหารกองทุนเป็นคนเวียดนามช่วยทลายข้อจำกัดด้านภาษาทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มากขึ้น โดยปัจจุบันกองทุน KKP VGF-UI* ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน

*กองทุนนี้เป็นกองทุนที่เสนอขายให้ผู้ลงทุนประเภทผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra-Accredited Investor) ตามคำนิยามของสำนักงาน ก.ล.ต. จึงไม่ถูกจำกัดกรอบนโยบายการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป ดังนั้น กองทุนนี้จึงอาจมีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนมากกว่ากองทุนที่เสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไป และเหมาะกับผู้ลงทุนที่ยอมรับผลขาดทุนและความเสี่ยงระดับสูงได้เท่านั้น ทั้งนี้กองทุนหลักมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นในประเทศเวียดนาม โดยในกรณีสถานการณ์เชิงลบอย่างมากที่สุดที่อาจเกิดขึ้น (worst case scenario) กองทุนนี้อาจสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมดที่ลงทุนในกองทุนหลักที่เน้นลงทุนในหุ้นในประเทศเวียดนามดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลกระทบทางลบต่อการลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนนี้ โดยผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนนี้อาจสูญเสียเงินลงทุนทั้งจำนวนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนลงทุนในกองทุนนี้ ทั้งนี้ผู้ลงทุนควรพิจารณาความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องจากการลงทุนในกองทุนนี้อย่างละเอียดและขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้แนะนำการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน

หุ้นเทคโนโลยี

หลังจากการประกาศขึ้นภาษีนำเข้าในวันที่ 2 เมษายน 2025 หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ เมื่อมองผ่านดัชนี Nasdaq 100, หุ้นเทคโนโลยีจีน, และหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ทั่วโลก เช่น TSMC, Samsung, ASML ต่างปรับตัวลงแรงในช่วงวันที่ 3-4 เมษายน อย่างไรก็ดี หุ้นกลุ่มนี้สามารถปรับตัวขึ้นได้แรงในคืนวันที่ 9 เมษายน 2025 หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศลดและเลื่อนการเก็บภาษีนำเข้า

เรามองว่าปัจจัยพื้นฐานของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยียังไม่ได้เปลี่ยนแปลง หุ้นเหล่านี้ยังมีการเติบโตของกำไรตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และเมื่อดูระดับ valuation หลังจากการปรับฐานในช่วงก่อนหน้านี้ ดัชนี Nasdaq 100 ในปัจจุบันมีค่า Forward P/E อยู่ที่ 23.2 เท่า อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่แพงเกินไป

จึงมีคำแนะนำ ยอยสะสม” กองทุน B-INNOTECH ซึ่งเป็นกองทุน F-Pick ในหมวดกองทุนหุ้นเทคโนโลยี โดยกองทุนดังกล่าวลงทุนในกองทุนหลัก Fidelity Funds – Global Technology Fund ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลก เน้นลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีการเติบโตของกำไรที่ดี และมี valuation ที่ไม่แพงเกินไป

กลยุทธ์การเลือกหุ้นดังกล่าวทำให้กองทุนมีความผันผวนที่ต่ำ ผลตอบแทนของกองทุนเมื่อวัดตั้งแต่ต้นปี (YTD) ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นมีความผันผวน กองทุนทำผลตอบแทนได้ -4.2% ในขณะที่ดัชนีชี้วัดทำผลตอบแทนได้ -11.6% และดัชนีหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ อย่าง Nasdaq 100 ทำผลตอบแทนได้ -8.8% ผลตอบแทนแสดงถึงความสามารถในการรับมือกับสภาวะตลาดผันผวนได้เป็นอย่างดี

กองทุนมีสัดส่วนลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลก นำโดย TSMC ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปที่มีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมากที่สุดแห่งหนึ่ง รวมถึงหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ขนาดใหญ่อย่าง Apple, Amazon, Alphabet และ Microsoft ซึ่งหุ้นกลุ่มนี้ถูกแรงเทขายในช่วงก่อนหน้านี้จากความกังวลเรื่องผลกระทบของภาษีนำเข้าต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท อย่างไรก็ดี หลังจากที่มีการประกาศลดและเลื่อนภาษีนำเข้า หุ้นกลุ่มนี้ก็กลับมาทำผลตอบแทนเป็นบวกได้อีกครั้ง


คำเตือน: เอกสารฉบับนี้จัดทําขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จํากัด และ/หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด ข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้  จัดทําโดยอาศัยข้อมูลที่จัดหามาจากแหล่งที่เชื่อหรือควรเชื่อว่ามีความน่าเชื่อถือและ/หรือถูกต้อง อย่างไรก็ตามบริษัทไม่ยืนยัน และไม่รับรองถึงความครบถ้วนสมบูรณ์หรือถูกต้องของข้อมูลดังกล่าว  และไม่ได้ประกันราคาหรือผลตอบแทนของหน่วยลงทุนที่ปรากฏข้างต้น แม้ว่าข้อมูลดังกล่าวจะปรากฏข้อความที่อาจเป็น หรืออาจตีความว่าเป็นเช่นนั้นได้  บริษัทจึงไม่รับผิดชอบต่อการนําเอาข้อมูล ข้อความ ความเห็น และหรือบทสรุปที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ไปใช้ไม่ว่ากรณีใดๆ บริษัทรวมทั้งบริษัทที่เกี่ยวข้อง  ลูกค้า ผู้บริหาร  และพนักงานของบริษัทต่าง ๆ  อาจจะทําการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อ  หรือขายหลักทรัพย์ที่ปรากฎในเอกสารฉบับนี้ได้ทุกเวลา ข้อมูล และความเห็นที่ปรากฎอยู่ในเอกสารฉบับนี้ มิได้ประสงค์จะชี้ชวน เสนอแนะ หรือจูงใจให้ตัดสินใจลงทุน หรือซื้อ หรือขายหน่วยลงทุนที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้  และข้อมูลอาจมีการแก้ไขเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ผู้ลงทุนควรใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบในการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อหรือขายหลักทรัพย์ บริษัทสงวนลิขสิทธิ์ในข้อมูลที่ปรากฎในเอกสารนี้ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์  ทําซ้ำ  ดัดแปลง  นําออกแสดง  ทําให้ปรากฏหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ซึ่งข้อมูลในเอกสารนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากบริษัท เป็นการล่วงหน้า  การกล่าวคัด หรืออ้างอิงข้อมูลบางส่วนตามสมควรในเอกสารนี้  ไม่ว่าในบทความ บทวิเคราะห์ บทวิจัย  หรือในเอกสาร หรือการสื่อสารอื่นใดจะต้องกระทําโดยถูกต้อง และไม่เป็นการก่อให้เกิดการเข้าใจผิดหรือความเสียหายแก่บริษัท  ต้องรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในข้อมูลของบริษัท และต้องอ้างอิงถึงฉบับที่และวันที่ในเอกสารฉบับนี้ของบริษัทโดยชัดแจ้งการตัดสินใจลงทุน หรือซื้อ  หรือขายหน่วยลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ท่านควรทําความเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อลักษณะของหน่วยลงทุนแต่ละประเภท และควรศึกษาข้อมูลของบริษัทที่ออกหน่วยลงทุนและข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องก่อนการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อหรือขายหน่วยลงทุน

หุ้นไทยใกล้ฟื้น? เซียนมี่เผยกลยุทธ์คัดหุ้น พร้อมแนะนำวิธีสร้างพอร์ตเพื่อโอกาสเติบโตระยะยาว

Definit
หุ้นไทยใกล้ฟื้น? เซียนมี่เผยกลยุทธ์คัดหุ้น

ท่ามกลางความไม่แน่นอนของตลาดหุ้นไทย นักลงทุนหลายคนอาจตั้งคำถามว่า ถึงเวลาต้อง “ตัดขาดทุน” (Cut Loss) แล้วหรือยัง? ‘เซียนมี่’ – ทิวา ชินธาดาพงศ์ นายกสมาคมนักลงทุนประเทศไทย และหนึ่งในนักลงทุนเน้นคุณค่า (VI) ชื่อดังชี้ว่า ตลาดหุ้นไทยใกล้แตะจุดต่ำสุดและมีโอกาสฟื้นตัวแรง แต่สิ่งสำคัญคือต้องมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อก้าวผ่านช่วงเวลาแห่งความผันผวนนี้ไปให้ได้

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 Definit by Finnomena ได้จัดงานสัมมนาพิเศษ “ยังควรสู้อยู่ในหุ้นไทย หรือไปลงหุ้นนอกหลังจากนี้” โดยภายในงาน เซียนมี่ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับแนวโน้มตลาดหุ้นไทย พร้อมแนะนำกลยุทธ์เลือกหุ้น และสร้างพอร์ตเพื่อโอกาสเติบโตระยะยาว ด้วยการกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม

หุ้นไทยใกล้กลับตัว แต่อนาคตยังไม่แน่นอน

เซียนมี่มองว่า การที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา อาจเกิดจากปัจจัยที่หลายคนมองข้าม เช่น ประเด็นทางการเมือง ซึ่งนักลงทุนต่างชาติให้ความสำคัญ หากสถานการณ์นี้คลี่คลายอาจเป็นแรงส่งให้ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว 

อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวยังมีความไม่แน่นอน ดังนั้น นักลงทุนควรมีสัดส่วนการลงทุนที่สมดุลระหว่างหุ้นไทยและต่างประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยง 

ทั้งนี้ โดยส่วนตัวแล้วเซียนมี่จัดสรรพอร์ตการลงทุนระหว่างหุ้นไทยและหุ้นจีนในสัดส่วน 50/50 ซึ่งช่วยให้สามารถรับมือกับความผันผวนของแต่ละตลาด และยังมีโอกาสได้รับประโยชน์จากการเติบโตของทั้ง 2 ประเทศ

กลยุทธ์ที่ดีสำคัญกว่าการตัดสินใจด้วยอารมณ์

เมื่อถูกถามถึงการ “ตัดขาดทุน” เซียนมี่ให้คำแนะนำว่า ก่อนจะขายหุ้นไทย นักลงทุนควรหา “ตัวเลือกที่ดีกว่า” ให้เจอก่อน เพราะการขายหุ้นด้วยอารมณ์เพียงอย่างเดียวไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดี หากไม่มีแผนรองรับว่าเงินที่ได้จากการตัดขาดทุนจะนำไปลงทุนอะไรต่อ เงินดังกล่าวอาจไม่ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

“ถ้าไม่รู้ว่าขายไปแล้วจะเอาเงินไปทำอะไรต่อ ผมแนะนำว่าอย่าเพิ่งขาย” นายกสมาคมนักลงทุนประเทศไทยกล่าว

เซียนมี่ยังแนะนำเพิ่มเติมอีกว่า การนำเงินปันผลจากหุ้นไทยไปลงทุนในต่างประเทศก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ช่วยเปิดโอกาสการลงทุนในต่างประเทศ พร้อมทั้งกระจายความเสี่ยงไปในตัว

3 เคล็ดลับเลือกหุ้นรับมือโลกอนาคต

เซียนมี่ระบุว่า โลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี AI หรือแนวโน้มเศรษฐกิจที่ผันผวน เขามองว่าประเทศที่เคยถูกมองว่ามีอนาคต อาจไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป ในขณะที่บางประเทศที่เคยถูกมองข้าม อาจกลายเป็นศูนย์กลางการเติบโตในอนาคต

หนึ่งในวิธีการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงคือ การเลือกลงทุนในหุ้นที่สามารถ “เติบโตได้แม้ว่าจำนวนประชากรจะลดลง” เพื่อรับมือกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลกในระยะยาว รวมถึงมองหาบริษัทที่มีศักยภาพระดับโลก (Global Company) และมีผู้บริหารที่ “ลงเรือลำเดียว” กับนักลงทุน

สร้างพอร์ตเพื่อโอกาสเติบโตระยะยาว

เซียนมี่เน้นย้ำว่า นักลงทุนควรสร้างพอร์ตเพื่อโอกาสเติบโตระยะยาว โดยกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม และเลือกหุ้นที่มีความสามารถในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาว

พร้อมทั้งระบุอีกว่า ตลาดหุ้นไทยอาจมีเสน่ห์ลดน้อยลงสำหรับบางคน แต่เซียนมี่เชื่อว่า หากนักลงทุนมีกลยุทธ์ที่ดี ยังมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เสมอ

กลยุทธ์นำทางสู่โอกาสในหุ้นไทย

นายวศิน ปริธัญ, CFA, Managing Director ของ Definit Investment Advisory Securities (“Definit”) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือฟินโนมีนา (“Finnomena”) ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับแนวทางการลงทุนในปัจจุบัน โดยเน้นว่าหุ้นไทยในเชิงดัชนีอาจจะปรับตัวลดลงต่อเนื่อง แต่หากมองในระดับรายตัวจะพบว่ามีหุ้นที่สามารถทำกำไรได้ทุกเดือนมากถึง 200 – 300 ตัว

“ภาวะตลาดแบบนี้ ถ้าเลือกหุ้นถูกก็สามารถทำกำไรได้”

นายวศินกล่าว พร้อมเห็นด้วยกับเซียนมี่ว่า ไม่ควรขายหุ้นออกไปโดยไม่มีแผน เพราะอาจพลาดโอกาสที่มีอยู่ในตลาดขณะนี้

เพื่อช่วยให้นักลงทุนสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมในสภาวะตลาดที่ไม่แน่นอน “Definit” ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์การลงทุน “Definit SET Select” และบริการ “Stock Health Check” ตรวจสุขภาพพอร์ตหุ้นไทยด้วย DSS Rating ซึ่งใช้กระบวนการคัดเลือกหุ้นโดยอ้างอิงจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่

  1. Earnings – การปรับประมาณการกำไรของนักวิเคราะห์
  2. Valuation – การประเมินมูลค่าความถูกแพงของหุ้นเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรม
  3. Technical – แนวโน้มของราคาหุ้นในระยะสั้น

Definit SET Select ออกแบบให้สามารถปรับพอร์ตได้ทุกเดือน โดยหุ้นในพอร์ตจะมีระยะเวลาถือเฉลี่ย 1-3 เดือน และจะมีการปรับพอร์ตเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในตลาด ภายใต้เงื่อนไขดังนี้

  • หุ้นที่อยู่ในพอร์ตไม่เกิน 20 ตัว
  • แต่ละหุ้นจะไม่เกิน 10% ของพอร์ต
  • หากไม่มีหุ้นที่ตรงตามเกณฑ์ จะถือเงินสดแทน

ด้วยแนวทางการลงทุนที่มีวินัยและยืดหยุ่นตามสภาวะตลาด Definit SET Select จึงเป็นทางเลือกที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถบริหารพอร์ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ บริการ Definit SET Select เป็นบริการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด (เลขใบอนุญาต 0105565129248) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือฟินโนมีนา (“Finnomena”) ดูแลด้านโมเดลและคำแนะนำพอร์ต กับบริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ดูแลด้านบัญชีหุ้นและการบริหารพอร์ต

สามารถลงทะเบียนเพื่อรับบริการและรับข้อมูล Definit SET Select เพิ่มเติมได้ที่ https://www.definitinvestment.com/

ข้อมูลติดต่อ: ฝ่ายสื่อสารการตลาด Finnomena
มะลิลา ใจพันธ์ โทร. 089-874-8982 Email: nim.malila@finbroadcasting.com


คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้

Finnomena Funds คว้ารางวัล “Best FinTech Distributor” จาก Principal Financial Group ตอกย้ำความเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนในประเทศไทย

Finnomena Funds
Finnomena Funds คว้ารางวัล "Best FinTech Distributor" จาก Principal Financial Group ตอกย้ำความเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนในประเทศไทย

บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด (Finnomena Funds) ได้รับรางวัล “Best FinTech Distributor” จาก Principal Financial Group ในงานประชุม Strategy and Outlook Annual Conference 2025, Principal Asia Pacific and Middle East ซึ่งจัดขึ้น ณ เมืองโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 26-27 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา รางวัลนี้ตอกย้ำความเป็นผู้นำของ Finnomena Funds ในฐานะผู้ให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนชั้นนำในประเทศไทย

นายชยนนท์ รักกาญจนันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Finnomena Funds เป็นตัวแทนบริษัทฯ เข้ารับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ โดยกล่าวว่า “รางวัลนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของฟินโนมีนาในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่เป็นเลิศแก่ลูกค้าของเรา เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับการยอมรับจาก Principal ในฐานะพันธมิตรที่แข็งแกร่ง โดยฟินโนมีนาจะยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมและส่งมอบบริการที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ลงทุนต่อไป”

รางวัล Best FinTech Distributor Award จาก Principal Financial Group มอบให้กับบริษัทตัวแทนขายหน่วยลงทุนที่ไม่ใช่บริษัทในเครือ โดยพิจารณาจาก “ความเป็นเลิศในการแนะนำกองทุนของ Principal อย่างมีคุณภาพ” ในหลากหลายมิติ ได้แก่

  • ยอดขายกองทุนรวมของ Principal ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง: สะท้อนถึงความสามารถในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การเติบโตของสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM): ไม่เพียงแต่สามารถสร้างขยายยอดขายได้ดี แต่ยังสามารถรักษาฐานสินทรัพย์ไว้ได้ สะท้อนถึงความไว้วางใจของลูกค้าที่เลือกลงทุนผ่าน Finnomena Funds และ กองทุนของ Principal
  • คุณภาพการให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า: ทีมงานของ Finnomena Funds ได้รับการอบรมในเชิงลึกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ Principal เพื่อเสริมความเข้าใจและสามารถแนะนำข้อมูลได้อย่างครบถ้วน ส่งผลให้ลูกค้ามีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน
  • การสนับสนุนด้านการตลาด และนวัตกรรม : Finnomena Funds ใช้ช่องทางดิจิทัลอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย หรือแอปพลิเคชันบนมือถือ รวมถึงมีการนำเทคโนโลยี อย่างเช่น AI เข้ามาใช้ในกระบวนการให้คำแนะนำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และให้คำแนะนำที่เหมาะสมตามข้อมูลของลูกค้า
  • ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับทีมงาน Principal: Finnomena Funds มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับทีมงานของ Principal ทั้งในด้านกลยุทธ์และการสื่อสาร ทำให้สามารถดำเนินงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจ

งานประชุม Strategy and Outlook Annual Conference 2025, Principal Asia Pacific and Middle East เป็นเวทีที่ผู้บริหารระดับสูงจาก Principal Financial Group มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาดและทิศทางธุรกิจ การได้รับรางวัล “Best FinTech Distributor Award” ในครั้งนี้สะท้อนถึงความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีระหว่าง Finnomena Funds และ Principal รวมทั้งเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จสำคัญของบริษัทฯ ที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีและบริการด้านการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนในยุคใหม่ พร้อมทั้งย้ำถึงบทบาทสำคัญของบริษัทฯ ในฐานะหนึ่งในผู้นำด้าน FinTech ในการให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนในประเทศไทย

Finnomena Funds มุ่งมั่นที่จะเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้คนไทยเข้าถึงโอกาสการลงทุนที่คัดสรรมาแล้วจากทั่วโลก โดยร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำอย่าง Principal เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนทุกระดับ

ไหวทุกคลื่นลม พร้อมชนทุกอากาศ! กับพอร์ตการลงทุน All Weather Strategy

Finnomena Funds
AWS

อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย … ตลาดก็เช่นกัน

ปี 2025 น่าจะเป็นปีที่แสดงให้เห็นถึงความผันผวนของโลกการลงทุนไม่น้อย เพราะถ้าย้อนไปตั้งแต่ต้นปี เราจะเห็นถึงความไม่แน่นอนที่ปกคลุมตลาดอย่างชัดเจน ความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ที่ปะทุขึ้นมาอีกครั้งหลังสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในหลายประเทศเริ่มชัดเจนขึ้น ทำให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่นักลงทุนทั่วโลก นโยบายภาษี (Tariff) ที่เข้มงวดขึ้นจากการกลับมาของประธานาธิบดี ทรัมป์ กับนโยบาย ‘America First’ ก็เป็นอีกปัจจัยที่สร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดการค้าโลก และส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานในหลายอุตสาหกรรม

ถ้ามองในมุมของการลงทุน ก็ถือว่าตลาดเปลี่ยนแปลงบ่อยจริง ๆ และสิ่งที่นักลงทุนทำได้คือการกระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์ ปรับพอร์ตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับมือความผันผวนที่เกิดขึ้นระหว่างทาง

อีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจคือการลงทุนในพอร์ตโฟลิโอที่มีการจัดพอร์ตเพื่อเอาชนะตลาดทุกสภาวะ อย่างพอร์ต A.Stotz All Weather Strategy 


กลยุทธ์การลงทุนของ A.Stotz All Weather Strategy

พอร์ต All Weather Strategy โดย Andrew Stotz อดีตนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของประเทศไทย ร่วมกับ Finnomena Funds ใช้ FVMR Framework หรือการวิเคราะห์รอบด้านทั้ง Fundamental, Valuation, Momentum และ Risk ในการวิเคราะห์การลงทุน โดยมุ่งหวังที่จะเพิ่มพูนและปกป้องความมั่งคั่งระยะยาวผ่านการกระจายความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการลงทุนแบบ Passive เพื่อเน้นสะท้อนผลตอบแทนเมื่อเทียบกับตลาด มีการปรับพอร์ตปีละ 2-4 ครั้ง

หัวใจการลงทุนของพอร์ต คือ G-L-D

  • Global – ลงทุนทั่วโลกเพื่อแสวงหาโอกาสและลดความเสี่ยง ไม่กระจุกแค่ในไทย
  • Long-term – สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาว และจำกัดความเสี่ยงในช่วงขาลง
  • Diversified – กระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนใน 4 สินทรัพย์

 

รู้จัก Andrew Stotz อดีตนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของประเทศไทย

Andrew Stotz เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง A.Stotz Investment Research ทำงานด้านการลงทุนในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 1992 ในฐานะนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และอาจารย์มหาวิทยาลัย 

โดยในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง Head of Research ที่ CLSA ได้รับการโหวตจากผลสำรวจของ Asiamoney Brokers ให้เป็นนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของประเทศไทยประจำปี 2008 และ 2009 รวมถึงได้รับการโหวตให้เป็นนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของเมืองไทยจากรายงานของ All-Asia Research Team ซึ่งจัดทำโดยนิตยสาร Institutional Investor เช่นกัน

สินทรัพย์ที่ A.Stotz All Weather Strategy ลงทุน

พอร์ต All Weather Strategy โดย Andrew Stotz อาจเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ตามแต่ละภาวะตลาด ดังนี้

  • หุ้น – มีความเสี่ยงสูง ได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลและการปรับขึ้นของราคาหุ้น
  • ตราสารหนี้ – มีความเสี่ยงต่ำ ได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยและการปรับขึ้นของราคาตราสารหนี้
  • สินค้าโภคภัณฑ์ – หมายถึงวัตถุดิบต่างๆ เช่น พลังงาน อาหาร โลหะ มีความเสี่ยงสูง ได้รับผลตอบแทนจากการปรับขึ้นของราคา
  • ทองคำ – เป็นหนึ่งในสินค้าโภคภัณฑ์ มีความเสี่ยงสูง ได้รับผลตอบแทนจากการปรับขึ้นของราคา

 

นอกจากนี้ A.Stotz All Weather Strategy ยังพิจารณาลงทุนใน 5 ภูมิภาค ตามสภาวะตลาด คือ สหรัฐอเมริกา, ประเทศพัฒนาแล้วในยุโรป, ญี่ปุ่น, เอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น จีน และฮ่องกง) และจีน


ผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของ A.Stotz All Weather Strategy

ปกติแล้วในการจัดพอร์ตการลงทุน จะมีสัดส่วนที่คนนิยมคือแบบ 60/40 หรือการลงทุนในหุ้น 60% ตราสารหนี้ 40% ซึ่งถ้าเทียบกันแล้ว ที่ผ่านมา A.Stotz All Weather Strategy สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่า การกระจายการลงทุนแบบดังกล่าวภายใต้ความผันผวนที่ต่ำกว่า*

ถ้านับตั้งแต่จัดตั้งพอร์ต A.Stotz All Weather Strategy ปรับขึ้นกว่า 49.1% โดดเด่นกว่าพอร์ต 60/40 ที่ปรับตัวขึ้น 27.1% 

*ผลงานของพอร์ต 60/40 คำนวนจาก NAV 60% ของ MSCI AC World & KKP PGE-H และ NAV 40% ของ KT-BOND, SCBGLOB โดยจัดเป็นดัชนีชี้วัดของพอร์ตการลงทุนนี้

ไหวทุกคลื่นลม พร้อมชนทุกอากาศ! กับพอร์ตการลงทุน All Weather Strategy

ผลตอบแทนของ A.Stotz All Weather Strategy เทียบกับพอร์ตการลงทุน 60/40 | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 03/04/2025
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต

นอกจากนี้ หากมองย้อนกลับไป A.Stotz All Weather Strategy ยังมีความผันผวนต่ำกว่า ปรับตัวลงน้อยกว่าในวันที่ตลาดแย่กว่า และทำผลงานในแต่ละเดือนได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับพอร์ตแบบ 60/40

ไหวทุกคลื่นลม พร้อมชนทุกอากาศ! กับพอร์ตการลงทุน All Weather Strategy

A.Stotz All Weather Strategy มีความผันผวนต่ำกว่า เมื่อเทียบกับพอร์ตแบบ 60/40 | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 03/04/2025
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต

ไหวทุกคลื่นลม พร้อมชนทุกอากาศ! กับพอร์ตการลงทุน All Weather Strategy

A.Stotz All Weather Strategy ปรับตัวลงน้อยกว่า พอร์ตการลงทุน 60/40 ในวันที่ตลาดแย่กว่า | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 03/04/2025
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต

ไหวทุกคลื่นลม พร้อมชนทุกอากาศ! กับพอร์ตการลงทุน All Weather Strategy

A.Stotz All Weather Strategy ทำผลงานในแต่ละเดือนได้ดีกว่าถึง 60% เทียบกับพอร์ตแบบ 60/40 | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 03/04/2025
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต

ไหวทุกคลื่นลม พร้อมชนทุกอากาศ! กับพอร์ตการลงทุน All Weather Strategy

ผลตอบแทนของ A.Stotz All Weather Strategy เทียบกับพอร์ตการลงทุน 60/40 ในทุกช่วงเวลา | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 03/04/2025
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต


สัดส่วนการลงทุนของ A.Stotz All Weather Strategy

มุมมองการลงทุนล่าสุด (03/04/2025) A.Stotz All Weather Strategy กระจายความเสี่ยงผ่านการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภททั่วโลก โดยเน้นลงทุนในหุ้นด้วยสัดส่วน 65% แบ่งเป็นหุ้นยุโรป 25% หุ้นจีน 25% หุ้นสหรัฐฯ 5% หุ้นญี่ปุ่น 5% หุ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่นและจีน 5% 

สำหรับตราสารหนี้ พอร์ต AWS ลงทุนด้วยสัดส่วน 25% และสัดส่วนที่เหลืออีก 10% กระจายการลงทุนไปในสินค้าโภคภัณฑ์และทองคำอย่างละ 5%

ไหวทุกคลื่นลม พร้อมชนทุกอากาศ! กับพอร์ตการลงทุน All Weather Strategy

สัดส่วนการลงทุนล่าสุด | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 03/04/2025

ติดตามมุมมองการลงทุนรายละเอียดการปรับพอร์ตอย่างใกล้ชิดได้ที่
https://www.finnomena.com/tag/guruport-aws/

ไหวทุกคลื่นลม พร้อมชนทุกอากาศ! กับพอร์ตการลงทุน All Weather Strategy


สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้

ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena
ผ่านคอมพิวเตอร์ >>  เว็บไซต์ Finnomena

**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย A. Stotz Investment Research ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-aws  หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลย


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน  | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”